ตอนที่ 11 P-Place วาร์ปได้รวยได้
ขออภัยที่ติดภาระกิจและตามด้โน้ตบุ๊คเจ้ากรรมสิ้นชีพขั่วคราว พี่แว่นหน้าตาดีได้ไล่เรียง P-Price ไปเสียมาก แล้วให้ตัวอย่างของการใช้ P-Price ให้เกิดเป็นนกลยุทธ์ไปหลายตัวอย่าง คราวนี้มาลองพิจารณา P-Place กันบ้าง
Place อย่าตีความว่าเป็นสถานที่ อย่าแปลอังกฤษเป็นไทย เพราะจะได้ความหมายเดียว หากจะแปลคำเดียว ให้แปลว่า Place = ตลาด = โอกาส ถามว่าพี่แว่นหน้าตาดีโง่ภาษาอังกฤษหรือไง คำตอบคือ ใช่ แต่พี่แว่นหน้าตาดี แปลให้เข้ากับยุคสมัยมากกว่า
Place คือ สถานที่ ที่ Demand กับ Supply มาเจอกัน จึงแปลว่า ตลาด เกิดกิจกรรม คือ Barter Trade หรือการแลกเปลี่ยนในสมัยโลกโบราณ จนกระมั่งโลกใช้แร่ แทนมูลค่า คือ ใช้เงิน ตะกั่ว ทอง และนำหนักของมันแทน จึงเกิดเป็นเงินตรา และพอราชวงศ์ซ่งจึงเกิดธนบัตร คือเงินกระดาษเป็นครั้งแรก
เพราะว่า จะต้องมีการแลกสินค้า กับ สินค้า หรืรอ สินค้ากับเงินตรา เมื่อก่อน Place จึงเป็นตลาดที่เรารู้จักกันดี และดำรงมานับพันพันปี เช่น ในเส้นทางสายไหมมีหัวเมืองต่าง ๆ ตามทาง คณะพ่อค้าก็จะเอาของจากบ้านเมืองตัวเอง เดินทางไปตามเส้นทางสายไหม แลกเปลี่ยนกัน และเปลี่ยนมูลค่าของมันไปตามระยะทาง (โลกนั้นมีระบบโลจิสติกส์ และการค้าที่ค่าเดินทางเป็นต้นทุนมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งจะมีในสมัยนี้)
ในปัจจุบันมี Cold Chain หรือการส่งสินค้าที่ต้องคุมอุณหภูมิ สมัยก่อนนั้นไม่มี ไฟฟ้า ไม่ม่ตู้เย็น จึงเกิดเป็นการ Preservation ของอาหารด้วยเกลือ ด้วยการหมักดอง ตากแห้ง เกลือจึงเป็นของมีมูลค่ามากในสมัยก่อน (แวะนานแล้ว กลับเรื่องดีกว่า) (พี่แว่นหน้าตาดีเป็นเด็กประวัติศาสตร์ครับ)
ตลาดต้องเจอกัน หรือมีสถานที่ให้มาเจอ เพราะว่า ต้องเอา ของแลกของ หรือของแลกเงิน กระทั่ง โลกมีวิวัฒนาการ ตือ อินเตอร์เน็ท ระบบ securtiy ทางโลก cyber ทำให้ เงินที่เคยเป็นของ Physical กลายเป็น Virtual แล้วไปออกผลปลายทางกลับมาเป็น Physical ได้อีกครั้ง ในโล้กปัจจุบัน ความต้องการหลักที่จะต้องเอาของมาแลกเงินที่จับต้องได้จึงเปลี่ยนไป เกิดเป็น Virtual Market บนโลก E หรือ M Commerce ได้เพราะว่า Technology อำนวย ทำให้ คนมองว่า Place เป็นของโบราณใน 4Ps เพราะว่า เข้าใจแต่ปรับใช้ไม่เป็น
P-Place เปลี่ยนแปลงไปตาม ความต้องการและเทคโนโลยี ไล่สมัยได้คร่าว ๆ ดังนี้
