การแข่งขัน TH ERM Challenge หรือการแข่งขันบริหารทรัพยากรองค์กร ผ่านโปรแกรจำลองสถานการณ์ทางธุรกิจ MonsoonSIM Business Simulation ไได้จัดมาตั้งแต่ปี 2016 จนถึงครั้งที่ 4 ในปี 2019 นี้ ซึ่งจัดเป็นครั้งสุดท้าย โดยในปีนี้ มีแนวคิดเรื่องการให้ประสบการณ์ และการสร้างแนวคิดเรื่อง การประกอบการและการเป็นผู้ประกอบการที่ดีภายใต้ชื่อ TH ERM Challenge 2019 จิตตะ ทักษะ วิชชยะ อุปกรณะ แห่งการประกอบการเพื่อยุวชนแห่งสยามประเทศ
กิจกรรมในปีนี้ จัดขึ้นเฉพาะสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกของ MonsoonSIM ประเทศไทย รวมไปถึง สถาบันการศึกษาที่ประสงค์เข้าร่วมผ่านการร่วมสมทบทุนในการจัดการแข่งขัน ซึ่งมี 6 สถาบันเข้าด้วยกัน ได้แก่
ซึ่งแต่ละสถาบัน ได้มีกิจกรรมคดเลือกภายใน และส่งตัวแทนมาเข้าร่วมการแข่งขันในรอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศ และชิงชนะเลิศ ระหว่างสถาบันการศึกษา ในวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ณ คณะบริการธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
การแข่งขันเน้นประสบการณ์ การบูรณาการด้านทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษา และความรู้ที่บูรณาการทุกศาสตร์เข้าร่วมกัน มากกว่าผลการแข่งขัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกปีของการแข่งขันนี้ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ และวิธีการแข่งขันที่หลากหลาย เช่น
การแข่งขันเป็นไปตามหลักการตัดสินบนความยุติธรรมและโปร่งใส ซึ่งในปี 2019 นี้ ได้รับความร่วมมือจาก สภาอาจารย์ MonsoonSIM มาร่วมเป็นกรรมการในการตัดสิน ทั้งในส่วนของ English Presentation และในการโต้วาที ซึ่งขอบขอบพระคุณท่านคณาจารย์ทุกท่านอย่างมาก รวมไปถึง กรรมการรับเชิญที่ให้เกียรติและสละเวลาแก่การแข่งขันในทุกปี โดยมีปีนี้ ประกอบด้วย อ.สิริพงศ์ จึงถาวรรณ Lean Master, ดร.ศุภธิดา พรหมพยัคฑ์ และคุณชูเกียรติ ชินประดิษฐ์สุข ซึ่งทั้งสามท่านได้กรุณาให้คำนะนำแก่นักศึกษาเพื่อเป็นประสบการณ์หลังจากตัดสินสิ้นสุุดลง
นักศึกษาที่ผ่านโครงการแข่งขัน TH ERM Challenge จะได้รับประสบการณ์อันหลากหลายในรอบหลายปีที่ผ่าน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดการแข่งขัน หากเขาและเธอเหล่านั้น นำใบประกาศนียบัตรไปแสดงแก่ท่าน ขอให้รับรู้ว่าว่า เขาและเธอเหล่านั้น เป็นเยาวชนที่มีตวามอดทน, มีทักษะนการแก้ปัญหา, มีพื้นฐานการใช้ภาษาอังกฤษในการนำเสนอ, มีความรู้พื้นฐานในการบริหารธุรกิจและการจัดการทางธุรกิจหลายด้านหลายมุม, มีความสามารถในการทำงานประสานกันเป็นทีม การสื่อสารระหว่างกัน ฯลฯ เขาเป็นเยาวชนคุณภาพของประเทศไทย ขอให้ท่านได้มอบโอกาสให้เขาเหล่านั้นได้เฉิดฉายต่อไป
ผู้จัดได้ลงมือ ทดลอง เรียนรู้ โดยมุ่งหมายว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของไทย ด้วยวิธีใหม่ เครื่องมือใหม่ วิธีคิดใหม่ ผ่านการเดินทางทั้ง 4 ปีที่ผ่านมา
