Part 2 จะแข่งต้องเตรียมตัว
น้อง ๆ ที่เริ่มต้นความคิดที่ว่า จะพาตัวเองไปมีประสบการณ์โดยเข้วมร่วมกิจกรรมการแข่งขันใด ๆ ก็ตามเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะต่าง ๆ และเรียนร้ตัวเองโดยมองผ่านเพื่อนที่ร่วมการแข่งขัน จะต้องเตรียมตัว ซึ่งพี่แว่นหน้าตาดีก็จะมาแนะแนวทางว่า การจะเข้าร่วมการแข่งขันใด ๆ ก็ตาม น้อง ๆ ควรเตรียมความพร้อมด้านใดบ้าง
เตรียมใจ, เปิดใจ, ตั้งใจ และ ทำใจ
สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่ใช่ "สายแข่งขัน" หรือยังกล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะมีประสบการณ์ "เปิดบริสุทธิ์ในโลกการแข่งขัน" อาจจะต้องเริ่มต้นด้วย stage แรกสุด คือ การ เตรียมใจ และการเปิดใจ สิ่งที่พี่แว่นเชื่อมั่นมาตลอด คือ Mindset ที่ดีจะพาน้อง ๆ ไปยืนบนประตูบานใหม่ที่จะเปิดสูประสบการณ์และโลกใหม่ได้เสมอ ๆ น้อง ๆ ที่เพิ่งออกจาก comfort zone มาได้ไม่นานและกำลังคิดว่าจะหันหลังกลับไปนั้นก็ไม่ต้องรีบ อ่านให้จบบทความนี้ก่อน แล้วจะพร้อมไปลุยส์
เตรียมเป้าหมายของการแข่งขัน (หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะทำในอนาคต)
พี่แว่นจะใช้ตัวอย่างของ Google Map เสมอ เวลาที่แนะนำน้อง ๆ เรื่องการ "ตั้งเป้าหมาย" ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิต แต่ไม่ยักจะมีการเรียนการสอน หรือถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ให้กับผู้เยาว์เพื่อตั้ง Roadmap ของชีวิต (หรือกิจกรรมต่าง ๆ) เราอาจจะหาความรู้ต่าง ๆ ได้จากปลายนิ้วในโลกปัจจุบัน เราไม่รู้ ไม่ทราบอะไร เราอาจจะหาได้จาก Search Engine ชื่อดัง หรือใน Platform ต่าง ๆ และมันก็มันจะมีคำตอบที่ดี และไม่ดี ใช้การได้บ้าง และหรือใช้การไม่ได้ ให้เราต้องมาพิจารณาอีกทีว่าจะเชื่ออะไรสิ่งใด แต่สิ่งที่ search อย่างไรก็ไม่ได้คำคอบที่ตรงกับ คือ เป้าหมาย กับการชั่งใจ ซึ่งอาจจะมีข้อคิด ข้อเขียนสไตล์ How to อยู่มากมาย แต่มันไม่อาจเติมเต็มความต้องการได้ถูกใจ ถูกต้อง ถูกเวลา ถูกสถานการณ์ ได้เสมอไป
การตั้งเป้าหมาย หรือ Pin Point the Goal มีความจำเป็นในทุกเรื่อง เพราะว่า เป้าหมายที่เราตั้งไว้ จะกำหนดว่า เราจะมีวิธีการอย่างใด และมีทางเลือกในวิธีการเหล่านั้นกี่วิธีการ และแต่ละมีวิธี จะมีข้อดีข้อเสียและการใช้ทรัพยากรในการไปยังเป้าหมายแตกต่างกัน และผู้ต้องการเดินทาง หรือทำกิจกรรมใด ๆ ต้องเป็นผู้กำหนดเป้าหมายเอง จะให้ใครกำหนดเป้าหมายแทนกันมิได้ อุปมาดั่งการที่เราจะใช้ google map ในการเดินทาง เราต้องระบุปลายทางเสียก่อน อัลกอริทึ่มของ Google จะทำงานร่วมกับ Database ที่มี ร่วมกันกับข้อมูลที่ได้ในช่วงเวลานั้น (อันเกิดจากข้อมูล Location ที่ Mobile Device ของพวกเรา) ประมวลเข้าด้วยกัน แล้วก็จะแจ้งเส้นทางให้เราทราบว่า หากจะไปยังปลายทางที่กำหนดนั้น จะมีกี่เส้นทางให้เลือก และแต่ละเส้นทางจะมีระยะทางเท่าใด ในวิธีการเดินทางที่แตกต่างกัน เช่น ขับรถไปเอง, นั่งรถโดยสาร ผสมรถสาธารณะ, เดิน, ปั่นจักรยาน เป็นต้น และมิหนำซ้ำหากมีข้อมูลที่ดีพอจะแจ้งให้เราทราบอีกว่าแต่ละเส้นทางมีความหนาแน่นของการจราจรเป็นอย่างไร เพื่อให้เราตัดสินใจเลือกเส้นทาง และเมื่อน้อง ๆ เลือกเส้นทางได้ และเดินทางจริง ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนเส้นทางจากข้อมูลปัจจุบัน, การชดเชยเวลาจากสภาพการจราจร ฯลฯ บางครั้งอาจจะมีเส้นทางเดียว ที่มักจะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด เพราะว่า สมมติฐานของอัลกอริทึ่ม คือ คนเราต้องการไปถึงยังปลายทางให้เร็วที่สุด ซึ่งมันก็ไม่จริงเสมอไป
พี่แว่นร่ายยาวมาเพื่อให้น้องที่อ่านระหว่างบรรทัด (อ่านแบบพิจารณาตาม) ได้เอาความในวรรคแรกและความในวรรคที่สองมาผสานกัน เพื่อให้เข้าใจว่า เรามีความจำเป็นจะต้องกำหนดเป้าหมาย และเลือกวิธีการที่เหมาะสม (เช่น เหมาะสมกับเวลาที่มี, เหมาะสมกับทรัพยากรที่มี, เหมาะสมกับข้อจำกัดที่มี บางครั้งเหมาะสมกับผู้ร่วมเดินทาง เช่น ทีม, ครอบครัว, องค์กร) พี่แว่นชอบพูดเป็นปริศนาว่า "ทุกเรื่องในโลกล้วนเรื่องเดียวกัน" ต่างกันเพียงการมอง และเลือกอธิบายต่างประเด็น ต่างมุมมอง ต่างพื้นเพประสบการณ์เท่านั้นเอง สิ่งที่น่าสนใจที่สะท้อนความจริงในเรื่องนี้ คือ เราไม่อาจจะถาม Google Assistance ว่า Where shold I go ได้ Google จะขึ้นว่า No result found ซึ่งมันแปลว่า ไม่มีใครกำหนดเป้าหมายให้ตัวคุณได้ ต้องเป็นคุณเท่านั้นที่กำหนดเอง ให้น้อง ๆ ลองเอาแนวคิดนี้ไป Pin Point ตัวน้อง ๆ เองในแต่ละกิจกรรมที่ทำ เมื่อน้องๆ กำนหดได้แล้ว น้อง ๆ จะได้แผนหรือวิธีการ และเมื่อพิจารณาประกอบกับปัจจัยใด ๆ ที่มี น้องๆ จะได้คำตอบที่คิดว่าดีที่สุดในขณะนั้น และเมื่อลงมือทำจะพบอุปสรรคและปัญหา ลงมือแก้ปัญหา และเปลี่ยนแผนให้เหมาะสม และนั่นคือสิ่งที่พี่แว่นเรียกว่า การนำพาตัวเองไปมีประสบการณ์ และเรียนรู้จากประสบการณ์นั้น ๆ
