ปี 2020 Donation Project
MSIM TH Donation Workshop
MonsoonSIM ประเทศไทย ได้เริ่มทำกิจกรรม Donation Workshop โดยกำหนดอย่างเป็นรูปธรรม ไครมาสละ 1 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา อันเกิดจาก ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำตั้งแต่กลางปี 2019 จนถึงผลกระทบของ Covid-19 ในช่วงต้นปี 2020 เป็นต้นมา ซึ่งทำให้ บรรดาบ้านเด็กกำพร้ำ บ้านสงเคราหะ์ชาวเขา และโครงการอื่น ๆ ที่ "ผม" ให้ความช่วยเหลือส่วนตัวมาหลายปี เกิดสะดุด เนืองจากอัตราการบริจาคน้อยลงจากผลกระทบดังกล่าว จากเดิมที่ได้นำ "ค่าแรง" จากโครงการอบรมซึ่งภาครัฐให้ความกรุณาใช้บริการ 100% และหน่วยงานต่าง ๆ ของภาคเอกชน ที่ได้กรุณาใช้บริการ โดยหักเงินบางส่วน ไป "บริจาค"
Zonix Services Co.,Ltd. ในฐานที่ที่เราเป็นผู้ประกอบการที่ห่วงใยสังคม และในรอบ 6 ปีหลังนี้ เราได้นำ MonsoonSIM ซึ่งเห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อภาคการศึกษา และการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ทั้งนี้ได้มีการจัด Workshop เพื่อจัดการอบรมในภาคเอกชน ในฐานะ Business Team Building จากประสบการณ์ส่วนตัวในหลายร้อยคลาสที่เกิดขึ้นเห็นว่า MonsoonSIM เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ คนไทย มีทักษะของการประกอบการ และท้ายที่สุด จะเกิดเป็น "สังคมอุดมนักประกอบการ" ขึ้นได้ จึงได้นำเอา MonsoonSIM มาเป็นเครื่องมือภายใต้โครงการ MonsoonSIM Donation Workshop ที่จะช่วยให้ โลกแห่งความปรารถนาทัง 2 ใบ คือ การมีสังคมที่เกื้อกูลกัน ช่วยเหลือกัน และ การมีสังคมอุดมนักประกอบการ สามารถคู่ขนานกันไป ในชั้นเรียนของ MonsoonSIM ในมหาวิทยาลัย และ ในการแข่งขัน TH ERMC / TH ERML นั้น ผมจะพยายามปลูกผังค่านิยมในการเป็นผู้ให้คืนแก่สังคม ให้นักศึกษาเสมอ ๆ ควบคู่ไปกับความพยายามสร้าง Active Learner จากระบการศึกษาที่พยายามรักษา Passive Student ไว้อย่างเหนียวแน่นของการศึกษาไทย ในการแข่งขันทุกปี ค่าสมีครของนักศึกษาในการเข้าร่วมการแข่งขันนั้น ได้ให้นักศึกษาเลือกองค์กรสาธารณกุศลต่าง ๆ และนำเงินค่าสมัครไปบริจาค เพื่อสอนให้เขาพร้อมเป็นผู้ให้ และเกิดความอิทเอิบใจ และในกิจกรรม MonsoonSIM Donation Workshop ก็เช่นกัน นอกจากท่านผู้เข้าร่วม Workshop จะได้รับความรู้ และประสบการณ์จาก Simulation เพือนำไปปรับปรุง ต่อยอดการบริหารจัดการธุรกิจ / ทีมงาน / กระบวนการทำงานที่เชื่อมโยงกันแล้ว ท่านก็เป็นผู้ให้กลับคืนแก่สังคมเช่นกัน ในปี 2020 นี้ ผมมี 2 โครงการหลัก ที่จะนำเงินค่าลงทะเบียนไปช่วยให้เกิดประโยชน์ขึ้น ดังนี้รายละเอียดดังนี้ |
บ้านพิพัฒน์กนกพร อ.แม่แจ่ม จ.ชียงใหม่ "บ้านทีสร้างโอกาสการศึกษา และปลูกผังศีลธรรมประจำใจ"
