นักศึกษาไทย "ร้จัก" Safety Stock ในเชิง "นิยาม" ซึ่งผมแทบไม่เคยเห็นว่า ทีมไหนจะใช้ "หลักการ" นี้ ในการเล่นเกม อาจจะเป็นเพราะว่า เกมเร็วเกินไป, ปริมาณตัวเลขในเกมทำให้นักศึกษาไม่ได้มีเวลา เพราะว่า เมื่อขายได้ทีไร สินค้าจะหมดคลังทุกที หรือ พลาดอีกที พบว่ามีสินค้าในคลัสินค้ามาก จนทำให้เกิดปัญหาทางการเงินเสียแล้ว
ที่ว่า Safety มีอะไร Safety บ้าง ?? เป็นคำถามที่ผมเคยถามนักศึกษา แล้วพบว่า "คำตอบ" มีบนหลักนิยามเดียว คือ มีสินค้าพอเอาไว้ใช้งาน สำหรับการตอบคำถามในข้อสอบได้เท่านั้นเอง
เริ่มต้นที่ Safety Stock จะคิดอย่างไร ก่อน ?
ในการวางแผนว่า "เท่าใด" จึงเป็น Safety Stock นั้น จะคิดได้อย่างง่าย ๆ ขอยกตัวอย่างจากใน MonsoonSIM ซึงมีข้อมูลบอกไว้ใน Forecast (ในชีวิตจริง ใช้การคาดคะเน และทดลองจากยอดขายจริง และทำสถิติไว้ หรือ สามารถไปดูจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เคยผ่านมาได้ เช่น ยอดขายของปีก่อน ๆ ในช่วงเดียวกัน หรือ หากไม่มีบันทึกเอาไว้ สามารถที่จะดูได้จากบัญชีขาย แล้วแปลงกลับมาให้เป็นจำนวน) หรือ หากไม่แน่ใจว่า ยอดขายจะเปลี่ยนไปตาม ราคาและ Promotion ที่ใช้อย่างไร ก็ให้ดูยอดขายจริง ใน Unit Sold
เมื่อเราได้ข้อมูลส่วนนี้แล้ว คราวนี้ ก็จำเป็นจะต้องนำข้อมูลจากงานอื่น ๆ มา เช่น ข้อมูลจาก Procurement หรือจัดซื้อจัดหา ซึ่งมีที่มาของสินค้าได้หลายแหล่ง อาทิ จาก Vendors, จากการผลิต, จากการโยกย้ายสินค้าจากแหล่งอื่นๆ ฯลฯ และสิ่งที่จำเป็นต้องทราบ เพื่อทำให้ Safety Stock เกิดขึ้นได้จริงๆ คือ LEAD TIME และ Cacacity ของแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อจะสามารถกำหนดได้ว่า จะมีจุดเติมเต็มสินค้า (Re-Oeder Point) เมื่อใด และปริมาณเท่าใด
ที่ว่า Safety มีอะไร Safety บ้าง ?? เป็นคำถามที่ผมเคยถามนักศึกษา แล้วพบว่า "คำตอบ" มีบนหลักนิยามเดียว คือ มีสินค้าพอเอาไว้ใช้งาน สำหรับการตอบคำถามในข้อสอบได้เท่านั้นเอง
เริ่มต้นที่ Safety Stock จะคิดอย่างไร ก่อน ?
