TH ERM Challenge 2018
TH Enterprise Resources Management 2018; การแข่งขันการบริหารทรัพยากรองค์กรชิงชนะเลิศประเทศไทย ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2562
" ต่อยอดการเรียนรู้ มุ่งสู่สังคม Active Learner "
|
คำแนะนำ
โปรดอ่านและทำความเข้าใจก่อนสมัครเข้าร่วมโครงการ รายละเอียด ข้อกำหนด เงื่อนไข และความร่วมมือ สามารถ Download ได้ที่นี่ ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
สถาบันการศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ (เริ่มรับสมัคร 9 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2562) ทีมนักศึกษาอิสระ ขอให้ท่านได้ใช้ความพยายามติดต่อกับทางสถาบันของท่านก่อน อาจพิจารณาเปิดรับสมัครอีกครั้งหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562
ติดตามกิจกรรมของการแข่งขัน โปรด Subscribe เพื่อรับข่าวสารของโครงการ FB Group: TH ERM Challenge 2018 ผู้จัดกิจกรรม ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง 095-446-5355 [email protected] |
คำปรารภจากผู้จัดการแข่งขัน ประจำปี 2018
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระแส disruption ต่าง ๆ ปะดังปะเดเข้ามาสู่สังคมที่เคลื่อนไหว และปรับตัวช้าของประเทศไทย ภาคส่วนใดที่ปรับตัวช้า และไม่ทันต่อสถานการณ์จะเป็นภาคส่วนที่ถูก disruption ได้ ภาคการศึกษาเป็นอีกภาคส่วนหนึ่งที่มีการปรับตัวช้า และไม่ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เร็วขึ้น ชุดความรู้ที่ได้รับการสานต่อกันมากว่าหลายสิบปี ได้รับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก็จริง แต่ไม่ทันอัตราการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งนั้นไม่ร้ายเท่า รูปแบบการเรียนการสอน ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญตลอดร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อผสมเข้ากับแนวคิดที่ผิดเพี้ยนในการเรียนการสอนของไทย ที่สร้าง “ผู้เอาแต่เรียนเชิงตั้งรับ” Passive Student ที่รอการป้อนข้อมูล และคำสั่ง วัดผลด้วยเกรดและความรู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ใช้งานเป็น ยิ่งเป็นปัจจัยให้ ไม่สังคมไทย ก็ระบบการศึกษาไทย จะถูกการเปลี่ยนแปลงของโลก Disruption ได้ในที่สุด
การแข่งขัน TH ERM Challenge 2018 นี้ มีปณิธานที่มุ่งให้ สถาบันการศึกษา และนักศึกษาเปลี่ยนแปลงกระบวนการ รูปแบบ วิธีการเรียนการสอน ภายในแนวคิด “ต่อยอดการเรียนรู้ มุ่งสู่สั่งคม Active Learner” เพื่อลงมือร่วมกันเปลี่ยนผลแห่งอนาคต จากเหตุของปัจจุบัน โดย สถาบันการศึกษา และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จะให้ความร่วมมือในการ สร้างทักษะอันมีความสำคัญ เช่น Critical Thinking หรือ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และลงมือปฏิบัติเป็น ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญ, Collaborative หรือการผสมผสานความรู้ ความเชี่ยวชาญจากหลายสาขาสู่การลงมือแก้ปัญหา รวมไปถึงการสร้างการทำงานเป็นทีมซึ่งเป็นทักษะที่คนไทยส่วนมากไม่มี, Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ ในการต่อยอด ปรับใช้ความเชี่ยวชาญ และหลักวิชาต่าง ๆ เสริมจุดเด่นในสาขาวิชาที่เรียน ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงจำลองสถานการณ์ หาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลง และสร้างวีการที่ทำลายข้อจำกัดต่าง ๆ และท้ายสุดคือ Communication ซึ่งจะต้องเป็นทักษะพื้นฐานของนักศึกษาไทย