บ้านที่ให้การอุปการะเยาวชนชาวเขาบนดอยอินทนนท์ ได้มาพำนักพักพิง เพื่อความสะดวกในการได้รับการศึกษาบนพื้นราบ เขาเหล่านี้จะมีโอกาสได้รับการศึกษามากกว่าที่จะอยู่บนที่สูงที่เดินทางลำบากกว่า ปัจจุบันมี มีเยาวชน 70 คน ตั้งแต่ 2-18 ปี ส่วนใหญ่พ่อแม่ทำการเกษตรที่สูง ยากจนเงินทอง แต่ไม่ยากจนน้ำใจ นำเอาข้าว/พืช ที่ปลูกมาช่วยเหลือ ทำให้บ้านนี้ไม่อด แต่ไม่ได้กินตามหลักโภชนาการที่สมบูรณ์ทุกมื้อ ส่วนน้อยของเยาวชน พ่อแม่นำมาทิ้งไว้ไม่เหลียวแล เป็นเด็กกำพร้ำพ่อแม่ที่มีความรับผิดชอบ เป้าหมายของปีนี้ คือ
บ้านที่ให้การอุปการะเยาวชนชาวเขาบนดอยอินทนนท์ ได้มาพำนักพักพิง เพื่อความสะดวกในการได้รับการศึกษาบนพื้นราบ เขาเหล่านี้จะมีโอกาสได้รับการศึกษามากกว่าที่จะอยู่บนที่สูงที่เดินทางลำบากกว่า ปัจจุบันมี มีเยาวชน 70 คน ตั้งแต่ 2-18 ปี ส่วนใหญ่พ่อแม่ทำการเกษตรที่สูง ยากจนเงินทอง แต่ไม่ยากจนน้ำใจ นำเอาข้าว/พืช ที่ปลูกมาช่วยเหลือ ทำให้บ้านนี้ไม่อด แต่ไม่ได้กินตามหลักโภชนาการที่สมบูรณ์ทุกมื้อ ส่วนน้อยของเยาวชน พ่อแม่นำมาทิ้งไว้ไม่เหลียวแล เป็นเด็กกำพร้ำพ่อแม่ที่มีความรับผิดชอบ เป้าหมายของปีนี้ คือ
- ช่วยปรับปรุงให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยพัฒนาสาธารณูปโภค ที่เสื่อมสภาพ และจำเป็น (ซึ่งได้ดำเนินการแล้วจาก Workshop และเงินบริจาค ใน Q1 2020; ซ่อมปั๊มน้ำที่เสีย, ต่อเตมหลังคาครัว, ซ่อมมุ่้งลวด เพื่อให้หน้าฝนที่จะถึงนี้ ปลอดภัยจากไข้เลือดออก)
- หากองทุนที่จะเพิ่มโภชนการด้านอาหาร เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ในปัจจุบัน ค่าอาหารต่อคน : 3 มื่อ : วัน คือ 4.80 บาท
- หากองทุนที่จะช่วยเหลือค่าเทอม ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่าย ที่เยาวชนเหล่านี้จะยังต้องใช้ เพระาว่าไม่ได้รับการอุดหนุนด้วยปัญหาด้านสัญชาติ ฯลฯ
- จะพยายามสร้างโครงการฝึกอาชีพ และนำเอางานฝีมือ ที่จะต้องถูกพัฒนาให้ตำแนะนำ ด้าน design และการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างอาชีพ และนำเงินรายได้ให้กับบ้านพักนี้
โครงการโรงพยาบาลศรีมหาโพธิ ของคุณ เพื่อคุณ โดยคุณ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
โครงการพัฒนาโรงพยาบาลท้องถิ่นขนาด 60 เตียงให้มีมาตรฐานการบริการที่ดี ใน 3 ปี
รายละเอียดโครงการ: https://smphospitalprojects.weebly.com/
