Business Data Analytic Education Transformation 2023
ปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อสร้างนักวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์ที่พร้อมด้วยทักษะแห่งนักประกอบการ และทักษะด้านข้อมูล
ปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อสร้างนักวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์ที่พร้อมด้วยทักษะแห่งนักประกอบการ และทักษะด้านข้อมูล
ส่วนของการสัมมนา 3 มีนาคม 2566
|
ส่วนของการสัมมนา 4-5 มีนาคม 2566
|
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ “ล่าช้า” ในการจัดเนื่องจากสภาวะโรคระบาด Covid-19 ทว่าไม่ได้ “ช้า” เกินไปสำหรับ “ปัญหา” ด้านการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะและความรู้ประกอบกันในด้านการทำงานตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ กิจกรรมนี้เป็นความประสงค์ที่จะนำเอาพันธมิตรต่าง ๆ ในภาคธุรกิจ เพื่อถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์สู่ภาคการศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจาก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกับ MonsoonSIM Thailand จัดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่นิสิต นักศึกษา อาจารย์ ผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่สนใจ ที่จะร่วมสร้างให้ “ทักษะแห่งการประกอบการ” ได้รับการเสริมพลังจาก “ทักษะด้านข้อมูล” เพื่อสร้างนักประกอบการให้กับประเทศไทย
หมายเหตุสำคัญ: ภาคธุรกิจด้าน Data ได้รับการเชิญเข้าร่วมในรูปแบบพันธมิตร ไม่มีการเรียกร้องจากผู้จัดในรูปแบบสปอนเซอร์ MonsoonSIM ประเทศไทย ร่วมกับ คณะบริหารธุรกิจ ในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรม ซึ่งเน้นการจัดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เรียบง่าย บริหารรจัดการทรัพยากรอย่างพอเพียง
หมายเหตุสำคัญ: ภาคธุรกิจด้าน Data ได้รับการเชิญเข้าร่วมในรูปแบบพันธมิตร ไม่มีการเรียกร้องจากผู้จัดในรูปแบบสปอนเซอร์ MonsoonSIM ประเทศไทย ร่วมกับ คณะบริหารธุรกิจ ในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรม ซึ่งเน้นการจัดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เรียบง่าย บริหารรจัดการทรัพยากรอย่างพอเพียง
พันธมิตรของกิจกรรม
แนวคิดของการจัดกิจกรรม
กระบวนทัศน์ในการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจในยุคดิจิทัล ทำให้ภาคธุรกิจมีการปรับตัวในการใช้ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ มาปรับใช้ในการจัดการทางธุรกิจตั้งแต่การวิเคราะห์ตลาด ไปสู่การวิจัย พัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์ การติดตามผลเพื่อการประเมินผลและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ (Data Driven Business) โดยเริ่มตั้งแต่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ จนกระทั่งธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งมีการปรับตัวอย่างมากและเห็นได้ชัดตั้งแต่ก่อนการเกิดขึ้นของการระบาดโควิด-19 และทวีความชัดเจนยิ่งในช่วงวิกฤตดังกล่าวในภาคธุรกิจ
ปัจจุบันความต้องการนักวิเคราะห์ข้อมูลเป็นที่ต้องการโดยพิจารณาจากชื่อตำแหน่งงานสายเดต้า เป็นที่ต้องการเพิ่มสูงขึ้นมาก ทว่าบัณฑิตและบุคลากรที่ได้จากภาคการศึกษานั้นกลับมีทักษะและความรู้ที่เกี่ยวข้องไม่ตอบสนองความต้องการในธุรกิจ เนื่องจากการเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลโดยมากจากระบบการศึกษาของไทยมักจะขาดมุมมองด้านธุรกิจ และเมื่อจะนำเอาสายวิชาบริหารธุรกิจ ก็มักจะขาดความเข้าใจด้านเทคนิคต่างๆ ในสายเดต้า Business และ Data Analyst จึงมีช่องว่างที่จะต้องไปเติมในระหว่างการทำงาน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงความเข้าใจและเชี่ยวชาญเฉพาะธุรกิจและอุตสาหกรรม (Domain & Expertise) ทำให้ภาคธุรกิจที่จะขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ต่างสะดุดลงไป และต้องใช้เวลา ในปรับสื่อสารความเข้าใจ ในความแตกต่างกันในโครงการต่างๆ ที่มากขึ้น และมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลกระทบในระยะยาวต่อไปต่อธุรกิจที่จะขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและดิจิทัลในประเทศไทย |
ภาคการศึกษามีความพยายามปรับตัวซึ่งมีอัตราเร่งไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงและความเร่งในทางธุรกิจ ลำพังเพียง ความพยามยามที่จะสร้างการบูรณาการระหว่างศาสตร์ด้านธุรกิจ กับศาสตร์ด้านเทคนิคยังเป็นปัญหาสำคัญในภาค การศึกษา จึงเป็นที่มาของกิจกรรม Business Data Analytics Education Transformation
บทความประกอบการสัมมนา เรื่อง จักรมณฑลในอุดมคติแห่งการพัฒนา Business Data Analyst1 เพื่อสร้างนักธุรกิจที่สามารถตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จากภาคการศึกษาสู่ภาคอุตสาหกรรมรอยต่อที่รอการประสานเชื่อมโยงเพื่อศักยภาพและการเติบโตอย่างยั่งยืนในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของไทย โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
|
|
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์จากภาคธุรกิจด้านข้อมูล ไปสู่นักศึกษาที่มีความสนใจทำงานด้านข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางของกลุ่มเป้าหมายในการเตรียมตัว และพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และอาจารย์ผู้สนใจ และได้รับข้อมูลเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ ผ่านกิจกรรมสัมมนา และพบปะผู้เชี่ยวชาญและทำงานในสายงานโดยตรง ในวันที่ 3 มีนาคม 2566
- เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะพื้นฐาน นำไปพัฒนาต่อยอด โดยมุ่งให้เริ่มเกิดมีทักษะด้านข้อมูล, การใช้เครื่องมือ, กระบวนการจัดการข้อมูลไปสู่การการอธิบายสถานการณ์, วิเคราะห์สาเหตุแห่งปัญหาโดยใช้ข้อมูลร่วมกับหลักวิชาต่าง ๆ ไปสู่การแก้ไขปัญหา, คาดการณ์สถานการณ์และหาแนวทางรองรับโดยใช้ข้อมูลประกอบ เป็นพื้นฐานของ Data Analyst รวมไปถึงให้อาจารย์ได้มีโอกาสร่วมใน Workshop เพื่อเกิดความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอนจากผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานตรง และมีความเชี่ยวชาญในการฝึกอบรมในภาคเอกชน เพื่อให้สามารถนำเอาเทคนิคไปปรับใช้ เกิดความเข้าใจสภาพแวดล้อมและบริบทระหว่างการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มความเข้าใจและสร้างความมั่นใจในการนำเอาไปพัฒนาต่อไป ผ่านกิจกรรม Workshop ในวันที่ 4-5 มีนาคม 2566
กลุ่มเป้าหมาย
นักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ, มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก และมหาวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรของ MonsoonSIM Thailand และเปิดให้ผู้สนใจทั่วไปลงทะเบียนเข้าร่วม
นักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ, มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก และมหาวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรของ MonsoonSIM Thailand และเปิดให้ผู้สนใจทั่วไปลงทะเบียนเข้าร่วม
นิสิต นักศึกษา มหาวิทยาลัย เหมาะสำหรับ
|
อาจารย์ และฝ่ายวิชาการ (มหาวิทยาลัย) เหมาะสำหรับ
Highlight
|
รูปแบบกิจกรรม
Seminar Highlight
A) Keynote: 7 ทักษะที่ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต้องการจากภาคการศึกษา ถอดบทเรียนจากการทำงานจริงเพื่อการสร้างบัณฑิตที่มี ความพร้อมด้าน Data Analytics (Recommended สำหรับทุกท่าน) -- 09:15-10.00
โดย คุณดนัยรัตน์ ธนบดีธรรมจารี, ที่ปรึกษาด้านสถาปัตยกรรมองค์กร และการพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ: ทักษะที่จำเป็นเพื่อการทำงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในปัจจุบัน เน้นที่ 7 ทักษะความพร้อมด้าน Data Analytics สำหรับนิสิตนักศึกษา จะได้ทราบเพื่อประเมินว่า ตัวท่านเองพร่องทักษะใดเพื่อวางแนวทางและกรอบเวลาในการพัฒนาตัวท่านเอง สำหรับอาจารย์ จะได้ทราบแนวทางในการเร่งสร้างและเสริมทักษะที่จำเป็นเหล่านี้ |
|
B) Data Driven Business Challenge (Recommended สำหรับทุกท่าน ทั้งสาย Data และ Business) -- 10:05-10:50
โดย คุณจตุพล ชวพัฒนากุล CEO - MEDcury บริษัท Startup ด้าน Data Business ที่มาแรงของไทย ในกลุ่ม BackYard ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ: ท่านจะได้ทราบถึงความต้องการในภาคธุรกิจ และมีตัวอย่างจากผู้ที่มีประสบการณ์จริงในธุรกิจนี้ในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะเข้าใจถึงความจำเป็นแบบที่ทราบกันดี จะได้เข้าใจในระดับของ ปัญหา รูปแบบ วิธีการที่ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจที่ละเอียดขึ้นจากกรณีศึกษาต่าง ๆ |
|
C) The Intelligent Factory: Building an Efficient MLOps Pipeline (Recommended สำหรับทุกท่าน ทั้งสาย Data และ Business -- 11:05-11:50
โดย คุณชัยชนะ ถาวรทวีกุล Data Scientist, Data Wow บริษัท Startup สายเฉพาะทางด้าน Machine Learning และ AI ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ: ท่านจะได้ทราบถึงกระบวนการในการสร้าง Machine Learning และขั้นตอนในการปรับปรุงข้อมูลเพื่อพัฒนาโมเดลแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นกระบวนการด้าน Technical ที่ต้องสอดรับกับความต้องการของด้านธุรกิจ เช่น การตลาด, การขาย, การประชาสัมพันธ์ เพื่อเชื่อมโยงโลกแห่งข้อมูลตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น |
|
D) เสวนา: หากประเทศไทยจะผลิตบุคลากรด้าน Data ที่เป็นฐานกำลังสำคัญเพื่อสร้างโอกาสในธุรกิจใหม่ของไทย ภายในปี 2030 องค์กรภาคส่วนในประเทศไทยจะต้องร่วมมือ และลงมืออย่างไร (Recommended อย่างยิ่งโดยเฉพาะอาจารย์ และนิสิตนักศึกษาที่เป็นนักพัฒนาตนเอง หากหลักสูตรเปลี่ยนไม่ทันให้เปลี่ยนตัวเอง)
Moderator: คุณปรมินทร์ เยาว์ยืนยง Panelist ภาคธุรกิจ, Data Wow: คุณชัยชนะ ถาวรทวีกุล, Data Scientist และ คุณรุ่งฤทธิ์ เจริญศุภกุล, Head of Development Panelist สายสอน Data: ดร.เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา, DPU Panelist สายสอน Business: ดร.เอกอนงค์ ตั้งฤกษ์วราสกุล, KBS วัตถุประสงค์หลัก: เพื่อให้ภาคการศึกษา ได้รับฟังแนวคิด และปัญหาจากภาคเอกชน ในฐานะผู้รับบัณฑิตไปสู่การทำงาน เพื่อให้เกิดแนวทางการปรับหลักสูตร และ "วิธีการ" ในระดับที่ง่ายที่สุด คือ ระดับอาจารย์มืออาชีพ เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงในการศึกษาไทยเสมือนทางไกลที่เดินทางด้วยเส้นทางที่ขระขระและพาหนะที่ไม่เหมาะสม โดยนำเอาภาคของการศึกษาด้าน Business และ Data Analytics มาร่วมในวงการเสวนา สำหรับนักศึกษาในฐานะที่อยู่ในหลักสูตรที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทัน จะได้นำแนวทางไปปรับเส้นทงาการเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ให้ตัวเอง |
|
E) เสวนา: พูดคุยกันเองกับพี่ ๆ ในวงการ Data หากจะเดินทางในสายอาชีพ Data ต่อไป
Moderator: พี่ชิด ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง) Panelist ภาคธุรกิจ: แขกรับเชิญของ MonsoonSIM พี่โน้ต (ติรศักดิ์ ศิลป์ฟ้าพาณิชย์) พี่คิด (กิตติศักดิ์ รังสีปัญญา) วัตถุประสงค์หลัก: เพื่อให้นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสรับฟัง สอบถาม แลกเปลี่ยนทรรศนะ กับผู้ที่ทำงานตรงในสายอาชีพด้านธุจกิจที่เน้นการใช้ Data Intensive และร่วมถอดประสบการณ์อย่างเป็นกันเองในฐานะ พี่และน้อง |
