Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • V10 Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • COMPETITION >
      • TH Business Data Analytics & Data Visualization
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2022
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Thais Teen Entrepreneurial Project
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM TH SEMINAR >
      • 2023 Education Transformation in Business Data Analytics
      • 2020 K-Practice
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Clip to Lecturer
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
    • MonsoonSIMTG x Alliances >
      • WoW Academy Thailand 2021!!! >
        • WoW Academy Workshop
      • Entrepreneurial Series by BDT and Gamification
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

ถอดบทเรียนจาก Hong Kong International MERPC 2019 สำหรับนักเรียน นักศึกษาของไทย รู้เพื่อปรับ เปลี่ยนเพื่อตนเอง

1/23/2020

0 Comments

 
จุดประสงค์ของบทความนี้: เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นแก่ นักเรียน นักศึกษาของไทย ให้เห็นตัวอย่าง แนวทางการปฏิบัติ วิธีคิดของต่างประเทศ เพื่อใช้เป็น "ทุน" ในการพัฒนาตัวเอง เป็น "บทเรียน" จากประสบการณ์ของผู้อื่นและก้าวให้เร็วและมั่นคงบนความผิดพลาดซึ่งเป็นสุดยอดเคล็ดวิชาทั้งมวล

โดย  ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง ในฐานะคนรุ่นกลางที่ต้องการให้คนรุ่นใหม่เก่ง แกร่ง มีความรู้ มีความเข้าใจ มีความสามารถมากกว่าคนรุ่นผม

