Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • V10 Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • COMPETITION >
      • TH Business Data Analytics & Data Visualization
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2022
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Thais Teen Entrepreneurial Project
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM TH SEMINAR >
      • 2023 Education Transformation in Business Data Analytics
      • 2020 K-Practice
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Clip to Lecturer
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
    • MonsoonSIMTG x Alliances >
      • WoW Academy Thailand 2021!!! >
        • WoW Academy Workshop
      • Entrepreneurial Series by BDT and Gamification
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

ระบบจัดซื้อจัดหา ใน MonsoonSIM  วิธีการ และผลลัพท์ที่แตกต่างกันไป

4/22/2019

0 Comments

 
Picture
ภาพจาก: https://www.esi-africa.com/industry-sectors/business-and-markets/find-your-way-around-procurement/
   การจัดซื้อจัดหา (หรือ ในภาษาไทย แปลว่า จัดซื้อจัดจ้าง) นั้น ตรงกับ หลักการที่ภาษาอังกฤษใช้ตำว่า "Procurement" โดยีรากศัพท์มาจาก Pro+Cure แปลว่า "ทำให้มีพอใช้" โดยได้นำเอาคำแปลจาก Merriam-Webster มาประกอบด้านล่างนี้ 
Picture
      ในทางการค้าขาย Procurement คือ การจัดซื้อ จัดหา (และจัดจ้าง) เพื่อให้มี "สิ่งของ, สินค้า, วัตถุดิบ" ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ กัน ​หากมองในมิติอื่น ๆ เช่น เราสามารถ Procure หรือกันเงิน (ซึ่งใช้ศัพท์ว่า Accru) น่าจะถูกต้องกว่า แต่ให้ความหมายเดียวกัน เช่น Accru หรือกันเงินไว้ใช้ในกิจกรรมใด ๆ  เป็นต้น 
      ในกระบวนการ Logistics & Supply Chain  ทางธุรกิจในความหมายที่ลึกลงไปนั้น กระบวนการ Procurement นั้น เป็น "กลไก" สำคัญยิ่งในการประกอบธุรกิจ ในฐานะ Support Activities ในการดำเนินธุรกิจใน Value Chain 
Picture
ภาพจาก: https://www.ceoblog.co/what-is-value-chain/
     กระบวนการจัดซื้อนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญ หากธุรกิจ และหรือกระทั่งในเกมธุรกิจจำลองอย่าง MonsoonSIM ถือเป็นส่วนบริการที่สำคัญ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับรายได้, รายจ่าย, สินค้าคงคลัง, เงินสดในมือ ฯลฯ  โดจจะมีขั้นตอน และกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ ดังแผนภาพด้านล่างนี้ 
Picture
ภาพจาก: http://sap-gallery.blogspot.com/2011/10/sap-procurement-process-flow.html
Picture
ภาพจาก https://www.prosofterp.com/en/Article/Detail/29366/Vendor-and-Procurement
Picture
ขั้นตอนทั่วไปของกระบวนการจัดซื้อจัดหา ที่นักศึกษาควรทราบ

1) ตรวจสอบจำนวนของความต้องการ ​  
  • ขั้นตอนนี้ หากใช้ระบบ MRP; Material Require Planning มาช่วย จะช่วยลดเวลาในการคำนวน ในกรณีที่มีสินค้ามากชนิดที่แตกต่างกัน (SKU) และหรือ มีจำนวนสาขาจำนวนมาก 
  • กระบวนการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งใน Opearational Lead Time  หากไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วย จะทำให้ Lead Time เพิ่มขึ้น หรือ เกิดความผิดพลาดได้ 

2) ​สร้างคำสั่งขอซื้อ ซึ่งเป็นเอกสารภายใน ไปยังผู้เกี่ยวข้องซึ่งโดยมากจะเป็นแผนกจัดซื้อ (ในองค์กรจนาดเล็ก แผนกจัดซื้อ การบัญชี และการเงิน มักทำหน้าที่โดนเจ้าของกิจการ)
  • ในกระบวนการนี้จะมี ขั้นตอนย่อย เช่น การตรวจสอบราคา, กระบวนการ RFQ (Request for Quotation) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งใน Opearational Lead Time ที่ผู้ดูแลกระบวนการจัดซื้อต้องเช้าใจ
  • ในบริษัทที่มีขนาดย่อม กระบวนการที่มีเอกสารภายในเป็นคำสั่งขอซื้ออาจจะไม่พบ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นจะต้องทำให้เกิด Process ส่วนเกิน และมีจำนวนบุคลากรจำกัด