การแข่งขันก็เป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่น้อง ๆ ต้องตั้ง "เป้าหมาย" ในการแข่งขัน และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับ Measurement Management หรือหลักการวัดผลที่จะต้องเสียเวลา และต้องใช้ประสบการณ์จึงจะเข้าใจได้ชัดเจน โดยพี่แว่นเลือกที่จะอธิบายโดยใช้หลักการวัดผลที่ Make Sense ใช้การได้มาอธิบายการตั้งเป้าหมายในการแข่งขันไว้ 5 ลักษณะ
การเตรียมเป้าหมายในการแข่งขัน (และในทุกกิจกรรม) จะช่วยให้ท่านสามารถสร้างแผน วิธีการดำเนินการได้ส่วนหนึ่ง ทว่าแผนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามทรัพยากร เช่น คน, เงิน, ของ, เวลา, ข้อมูล, เครื่องมือ ที่อาจจะไม่ได้พร้อมเสมอในแต่ละกระวนการ ซึ่งนั่นจะเป็น "ประสบการณ์หลักที่นำไปใช้ได้ในอนาคต" สำหรับผู้ที่วางเป้าหมายไว้ก่อนเสมอ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายการการแข่งขันให้ดี
ผมเห็นน้อง ๆ "ตกม้าตาย" เสมอในระหว่างการแข่งขัน ยิ่งในรอบลึก ๆ ยิ่งตกม้าและก่อนตายยังโดนม้าถีบ วนกลับมากระทืบซ้ำให้ศพไม่สวยเสียด้วย นั่นเพราะว่าไม่ได้ "ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแข่งขัน" ให้ดี ยกตัวอย่างจาก อาทิตย์ที่ผ่านมา มีการแข่งขัน Hult Prize ซึ่งเป็นการแข่งขันที่เน้น Social Entrepreneur ซึ่งแตกต่างจากการแข่งขัน Business Plan ทั่วไป ทว่าผู้เข้าแข่งขันให้น้ำหนักในการนำเสนองานไม่ถูกจุด หรือ ที่เห็นบ่อยมาก คือ การเสนอแผนธุรกิจแบบ Startup ในประเทศไทย ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ที่ีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การแข่งขัน Startup คือ การแข่งขันทำ Applucation เป็นต้น
ก่อนการแข่งขัน (หรือทำกิจกรรมใด ๆ) ผู้เข้าร่วมแข่งขัน (หรือทำกิจกรรมนั้น ๆ) จะต้องทำความเข้าใจรายละเอียดในการแข่งขันให้ดีเสียก่อน เพราะว่า การทำความเข้าใจในรายละเอียดนั้น จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถวางแผนการแข่งขัน (หรือวิธีการในการทำกิจกรรม) ได้บรรลุเป้าหมาย และเป็นเป้าหมายที่ตรงกับการแข่งขัน (หรือกิจกรรม) นั้น ๆ ด้วย น้อง ๆ จะต้องทำความศึกษาและทำความเข้าในรายละเอียดอะไรบ้างเพื่อเป็นการเตรียมตัวที่ดีในการแข่ง
หากเป็นการแข่งขันวิ่งผลัดแล้วนั้น ก็ได้เปรียบที่การออกตัวทำเวลา การวางตัวผู้วิ่งตามผลัด และระยะทางที่เกิดขึ้น เช่น ผู้วิ่งอาจถนัดวิ่งในทางโค้ง อีกรายอาจจะถนัดวิ่งในทางตรง ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ไปถึง "เส้นชัย" ได้เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่านั้นเอง สิ่งที่เราควบคุมจัดการได้ คือ ปัจจัยของตัวเรา และทีมของเรา สิ่งที่เราพอจะ "ปรับตัว" จากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยากหรือควบคุมไม่ได้เกิดจากการเตรียมการที่ดี และยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือการควบคุมหรือการคาดเดาเกิดขึ้นได้เสมอ การเตรียมการที่ดี คือ ทักษะในการอยู่รอด ปรับตัว เปลี่ยนแปลงได้ไวกว่าผู้อื่น
พี่แว่นขอจบเรื่องราวใน EP 2 ไว้เพียงเท่านี้ก่อน ส่วนใน EP 3 จะเป็นเรื่องราวที่เจาะลึกถึงทักษะ และกระบวนการคิดในการแข่งขันซึ่งจะเน้นที่การแข่งขันยอดนิยมในช่วงนี้ คือ การแข่งขันแผนธุรกิจ ซึ่งเกิดจากความขัดใจเวลาเห็นการแข่งขันในหลาย ๆ เวทีที่ผ่านมาในรอบหลาย ๆ ปี น้อง ๆ สามารถติดตาม #พี่แว่นแนะแนว ได้ใน FB: MonsoonSIMTH หรือใน https://www.monsoonsimthailand.com/sharing-index.html ในส่วนของ Blog ในนามพี่แว่นหน้าตาดี
