PART 1: ไม่แข่งยิ่งแพ้
(แรงบันดาลใจจากเพลง "ไม่แข่งยิ่งแพ้" ของพี่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย ถ้าได้ฟังจะอินมากขึ้น)
"ก็การแพ้ เพราะไม่เคยได้ลงแข่ง น่าเสียดาย น่าเสียดาย และ คนที่เราแคร์ (ซึ่งคือตัวคุณเอง) ไม่มีวันรู้เลย"
สมัยนี้เป็นสมัยที่น่าอิจฉา หากเทียบระหว่างรุ่นผมที่เป็น Generation X กับ นักเรียนนักศึกษาในปัจจุบัน (2019) ที่เป็นช่วงวัยหนุ่มสาวของคนต้นยุค Gen Z ซึ่งเป็นนุคที่โลกกำลังปรับตัว เปลี่ยนแปลงจาก Technology Disruption (Internet, AI, Cloud, Big Data, 3D Printing, Analytics, Social Media etc) เพราะว่าเป็นช่วงเวลที่มี "โอกาส" เปิดให้อย่างมากมาย เช่น โอกาสในการเรียนรู้ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีนำโลกทั้งใบมาอยู่บนหน้าจอหลากหลายขนาดได้ "เกือบทุกที่" และ ทุกเวลา ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้วจาก Content ที่มีอยู่อย่างรอบตัว, โอกาสในการรู้จัก เข้าหา สนทนาและติดต่อบรรดา "ผู้มีชื่อเสียง" "นักคิด นักเขียน" "นักธุรกิจ" ฯลฯ ได้อย่างง่ายดายผ่านโลก Social Media ใน Platform ต่าง ๆ กัน เป็นต้น
ทั้งนี้ยังรวมไปถึง "วิธีการ" ใหม่ ๆ ที่พัฒนามาจาก "พื้นฐานและวิธีการเดิมจากโลกยุคก่อนมิลเลนเนี่ยม" (ปี 2000) เช่น ผืนผ้าใบต่าง ๆ (Canvas นานาผืน) ที่ประยุกต์เอา Project Management และ Business Perspective เข้าด้วยกัน หรือ วิธีการ Design Thinking ซึ่งแท้จริงแล้วพัฒนามาจากการวิชาการทำตลาด และกระบวนการที่สั่งสมมากว่าศตวรรษแฃะถูกทำให้เข้าใจง่ายขึ้น (ง่ายจนผู้ใช้อาจไม่เข้าใจมันจริง ๆ) รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้คุณสามารถสื่อสารกับ "ตลาด" และ "การวัดผล" ได้เร็วกว่าเมื่อก่อน หรือ กรรมวิธีการจัดการกระบวนการคิดในการสร้างสรรค์ธุรกิจในแบบ Lean และ Startup ที่ประสานเอา PDCA และ Research Methodology ให้ง่ายขึ้น ย่นระยะเวลา Time to Market ให้ถูกจริตคนวัยซีด (ปลาย Gen Y ถึง Gen Z-ZeeD)
และอีก "โอกาส" ที่ผมเห็นว่ามีมาก คือ โอกาสได้รับประสบการณ์ เพิ่มพูนความรู้ และทักษะจากการแข่งขัน ทว่าโอกาสที่รายรอบตัวของคนยุคนี้ ที่มีผู้สร้างให้ เช่นการแข่งขันนั้นกำลังเกิดสภาวะ "Over Supply" เพราะว่ามีเวทีการแข่งขันให้เลือกมาก แต่ขาดผู้กระตือรือล้นในการแข่งขัน จนอาจจะต้อง "ยัดเยียด หลอกล่อ" ให้ Target Group เช่นพวกท่านเข้าร่วม