Reference Page:
Guide to MERPC 2019: 
http://www.monsoonsim.com/guide.html?stage=MERPC2019
MERPC Hall of Fame: http://www.monsoonsim.com/guide.html?stage=HALLOFFAME 
Official Annoucement:  http://www.monsoonsim.com/article/204492/MonsoonSIM-Enterprise-Resource-Management-Competition-(MERMC)-International-Grand-Final-Hong-Kong-2019.html?fbclid=IwAR0UcyttH4TuhiUCCxf6yexHtcz5ObgczjI30VL4npJbrlPy-IA9FVmukYo
หลังจากที่รอ การถอดบืเรียนของน้อง ๆ นักศึกษา ที่เป็นตัวแทนของประเทศไทย ในการแข่งขันปีล่าสุด และเป็นแม่สายบัวแต่งตัวรอเก้อ จึงตัดสินใจที่จะเขียนบทความการถอดบทเรียนจากการแข่งขัน ERM ในหลาย ๆ ปี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปีล่าสุด คือ HK2019 ERMC
     เป็นเวลากว่า 6 ปีแล้ว นับตั้งแต่ ปี 2015 ที่ผมไปเห็นการแข่งขัน MERMC หรือ MonsoonSIM Entreprise Resources Management Competition ที่ Singapore UniSIM/SIM Global Education Center ที่ประเทศสิงคโปร์ และมีความรู้สึกว่าควรจะต้องจัดการแข่งขัน และนำกระบวนการเรียนรู้นี้มายังประเทศไทย  การแข่งขันนี้ในปัจจุบันใชเชื่อการแข่งขันว่า International MonsoonSIM ERP Competition ซึ่งในปีล่าสุดนี้ (2019) จัดขึ้นที่ฮ่องกง ท่ามกลางผู้ประท้วง และทีมประเทศไทย รวมถึงทีมจากประเทศอื่น ๆ ก็ได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป ทว่าในบทความนี้จะพูดถึง "การถอดบทเรียน" ที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับนักเรียนนักศึกษาของไทย 
1) ภาษาอังกฤษ คือหัวใจของการอยู่รอดในโลก Disruptive
       ผมตั้งคำถามกับนักศึกษาเป็นคน ๆ ไป เมื่อมีโอกาสได้สนทนาด้วยในระหว่างมื้ออาการ คำถามที่ผมพยายามจะกระจายไปตามทุกคนว่า เมื่อเห็น "ทักษะความรู้"  "วิธีการปฏิบัติตนในสภาพแวดล้อมทั่วไป"  ของเพื่อน ๆ ร่วมรุ่น และในสาขาวิชาที่ใกล้เคียงกัน จากต่างประเทศแล้ว เขาคิดอย่างไร สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ล้ำค่ำ เพราะว่า เมื่อผมเล่าให้ฟัง ไม่เท่ากับได้ไปดูไปเห็นเอง สิ่งที่น้อง ๆ หลายท่านเห็นไปในทางเดียวกันได้แก่
  • ทักษะของการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ และความสามารถในการนำเสนอ ที่นักศึกษาไทยขาด แต่ไม่พยายามสู้เพื่อให้ได้ทักษะนี้มา 
        ผมเองเป็นคนที่ภาษาไม่ได้เรื่องเช่นกัน กวาจะมาใช้ภาษาทำงานได้จริง ก็ปาไปอายุ 30 เสียแล้ว เพราะว่า มีโอกาสที่จะทำงานกับต่างประเทศ และถ้าวันนั้นผมกลัวผมก็จะไม่สามารถที่จะมีทักษะนี้ได้ ผมแนะนำให้นักศึกษาเหล่านี้พุ่งชน  เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในการแข่งขัน TH ERMC 2016 ทีมแห่งความประทับใจทีมหนึ่ง (ท่านไปหาดูจาก Clip ของ TH ERMC 2016 ได้) เพราะว่าต้องนำเสนอต่อกรรมการด้วยภาษาอังกฤษ บนเวทีเป็นครั้งแรก มีทีมหนึ่งที่เขานั้นยังไม่มีความสามารถเพียงพอ แต่ "เขามีใจสู้" ซึ่งสำคัญกว่า เขาขึ้นไปนำเสนอโดยคิดเป็นไทย แปลเป็นคำ เอาคำมาเรียงเป็นประโยค และพูดนำเสนอออกไป บางทีมบางคนนั้น พอรู้ว่าจะต้องเจอกับสถานการณ์แบบนี้ หลายทีมหลายคนที่ผมเคยเจอถึงกับยอมสละโอกาสในการแข่งขัน และโอกาสที่ตนจะไปเรียนรู้ได้มากมาย กรรมการในการแข่งขันครั้งนั้น ท่าน มล.ชัยวัฒน์ ชยางกูร ท่านได้สอนเด็ก ๆ และเราทุกคนในห้องจากประสบการณ์ของท่านว่า ท่านเองก็ไม่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษมาแต่แรก แต่ท่านก็ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน จนสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และสามารถขึ้นเป็นผู้บริหารบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยได้ และสามารถเดินทางไปประชุมยังนานาชาติและได้รับการยอมรับ ท่านได้ถามและขอคำมั่นสัญญากับนักศึกษาทีมนั้นว่า ช่วยสัญญากับตัวเองให้หน่อยว่า จะใช้เวลาอีกกี่ปีที่จะสามารถใช้ทักษะด้านภาษาอังกฤษได้ นักศึกษาเหล่านั้น ได้มอบคำมั่นสัญญากับตัวเอง และกรรมการ และทุกวันนี้เขาเหล่านั้น สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ 