น้อง ๆ ที่เริ่มต้นความคิดที่ว่า จะพาตัวเองไปมีประสบการณ์โดยเข้วมร่วมกิจกรรมการแข่งขันใด ๆ ก็ตามเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะต่าง ๆ และเรียนร้ตัวเองโดยมองผ่านเพื่อนที่ร่วมการแข่งขัน จะต้องเตรียมตัว ซึ่งพี่แว่นหน้าตาดีก็จะมาแนะแนวทางว่า การจะเข้าร่วมการแข่งขันใด ๆ ก็ตาม น้อง ๆ ควรเตรียมความพร้อมด้านใดบ้าง
เตรียมใจ, เปิดใจ, ตั้งใจ และ ทำใจ
สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่ใช่ "สายแข่งขัน" หรือยังกล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะมีประสบการณ์ "เปิดบริสุทธิ์ในโลกการแข่งขัน" อาจจะต้องเริ่มต้นด้วย stage แรกสุด คือ การ เตรียมใจ และการเปิดใจ สิ่งที่พี่แว่นเชื่อมั่นมาตลอด คือ Mindset ที่ดีจะพาน้อง ๆ ไปยืนบนประตูบานใหม่ที่จะเปิดสูประสบการณ์และโลกใหม่ได้เสมอ ๆ น้อง ๆ ที่เพิ่งออกจาก comfort zone มาได้ไม่นานและกำลังคิดว่าจะหันหลังกลับไปนั้นก็ไม่ต้องรีบ อ่านให้จบบทความนี้ก่อน แล้วจะพร้อมไปลุยส์
- เตรียมใจรับกับประสบการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เพราะว่าน้องกำลังจะเริ่มต้นทำกิจกรรมใหม่ จะมีสิ่งแปลกปลอมจากวิถีชีวิตเดิม ๆ (ซึ่งต้องฝึกให้ชิน เพราะว่าโลกหลังจบการศึกษาในทุกระดับ หรือเมื่อต้องเริ่มทำงานแล้วเป็นโลกของการแข่งขันที่ให้อารมณ์แบบเดียวกัน) ย่อมจะเกิดความ "กลัว" "ประหม่า" " ไม่มั่นใจ" ซึ่งพี่แว่นขอบอกว่าเป็นเรื่องปรกติ ความแตกต่างที่จะได้พบ
- สังคมแบบใหม่ ที่แวดล้อมด้วยคนที่มี "พลัง" หลากหลายซึ่งส่วนมากเป็นพลังดี ที่ไม่เป็นยรรยากาศมาคุก่อนสัตว์ประหลาดตะออกมาจากหมู่เมฆแต่อย่างใด ในเวทีการแข่งขันน้องจะพบว่า มีคนที่มีพลังล้นเปี่ยม หรือสายบ้าพลัง ที่เห็นครั้งแรกจะรู้สึกรำคาญ หรือ จะเจอสายเนิร์ดที่ทำให้เราตะลึงงัน หรือจะเจอสายชิลล์ที่เหมือนทุกอย่างเป็นเรื่องสบาย ๆ และจะเจอสายเดียวกัคนที่ไม่เคยแข่ง คือ สายเงียบรอดูสถานการณ์ ทำไมจึงมีความแตกต่างกัน หากเจอคนที่มีระดับพลังงานหลากหลาย แสดงว่าน้องกำลังมาถูกเวที เพราะว่า การแข่งขันนี้เป็นการแข่งขันประเภททั่วไป ซึ่งยังมีความแตกต่างในทักษะ
- เพื่อนใหม่ ในการแข่งขันทั่วไป จะเกิดมิตรภาพทั้งที่ตั้งใจ และถูก drive ให้เกิดขึ้นจากกิจกรรม น้องบางคนที่เคยหมกตัวกับเพื่อน ๆ กลุ่มเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาจนเห้นคนอื่น ๆ รอบตัวเป็นตัวประหลาดจะหวั่นใจ ท่านจะเจอ เพื่อนสายนางงามมิตรภาพที่ไม่ได้อยากรู้จักมันเลย แต่มันเดินมาแนะนำตัวเอง ชวนเราคุย แล้วเราก็จะตอบไปตามมารยาท รู้ตัวอีกทีเราเดินตามเขาไปแล้วในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือ จะเจอสายซุ่มดู ซึ่งจะมองกันไปมาไม่พูดไม่จา ประมาณะว่าใครพูดก่อนจะแพ้ทำนองนั้น หรือ จะเป็นสายทักทายระยะไกล ซึ่งมีหลายกรณี อาจเปิดฉากด้วยการนยิ้มให้กันไปมา หรือ "เม้ง" กันด้วยสายตากิริยาในผู้หญิง ยักคิ้วเชิญชวนเหมือนกวนบาทาในน้องผู้ชาย หรือบ้างอาจะมีสายตาประมาณจะกลืนกินเราให้ได้จากสาย LGBT ฯลฯ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาในการปกป้องตัวเองในระดับที่แตกต่างกันไปของแต่ละบุคคล บางการแข่งขันจะมีการจับกลุ่มซึ่งกึ่งแกมบังคับให้ไปรวมกัน สิ่งที่น้องๆ ต้องทำคือ "อยู่ให้เป็น" "เข้าเมืองตาหลิ้วต้องหลิ่วตาตาม" สิ่งนี้เป็นการฝึก "ทักษะสังคม" Social Skills หรือ "ทักษะความสัมพันธ์ของมนุษย์" Inter-Personal Skills ซึ่ง (("แม่ง");คำในวงเล็บไม่อ่านออกเสียง) จำเป็นมาก เพราะว่าคนรุ่นน้องนั้น ส่วนมากกลัวการปะทะสังสรรค์กับคนแบบ Face to Face นิยมผ่านตัวอักษรเสียมากกว่า ใครฝคกฝนได้มีชัยไปกว่าครึ่ง
- เปิดใจ ไหลไปตามกิจกรรม พี่แว่นจะแนะนำน้องๆ ที่สนิทสนมด้วยเสมอว่า บางทีคุณก็คิดไปเอง สร้างภาพมะโนไปเอง เช่น กลัวการทำกิจกรรมที่ถูกใจสั่งว่าหน้าอาย หรือแปลก ๆ หรือสงวนท่าที จะหมดเวลาดีดีไปโดยเปล่าประโยชน์ หรือเรียกว่า "กลัวเสียฟอร์ม" ซึ่งอยากจะบอกว่า "คุณคิดไปเอง" ในการเริ่มกิจกรรมทั่วๆ ไป ผู้จัดมักจะทำกิจกรรมที่เรียกว่า Ice Breaking เพื่อให้ให้มวลชนกลมกลืนกัน ในประเทศไทยมักจะให้ทำกิจกรรมแปลก ๆ เป็นประเพณี แตกแปลกแล้วก็สนุกดีให้คิดเช่นนี้ แทนที่จะต่อต้าน หรือกลัว ทำไมไม่ปล่อยตัวให้สนุกและมีโอกาสที่คนจะเดินเข้าเรามาก
