
decode_rov.pdf |
0 Comments
หมายเหตุ: ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ไม่ได้ใช้ภาษเขียนอย่างถูกต้อง ปนภาษาพูดเพื่ออรรถรสในการอ่าน และ เหมาะสำหรับคนเปิดใจเท่านั้น
Entrepreneur มีความหมายอย่างแคบ และเป็นคำแปลใหม่จากต้นกำเนิดว่า "ผู้ประกอบการ" ส่วนความหมายอย่างกว้างและดั้งเดิม คือ "นักแแก้ปัญหา" "นักบริหารจัดการตามความประสงค์" ในความหมายของผู้เขียน คือ นักแก้ปัญหาบน "ทรัพยากรที่จำกัด" ให้ได้ตามเป้าประสงค์ ซึ่ง preneur ที่เป็น Suffix ในบทความนี้แปลอย่างหลังสุด ในยุคของ Covid-19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยทำให้ "ภาพ" ของการเปลี่ยนแปลงที่ "ประเทศไทย" และ "คนไทย" (และโลก) ต้องเจอในอนาคตนั้นเร็วขึ้น โควิดเสมือนเป็นยานอวกาศ USS Discovery ในซีรีย์และภาพยนต์ Sci-Fi Startrek (ซึ่งโดยส่วนตัวตอนนี้ดีที่สุด) ที่ผ่านการบิดเบี้ยวของหลุมดำจากสสารแดง ซึ่งหมายถึงโควิดในขณะนี้ พา USS Discovery ไปในอนาคตไกลกว่า 900 ปี ในอนาคต เท่ากับว่า Covid-19 ช่วยให้เรา "วาร์ป" ตัวเองไปเจอสถานการณ์ของอนาคตได้เร็วขึ้น สิ่งที่ลูกเรือทำ คือ "การพยายามปรับตัว" (Change, Transform, Evolve) ให้เข้ากับโลกอนาคต ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไป การใช้ชีวิตเปลี่ยนไป เหตุเพราะ "ข้อจำกัด" เกิดขึ้น ซึ่งในเรื่องคือ การเกิดขึ้นของวันวอดวาย ที่ทำให้เครื่องยนต์วาร์ปทั้งจักรวาลระเบิดจากปฏิกิริยาที่ไดลิเทียม ซึ่งคือพลังงานหลักในการเดินทางเร็วเหนือแสงนั้นทำไม่ได้ การระเบิดในวันวอดวายทำให้ เชื้อเพลิงไดลิเทียมซึ่งเป็นพลังงานถูกเผาผลาญไปจน แทบไม่เหลือ ทำให้การวาร์ปทำไม่ได้ในเรื่อง แล้วมันเกี่ยวอะไรกับหัวข้อที่ ตอนแรกผมอยากใช้ชื่อหัวข้อว่า ถึงเวลาใส่ Suffix preneurs ในกมลสันดานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในไทย แต่ก็ตัดใจทำให้โลกมีสีพาสเทล เป็นชื่อหัวข้อปัจจุบัน คือ ถึงเวลาที่จะต้องมีนามสกุล preneur ต่อท้ายสำหรับประเทศไทย เพื่อให้บทความล้อไปกับ "วิธีคิดและค่านิยม" ของไทย หรือแปลว่า อยากได้อยากมี แต่รอคนอื่นมาทำให้ รอให้มันเกิดเอง Preneur เป็น Suffix ที่เป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส (กระมัง) แปลว่า "Taker" (หรือ Take as responsbler แปลโดยผู้เขียน) เราไม่ค่อยรู้จักคำนี้แบบโดด ๆ เราจะรู้จักกันในคำว่า "Entrepreneur(s)" หรือ นักประกอบการ (ประวัติของคำนี้ เชิญอ่านที่นี่) เมื่อคำสองคำมาสนธิกัน เกิดเป็นความหมายที่รู้จักกันดีในการมีทักษะแห่งการประกอบการ ซึ่งได้แก่ การเอาชนะอุปสรรคและปัญหา, การจัดการบริหารทรัพยากร เพื่อบรรลุเป้าหมาย, ความสามารถในการใช้ Integrated Skills และ Knowledge เป็นส่วนผสมที่่ลงตัวในการแก้ไขปัญหา, การใช้ Idea มาแปลงเป็น Asset เป็นต้น (ความหมายมีอีกร้อยกระบุงโกย) โดยประสบการณ์ส่วนตัว พบว่า ทักษะที่มีคุณลักษณะ preneur ต่อ่ท้าย จนเรียกว่า "นามสกุล" เป็นสิ่งหายากในทุกวงการในประเทศไทย ยกเว้น Adaptive SME ของไทย ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก แต่สร้างมูลค่ามากในกับเศรษฐกิจ สิ่งที่พูดไปก็เหมือน "ถากถาง" ประเทศตัวเอง คือ เราอยู่ใน Comfort Zone จนเรามีนามสกุลที่กลายเป็นนามสกุลพื้นถิ่น อาทิ "Let it be" "Wait and See" "Hope Well" "Others will do" "Not my respond" "Everything is mistake except myself" "Patient" "Not do only argue and critic" (ขออภัยที่ไม่สามารถ list ทั้งหมื่นตระกูลอันน่าเศร้าในที่นี้ได้) นามสกุลแบบนี้ ผสมข้ามพันธุ์กันไปมา จนเป็น DNA ของประเทศไทย และ คนไทย ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ กับภารกิจคลุมถุงชนจับแต่งกับ preneur ตบจูบแบบพิศาล อัครเสรณี
ภาคการศึกษา กับการทุบหัวแล้วลากเข้าถ้ำ เพื่อให้สมยอมเป็น preneur แล้วรอความหวังในนักการศึกษารุ่นต่อไป
ภาคธุรกิจกับยุทธวิธีร้อยแปดตั้งแต่ภารกิจแม่สื่อถึง Blind date จนกว่าจะได้เสียเกี่ยวดองกับ preneur