ถ้าผมเป็นคนรุ่นเดียวกับคุณ ในสภาพแวดล้อมเช่นปัจจุบันผมคงจะกำลังตั้งคำถามว่า "ลุง" คนที่เขียนบทความนี้ช่างไม่เข้าใจพวกเราเอาเสียเลย เรามี "หลายสิ่งและหลายอย่างให้ต้องทำ" การเป็นวัยรุ่นในปัจจุบันมันเหนื่อย สิ่งที่ "พี่" (เรียกลุงมันเจ็บ) ในฐานะผู้ที่เคยผ่านช่วงวัยรุ่นมาไม่นานนี้ และไม่มเคยมีโอกาสในยุคสมัยนั้นเฉกเช่นทุกวันนี้ กำลังใช้ประสบการณ์บอกเล่าให้คุณฟัง ซึ่งคุณอาจจะไม่ต้องเห็นด้วยก็ได้ แต่ลองทบทวนดูก็จะดียิ่ง
ร่ายยาวมาแค่ 4-5 มุมมอง น้อง ๆ ที่คิดเป็น จะเริ่มเข้าใจว่า "ไม่แข่งยิ่งแพ้" แปลว่าอะไร และ "พี่" (เรียกลุงมีเคือง) ก็อยากให้คุณเดินออกจาก Comfort Zone หรือ สภาวะกบในน้ำเย็นที่ตั้งบนเตาไฟที่กำลังตายไปช้าๆ แบบไม่รู้ตัว เริ่มตั้งต้นว่า "จะเอาตัวเองไปมีประสบการณ์" ได้อย่างไร และหนึ่งในนั้นคือ การไปร่วมการแข่งขันที่มีมากมายเสีย
สภาวะ Low Demand ในเรื่องนี้เกิดจากหลายปัจจัย เมื่อน้อง ๆ ได้อ่านแล้วลองคิดดูว่าตนเองอยูในกลุ่มใด
You are what you have chosen!! คุณเป็นสิ่งที่คุณเลือก หากน้อง ๆ คิดและเข้าใจว่า Hard Skills จำเป็นอย่างยิ่งยวด ในขณะที่โลกต้องการ Hard Skills + SET of Soft Skills ก็ตั้งหน้าตั้งตาเรียนเพื่อจำไปสอบต่อไป แต่หากน้องเรียนเพื่อรู้ อันนี้พี่โอเค แต่ต้องรู้เพื่อใช้งานให้เป็น และรู้ที่จะทำงานให้ได้ หรือ จะดีกว่าไหมหากน้องๆ พาตัวเองไปมีประสบการณ์หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การลงแข่งขันเพื่อลดอัตราการเห้อของโอกาส ที่มีคนพยายามหยิบยื่นให้ และน้องมองข้ามมันไป ภายใต้ความคิดที่ว่า "เดี๊ยวก็มีอีก" "มีอีกเยอะ" "รอครั้งต่อไปก็ได้" ต้องเลือกเอาเอง มีเพียงคำแนะนำที่ว่า "ไม่แข่งยิ่งแพ้" และให้พาตัวเองไปเจอประสบการณ์
ปล1: การพาตัวเองไปหาประสบการณ์ยังมีอีกหลายวิธีนอกจากการแข่ง เช่น การออกไปผจญภัยเดินทางด้วยตัวเองในช่วงปิดเทอม, การไปฝึกงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในไทย และต่างประเทศ ที่มีทางเลือกมากมาย หรือ การทำงานพิเศษ, การนำพาตัวเองไปอยู่ในสังคมใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม
ปล2: ใน EP ต่อไป จะมาแนะแนวการลงแข่งให้เกิดประสบการณ์ เช่น การลงแข่งแผนธุรกิจ, การลงแข่งในกระแสนิยมแบบ Startup
ติดตาม Content ที่หลากหลายได้ที่ https://www.monsoonsimthailand.com/sharing-index.html หรือเป็น Fanpage ของ www.facebook.com/MonsoonSIMTH
#บทเรียนง่ายๆสไตล์มอนซูน
#พี่แว่นแนะแนว
#ครูพักมอนซูนลักจำ