​3) การยืนยันคำสั่งซื้อ (PO; Purchasing Order) เป็นเอกสารไปยังคู่ค้า (Vendor)
  • ใน PO โดยทั่วไป จะมีรายละเอียด สำคัญ ๆ เช่น 
    • หมายเลข PO และ หมายเลขเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    • รายละเอียดเกี่ยวกัล Vendor เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ในกรณีที่มีคู่ค้าจำนวนมาก มักจะมี Vendor ID ซึ่งบอกประเภท, ตำแหน่ง ฯลฯ ใน Code นั้นๆ 
      • Vendor ที่มีการซื้อขายกันประจำ หรือ Vendor ทีมีความน่าเชื่อถือ หรือ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละเรื่อง มักจะถูกจัดอยู่ภายใต้ระบบ PREFER VENDOR
      • ในระบบ MRP เมื่อทราบจำนวนของสินค้าที่ต้องการแล้ว ระบบ MRP จะสร้างเอกสารการยืนยันคำสั่งซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้มีอำนาจลงนาม และเมื่อลงนามหรือยืนยันด้วยระบบวิธีการใด ๆ แล้ว โดยมากคำสั่งซื้อนั้น จะถูกส่งไปยัง Prefer Vendor เพื่อลดขั้นตอน หรือ Lead Time ให้สั่นลง
    • มีรายละเอียดสินค้า พร้อมราคา, จำนวน, ยอดรวม, ภาษี ฯลฯ
    • กำหนดระยะเวลาที่ต้องการสินค้า และเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขการชำระเงิน, การวางมัดจำ ฯลฯ
    • รายชื่อผู้ดำเนินการออกใบยืนยันคำสั่งซื้อ และ ในบางกรณี จะระบุชื่อผู้ทำคำร้องในการขอซื้อ 
  • เมื่อคู่ค้าได้รับการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร คู่ค้าก็จำดำเนินการผลิต หรือ นำสินค้าในคลังมานำส่ง ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่า Vendor Delivery Lead Time 
    • ในประเทศไทย หากมีการตกลงกันแบบลายลักษณ์อักษร ในรูปแบบใด ๆ ก็จะถือว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย มีผลทางกฎหมาย นักศึกษาควรคำนึงถึงหลักฐานนี้ เพื่อประโยชน์ทางการค้าในอนาคต ซึ่งพบมากว่า บางครั้ง ใช้คำสัญญาปากเปล่า ซึ่งไม่สามารถเอาผิดกันทางกฎหมายได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐาน 

4) เมื่อคู่ค้าได้รับ Approved PO แล้ว ก็จะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า และนำส่งให้กับคู่ค้าตามที่สัญญากันไว้ ต่อไป 
  • คู่ค้า มักจะมีระบบสำคัญระบบหนึ่ง เพื่อสะดวกในการประเมินต่อกัน หรือช่วยในการตัดสินใจ ที่เรียกว่า SRM; Supplier Relationship Management ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติม และนักศึกษาควรทำความเข้าใจเพื่อต่อภาพของระบบ Logistics & Supply Chain ให้ครบวงจร

       ใน MonsoonSIM มีทางเลือกในการจัดซื้อ โดยมี 3 ทางเลือก ณ ขณะนี้ ใน Version 7.x (เมษายน 2562)
  • Immediate Delivery
  • Future Delivery​
  • Blanket Purchase 
      ซึ่งทั้งสามวิธีจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด โดยนักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจว่า แต่ละวิธีนั้น มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และจะใช้วิธีการใด เพื่อวัตถุประสงค์ และข้อจำกัดใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพื่อจะได้เลือกปรับใช้งานในสถานการณ์จริงต่อไปในอนาคต
       สิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของ MonsoonSIM คือ จะต้องำกระวนการ หรือวิธีการที่แตกต่างกันนี้ ไปเชื่อมโยงกับงานอื่น ๆ เพื่อให้เห็นมิติที่หลากหลายมากขึ้น เช่น มิติด้านการเงิน, การจัดการพื้นที่ เป็นต้น