2016 The First Thailand ERM Challenge เปิดประตูความรู้มุ่งสู่สังคมสพหุวิชา
2017 เปิดใจ เรียนรู้ ร่วมมือ และพัฒนา
2018 ต่อยอดการเรียนรู้ มุ่งสู่สังคม Active Learner
2019 The Last Thailand ERM Challenge จิตตะ ทักษะ วิชชยะ อุปกรณะแห่งการประกอบการเพื่อสยามประเทศ
การศึกษาไทย เราต่างรู้ว่าจะต้องปรับตัว แต่เราลงมือทำกันในส่วนน้อย และ ลงความพยายามกันน้อยไป จนไม่เกิดผลแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ๆ ที่นักศึกษาของเราเก่งขึ้น มีทักษะที่ดีขึ้น ผู้จัดได้พยายามมาแล้ว 4 ปี บนกระแสทานที่ผู้จัดเองก็ไม่สามารถฝืนว่ายได้ต่อไป แต่ผู้จัดได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และในระหว่างการเดินทาง มีประสบการณ์ มีปัญหาที่ให้ผู้จัดเรียนรู้ แก้ไข โดยท่านจะเห็นจาก Theme ในการจัดการแข่งขันในแต่ละปี ผู้จัดเปลี่ยนแปลงระบบการแข่งขัน และวิธีการต่าง ๆ ตลอดมา เพื่อทำให้เห็น ทดลองได้ดู ในรอบ 5 ปีนี้ ได้นำเสนอ วิธีการสอนอันหลากหลาย ทั้งถูกใจและไม่ถูกใจอาจารย์หลายท่าน ได้เดินทางพบเห็น ปัญหา รู้จักคนมากมาย เห็นสถาบันการศึกษาที่จะได้ไปต่อ และ่รวงโรยลงไปพบเห็นคนดีในวงการศึกษา และเห็นผู้ร้ายในคราบนักวิชาการก็มาก พบเห็น "เกียร์ว่าง" พบเห็นการไม่ตัดสินใจ พบเห็นคนในวงการที่ไปโดยไม่มีเป้าหมายอีกแล้ว ทั้งหมดคือความหลากหลาย ผู้จัดบอกได้ด้วยวลีงดงามจากเพลง ว่าอะไรดีดีก็เก็บ อะไรไม่ดีก็โยนทิ้งไป
Education Transformation จะสำเร็จเมื่อ ภาคการศึกษา "ยกเลิก" บางสิ่งที่ล้าสมัย ไม่ทันการณ์ทิ้งไป "ปรับปรุง" สิ่งเดิมที่มี ให้เกิดความงอกงาม และ "สร้าง" สิ่งใหม่ ที่เป็นนวตกรรมทางการศึกษา การเปลี่ยนแปลงที่ "ภาพลักษณ์" โดยอาศัยมายาแห่งการตลาด และช่องว่างอันเสียเปรียบจากผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควร ภาคประชาสังคม ต้องร่วมมือ ผู้จัดได้พบพานคนที่มีใจ แต่ไม่มี "มือ" "เวลา" ในการลงมือทำ และท้ายสุด ก็ไม่ได้ทำอะไรจากการมีใจนั้น หรือ ทำในลักษณะไม่มีพลังเพียงพอ ปัญหาการศึกษาในบุตรหลานของท่านอาจจะแก้ไขด้วยการใช้ทรัพยากรบางตัวในการแก้ไข ทว่า อย่าลืมว่าลูกหลานของท่าน จะโตไปในสังคมที่ คนส่วนใหญ่ยังอยู่กับ "ระบบการศึกษาเดิม" ที่ท่านพาบุตรหลานหนีไป และท้ายที่สุดประเทศจะไม่มีแรงใด ๆ ในการผลักดันในอนาคต เพราะว่า สิง่ที่การศึกษาที่ดีควรสร้างไว้ไม่เกิดขึ้น
ผมขอประกาศจบตำนาน(ส่วนตัว) ในการแข่งขันที่เชื่อว่า ดีที่สุดเวทีหนึ่งในประเทศไทย ดี่ต่อใจ ดีต่อสังคมไทย ไว้ที่ปี 2019 นี้ และฝากไว้แก่ผู้ที่มีพลังเหลือที่มักจะก้าวมาใหม่ โดยอาศัยแรงใจ ฝากถึงคนที่ได้อ่านบทความง่าย ๆ สั้น ๆ นี้ ที่ยังลงมือไม่พอ ยังสนับสนุนไม่พอ ให้สนับสนุน New Comer ต่อไป ขอพลังจงอยู่กับท่าน ส่วนตัวผู้จัดนั้น จะยังทำตามอุดมคติเดิม กับ "คนที่ลงมือ" เท่านั้น ย่อขนาดความฝันให้เหลือ ความจริง
ขอแสดงความเคารพต่อทุกท่านที่มีส่วนร่วมทั้งดีร้ายตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมดครับ
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
ผู้จัดของการแข่งขัน ที่ดีที่สุดเวทีหนึ่งของไทย ดีต่อใจ ดีต่อสังคมไทย
ผู้มาก่อนการณ์ และผู้จากไปก่อนเวลาอันควรในการปฎิรุปการศึกษาไทย
กิจกรรมในปีนี้ จัดขึ้นเฉพาะสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกของ MonsoonSIM ประเทศไทย รวมไปถึง สถาบันการศึกษาที่ประสงค์เข้าร่วมผ่านการร่วมสมทบทุนในการจัดการแข่งขัน ซึ่งมี 6 สถาบันเข้าด้วยกัน ได้แก่
- วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
- โรงเรีนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- คณะเทคโลยีสารสนเทศและการจัดการอุตสาหกรรม และ คณะบริหารธุรกิจและอุตสากรรมการบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์
- สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ป่่น
ซึ่งแต่ละสถาบัน ได้มีกิจกรรมคดเลือกภายใน และส่งตัวแทนมาเข้าร่วมการแข่งขันในรอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศ และชิงชนะเลิศ ระหว่างสถาบันการศึกษา ในวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ณ คณะบริการธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
การแข่งขันเน้นประสบการณ์ การบูรณาการด้านทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษา และความรู้ที่บูรณาการทุกศาสตร์เข้าร่วมกัน มากกว่าผลการแข่งขัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกปีของการแข่งขันนี้ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ และวิธีการแข่งขันที่หลากหลาย เช่น
- มี Pre-Workshop ก่อนการแข่งขัน เพื่อสร้างมุมมองด้านการประกอบการ, หลักวิธีคิด วิเคราะห์ พิจารณาปัญหาต่าง ๆ ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่มการแข่งขันเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ
- การจัดทำ English Presentation Clip ในหัวข้อ จะนำความรู้ในสาขาวิชาหลัก + ความรู้พื้นฐานในการบริหารจัดการอยางไร เพื่อเป็นนักประกอบการที่ดี ซึ่งเป็นกิจกรรมภาคบังคับ ซึ่งแฝงไว้ด้วย แนวคิดที่ว่า นักศึกษาจะได้ก้าวข้ามการใช้ภาษาอังกฤษ เพราะว่ากวาจะมาเป็น Clip ที่นำเสนอให้คณะกรรมการ โดยมีคะแนนในรอบชิงกว่า 40% (ซึ่งใช้สภาคณาจารย์ร่วมกันตัดสิน และเป็นการเรียนรู้ระหว่างกัน ระหว่างสถาบันตามวัตถุประสงค์ของผู้จัด) นักศึกษาต้องฝึกฝนการใช้ภาษา, ต้องคิดโครงเรื่อง หาเหตุผล และตัวอย่างในโลกธุรกิจมาเพื่อนำเสนอ ท่านสามารถดูคลิปผลงานของนักศึกษาได้ ที่นี่ (แล้วท่านจะพบว่านักศึกษาของไทย มีความพยายาม มีความกล้า และมีจินตนาการ และฝีมือในการนำเสนอ)
