หลังจากที่ได้มีประสบการณ์ลองซึ่งไม่รู้ว่าผิดถูกอย่างไรเกี่ยวกับการใช้เวลาใน MonsoonSIM ที่จะแนะนำท่านอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ส่วนจะถูกต้องหรือไม่นั้นโดยส่วนตัวผมคิดว่า เหมาะสมหรือไม่อย่างไรจะเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเพื่อนำไปปรับให้เข้ากับวัตถุประสงค์ของ CT เสียมากกว่า เพราะว่ามีความแตกต่างกันของวัตถุประสงค์หลักในการใช้งาน, ระยะเวลาที่ถูกกำหนดไว้ด้วย มคอ. ต่าง ๆ (ทั้งนี้ยังไม่รวมกับเวลาที่จะถูกทอนออกไปจากเวลา 12-15 ครั้งตามหลักสูตรใน 1 ภาคการศึกษาจากกิจกรรมที่มีมากมาย) ซึ่งจะตอบได้ยากเหลือเกิน เพราะว่าจากประสบการณ์ของผมที่ไม่มีนักศึกษาเป็นของตัวเอง จบพบเจอนักศึกษาก็ต่อเมื่อมีกิจกรรมใน TH ERM Challenge หรือใน Demo Conceptual Class ซึ่งส่วนมาเป็นคลาส 1 วัน 6-7 ชั่วโมง หรืออย่างสั้นที่สุดเพียง 3-4 ชม. จำนวน 1 ครั้ง คงจะตอบเพื่อให้ผู้อ่านซึ่งเป็นอาจารย์ CT ในระบบการศึกษาปรกติได้ยาก แต่หลังจากที่ได้พูดคุยกับบรรดา CT ในหลากหลายสถาบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผมจึงขอเสนอ บันไดสามขั้น ไว้เป็น reference ให้แก่ท่าน อย่างไรก็ตาม ผลลัพท์ที่ดีกว่าจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อท่านเปลี่ยน "วิธีการ" และ "เปิดใจ" ที่จะทดลอง
บันได 3 ชั้น ในการวางแผนการใช้งาน MonsoonSIM
ขั้นที่หนึ่ง: กำหนดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของท่าน : เวลาที่มีอยู่ เพื่อวางแผนการใช้งาน MonsoonSIM ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงที่สุด
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ วัตถุประสงค์ และข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่่งต้องสอดคล้องกัน เพราะว่าหากท่านวางแผนไป และค้นพบว่าอย่างไรก็มีเวลาจำกัด เป็นไปไม่ได้ที่จะทำเรื่องที่มีรายละเอียดมาก ๆ และต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา เนื่องจากการที่ท่านเลือกใช้ MonsoonSIM นี้ ท่านต้องการสร้างประสบการณ์ เพื่อให้สร้างความเข้าใจด้วยตนเอง มิใช่การสอนให้จำ ทัั้งนนี้สิ่งที่แนะนำให้ท่านได้ คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ตามกรอบเวลา โดยคำนึงถึงประสบการณ์
หากท่านมีเวลาจำกัด การทำความเข้าใจเรื่อง Interface
1ก) ใช้เพื่อสร้างประสบการณ์นอกเหนือจากวิชาหรือหลักสูตรที่สอน
หากท่านวางแผนในกรณีที่จะใช้เพื่อสร้างประสบการณ์เพื่อเพิ่มเติมมุมมองนอกวิชาหรือหลักสูตร แต่เป็นกิจกรรม เช่น ใช้ในชมรม, ใช้ในกิจกรรมพิเศษ, เปิดเป็น Lab พิเศษให้กับนักศึกษาได้เรียนและค้นคว้าด้วยตนเอง เช่น การแข่งขันภายในกิจกรรมวันวิชาการในมหาวิทยาลัย เป็นต้น ก็ต้องถามคำถามต่อมาว่า นักศึกษากลุ่มเป้าหมายจะมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้กี่ครั้ง ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ในการวางแผน ยกตัวอย่างเช่น การจัด Conceptual Class ใน 1 วัน