Immediate Delivery
  • หลังจากคำยืนยันการคำสั่งซื้อ (Approved PO) ส่งไปยัง Supplier แล้ว Supplier จะส่งสินค้าให้ท่าน ตาม Lead Time ที่แจ้งไว้ 
  • ความล่าช้า อาจะเกิดขึ้นได้ เมื่อ Supplier มีความสามารถจำกัด ในชีวิตจริง ไม่มีใครเวลาทำการค้า บอกว่า ตนเองนั้นจะผิดสัญญา ซึ่งเป็นภาพสะท้อนในเกม นักศึกษาอาจจะพบว่า Vendor ไม่สามารถส่งสินค้า ตาม Lead Time ที่ได้สัญญาว่า  ท่านจะต้องบริหารจัดการอย่างไร ต้องทดลองในเกม
  • ในกรณี การจ่ายเงินแบบเงินสด (Cash) เมื่อสินค้าส่งถึงปลายทางแล้ว ระบบจะตัดเงินในวันต่อไป 
    • การบันทึกบัญชีทั่วไป หรือ การบันทึกบัญชีอัตโนมัติ
  • ในกรณี มีแผนการชำระเป็นเครดิต (Credit Term) เมื่อสินค้าส่งถึงปลายทางแล้ว ระบบจะตัดเงินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้
    • ​บัญชีค้างจ่ายนี้ จะอยู่ในส่วนของ Account Payable 
Future Delivery
  • การกำหนดให้ Supplier ส่งสินค้าล่วงหน้า 
  • ขั้นตอนยังคงจะต้องมีการยืนยันคำสั่งซื้อ ทว่า แทนที่จะกำหนดให้ส่งในวันถัเไปตามปรกติ แต่ในระบบสามารถกำหนดวันส่งสินค้าล่วงหน้าได้  5 วันขึ้นเพื่อ 
  • วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้ในการสั่งสิ้นค้า เมื่อ Demand Forecast เกิดขึ้นแบบไม่ปรกติ เพื่อให้เสริมกับระบบการจัดซื้อแบบทั่วไป 
  • การนัดหมายล่วงหน้านี้ ในโลกธุรกิจจริง ก็เป็นแนวคิด ที่ช่วยให้ Supplier มีเวลาในการจัดสรรทรัพยากร ล่วงหน้า ซึ่งลดความผิดพลาดและโอกาสในการที่ร้านค้าจะไม่มีสินค้าจำหน่ายได้ ทว่าผู้จัดซื้อจำเป็นจะต้องประมาณการล่วงหน้าไว้ก่อนเช่นกัน​
Blanket Purchase Order; BPO
  • กล่าวให้เข้าใจง่าย คือ การซ้อมสินค้าในปริมาณมาก และให้ Supplier ทยอยส่งเป็นรอบ ๆ  เช่น ซื้อสินค้า 50,000 ทว่ากำหนดให้ส่ง แบ่งออกเป็น 5 ครั้ง ครั้งละ 20% ทุก 5 วัน เมื่อ Approve PO แล้ว ในวันที่ 7 
    • ครั้งที่ 1 ใน​วันที่ 12 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (20%/100%
    • ครั้งที่ 2 ใน​วันที่ 17 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (40%/100%)
    • ครั้งที่ 3 ใน​วันที่ 22 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (60%/100%)
    • ครั้งที่ 4 ใน​วันที่ 27 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (80%/100%)
    • ครั้งที่ 5 ใน​วันที่ 32 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (100%/100%)
  • ข้อดีคือ ได้รับส่วนลด ตามที่ต้องการ ในส่วนของ Bulk Discount และ เมื่อสินค้าส่งมาถึง จะถูกตัดเงินออกไป เป็นจำนวน ครั้ง ตาม สัดส่วนที่สินค้าที่ได้รับมา วิธีแบบนี้ ช่วยให้มีสินค้าทยอยส่งมาเรื่อย ๆ และ ยังคงมีสภาพคล่องทางการเงินสูงอยู่มาก เพราะว่าไม่ได้ตัดเงินออกในครั้งเดียว ครั้งละมาก ๆ จำนวน​
    Picture
    https://www.indiamart.com/proddetail/business-process-outsourcing-bpo-7791837012.html