#พี่แว่นแนะแนว EP2 จะแข่งต้องเตรียมตัว
(แรงบันดาลใจจากเพลง "ไม่แข่งยิ่งแพ้" ของพี่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย ถ้าได้ฟังจะอินมากขึ้น)
"ก็การแพ้ เพราะไม่เคยได้ลงแข่ง น่าเสียดาย น่าเสียดาย และ คนที่เราแคร์ (ซึ่งคือตัวคุณเอง) ไม่มีวันรู้เลย"
สมัยนี้เป็นสมัยที่น่าอิจฉา หากเทียบระหว่างรุ่นผมที่เป็น Generation X กับ นักเรียนนักศึกษาในปัจจุบัน (2019) ที่เป็นช่วงวัยหนุ่มสาวของคนต้นยุค Gen Z ซึ่งเป็นนุคที่โลกกำลังปรับตัว เปลี่ยนแปลงจาก Technology Disruption (Internet, AI, Cloud, Big Data, 3D Printing, Analytics, Social Media etc) เพราะว่าเป็นช่วงเวลที่มี "โอกาส" เปิดให้อย่างมากมาย เช่น โอกาสในการเรียนรู้ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีนำโลกทั้งใบมาอยู่บนหน้าจอหลากหลายขนาดได้ "เกือบทุกที่" และ ทุกเวลา ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้วจาก Content ที่มีอยู่อย่างรอบตัว, โอกาสในการรู้จัก เข้าหา สนทนาและติดต่อบรรดา "ผู้มีชื่อเสียง" "นักคิด นักเขียน" "นักธุรกิจ" ฯลฯ ได้อย่างง่ายดายผ่านโลก Social Media ใน Platform ต่าง ๆ กัน เป็นต้น
ทั้งนี้ยังรวมไปถึง "วิธีการ" ใหม่ ๆ ที่พัฒนามาจาก "พื้นฐานและวิธีการเดิมจากโลกยุคก่อนมิลเลนเนี่ยม" (ปี 2000) เช่น ผืนผ้าใบต่าง ๆ (Canvas นานาผืน) ที่ประยุกต์เอา Project Management และ Business Perspective เข้าด้วยกัน หรือ วิธีการ Design Thinking ซึ่งแท้จริงแล้วพัฒนามาจากการวิชาการทำตลาด และกระบวนการที่สั่งสมมากว่าศตวรรษแฃะถูกทำให้เข้าใจง่ายขึ้น (ง่ายจนผู้ใช้อาจไม่เข้าใจมันจริง ๆ) รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้คุณสามารถสื่อสารกับ "ตลาด" และ "การวัดผล" ได้เร็วกว่าเมื่อก่อน หรือ กรรมวิธีการจัดการกระบวนการคิดในการสร้างสรรค์ธุรกิจในแบบ Lean และ Startup ที่ประสานเอา PDCA และ Research Methodology ให้ง่ายขึ้น ย่นระยะเวลา Time to Market ให้ถูกจริตคนวัยซีด (ปลาย Gen Y ถึง Gen Z-ZeeD)
และอีก "โอกาส" ที่ผมเห็นว่ามีมาก คือ โอกาสได้รับประสบการณ์ เพิ่มพูนความรู้ และทักษะจากการแข่งขัน ทว่าโอกาสที่รายรอบตัวของคนยุคนี้ ที่มีผู้สร้างให้ เช่นการแข่งขันนั้นกำลังเกิดสภาวะ "Over Supply" เพราะว่ามีเวทีการแข่งขันให้เลือกมาก แต่ขาดผู้กระตือรือล้นในการแข่งขัน จนอาจจะต้อง "ยัดเยียด หลอกล่อ" ให้ Target Group เช่นพวกท่านเข้าร่วม