- มีการแข่งขันด้วย MonsoonSIM Business Simulation ซึ่งในปีนี้ ใช้กติกาการแข่งในสถานการณ์เดิม 2 ครั้ง และนำผลคะแนนมาเฉลี่ยเพื่อคัดผู้เข้ารอบต่อไป ภายใต้แนวคิด การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และการเรียนรู้จากความผิดพลาด เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสพิจารณาปัญหา และหาหนทางแก้ไข และเป็นการให้โอกาสผู้เข้าแข่งขันได้ทดลองวิธีการ หรือหาหนทางแก้ปัญหาไปด้วย หลังจากนั้น มีการแข่งขันที่เป็น High light ของการแข่งขันในปีนี้ คือ การแข่งขันโต้วาที ซึ่งต้องใช้ทักษะหลากหลาย ซึ่งทักษะเหล่านี้อาจไม่พบในการเรียนการสอนแบบทั่วไปในหลักสูตรปัจจุบัน โดยผู้จัดประสงค์จะสร้างทักษะเหล่านี้ให้ติดตัวนักศึกษาไป และกิจกรรมนี้ก็เป็นกิจกรรมที่ห่างหายจากสังคมไทยมานาน ท่านสามารถดูผลงานของนักศึกษาในการโต้วาทีได้ ที่นี่
- การแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ เป็นการออกแบบเพื่อสร้างมุมมองต่อปัญหาหนึ่งๆ ให้เกิดการเชื่อมโยงจากพื้นฐานหลาย ๆ ส่วนเข้าด้วยกัน ด้วย Quiz Competition
- CHAMPION ได้แก่ ทีม Deja Vu จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บัญชี + วิศวะไฟฟ้าเครื่องกล)
- รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ GIF จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บริหารธุรกิจ + เกษตร + เศรษฐศาสตร์ + รัฐศาสตร์)
- รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ Black Light จากโรงเรียนนาย้อยพระจุลจอมเกล้า (สังคมศาสตร์ + วิทยาการคอมพิวเตอร์)
การแข่งขันเป็นไปตามหลักการตัดสินบนความยุติธรรมและโปร่งใส ซึ่งในปี 2019 นี้ ได้รับความร่วมมือจาก สภาอาจารย์ MonsoonSIM มาร่วมเป็นกรรมการในการตัดสิน ทั้งในส่วนของ English Presentation และในการโต้วาที ซึ่งขอบขอบพระคุณท่านคณาจารย์ทุกท่านอย่างมาก รวมไปถึง กรรมการรับเชิญที่ให้เกียรติและสละเวลาแก่การแข่งขันในทุกปี โดยมีปีนี้ ประกอบด้วย อ.สิริพงศ์ จึงถาวรรณ Lean Master, ดร.ศุภธิดา พรหมพยัคฑ์ และคุณชูเกียรติ ชินประดิษฐ์สุข ซึ่งทั้งสามท่านได้กรุณาให้คำนะนำแก่นักศึกษาเพื่อเป็นประสบการณ์หลังจากตัดสินสิ้นสุุดลง
นักศึกษาที่ผ่านโครงการแข่งขัน TH ERM Challenge จะได้รับประสบการณ์อันหลากหลายในรอบหลายปีที่ผ่าน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดการแข่งขัน หากเขาและเธอเหล่านั้น นำใบประกาศนียบัตรไปแสดงแก่ท่าน ขอให้รับรู้ว่าว่า เขาและเธอเหล่านั้น เป็นเยาวชนที่มีตวามอดทน, มีทักษะนการแก้ปัญหา, มีพื้นฐานการใช้ภาษาอังกฤษในการนำเสนอ, มีความรู้พื้นฐานในการบริหารธุรกิจและการจัดการทางธุรกิจหลายด้านหลายมุม, มีความสามารถในการทำงานประสานกันเป็นทีม การสื่อสารระหว่างกัน ฯลฯ เขาเป็นเยาวชนคุณภาพของประเทศไทย ขอให้ท่านได้มอบโอกาสให้เขาเหล่านั้นได้เฉิดฉายต่อไป
ผู้จัดได้ลงมือ ทดลอง เรียนรู้ โดยมุ่งหมายว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของไทย ด้วยวิธีใหม่ เครื่องมือใหม่ วิธีคิดใหม่ ผ่านการเดินทางทั้ง 4 ปีที่ผ่านมา
2016 The First Thailand ERM Challenge เปิดประตูความรู้มุ่งสู่สังคมสพหุวิชา
2017 เปิดใจ เรียนรู้ ร่วมมือ และพัฒนา
2018 ต่อยอดการเรียนรู้ มุ่งสู่สังคม Active Learner