        ส่วนตัวผมเอง ผมสื่อสารภาษาอังกฤษได้จากงานที่ทำ และเรียนเพิ่มเติมจาก ลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน การสื่อสารในวงเล็ก ๆ นัน้ ผมไม่มีปัญหา เพราะผมเชื่อว่าผมคุ้นเคยกับคนเหล่านี้ ผมพูดผิดนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร ในการทำ Tele Conference Call ครั้งหนึ่ง ผมมีความประหม่ามาก เมื่อจะต้องสื่อสารกับคนอีกจำนวนมากในการประชุมครั้งนั้น แต่ในใจก็คิดว่าจะต้องพยายาม และ "กลัวไปเองว่าคนอื่นจะไม่เข้าใจ" แต่มันตรงกันข้ามคือ เราสามารถที่จะสื่อสารให้คนเข้าใจได้ ในครั้งต่อมาเป็นการจัดงานที่ประเทศจีน ผมจะหลีกเลี่ยงการเป็น MC ในงานนี้ และหนีมาทุกครั้ง เนื่องจากความกลัวที่จะต้องพูดภาษาอังกฤษต่อหน้าคนหลักหลายร้อยคน ในคร้งนั้นกรรมการจัดงานที่เป็นเพื่อนร่วมงานชาวสิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ติดภารกิจต้องประชุม เหลือเพียงผมคนเดียวที่จะต้องดำเนินการ การเป็น MC ในภาษาไทยไม่เคยเป็นปัญหาหนักใจ แต่ในคราวนั้นไม่มีทางเลือก ความกลัวที่ฝังใจมากนาน คือ "กลัวไปเองว่าคนอื่นจะไม่เข้าใจ"  และเป็นกลุ่มคนที่เราไม่สนิทสนมด้วย แต่วันนั้น ผม่โดนโชคชะตาให้โอกาส ทำลายความกลัว และต้องขึ้นไปเป็น MC กับคนจากนานาชาติเพียง 600 กว่าคน เท่านั้น และมันก็ผ่านพ้นไป ผมออกตัวเลยว่า I am apologize for my broken english, but only one core committee team left and I gonna handle this session alone. และผมก็พยายามทำหน้าที่ของตนไป ในตอนพักเบรก คนที่มาร่วม conference ต่าง ๆ เดินมาคุยด้วย เขาบอกว่า เขาเข้าใจทั้งหมดนะ คุณไม่ต้องกลัวอะไรอีก ไม่ต้องกลัวว่าภาษาคุณไม่ดี ทั้งหมดนี้ คือ "คุณคิดไปเอง"
        ผมสรุปได้จากบทเรียนนี้ว่า ประเทศเราสอนภาษาอังกฤษแบบผิด ๆ ในโลกแห่งความจริง เราเพียงสื่อสารและกล้าพูดออกไป สำเนียงอะไรที่เราดูถูกตัวเองว่า เราพูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทย (T-inglish) มันไม่ได้แตกต่างจากภาษาอังกฤษในสำเนียงอื่น ๆ เช่น  Singlish ของสิงคโปร์ หรือ Malaysin-English ที่พูดเร็วและรัว ตราบใดที่เราสื่อสารได้ ก็เพียงพอ ผมเล่าเรื่องนี้ให้เด็ก ๆ ฟัง ในขณะที่ เราไปไหนไม่ได้ในสนามบินฮ่องกง เพราะว่าถูกม๊อบปิดสนามบินไว้
Skill ด้านภาษาและการนำเสนอ
​ของนักศึกษาฮ่องกง (HKUST)
Skill ด้านภาษาและการนำเสนอ
​ของนักศึกษามาเลเซีย (USM)
Skill ด้านภาษาและการนำเสนอ
​ของนักศึกษาอินโดนีเซีย
​(Universitas Hasanuddin)
    เรามาลองดูนักศึกษาเพื่อนบ้านร่วมรุ่นกับนักศึกษาไทย และเราเรียนรู่้อะไรบ้าง จากคลิปด้านบนเป็นตัวอย่างของจากทีมไม่กี่ทีม ที่เลือกมา 3 ปะเทศ เพื่อให้เห็นทักษะพื้นฐานหนึ่งที่ประเทศอื่น ๆ มี ดังที่ทราบไปแล้วคือ ภาษาอังกฤษ ณ ปัจจุบัน โดยภาพรวมประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษในภาพรวมแย่ที่สุดในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่น่าตกใจกว่าคือ เราดันยอมรับบนพื้นฐานความคิดที่ควรยกเลิก และเหตุผลที่ผัดวันประกันพรุ่ง เป็นเวลาสองถึงสาม Generation เช่น แนวคิดเรื่องประวัติศาสตร์ ชาตินิยม ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยกับความสามารถในการสื่อสารบนเวทีสากล อันนี้คือความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ในฐานะหนึ่งในภาษาสากล นักเรียนนักศึกษาที่อ่านบทความอยู่นี้จะต้อง ตั้ง "เป้าหมาย" และ "เวลา" ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย คือ สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดั่งใจ สามารถที่จะสื่อสารตามความคิดที่ต้องการได้ทั้งหมด  และ เวลา คือ จะมีทักษะนี้เมื่อใด สิ่งนี้สำคัญที่สุด
  • ทักษะการนำเสนอ หรือ Presentation Skill นักเรียนนักศึกษาไทยส่วนมาก ยังขาดทักษะนี้ ซึ่งมีหลายสาเหตุมาจาก ขาดความมั่นใจในเนื้อหาที่จะนำเสนอ, ขาดการฝึกฝน และคำแนะนำ เป็นต้น ในประเทศสิงคโปร์ หรือในประเทศอื่น ๆ การนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นเรื่องปรกติตั้งต่ชั้นประถมศึกษา ทว่าในประเทศไทย การนำเสนอหน้าชั้นเป็นของพิเศษ การฝึกฝนบ่อย ๆ จนสามารถเจนเวทีเป็นหนึ่งในหนทางที่จะทำให้นักเรียนนักศึกษามีทักษะนี้ ที่น่าตกใจ (อีกแล้ว) คือ แทบจะไม่พบหลักสูตรเกี่ยวกับการนำเสนอเลยในชั้นเรียนมาตรฐานของไทย  คำแนะนำของผมสู่่นักเรียนนักศึกษา คือ ให้เห็นเรื่องการแสดงความเห็นเป็นเรื่องปรกติ หมั่นแสดงความคิดเห็น แสดงทัศนะให้เป็นปรกติ (ต่อให้บรรยากาศในชั้นเรียนของท่าน และรูปแบบของชั้นเรียนในเมืองไทยจะไม่เอื้อให้เกิดขึ้นก็ตาม) มีโอกาสใด ๆ ที่จะนำเสนอแนวคิด ให้คว้าโอกาสนั้น ทั้งในกลุ่มเล็ก หรือ ในกลุ่มใหญ่  และพาตัวเองไปมีประสบการณ์นี้ การขึ้นเวที จนไม่กลัวเวทีจะทำให้ได้มาซึ่งทักษะแรกในการนำเสนอ หลังจากนั้นให้เชีย่วชาญหรือค้นคว้าให้หนักในหวัข้อที่ต้องการนำเสนอ สุดยอดเคล็ดลับ คือ การวางแผนการนำเสนอ การนำเสนอให้ประเด็นบีบแคบลง และสามารถโน้มนำให้ผู้ฟัง ในที่นี่คือกรรมการไปตามทิศทางของการนำเสนอ และ scope ขอบเขตของคำถามได้ เพื่อเตรียมคำตอบล่วงหน้า สิ่งเหล่านี้จะยิ่งสร้างความมั่นใจ
       