P-Place แบบแรก คือ Original Market/Authemtic Market คือ ตลาดอยู่นะจุดกำเนิดของผลิตภัณฑ์และบริการ นี่เป็นยุคแรก ๆ เลยของ Place เช่น หากต้องการผลิตภัณฑ์ใด ๆ ต้องไปที่แหล่งผลิต เพราะว่า คนเมื่อก่อนผู้ผลิตแทบจะไม่มเดินทาง เพราะว่า โลกในอดีตนยั้น การเดินทางเป็นเรื่องยาก ลำบาก ใช้เวลานาน คนที่เห็นปัญหานี้ คือ ปัญหาที่ มีความต้องการผลิตภัณฑ์ แต่ไม่อยากเดินทางเองเพราะว่าเดินทางลำบาก คือ "พ่อค้า" หรือ Merchant หรือ คนกลาง หรือ Middle Man จึงเกิดขึ้น กลายเป็น การบริการที่นำสินค้าจากแหล่งผลิต ไปสู่มือผู้บริโภคจริงๆ โดยกินส่วนต่างมูลค่า (Margin) และทำกำไรจากตรงนั้น โดยพัฒนาขึ้นมาเป็นสินค้าหลายชนิด จากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อเพิ่ม "คุณค่า" และ เรียก "มูลค่า" จากผู้ซื้อได้ ด้วยสิ่งที่มนุษย์ต้่องการคือ "ความสะดวก" (Conveniently) จึงเกิดเป็นระบบการค้า และระบบโซ่อุปทานโดยไม่ตั้งใจ เพราะ Place นี่แหละครับ
ในยุคแรก ต้องไปหาตลาด
ในยุคต่อมา ตลาดเคลื่อนที่มาหาผู้ซื้อ
ในยุคต่อมา จึงเกิดเป็นย่านการค้า เพราะว่าผู้บริโภคอยากเลือกมากขึ้น และไม่อยากผูกขาดกับพ่อค้ารายใด ๆ เพราะว่า "แพง" จึงเกิดเป็นย่านการค้าขึ้น (Market Community, Bazzar) เช่น ตลาดอันมีชื่อเสียงด้านถั่วและเครื่องเทศที่อิสตนันบลู อันเป็นตลาดหรือชุมนุมการค้าระดับโลกในอดีต หรือ ย่านเวิ้งนครเกษม สำหรับอุปกรณ์ดนตรี, ย่านสำเพ็งพาหุรัด สำหรับผ้าและเครื่องแต่งกาย เป็นต้น ยุคนี้ คือ ตลาดรวมกันเป็นกลุ่ม มีพ่อค้าต่อกันเป็นทอด ๆ และแต่ละทอดนั้น ก็เรียนกมูลค่า On-top ไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นสายโซ่อุปทานที่ยาวขึ้น พ่อค้ายุคนี้ เพิมคุณค่า เช่น การจัดจำนวนเพิ่มส่วนลด (ขายส่ง) การแปรรูปยางผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า
ในยุคต่อมา เป็นยุคแห่งความคิดใหม่ ส่วนหนึ่งเพราะว่า ระบบถนนและการขนส่งสะดวกขึ้นมาก เกิดเป็นยุคที่ ตลาดเป็นคนกลาง และสินค้าเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภคได้ เพราะการสื่อสารดีขึ้น คือ ยุคที่มีโทรศัพท์ โทรสาร เพราะว่า มีเครื่องมือลำเลียงความต้องการ และข้อมูลไปมาได้ ผู้ซื้อ ติดต่อผู้ขายได้โดยที่ไม่ต้องเดินทาง หรือเดินทางน้อยลง แล้วใช้การสื่อสารทำงานแทนเป็นตัวกลาง ในประเทศไทย เริ่มต้นที่กรุงเทพ จนกระทัั่งระบบโทรศัพท์กระจายไปทั่วประเทศ และพัฒนาเป็นมือถือ 2G
รูปแบบของ Place จึงเปลี่ยนไปในยุคนี้ คือ ผุ้ขายตั้งหลักแหล่งในย่านการค้า หรือในตำบลใด ๆ ผู้ซื้อติดต่อโดยไม่เห็นตัวผ่านโทรคมนาคมพื้นฐาน คือ โทรศัพท์ โทรสาร ยุคนี้ Physical Place จึงยังจำเป็นในฐานะ เป็นหน้าร้าน (เพื่อความเชื่อมั่น) เป็นโขว์รูม สำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ และเป็น คลังสินค้าย่อย (Micro Warehouse) ไปในสถานที่เดียกวัน
