ตอนนี้ผมเหลือเงิน 190 บาท แปลว่าอะไร แปลว่า หากผมจะไปดูหนัง ในราคาตั๋วหนัง 140 บาท ผมจะไม่สามารถทานอาหารใรนร้านอาหารในห้างได้ เพราะว่าจะเหลือเงิน 50 บาท ก็จะไม่พอ นี่แหละครับ เงินสดในมือ กำหนด การตัดสินใจ
คราวนี้อะไร ของเทียบเท่า หรือมกล้เคียง ผมใช้คำว่า "สิ่งแทนเงินสดที่แปรสภาพเป็นเงินได้ง่าย" หรือ สินทรัพย์ที่แปรสภาพได้ง่าย (จะพูดแบบนี้อาจจะไม่ถูกต้องตามหนังสือทั้งหมด) คราวนี้ ในเกม MonsoonSIM คืออะไร พูดง่าย ๆ คือ "สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง" ที่เพียง นำมาขายเท่านั้น ก็จะได้ "เงินสด" กลับมา ได้ง่าย เมื่อคราเข้าตาจนเวลาดู Observer ในเกม เพื่อตัดสินใจว่า จะ reset เกมหรือไม่ ผมจะเลือกดูว่า นักศึกษาทีมที่มีปัญหา นั้น มีปริมาณเงินสดเท่าไหร่ (=สภาพคล่องทางการเงิน) หากปริมาณเงินสดในมือมีน้อย ยังมีสินค้าคงคลังหรือไม่ ส่วนมากจพบว่า นักศึกษามักมีสินค้า "เหลือเฟือ" และมักจะขายไม่ได้ เหตุเพราะว่า หนีปัญหาในเกม คือ ขาดสินค้าไว้ขาย ก็เลยแก้ด้วยการซื้อเยอะ ๆ (ส่วนหนึ่่งก็คิดว่า ซื้อเยอะทำให้ต้นทุนลดลง แต่ลืมคิดไปว่า ถูกที่สินค้า แต่มาเพิ่มรายจ่ายที่ค่าจัดเก็บ เช่น ค่าเช่า, ค่าปรับพื้นที่ และ แถมยังทำให้ เงินสดในมือลดลง จนบางครั้งไม่พอใช่้ เสียอีก)
เป็นเรื่องปรกติ ที่เราจะแก้ปัญหาหนึ่ง แล้วเกิดปัญหาใหม่ ทว่า สิ่งสำคัญ คือ ระดับของเงินสด (Cash Liquidity) มีเพียงพอในการชำระค่า OPEX เพื่อยังสามารถดำเนินธุรกิจหรือไม่ หรือ ความสามารถในการเปลี่ยนสินค้าให้เป็นเงินสด ด้วยวิธีการต่าง ๆ Inventory Turn Over Ratio to CASH (ซึ่งโดยมาก พอถึงตาจน นักศึกษาก็จะขายสินค้าลดราคา เพื่อให้ขายได้ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า Margin อาจจะไม่พอรายจ่ายในการประกอบการ ทว่า ดีกว่าไม่มีเงินสดไว้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ) หากนักศึกษาเข้าใจสภาวะนี้ แล้วกลับไปมอง "ธุรกิจรอบตัว" จะพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ในชีวิตจริง เราจะค้นพบว่า SME หรือเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก มันจะมีทางออกในหลาย ๆ วิธี เช่น OD; Over Draft (เงินเบิกเกินบัญชี ซึ่งพบในเกม MonsoonSIM), การกู้ยืมระยะสั้น (Short Loan ซึ่งพบใน MonsoonSIM) หรือวิธีการสุดคลาสสิค เช่น การแลกเช็คในหมู่เพื่อนฝูง หรือ การกินโต๊ะแชร์ของคุณพ่อคุณแม่ หรือ ร้ายไปกว่านั้น คือ การกู้ยืมนอกระบบ หรือ เงินกู้ที่มีดอกเบี้้ยสูงมาก ๆ ซึ่งทั้งหมดทำไปเพื่อ "คงสภาพเงินสดในมือเอาไว้"