         ผมและอาจารย์มีโอกาสได้ให้นักศึกษาทีมประเทศไทยได้ฝึกฝน ในกลุ่มเล็ก ๆ เป็นครั้งๆ ประมาณ 2-3 รอบ ก่อนเดินทาง ตามเวลาที่มี อย่างน้อยได้ฝึกให้นักศึกษาเกิดความคุ้นชินกับคำพูด ได้มีโอกาสแนะนำ "คำที่ถูกต้อง" และ "คำแนะนำเรื่องต่าง ๆ" ทว่า ทักษะนั้นเกิดจากการฝึกฝนและหมั่นทำผิด ไม่ได้เกิดจาก "รู้" มากว่าจะต้องมีท่วงท่าลีลา เทคนิคอย่างไร   โดยเริ่มต้นให้นำเสนอด้วยภาษาไทยก่อน เฉพาะภาษาไทย ก็ยังพบปัญหา เช่น ไม่มี "คลังคำ" ที่มากพอ จะเือกใช้คำที่มีความหมาย หรือถูกต้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ, ไม่มีความสามารถในการสื่อสาร เนื่องจาก ไม่ได้ฝึกฝนเป็นประจำ, มีความประหม่าเมื่อจะต้องออกมานำเสนอต่อหน้าสาธารณะ, ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการ เนื่องจาก ไม่มีตัวอย่างที่ดีในชั้นเรียนให้ชม, ไม่มีวิชาที่สอนเรื่องการนำเสนอโดยเฉพาะ ทั้ง ๆ ที่่เป็นทักษะที่สำคัญ, มีรูปประโยคไม่สวยงาม เพราะว่าไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ เพื่อสร้างกระบวนการวางโครงเรื่องและรูปแบบการเล่าเรื่องที่ดี, ไม่สามารถใช้ภาษาได้ดั่งใน ไม่เข้าใจว่า เนื้อหาในลักษณะใดควรใช้ การบรรยายหรือการพรรณา, การยกตัวอย่างมักไม่ชัดเจน ฯลฯ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น คือ การตอบคำถาม ที่มักจะ ถามอย่างตอบอย่าง, ตอบคำถามทั้ง ๆ ที่ไม่เข้าใจคำถาม  และตอบคำถามด้วยคำถามที่แสดงความไม่มั่นในใจคำตอบของตัวเอง ผมมักจะแซวนักศึกษาว่า อย่าติบคำถามเหมือนตอบจข้อสอบก็เป็นอันใช้ได้        
English Clip แบบ One Long shot ไม่ตัดต่อ ของทีม Irich 2018 ที่เข้าแข่งใหม่ในปี 2019 ภายใต้ชื่อ DejaVu 
English Clip แบบอนุญาตให้ตัด่อเนื่องจากข้อจำกัดของเวลา โดยทีม Deja Vu 2019
Presentation ทีม DejaVu
ที่ฮ่องกง MERPC 2019
คลิปแห่งแรงบันดาลใจของผู้จัดอยากให้นักศึกษาไทยทุกคนมีความพยายาม นักศึกษามรสุมสยามคือผู้ที่กล้าลุยส์ไปสร้างประสบการณ์ให้ตัวเอง
สื่อสารได้ ก็เข้าใจ ไม่ต้องสนใจ Grammar

English Clip แบบ Long shot ของ GIF
Presentaation ทีม GIF 
ที่ฮ่องกง MERPC 2019

English Clip ทีม Phoenix, CoC PSU 
TH ERMC 2019
English Clip ทีม Texas CRMA
TH ERMC 2018
English Clip ทีม Number 1, CAMT CMU 
TH ERMC 2019
           สิ่งที่น่าท้าทายของนักศึกษาไทย ที่เข้าแข่งขัน MERPC ในทุกปี นอกจากจะมีทักษะด้านการนำเสนอที่เป็นรอง เนื่องจากการไม่มีโอกาสได้ฝึกฝนนการนำเสนอให้คุ้นชิน เช่นที่นักศึกษาในประเทศอื่นมี  การนำเสนอด้วยภาษาต่างประเทศยิ่งทวีความยาก ประกอบกับ บรรยากาศของการแข่งขัน ความประหม่า ความตื่นเต้น เนื้อหา ฯลฯ ยิ่งทำให้นักศึกษาที่ผ่านเวทีของการแข่งขันมีทักษะเหล่านี้เพิ่มขึ้น
          โดยปรกติของการแข่งขัน TH ERM นั้น จะมีการนำเสนอด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นตั้งแต่ปีแรกของการแข่งขัน  ทว่าใน 2 ปีหลัง ผมได้เปลี่ยนวิธีการเพื่อจะลองดูว่า หากนำเสนอด้วยภาษาไทยจะประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ คำตอบที่ได้ คือ ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทักษะของการนำเสนอดีขึ้นไปด้วย  คลิปด้านบนคือตัวอย่างของทีมประเทศไทยในการแข่งขัน  ทั้งในรูปแบบ English Presentation Clip ซึ่งประสงค์ให้มีการทำซ้ำ ทำซ้ำ และ ทำซ้ำ และ การนำเสนอแบบสดต่อหน้าคณะกรรมการ โดยในชุดแรก ผมต้องการให้น้อง ๆ นักศึกษาเห็นผลของการฝึกฝน และคุณองก็สามารถทำได้ นักศึกษาเหล่านี้ นอกจากวิชาภาษาอังกฤษ แทบจะไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเลย แต่ "ทำได้ และทำได้ดีในระดับหนึ่งทีเดียว"  ผมไม่ได้เอาคลิปมาเพื่อให้เปรียเทียบ ผมเอามาให้เป้นแรงบันดาลใจว่า ถ้าเยาวนไทยตั้งใจจะทำ ทำได้ อยู่ที่ว่าได้เริ่มต้นเมื่อใด  ตัวอย่างด้านบนให้เห็นพัฒนาการ และยังมีตัวอย่างดีดีของเยาวชนที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างยอดเยี่ยมด้วย 