- เปิดใจรินน้ำออกจากแก้วไปค่อนหนึ่ง น้อง ๆ คงเยได้ยินสลีที่ว่า "น้ำเต็มแก้ว" ที่หมายถึง ไม่มีที่วางให้โมเลกุลใหม่ ๆ ในที่นี้คือ ความรู้ ความคิด ทัศนคติใหม่ ๆ ได้มีโอกาสเพิ่มลงไปในแก้ว ซึ่งหมายถึง EGO หรืออัตตา สิ่งนี้จะเกิดกับน้อง ๆ ที่ทุกทักไปว่า เป็นคนเก่งเหนือคนอื่น ๆ ในแต่ละด้าน พี่แว่นให้น้อง ๆ ได้เปิดใจที่จะรินน้ำออกจากแก้วไปค่อนหนึ่ง คือ เปิดใจยอมรับความคิดต่าง ความรู้ใหม่ รวมไปถึงเปิดใจยอมรับคนอื่น ๆ ความคิดของเขาเหล่านั้น หรือ ทักษะวิชาที่อาจจะไม่ได้อยู่ในสาย Academic เสมอไป แต่เป็นชุดทักษะเฉพาะตัวที่คนสาย Academic อาจจะไม่มีก็เป็นได้ หากทำเช่นนี้ได้ น้องกำลังมีทักษะใหม่เกิดขึ้น คือ Collaborative หรือ ความสามารถในการผสานสิ่งต่าง ๆ ผสานความร่วมมือ ผสานเรื่องราวและข้อมูลเข้าด้วยกัน
- ให้โอกาสตัวเองและผู้อื่นที่จะ Lead และ Follow ในการแข่งขันซึ่งในปัจจุบันนิยมแแข่งประเภท "ทีม" ซึ่งมันจะดีกว่าเมื่อน้อง ๆ จะรู้ว่าเมื่อใดต้องใช้ทักษะของผู้นำ และเมื่อใดต้องใช้ทักษะของผู้ตามและของผู้ฟัง การทำงานเป็น "ทีม" หรือ Team Work นั้น ในสังคมไทยมีความเข้าใจผิดมากมาย การทำงานเป็นทีม ไม่ได้แปลว่าการทำงานกับคนหลายคนในลักษณะกลุ่ม แต่อยู่ที่ "การแบ่งปัน และลงแรงลงใจร่วมกัน" เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เรียนรู้ความผิดพลาด ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งการทำงานในลักษณะทีมนี้ "ความเห็น" ย้อมแตกต่างกัน จากพื้นเพของความรู้ ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ยิ่งหากในทีมมีสมาชิกที่มีความแตกต่างกัน เช่นในด้านวัยวุฒิ และคุณวุฒิด้วยแล้วนั้น การให้โอกาสตัวเองและผู้อื่นที่จะ Lead anf Follow (โคตร) มีความสำคัญ สิ่งนี้ทำให้ท่านได้ทักษะอันหลากหลาย หนึ่งในทักษะสุดยอด คือ การฟัง, การวิเคราะห์, การเจรจาต่อรอง บางครั้งทีมของเราอาจจะไม่ชนะการแข่งขัน แต่เราได้เพื่อนที่ดี ได้วิธีการทำงาน และได้ประสบการณ์ ส่วน กลุ่มคนที่ Lead and Follow ไม่เป็นส่วนมากจะ "พัง" ทั้งนี้ไม่นับรวมการทำงานแบบเป็นกลุ่ม ที่มีคนไม่ทำงาน แบบนี้นั้นไม่ได้เรียกว่า "ทีม" ซึ่งน้อง ๆ คงเคยเจอมามากแล้ว โลกทำงานจริง ๆ ในอนาคตก็จะมีคนเอาเปรียบกันเช่นนี้ หากฝึกฝนถึงขั้นเทพจะ handle คนเหล่านี้ได้เองด้วยกุศโลบาย
- ตั้งใจ หรือเอาใจตั้งมั่นกับกิจกรรม และเป้าหมายของมัน ถ้าคุณพาตัวเองออกมา "ล่า" ประสบการณ์ คุณต้องใช้พลังงานมากกว่าปรกติ เพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกมา การแข่งขันจะสนามเล็กสนามใหญ่ คุณค่าของมันไม่ได้ขึ้นกับ "ขนาด" "เงินรางงัล" "ความยาก" "ชื่อเสียงหลังการแข่งขัน" เพราะว่า หากเราวัดผลเพียงเท่านั้น น้องอาจจะพลาดโอกาสที่จะ "ย่อหย่อน" ต่อคุณภาพของความตั้งใจ ประสบการณ์และทักษะนั้นแลกมาด้วยความพยายาม
- ทำใจที่จะแพ้ และ แพ้ให้เป็น การแข่งขันต้องมีผู้ชนะ และผู้ชนะก็จำกัดจำนวนเสียด้วย แน่นอนว่ามีผู้แพ้จำนวนมากกว่า สำหรับนักแข่งขันจะมือใหม่ หรือมือฉมังต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อนี้ เพราะว่าย่อมมีผู้ที่แกร่งกว่า เก่งกว่า พยายามมากกว่า และรวมไปถึงโชคดีกว่าด้วย การตัดสินผลแพ้ชนะที่ใช้ "ผลคะแนน" จากกรรมการ และแทนผลการตัดสินด้วย "ตัวเลข" ในเชิงคณิตศาสตร์ แตกต่างจากการแข่งขันในเชิงกีฬาที่เห็นผลแพ้ชนะอย่างชัดเจนกว่าในกีฬาส่วนมาก จะตัดสินด้วยวิธีการใดก็ตาม ผู้ที่พลาดย่อมผิดหวัง จากการแข่งขันในหลายปีที่ผ่านมาในฐานะผู้จัดและ Mentor ของน้องๆ หลายรุ่น ผมมักพบว่า มีน้อง ๆ หลายประเภท
- ประเภทที่แพ้ไม่ได้ แพ้ไม่เป็น ประเภทนี้เป็นประเภทที่สำหรับผม คือ "เกินเยียวยา" คนประเภทนี้คือ มี EGO สูงเกินกว่าจะอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง บางรายบางกลุ่มถึงกับตั้งข้อกังขาในการตัดสินของกรรมการ
- ประเภทที่แพ้แบบไม่มีความเสียใจ สาเหตุมาจาก การแข่งขันที่ไม่มีเป้าหมาย ไม่ตั้งใจกับกิจกรรมใด ๆ คนเหล่านี้สำหรับพี่นั้น "กินที่" คนอื่น ๆ ถึงแม้นว่าจะเป็นสิทธิ์ของเขาในการเข้าแข่งขันก็ตาม
- ประเภทที่แพ้และมีความเข้าใจ คนเหล่านี้มักได้ประสบการณ์มากกว่า 2 ประเภทแรก สิ่งที่น่าสนใจของคนประเภทนี้คือ การมี mindset ที่ดี เปิดใจในการแข่งขัน คนเหล่านี้มักยอมรับในผลการแข่งขัน แต่จะมีความเสียใจมากในระยะหนึ่งหลังจากได้รับทราบผลของการแข่งขัน และจะมีเหตุผลรองรับว่า เขาเธอเหล่านั้นพลาดในประเด็นใด ส่วนส่วนมากในกลุ่มนี้จะมีโอกาสในการพัฒนาตนเองได้มากกว่า แบบนี้เรียกแพ้เป็น แพ้เป็นพระทำนองนั้น