ประเทศไทยต้องปรับกระบวนท่า ผมใช้สัญลักษณ์เชิงล้อเลียนเพื่อสื่อว่า ให้ทำอย่างไรก็ได้ ที่จะผัง Preneurs ลงไปในระดับของ Mindset, Skills ในความหมายอย่างกว้างก็ดี อย่างแคบก็ได้ เราต้องการการเปลี่ยนแปลงแบบ "พลิกโฉม" ในทุกวงการ ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็น คลุมถุงชน, ตบจูบขืนใจ, ทุบหัวลากเข้าปล้ำ, ฺblindate ด้วยความรักให้เกิด love at first site หรือวิธีใด ๆ ก็ทำไปเถอะครับ ไม่ต้องเชื่อหรือยยึดวิธีการหยิบแกมหยอดที่ผู้เขียนเสนอ แค่ลองทำให้เกิดผลก็พอ รู้อะไรไม่เท่ารู้งี้ เป็นจังซี้ทุกทีสำหรับคนไทย แผนที่สุดพิเศษ หากไม่ลงมือทำ ก็ไม่มีผลใด ๆ ตามมา ต้องเลิกชื่นชมรายงานความสำเร็จที่มะโน #พี่แว่นหน้าตาดี หากท่านได้พลาด EP9 (K-Ex1) และ EP10 (K-Ex2) เพื่อความเข้าใจโปรดกลับไปอ่าน C&D&I โมเดลกิมจิ สู่ส้มตำโมเดล C&D หรือ Copy and Develop (เลียนแบบและพัฒนา) และ I หรือ Innovative คือ พลิกแพลงให้ดีกว่าเดิม เพิ่มลักษณะหรือคุณสมบัติให้เข้ากันกับสภาพสังคม คือ "หัวใจ" ของบทความนี้ ไทยเราแต่โบราณนั้นมีความสามารถในด้านในเลียนแบบและประยุกต์เป็นทุนเดิม เป็น Gene หลักของไทย ซึ่งเคยเพียงพอ ทว่า ในยุคปัจจุบันนั้น "ไทย" จะต้อง Innovate ซึ่ง "เรา" ไม่ใช่ชาติที่มีพื้นฐานแก่งการสร้างนวตกรรมที่ใช้เทคโนโลยี หรือ ความรู้อย่างสูง ผมจะต้องชวนให้เรา "ยอมรับ" ประเด็นนี้เสียก่อน ทว่า เรามีความสามารถในการ Innovate กระบวนการ หรือรายละเอียด ซึ่งตรงนี้เป็น "จุดแข็ง" ของเรา ในบทความชุด K-Experience EP นี้ ใช่ครับ ผมต้องการให้เรา ยึดเอา "เกาหลี" เป็นหนึ่งใน OPTION ในการเลือก COPY ความสำเร็จ และมา ปรับ เปลี่ยน เพิ่ม เสริม ให้เป็นแบบของเรา และเราจะต้องเลือก "ต้นแบบความสำเร็จ และบทเรียนที่ประเทศอื่นๆ ล้มเหลวมาแล้ว" มา C&D&I เกาหลีอาจไม่ใช่มหาอำนาจด้าน Startup และจริง ๆ แล้วเกาหลีเพิ่งเริ่มกระบวนการ Startup ในปี 2013 เท่านั้น เกาหลียังไม่ประสบความสำเร็จใน Startup หากเทียบกับเวทีโลก ทว่าสิ่งที่ต้อง C&D&I คือ วิธีการสร้าง Ecosystem, การทำงานประสานกันของเกาหลี ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี อย่างไรก็ตาม นับถึงปัจจุบัน เกาหลีมี Unicorn ถึง 11 ตัว ในขณะที่ไทยนั้น ยังไม่เกิดเอมบริโอของม้านิลมังกรในเวที startup และ บทความนี้ก็เทียบไทยกับเกาหลี สิ่งที่ผู้เขียนแนะนำคือ "อะไรดีดีก็เก็บมา C&D&I อะไรไม่ดีก็โยนทิ้งไป" ทบทวนความเข้าใจในสอง EP ก่อนหน้านี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่าน เข้าใจว่า "ความสำเร็จ" ของเกาหลีที่เราท่านเห็นในวันนี้ เกิดตจากหลายปัจจัย เกาหลีเป็นชาติแห่งนวตกรรมและการประดิษฐ์ต่าง ๆ มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเองมาตั้งแต่ 5,000 ปีก่อน สำหรับสาย K-Drama นั้น ไม่ว่าจะเป็นโกรกูริยอ, ภัคเจ, ชิลา ในช่วงเวลาที่ท่านดูซีรีย์เกาหลี เช่น จูมอง, ซอนด๊อก หรือแม้กระทั่งแดจังกึม ผมได้พาท่านไปเห็นของสวยงาม ซึ่งแสดงถึงเทคโนโลยี และความชำนาญของสกุลช่างเกาหลีในสมัยนั้น ซึ่งผมเรียกมันว่า Innovative & Adaptive Gene หรือ ยีนแห่งการปรับตัวและการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเกาหลี ผสมรวมเข้ากับปัจจัยอื่น ๆ หรือ Gene ตัวอื่น ๆ ผมได้นำประวัติศาสตร์ในสมัยต่าง ๆ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ Hermit State ที่เกาหลีปิดตัวเองจากชาติอื่น ๆ สั่งสมความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี และมาถูก "บังคับ" เปิดสู่โลกจากการรุกรานของญี่ปุ่น ซึ่งระยะเวลานั้น กินเวลากว่า 1 ศตวรรษ ท่ามกลางความกดดัน ภาวะสงคราม บ้านเมืองถูกทำลายย่อยยับ ความเป็นอยู่แร้นแค้น ซึ่งเป็นการถือกำเนิดของ Patience Gene หรือ ยีนแห่งความอดทนอดกลั้น ที่จะเป็นแรงผลักดันในสมัยพัฒนาประเทศ ที่เริ่มตั้งแต่ 1950 เมื่อเกาหลีตั้งประเทศ และมีระบบการปกครอง และมาเริ่มจริงจังสมัย 1962 ในแผนพัฒนาห้าปี 7 ฉบับ รวม 35 ปี