        สิ่งที่ได้เห็นในฮ่องกง 2019 มีการเปลี่ยนแปลงเล้กน้อย คือ ประเทศอย่างอินโดนีเซีย ที่ใช้ Bahasa เป็นภาษาหลักสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น สามารถฟังคำถามได้ และสามารถโต้ตอบกลับไปได้ ซึ่งยังเป็นปัญหาของนักศึกษาไทย การพูดแบบท่องสคริป์ หรือฝึกฝนมานั้น ไม่มีปัญหา ทว่า เมื่ออยู่ในช่วง Q&A นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ฟังกรรมการไม่ถนัดนัก และปัญหาคลาสสิคของนักศึกษาไทย คือ ถามอย่างจะตอบอีกอย่างเสมอ ซึ่งอันนี้ส่วนหนึ่งมาจากภาษานั่นเอง อีกส่วนนั้นน่าจะมาจากในชั้นเรียนปรกติของไทยส่วนใหญ่ เป็นการเรียนการสอนทางเดียว คือ ครูอาจารย์พูดอยู่คนเดียว และมีการแสดงความเห็น และการโต้แย้งน้อยเกินไปในชั้นเรียน 
2) จงเชื่อมั่นในตัวเอง และทำให้เต็มศักยภาพที่มี และ "ใจสู้"
       ในหลายปีที่ผ่านมา ผมเห็นประกายตาที่แฝงความตื่นเต้น และเชื่อว่าเข้าเหล่านั้น ได้ยินเสียงร้อง "อ๋อ" ในใจ หลังจากที่เขาพบว่า วิชาการและทฤษฎีที่เขาเรียนในชั้นเรียนในหลาย ๆ วิชา ในทางการบริหารธุรกิจ, การจัดการด้านต่าง ๆ, วิชาบัญชี, วิชาด้านสาสนเทศ ฯลฯ ผ่านประสบการณ์มอนซูน รวมไปถึงเสียงเฮดีใจในครั้งแรก ๆ ที่สินค้ามาส่ง หรือได้รับการประกาศว่ามีชัยชนะในแต่ละรอบทั้งในชั้นเรียน และในการแข่งขัน
       เช่นเดียวกันกับหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ในการแข่งขัน และในชั้นเรียน MonsoonSIM ที่ถูกถ่ายทอดโดยผม (จะเรียกว่าถ่ายทอดก็ไม่ได้ เรียกว่า สอนไปบ่นไปดีกว่า) ผมพบนักศึกษาในหลายคุณลักษณะ หลายประเภท 
  • ประเภทลองเพื่อให้รู้ แล้วก็หันหลังจากไป ทั้ง ๆ ที่ ยังสามารถเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัวนัก หากยังคงอยู่กับการแข่งขันต่อไป กับ ประเภทลองแล้วไม่พบว่ามีอะไร เพราะว่าไม่ได้ให้โอกาส MonsoonSIM นานเพียงพอ ที่จะผ่านขั้นพื้นฐาน ไปสู่ขั้น Integrated  นักศึกษาเหล่านี้น่าเสียดายที่มีสภาวะน้ำเต็มแก้วอย่างเร็วไว กว่าเขาจะรู้ว่ามีอีกหลายร้อยเรื่องที่ MonsoonSIM พาไปเคาะประตูบานใหม่ได้ในโลกของความรู้ก็สายเสียแล้ว
  • ประเภทที่ไม่เก่งและไม่อดทน และประเภทเก่งและไม่อดทน ทั้ง 2 ประเภทนี้ พอได้ส่วนหนึ่งของประสบการณ์การแข่งขัน ละทิ้งโอกาสในระหว่างการแข่งขันที่มีการคัดเลือกผ่านการเวลาอันยาวนาน หรือ เขาเหล่านั้นอาจจะหาทางเลือกในเชิงประสบการณ์จากแหล่งอื่น ๆ ที่ดีกว่า หากเป็นประเภทนี้ผมก็ยินดีให้เข้าจากไป อดทน หรือ ถึก มักเป็นคุณสมบัติของนักเรียนกลุ่มสุดท้าย ที่ผ่านมาถึงรอบตัวแทนสถาบันเสมอ และผมก็มันจะเพิ่มประสบการณ์ให้น้องๆ กลุ่มนี้เป็นพิเศษ จากรูปแบบการแข่งขัน หรือประสบการณ์อื่น ๆ ที่พอจะมีทรัพย์พาไปมีประสบการณ์ได้ในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา "ถึกทน" เป็นคุณสมบัติที่มทุกวันนี้หายาก และหลายหน่วยงานมองหา จนผมมักบอกกับน้อง ๆ ว่า ยินดีที่จะเขียนหนังสือรับรองให้ หากคุณมาถึงรอบท้าย ๆ ของการแข่งขัน 
  • ประเภทลองไป เผื่อได้ ดีกว่าไม่ได้อะไร ประเภทนี้ผมยังมีความชื่นชม หรืออาจจะให้เหตุผลปลอบใจตัวเองว่า เขาคงเห็นว่ากิจกรรมของเรานั้นดี และอยากหาประสบการณ์ ในบางปีเราจะพบว่า มีนักศึกษากลุ่มนี้ในช่วงกลาง ๆ ของการแข่งขัน และจะเหลือบางส่วนสู่รอบสุดท้ายเสมอ ๆ 
  • ประเภทไม่เก่ง แต่อดทน กระหายอยากรู้ และเก่งในที่สุดในด้านใด ๆ ด้านหนึ่งที่เขา Activate ความรู้หรือทักษะเหล่านั้นด้วยตนเอง ประเภทสุดท้ายนี้เป็นประเภทที่ผมนิยมชมชอบมากที่สุด ผมมักจะมีวลีว่า "ไม่เก่งฝึกบ่อยๆ หัดทำหลาดบ่อย ๆ ก็จะเก่งเอง" กับ "ไม่เก่งไม่กลัว กลัวไม่มีใจ" ผมเห็นนักศึกษากลุ่มนี้ในหลาย ๆ ปี จนกล้าพูดได้ว่า ส่วนมากของนักศึกษาที่ผ่านไปสู่รอบท้าย ๆ ของการแข่งขันเป็น นักศึกษาที่เรียนไม่เก่ง เพราะว่าถูกวัดด้วยมาตรฐานแบบ one it all ซึ่งจริง ๆ แล้วเขาเหล่านี้เก่ง อึด ทน และนี่เป็นเหตุผลทุกครั้งที่ผมจะเลิกจัดการแ่งขัน แต่ผมก็เปลี่ยนใจ ในฐานะที่เราสามารถให้โอกาสนักศึกษาที่อาจจะไม่เป็นดสวโดดเด่นในเชิงวิชาการ แต่เขาอยู่สาย "บู๊"
  
