TH ERM Challenge เป็นการแข่งขันที่เน้นการสร้างประสบการณ์ แต่ใช้ "การแข่งขัน" มาเป็นกลไกในการเรียนรู้เพิ่มเติม ซึ่งจัดมาตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปัจจุบัน (2018) ผ่าน theme ในการเรียนรุ็ที่หลากหลาย
อย่างไรก็ตาม การแข่งขัน TH ERM Challenge ในทุกครั้งผู้จัดเน้นถึง "ประสบการณ์" "การผสมผสานความรู้" และ "การปรับใช้ในโลกแห่งความจริง" ซึ่งเป็นหลักยึดในการแข่งขัน ในปี 2018 นี้ กระบวนการเรียนใน Conceptual Class เปลี่ยนแปลงไปสำหรับมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่สมาชิกของ MonsoonSIM ประเทศไทย ผู้จัดได้จัดกิจกรรม MonsoonSIM Boot Camp สำหรับมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักศึกษา รวมไปถึงรูปแบบในการแข่งขันดังนี้
ผู้จัดเองก็สร้างหลักการแข่งขันใหม่นี้ บนหลักการของ Disruptive เพื่อสร้างให้การแข่งขันเกิดผลลัพท์ใหม่ขึ้น เกิดความเปลี่ยนแปลง จะดีหรือร้ายนั้น ผู้จัดแนะนำเยาวชนเสมอว่า "ต้องการให้ผิด และเรียนรู้จากมัน" ซึ่งปีนี้ในฐานะผู้จัดมีความพอใจในการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้นว่าการแข่งขันในโหมดสาธารณะจะไม่มีอีกแล้ว เพราะว่าผู้จัดได้ทดลองบนสมมติฐานที่เชื่อมั่นก่อนเข้าสู่ธุรกิจภาคการศึกษามาเป็นเวลากว่า 4 ปี ในฐานะผู้จัดเอง "เสียดาย" ว่าประโยชน์สาธารณะที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น จำเป็นต้องยุติลงกับการ "มาก่อนกาล" ในวิธีคิดของผู้จัด อย่างไรก็ตาม ผู้จัดยังคงจะสร้างประโยชน์ต่อไป แต่ทำในขอบเขตที่สามารถกระทำได้ บนความเห็นใจ เห็นพ้อง เห็นประโยชน์ ของสถาบันที่เป็นสมาชิกร่วมกัน
ผู้จัดจะได้ไม่ต้องได้เห็นหรือรับฟังความพิสดารในวิธีคิดของการศึกษาไทย เช่น "มีประโยชน์แต่ไม่มีงบประมาณ" ทั้ง ๆ ที่งบประมาณที่จ่ายไปกับเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มีมากมาย และไม่ได้เกิดตรงกับเจตน์จำนงของการเป็นสถาบันศึกษา, "รอให้ชนะก่อนแล้วจะพิจารณา" ซึ่งเป็น KPI ที่พิสดารบนสังคมพิสดารแบบไทย ๆ, "เครื่องมือไม่ตรงกับวิชาที่สอนโดยตรง" กับอาจารย์โดยอาชีพ ซึ่งยังคงอยู่ในวังวนของ Silo-Knowledge ที่ผิดยุคผิดสมัย ผู้จัดดีใจที่จะไม่ต้องเผชิญเรื่องราวแบบนี้ ถึงแม้นว่าจะต้องจำกัดความฝันให้เล็กลงไปก็ตาม
ในปี 2019 TH ERM Challenge ในหมู่ของสาถบันที่เป็นสมาชิกของเรา อยู่ใน Theme จิตตะ ทักษะ วิชชยะ อุปกรณะ แห่งการประกอบการ เพื่อสยามประเทศ (Mindset, Skillset, Knowledge set and Tool set of Entrepreneurship) เพื่อส่งมอบทักษะสำคัญยิ่ง คือ ทักษะแห่งการประกอบการ
เสียใจแต่ไม่เสียดายกับการ "อวสาน" ใน Episode นี้
ปรมินทร์ ้เยาว์ยืนยง
ผู้ขี่พายุแห่งฝัน และพ่ายแพ้ต่อลมประจำถิ่นแห่งการศึกษาไทย
- 2016; เปิดประตูสู่การเรียนรู้พหุวิชา ซึ่งประสงค์ให้แนวทางการใช้สหวิชา เป็นการเรียนรู้ที่ควรเป็น โดยผู้จัดเล็งเห็นว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็น Silo และนักเรียนนักศึกษาชาวไทยนั้น ไม่มีความสามารถ หรือมีความสามารถในการ Integrate ความรู้เข้าด้วยกันน้อย ซึ่งเป็นปัญหาในอนาคน
- 2017; เปิดใจ เรียนรู้ ร่วมมือ พัฒนา เป็น theme จากบทเรียนในปี 2016 ซึ่งผู้จัดนำเอา MonsoonSIM พัดพาไปกว่า 32 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย และค้นพบว่า สถาบันการศึกษาส่วนมากไม่มีแนวคิดในการสร้าง Integrationi of Knowledge ประกอบกับให้ความร่วมมือเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับนักศึกษาในวงที่จำกัด จึงต้องการประสานให้ทุกคน ทุกฝ่ายในการศึกษาร่วมกันขับเคลื่อน โดยอาศัยคติของการแข่งขันในปี 2017 เพื่อย้ำเตือนว่า หากไม่มีกุญแจหลัก 4 คำนี้ เราจะเห็นการอวสานของการศึกษา ซึ่งผู้จัดย้ำก่อนกระแส Education Disruption จะเกิดขึ้น