เตรียมเป้าหมายของการแข่งขัน (หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะทำในอนาคต)
พี่แว่นจะใช้ตัวอย่างของ Google Map เสมอ เวลาที่แนะนำน้อง ๆ เรื่องการ "ตั้งเป้าหมาย" ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิต แต่ไม่ยักจะมีการเรียนการสอน หรือถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ให้กับผู้เยาว์เพื่อตั้ง Roadmap ของชีวิต (หรือกิจกรรมต่าง ๆ) เราอาจจะหาความรู้ต่าง ๆ ได้จากปลายนิ้วในโลกปัจจุบัน เราไม่รู้ ไม่ทราบอะไร เราอาจจะหาได้จาก Search Engine ชื่อดัง หรือใน Platform ต่าง ๆ และมันก็มันจะมีคำตอบที่ดี และไม่ดี ใช้การได้บ้าง และหรือใช้การไม่ได้ ให้เราต้องมาพิจารณาอีกทีว่าจะเชื่ออะไรสิ่งใด แต่สิ่งที่ search อย่างไรก็ไม่ได้คำคอบที่ตรงกับ คือ เป้าหมาย กับการชั่งใจ ซึ่งอาจจะมีข้อคิด ข้อเขียนสไตล์ How to อยู่มากมาย แต่มันไม่อาจเติมเต็มความต้องการได้ถูกใจ ถูกต้อง ถูกเวลา ถูกสถานการณ์ ได้เสมอไป
การตั้งเป้าหมาย หรือ Pin Point the Goal มีความจำเป็นในทุกเรื่อง เพราะว่า เป้าหมายที่เราตั้งไว้ จะกำหนดว่า เราจะมีวิธีการอย่างใด และมีทางเลือกในวิธีการเหล่านั้นกี่วิธีการ และแต่ละมีวิธี จะมีข้อดีข้อเสียและการใช้ทรัพยากรในการไปยังเป้าหมายแตกต่างกัน และผู้ต้องการเดินทาง หรือทำกิจกรรมใด ๆ ต้องเป็นผู้กำหนดเป้าหมายเอง จะให้ใครกำหนดเป้าหมายแทนกันมิได้ อุปมาดั่งการที่เราจะใช้ google map ในการเดินทาง เราต้องระบุปลายทางเสียก่อน อัลกอริทึ่มของ Google จะทำงานร่วมกับ Database ที่มี ร่วมกันกับข้อมูลที่ได้ในช่วงเวลานั้น (อันเกิดจากข้อมูล Location ที่ Mobile Device ของพวกเรา) ประมวลเข้าด้วยกัน แล้วก็จะแจ้งเส้นทางให้เราทราบว่า หากจะไปยังปลายทางที่กำหนดนั้น จะมีกี่เส้นทางให้เลือก และแต่ละเส้นทางจะมีระยะทางเท่าใด ในวิธีการเดินทางที่แตกต่างกัน เช่น ขับรถไปเอง, นั่งรถโดยสาร ผสมรถสาธารณะ, เดิน, ปั่นจักรยาน เป็นต้น และมิหนำซ้ำหากมีข้อมูลที่ดีพอจะแจ้งให้เราทราบอีกว่าแต่ละเส้นทางมีความหนาแน่นของการจราจรเป็นอย่างไร เพื่อให้เราตัดสินใจเลือกเส้นทาง และเมื่อน้อง ๆ เลือกเส้นทางได้ และเดินทางจริง ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนเส้นทางจากข้อมูลปัจจุบัน, การชดเชยเวลาจากสภาพการจราจร ฯลฯ บางครั้งอาจจะมีเส้นทางเดียว ที่มักจะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด เพราะว่า สมมติฐานของอัลกอริทึ่ม คือ คนเราต้องการไปถึงยังปลายทางให้เร็วที่สุด ซึ่งมันก็ไม่จริงเสมอไป
พี่แว่นร่ายยาวมาเพื่อให้น้องที่อ่านระหว่างบรรทัด (อ่านแบบพิจารณาตาม) ได้เอาความในวรรคแรกและความในวรรคที่สองมาผสานกัน เพื่อให้เข้าใจว่า เรามีความจำเป็นจะต้องกำหนดเป้าหมาย และเลือกวิธีการที่เหมาะสม (เช่น เหมาะสมกับเวลาที่มี, เหมาะสมกับทรัพยากรที่มี, เหมาะสมกับข้อจำกัดที่มี บางครั้งเหมาะสมกับผู้ร่วมเดินทาง เช่น ทีม, ครอบครัว, องค์กร) พี่แว่นชอบพูดเป็นปริศนาว่า "ทุกเรื่องในโลกล้วนเรื่องเดียวกัน" ต่างกันเพียงการมอง และเลือกอธิบายต่างประเด็น ต่างมุมมอง ต่างพื้นเพประสบการณ์เท่านั้นเอง สิ่งที่น่าสนใจที่สะท้อนความจริงในเรื่องนี้ คือ เราไม่อาจจะถาม Google Assistance ว่า Where shold I go ได้ Google จะขึ้นว่า No result found ซึ่งมันแปลว่า ไม่มีใครกำหนดเป้าหมายให้ตัวคุณได้ ต้องเป็นคุณเท่านั้นที่กำหนดเอง ให้น้อง ๆ ลองเอาแนวคิดนี้ไป Pin Point ตัวน้อง ๆ เองในแต่ละกิจกรรมที่ทำ เมื่อน้องๆ กำนหดได้แล้ว น้อง ๆ จะได้แผนหรือวิธีการ และเมื่อพิจารณาประกอบกับปัจจัยใด ๆ ที่มี น้องๆ จะได้คำตอบที่คิดว่าดีที่สุดในขณะนั้น และเมื่อลงมือทำจะพบอุปสรรคและปัญหา ลงมือแก้ปัญหา และเปลี่ยนแผนให้เหมาะสม และนั่นคือสิ่งที่พี่แว่นเรียกว่า การนำพาตัวเองไปมีประสบการณ์ และเรียนรู้จากประสบการณ์นั้น ๆ
การแข่งขันก็เป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่น้อง ๆ ต้องตั้ง "เป้าหมาย" ในการแข่งขัน และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับ Measurement Management หรือหลักการวัดผลที่จะต้องเสียเวลา และต้องใช้ประสบการณ์จึงจะเข้าใจได้ชัดเจน โดยพี่แว่นเลือกที่จะอธิบายโดยใช้หลักการวัดผลที่ Make Sense ใช้การได้มาอธิบายการตั้งเป้าหมายในการแข่งขันไว้ 5 ลักษณะ