        สิ่งที่น้อง ๆนักศึกษา ในรอบท้าย ๆ มักจะได้ไปเสมอ คือ "ความเชื่อมั่นในตนเอง" ที่เพิมพูนมากขึ้น นั่นไม่ได้เป็นเพราะการแข่งขัน หรือตัวผู้สอน ทว่ามาจาก "การเรียนรู้บนความผิดพลาด" "การเรียนรู้จากเพื่อน" "การแสวงความความรู้และทักษะที่มีโอกาสได้รับการฝึกฝน" ทำให้ "ทุกคน" เปลี่ยนไปจากวันแรกที่เจอกันเสมอ ๆ ผมจะพูดทุกปีด้วยน้ำตาว่า "ผมดีใจ ที่คุณในวันนี้ เก่งกว่าวันแรกที่เจอกันเสมอ"  เพราะว่าคุณสมบัติ 2 อย่าง คือ "บ้า" และ "ใจสู้"  เพราะว่ารูปแบบของการแข่งขัน กติกาและวิธีการเพี้ยน ๆ ของการแข่งในแต่ละปีสร้างเสริมให้เขา 
       ผมอาจไม่ได้กล่าวถึงทุกทีม ไม่ได้แปลว่าทุกทีมไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้ ผมขอขอแนะนำทีมหนึ่ง ซึ่งล้มลลุกคลุกคลาน และ ผมเห็นความ "ใจสู้"  ทีมนี้เป็นทีมลูกผสมหลายชั้นปี หลายสาขา เป็นทีมที่เมื่อสัมภาษณ์แล้ว เขาให้คำตอบผมว่า เขา้รียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ในทุกครั้ง เห็นมุมมองใหม่ ๆ ในทุกครั้ง ที่เขาได้เจอโจทย์ใหม่  จะต้องใจสู้ขนาดไหน เมื่อทีมเกิดฟลุ๊คชนะเป็นตัวแทนของสถาบัน จะด้วยโชคช่วย หรือสิ่งใดก็ตาม ทีมนี้ได้ไปแสดงความใจสู้ ในเวทีที่ HK แลัได้รับประสบการณ์มากมาย เขาชื่อว่า The GIF จงเชื่อมั่นในตัวเองและเดินต่อไป 
       สำหรับน้อง ๆ คนอื่น ๆ อะไรที่ดี ให้ดาหน้าลุยส์เข้าไป เชื่อมั่นและลงมือทำ แล้วมันจะเห็นผล

​          
3) จงเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว แปลงให้เป็นประสบการณ์ที่จะใช้งานได้ต่อไป
        การเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว เริ่มต้นจาก "การไม่ละเลยปรากฎการณ์ต่าง ๆ รอบตัว" เป็น "ผู้สังเกตุ เปิดโสตประสาทรับรู้ รับฟัง เห็น ตรึกตรอง" ผมจะบอกน้อง ๆ รุ่นใหม่ ๆ หรือใคร ๆ ว่า "เราเรียนรู้ได้จากสิ่งรอบตัวในทุกวันหากเราไม่เพิกเฉย" คุณจะได้วิชาอีกมากที่เอาไปใช้ได้ 
        ในชั้นเรียน Monsoon ทั่วไป ๆ ไป เราเรียนจาก "ประสบการณ์ ที่ไปชนกับทฤษฎี" หรือ "เอาทฤษฎีที่เคยรู้ มา proof ด้วยประสบการณ์" ซึ่งเป็นวิธีการเรียนตรง ๆ ในแบบ Monsoon เรายังเรียนทางอ้อม ๆ จาก "การเทียบเคียงประสบการณ์จำลองในเกม ไปสู่เหตุการณ์ในโลกจริง" หรือ "อธิบายโลกจริงจากประสบการณ์ในเกม"  ยังไม่รวม การเรียนจาก "เพื่อน" ที่ร่วมชั้นเรียน และการแข่งขัน ที่ได้เห็น "วิธีคิด" และ "วิธีการลงมือ" ที่แตกต่างจากที่เราคิด รวมไปถึงเห็นความผิดพลาดจากของเราและของเขา ซึ่งเป็นสิ่งวิเศษ  เหล่านี้คือ การเรียนรอบตัวใน Environment ของเกม 
        ในแต่ละปี ERM จะมีการเวียนกันจัดในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกที่มีความพร้อมแตกต่างกันไป นักศึกษาจะได้เดินทางไปต่างประเทศ (หากเป็นตัวแทนประเทศไทย) หรือ มีเพื่อนต่างประเทศเดินทางมาให้เรา "ได้ดู" หรือ ในระดับตัวแทนสถาบันการศึกษา ที่จะต้องเดินทางมาแข่งในถิ่นที่แปลกไป ได้พบเห็นประสบการณ์ใหม่ ๆ มากมาย 
        ในแต่ละปี หากผมมีโอกาส และมีทรัพย์ + ความเช้าใจมากพอ เรามักจะพานักศึกษาไปทัศนศึกษาเล็ก ๆ พาไปใช้บริการ ไปเห็นบริการ ไปเห็นวิธีการคิด และดำเนินชีวิตและธุรกิจที่แตกต่างกันไป ในปี 2019 นี้ นักศึกษาทีมที่ได้รับโอกาสนี้มีประสบการณ์จากสิ่งรอบตัวอย่างมากมายเพราะว่ามีเหตุการณ์พิเศษ เช่น การประท้วงปิดสนามบิน, ได้เห็่นประเทศที่มี Core Business ไม่กี่อย่าง และเห็นความถดถอยเมื่อไม่มี solution สำรอง จากปัจจุยัต่าง ๆ มากมาย ซึ่งตรงนี้ อาจจะยังไม่เล่า 
        เรื่องเล่าที่ะส่งมอบ คือ เปิดใจให้กับสิ่งรอบตัว แล้วคุณจะเรียนไปกับมัน ในปีนี้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเบิกจ่าย เราจึงใช้บริการของทัวร์ ซและแน่นอน ด้วยแผนธุรกิจของบริษัททัวร์ และประโยชน์บางอย่าง เราได้ทัวร์ราคาดี แต่มีเงื่อนไข  ถ้าเราไม่เอาแต่ moody จากความไม่พอใจ หรือ ปิดกั้นตัวเองเราจะเห็นและเรียนรู้อีกมากมาย เช่น Local Guide มีกรรมวิธีในการเสนอสินค้า เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นอย่างไร หรือ การที่เราจะต้องถูกบังคับไปร้าน shopping ในโปรแกรม ซึ่งในเคสนี้มีนักศึกษาที่รู้สึกไม่พอใจ และเสียเวลา ทว่า หากเอาเวลาเหล่านั้นไปมองสิ่งที่เกิดขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะเข้าใจ เช่น อะไรเป็่นเหตุให้ทัวร์ราคาดี ต้องแลกมาด้วยการเสียเวลาให้กับร้านช๊อปปิ้ง, วิธีการของเซลล์ผู้ขาย ตัวอย่างคำพูด ที่ใช้ในการนำเสนอ environment แวดล้อมเหล่านี้ ถูก design มาแล้ว เหตุใดเขาจึงคิดและปฏิบัติเช่นนั้นต่อ ๆ กันมา เป็นต้น   ทำไมในการณีแวะร้านจิวเวอรี่ จึงเป็นสิ่งที่ผู้หญิงพึงพอใจ ในขณะที่เพศชายจะมองว่าเป็นของไร้สาระ หรือ เหตุใดการตกแต่งของร้านช๊อปปิ้งแบบทุบหัวเข้าบ้าน ที่แพร่หลายในโลก จึงมีการออกแบบร้านค้าเหมือน ๆ กัน คือ ไม่ให้เห็นแสงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก, ไม่มีนาฬิกา และป้ายทางออกแจ้งไว้ สิ่งเหล่านี้หากถอดบทเรียนและเข้าใจมัน จะเห็นกลยุทธ์ หรือวิธีคิดที่ภาคธุรกิจนั้นใช้จริง ส่วนจะดีหรือไม่นั้น แล้วแต่รสนิยมและความรู้สึก 
4) จงมีวิชาการที่ใช้งานได้ มิเช่นนั้นวิชาการจะเป็นวิชาเกิน
         ผมมักจะหยิกแกมหยอกกับกลุ่มอาจารย์ที่มีความคุ้นเคยกันในหลาย ๆ สถาบัน เรื่อง "วิชาเกิน" กับ "วิชาการ" เสมอ ๆ สำหรับผมนั้น วิชาการที่ถูกสอนในสถาบันการศึกษานั้นมีคุณค่า ก็ต่อเมื่อ ความรู้นั้นสามารถถูกใช้ให้เกิดผลได้ รู้ที่จะหยิบทฤษฎีใด หรือ ไม่ใช้ทฤษฎีใด ในการแก้ปัญหาที่มีความแตกต่างกันในปัจจุัยต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง สร้างสรรค์ รู้ที่จะตัดทอนเอาทฤษฎีใด ๆ มาใช้ในกระบวนการหนึ่ง และหยิบเอาอีกทฤษฎีจากอีกศาสตร์มาปรับใช้ในกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน หากพ้นจากความหมายนี้แล้วเป็น "วิชาเกิน" สำหรับผม 
        ไม่มีใครต้องได้รับการโทษ หรือตกเป็นแพะในกรณีนี้ เพราะว่า ผู้เขียนหลักสูตรก็หวังดี ผู้สอนสอนตามที่หลักสูตรเขียนไว้ วัดผลตามที่มาตรฐานนอกกำหนดมาให้ ผู้เรียนก็เรียนไปตามที่ถูกลำเลียงเข้ามา เราจะพบว่า ในหลักวิชาที่เราเรียนกันมากมาย เราอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Why-มันถูกใช้เพื่อแก้ปัญหาอะไร How-จะเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนท่านเมื่อเจอปัญหาที่ต้องแก้อย่างไร เรารู้เพียงว่า What-มันคืออะไร  และที่สำคัญคือ ตัวอย่างที่๔ูกนำมาใช้สอนนั้น ก็ copy และบอกเพียงผลลัพท์ว่า "มันถูก" แต่ไม่ได้เคยเห็นว่า กว่ามันจะถูกมันผิดมาจากสาเหตุใดบ้าง เราชนะคะคานกันด้วยจำนวนของวิชา หน่วยกิต และหลอกกันว่า ตัวเลขในสถิติ เช่น จำนวนบัณฑิตที่ได้รับงานทำใครมีอัตราสูงกว่า แต่ไม่ได้วัดว่า เข้าปได้ด้วยสาเหตุใด หรือเข้าไปแล้วคนที่รับเอาบัณฑิตเหล่านี้ไปจะต้องเพิ่มเติม สอน ฝึกฝนอะไรเพิ่มเติมบ้าง เราหลอกกันเองว่า สถาบันการศึกษาที่ ranking ดีนั้น มาจาก จำนวนสรรพวิชาที่เปิดสอน บ้างในบางสถาบันวัดที่จำนวนของงานวิจัย ซึ่งอาจจะไม่เห็นผลเหล่านั้นกับผู้เรียนเลยก็ตามที
        ในลาย ๆ วิชาเกิน เกิดจาก Trend ที่โลกนิยม และแห่แหนกันสอน

5) ทีมที่ดีจะมีเป้าหมายเดียวกัน อาจทะเลาะกัน แต่ไม่โกรธกัน
      ในหลายปีที่ผ่านมา MonsoonSIM ไม่ได้พัฒฯาเฉพาะความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทว่าได้สร้าง Soft Skills อันหลากหลายให้กับนักศึกษาด้วย หนึ่งในหลายๆ Soft Skills ที่เป็นต้นตระกูลใหญ่ สาขาหนึ่งของ 4C คือ Collaborative ซึ่งแทจริงแล้ว คือ การรวมกันของ วิชา : วิชา, ทักษะ : ทักษะ และ คน : คน 
การทำงานด้วยกันโดยมี "เป้าหมาย" ร่วมกัน ร่วมกำหนดวิธีการ เรียนรู้ บาดเจ็บ ปรับแผนงาน และวิธีการไปด้วยกัน เป็นหนึ่งในทักษะของ TEAM WORK ซึ่ง MonsoonSIM ได้ให้ไว้ กับนักศึกษาที่ใช้งาน (หรือกลุ่มผู้ใช้อื่น ๆ ในการอบรมแก่หน่วยงานต่าง ๆ) ผมสังเกตุจากทีมของนักศึกษาในรอบแข่งขันระดับประเทศเป็นสำคัญ เนื่องจากผมไม่มีโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วมในรอบของแต่ละมหาวิทยาลัยมากนัก ด้วยโจทย์ต่าง ๆ ที่ถูกวางไว้ (เพื่อให้เกิดประสบการณ์ และเปิดประตูการเรียนรู้บานใหม่ๆ ให้กับนักศึกษา) กิจกรรม การบ้าน ความกดดัน เป้าหมายเหล่านี้หลอมรวมกันให้ นักศึกษาต้องทำงานเป็นทีม โดย ต้องรู้ซึ่งกันและกันว่าใครมีความถนัดในด้านใด ใครขาดอะไร ทั้งในเชิงทักษะความรู้ เพื่อที่จะได้เติมเต็มซึ่งกันและกัน ใครมีความสนใจหรือถนัดด้านใดเป็ฯพิเศษที่ทีมจะสนับสนุนกันให้เกิดความลุล่วงสำเร็จ ผมเห็นนักศึกษาหลากหลายทีมในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เขาเกิดทีมที่เขารัก ทีมที่มองตาก็รู้ใจ ทีมที่พร้อมตะส่งเสียงเฮร่วมกันเมื่อได้ชัยชนะ ทีมที่ปลอบโยนกันเองเมื่อผิดพลาดพ่ายแพ้ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งเล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่ ที่ MonsoonSIM และการแข่งขัน ERM ให้ไว้แก่ทุกทีมที่ฟันผ่าไปจนถึงจุดนั้น 
       ประเทศไทย นิยมความเก่ง และโดดเด่นเป็นบุคคล เราเป็นประเทศที่เฮละโลกันทำงาน แต่ไม่มีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนกันไปตามโลกที่กำลังเปลี่ยนไป เยาวชนรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่จะต้องทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ที่แตกต่างทั้งอาชีพ ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ต่างเชื้อชาติเผ่าพันธ์ และเขาจะต้องเติบโตไปเป็นหัวหน้าคน เป็นผู้นำ ซึ่งเป็นส่วนหนึของทีม และนักศึกษาแต่ละคนในหลาย ๆทีม ผมได้เห็นการผลัดกันนำ ผลัดกันตาม ทะเลาะกันเพราะว่าความไม่เข้าใจกัน งอนกันเวลาเหนื่อย ผลัดกันยอมและเข้าใจกันในภายหลัง และรับฟังกันให้อภัยกันในฐานะเพื่อนซึ่งนึ่เป็นหัวใจของการทำงานเป็นทีม 
         ในปีที่ผ่านมามีตัวอย่างที่น่าประทับใจ ทีมหนึ่งมีเพื่อนที่เกิดให้ความสนใจในกิจกรรมอื่น ๆ มากกว่า แต่ด้วยความที่ยังเป็นทีม ยังให้โอกาสกัน ก็พากันไปจนถึงตลอดรอดฝั่ง อีกทีมหนึ่งเป็นทีมลูกผสม ต่างที่มาที่ไป ต่างสาขาวิชา ต่างชั้นปี แต่มีเป้าหมายร่วมกัน ผมเห็นน้ำตาไหลออกจากทีมนี้ เมื่อชื่อทีมของเขาถูกประกาศให้เข้ารอบที่ฮ่องกง จะมีซักกี่ครั้งในชีวิตที่คุณได้รับประสบการณ์และเข้าถึง Team Spirit เช่นนี้

