ตอนที่ 3 หากผู้ประกอบการเข้าใจต้นทุน จะเข้าใจและบริหารจัดการเรื่องอื่น ๆ ได้
"ต้นทุน" เป็นเพื่อนของผู้ประกอบการ แต่ละธุรกิจจะมีเพื่อนสนิทไม่เท่ากัน เช่น ในธุรกิจซื้อมาขายไป เพื่อนสนิทได้แก่ ต้นทุนของสินค้นเป็นเพื่อนสนิทที่สุด ต้นทุนของการประกอบการเป็นเพื่อนสนิทที่รองลงมา ในขณะที่ ธุรกิจให้บริหารแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ต้นทุนที่สนิทที่สุด คือ ต้นทุนทางการเงิน ในธุรกิจโรงแรม ต้นทุนที่ชื่อ Capital Expense (CAPEX) เป็นเพื่อนซี้ และมีต้นทุนประกอบการเป็นเพื่อนรักเป็นต้น จึงเป็นเหตุผลที่ ต้องรู้จักต้นทุนให้สนิทเหมือนเพื่อน เพราะว่า จะรู้ว่าเพื่อนมีพฤติกรรมอย่างไร และจะสามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางใด และบริหารจัดการเพื่อนสนิทอย่างไร อุปมาแบบนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับนักศึษาหรือคนที่เริ่มต้นธุรกิจ
คราวนี้หากเรารู้จักต้นทุนให้เหมือน "เพื่อนสนิท" และควรรู้จัก "ทั้งแก๊งค์" จะช่วยให้เราเข้าใจ และบริหารจัดการเรื่องอื่น ๆ ได้อย่างไร
1) เราจะตั้งราคาได้ถูกต้องมากขึ้น โดยมาจากหลักการตั้งราคาขายเบื้องต้น (การตั้งราคามีอีกหลายหลายวิธีมาก) ที่เป็นที่นิยมและง่ายต่อการใช้งานมาก เราเรียกว่าวิธีการ รวมต้นทุน COST PLUS โดย เอาต้นทุน ทั้งหมดมารวมกันให้ได้ และ ตั้งราคาที่มี "ส่วนต่าง" หรือ Margin เช่น
ในธุรกิจร้านอาหารที่มีเชฟ เชฟจะต้องทราบ "ต้นทุน" ต่อจาน โดนมีหลักคิด เช่นข้าวผัดอเมริกัน 1 จาน ประกอบด้วย
ต่อมาต้องมาดูแก๊งเพื่อน คือ ต้นทุนประกอบการ เช่น ค่าจ้างแรงงาน, ค่าเช่าพื้นที่, ค่าไฟ้า, ค่าประปา และ ค่าใช้จ่ายอื่ย ๆ ซึ่ง ตรงนี้ต้องประมาณการให้ใกล้เคียงหรือถูกต้อง เพราะว่า ประมาณการได้ยาก สมมติว่า ต่อจาน เป็นต้นทุน 12 บาท เท่ากับว่า แก๊งต้นทุนเพื่อนสนิท คือ 56+12= 68 บาท ก็จะทำให้ตั้งราคาขายสินค้าได้ โดยมีหลักว่า ไม่ต่ำกว่าราคาทุน และ เหมาะสมกับสภาพตลาด และคู่แข่งขัน และสภาพเศรษฐกิจของผู้ซื้อ เช่น ตกลงว่าจะตั้งราคาขายที่ 90 บาท เช่นนี้แล้ว จะทำให้ มีกำไร(ใกล้เคียงความสุทธิ) ที่ 90 - 68 = 22 บาท
2) การรู้จักแกีงค์ต้นทุนทั้งหมด จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจ ทราบว่า จะต้องมีการสำรองเงินทุนเท่าใด, ต้องมีระดับสภาพคล่อง (เงินสดในมือเท่าใด) ต้องหารายได้เท่าใด เพื่อจะได้บริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจได้อย่างถูกต้อง เช่น
20000 x 6 เดือน = 120,000 + 65000 x 2 ไตรมาส = 130,000 รวมเงินสดที่ควรต้องมีไว้ใช้จ่ายขั่นต่ำ = 250,000 บาท ต้องมียอดขายให้มากกว่า 250,000 บาท + Margin ที่พึงได้
อย่าลืมเข้าใจเพื่อนสนิท แล้วคุณจะได้วางแผนธุรกิจได้ดีขึ้น
พี่แว่นหน้าตาดี
#บทเรียนง่ายๆสไตล์มอนซูน
#เข้าใจพื้นฐานคือสุดยอดวิชา #ต้นทุนคือเพื่อนสนิท
#MonsoonSIMTH #ActiveLearnerสร้างได้ด้วยMonsoonSIM