สำหรับการแข่งขัน TH ERM Challenge ซึ่งมีวัจถุประสงค์เพียงให้นักศึกษาเชื่อมโยงงาน และข้อมูลหลวม ๆ และเข้าใจการทำงานพื้นฐานทั้ง 12 โมดูลใน 1 วัน สามารถเข้าสู่เกมส์ได้ จึงดำเนินคลาสแบบพื้นฐาน และรวดเร็ว จำเป็นจะต้องอธิบายและเสนอข้อสรุปในบางตัวเพื่อเป็นตัวอย่าง โดยประสบการณ์ที่มากกว่า และลึกกว่าในแต่ละเรื่อง จะไปเสริมในรอบซ้อมมือ ซึ่งเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ในปี 2016-2018 เป็นต้น
1ข) ใช้เสริมในวิชาที่สอน
หากท่านวางแผนในกรณีนี้ ย่อมจำต้องถูกจำกัดด้วยเวลาที่จำกัดใน 1 ภาคเรียน ในกรณีแบบนี้ส่วนมาก จะมีโอกาสเพิ่มเติมเข้าไปในช่วงเวลาปรกติประมาณ 2-3 ครั้ง ซึ่งถือว่ามีข้อจำกัดค่อนข้างมาก คำแนะนำคือ จะต้องให้นักศึกษาเรียนรู้เรื่อง Interface จากคลิปก่อน และใน 2-3 ครั้ง จำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ที่ตรงกับเนื้อหาของวิชาที่จะใช้เสริม และเลือกเปิดเฉพาะโมดูลที่เกี่ยวข้อง เปลี่ยน Config ที่จะช่วยให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์ในเวลาที่จำกัด ตัวอย่างเช่น วิชา Inventory Management ซึ่งต้องการให้เห็นการจัดการสินค้าคงคลัง ในกรณีนี้อาจไม่จำเป็นต้องเปิด SRV, MNT, HCM โดยไปมุ่งที่ การเปลี่ยนแปลง Demand ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้าง FCS ที่แตกต่างไป (เช่น การเพิ่ม Holiday), การเปลี่ยน Lead Time หรือ เพิ่ม Task เรื่องข้อจำกัดด้านการเงิน และ Credit Term เพื่อให้เห็นภาพที่กว้างขึ้น ในการเอาปัจจัยด้านอื่น ๆ มาผสมผสานในการจัดการสินค้าคงคลัง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากการใช้ MonsoonSIM ในการเสริมรายวิชาที่สอน มีความเชื่อมโยงกัน จะเกิดประโยชน์ต้อนักศึกษาในการทยอยเติมเต็มความรู้เพิ่มขึ้นทีละนิด และเปนประโยชน์ต่ออาจารย์ CT ผู้ใช้งาน ในเนื้อหาถัดไป โดยการวางแผนส่งไม้ต่อเหมือนการวิ่งผลัด ตัวอย่างเช่น ในสายบัญชี ซึ่งใช้ MonsoonSIM ในปีที่ 2 เพื่อสร้างความเข้าใจในกรทำธุรกิจ และพื้นฐานของการบันทึกบัญชีแบบเงินสด อาจตามมาด้วย รูปแบบของบัญีที่หลากหลาย ขึ้นในระยะต่อมา เช่น บัญชีลูกหนี้เจ้าหนี้ และอาศัยการให้การบ้านแก่นักศึกษาไปวิเคราะห์สัดส่วนรายจ่าย : รายรับ, การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน กับรูปแบบของการประกอบการ, เพื่อจะใช้เป็นฐานในการสอนวิชา AIS; Account Information System ต่อไป ในปี 3 และ 4 การวางแผนใช้อย่างเป็นขั้นตอนจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษา และประหยัดเวลาแก่วิชาในปีหลัง ๆ ในการทำความเข้าใจ และสอนพื้นฐานของแต่ละเรื่อง
1ค) ใช้เป็นวิชาหลักที่สร้างพื้นฐาน