อธิบายแบบนี้ นักศึกษาน่าจะพอเข้าใจแล้วว่า CASH IS KING หมายถึงอะไร ใน MonsoonSIM บางทีม บางคน บงาครั้งของประสบการณ์ พบว่า เพียงงจะใช้เงินนิดหน่อย ทำกิจกรรมง่าย ๆ นั้น ยังไม่สามารถที่จะทำได้ เพราะว่าเงินสดในมือมีไม่พอ ให้ลองมองกลับไปเห็นความจำเป็น ของธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องบ้าง ว่าธุรกิจที่ดำเนินในแต่ละวัน ยังคงมีค่าดำเนินการ (เหมือนกับที่มีใน MonsoonSIM) เช่น เงินเดือนพนักงาน, ค่าน้ำ, ค่าไฟ ฯลฯ ซึ่งบางครั้ง เจ้าของกิจการขนาดเล็กที่ขาดสภาพคล่อง ต้องไปหยิบยืมเงินมาจ่ายค่าดำเนินการเหล่านี้ ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ เช่น เพื่อยังคงการดำเนินธรกิจ, เพื่อยืดระยะเวลาของกิจการ และรอโอกาสที่จะปล่อยสินค้า ทั้งหมดนี้นักศึกษาผ่านปะสบการณ์จากเกมมาแล้วทั้งสิ้น
หากเพียงนักศึกษา เข้าใจ ประโยคสั้น ๆ มองจากประสบกาณ์ในเกม มองจากประสบกาณ์ในโลกจริงๆ ก็จะเห็นว่า เราจะต้อง เปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการในสภาพคล่องที่มีน้อยอย่างไร เช่น พยายามลดรายจ่าย โดยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นก่อน, ของที่มีต้องใช้ให้คุ้ม ซึ่งเป็นหลักในการบริหารจัดการทั่วไป ที่เรียกว่า Utilization, พยายามปรับปรุงประสิทธิภาพของงานต่าง ๆ Optimization แต่อนิจจานักศึกษาที่ "เล่นแต่เกม" ไม่ได้เช้าใจ concept และ convert ไปสู่ เรื่องจริงผ่านจอได้ ก็มักจะเห็นเป็นประจำ (ดูกราฟด้านบนประกอบ)
เมื่อเห็นนักศึกษาเล่นเกมโดยแทบจะไม่สนใจ "Cash on Hand" ในครั้งแรก ๆ ผมพอจะเข้าใจว่า คงเป็นเช่นเดียวกับผมเมื่อตอนสมัยยังวัยรุ่น ทว่า แปลกที่นักศึกษามีพฤติกรรม การ "จ่าย" ออก แบบไม่ "คิด" ให้ดี หรือ หกกขั้น Advance มากขึ้น เมื่อเป็นระบบ Accrual หรือ มีระบบ Credit ที่ทำให้ Cash flow ไหลออกเร็ว ไหลเข้าช้า และไม่สามารถหน่วงเงินสดให้อยู่ในมือได้นาน (ทั้งหมดนี้ ใครที่ไม่ได้เล่นแค่เกม จะพบว่า ประสบการณ์เหล่านี้ พบจากเกมทั้งสิ้น) เป็นเหตุผลในการเข้าใจว่า Credit Term คืออะไร AP; Account Payable และ AR; Accpunt Receiveable เกี่ยวข้องอะไร และเปลี่ยน "ทฤษฎี" ที่คุณต่างเคยเรียนจาก การเงิน 101 ให้เห็นภาภาพชัดขึ้น สุดท้ายฝากภาพนี้ไว้ เป็นภาพที่ผมชอบ มรสุมสยามต้องเข้าใจ ภาพนี้ให่่องแท้มากขึ้นนะครับ
น้ำในแทงก์ คือ ส่วนต่างระหว่าง Flow in (ยอดขาย) และ Flow Out (ค่าใช้จ่าย) ถ้าไหลออกมากกว่าไหลเข้า "ธุระ" จะ flush ไม่ลง รูรั่วในที่นี้ คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เมื่อน้ำในแทงก์มีไม่พอ ก็ทำ ภารกิจไม่สำเร็จ หรือทำได้โดยไม่มีประสิทธิภาพ
เข้าใจบ้าง อย่าเล่นแต่เกม