เมื่อโลกเข้าสู่ยุค 2.5G - 3G คือ มีการส่งสัญญานโดยระบบ Protocol TCP/IP ที่คิดค้นโดย Cisco System และมีผุ้ผลิตเชิงพาณิชย์ในอุปกรณ์ Modem Router ตลาด หรือ place ยังคงรูปแบบเดิมแต่เปลี่ยนช่องทางในการวื่อสาร จากเดิม ที่ ได้แต่เสียงไม่เห็นภาพ เป็น เห็นภาพแต่ไม่ชัด เห็นข้อมูลผ่าน Fax เป็นข้อมูลผ่าน email หรือ Messenger ผู้ซื้อผูขายยังคงมีการสื่อสาร + Physical + Logistics และไปเก้บเงินปลายทาง เพราะว่ายังต้องการหลักฐานของแการแลกเปลี่ยน คือ เงินตรา
จนกระทั่ง ในทุกวันนี้ 4G 5G ที่มีระบบ Money Wallet, E-Banking ทำให้ ตลาดหรือ Place เปลี่ยนไป บนโลก CYBER เพราะว่า ภาพก็เห็น เสียงก็ได้ คำยืนยันจากลูกค้าเพื่อความมั่นใจก็มี ระบบจ่ายเงินที่เงินเปลี่ยนรูปแบบ Pleace ในปัจจุบัน จึงมีหน้าร้านบนโลก Internet ผ่านช่องทาง และ Platform ต่าง ๆ หน้าร้านหรือ Place หรือ สถานที่ที่ผู้ซื้อผู้ขายจะเจอกันได้เปลี่ยนไป
จริงๆ แล้ว Place เพียงเปลี่ยนรูปแบบไป เริ่มจาก ขยับสถานที่ จนกระมั่งไม่ต้องมีสถานที่จริง ๆ สำหรับหน้าร้าน และหันไปพึ่งพา Logistics แทน ในโลกปัจจุบัน คนที่เข้าใจ Place ยังคงใช้หลักการเดิมตลอดหลายพันปี ในโลกอินเตอร์เน็ตคือ หน้าร้านต้องดูดีโอ่โถง หน้าร้านต้องเชิญชวนให้คนเข้าไปซื้อ ซึ่งในปัจจุบันก็คือ การออกแบบ website หรือ หน้าร้าน การจัดวางของให้โดดเด่น หรือ การทำ Search, Catagorization ให้เข้าถึงได้ง่าย จาก Keyword ต่าง ๆ นั่นเอง
พี่แว่นจึงบอกว่า 4Ps นะไม่ล้าสมัย แค่คลาสสิค คนที่เข้าใจมันจริง ๆ จะใช้ประโยชน์ได้จากพื้นฐานที่สุำคัญ วันนี้ จึงพาน้อง ๆ มาเข้าใจ Place จากพันปีก่อน จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เห็นว่า พื้นฐานจำเป็น ในกรณีนี้ หน้าร้านในอดีตเป็นอย่างไร เช่น ทำเลต้องดี หมายถึง คุณเอาร้านค่าออนไลน์ไปอยู่บน Platform หรือ ย่านการค้าที่มีชื่อเสียงหรือเปล่า นั่นแหละครับ ตัวอย่างที่ดี นี่คือประวัติศาสตณ์ของ technology disruption ที่จับต้องได้ครับ
พี่แว่นหน้าตาดี หวังว่า จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน ในแต่ละบทความ มองให้ธรรมดา มองอย่างเป็นรรมชาติ แล้วจะเข้าใจเรื่องอื่น ๆ ท่านสามาถรติดตามเรื่องราวเหล่านี้ ด้วย Hashtag #บทเรียนง่ายๆสไตล์มอนซูน หรือ Subscribe MonsoonSIMTH ใน Facebook ได้ครับ
ตอนหน้าพี่แว้นจะยังวนเวียนอยู่กับ P ต่าง ๆ ใน Marketign mix แทรกเรื่องราวพื้นฐานที่มาและการประยุกต์ใช้ต่อไป แล้วเจอกันใหม่ครับ