- 2018; ต่อยอดการเรียนรู้ มุ่งสู่่สังคม Active Learner เป็น theme ในการทำกิจกรรม และการแข่งขัน ผู้จัดเปลี่ยนกระบวนการ และวิธีการเพื่อสร้าง Active Leaner ซึ่งจะเป็นทางรอดให้กับสังคมไทย เมื่อเยาวชนจะสามารถเข้าสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในสังคมยุคดิจิตอล ซึ่ง 2018 นี้เป็นภาค "อวสาน" ของการแข่งขันในโหมดสาธารณะ ซึ่งผู้จัดเห็นควรว่า จะให้บริการเฉพาะกับคนที่เห็นค่าของ Integration of Knowledge, สถาบันและคณาจารย์ผู้เปิดใจ เรียนรู้ไปด้วยกัน ร่วมมือสร้างประสบการณ์และความรู้ให้กับเยาวชน และเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทย เพืื่อก้าวสู่สังคม Active Leaner ซึ่งเรียงร้อยต่อกันมา ตลอด 3 ปีของการแข่งขัน ผู้จัดเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เชื่องช้าในภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่กำลังผจญกับมรสุมของการออกนอกระบบสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, ปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษาจ่อค่าใช้จ่ายในสถาบันการศึกษาเอกชน, ปัญหาที่บุคคลากรภาคการศึกษาปรับตัวแต่ "ภาพ" ไม่ได้ปรับ "วิธีการ" เพื่อให้เกิดผลลัพท์ใหม่, ปัญหาของ Mindset ของคนในภาคการศึกษาในระดับของ Decision Maker, ปัญหาการเมืองภายในซึ่งกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงและประโยชน์ของนักศึกษา ฯลฯ จนเป็นที่มาของภาคอวสานนี้
อย่างไรก็ตาม การแข่งขัน TH ERM Challenge ในทุกครั้งผู้จัดเน้นถึง "ประสบการณ์" "การผสมผสานความรู้" และ "การปรับใช้ในโลกแห่งความจริง" ซึ่งเป็นหลักยึดในการแข่งขัน ในปี 2018 นี้ กระบวนการเรียนใน Conceptual Class เปลี่ยนแปลงไปสำหรับมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่สมาชิกของ MonsoonSIM ประเทศไทย ผู้จัดได้จัดกิจกรรม MonsoonSIM Boot Camp สำหรับมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักศึกษา รวมไปถึงรูปแบบในการแข่งขันดังนี้
- เป็นปีแรกที่มีค่าสมัคร ซึ่งถึงแม้นจะถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมาย แค่ผู้จัดนั้น มีหลักการ เพื่อที่จะให้นักศึกษาได้ "ลงทุน" ในเรื่องที่เกิดประโยชน์ และเป็นการคัดกรองความไม่จริงจังออกไป เงินค่าสมัครได้ถูกส่งมอบไปยังองค์กรสาธารณะกุศลกว่า 25 องค์กรทั่วไทย เป็นเงินยอดรวม ราว 13,140 บาท เพื่อสอนให้เยาวชนไทย "แบ่งปัน"
- ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ได้นำพานักศึกษาเท่าที่ผู้จัดจะมีกำลังทรัพย์ในการจัด เนื่องจากเป็นปีแรกที่ไม่มีผู้สนับสนุนการจัดการแข่งขัน และงดกิจกรรมที่ผู้จัดเคยตั้งใจว่าจะสร้างประโยชน์สาธารณะให้กับกลุ่มบุคคลากรทางการศึกษา ภายใต้ชื่อ MonsoonSIM Seminar ออกไปเสีย โดยปีนี้ได้พานักศึกษาไปทัศนศึกษา SME (ขอขอบคุณ บริษัท ชินะซัพพลาย จำกัด และคุณชูเกรียรติ ชินประดิษฐ์สุข กรรมการผู้จัดการ) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เห็น "ของจริง" และได้กรุณายิ่งให้นักศึกษาได้สัมภาษณืบุคคลากรในองค์กร ในทุกระบวนการ และให้เข้าสัมภาษณ์แบบ Exclusive เป็นเวลาทีมละ 5 นาที เพื่อที่จะให้นักศึกษาเชื่อมโยงประสบการณ์จำลองจาก Simulation ผสมผสานความรู้หลักจากสาขาที่เรียน รวมเข้ากับ Integration of Knowledge ที่พบใน MonsoonSIM's Experiences แล้วปรับให้เข้าสู่กระยบวนการเรียนรู้ และทำให้การแข่งขันบริหารทรัพยากรองค์กร เข้าสู่โลกแห่งความจริง ท่านสามารถดูผลแห่งการทดลองได้ที่ https://www.monsoonsimthailand.com/36123621359136343609361936293610360936353648362636093629-sme-case.html