ที่พลิกพื้นเกาหลีจากประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่งเป็นประเทศที่มั่งคั่ง ได้รับการยอมรับเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในนาม ปาฎิหาริย์แห่งแม่น้ำฮาน หรือ Miracle of Han River ซึ่งในช่วง 35 ปีแห่งการพัฒนา จนถึงปัจจุบัน สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ National Dedication Gene หรือยีนแห่งการอุทิศตัวเองเพื่อการพัฒนาประเทศ หากไม่มีส่วนผสมของ Gene ทั้ง 3 จากอดีต ร่วมกับ Gene ที่ถูกสร้างขึ้นจากระบบการศึกษาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 1950 ซึ่งก็คือ Creativity and Value Deliverable Gene หรือ ยีนแห่งความคิดสร้างสรรค์และการส่งต่อคุณค่า นั้น ก็จะไม่มีเกาหลีที่ขึ้นแท่นเป็นประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี มีเศรฐกิจที่มั่งคั้ง มี Per-Capita Income สูง และมีความกินดีอยู่ดีในภาพรวมที่เกาหลี เสนอออกมาซึ่งมาจากรากฐานของการสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ และก้าวเข้าสู่การพัฒนา Startup ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการที่ใช้แนวคิดใหม่ในการทำตลาด มีรูปแบบการบริหารแบบ SME และมีการจัดการแบบ Enterprise ในเกาหลี ปรากฎการณ์เหล่านี้เป็น "ฐาน" เป็น "ทุน" ของเกาหลี ก่อนที่่จะเกิดเศรษฐกิจดิจิทัล หรือกลุ่มธุรกิจ StartUp และ จริง ๆ แล้ว ในประวัติศาสตร์หลังยุค Y2K นั้น แนวคิด StartUp ของเกาหลีก็ล้มเหลวเหมือนกัน เกาหลีก็ผ่านการทดลองผิดทดลองถูกเช่นกัน จนในรอบ 10 ปีหลังนี้ (2020 ถอยหลังกลับไป) เกาหลี หันมามายึดหลักของ Entrepreneurship ผสานกับ StartUp โดยเรียก Startup Business ที่หยั่งราก และอยู่รอดเป็น Entrepreneur เหตุใดผมจึงต้อง "เน้น" ประเด็นเหล่านี้ เพราะว่า ในเนื้อหาช่วงต่อ ๆ ไปนั้น เราจะพบว่า Gene เหล่านี้ เป็นประโยชน์ และเป็น Gene ที่ไม่มีในประเทศไทย หรือ Gene ในการฉุดรั้งการพัฒนาประเทศของไทยนั้น Dominent (หรือเด่น) กว่า ทำให้เรายังไม่ประสบความสำเร็จ จนกว่า Dominent Gene ห่วย ๆ ของเราจะกลายพันธ์ไป ![]() เกาหลีนำเอา surplus ในทางธุรกิจ ลงไปที่การพัฒนา 2 ด้านหลัก ด้านแรก คือการพัฒนาคนและการศึกษา ด้านที่สองคือ การส่งเสริม R&D ในประเทศ ซึ่งระยะแรกนั้น ทำในกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมกับสถาบันการศึกษา หลังจากที่อัตราการเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา และทำให้เกิดนักวิจัยที่ Commercialize ได้ (แตกต่างจากทไทยที่วิจัยทิ้งขว้าง ไม่สามารถ Commercialize ได้ ซึ่งเป็นความสูญเปล่า) โดยหลังจากปี 1996 นั้น เกาหลีเป็นมหาอำนาจด้าน R&D ของโลก และผลของการพัฒนา R&D นั้น ผลลัพท์เห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน เกิดอะไรขึ้นในช่วงกึ่งก่อนยุค K-Startup และ K-Entrepreneur หลังจากสิ้นสุดแผนพัฒนา(เศรษฐกิจและสังคม) ฉบับที่ 7 เมื่อปี 1996 เกาหลีนั้นมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น มีความมั่นคงด้านการเงินการคลังของประเทศมากขึ้น ทว่าในยุคสมัยนั้น ยังไม่ได้เกิดสิ่งที่เรียกว่าแนวคิด startup จนกว่าจะราวปี 2010 เป็นต้นมาในเอเซีย เมื่อโลกได้เกิดการวิวัฒน์ด้านเทคโนโลยี และแนวคิดแบบโตไว โตทันใจ ทว่าเมื่อสังคมใด ๆ มี "ทรัพยากร" พรั่งพร้อมแล้ว ย่อมเติบโตได้ไม่ยากในเวลาอันรวดเร็ว คนมักเทียบเคียงและเชื่อว่า Startup นั้น คือ การเกิดขึ้นของ Tech-Business ในความหมายเมื่อครั้งเริ่มต้น หรือก็คือ ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีด้านอิเล็คทรอนิก ซึ่งย้อนไปได้ตั้งแต่ คริสตวรรรษที่ 1970 ในยุคของการเกิดขึ้นของ Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา และความหมายนี้ ยังคงยึดโยงมาจนถึงปัจจุบัน ที่มักให้คำนิยามว่า ธุรกิจที่เกิดมาแบบ Solo Entrepreneur ขยายเติบโต (Scale up) ได้รวดเร็ว ใช้เทคโนโลยีเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ยุคเริ่มต้นนี้มักเกี่ยวพันกับตำนานของคน เช่น เดฟ ฮิวเลลต์ จอห์นแพ็คการ์ด, บิลเกตต์ แห่งไมโครซอฟต์ ในระยะต่อมา จนกระทั่งความหมายของมันถูกเพิ่มเติมเมื่อมีผู้สำเร็จในธุรกิจรายใหม่ ๆ ด้วยแนวคิดใด ๆ เมื่อถึงสมัยของ Steve Job แห่ง Apple ที่เน้นการผลิตสินค้าบนแนวคิดที่แตกต่างจากวิธีคิดแบบเดิม หรือการเกิดขึ้นของ New Business ในยุคที่โลกและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีประสิทธิภาพ และราคาเข้าถึงได้ ธุรกิจที่เป็น platform บนโลกอินเทอร์เนตเกิด Business Model ที่แตกต่างจากเดิม เช่น การเกิดขึ้นของ Facebook, Amazon, Alibaba, Twitter, Uber, AirBnb ฯลฯ ซึ่งเติมเต็มนิยามของ Startup ให้เป็น่นที่เราท่านเข้าใจ คือ Tech-Startup ตราบจนกระทั่ง เทคโนโลนีเข้าไปผสานรวมตัวกับอุตสาหกรรมเดิม ๆ เช่น Fin-Tech, Health Teach, Agricultral-Tech, Edu-Tech เราเรียกยุคนี้ว่า dot com business ซึ่งเริ่มต้นในปี 2000 เป็นต้นมา และขยายอาณาเขตข้ามทวีปมายังเอเซีย รวมไปถึงดึงเม็ดเงินมหาศาลไปจากเอเซีย และทำให้เอเซียต้องเคลื่อนไหวพัฒนา dot com business ของตัวเอง และเกาหลีก็พร้อมทันที (เช่นเดียวกับ จีน, ไต้หวัน, สิงคโปร์) ส่วนอีกกลุ่มคือ สายที่ไม่พร้อมหรอก แต่ต้องกระโจนลงไป เช่น ไทย Startup ได้นำกระบวนการเดิม มาสร้าง Process Innovation คือ ลดทอน ตัดเติม แต่งแต้ม พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานใหม่ ๆ ให้กับโลกธุรกิจ ซึ่งล่วนแล้วมีรากฐานมาจาก "วิธีการ" "แนวคิด" ของเดิม (ทั้งนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน) อาทิ ปรับการบวนการให้สั้นกระชับ เพราะว่า เปลี่ยน Measurement ให้ใจกว้างมากขึ้น แนวคิดและวิธีการอย่าง Startup นี้ ผสมผสาน รวม (Integrated) หลายเรื่องเข้าด้วยกัน ซึงไม่ใช่จารีตประเพณีของธุรกิจเดิม ที่แยกส่วนกัน (จากการพัฒนาศาสตร์ใด ๆ ให้ลึก In-depth และแยกส่วนความรู้ Silo-base learning ที่ทำซ้ำกันมาหลายร้อยปี) ตัวอย่างแนวคิด และวิธีการรุ่นใหม่ ที่ควรต้องเช้าใจที่มา ปรับกับความคลาสสิคของวิธีการเดิม เช่น (ย้ำอีกรอบว่าเป็นเพียงความเห็นของผู้เขียน มิเช่นนั้น สายคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยรู้รากเหง้าของสรรพวิชา จะมาแหกอกผู้เขียนได้)
ช่วง 1996 - 2000 ก่อนการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์ Startup ที่อาจจะเรียกได้ว่า แนวคิดเรื่องการทำธุรกิจ ค่อย ๆ ทยอยเปลี่ยนไปตามลำดับ จากหลายปัจจัย ที่เกิดขึ้น หากจะว่าด้วยการวิเคราะห์สาย Classic เช่น PESTLE (ซึ่งบางคนค่อนขอดว่าล้าสมัย สู้แนวคิดแบบใหม่ไม่ได้ สำหรับผู้เขียนนั้น เปิดรับ "เครื่องมือ" ที่หลากหลาย เพราะแต่ละเครื่องมือสร้างมาด้วยเป้าหมายเฉพาะ และไม่สนับสนุนการ "ดูถูกดูแคลน" ความรู้ใด ๆ) เช่น T+P หรือ TechnoPolitic ได้เปลี่ยนไป ตั้งแต่ จีนเปิดประเทศ เกาหลีตั้งหลักมั่นในการส่งออก Semi Condcutor ทำให้ "ภูมิเทคโนโลยีสารสนเทศ" ของโลกเปลี่ยนแปลงไป และต้องไม่ลืมว่า เมื่อ E; Economy of Scale มีผลต่อ Margin Knowledge และ Know-How ต่าง ๆ ก็หลั่งไหล เกิดเป็นการสั่งสมความรู้ การประยุกต์ การเลียนแบบและการพัฒนา เทคโลโลยีภิวัตน์ Technolozation ก็ทำให้เอเซีย เปลี่ยนจากผู้บริโภคเทคโนโลยี เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีเสียเอง ผู้เล่นด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม เช่น ไต้หวัน และญี่ปุ่น ก็ต้องปรับตัว กลายเป็นความตื่นตูม (ตื่นเทคโนโลยี เลียนแบบการสมัยของการตื่นทอง) ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ในปี 2008 เป็นอีกจุดสำคัญ เมื่อเกิดวิกฤตการเงิน วิกฤตซับไพร์มขึ้น ในสหรัฐอเมริกาละยุโรป ท่ามกลางวิกฤตนี้ เอเซียที่มีการสะสมทรัพยากรไว้มากมาย ได้ถือโอกาสในการเข้าซื้อหุ้น รวมไปถึงเป็นเข้าควบรวมกิจการต่าง ๆ เช่น Lenovo สัญชาติจีนนั้น ได้ซื้อ Business Unit จาก IBM ในส่วนของ PC และ Notebook ซึ่งฐานการผลิตเกือบทั้งหมดอยู่ในจีนแล้วในขณะนั้น เป็นต้น