ขออภัยที่ติดภาระกิจและตามด้โน้ตบุ๊คเจ้ากรรมสิ้นชีพขั่วคราว พี่แว่นหน้าตาดีได้ไล่เรียง P-Price ไปเสียมาก แล้วให้ตัวอย่างของการใช้ P-Price ให้เกิดเป็นนกลยุทธ์ไปหลายตัวอย่าง คราวนี้มาลองพิจารณา P-Place กันบ้าง
Place อย่าตีความว่าเป็นสถานที่ อย่าแปลอังกฤษเป็นไทย เพราะจะได้ความหมายเดียว หากจะแปลคำเดียว ให้แปลว่า Place = ตลาด = โอกาส ถามว่าพี่แว่นหน้าตาดีโง่ภาษาอังกฤษหรือไง คำตอบคือ ใช่ แต่พี่แว่นหน้าตาดี แปลให้เข้ากับยุคสมัยมากกว่า
Place คือ สถานที่ ที่ Demand กับ Supply มาเจอกัน จึงแปลว่า ตลาด เกิดกิจกรรม คือ Barter Trade หรือการแลกเปลี่ยนในสมัยโลกโบราณ จนกระมั่งโลกใช้แร่ แทนมูลค่า คือ ใช้เงิน ตะกั่ว ทอง และนำหนักของมันแทน จึงเกิดเป็นเงินตรา และพอราชวงศ์ซ่งจึงเกิดธนบัตร คือเงินกระดาษเป็นครั้งแรก
เพราะว่า จะต้องมีการแลกสินค้า กับ สินค้า หรืรอ สินค้ากับเงินตรา เมื่อก่อน Place จึงเป็นตลาดที่เรารู้จักกันดี และดำรงมานับพันพันปี เช่น ในเส้นทางสายไหมมีหัวเมืองต่าง ๆ ตามทาง คณะพ่อค้าก็จะเอาของจากบ้านเมืองตัวเอง เดินทางไปตามเส้นทางสายไหม แลกเปลี่ยนกัน และเปลี่ยนมูลค่าของมันไปตามระยะทาง (โลกนั้นมีระบบโลจิสติกส์ และการค้าที่ค่าเดินทางเป็นต้นทุนมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งจะมีในสมัยนี้)
ในปัจจุบันมี Cold Chain หรือการส่งสินค้าที่ต้องคุมอุณหภูมิ สมัยก่อนนั้นไม่มี ไฟฟ้า ไม่ม่ตู้เย็น จึงเกิดเป็นการ Preservation ของอาหารด้วยเกลือ ด้วยการหมักดอง ตากแห้ง เกลือจึงเป็นของมีมูลค่ามากในสมัยก่อน (แวะนานแล้ว กลับเรื่องดีกว่า) (พี่แว่นหน้าตาดีเป็นเด็กประวัติศาสตร์ครับ)
ตลาดต้องเจอกัน หรือมีสถานที่ให้มาเจอ เพราะว่า ต้องเอา ของแลกของ หรือของแลกเงิน กระทั่ง โลกมีวิวัฒนาการ ตือ อินเตอร์เน็ท ระบบ securtiy ทางโลก cyber ทำให้ เงินที่เคยเป็นของ Physical กลายเป็น Virtual แล้วไปออกผลปลายทางกลับมาเป็น Physical ได้อีกครั้ง ในโล้กปัจจุบัน ความต้องการหลักที่จะต้องเอาของมาแลกเงินที่จับต้องได้จึงเปลี่ยนไป เกิดเป็น Virtual Market บนโลก E หรือ M Commerce ได้เพราะว่า Technology อำนวย ทำให้ คนมองว่า Place เป็นของโบราณใน 4Ps เพราะว่า เข้าใจแต่ปรับใช้ไม่เป็น
P-Place เปลี่ยนแปลงไปตาม ความต้องการและเทคโนโลยี ไล่สมัยได้คร่าว ๆ ดังนี้