หากท่านวางแผนเพื่อจะใช้ MonsoonSIM เป็นวิชาหลัก ซึ่งอาจจเป็น วิชา ผู้ประกอบการ, วิชาการบริหารจัดการพื้ฯบานทางธุรกิจ หรือชื่ออื่น ๆ ซึ่งใน 1 ภาคการศึกษา จะมีโอกาสประมาณ 12-14 ครั้ง โดยที่วางวัตถุประงค์ไว้ว่า นักศึกษาจะต้องได้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น ข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่แตกต่างกันไป ซึ่งหากมีกำหนดเวลาเช่นนี้ชัดเจน จะทำให้ท่านสามารถวางแผน เช่น ใน 3-4 ครั้งแรก จะเป็นการสร้างความเข้าใจ และ Basic ทั้งหมด, ในครั้งที่ 5-6 จะเริ่มเพิ่ Advance Module บน Configurations ที่ไม่ยากมาก, ครั้งที่ 7-9 จะเป็นการเปลี่ยน Configurations เพื่อสร้างปัญหาที่มากขึ้น มีข้อจำกัดมากขึ้น โดย ในแต่ละช่วงที่หยุดจะคั่นด้วย Seminar Class หรือ แต่ละครั้งที่จบ จะสรุปคลาส และให้งานไปเพื่อให้นีกศึกษาต้นคว้ามาก่อน และอาจจะจบด้วยการทำ Workshop เพื่อให้นักศึกษานำเอาแนวคิดบางเรื่องไปใช้งานได้เป็นต้น (ควรประสาน F Methodology เพื่อวางแผนในการสร้างกระบวนการเรียนรู้)
บันไดขั้นที่สอง: ทดลอง ทดลอง และทดลอง
แต่ละท่าน แต่ละวัตถุประสงค์มีข้อจำกัดที่แตกต่าง หลังจากที่ท่านทราบแล้วว่า จะมีโอกาสกี่ครั้งที่จะได้ใช้ MonsoonSIM ตามเป้าหมายที่วางไว้ และได้วางแผนคร่าว ๆ ไว้แล้วนั้น ผมก็จะต้องเชิญชวนให้ท่านได้ทดลอง และจากประสบการณ์ของผม นักศึกษาไทยในรอบ 3 ปี คือ 2016-2017-2018 นั้น มีพฤติกรรมที่แตกต่างออกไปอย่างมาก วิธีที่เคยใช้ได้ผลในปีหนึ่ง อาจใช้ไม่ได้เลย หรือใช้ได้ผลบางส่วนกับอีกปีหนึ่ง ต่อให่จะเป็นนักศึกษาในสาขาวิชาเดียวกันก็ตาม
การทดลองของผมเกิดจากการวางแผน และใช้กับกลุ่มนักศึกษา และเปลี่ยนวิธีการไปทีละน้อยในปีเดียวกัน เนืองจากนักศึกษาที่เข้าร่วมในการแข่งขัน TH ERM Challege นั้น มีหลากหลายสาขาวิชา และหลายชั้นปี ซึ่งการทดลองที่ผ่านมามีหลากลาย อาทิ
บันไดขั้นที่สาม: การปรับปรุงอยู่เสมอ
หลังการทดลองในแต่ละครั้ง เมื่อวัดผลกับวัตถุประสงค์ที่ท่านวางไว้ ประกอบกับข้อจำกัดต่าง ๆ แน่นอนว่าท่าน CT จะมีแนวคิดในการปรับปรุงจากข้อผิดตลาดที่ท่านพบเสมอ ซึ่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จะทำให้ท่าน CT สามารถปรับใช้เครื่องมือใด ๆ ที่นอกเหนือจาก MonsoonSIM ได้ดีขึ้นด้วย
ทั้งนี้ขอให้ท่านได้โปรดมอบโอกาสให้นักศึกษาในวิชาของท่าน ได้มีโอกาส "ปรับปรุง" เรื่องใด ๆ หลัจากที่เขาได้ทดลองและเห็นปัญหาจากการได้ทดลองแล้ว เพื่อที่จะมีโอกาสได้ทดลองวิธีที่แตกต่างออกไป แนวคิดที่เปลี่ยนไป และจะเกิดเป็นประโยชน์มหาศาลกับนักศึกษา
ท่านจะเลือกการอธิบายแนวคิดนี้ ด้วยมุมมอง PDCA หรือจะใช้กระบวนการของ Agile Methodology หรือ จะใช้แนวคิดแบบ Startup เช่น Fail fast Learn fast มาปรับใช้กับการใช้ MonsoonSIM และคลาสอื่น ๆ ก็จะเป็นหนึ่งในกรรมวิธี LTT; Learning and Teaching Transformaion ส่วนจะใช้วิธีการใด ๆ นั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็น "เรื่องเดียวกัน" เพียงอธิบายแตกต่างกันออกไป
บันได 3 ชั้น ในการวางแผนการใช้งาน MonsoonSIM
ขั้นที่หนึ่ง: กำหนดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของท่าน : เวลาที่มีอยู่ เพื่อวางแผนการใช้งาน MonsoonSIM ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงที่สุด