ในการวางแผนว่า "เท่าใด" จึงเป็น Safety Stock นั้น จะคิดได้อย่างง่าย ๆ ขอยกตัวอย่างจากใน MonsoonSIM ซึงมีข้อมูลบอกไว้ใน Forecast (ในชีวิตจริง ใช้การคาดคะเน และทดลองจากยอดขายจริง และทำสถิติไว้ หรือ สามารถไปดูจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เคยผ่านมาได้ เช่น ยอดขายของปีก่อน ๆ ในช่วงเดียวกัน หรือ หากไม่มีบันทึกเอาไว้ สามารถที่จะดูได้จากบัญชีขาย แล้วแปลงกลับมาให้เป็นจำนวน) หรือ หากไม่แน่ใจว่า ยอดขายจะเปลี่ยนไปตาม ราคาและ Promotion ที่ใช้อย่างไร ก็ให้ดูยอดขายจริง ใน Unit Sold
เมื่อเราได้ข้อมูลส่วนนี้แล้ว คราวนี้ ก็จำเป็นจะต้องนำข้อมูลจากงานอื่น ๆ มา เช่น ข้อมูลจาก Procurement หรือจัดซื้อจัดหา ซึ่งมีที่มาของสินค้าได้หลายแหล่ง อาทิ จาก Vendors, จากการผลิต, จากการโยกย้ายสินค้าจากแหล่งอื่นๆ ฯลฯ และสิ่งที่จำเป็นต้องทราบ เพื่อทำให้ Safety Stock เกิดขึ้นได้จริงๆ คือ LEAD TIME และ Cacacity ของแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อจะสามารถกำหนดได้ว่า จะมีจุดเติมเต็มสินค้า (Re-Oeder Point) เมื่อใด และปริมาณเท่าใด
เมื่อได้ Safety Stock Level แล้ว เราก็มักจะได้ Re-Order Point หรือจุดเติมเต็มสินค้าไปด้วย การรู้จำนวนยอดที่จะต้องใช้ต่อวัน หรือ ต่อดีลแบบถัวใน B2B จะทำให้เราสามารถบริการจัดการ Stock ของเราได้ดีขึ้น คราวนี้ปัญหาต่อมา คือ จะมีช่วงที่ Demand สูงขึ้น (ใน MonsoonSIM คือ ช่วงวันหยุด ซึ่งลักษณะคล้าย ๆ กันกับชีวิตจริง) คนที่บริหารจัดการ stock อาจจะต้องใช้ทางเลือกพิเศษมาผสมผสาน ซึ่แล้วแต่เทคนิคของแต่ละบุคคล อาทิ บางคนแทนที่จะใช้ช่วงของวัน หรือกลุ่ม 2-3 วัน ก็อาจจะใช้สเกลที่ใหญ่ขึ้น เช่น อาทิตย์ หรือ 10 วัน (ทั้งนี้ จำเป้ฯจะต้องสอดคล้องกับ รอบการสั่งซื้อ ความสามารถของ vendors, ความสามารถทาง Logistics เช่น กระบวนการผลิต และการกระจายสินค้า) เรียกได้ว่า หากสามารถจัดการ TOTAL LEADTIME ได้ ก็จะไม่มีปัญหา และการจัดการ LEAD TIME นี้คือหัวใจของ Logistics & Supply Chain
หากนักศึกษาเข้าใจ Lead Time ของกิจกรรมใด ๆ ที่สอดคล้องกัน และมีความต่อเนืองกัน ประกอบกับจำนวน + การประมาณการ ระบบ Auto Replenishment ในโมดูล Logistics ที่ทำงานควบคู่กับ MRP ได้เมื่อใด จะเกิด Flow หรือ การไหลของขันตอนที่ต่อเนื่อง และสอดคล้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ ความต้องการ
หนึ่งในความซับซ้อน คือ "สิ่งกระทบ Demand" ซึ่งใน MonsoonSIM อาจจะมีเวลาที่สั้นเกินไปกว่าการที่จะคำนวนให้มีความคลาดเคลื่อนได้น้อย ทว่าในชีวิตจริงนั้น จะมีเวลาแในการคิดให้ละเอียดได้มาก มาถึงจุดนี้ นักศึกษาต้องเข้าใจถึง "สิ่งกระทบ Demand" เพราะว่า จะทำให้ ตัวเลขในสมการ ROP และ Safety Stock เปลี่ยนไป เช่น เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงแผนในการทำตลาด เช่น การปรับราคา, การใช้ Promotion หรือผลกระทบที่เกิดจากคู่แข่งทางการค้า สิ่งที่นักวางแผนที่ดีทำได้คือ แผนธุรกิจ ซึ่งกำหนดว่า บริษัทหรือกิจการ จะทำตลาดในสัดส่วนเท่าใดของตลาด (ศึกษาเพิ่มเรื่อง STP แล้วใส่ตัวเลขเข้าไป จะเห็นภาพชัดเจน) เนื่องจาก กิจการใด ๆ ย่อมมีข้อจำกัด ทั้งที่มาจากตัวเอง เช่น เงินทุน, จำนวนบุคลากร, จำนวนเครื่องจักร หรือ อาจจะมาจากผู้ร่วมค้า เช่น Vendors และภาพใหญ่กว่านั้น คือ ตลาดในระดับ มหภาค.