- I will be No.1 เรียกว่าเป็นเป้าหมายที่ดีของนักแข่งขัน นักสู้ ถ้าแข่งเพื่อจะแพ้จะไม่มีเรี่ยวแรงและความตั้งในในการแข่งขัน ทว่าคนที่จะตั้งเป้าหมายเช่นนี้ได้นั้น ต้องมีการเตรียมพร้อมในหลาย ๆ ด้าน และอาจจะไม่เหมาะกับกลุ่มที่เพิ่งออกจาก comfort zone ซึ่งสำหรับการตั้งเป้าหมายประเภทนี้ น่าจะเหมาะกับน้อง ๆ ที่มประสบการณ์มาพอตัวแล้ว หรือเหมาะกับการแข่งขันที่เป็นเวทีระดับเล็ก ๆ หรือระดับกลางสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้น ในสายนางงามน่าจะเป็นเวทีธิดาช้าง, นางนพมาศ ประจำอำเภอ แต่เมื่อใดที่เจนเวที จะขยับเป็นเวทีนางสาวจังหวัด นางสาวไทย นางงามจักรวาลได้ (ดูข้อ 4) การตั้งความหมายในลักษณะนี้เป็นปลายทางของความสำเร็จ จะเป็นแรงผลักดันที่ดีของตัวน้อง ๆ ทว่า หากตั้งเป้าหมายในระดับนี้ ในวันที่ตนเองไม่มีความพร้อม จะได้ความ "ฝ่อ และท้อแท้" ไปแทน
- เอาแค่เสมอตัว เป็นแนวตั้งเป้าหมายเผื่อฟลุ๊ค ได้ก็ดี ไม่ได้ไม่เป็นไร ซึ่งแน่นอนว่ามีตั้งข้อดีและข้อเสีย กลุ่มนี้จะมีความจริงจังเมื่อได้ตามเป้าหมายที่ตัวเองกำหนด แต่มักไม่ใช้วิธีการที่ดีที่สุด เป็นกลุ่มที่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ส่วนมากผลของการแข่งขันก็จะครึ่ง ๆ กลาง ๆ เช่นกัน คนเหล่านี้ถ้าแพ้ก็จะไม่ได้เสียใจ ถ้าชนะขึ้นมาก็จะเป็นแนวเกินคาดหวัง ซึ่งคนไทยส่วนมากอยู่ในกลุ่มนี้
- ตั้งเป้าหมายต่ำกว่าศักยภาพที่มี การตั้งเป้าหมายในลักษณะนี้ มีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดี คือสามารถบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ข้อเสีย หากทำซ้ำบ่อย ๆ จะเกิดนิสัยไม่ดี กล่าวคือ ยอมที่จะลงในเวทีระดับเดียวกันเพื่อเสพติดความสำเร็จ และอาจไม่ยอมก้าวเดินต่อไป กลุ่มคนที่มีการตั้งเป้าหมายเช่นนนี้มี สองประเภท ลักษณะแรกเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่กลัวแพ้ หรือผิดหวัง หรือไม่ต้องการอะไรท่ท้าทายมาก อันมีสาเหตุหลากหลายประการ ลักษณะที่สอง คือ ไม่รู้ศักยภาพและความสามารถที่แท้จริงของตนเอง ซึ่งหากมีเป้าหมายในลักษระนี้ก็จะจำกัดการพัฒนาตัวเองไปด้วย
- ตั้งเป้าหมายแบบมี Roadmap โดยไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ เป็นวิธีที่ปลอดภัยและยังสามารถพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ การวางเป้าหมายสอดคล้องกับที่พอจะทำได้ และมีโอกาสกำชัยชนะจะทำให้ผู้ลงแข่งมีกำลังใจ และระหว่างทางก็จะได้เพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ เพื่อไปยังปลายทางในข้อ 1 วิธีนการตั้งเป้าแบบนี้เป็นวิธีการที่แนะนำ โดยการวาง Roadmap เช่น การแข่งขันจะให้ทักษะที่เราขาดหรือไม่มี เช่น นักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์อาจสนใจเข้าแข่งสายธุรกิจเพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจ หลังจากนั้น จึงกลับไปยังสายการแข่ง Tech Startup ที่คราวนี้มีทั้งความเข้าใจด้าน Technical และเพิ่มเติมด้วย Business ทำให้เหนือคู่แข่ง หรือ การเริ่มต้นจากการเรียงลำดับความง่าย ไปถึงการแข่งที่ซับซ้อนมากขึ้น ในบางการแข่งขันเช่น Thailand ERM League หรือ Thailand ERMC เดิมนั้น ผู้จัด (พี่แว่น) ก็มี Roadmap ในใจในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทีละด้าน เพื่อหวังให้น้อง ๆ เอามาประกอบกันได้ในภายหลัง เป็นต้น
- ไม่มีเป้าหมายชัดเจน หรือเป้าหมายเป็นคนละเรื่องกับกิจกรรม พี่แว่นเห็นน้อง ๆ บางกลุ่มเป็นเช่นนี้ กลุ่มนี้ มันไม่ได้มีใจอยากทำในกิจกรรมนั้น ๆ จึงไม่ได้มีเป้าหมายที่ชัดเจนต่อกิจกรรมนั้น ๆ แต่มักเป็นเป้าหมายแฝงอื่น ๆ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมผ่านการบังคับ หรือชี้ชวนที่เจ้าตัวไม่ได้เห็นประโยชน์จากมัน สิ่งที่ตามมาคือ การมีร่างแต่ไร้วิญญานในกิจกรรมนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมงานสัมมนาของบุคลากรภาครัฐที่ไม่ได้ต้องการเนื้อหา หรือ content อะไร แต่ต้องการจำนวนชั่วโมง จึงนิยมถามหาว่าจะเซ็นต์ชื่อได้ที่ไหน หรือมีประกาศนียบัตรไหน เราจะเป็นวันท้าย ๆ ของการสัมมนามีการแต่งตัวมาสวยงามเพื่อรับใบประกาศ เอากระดาษไปเป็นเป็นหลักฐานในการเข้าร่วม อีกตัวอย่างที่คลาสสิค คือ การมาเรียนโดยไม่ร้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร จึงพบว่า เรียนไปวัน ๆ ทำอย่งไรก็ได้ให้ผ่านตามเกณฑ์ เป็นต้น สำหรับการแข่งขันแล้ว พี่แว่นเคยเจอเป้าหมายของการแข่ง คือ การได้โอกาสไปเที่ยว มากกว่าโอกาสที่จะมาหาประสบการณ์ นั่นเอง
การเตรียมเป้าหมายในการแข่งขัน (และในทุกกิจกรรม) จะช่วยให้ท่านสามารถสร้างแผน วิธีการดำเนินการได้ส่วนหนึ่ง ทว่าแผนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามทรัพยากร เช่น คน, เงิน, ของ, เวลา, ข้อมูล, เครื่องมือ ที่อาจจะไม่ได้พร้อมเสมอในแต่ละกระวนการ ซึ่งนั่นจะเป็น "ประสบการณ์หลักที่นำไปใช้ได้ในอนาคต" สำหรับผู้ที่วางเป้าหมายไว้ก่อนเสมอ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายการการแข่งขันให้ดี
ผมเห็นน้อง ๆ "ตกม้าตาย" เสมอในระหว่างการแข่งขัน ยิ่งในรอบลึก ๆ ยิ่งตกม้าและก่อนตายยังโดนม้าถีบ วนกลับมากระทืบซ้ำให้ศพไม่สวยเสียด้วย นั่นเพราะว่าไม่ได้ "ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแข่งขัน" ให้ดี ยกตัวอย่างจาก อาทิตย์ที่ผ่านมา มีการแข่งขัน Hult Prize ซึ่งเป็นการแข่งขันที่เน้น Social Entrepreneur ซึ่งแตกต่างจากการแข่งขัน Business Plan ทั่วไป ทว่าผู้เข้าแข่งขันให้น้ำหนักในการนำเสนองานไม่ถูกจุด หรือ ที่เห็นบ่อยมาก คือ การเสนอแผนธุรกิจแบบ Startup ในประเทศไทย ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ที่ีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การแข่งขัน Startup คือ การแข่งขันทำ Applucation เป็นต้น
ก่อนการแข่งขัน (หรือทำกิจกรรมใด ๆ) ผู้เข้าร่วมแข่งขัน (หรือทำกิจกรรมนั้น ๆ) จะต้องทำความเข้าใจรายละเอียดในการแข่งขันให้ดีเสียก่อน เพราะว่า การทำความเข้าใจในรายละเอียดนั้น จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถวางแผนการแข่งขัน (หรือวิธีการในการทำกิจกรรม) ได้บรรลุเป้าหมาย และเป็นเป้าหมายที่ตรงกับการแข่งขัน (หรือกิจกรรม) นั้น ๆ ด้วย น้อง ๆ จะต้องทำความศึกษาและทำความเข้าในรายละเอียดอะไรบ้างเพื่อเป็นการเตรียมตัวที่ดีในการแข่ง
- ศึกษา Theme การแข่งขัน เพื่อที่จะได้เลือกได้ว่าการแข่งขันได้จะสร้างประสบการณ์อะไรให้กับน้อง โดยจะต้องศึกษาโจทย์ของการแข่งขัน เพื่อที่จะได้กำหนดเป้าหมาย และวิธีการนำพาตัวเองไปมีประสบการณ์ และเกิดชัยชนะตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ชัดเจนยิ่งขั้น ตัวอย่างเช่น
- การแข่งขัน Business Plan หรือแผนธุรกิจ จำเป็นจะต้องมีการเน้นหนักในแผนการหารายได้ และเรื่องของกระบวนการต่าง ๆ ศึกษารูแบบของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นโจทย์ เพื่อการเข้าใจตลาด ต้องระบุได้ว่าจะมีแผนกี่ขั้น และแต่ละขั้นมี Measurement อะไร
- การแข่งขัน Marketing Plan จะต้องมี Campeign และวิธีการ และต้องตอบได้ว่า สร้าง ROI ได้อย่างไร ต้องระบุ STP ชัดเจน มี Model ประกอบเช่น SWOT, PESTLE ระบุว่าจะใช้เครื่องมือ และกลยุทธ์ใดในการทำตลาด
- การแข่งขัน Data Analytics จะเน้นที่การทำ descriptive และตามด้วย forecast จากข้อมูลต่าง ๆ โดยจำเป็นต้องเข้าใจว่า จะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปตอบโจทย์และปัญหาใด เพื่อประโยชน์อะไร
- การแข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี ต้องเน้นที่หลักการบัญชี แม่นยำประมวลกฎหมาย วิธีการต่าง ๆ
- ศึกษารูปแบบของการแข่งขัน แต่ละการแข่งขันจะมีรูปแบบการแข่งขันแตกต่างกันไป เช่น มีการรับสมัครที่มีเงื่อนไข มี Pre-resquisite หรือมีเงื่อนไขพื้นฐานอะไร เป็นการแข่งขันภายใน หรือเป็นการแข่งขันสาธารณะ, การแข่งขันเป็นแบบบุคคล หรือเป็นทีม, การแข่งขันใช้เครื่องมืออะไรในการแข่งขันเป็นพิเศษหรือไม่, การแข่งขันจะมีรอบต่าง ๆ กี่รอบ, จัดแข่งโดยองค์กรใด, การแข่งขันเป็นแบบ League หรือเป็นการแข่งแบบ Knock out, การแข่งขันใช้การตอบคำถาม, การสร้างผลงาน, การเสนอแผนงาน, ใช้ภาษาใดในการแข่งขัน เป็นต้น
- ศึกษาระยะเวลาของการแข่งขัน เพื่อวาแผนกับกิจกรรมหลัก เช่น แผนการเรียน, การสอบวัดผลต่าง ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไข ขออนุญาตหากเวลาของการแข่งขันตรงกัน และยังมีความประสงค์ที่จะแข่งขันให้ติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ในบางการแข่งขันจะมีกิจกรรมภาคบังคับ เช่น มีการปฐมนิเทศน์, มี Workshop เป็นต้น