โครงการ TH ERM Challenge มิได้มีเป้าหมายเพื่อการแข่งขัน เพื่อหาผู้แพ้ชนะ เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเป้าหมายรองของการแข่งขัน เป้าหมายหลักที่ยึดถือมาตลอด ตั้งแต่ปี 2016 คือ การได้สร้างประสบการณ์ให้นักศึกษา เพื่อพัฒนาตนเอง จากการเรียนรู้ผ่าน Simulation, การตั้งถาม, การทำงานเป็นทีม, การเรียนรู้จากการทำผิดพลาด, การเรียนรู้จากคำแนะนำของ Trainer และอาจารย์ ซึ่งหากสถาบันการศึกษา และนักศึกษาไม่ได้เข้าใจในหลักการนี้ ย่อมไม่เหมาะสมกับกิจกรรมในโครงการนี้
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
ผู้จัดการแข่งขัน TH ERM CHALLENGE
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระแส disruption ต่าง ๆ ปะดังปะเดเข้ามาสู่สังคมที่เคลื่อนไหว และปรับตัวช้าของประเทศไทย ภาคส่วนใดที่ปรับตัวช้า และไม่ทันต่อสถานการณ์จะเป็นภาคส่วนที่ถูก disruption ได้ ภาคการศึกษาเป็นอีกภาคส่วนหนึ่งที่มีการปรับตัวช้า และไม่ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เร็วขึ้น ชุดความรู้ที่ได้รับการสานต่อกันมากว่าหลายสิบปี ได้รับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก็จริง แต่ไม่ทันอัตราการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งนั้นไม่ร้ายเท่า รูปแบบการเรียนการสอน ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญตลอดร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อผสมเข้ากับแนวคิดที่ผิดเพี้ยนในการเรียนการสอนของไทย ที่สร้าง “ผู้เอาแต่เรียนเชิงตั้งรับ” Passive Student ที่รอการป้อนข้อมูล และคำสั่ง วัดผลด้วยเกรดและความรู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ใช้งานเป็น ยิ่งเป็นปัจจัยให้ ไม่สังคมไทย ก็ระบบการศึกษาไทย จะถูกการเปลี่ยนแปลงของโลก Disruption ได้ในที่สุด
การแข่งขัน TH ERM Challenge 2018 นี้ มีปณิธานที่มุ่งให้ สถาบันการศึกษา และนักศึกษาเปลี่ยนแปลงกระบวนการ รูปแบบ วิธีการเรียนการสอน ภายในแนวคิด “ต่อยอดการเรียนรู้ มุ่งสู่สั่งคม Active Learner” เพื่อลงมือร่วมกันเปลี่ยนผลแห่งอนาคต จากเหตุของปัจจุบัน โดย สถาบันการศึกษา และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จะให้ความร่วมมือในการ สร้างทักษะอันมีความสำคัญ เช่น Critical Thinking หรือ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และลงมือปฏิบัติเป็น ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญ, Collaborative หรือการผสมผสานความรู้ ความเชี่ยวชาญจากหลายสาขาสู่การลงมือแก้ปัญหา รวมไปถึงการสร้างการทำงานเป็นทีมซึ่งเป็นทักษะที่คนไทยส่วนมากไม่มี, Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ ในการต่อยอด ปรับใช้ความเชี่ยวชาญ และหลักวิชาต่าง ๆ เสริมจุดเด่นในสาขาวิชาที่เรียน ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงจำลองสถานการณ์ หาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลง และสร้างวีการที่ทำลายข้อจำกัดต่าง ๆ และท้ายสุดคือ Communication ซึ่งจะต้องเป็นทักษะพื้นฐานของนักศึกษาไทย
โครงการ TH ERM Challenge มิได้มีเป้าหมายเพื่อการแข่งขัน เพื่อหาผู้แพ้ชนะ เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเป้าหมายรองของการแข่งขัน เป้าหมายหลักที่ยึดถือมาตลอด ตั้งแต่ปี 2016 คือ การได้สร้างประสบการณ์ให้นักศึกษา เพื่อพัฒนาตนเอง จากการเรียนรู้ผ่าน Simulation, การตั้งถาม, การทำงานเป็นทีม, การเรียนรู้จากการทำผิดพลาด, การเรียนรู้จากคำแนะนำของ Trainer และอาจารย์ ซึ่งหากสถาบันการศึกษา และนักศึกษาไม่ได้เข้าใจในหลักการนี้ ย่อมไม่เหมาะสมกับกิจกรรมในโครงการนี้
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
ผู้จัดการแข่งขัน TH ERM CHALLENGE
กำหนดการของกิจกรรม TH ERM Challenge 2018
Active Leaning คืออะไร
About Active Learning
|