"ต้นทุน" เป็นเพื่อนของผู้ประกอบการ แต่ละธุรกิจจะมีเพื่อนสนิทไม่เท่ากัน เช่น ในธุรกิจซื้อมาขายไป เพื่อนสนิทได้แก่ ต้นทุนของสินค้นเป็นเพื่อนสนิทที่สุด ต้นทุนของการประกอบการเป็นเพื่อนสนิทที่รองลงมา ในขณะที่ ธุรกิจให้บริหารแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ต้นทุนที่สนิทที่สุด คือ ต้นทุนทางการเงิน ในธุรกิจโรงแรม ต้นทุนที่ชื่อ Capital Expense (CAPEX) เป็นเพื่อนซี้ และมีต้นทุนประกอบการเป็นเพื่อนรักเป็นต้น จึงเป็นเหตุผลที่ ต้องรู้จักต้นทุนให้สนิทเหมือนเพื่อน เพราะว่า จะรู้ว่าเพื่อนมีพฤติกรรมอย่างไร และจะสามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางใด และบริหารจัดการเพื่อนสนิทอย่างไร อุปมาแบบนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับนักศึษาหรือคนที่เริ่มต้นธุรกิจ
คราวนี้หากเรารู้จักต้นทุนให้เหมือน "เพื่อนสนิท" และควรรู้จัก "ทั้งแก๊งค์" จะช่วยให้เราเข้าใจ และบริหารจัดการเรื่องอื่น ๆ ได้อย่างไร
1) เราจะตั้งราคาได้ถูกต้องมากขึ้น โดยมาจากหลักการตั้งราคาขายเบื้องต้น (การตั้งราคามีอีกหลายหลายวิธีมาก) ที่เป็นที่นิยมและง่ายต่อการใช้งานมาก เราเรียกว่าวิธีการ รวมต้นทุน COST PLUS โดย เอาต้นทุน ทั้งหมดมารวมกันให้ได้ และ ตั้งราคาที่มี "ส่วนต่าง" หรือ Margin เช่น
ในธุรกิจร้านอาหารที่มีเชฟ เชฟจะต้องทราบ "ต้นทุน" ต่อจาน โดนมีหลักคิด เช่นข้าวผัดอเมริกัน 1 จาน ประกอบด้วย
- ข้าวสวย 150g ซึ่งตีเป็นต้นทุนได้ 10 บาท
- ไข่ดาว 1 ใบ เป็นต้นทุน 6 บาท
- แฮมครึ่งชิ้น เป็นต้นทุน 12 บาท
- น่องไก่ทอดขนาด 60g เป็นต้นทุน 24 บาท
- ซอส, ผักแต่งจาน, ลูกเกต, หอมใหญ่, มะเขือเทศ รวมกันเป็นต้นทุน 4 บาท
ต่อมาต้องมาดูแก๊งเพื่อน คือ ต้นทุนประกอบการ เช่น ค่าจ้างแรงงาน, ค่าเช่าพื้นที่, ค่าไฟ้า, ค่าประปา และ ค่าใช้จ่ายอื่ย ๆ ซึ่ง ตรงนี้ต้องประมาณการให้ใกล้เคียงหรือถูกต้อง เพราะว่า ประมาณการได้ยาก สมมติว่า ต่อจาน เป็นต้นทุน 12 บาท เท่ากับว่า แก๊งต้นทุนเพื่อนสนิท คือ 56+12= 68 บาท ก็จะทำให้ตั้งราคาขายสินค้าได้ โดยมีหลักว่า ไม่ต่ำกว่าราคาทุน และ เหมาะสมกับสภาพตลาด และคู่แข่งขัน และสภาพเศรษฐกิจของผู้ซื้อ เช่น ตกลงว่าจะตั้งราคาขายที่ 90 บาท เช่นนี้แล้ว จะทำให้ มีกำไร(ใกล้เคียงความสุทธิ) ที่ 90 - 68 = 22 บาท
2) การรู้จักแกีงค์ต้นทุนทั้งหมด จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจ ทราบว่า จะต้องมีการสำรองเงินทุนเท่าใด, ต้องมีระดับสภาพคล่อง (เงินสดในมือเท่าใด) ต้องหารายได้เท่าใด เพื่อจะได้บริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจได้อย่างถูกต้อง เช่น
- ต้นทุนประกอบการต่อเดือน มีเฉลี่ย เดือนล่ะ 20,000 บาท
- ในแต่ละไตรมาส ใช้ต้นทุนวัตถุดิบเฉลี่ย 65,000 บาท
20000 x 6 เดือน = 120,000 + 65000 x 2 ไตรมาส = 130,000 รวมเงินสดที่ควรต้องมีไว้ใช้จ่ายขั่นต่ำ = 250,000 บาท ต้องมียอดขายให้มากกว่า 250,000 บาท + Margin ที่พึงได้
อย่าลืมเข้าใจเพื่อนสนิท แล้วคุณจะได้วางแผนธุรกิจได้ดีขึ้น
พี่แว่นหน้าตาดี
#บทเรียนง่ายๆสไตล์มอนซูน
#เข้าใจพื้นฐานคือสุดยอดวิชา #ต้นทุนคือเพื่อนสนิท
#MonsoonSIMTH #ActiveLearnerสร้างได้ด้วยMonsoonSIM