    จะตัดสินใจเลือก Supplier รายใด ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจ
      การจะใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินใจเลือก Vendor นั้น มีหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นข้อจำกัด และวัตถุประสงค์ นกอจากนั้น ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งในเกมอาจจะไม่สามารถจำลองมาได้ทั้งหมด 
    • ขึ้นอยู่กับข้อเสนอ ใครสามารถให้ส่วนลดได้มากที่สุด ซึ่งเลือกด้วยวิธีนี้ จะทำให้ได้เปรียบที่ต้นทุนสินค้า
    • หากสินค้าขาดแคลน ต้องการสินค่าเร็วที่สุด บางครั้ง อาจจะต้องเลือก Vendor ที่สามารถให้สินค้าได้ทันที ด้วยประโยชน์อื่น ๆ ทางการค้าขาย เลือกด้วยวิธีนี้ ทำให้ ไม่ขาดโอกาสทางการค้า
    • หากระแสเงินสดในมือมีน้อย อาจจะต้องเลือก vendor ที่สามารถให้ credit term ยาวนานที่สุด เลือกวิธีนี้ ช่วยให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน
        ในโลกธุรกิจจริง และหรือในการตัดสินใจในเกม แต่ละช่วงเวลาอาจจะตัดสินใจไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย หรือ บางทีม บางกิจการใช้กระบวนการบริหารจัดการเข้ามาแทนที่ เช่น Vendor Y ให้ส่วนลดมากที่สุด ทว่า ส่งของได้ล่าช้าดว่ารายอื่น ๆ 3 วัน ก็ต้องไปแก้ไขด้วยการ ปรับกระบวนการการสั่งสินค้าล่วงหน้าเพื่อชดเชย Lead Time ที่เสียไปจาก Vendor Delivery Lead Time ทว่าจำเป็นจะต้องมี ระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ
         ในโลกธุรกิจจริง ความสัมพันธ์กับ vendor อาจมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง, หรือ Vendor อาจจะพิจารณาพฤติกรรมการจ่ายเงิน หรือสภาพคล่อง และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางการค้าประกอบด้วยเช่นกัน
          กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจัดหา เป็นกิจกรรมสำคัญ ทว่า จะต้องประสานร่วมมือกับกิจกรรมอื่น ๆ ผู้ที่สามารถบริหารจัดการได้ในเชิงกลยุทธ์ จะได้เปรียบในหลายประการ อาทิ ต้นทุนในการประกอบการที่ต่ำกว่า, การบริหารสินค้าคงคลัง ให้เกิดมี Safty Stock เพื่อประโยชน์ทางการค้่า หรือ การจัดการจัดซื้อที่เชื่อมโยงกับสภาพคล้องทางการเงิน จะยิ่งเกิดประโยชน์ยิ่ง หรือ การใช้หลักการอื่น ๆ เช่น Supply on Demand เป็นต้น 
    0 Comments



    Leave a Reply.

      ชุดความรู้จาก MSIM

      ผู้ใช้ MonsoonSIM สามารถที่จะฝากคำถามไว้ใน FB ของ MonsoonSIM TH แล้วคำถามของท่านเกี่ยวกับ MSIM จะได้รับคำตอบ โดยจะตอบจากพื้นฐานในเกมไปสู่การปรับใช้งาน หรือความเข้าใจในเชิงทฤษฎี

      และเนื้อหาในทุกเรื่องจะนำไปสู่การปฎิบัติ หรือ ตัวอย่างจากเคสที่เกิดขึ้นจริงในโลกธุรกิจ 

    Picture
    Picture
    Picture
    Picture

    MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
    more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

    MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand