TH ERM Challenge 2019 รอบ Semi-Final การโต้วาทีทางธุรกิจ
การแข่งขันโต้วาทีทางธุรกิจ ได้นำเอาโจทย์ที่มีความใกล้เคียงกันมาให้นักศึกษาได้ใช้เหตุผล นำเสนอหลักฐาน ตัวอย่างทางธุรกิจ ซึ่งผู้จัดเชื่อว่า การแข่งขันในกติกานี้ จะสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาได้มาก โดยที่นักศึกษาจะได้ฝึกทักษะหลายด้าน ซึ่งล่้วนเป็นมักษะที่มีความจำเป็นในการเป็นผู้นำ ผู้ประกอบการ ใด ๆ ในอนาคต อาทิ ทักษะอันเป็นหัวใจแห่งนักปราชญ์ "สุจิปุลุ" ฟัง (ฟังเนื้อหา จากฝ่ายตรงข้าม ฟังให้ละเอียด ฟังอย่างตั้งใจ) จิตตะ (คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลเอาความรู้และประสบการณ์ที่มี มาเพื่อหักล้างข้อมูล เพื่อให้เกิดความเชื่อถือ) ปุจฉา (การตั้งคำถามในกระบวนการเตรียมการ ซึ่งในที่นี่คือ การวางแผนจากคำถาม ที่ว่า อีกฝ่ายจะทำเสนอประเด็นใดบ้างอันเป็นหัวใจของแต่ละเรื่อง หากตั้งคำถามเป็นแล้วไซร้ จะนำพาไปสู่คำตอบในหลายเรื่องได้ต่อไป) ลิขิต (เขียน ในที่นี่ คือ การนำเสนอในรูปแบบของการพูด ความรู้ ความเข้าใจ หากสื่อสาร หว่านล้อมไม่เป็น ความรู้เหล่านั้นก็จะไม่เกิดประโยชน์สูงสุด) ทั้งนี้ หากจะมองในแบบโลกตะวันกตก เช่น Critical Thinking, Communication, Collaborative และ Creativity นั้น ล้วนจะได้รับจากกิจกรรมการแข่งด้วยวิธีนี้ทั้งสิ้น
การแข่งขันในกรรมการรับเชิญ + ตัวแทนกรรมการจากสภาอาจารย์ โดยเชิญ อาจารย์ CT ของ MonsoonSIM หรืออาจายร์ที่เข้าร่วมในกิจกรรม มาเป็นกรรมการโดยมาจากมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ทำการแข่งขันในคู่นั้น ๆ ตัดสินบนเกณฑ์ 4 หัวข้อ ซึ่ง 75% คือ การใช้ความรู้และเหตุผล (แบ่งเป็น 25% หัวใจของแก่นแท้ในแต่ละเรื่อง + 25% ของการหักล้างด้วยเหตุผล + 25% จากตัวอย่างในโลกธุรกิจจริง) และอีก 25% มาจากวาทศิลป์
การจัดกิจกรรมนี้เพื่อเป็นชั้นเรียนทดลอง และชั้นเรียนแห่งประสบการณ์ตามหลักของผู้จัด ที่จะสร้างประสบการณ์ให้นักเรียนนักศึกษานำความรู้ ความเช้าใจ ทั้งจากประสบการณ์เสมือนใน MonsoonSIM + พื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาหลัก + สิ่งแวดล้อมที่เป็นครูของนักศึกษา + แหล่งความรู้จากโลกอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ประกอบเข้ากับการใช้ข้อมูลให้เกิดพลังและความเชือถือ เป็นของขวัญแก่นักศึกษาใช้ติดตัวไปในภาคหน้า มากกว่า การแพ้ชนะตามหลักการแข่งขันนั่นเอง
ในโลกธุรกิจจริง และในโลกเสมือนใน MonsoonSIM Simlation ที่มาของญัตติต่าง ๆนั้น ต่างมีตัวอย่างจริง หรือ แผนการธุรกิจ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพกาล สิ่งสำคัญของนักษึกษาคือ เข้าใจว่า จะเลือกใช้วิธีการใด ๆ จากปัจจัยใดบ้าง และมองเห็นโลกธุรกิจจริง เพราะว่า การศึกษาเฉพาะในหลักการและทฤษฎี นั้น ไม่สามารถที่่จะสร้างความเข้าใจได้ทั้งหมด และเป็นการยากที่นักศึกษาทั่วไป จะเลือกใช้ หรือไม่ใช้ หรือ ผสมผสาน หลักการและทฤษฎีใด ๆ เข้าด้วยกัน วิธีการนี้ จึงเป็นการเปิดประตูความรู้ สำหรับว่าที่ผู้ประกอบการของประเทศไทย
การแข่งขันในกรรมการรับเชิญ + ตัวแทนกรรมการจากสภาอาจารย์ โดยเชิญ อาจารย์ CT ของ MonsoonSIM หรืออาจายร์ที่เข้าร่วมในกิจกรรม มาเป็นกรรมการโดยมาจากมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ทำการแข่งขันในคู่นั้น ๆ ตัดสินบนเกณฑ์ 4 หัวข้อ ซึ่ง 75% คือ การใช้ความรู้และเหตุผล (แบ่งเป็น 25% หัวใจของแก่นแท้ในแต่ละเรื่อง + 25% ของการหักล้างด้วยเหตุผล + 25% จากตัวอย่างในโลกธุรกิจจริง) และอีก 25% มาจากวาทศิลป์
การจัดกิจกรรมนี้เพื่อเป็นชั้นเรียนทดลอง และชั้นเรียนแห่งประสบการณ์ตามหลักของผู้จัด ที่จะสร้างประสบการณ์ให้นักเรียนนักศึกษานำความรู้ ความเช้าใจ ทั้งจากประสบการณ์เสมือนใน MonsoonSIM + พื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาหลัก + สิ่งแวดล้อมที่เป็นครูของนักศึกษา + แหล่งความรู้จากโลกอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ประกอบเข้ากับการใช้ข้อมูลให้เกิดพลังและความเชือถือ เป็นของขวัญแก่นักศึกษาใช้ติดตัวไปในภาคหน้า มากกว่า การแพ้ชนะตามหลักการแข่งขันนั่นเอง
ในโลกธุรกิจจริง และในโลกเสมือนใน MonsoonSIM Simlation ที่มาของญัตติต่าง ๆนั้น ต่างมีตัวอย่างจริง หรือ แผนการธุรกิจ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพกาล สิ่งสำคัญของนักษึกษาคือ เข้าใจว่า จะเลือกใช้วิธีการใด ๆ จากปัจจัยใดบ้าง และมองเห็นโลกธุรกิจจริง เพราะว่า การศึกษาเฉพาะในหลักการและทฤษฎี นั้น ไม่สามารถที่่จะสร้างความเข้าใจได้ทั้งหมด และเป็นการยากที่นักศึกษาทั่วไป จะเลือกใช้ หรือไม่ใช้ หรือ ผสมผสาน หลักการและทฤษฎีใด ๆ เข้าด้วยกัน วิธีการนี้ จึงเป็นการเปิดประตูความรู้ สำหรับว่าที่ผู้ประกอบการของประเทศไทย
ช่วงประกาศรางวัล และแบ่งปันประสบการณ์ มุมมอง จากกรรมการรับเชิญ
|
|