- ศึกษาการวัดผล หรือเกณฑ์ของการแข่งขัน ตรงนี้เป็นจุดที่น้อง ๆ "ตกม้าตาย" มากที่สุด บ่อยครั้งที่ได้ไปร่วมฟังการนำเสนอ หรือ ไปเป็นกรรมการของการแข่งขันเสียเอง พบว่า สิ่งที่นำเสนอไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้คะแนน หรือ หากมีก็ให้น้ำหนักไม่ตรงกับสัดส่วนของคะแนน บงาครั้งร้ายกว่านั้น คือ นำเสนอสิ่งที่ตนเองศึกษามา แต่ไม่ตรงกับโจทย์ และการวัดผลเลย เรียกว่า ถามหมาตอบแมว หรือตอบไม่ตรงคำถามก็มีมาก นักแข่งขันที่ดีต้องพิจารณาเกณฑ์การวัดผล เพื่อกำนหดวิธีการ หรือสัดส่วนการนำเสนอให้เหมาะสม รวมไปถึงยังสามารถคาดเดาได้ว่าหากมีช่วง Q&A คำถามจะออกมาใน ลักษณะใด เพื่อเตรียมให้ตัวเองเกิดความพร้อมยิ่งขึ้น
- ศึกษากรรมการในการแข่งขัน ในการแข่งขันที่มีกรรมการมาให้คะแนนในการตัดสิน สิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันควรจะต้องเตรียมการ คือ เตรียมทำความรู้จักกรรมการ (หากมีการประกาศล่วงหน้าจากผู้จัด) ในโลกอินเทอร์เน็ตนั้นการสืบค้นด้วย platform ต่าง ๆ เช่น Linked In, Google, Facebook ซึ่งจะทำให้น้อง ๆ ในฐานะผู้เข้าแข่งขันทราบถึงอาชีพ, ประสบการณ์, ความเชี่ยวชาญ, ความสนใจ, ภูมิหลัง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแข่งขัน ทำให้น้อง ๆ สามารถวางแผนในการนำเสนอในเวลาที่แข่งขันได้ดีขึ้น
- ศึกษาข้อมูลจากการแข่งขันในครั้งก่อน ๆ การแข่งขันบางรายการจะมีบันทึกการแข่งขัน และรายละเอียดในครั้งก่อน ๆ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่ได้ จะไปหาข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการพิจารณา เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น สิ่งใดที่ดีพี่แว่นแนะนำให้นำมาเป็น check list ที่นำมาพัฒนาต่อยอด สิ่งใดที่เห็นความผิดพลาดให้ทำเอามาเป็นข้อเตือนไจ เพื่อลดความเสี่ยงในฐานะผู้แข่งขันที่เตรียมการ
- ศึกษาคู่แข่งขัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกสอนกันว่าในตำราซุนวู คิดว่าคงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมให้มากความ
- ศึกษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่แข่งขัน เช่น สถานที่มีลักษณะอย่างใด ขนาดของจนภาพ, ความสว่างของเครื่องฉาย, ขนาดของเวที, กำหนด marking จุดที่จะยืนนำเสนอ, อุณหภูมิ, ทิศทางของแสง, ตำแหน่งที่เกิดประโยชน์ในกรณีที่สามารถเลือกตำแหน่งได้, การเดินทางและสภาพการจราจรไปยังสถานที่ในการแข่งขัน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะที่ผู้เข้าแข่งขันที่เจนเวทีจะทำกัน และสามารถนำไปปรับใช้ในการสมัครงาน, การนำเสนอผู้บริหาร, การขายสินค้าได้ต่อไป ทั้งหมดนี้คือการจัดการตัวแปรรอบตัว
- ศึกษาตนเองว่าขาดทักษะ ความรู้ใด ซึ่งเป็นสิ่งที่ศึกษาได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ก่อน, ระหว่าง และหลังการแข่งขัน เพื่อที่จะเตรียมการปิดประตูความเสี่ยง เพื่อที่จะปรับแผนและยุทธวิธี และเพื่อที่จะพัฒนาตัวเองต่อไป
- ศึกษาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และวางแผนรับมือล่วงหน้า
หากเป็นการแข่งขันวิ่งผลัดแล้วนั้น ก็ได้เปรียบที่การออกตัวทำเวลา การวางตัวผู้วิ่งตามผลัด และระยะทางที่เกิดขึ้น เช่น ผู้วิ่งอาจถนัดวิ่งในทางโค้ง อีกรายอาจจะถนัดวิ่งในทางตรง ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ไปถึง "เส้นชัย" ได้เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่านั้นเอง สิ่งที่เราควบคุมจัดการได้ คือ ปัจจัยของตัวเรา และทีมของเรา สิ่งที่เราพอจะ "ปรับตัว" จากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยากหรือควบคุมไม่ได้เกิดจากการเตรียมการที่ดี และยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือการควบคุมหรือการคาดเดาเกิดขึ้นได้เสมอ การเตรียมการที่ดี คือ ทักษะในการอยู่รอด ปรับตัว เปลี่ยนแปลงได้ไวกว่าผู้อื่น
พี่แว่นขอจบเรื่องราวใน EP 2 ไว้เพียงเท่านี้ก่อน ส่วนใน EP 3 จะเป็นเรื่องราวที่เจาะลึกถึงทักษะ และกระบวนการคิดในการแข่งขันซึ่งจะเน้นที่การแข่งขันยอดนิยมในช่วงนี้ คือ การแข่งขันแผนธุรกิจ ซึ่งเกิดจากความขัดใจเวลาเห็นการแข่งขันในหลาย ๆ เวทีที่ผ่านมาในรอบหลาย ๆ ปี น้อง ๆ สามารถติดตาม #พี่แว่นแนะแนว ได้ใน FB: MonsoonSIMTH หรือใน https://www.monsoonsimthailand.com/sharing-index.html ในส่วนของ Blog ในนามพี่แว่นหน้าตาดี