- ผู้จัดได้เปลี่ยนกระบวนการแข่งขัน จากเดิมที่จะต้องเอาความรู้ และประสบการณ์มานำเสนอ ด้วยภาษาอังกฤษแบบ Live Presentation เปลี่ยนเป็น Recoreded English Presentation โดยมีเป้าประสงค์ให้นักศึกษาได้ฝึกฝน การใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งผลของกิจกรรมนี้ สามารถติดตามได้ที่ https://www.monsoonsimthailand.com/36123621359136343609361936293610-english-presentation.html
- ผู้จัดกำหนดกติกาเพื่อคัดกรอง ผู้ที่ไม่่ "เปิดใจ เรียนรู้ ร่วมมือ พัฒนา" ไม่เข้าใจหลักการของ Co-Value Creation, Co-Operation และ Co-Funding ซึ่ง ผุ็จัดยังคงพบว่า สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่มีความไม่เข้าใจใน หลัก 3 Co เท่าใดนัก Co-Funding เป็นส่วนที่มีความร่วมมือน้อยที่สุด ส่วนเหตุผลใดนั้นผมไม่นำเสนอจะดีกว่า, Co-Operation เป็นส่วนที่ภาคการศึกษาทำได้ดี ซึ่งผู้จัดคาดว่ามาจากความประสงค์ที่จะสร้างให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์มิได้มาจาก KPI ที่ผิดพลาด และสิ่งที่มีความเข้าใจน้อย แต่พอจะมีคือ Co-Value Creation ซึ่งตรงจุดนี้คงจะต้องอาศัยเวลา กับการเปลี่ยนแปลง mindset ในสังคมไทย
ผู้จัดเองก็สร้างหลักการแข่งขันใหม่นี้ บนหลักการของ Disruptive เพื่อสร้างให้การแข่งขันเกิดผลลัพท์ใหม่ขึ้น เกิดความเปลี่ยนแปลง จะดีหรือร้ายนั้น ผู้จัดแนะนำเยาวชนเสมอว่า "ต้องการให้ผิด และเรียนรู้จากมัน" ซึ่งปีนี้ในฐานะผู้จัดมีความพอใจในการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้นว่าการแข่งขันในโหมดสาธารณะจะไม่มีอีกแล้ว เพราะว่าผู้จัดได้ทดลองบนสมมติฐานที่เชื่อมั่นก่อนเข้าสู่ธุรกิจภาคการศึกษามาเป็นเวลากว่า 4 ปี ในฐานะผู้จัดเอง "เสียดาย" ว่าประโยชน์สาธารณะที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น จำเป็นต้องยุติลงกับการ "มาก่อนกาล" ในวิธีคิดของผู้จัด อย่างไรก็ตาม ผู้จัดยังคงจะสร้างประโยชน์ต่อไป แต่ทำในขอบเขตที่สามารถกระทำได้ บนความเห็นใจ เห็นพ้อง เห็นประโยชน์ ของสถาบันที่เป็นสมาชิกร่วมกัน
ผู้จัดจะได้ไม่ต้องได้เห็นหรือรับฟังความพิสดารในวิธีคิดของการศึกษาไทย เช่น "มีประโยชน์แต่ไม่มีงบประมาณ" ทั้ง ๆ ที่งบประมาณที่จ่ายไปกับเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มีมากมาย และไม่ได้เกิดตรงกับเจตน์จำนงของการเป็นสถาบันศึกษา, "รอให้ชนะก่อนแล้วจะพิจารณา" ซึ่งเป็น KPI ที่พิสดารบนสังคมพิสดารแบบไทย ๆ, "เครื่องมือไม่ตรงกับวิชาที่สอนโดยตรง" กับอาจารย์โดยอาชีพ ซึ่งยังคงอยู่ในวังวนของ Silo-Knowledge ที่ผิดยุคผิดสมัย ผู้จัดดีใจที่จะไม่ต้องเผชิญเรื่องราวแบบนี้ ถึงแม้นว่าจะต้องจำกัดความฝันให้เล็กลงไปก็ตาม
ในปี 2019 TH ERM Challenge ในหมู่ของสาถบันที่เป็นสมาชิกของเรา อยู่ใน Theme จิตตะ ทักษะ วิชชยะ อุปกรณะ แห่งการประกอบการ เพื่อสยามประเทศ (Mindset, Skillset, Knowledge set and Tool set of Entrepreneurship) เพื่อส่งมอบทักษะสำคัญยิ่ง คือ ทักษะแห่งการประกอบการ
เสียใจแต่ไม่เสียดายกับการ "อวสาน" ใน Episode นี้
ปรมินทร์ ้เยาว์ยืนยง
ผู้ขี่พายุแห่งฝัน และพ่ายแพ้ต่อลมประจำถิ่นแห่งการศึกษาไทย