|
Workshop Highlight
WS#1 Power BI x MonsoonSIM วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2566 เวลา 09.00-16.30 น. (จำเป็นจะต้องเข้าร่วมทั้งวัน ไม่สามารถที่จะเลือกเข้าครึ่งวันได้) Workshop นี้จะใช้ Platform Power BI เป็นหลัก วิทยากรคือ พี่บ๊อบ เพจวิศวกรสร้างภาพ โดยจะใช้ข้อมูลใน MonsoonSIM เป็นฐานในการสร้างความเข้าใจ เพื่อให้หลังจากที่ทราบเทคนิดและยังสามารถแปลความข้อมูลได้
DOWNLOAD SESSION for POWER BI x MonsoonSIM WORKSHOP 4 มีนาคม 2566
ท่านผู้เข้าร่วม Workshop จะต้อง Download ไฟล์ต่าง ๆ ดังนี้
ท่านผู้เข้าร่วม Workshop จะต้อง Download ไฟล์ต่าง ๆ ดังนี้
Download เพื่อร่วม Workshop
01_data_for_workshop_4mar23_renamed.zip | |
File Size: | 97 kb |
File Type: | zip |
File1: ไฟล์นี้ใช้ใน Workshop ช่วงแรก โปรด Download Extract แล้ววางไว้ที่หน้า Desktop เพื่อความสพดวกในการใช้งาน
mysql-connector-net-6.6.5.msi | |
File Size: | 13344 kb |
File Type: | msi |
File2: โปรดดาวโหลดและติดตั้งในเครื่องของท่าน ไฟล์นี้คือ My SQL Connector ที่เป็น Agent ในการส่งข้อมูลที่ MonsoonSIM Server ใช้กับ Feature Live Access เพื่อประสบการณ์การ Get Data จาก Database SQL Server และ Real Time Analytics (สามารถใช้ได้กับ Power BI และ Google Data Studio)
data_analytics_with_monsoonsim_descriptive_ws_4.3.2023_revised.pdf | |
File Size: | 2591 kb |
File Type: |
File 3: ไฟล์นี้คือไฟล์ PDF อธิบายรายละเอียดของ Data ที่ใช้ใน Workshop นี้เป็น Reference และบรรจุ Username/Password สำหรับ Live Access ที่ใช้ใน Workshop ช่วงบ่าย
Option to Downlaod Data Set เพื่อการฝึกฝน
02_data_full_set_for_extension_study.zip | |
File Size: | 139 kb |
File Type: | zip |
File 4: เป็น Data Set จาก MonsoonSIM เพื่อใช้ในากรฝึกฝนเพิ่มเติม
WS#2 Google Data Studio วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. โดยใช้ Cloud Google Data Studio ซึ่งท่านจะต้องมี access ของ gmail ประกอบ วิทยากรจาก Google Thailand โดยจะใช้ฐานข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความความหลากหลายในประสบการณ์
|
|
|
|
WS#3 Real Time Analytic Experience with MonsoonSIM
วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2566 โดยใช้ Feature Live Access ของ MonsoonSIM เพื่อส่งผ่านข้อมูลออกไปแบบ real Time โดยนิสิต/อาจารย์ จะต้องเตรียม 3rd Party BI เช่น Power BI/Tableau ซึ่งสามารถนำส่งข้อมูลผ่าน SQL agent และทดลองสร้าง Operation/Decision Making Dashboard เพื่อประกอบการตัดสินใจ และเล่น MonsoonSIM ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เกิดประสบการณ์ Real Time Analytics และเชื่อมโยงการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลประกอบกัน
วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2566 โดยใช้ Feature Live Access ของ MonsoonSIM เพื่อส่งผ่านข้อมูลออกไปแบบ real Time โดยนิสิต/อาจารย์ จะต้องเตรียม 3rd Party BI เช่น Power BI/Tableau ซึ่งสามารถนำส่งข้อมูลผ่าน SQL agent และทดลองสร้าง Operation/Decision Making Dashboard เพื่อประกอบการตัดสินใจ และเล่น MonsoonSIM ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เกิดประสบการณ์ Real Time Analytics และเชื่อมโยงการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลประกอบกัน
ทีมผู้ร่วมจัดงาน
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร.เอกอนงค์ ตั้งฤกษ์วราสกุล
- MonsoonSIM Thailand โดยปรมินทร์ เยาว์ยืนยง, [email protected]