P-Place แบบแรก คือ Original Market/Authemtic Market คือ ตลาดอยู่นะจุดกำเนิดของผลิตภัณฑ์และบริการ นี่เป็นยุคแรก ๆ เลยของ Place เช่น หากต้องการผลิตภัณฑ์ใด ๆ ต้องไปที่แหล่งผลิต เพราะว่า คนเมื่อก่อนผู้ผลิตแทบจะไม่มเดินทาง เพราะว่า โลกในอดีตนยั้น การเดินทางเป็นเรื่องยาก ลำบาก ใช้เวลานาน คนที่เห็นปัญหานี้ คือ ปัญหาที่ มีความต้องการผลิตภัณฑ์ แต่ไม่อยากเดินทางเองเพราะว่าเดินทางลำบาก คือ "พ่อค้า" หรือ Merchant หรือ คนกลาง หรือ Middle Man จึงเกิดขึ้น กลายเป็น การบริการที่นำสินค้าจากแหล่งผลิต ไปสู่มือผู้บริโภคจริงๆ โดยกินส่วนต่างมูลค่า (Margin) และทำกำไรจากตรงนั้น โดยพัฒนาขึ้นมาเป็นสินค้าหลายชนิด จากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อเพิ่ม "คุณค่า" และ เรียก "มูลค่า" จากผู้ซื้อได้ ด้วยสิ่งที่มนุษย์ต้่องการคือ "ความสะดวก" (Conveniently) จึงเกิดเป็นระบบการค้า และระบบโซ่อุปทานโดยไม่ตั้งใจ เพราะ Place นี่แหละครับ
ในยุคแรก ต้องไปหาตลาด
ในยุคต่อมา ตลาดเคลื่อนที่มาหาผู้ซื้อ
ในยุคต่อมา จึงเกิดเป็นย่านการค้า เพราะว่าผู้บริโภคอยากเลือกมากขึ้น และไม่อยากผูกขาดกับพ่อค้ารายใด ๆ เพราะว่า "แพง" จึงเกิดเป็นย่านการค้าขึ้น (Market Community, Bazzar) เช่น ตลาดอันมีชื่อเสียงด้านถั่วและเครื่องเทศที่อิสตนันบลู อันเป็นตลาดหรือชุมนุมการค้าระดับโลกในอดีต หรือ ย่านเวิ้งนครเกษม สำหรับอุปกรณ์ดนตรี, ย่านสำเพ็งพาหุรัด สำหรับผ้าและเครื่องแต่งกาย เป็นต้น ยุคนี้ คือ ตลาดรวมกันเป็นกลุ่ม มีพ่อค้าต่อกันเป็นทอด ๆ และแต่ละทอดนั้น ก็เรียนกมูลค่า On-top ไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นสายโซ่อุปทานที่ยาวขึ้น พ่อค้ายุคนี้ เพิมคุณค่า เช่น การจัดจำนวนเพิ่มส่วนลด (ขายส่ง) การแปรรูปยางผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า
ในยุคต่อมา เป็นยุคแห่งความคิดใหม่ ส่วนหนึ่งเพราะว่า ระบบถนนและการขนส่งสะดวกขึ้นมาก เกิดเป็นยุคที่ ตลาดเป็นคนกลาง และสินค้าเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภคได้ เพราะการสื่อสารดีขึ้น คือ ยุคที่มีโทรศัพท์ โทรสาร เพราะว่า มีเครื่องมือลำเลียงความต้องการ และข้อมูลไปมาได้ ผู้ซื้อ ติดต่อผู้ขายได้โดยที่ไม่ต้องเดินทาง หรือเดินทางน้อยลง แล้วใช้การสื่อสารทำงานแทนเป็นตัวกลาง ในประเทศไทย เริ่มต้นที่กรุงเทพ จนกระทัั่งระบบโทรศัพท์กระจายไปทั่วประเทศ และพัฒนาเป็นมือถือ 2G
รูปแบบของ Place จึงเปลี่ยนไปในยุคนี้ คือ ผุ้ขายตั้งหลักแหล่งในย่านการค้า หรือในตำบลใด ๆ ผู้ซื้อติดต่อโดยไม่เห็นตัวผ่านโทรคมนาคมพื้นฐาน คือ โทรศัพท์ โทรสาร ยุคนี้ Physical Place จึงยังจำเป็นในฐานะ เป็นหน้าร้าน (เพื่อความเชื่อมั่น) เป็นโขว์รูม สำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ และเป็น คลังสินค้าย่อย (Micro Warehouse) ไปในสถานที่เดียกวัน