ถ้าผมเป็นคนรุ่นเดียวกับคุณ ในสภาพแวดล้อมเช่นปัจจุบันผมคงจะกำลังตั้งคำถามว่า "ลุง" คนที่เขียนบทความนี้ช่างไม่เข้าใจพวกเราเอาเสียเลย เรามี "หลายสิ่งและหลายอย่างให้ต้องทำ" การเป็นวัยรุ่นในปัจจุบันมันเหนื่อย สิ่งที่ "พี่" (เรียกลุงมันเจ็บ) ในฐานะผู้ที่เคยผ่านช่วงวัยรุ่นมาไม่นานนี้ และไม่มเคยมีโอกาสในยุคสมัยนั้นเฉกเช่นทุกวันนี้ กำลังใช้ประสบการณ์บอกเล่าให้คุณฟัง ซึ่งคุณอาจจะไม่ต้องเห็นด้วยก็ได้ แต่ลองทบทวนดูก็จะดียิ่ง
- โลกหลังจากชีวิตวัยเรียน หากคุณไม่ได้ทำงานในสายวิชาชีพเฉพาะ ชุดความรู้โบราณที่สอนให้คุณจำเพื่อสอบ นั้นใช้ "วิชาการ" เหล่านี้ตรง ๆ ไม่ได้ ต้องประยุกต์ เปลี่ยนแปลง ตัดต่อหลากหลายวิชาทฤษฎีเข้าด้วยกัน ต้องถามว่า น้อง ๆ มีความสามารถนี้หรือเปล่า ???
- OECD, สถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก และ บริษัท Enterprise ยักษ์ใหญ่ทั้งเก่าใหม่ระดับโลก บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เขาต้องการผู้ที่มี SOFT SKILLS SET มากกว่า Hard Skills (ความรู้เชิง Technical) ซึ่งตามภาพตัวอย่างขวามือ จาก Harvard University แจ้งว่ามีสัดส่วนถึงที่ Soft Skills มีความต้องการมากกว่า Hard Skills ถึง 85:15 (บางปี บาง resreach ในปี 2017 ประมาณ 73:27 และพี่แว่นบอกเลยว่า การเรียนการสอนแบบจารีต ด้วยข้อจำกัดและปัญหาในปัจจุบัน ไม่เอื้อให้น้อง ๆ มีทักษะที่โลกต้องการ แต่การแข่งขันอาจมอบประสบการณ์ และโอกาสให้คุณเตมิทักษะที่เป็นที่ต้องการได้
- Hardskills หรือ ความรู้ที่สามรถเรียนรู้ได้นั้น ใช้เพียงเวลาและความอุตสาหะ รวมกับสมองที่มีความพร้อมเล็กน้อยก็สามารถมีทักษะนี้ได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เนื้อหาในวิชาจากศตวรรษที่ 20 ที่สอนกันในสถาบันการศึกษาอาจเรียนได้จากอินเตอร์เน็ต และได้น้ำได้เนื้อมากกว่าเรียนในชั้นเรียนเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าครูอาจารย์ไร้ความสามารถ (ซึ่งก็มีส่วนหนึ่งแหละ) แต่หมายถึง บรรยากาศ เวลา ข้อจำกัด ความกดดัน จากการวัดผลที่ไม่รู้ว่าผู้เรียนเช่นคุณจะได้ประโยชน์อะไรต่างหาก ทว่า Soft Skills ซึ่งมีเป็นกระบุงโกย แล้วแต่ว่าใครจะนิยามนั้น อาจได้มาทีละหลายกระสอบจากการ "พาตัวเองไปแข่งขันในการแข่งขันดีดี" อาทิ 4Cs (Communication, Critical Thinking, Collaboration & Creativity), Inter-Personal Skills, Life Skills etc