ในช่วงหลังปี 2008 เป็นต้นมา เมื่อกระแสของธุรกิจเกิดใหม่ ที่เรียกว่า "Startup" พัดโหมจากโลกตะวันตก มายังโลกตะวันออก พร้อมด้วยความสำเร็จที่เป็นตัวอย่าง ในขณะนั้นประเทศต่าง ๆ เริ่มพูดถึงรูปแบบของการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล (ซึ่งการเติบโตของ Internet, 4G, AI, Big Data, E-Commerce เกิดขึ้นเป็นกระแสต่อเนื่อง) เกาหลีเป็นประเทศแรก ๆ ในเอเซียที่กระโจนเข้าสู่กระแสธารของ Startup หลังจากศึกษา วางแผนการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1996 และเกาหลีก็พร้อมที่จะเดินหน้าใน Startup อย่างจริงจัง โดยอาศัยฐานจากการศึกษาที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และภาคธุรกิจเป็นพี่เลี้ยงทำงานร่วมกันอย่างเป็นกระบวนการ (ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่ไทยแตตกต่างจากเกาหลี) และยังรวมไปถึง เกาหลีใช้ Dedication, Deliverable จากคนรุ่น ปลาย BB และ ต้น Gen-X อย่างเต็มกำลัง และได้รับความร่วมมือจากกำลังแห่งยีนนี้ไปทุกภาคส่วนเสียด้วย (ซึ่งจุดนี้ก็แตกต่างจากไทย เพราะว่าไทยไม่มียีนตัวนี้ที่แข็งแกร่งพอ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า เราไม่มี Patience Gene จาประวัติศาสตร์และความทารุณแบบเกาหลี เรามีแต่ ยีนแห่งความแตกแยก ยีนแห่งการเล่นพรรคพวก) ผมแนะนำให้ท่านไปดูภาพประธานหลักในตอนต้นของบทความนี้ประกอบ เกาหลีรวมทุกเฟืองที่สัมพันธ์กันใน Vision หลัก และให้กำเนิด Misssion ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ่ค่อยๆ สร้างส่วนประกอบที่รวมกันเป็นนิเวศน์แห่งการเติบโตอย่างชัดเจน
ตัวอย่างของ Mission ของกระทรรวงเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ MSS ของเกาหลี (ซึ่งมีการประมาณการเป้าหมายชัดเจนในแต่ละกลุ่มที่จะส่งเสริม ดั่งภาพด้านบน และมีการสร้าง Agency เพื่อดูแลในแต่ละกลุ่ม)
ตัวอย่างนโยบายของ MSIT (Ministry of Science and ICT) ของเกาหลี คลิกที่นี่ หนึ่งในนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเกาหลี (MOE) ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสร้าง Startup และ Entrepreneur
ประสบการณ์ และเรื่องบอกเล่าจากการเยี่ยมชม 2 หน่วยงานด้าน Startup ของเกาหลี และ 1 Unicorn ผู้เขียนได้รับประสบการณ์จากการเดินทางในเกาหลี และมีโอกาสเยี่ยมชมหลายหน่วยงานของเกาหลี ซึ่ง 3 หน่วยงานนั้น ประกอบด้วย ตัวอย่งาที่ดีที่ควรนะจต้องเข้าใจ และนำมา "ปรับ" ใช้กับ Startup และ Entreperneur ของไทย ทั้ง 3 หน่วยงานนั้น ได้แก่ K-ICT, TIPS ซึ่งเป็น Governmen Agency และ Yanolja 1 ใน 10 Korean Unicorn
สิ่งที่น่าสนใจที่ไทย ควร C&D&I จาก Korean Startup
ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ว่าผมถือหางเกาหลีเมื่อเขาสำเร็จแล้ว ทว่า ในปี 2005-2013 นั้น เป็นช่วง Vebture Bubble Crisis อัรเกิดจากเศรษฐกิจโลก และ การลงทุนที่ไม่มี Return เช่นเดียวกับไทยในช่วงเวลานี้และก่อนหน้านี้ ในกิจการ startup ทว่า เกาหลีเรียนรู้จากความผิดพลาดและแก้ไข ถ้าผมจะ refer ถึง Dedication and Deliverable Gene ว่าเป็น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คงไม่ผิด เพราะว่า ไทยไม่มียีนตัวนี้ เมือใดที่เรา "ร่วมกัน" สร้าง "ระบบ" "ส่งไม่ต่อเนื่อง" เมื่อนั้น เราอาจจะมี "ผลลัพท์" ที่เกิดขึ้น ที่มี "จำนวน" และ "อานุภาพ" เพียงพอในเศรษฐกิจโลกสมัยใหม่ ถ้า "ไทย" จะ Copy ขอให้ Copy วิธีการ และนำมาปรับปรุง Develop ให้เหมาะกับเรา และ Innovate ให้เป็น Thai Style แต่อย่าเอาค่านิยมแบบเดิมของไทยมาเป็นต้นทุนก็พอ ขออนุญาตจบ EP3 ใน K-Experience แต่เพียงเท่านี้ครับ คลิกที่นี่เพื่ออ่าน EP 9 (K-Experience Chapter 1) บทเรียนจากแดนกิมจิ สู่เมืองส้มตำ ว่าด้วยการเดินทางจาก Start up สู่ Entrepreneurship : The Birth of K-Gene The Miracle of Han River มหกรรมสร้างชาติเพื่อเป็นสมาชิกอันโดดเด่นบนโลก ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของโลกในยุคปัจจุบัน ที่อาจจะว่าด้วยเศรษฐกิจโลกยุคหลังวิกฤตซับไพร์ม (หลังปี 1980) เป็นต้นมน หากไม่กล่าวถึง The Miracale of Han River ของเกาหลีแล้วน่าจะผิดพลาด (ทว่าในระบบการศึกษาของไทยแบบ Higher Education พูดน้อยมากครับในเรื่องนี้) เพราะว่าเกาหลี (ซึ่งในที่นี้หมายถึงเกาหลีใต้) เปลี่ยนแปลงตัวเองจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเองจากประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่งหลังสงคตรามโลกครั้งที่ 2 เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ TOP 13 ของโลกในการจัดอันดับขององค์กรสหประชาชาติ โดยส่วนตัวผมไม่ชอบคำว่า "ปาฎิหาริย์" ที่แปลตามพจนานุกรมว่า สิ่งน่าอัศจรรย์ ความน่าอัศจรรย์ ใน sense ที่ว่า มนุษย์สามัญทำไม่ได้ The Miracle of Han River (แม่น้ำฮาน เป็นแม่น้ำสายหลักของกาหลี) เป็นการเลียนแบบมาจาก The Miracle of Rine ที่เยอรมันตะวันตกขณะนั้นพลิกฟื้นตัวเองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความเหมือนกันของสองมิราเดิ่ล นี้ คือ การได้รับเงินทุนในการฟื้นฟู ที่แตกต่างกันคือ ที่แม่น้ำฮานนั้น แลกมาด้วยทรัพยากร สิทธิประโยชน์ มากมายที่ต้องมอบให้แก่เจ้าของเงิน หรือนายหน้าแบบสหรัฐอเมริกา ปฐมบทของ The Miracle of Han River โดยส่วนตัวนั้น The Miracla of Han River ของเกาหลีใต้ เกิดจากปรากฎการณ์การเกรงกลัวอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนจากประวัติศาสตร์ที่เส้นขนาน ที่ 38 เริ่มต้น ณ ปันมุนจอม มีความกว้างราว 4 กิโลเมตร ยาวจากแผ่นดินฝั่งหนึ่งไปจนสิ้นแผ่นดินอีกฝั่งของคาบสมุทรเกาหลี ปัจจุบันพื้นที่นี้ถูกเรียกว่า DMZ; DeMilitarized Zone) ที่เรียกว่า "สงครามเย็น" รวมกับประวัติศาสตร์สมัยที่ญี่ปุ่นเข้ามามีอิธิพลเหนือคาบสมุทรเกาหลีตั้งแต่ปลายคริสตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ซึ่งในบทที่แล้วผมเรียกว่า Patenece Gene หรือ ยีนแห่งความอดทนอดกลั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนเกาหลี สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ และเป็นคำถาม คือ หากคนเกาหลีไม่ได้รับแรงกดดันในช่วงเวลาตั้งแต่ ญี่ปุ่นเข้ามามีอำนาจ จนถึงนำพาเกาหลีไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 และตามด้วยสงครามเกาหลีนั้น จะเกิดแรงผลักดันเช่นที่เกิดขึ้นหรือไม่ ความแร้นแค้นที่ต้องถูกกดขี่ข่มเหงจากคนรุ่นนี้ ทำให้ คนที่ร่วมสมัยในระยะเวลานั้น จนกระทั่ง Generation Baby Boomer ของเกาหลี ที่เห็นความทุกข์ระทม จะสร้างให้มี Dedecation Gene หรือยีนแห่งความอุทิศตนเพื่อชาติในเวลาต่อมาหรือไม่ เป็นคำถามที่น่าสนใจ ผมทำได้เะียงเทียบคียงกับประวัติศาสตร์ของไทยเท่านั้นซึ่งพบว่า เราอาจมี Gene ทั้ง 2 ตัวนี้ (Patience and Dedication Gene) เป็น "ยีนด้อย" ที่รอเพียงเวลาผลิบานในบางกลุ่มชนของสังคมไทย ผลของมันเป็นที่รู้กันในปัจจุบัน ทั้ง ๆ ทีเรามี "ทุน" ทางสังคมและเศรษฐกิจสูงกว่าเกาหลี แรงผลักดันในสังคมเกาหลีเป็นปัจจัยหนึ่ง และความแร้นแค้นทางเศรษฐกิจของเกาหลีโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลก และสงครามเกาหลีอีกปัจจัยหนึ่ง เป็นแรงผลักและแรงดันให้เมื่อเกาหลีแข็งแกร่งและเมื่อถึงวันผลิบานจึงสะพรั่งไปด้วยดอกไม้ที่สวยงาม ![]() ภาพฤดูกาลทั้ง 4 ในเขตอบอุ่นของโลก แทนช่วงระยะเวลาทางประวัติศาสตร์ของเกาหลี ที่ผมวางแผนไว้จะนำเสนอไว้ในงานสัมมนา K-Practice ทว่าโควิดได้พราก event นี้ไป ในแต่ละช่วงในประวัติศาสตร์เกาหลี มีช่วงระยะเวลาย่อย ๆ ในระยะเวลาในแต่ละช่วง สะท้อนวัฎจักรของการเปลี่ยนแปลง ทว่า บางช่วงในประวัติศาสตร์เกาหลีนั้น อาจมีฤดูใบไม่ร่วง และฤดูหนาวที่ยาวนานกว่าประวัติศาสตร์ของชาติอื่น ๆ ทั้งหมดนี้ ผมเรียกรวมมันว่า K-Drama ในการสร้างชาติและกระบวนการ ผู้ประกอบการภิวัฒน์ของเกาหลี ![]() เมื่อเกาหลีเริ่มตั้งต้นนับ "หนึ่ง" (ซึ่งเรียกว่าติดลบจะดีกว่า) สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังไม่ทันได้ตั้งตัว สงครามเกาหลีเกิดขึ้นแทบจะทันที โดยไม่มีเวลาให้เกาหลีได้พัก หรือฟื้นตัวจากสงครามเท่าใดนัก หลังจากสงครามที่สงครามเกาหลีสิ้นสุดลงนั่นแหละครับ อาจจะถือว่า เกาหลีใต้ได้เริ่มต้นนับหนึ่งอีกครั้ง ทว่าบ้านเมือง สังคม พังพินาศ ประเทศเกาหลีถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน เกาหลีใต้ถูกแทรกแซงจากนานาประเทศ (ซึ่งไม่รู้จะใช้คำว่าอารยประเทศดีไหม) และองค์กรระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลก ในขณะนั้น รายได่ต่อหัวประชากรอยู่ในอัตราต่ำกว่า 100 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ท่ามกลางช่วงเวลานั้น เกาหลีใต้มีผู้นำชื่อว่า ประธานาธิปดีปักจุงฮี (ตรงกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ของไทย) ซึ่งแน่นอนว่า เบื้องหลังของ "เรา" และ "เขา" นั้น มีสหรัฐอเมริกา ที่ก้าวมาเป็นมหาอำนาจ โดยในยุคสมัยนั้นใช้รูปแบบ Labor Intensive ในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งภายหลังให้เรียกว่าประเทศกำลังพัฒนา หรือ Developing Country ในเวลาต่อมา (จุดต่างหนึ่งที่สำคัญ คือ เกาหลีหนีจากอุตสาหกรรมที่ใช้ Labor Intensive ไปใช้เทคโนโลยี และก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมหนัก ในขณะที่ไทยนั้น ใช้ Labor Intensive มาจนถึงปัจจุบัน(2563)) แนวทางการพัฒนาห้าปี ที่ต้นแบบเกิดจาก USSR ตั้งแต่ 1928 นั้นถูกใช้ในประเทศเกาหลี, ไทย และประเทศต่าง ๆ อีกมาก การเกิดขึ้นของแผนพัฒนาห้าปีของไทยและเกาหลี เกิดขึ้นในปีที่ไล่เลี่ยกัน คือ ในราว ค.ศ. 1961 (2504) ซึ่งของไทยเรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 โดยมุ่งสร้างให้ประเทศทั้ง 2 เดินแนวทางที่วางไว้ โดยเริ่มต้นพัฒนา Infrastructure เป็นสำคัญ (ทว่าเกาหลีเริ่มใส่แผนการพัฒนาคนในฉบับต่อมาเร็วกว่าไทยมา และทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม) ที่เสียหายไปในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเกาหลี (ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมมีการเว้นช่วงตั้งแต่ 1945 หลังจากจบสงครามโลกนั้น แนะนำให้ไปศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นจะดีกว่า เพราะว่าเป็นหนังดราม่าเรื่องยาวที่พระเอกขี่อินทรีย์เล่นบทแทรกแซงแต่ไม่สำเร็จทั้ง 2 ประเทศ (รวมไปถึงเวียตนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปินนส์ ในภูมิภาคเดียวกันกับไทย แต่สำหรับไทยนั้น มีอิทธิพลมากหน่อยจนเป็นปัญหาต่อเนืองให้ไทยมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ลงรายละเอียดนี้ ผู้นำของประเทศทั้ง 2 ในเวลาต่อมา ได้รับการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นช่วงเลาที่ใช้ในการช่วงชิงอำนาจทางการเมือง การสร้างฐานอำนาจใน 2 ประเทศจากการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา) เท่ากับว่า ต้นทศวรรษที่ 1970 นั้น คือ "ช่วงเวลาแห่งการนับหนึ่ง" ในประวัติศาสตร๋สมัยใหม่ของเกาหลี และอนุโลมให้เรียกว่า ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทยเช่นกัน แผนพัฒนาห้าปีของเกาหลี ผสมแผนปฏิวัติการศึกษา ปี 1962 หลังจากที่ขั้วอำนาจทางการเมืองตกลงสู่มือของประธานาธิปดีปักจงฮี ก็ยังเกิดเป็นแผนพัฒนาห้าปีของเกาหลี ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเกาหลีจากประเทศยากจน พังพินาศจากสสงคราม เป็นประเทศที่เริ่มลืมตาอ้าปากได้ และพัฒนาจนเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน (ซึ่งแผนพัฒนาแรกของไทยและเกาหลีนั้น คลอดตามกันมาแทบจะเรียกว่า "ฝาแฝด" แต่เป็น Unidentical Twin จึงทำให้แตกต่างกันจากระบบการเมืองที่เกาหลีมั่นคงกว่าไทย ส่วนไทยนั้น สารวนกับรัฐประหาร และปัญหาทางการเมืองตั้งแต่ 2504 - 2558 และระบบสังคมภายในที่เขานั้น บ่มเพาะ Dedication Gene ในขณะที่บ้านเราเป็น Hate and Discrimanate