โครงการนี้เป็นโครงการที่ผมเข้าไปมีส่วนร่วมหลังจากที่เดินทางไปมา จากภารกิจที่จะต้องไปทำ workshop และกิจกรรมต่าง ๆ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี กว่า 3 ปี ก่อนที่จะเริ่มโครงการนี้ และประกอบกับ ผมได้เห็นสภาพของโรงพยาบาล และได้พูดคุยถึงแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาล กับท่านผู้อำนวยการโรนงพยาบาลที่เป็นเพื่อนกันตั้งแต่ชั้นมัธยม จึงเกิดเป็นโครงการนี้ และได้นำเอาเครือข่ายต่าง ๆ เช้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ เช่น นำเอาภาคการศึกษา คือ มจพ. ไปช่วยออกแบบโครงการ และให้นักศึกษาได้เอาความรู้ที่ร่ำเรียนเป็น Project Bases Learning (PBL) นำเอาเครือข่ายของ Siam HR และสมาคมการค้าวิทยากร นพเอาวิทยากรในเครือข่ายและที่ปรึกษาไปช่วยสร้างโครงการต่าง ๆ ให้กับโรงพยาบาล
โครงการนี้สะดุด จากพิษของเศรษฐกิจ และภาระของคุณหมอและคุณพยาบาลในช่วง Covid-19 นี้ ทำให้โครงการต้องสะดุดลง ทั้งเวลาที่จะใช้ในการทำโครงการต่าง ๆ รวมไปถึงเงินบริจาค ที่สะดุดลงไปด้วย ทำให้โครงการอาจล่าช้าไปกว่าที่ตั้งใจไว้ ท่านจะได้มีส่วนร่วมในการสร้างโรงพยาบาลชุมชนให้เป็นที่พึ่งพาของคนใน อ.ศรีมหาโพธิ และ หากโมเดลที่รวมภาคการศึกษา ภาคเอกชน ไปร่วมพัฒนาโรงพยาบาลสำเร็จ จะเป็นต้นแบบของการพัฒนาเพื่อให้เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศไทยต่อไป
โครงการพัฒนาโรงพยาบาลท้องถิ่นขนาด 60 เตียงให้มีมาตรฐานการบริการที่ดี ใน 3 ปี
รายละเอียดโครงการ: https://smphospitalprojects.weebly.com/
โครงการนี้เป็นโครงการที่ผมเข้าไปมีส่วนร่วมหลังจากที่เดินทางไปมา จากภารกิจที่จะต้องไปทำ workshop และกิจกรรมต่าง ๆ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี กว่า 3 ปี ก่อนที่จะเริ่มโครงการนี้ และประกอบกับ ผมได้เห็นสภาพของโรงพยาบาล และได้พูดคุยถึงแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาล กับท่านผู้อำนวยการโรนงพยาบาลที่เป็นเพื่อนกันตั้งแต่ชั้นมัธยม จึงเกิดเป็นโครงการนี้ และได้นำเอาเครือข่ายต่าง ๆ เช้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ เช่น นำเอาภาคการศึกษา คือ มจพ. ไปช่วยออกแบบโครงการ และให้นักศึกษาได้เอาความรู้ที่ร่ำเรียนเป็น Project Bases Learning (PBL) นำเอาเครือข่ายของ Siam HR และสมาคมการค้าวิทยากร นพเอาวิทยากรในเครือข่ายและที่ปรึกษาไปช่วยสร้างโครงการต่าง ๆ ให้กับโรงพยาบาล
โครงการนี้สะดุด จากพิษของเศรษฐกิจ และภาระของคุณหมอและคุณพยาบาลในช่วง Covid-19 นี้ ทำให้โครงการต้องสะดุดลง ทั้งเวลาที่จะใช้ในการทำโครงการต่าง ๆ รวมไปถึงเงินบริจาค ที่สะดุดลงไปด้วย ทำให้โครงการอาจล่าช้าไปกว่าที่ตั้งใจไว้ ท่านจะได้มีส่วนร่วมในการสร้างโรงพยาบาลชุมชนให้เป็นที่พึ่งพาของคนใน อ.ศรีมหาโพธิ และ หากโมเดลที่รวมภาคการศึกษา ภาคเอกชน ไปร่วมพัฒนาโรงพยาบาลสำเร็จ จะเป็นต้นแบบของการพัฒนาเพื่อให้เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศไทยต่อไป