เมื่อโลกเข้าสู่ยุค 2.5G - 3G คือ มีการส่งสัญญานโดยระบบ Protocol TCP/IP ที่คิดค้นโดย Cisco System และมีผุ้ผลิตเชิงพาณิชย์ในอุปกรณ์ Modem Router ตลาด หรือ place ยังคงรูปแบบเดิมแต่เปลี่ยนช่องทางในการวื่อสาร จากเดิม ที่ ได้แต่เสียงไม่เห็นภาพ เป็น เห็นภาพแต่ไม่ชัด เห็นข้อมูลผ่าน Fax เป็นข้อมูลผ่าน email หรือ Messenger ผู้ซื้อผูขายยังคงมีการสื่อสาร + Physical + Logistics และไปเก้บเงินปลายทาง เพราะว่ายังต้องการหลักฐานของแการแลกเปลี่ยน คือ เงินตรา
จนกระทั่ง ในทุกวันนี้ 4G 5G ที่มีระบบ Money Wallet, E-Banking ทำให้ ตลาดหรือ Place เปลี่ยนไป บนโลก CYBER เพราะว่า ภาพก็เห็น เสียงก็ได้ คำยืนยันจากลูกค้าเพื่อความมั่นใจก็มี ระบบจ่ายเงินที่เงินเปลี่ยนรูปแบบ Pleace ในปัจจุบัน จึงมีหน้าร้านบนโลก Internet ผ่านช่องทาง และ Platform ต่าง ๆ หน้าร้านหรือ Place หรือ สถานที่ที่ผู้ซื้อผู้ขายจะเจอกันได้เปลี่ยนไป
จริงๆ แล้ว Place เพียงเปลี่ยนรูปแบบไป เริ่มจาก ขยับสถานที่ จนกระมั่งไม่ต้องมีสถานที่จริง ๆ สำหรับหน้าร้าน และหันไปพึ่งพา Logistics แทน ในโลกปัจจุบัน คนที่เข้าใจ Place ยังคงใช้หลักการเดิมตลอดหลายพันปี ในโลกอินเตอร์เน็ตคือ หน้าร้านต้องดูดีโอ่โถง หน้าร้านต้องเชิญชวนให้คนเข้าไปซื้อ ซึ่งในปัจจุบันก็คือ การออกแบบ website หรือ หน้าร้าน การจัดวางของให้โดดเด่น หรือ การทำ Search, Catagorization ให้เข้าถึงได้ง่าย จาก Keyword ต่าง ๆ นั่นเอง
พี่แว่นจึงบอกว่า 4Ps นะไม่ล้าสมัย แค่คลาสสิค คนที่เข้าใจมันจริง ๆ จะใช้ประโยชน์ได้จากพื้นฐานที่สุำคัญ วันนี้ จึงพาน้อง ๆ มาเข้าใจ Place จากพันปีก่อน จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เห็นว่า พื้นฐานจำเป็น ในกรณีนี้ หน้าร้านในอดีตเป็นอย่างไร เช่น ทำเลต้องดี หมายถึง คุณเอาร้านค่าออนไลน์ไปอยู่บน Platform หรือ ย่านการค้าที่มีชื่อเสียงหรือเปล่า นั่นแหละครับ ตัวอย่างที่ดี นี่คือประวัติศาสตณ์ของ technology disruption ที่จับต้องได้ครับ
พี่แว่นหน้าตาดี หวังว่า จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน ในแต่ละบทความ มองให้ธรรมดา มองอย่างเป็นรรมชาติ แล้วจะเข้าใจเรื่องอื่น ๆ ท่านสามาถรติดตามเรื่องราวเหล่านี้ ด้วย Hashtag #บทเรียนง่ายๆสไตล์มอนซูน หรือ Subscribe MonsoonSIMTH ใน Facebook ได้ครับ
ตอนหน้าพี่แว้นจะยังวนเวียนอยู่กับ P ต่าง ๆ ใน Marketign mix แทรกเรื่องราวพื้นฐานที่มาและการประยุกต์ใช้ต่อไป แล้วเจอกันใหม่ครับ