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ วัตถุประสงค์ และข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่่งต้องสอดคล้องกัน เพราะว่าหากท่านวางแผนไป และค้นพบว่าอย่างไรก็มีเวลาจำกัด เป็นไปไม่ได้ที่จะทำเรื่องที่มีรายละเอียดมาก ๆ และต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา เนื่องจากการที่ท่านเลือกใช้ MonsoonSIM นี้ ท่านต้องการสร้างประสบการณ์ เพื่อให้สร้างความเข้าใจด้วยตนเอง มิใช่การสอนให้จำ ทัั้งนนี้สิ่งที่แนะนำให้ท่านได้ คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ตามกรอบเวลา โดยคำนึงถึงประสบการณ์
หากท่านมีเวลาจำกัด การทำความเข้าใจเรื่อง Interface
1ก) ใช้เพื่อสร้างประสบการณ์นอกเหนือจากวิชาหรือหลักสูตรที่สอน
หากท่านวางแผนในกรณีที่จะใช้เพื่อสร้างประสบการณ์เพื่อเพิ่มเติมมุมมองนอกวิชาหรือหลักสูตร แต่เป็นกิจกรรม เช่น ใช้ในชมรม, ใช้ในกิจกรรมพิเศษ, เปิดเป็น Lab พิเศษให้กับนักศึกษาได้เรียนและค้นคว้าด้วยตนเอง เช่น การแข่งขันภายในกิจกรรมวันวิชาการในมหาวิทยาลัย เป็นต้น ก็ต้องถามคำถามต่อมาว่า นักศึกษากลุ่มเป้าหมายจะมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้กี่ครั้ง ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ในการวางแผน ยกตัวอย่างเช่น การจัด Conceptual Class ใน 1 วัน สำหรับการแข่งขัน TH ERM Challenge ซึ่งมีวัจถุประสงค์เพียงให้นักศึกษาเชื่อมโยงงาน และข้อมูลหลวม ๆ และเข้าใจการทำงานพื้นฐานทั้ง 12 โมดูลใน 1 วัน สามารถเข้าสู่เกมส์ได้ จึงดำเนินคลาสแบบพื้นฐาน และรวดเร็ว จำเป็นจะต้องอธิบายและเสนอข้อสรุปในบางตัวเพื่อเป็นตัวอย่าง โดยประสบการณ์ที่มากกว่า และลึกกว่าในแต่ละเรื่อง จะไปเสริมในรอบซ้อมมือ ซึ่งเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ในปี 2016-2018 เป็นต้น
1ข) ใช้เสริมในวิชาที่สอน
หากท่านวางแผนในกรณีนี้ ย่อมจำต้องถูกจำกัดด้วยเวลาที่จำกัดใน 1 ภาคเรียน ในกรณีแบบนี้ส่วนมาก จะมีโอกาสเพิ่มเติมเข้าไปในช่วงเวลาปรกติประมาณ 2-3 ครั้ง ซึ่งถือว่ามีข้อจำกัดค่อนข้างมาก คำแนะนำคือ จะต้องให้นักศึกษาเรียนรู้เรื่อง Interface จากคลิปก่อน และใน 2-3 ครั้ง จำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ที่ตรงกับเนื้อหาของวิชาที่จะใช้เสริม และเลือกเปิดเฉพาะโมดูลที่เกี่ยวข้อง เปลี่ยน Config ที่จะช่วยให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์ในเวลาที่จำกัด ตัวอย่างเช่น วิชา Inventory Management ซึ่งต้องการให้เห็นการจัดการสินค้าคงคลัง ในกรณีนี้อาจไม่จำเป็นต้องเปิด SRV, MNT, HCM โดยไปมุ่งที่ การเปลี่ยนแปลง Demand ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้าง FCS ที่แตกต่างไป (เช่น การเพิ่ม Holiday), การเปลี่ยน Lead Time หรือ เพิ่ม Task เรื่องข้อจำกัดด้านการเงิน และ Credit Term เพื่อให้เห็นภาพที่กว้างขึ้น ในการเอาปัจจัยด้านอื่น ๆ มาผสมผสานในการจัดการสินค้าคงคลัง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากการใช้ MonsoonSIM ในการเสริมรายวิชาที่สอน มีความเชื่อมโยงกัน จะเกิดประโยชน์ต้อนักศึกษาในการทยอยเติมเต็มความรู้เพิ่มขึ้นทีละนิด และเปนประโยชน์ต่ออาจารย์ CT ผู้ใช้งาน ในเนื้อหาถัดไป โดยการวางแผนส่งไม้ต่อเหมือนการวิ่งผลัด ตัวอย่างเช่น ในสายบัญชี ซึ่งใช้ MonsoonSIM ในปีที่ 2 เพื่อสร้างความเข้าใจในกรทำธุรกิจ และพื้นฐานของการบันทึกบัญชีแบบเงินสด อาจตามมาด้วย รูปแบบของบัญีที่หลากหลาย ขึ้นในระยะต่อมา เช่น บัญชีลูกหนี้เจ้าหนี้ และอาศัยการให้การบ้านแก่นักศึกษาไปวิเคราะห์สัดส่วนรายจ่าย : รายรับ, การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน กับรูปแบบของการประกอบการ, เพื่อจะใช้เป็นฐานในการสอนวิชา AIS; Account Information System ต่อไป ในปี 3 และ 4 การวางแผนใช้อย่างเป็นขั้นตอนจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษา และประหยัดเวลาแก่วิชาในปีหลัง ๆ ในการทำความเข้าใจ และสอนพื้นฐานของแต่ละเรื่อง
1ค) ใช้เป็นวิชาหลักที่สร้างพื้นฐาน
หากท่านวางแผนเพื่อจะใช้ MonsoonSIM เป็นวิชาหลัก ซึ่งอาจจเป็น วิชา ผู้ประกอบการ, วิชาการบริหารจัดการพื้ฯบานทางธุรกิจ หรือชื่ออื่น ๆ ซึ่งใน 1 ภาคการศึกษา จะมีโอกาสประมาณ 12-14 ครั้ง โดยที่วางวัตถุประงค์ไว้ว่า นักศึกษาจะต้องได้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น ข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่แตกต่างกันไป ซึ่งหากมีกำหนดเวลาเช่นนี้ชัดเจน จะทำให้ท่านสามารถวางแผน เช่น ใน 3-4 ครั้งแรก จะเป็นการสร้างความเข้าใจ และ Basic ทั้งหมด, ในครั้งที่ 5-6 จะเริ่มเพิ่ Advance Module บน Configurations ที่ไม่ยากมาก, ครั้งที่ 7-9 จะเป็นการเปลี่ยน Configurations เพื่อสร้างปัญหาที่มากขึ้น มีข้อจำกัดมากขึ้น โดย ในแต่ละช่วงที่หยุดจะคั่นด้วย Seminar Class หรือ แต่ละครั้งที่จบ จะสรุปคลาส และให้งานไปเพื่อให้นีกศึกษาต้นคว้ามาก่อน และอาจจะจบด้วยการทำ Workshop เพื่อให้นักศึกษานำเอาแนวคิดบางเรื่องไปใช้งานได้เป็นต้น (ควรประสาน F Methodology เพื่อวางแผนในการสร้างกระบวนการเรียนรู้)
บันไดขั้นที่สอง: ทดลอง ทดลอง และทดลอง
แต่ละท่าน แต่ละวัตถุประสงค์มีข้อจำกัดที่แตกต่าง หลังจากที่ท่านทราบแล้วว่า จะมีโอกาสกี่ครั้งที่จะได้ใช้ MonsoonSIM ตามเป้าหมายที่วางไว้ และได้วางแผนคร่าว ๆ ไว้แล้วนั้น ผมก็จะต้องเชิญชวนให้ท่านได้ทดลอง และจากประสบการณ์ของผม นักศึกษาไทยในรอบ 3 ปี คือ 2016-2017-2018 นั้น มีพฤติกรรมที่แตกต่างออกไปอย่างมาก วิธีที่เคยใช้ได้ผลในปีหนึ่ง อาจใช้ไม่ได้เลย หรือใช้ได้ผลบางส่วนกับอีกปีหนึ่ง ต่อให่จะเป็นนักศึกษาในสาขาวิชาเดียวกันก็ตาม
การทดลองของผมเกิดจากการวางแผน และใช้กับกลุ่มนักศึกษา และเปลี่ยนวิธีการไปทีละน้อยในปีเดียวกัน เนืองจากนักศึกษาที่เข้าร่วมในการแข่งขัน TH ERM Challege นั้น มีหลากหลายสาขาวิชา และหลายชั้นปี ซึ่งการทดลองที่ผ่านมามีหลากลาย อาทิ