Gene) -- รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่ Korea Five-Year Plans และ http://countrystudies.us/south-korea/47.htm ซึ่งผู้เขียนสรุปไว้คร่าว ๆ โดยแปลจากบทความนี้ + หลาย ๆ บทความ (อ่านเพิ่มเติม Development in the Republic of Korea, Twenty five years of hard work https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000138390) ก่อนเริ่มต้นแผนพัฒนาห้าปี เกาหลีได้เริ่มต้นนโยบายการศึกษาฟรีสำหรับคนเกาหลี โดยนโยบายเรียนปฐมศึกษาฟรีเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1959 และขยายไปยังชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ปี 1985 และเพิ่มไปยังมัธยมศึกษาตอนปลาย เกาหลีประสบความสำเร็จในแผนนี้ ในปี 2017 ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา ที่เริ่มต้นตั้งแต่ ปลายคริสตศตวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา พ่อแม่ผู้ปกครองในช่วง 1950 ซึ่งผ่านพ้นสงครามเกาหลี ยังคงยากจน และอยู่ในอุตสาหกรรมการเกษตร ขายที่นา และวัวซึ่งใช้เป็นแรงงานเพื่อสนับสนุนให้บุตรหลานได้เข้าถึงการศึกษา เรียกกันในภาษาเกาหลีว่า ตึกวัว คือ หากอยากได้การศึกษา ยาวนานและดีเพียงไร ขึ้นอยู่กับจำนวนวัวที่ขายไป หากเป็นประเทศไทย คือ "การขายนาส่งคนมาเรียนเพื่อให้ได้ควายกลับไป"
![]()
หลังแผนพัฒนาฉบับที่ 7 สิ้นสุดลง เกาหลีมุ่งเข้าสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยมีรายได้ต่อหัวประชากรที่ 13,574 เหรียญดอลล่าสหรัฐ มี GDP รวม 617,960 ล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ เปิดตัวเองสู่ความเป็นสากล 2002 เกาหนีใต้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกร่วมกับญี่ปุ่น ทวา่อยา่มองแต่ภาพสวยงาม หลังากปี 1979 เป็นต้นมาเกาหลีเข้าสู่วังวนด้านความขัดแย้งทางการเมือง การคอรับชั่น ไม่แตกต่างจากไทย ทว่าเกาหลีมีความมั่นคงทางภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และมีภาคสังคม และประชากรที่มีคุณภาพ มีนโยบายการพัฒนาคน และระบบการศึกษาที่แตกตางจากไทยมาก ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมากมาย แผนพัฒนาตั้งแต่ฉบับแรก - ฉบับที่ 7 จนถึงปัจจุบันได้สร้าง Dedication Gene ใน "ทุกระดับขององค์กร" ได้เกิดหน่วยงานต่าง ๆ มากมายในเกาหลี ที่เข้ามาสร้างเสริมกระบวนการสร้างผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ดังที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งจะมีรายละเอียดใน EP ต่อไป และท้ายสุดเกิดเป็น Creativity and Deliverable Gene ในปัจจุบัน
เกาหลีสร้างแผนพัฒนาการศึกษา เป็นระยะต่อเนื่องกับช่วงวัย ส่งไม่้ต่อกันเป็นระบบชัดเจน สอดคล้องกับแผนพัฒนา โดย
ระหว่างปี 1962 - 1996 รวมระยะเวลา 35 ปี จึงถูกขนานนามจากโลกว่า เป็น Miracle of Han River ซึ่ง ทำให้ ประชากรกินดีอยู่ดี จาก Per Capita 74 เหรียญสหรัฐ เป็น 13,574 เหรียญสหรัฐ และในปี 2018 มี Per Capita Income ที่ 33,320 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี รวมไปถึงได้แทรกนโยบายการพัฒนาการศึกษาที่เป็นหัวใจ และเป็น "ทุน" ในการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ปั 1950 เป็นต้นมา และผมได้นำท่านท่องย้อนกาลเวลาไปยังช่วงที่ผมเรียกว่า "มหกรรมสร้างชาติให้เป็นสมาชิกอันโดดเด่นของโลก" และไม่ได้มุ่งหวังให้ประเทศไทย ฟื้นฝอยหาตะเข็บ หรือ พยายามหาแพะ แบบที่เราชอบบทำ สิ่งที่เราควรเห็นและได้รับบทเรียนจากเกาหลี คือ วิธีคิด การลงมือปฎิบัติ ความร่วมมือร่วมใจกันของคนเกาหลี ที่เราต้อง C&D&I คือ Copy, Develop และ Innovate มา transform ประเทศของเราต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติม: https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_South_Korea คลิกที่นี่เพื่ออ่าน EP 11 (K-Experience Chapter 3) บทเรียนจากแดนกิมจิ สู่เมืองส้มตำ ว่าด้วยการเดินทางจาก Start up สู่ Entrepreneurship:
C&D&I โมเดลกิมจิ สู่ส้มตำโมเดล |