- การนำพาตัวเองไปมีประสบการณ์ (การแข่งขัน, โอกาสในการเดินทาง, โอกาสในการทำงาน ฯลฯ) จะทำให้คุณได้ประโยชน์จากมัน อย่างน้อย ได้มองเห็น "สมรรถนะ และศักยภาพ" ของคนที่มีอายุไล่เลียกับคุณ และเป็นคู่แข่งของคุณกลาย ๆ ในเวทีของโลกที่มีทรัพยากรน้อยลง และโอกาสที่จำกัดในอนาคต ยิ่งมีโอกาสได้ภาตัวเองไปแข่งขัน หรือมีประสบการณ์ที่ยากขึ้น เช่น การแข่งขันในต่างประเทศ ที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ยิ่งทำให้มี "โอกาส" ในการเรียนรู้ความแตกต่างของวัฒนธรรม, รูปแบบสังคม, วิถีการดำเนินชีวิต, พื้นเพการศึกษา ที่แตกต่างกันไป
- โอกาสที่จะได้เห็น "ความแตกต่าง" เพื่อนำมา "พัฒนาตัวเอง" หากคุณหลบอยู่แต่ในมหาวิทยาลัย ใช้ชีวิตเดิม ๆ กับกลุ่มคนเดิม ๆ ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดกพลังบวก ยิ่งต้องรีบพาตัวเองออกไป การแข่งขันเราจะเจอ คนที่ทักษะความรู้เท่าเทียมเรา แต่อาจจะได้เห็นทัศนคติต่อปัญหาและวิธีแก้ไขที่แตกต่างกันไป หรือ โชคดีจะเจอคนที่เก่งกว่าในการแข่งขัน เพื่อที่จะได้เห็นว่า เราจะดึงเอาข้อดีของเขาผสมกับจุดเด่นของเราได้อย่างไร
ร่ายยาวมาแค่ 4-5 มุมมอง น้อง ๆ ที่คิดเป็น จะเริ่มเข้าใจว่า "ไม่แข่งยิ่งแพ้" แปลว่าอะไร และ "พี่" (เรียกลุงมีเคือง) ก็อยากให้คุณเดินออกจาก Comfort Zone หรือ สภาวะกบในน้ำเย็นที่ตั้งบนเตาไฟที่กำลังตายไปช้าๆ แบบไม่รู้ตัว เริ่มตั้งต้นว่า "จะเอาตัวเองไปมีประสบการณ์" ได้อย่างไร และหนึ่งในนั้นคือ การไปร่วมการแข่งขันที่มีมากมายเสีย
สภาวะ Low Demand ในเรื่องนี้เกิดจากหลายปัจจัย เมื่อน้อง ๆ ได้อ่านแล้วลองคิดดูว่าตนเองอยูในกลุ่มใด
- CHILLAX (Chill+Relax) คือ น้อง ๆ ที่เน้นความสบายใน comfort zone ของตัวเอง ไม่เคย proof และเชื่อไปเองว่า ถ้าฉันจะทำจริงๆ ฉันทำได้ชัวร์ อะไรทำให้มั่นใจขนาดนั้น (ว่ะ) วิธีการแก้ไข คือ ไปลองซักครั้ง และตัวสินใจว่า จะทำอีกครั้ง หรือจะกลับไปซุกตัวใน comfort zone แต่พี่ขอแนะนำว่า "ต้องลอง" พี่เปรียบเปรยเสมอ ๆ ว่า ประสบการณ์เกิดจากการพสตัวเองออกจากวังวนเดิม ๆ และไม่กลัวที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง และเมื่อมีประสบการณืเมื่อใด จะเกิดทักษะใหม่ ๆ เสมอ
- Gangster พวกไปไหนไปเป็นหมู่ ไม่มีเพื่อนทำอะไรไม่ได้ ไม่มั่นใจ (ไม่รุ้ต้องรออีกนานแค่ไหน) และลงเอยด้วยไม่ได้ทำอะไรเลยเพาะว่าเพื่อนไม่บายไอเดีย วิธีการแก้ไข คือ ให้มองโอกาสที่จะไปมี "เพื่อน" กลุ่มใหม่ ที่ชื่อว่า "กลุ่มเอาไหน" แทนกลุ่มไม่เอาไหนไม่เอาอะไรซักอย่างในโลก ชีวิตจริงในอนาคต คุณเลือกสังคมที่ต้องการไม่ได้ เมื่อคคุณมีเพื่อนจากกิจกรรมใหม่ ๆ จะสอนให้คุณปรับตัวและมี social skills