ตัวอย่างเช่น เมื่อฝ่ายขาย ต้องการเปลี่ยนราคาขาย หรือใช้ Sale Promotion ในการทำ Pricing แน่นอนว่า เมื่อใดที่สินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ในตลาด มีราคาต่ำลง ผู้บริโภคก็มันจะให้ความสนใจ ระดับของ Safety Stock จะต้องเพิ่มขึ้น และ กระบวนการ Re-Order Point จะต้องเปลี่ยนไปในเชิง ความถี่ และปริมาณ เป็นต้น
หากนักศึกษาเข้าใจ Lead Time ของกิจกรรมใด ๆ ที่สอดคล้องกัน และมีความต่อเนืองกัน ประกอบกับจำนวน + การประมาณการ ระบบ Auto Replenishment ในโมดูล Logistics ที่ทำงานควบคู่กับ MRP ได้เมื่อใด จะเกิด Flow หรือ การไหลของขันตอนที่ต่อเนื่อง และสอดคล้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ ความต้องการ
หนึ่งในความซับซ้อน คือ "สิ่งกระทบ Demand" ซึ่งใน MonsoonSIM อาจจะมีเวลาที่สั้นเกินไปกว่าการที่จะคำนวนให้มีความคลาดเคลื่อนได้น้อย ทว่าในชีวิตจริงนั้น จะมีเวลาแในการคิดให้ละเอียดได้มาก มาถึงจุดนี้ นักศึกษาต้องเข้าใจถึง "สิ่งกระทบ Demand" เพราะว่า จะทำให้ ตัวเลขในสมการ ROP และ Safety Stock เปลี่ยนไป เช่น เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงแผนในการทำตลาด เช่น การปรับราคา, การใช้ Promotion หรือผลกระทบที่เกิดจากคู่แข่งทางการค้า สิ่งที่นักวางแผนที่ดีทำได้คือ แผนธุรกิจ ซึ่งกำหนดว่า บริษัทหรือกิจการ จะทำตลาดในสัดส่วนเท่าใดของตลาด (ศึกษาเพิ่มเรื่อง STP แล้วใส่ตัวเลขเข้าไป จะเห็นภาพชัดเจน) เนื่องจาก กิจการใด ๆ ย่อมมีข้อจำกัด ทั้งที่มาจากตัวเอง เช่น เงินทุน, จำนวนบุคลากร, จำนวนเครื่องจักร หรือ อาจจะมาจากผู้ร่วมค้า เช่น Vendors และภาพใหญ่กว่านั้น คือ ตลาดในระดับ มหภาค.
ตัวอย่างเช่น เมื่อฝ่ายขาย ต้องการเปลี่ยนราคาขาย หรือใช้ Sale Promotion ในการทำ Pricing แน่นอนว่า เมื่อใดที่สินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ในตลาด มีราคาต่ำลง ผู้บริโภคก็มันจะให้ความสนใจ ระดับของ Safety Stock จะต้องเพิ่มขึ้น และ กระบวนการ Re-Order Point จะต้องเปลี่ยนไปในเชิง ความถี่ และปริมาณ เป็นต้น
เมื่อกิจการมี Safety Stock ที่เหมาะสมแล้ว กิจการจะ Safe และ Save อะไรได้บ้าง ?
- ระดับของ Safety Stock ระดับของสินค้า ที่ช่วยในช่วงความแปรผันของความต้องการทางการตลาด ทำให้ มีสินค้าไว้ขาย หรือ มีโอกาสขายได้มากขึ้นเมื่อมีความต้องการ
- Safety Stock ของวัตถุดิบ ช่วยให้เกิดการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุมต้นทุนของสินค้าได้อย่างดี และส่งผลให้ฝ่ายขายสามารถที่จะทำตลาดได้เมื่อต้องการ
- Safety Stock จะช่วยทำให้ลูกค้า ไม่เปลี่ยยนใจจากการผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าขายเหมือนกัน เป็นการสร้าง CRM ได้ในลักษณะหนึ่ง หรือหากมองในเชิงของ Supplier Relationship Management นั้น คู่ค้าก็จะเลือกคู่ค้าที่สามารถสร้างธุรกิจร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อท่านต้องการความช่วยเหลือ คู่ค้าจะพิจารณาท่านก่อนเสมอ
- ระดับของ Safety Stock จะบ่งบอกจึง "จำนวนของสินค้า" หรือ "จำนวนของวัตถุดิบ" ซึ่งหากมีระดับสูง นั่นหมายถึง เงินสดในมือจะลดลง การมี Safety Stock ในระดับที่เหามะสม จะทำให้สามารถควบคุม และคงสภาพคล่องทางการเงินได้ โดยค่อย ๆ ทยอยเพิ่มระดับ Safety Stock + ระดับของ Re-Order Point สภาพคล่องทางการเงินที่มี เป็นผลดีต่อธุรกิจ
- ระดับ Safety Stock ที่เหมาะสม