- ทดลองเปลี่ยนคำอธิบาย เช่น การอธิบาย, การอธิบายที่ชวนนักศึกษาคิดเลขในใจไปด้วย, การอธิบายที่เขียนชุดเลขหรือสมการง่าย ๆ ประกอบ จะทำให้ผลลัพท์แตกต่างกัน เป็นต้น
- ทดลองการเปลี่ยนการยกตัวอย่างที่แตกต่างออกไปในหัวข้อเดียวกัน โดย CT ควรใช้ตัวอย่างที่นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ หรือสามารถเชื่อมประสบการณ์ที่พบเห็นจากรอบตัว เป็นต้น
- ทดลองกลุ่มโมดูลที่วางแผนไว้ โดยเปิดสลับกัน หรือเปลี่ยนลำดับวิธีการเพื่อใช้ในการสอน เช่น หากท่านสอนเรื่อง MRP โดยใช้การเปิดโมดูลตามลำดับ เมื่อถุง MRP มักประสบปัญหาเรื่องนักศึกษามี Inventory on hands มาก อาจจะทำให้ไม่สามารถ Run MRP แล้วเห็นผลได้ ผมแก้ไขด้วยการ เปิด WHS และ MRP ต่อเนื่องกันก่อนที่จะเปิด B2B เพื่อให้นักศึกษาสามารถ Run MRP พร้อมกับ ความเข้าใจเรื่อง Safety Stock ไปด้วย ก่อนที่จะเปิด B2B ตามมา เป็นต้น
- ทดลองการปรับ Configurations ซึ่งส่วนนี้จะต้องการวางแผน + การกล้าที่จะทดลอง เช่น ประสงค์จะให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์เรื่องการบริหารเงินสดในมือ ในเกมที่ 3-4 ก็จะมีการปรับเปลี่ยนจำนวน COH; Cash On Hands ให้ลดลง ไม่เปิดให้มีวงกู้ OD หรือ กำหนดเรื่องของ Term of Payment ของ B2B Customer ให้ยาวขึ้น เป็นต้น
- ทดลองด้วยการสร้างข้อกำหนดพิเศษ หรือกติกาพิเศษ ซึ่งอาจจะนอกเหนือจากข้อกำหนดที่ MonsoonSIM จะทำได้ เช่น ทดลองกำหนดจำนวนเครื่องจักรเพื่อให้นักศึกษาได้หาประสบการณ์ในการบริหาร Inventory ที่ดีขึ้น หรือให้ความสนใจกับการซ่อมบำรุงมากขึ้น เป็นต้น
- ทดลองใช้การบ้านเผื่อกลับไปทบทวน หรือวางแผนให้นักศึกษาค้นคว้ามาล่วงหน้า เช่น ในปี 2018 ได้มีการให้การบ้านล่วงหน้าก่อนที่จะสร้างประสบการณ์เรื่องอื่น ๆ ทำให้เมื่อถึงเวลาที่นักศึกษาได้รับประสบการณ์ นักศึกษาสามารถดึงเรื่องที่ตนเองค้นคว้ามาก่อนล่วงหน้ามาเป็นหัวข้อสนทนาในกลุ่มได้ เป็นต้น
บันไดขั้นที่สาม: การปรับปรุงอยู่เสมอ
หลังการทดลองในแต่ละครั้ง เมื่อวัดผลกับวัตถุประสงค์ที่ท่านวางไว้ ประกอบกับข้อจำกัดต่าง ๆ แน่นอนว่าท่าน CT จะมีแนวคิดในการปรับปรุงจากข้อผิดตลาดที่ท่านพบเสมอ ซึ่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จะทำให้ท่าน CT สามารถปรับใช้เครื่องมือใด ๆ ที่นอกเหนือจาก MonsoonSIM ได้ดีขึ้นด้วย
ทั้งนี้ขอให้ท่านได้โปรดมอบโอกาสให้นักศึกษาในวิชาของท่าน ได้มีโอกาส "ปรับปรุง" เรื่องใด ๆ หลัจากที่เขาได้ทดลองและเห็นปัญหาจากการได้ทดลองแล้ว เพื่อที่จะมีโอกาสได้ทดลองวิธีที่แตกต่างออกไป แนวคิดที่เปลี่ยนไป และจะเกิดเป็นประโยชน์มหาศาลกับนักศึกษา
ท่านจะเลือกการอธิบายแนวคิดนี้ ด้วยมุมมอง PDCA หรือจะใช้กระบวนการของ Agile Methodology หรือ จะใช้แนวคิดแบบ Startup เช่น Fail fast Learn fast มาปรับใช้กับการใช้ MonsoonSIM และคลาสอื่น ๆ ก็จะเป็นหนึ่งในกรรมวิธี LTT; Learning and Teaching Transformaion ส่วนจะใช้วิธีการใด ๆ นั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็น "เรื่องเดียวกัน" เพียงอธิบายแตกต่างกันออกไป