- Shortomutte (Excuse me ในภาษาญี่ปุ่น) หรือ "สายรอ" รอให้ตัวเองพร้อมโดยให้เหตุผลต่าง ๆ เช่น งานเยอะ ไม่มีเวลา ฯลฯ วิธีแก้ไข คือ กำหนดเวลาที่เลื่อนออกไปไม่ได้ และบังคับตัวเองให้ "พร้อม" เท่าที่จะทำได้ ในชีวิตจริง เราจะรอให้ทุกอย่างพร้อมเสมอเพื่อให้ราบรื่นไม่ได้หรอกครับ External Factors มีตัวแปรรับพันที่ทำให้ไม่มีใคร "พร้อมได้ดังใจ" ตัวอย่างเช่น จะรอให้มีความรู้พร้อมทุกศาสตร์จนมั่นใจค่อยเริ่มทำกิจการ จะพบว่าคนเหล่านี้ จะเรียนตลอดเวลา และไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันซักที
- Look and lose ดูและปล่อยผ่าน เป็นกลุ่มที่น่ากลัวที่สุด ไม่มีคำแนะนำใด ๆ สำหรับคนที่ไม่รักตัวเอง คนเหล่านี้จะโทษโลกรอบตัว แต่ไม่โทษตัวเอง
You are what you have chosen!! คุณเป็นสิ่งที่คุณเลือก หากน้อง ๆ คิดและเข้าใจว่า Hard Skills จำเป็นอย่างยิ่งยวด ในขณะที่โลกต้องการ Hard Skills + SET of Soft Skills ก็ตั้งหน้าตั้งตาเรียนเพื่อจำไปสอบต่อไป แต่หากน้องเรียนเพื่อรู้ อันนี้พี่โอเค แต่ต้องรู้เพื่อใช้งานให้เป็น และรู้ที่จะทำงานให้ได้ หรือ จะดีกว่าไหมหากน้องๆ พาตัวเองไปมีประสบการณ์หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การลงแข่งขันเพื่อลดอัตราการเห้อของโอกาส ที่มีคนพยายามหยิบยื่นให้ และน้องมองข้ามมันไป ภายใต้ความคิดที่ว่า "เดี๊ยวก็มีอีก" "มีอีกเยอะ" "รอครั้งต่อไปก็ได้" ต้องเลือกเอาเอง มีเพียงคำแนะนำที่ว่า "ไม่แข่งยิ่งแพ้" และให้พาตัวเองไปเจอประสบการณ์
ปล1: การพาตัวเองไปหาประสบการณ์ยังมีอีกหลายวิธีนอกจากการแข่ง เช่น การออกไปผจญภัยเดินทางด้วยตัวเองในช่วงปิดเทอม, การไปฝึกงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในไทย และต่างประเทศ ที่มีทางเลือกมากมาย หรือ การทำงานพิเศษ, การนำพาตัวเองไปอยู่ในสังคมใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม
ปล2: ใน EP ต่อไป จะมาแนะแนวการลงแข่งให้เกิดประสบการณ์ เช่น การลงแข่งแผนธุรกิจ, การลงแข่งในกระแสนิยมแบบ Startup
ติดตาม Content ที่หลากหลายได้ที่ https://www.monsoonsimthailand.com/sharing-index.html หรือเป็น Fanpage ของ www.facebook.com/MonsoonSIMTH
#บทเรียนง่ายๆสไตล์มอนซูน
#พี่แว่นแนะแนว
#ครูพักมอนซูนลักจำ
#พี่แว่นแนะแนว EP2 จะแข่งต้องเตรียมตัว