2019 The Last Thailand ERM Challenge จิตตะ ทักษะ วิชชยะ อุปกรณะแห่งการประกอบการเพื่อสยามประเทศ
การศึกษาไทย เราต่างรู้ว่าจะต้องปรับตัว แต่เราลงมือทำกันในส่วนน้อย และ ลงความพยายามกันน้อยไป จนไม่เกิดผลแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ๆ ที่นักศึกษาของเราเก่งขึ้น มีทักษะที่ดีขึ้น ผู้จัดได้พยายามมาแล้ว 4 ปี บนกระแสทานที่ผู้จัดเองก็ไม่สามารถฝืนว่ายได้ต่อไป แต่ผู้จัดได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และในระหว่างการเดินทาง มีประสบการณ์ มีปัญหาที่ให้ผู้จัดเรียนรู้ แก้ไข โดยท่านจะเห็นจาก Theme ในการจัดการแข่งขันในแต่ละปี ผู้จัดเปลี่ยนแปลงระบบการแข่งขัน และวิธีการต่าง ๆ ตลอดมา เพื่อทำให้เห็น ทดลองได้ดู ในรอบ 5 ปีนี้ ได้นำเสนอ วิธีการสอนอันหลากหลาย ทั้งถูกใจและไม่ถูกใจอาจารย์หลายท่าน ได้เดินทางพบเห็น ปัญหา รู้จักคนมากมาย เห็นสถาบันการศึกษาที่จะได้ไปต่อ และ่รวงโรยลงไปพบเห็นคนดีในวงการศึกษา และเห็นผู้ร้ายในคราบนักวิชาการก็มาก พบเห็น "เกียร์ว่าง" พบเห็นการไม่ตัดสินใจ พบเห็นคนในวงการที่ไปโดยไม่มีเป้าหมายอีกแล้ว ทั้งหมดคือความหลากหลาย ผู้จัดบอกได้ด้วยวลีงดงามจากเพลง ว่าอะไรดีดีก็เก็บ อะไรไม่ดีก็โยนทิ้งไป
Education Transformation จะสำเร็จเมื่อ ภาคการศึกษา "ยกเลิก" บางสิ่งที่ล้าสมัย ไม่ทันการณ์ทิ้งไป "ปรับปรุง" สิ่งเดิมที่มี ให้เกิดความงอกงาม และ "สร้าง" สิ่งใหม่ ที่เป็นนวตกรรมทางการศึกษา การเปลี่ยนแปลงที่ "ภาพลักษณ์" โดยอาศัยมายาแห่งการตลาด และช่องว่างอันเสียเปรียบจากผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควร ภาคประชาสังคม ต้องร่วมมือ ผู้จัดได้พบพานคนที่มีใจ แต่ไม่มี "มือ" "เวลา" ในการลงมือทำ และท้ายสุด ก็ไม่ได้ทำอะไรจากการมีใจนั้น หรือ ทำในลักษณะไม่มีพลังเพียงพอ ปัญหาการศึกษาในบุตรหลานของท่านอาจจะแก้ไขด้วยการใช้ทรัพยากรบางตัวในการแก้ไข ทว่า อย่าลืมว่าลูกหลานของท่าน จะโตไปในสังคมที่ คนส่วนใหญ่ยังอยู่กับ "ระบบการศึกษาเดิม" ที่ท่านพาบุตรหลานหนีไป และท้ายที่สุดประเทศจะไม่มีแรงใด ๆ ในการผลักดันในอนาคต เพราะว่า สิง่ที่การศึกษาที่ดีควรสร้างไว้ไม่เกิดขึ้น
ผมขอประกาศจบตำนาน(ส่วนตัว) ในการแข่งขันที่เชื่อว่า ดีที่สุดเวทีหนึ่งในประเทศไทย ดี่ต่อใจ ดีต่อสังคมไทย ไว้ที่ปี 2019 นี้ และฝากไว้แก่ผู้ที่มีพลังเหลือที่มักจะก้าวมาใหม่ โดยอาศัยแรงใจ ฝากถึงคนที่ได้อ่านบทความง่าย ๆ สั้น ๆ นี้ ที่ยังลงมือไม่พอ ยังสนับสนุนไม่พอ ให้สนับสนุน New Comer ต่อไป ขอพลังจงอยู่กับท่าน ส่วนตัวผู้จัดนั้น จะยังทำตามอุดมคติเดิม กับ "คนที่ลงมือ" เท่านั้น ย่อขนาดความฝันให้เหลือ ความจริง
ขอแสดงความเคารพต่อทุกท่านที่มีส่วนร่วมทั้งดีร้ายตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมดครับ
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
ผู้จัดของการแข่งขัน ที่ดีที่สุดเวทีหนึ่งของไทย ดีต่อใจ ดีต่อสังคมไทย
ผู้มาก่อนการณ์ และผู้จากไปก่อนเวลาอันควรในการปฎิรุปการศึกษาไทย