6) ความเหมือนกันบนความต่างกัน 
        การได้เฝ้าดูปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เราจะเห็นความเหมือนและความแตกต่างได้ หากเราพิจารณามันอย่างถ้วนถี่ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ผมเห็นความเหมือนและความต่างที่น่าสนใจ จึงนำมามอบประสบการณ์นี้แก่ท่านผู้อ่าน
      ในระดับชั้นเรียนของ MonsoonSIM ในบางสถาบันการศึกษา ผมจะเห็นกลุ่มนักศึกษาที่หลากหลาย มาจากหลายสาขาวิชา และหลายชั้นปี และหากเปรียบเทียบระหว่างสถาบันการศึกษา กับสถานบันการศึกษาอีกหลาย ๆ ที่ และแม้กระทั่ง เยาวชนรุ่นราวคราวเดียว แต่ต่างกันที่เชื้อชาติ ปะระเทศ ภาษา ศาสนา ที่ต่างกันแต่ร่วมสมัยเดียวกัน ยิ่งพิจารณาเห็นความเหมือนบนความแตกต่างมาก 
  • ​ดวงตาของเขาเหล่านั้น เป็นประกายเหมือนกัน เมื่อสามารถบรรลุภารกิจ, เมื่อได้เข้าใจทฤษฎีที่ถูกสอนกันมาผ่านการกระทำใน MSIM และร้อง "อ๋อ" ในใจหลายครั้ง 
  • ความสงสัย แต่ไม่กล้าถาม ซึ่งเป็นความเหมือนที่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เป็นเหมือนกันส่วนใหญ่ มีคำพูดทีเล่นทีจริงที่ว่า "อายครบ่ฮู้วิชา อายภรรยาบ่มีบุตร" คงจะเป็นเรื่องจริง สิ่งนี้เป็นปัญหาหลักของการศึกษาไทย เพราะว่า การถามเพราะสงสัย ถามเพราะไม่เข้าใจ ถามเพราะอาจจะฟังไม่ทัน และ ถามเพราะว่าในช่วงนั้นละความสนใจไปที่อื่น  มักจะลงเอยด้วยการถูกตำหนิ ติเตียนจากคนเป็นครูอาจารย์ บ้างหาว่าไม่สนใจ หนักร้ายกว่านั้น คือ "โง่" ที่ถูกยัดเยียดให้ ทำซ้ำกันมาจนความเหมือนนี้ต้องถูกแก้ไข  ในชั้นเรียนของ MonsoonSIM โดยผม และ Certified Trainer ที่แนะนำโดยผม ผมแนะนำอย่างหนักแน่นว่า ปัญหาเกิดจากความสงสัย ปัญญาของเด็กเยาวชนอาจเกิดจากการ ตอบ แนะนำ และถามกลับไปกลับมา (เช่น การปุจฉาวิสัชนาของนิกายมหายานในธิเบต เป็นต้น) หากนักศึกษาถามท่าน แสดงว่าเขาสนใจ เราีหน้าที่ต้องถามกลับ แนะนำกลับ ตอบกลับ ตามแต่ชนิดของปัญหา และระดับการเรียนของนักศึกษา
  • ความเหมือนกันประการต่อมา คือ การไม่กล้าทดลอง ไม่กล้าทำผิด สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ขัดขวางการเติบโตในโลกที่เราเรียนรู้จากความผิดพลาดกันทั้งโลก ยกเว้นก็แต่ในประเทศสารขัณฑ์ชื่อ "ไทย" ที่ยกย่องแต่เพียงคำตอบที่ถูกต้อง ในมุมใด ๆ มุมเดียว  ผมพูดเสมอเป็นวลีติดตัวว่า การถูกผิมีแต่เพียงในข้อสอบ และการสอนของครูอาจารย์รุ่นโบราณ ในชีวิตจริงนั้น มีเพียง ใช่ ไม่ใช่ เหมาะสม ไม่เหมาะสม ซึ่งขึ้นแต่กาลเวลา ปัจจัยแวดล้อม อิทธิพลทางการเมือง หรือค่านิยมในสังคมหนึ่ง ๆ เท่านั้น ฯลฯ  ผมพบว่าเด็กไทยไม่กล้าทดลอง เพราะว่ากลัวจะโดนตำหนิว่า โง่ หรือ ไม่เก่ง เราได้พลาดจากการทำซ้ำระบบการศึกษาห่วยๆ นี้มาหายสิบปี ถึงเวลาที่จะต้องแสดงทรรศนะว่า การทำผิด พลาด สามารถทำได้ และเป็นประโยชน์เมื่อความผิดพลาดนั้น ถูก "เรียนรู้" ถึงสาเหตุ และหาทางแก้ไขความผิดพลาดไม่ให้เกิดขึ้นในปัจจัยแวดล้อมเดิม
  • ความไม่กล้า ขาดทักษะในการนำเสนอ ทั้ง ๆ ที่มีความรู้ความเข้าใจ สิ่งที่เหมือนกัน คือ "รู้" แต่ ไม่สามารถแสดงออกผ่านการ "นำเสนอ" ได้ ซึ่งผมจะบอกน้อง ๆ เสมอว่า "นี่คือความห่วยที่ต้องแก้ไข"  หากเรามีความรู้ ความเข้าใจ "มีของ" แต่เราพูดไม่เป็น นำเสนอไม่ได้ ความรู้ ความเข้าใจ "ของ" เหล่านั้น ไร้ค่าทันที  คนไทยเป็นชาติที่กลัวการพูดในที่สาธารณะ และการพูดในทีสาธารณะเป็ฯความกลัวระดับต้น ๆ ของคนทั้งโลก แต่ทว่า ในการจัดการศึกษาในหลายประเทศนั้น เขาพยายามเสริมสร้างทักษะนี้ให้กับคนของเขา ส่วนในประเทศของเรา ครูอาจารย์เองก็ไม่ได้มีทักษะนี้ และ สอบเลี่ยงบาลีบอกว่ามีเด็กจำนวนมากในชั้นเรียน จึงไม่สามารถ Enchance Skill นี้ให้เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ยังไม่รวม การนำเสนอด้วยภาษาอังกฤษ  ในเวที ที่ฮ่องกง เยาวชนไทย 10 คน ได้เห็นว่า ทักษะในการนำเสนอของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับเขานั้น แตกต่างกัน ทั้งความสามารถด้านภาษา ท่วงท่า น้ำเสียง ลีลา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นความเหมือนที่พบตั้งแต่ มหาลัยอันดับท๊อปทั้งที่คิดไปเอง เชื่อไปเอง จนกระทั่งถึงมหาลัยที่มีคนสามัญเดินดินกินข้าว ร่วมดกัน ภาคการศึกษาต้องปรับการเรียนการสอน จาก สอนให้จำ สอนให้ฟัง สอนให้พูดตามได้  เป็นเห็นแจ้ง เห็นต่าง แสดงทรรศนะ เหตุผล  และเปิดปากให้โอกาสคนไทยได้เพิ่มทักษะนี้เสียใน Generation นี้
​
         ในงาน MonsoonSIM Conference ที่จัดปีละครั้ง ผมจะมีโอกาสที่จะได้พบกับ Lecturers จากนานา ๆ ประเทศ ผมก็เห็นความเหมืนอในความที่เราต่างกันทั้งในวิชาที่สอน ประเทศถินที่อยู่ วัฒนธรรม ฯลฯ ดังนี้
  • เราพบว่า เยาวชนร่วม Generation นี้มีพฤติกรรมในชั้นเรียนที่ไม่แตกต่างกัน ก่อนที่ผมเคยเชื่อว่า เด็กฮ่องกง สิงตโปร์ จะมีวินัยมากกว่า เด็กไทย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ทว่า ข้อสันนิษฐานนี้ก็ไม่แตกต่างกัน เขาโตมาในกระบวนการเลี้ยงดูจากคน Generation เดียวกันมีเบ้าหลอม ประสบการณ์คล้าย ๆ กัน  พบว่า มีแนวโฯ้มที่เยาวชนนรุ่นนี้จะสมาธิสั้นเหมือนกัน มีวินัยความรับผิดชอบในระดับใกล้เคียงกัน (ตามการคัดเลือกที่ไม่ชอบธรรมในระบบการศึกษาเหมือนกัน ทำให้กลุ่มเยาวชนที่ที่มาเดียวกัน มักจะมีที่ไปลักษณะเดียวกัน) 
  • ผมพบเองว่า อาจารย์มืออาชีพมีจำนวนน้อยลง ในหลาย ๆ ประเทศ พบปัญหาภาระงานของอาจารย์พอ ๆ กัน มีข้อกำหนดเช้นเดียวกัน และมีส่วนน้อยที่ยังมุ่งหวังประโยชน์แก่นักศึกษาเป็นสำคัญ เหมือนๆ กัน ต่อคำถามที่ว่า หากมีกิจกรรม หรือสิ่งที่น่าสนใจ ที่จะต้องหากลุ่มอาจารย์มาร่วมกันเพื่อประโยชน์กับนักศึกษา ก็จะหาได้ยากพอ ๆ กันในทุกที่ทุกมหาลัย 
        ผมขอจบหัวข้อนี้ไว้ก่อนที่จะเกินเลย และ "หลุด" ในสิ่งที่ไม่ควรนำเสนอแต่เพียงเท่านี้ไว้ก่อน 
7) สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
       หัวข้อนี้เขียนไว้เพื่อแบ่งปันประสบการณ์พิเศษ ซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้นอีก ในการแข่งขัน HK ERMC 2019 เป็นช่วงที่ ฮ่องกงอยู่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง มีการประท้วงที่ลุกลามบานปลายจนถึงปัจจุบัน กว่า 8 เดือนแล้ว ก็ยังไม่ยุติ ทว่าในช่วงการแข่งขัน เดือนสิงหาคม 2562  ในวันท้าย ๆ ของการเดินทางนั้น คณะเดินทาง 14 ชีวิต ที่นำโดยผม ได้เจอประสบการณ์การปิดสนามบินฮ่องกง ซึ่งเป็นที่มาของหัวข้อนี้คือ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดเกิดปัญหา ซึ่งเราก็ผ่านกันมาด้วยสติ และ Team Work จากผมและอาจารย์ที่ร่วมเดินทาง ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน support ซึ่งกันและกัน เติมเต็มกัน และคงเป็นตัวอย่างให้เยาวชนอีก 10 คนเห็นว่าจะต้องประคองสติ และตัดสินใจบนข้อมูล และประสบการณ์ที่มี เพื่อผ่านอุปสรรคไป ผมเชื่อมั่นว่า ถึงแม้นว่าจะไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการมรสติ แก้ปัญหา แต่ก็คงเป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ เห็นว่า จะต้องดำเนินการตัดสินใจ ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไร ส่วนรายละเอียดนั้นไม่ขอเล่า เพราะว่าจะต้องเก็บเอาไว้ Talk Show น่าจะสนุกกว่า
      ทั้งหมดนี่คือ การแบ่งปันประสบการณ์จากฮ่องกง และในหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมา หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ใครก็ตาม ที่อ่านระหว่างบรรทัด อ่านตามตัวอักษร เปิดใจ นำสิ่งทีี่ดีในบทความนี้ไปปรับใช้ และไม่ทำตามในสิ่งที่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ตามหลักการ "อะไรดีดีก็เก็บ อะไรไม่ดีก็โยนทิ้งไป"  แล้วผมจะหาโอกาสมาแบ่งปันประสบการณ์ครั้งใหม่ ใน 2020 เพราะว่า ปีนี้ International Competition จะกว้างไกลขึ้น มีประเทศใหม่ ๆ มีคนใหม่ ๆ ให้เรียนรู้มากขึ้น มีเยาวชนกลุ่มใหม่ บนตัวแปรที่ท้าทายใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงอาจเจ็บปวดหรือดีก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ เมื่อเราเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ เราจะได้ผลลัพท์ที่ต่างออกไปเสมอ และเราต้องหมั่น "เปลี่ยนแปลง" เพราะว่าโลกหมุนเร็วกว่าเดิม อย่าเป็นคนไทย สถาบันการศึกษาไทย ที่เห็นโลกเปลี่ยนและเชื่อว่า ความมั่นคง ชื่อเสียง ที่สร้างมาเองในอดีตจะเป็นเกราะป้องกันการเปลี่ยนแปลงได้ รู้ตัวอีกที ก็เปลี่ยนแปลงไม่ทัน หรือ สายเกินแก้ 
0 Comments



Leave a Reply.

Picture
Picture
Picture
Picture

MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand