| ไฟล์กระกอบ (PDF) เรื่อง Education Transformation เพื่อประกอบบทความ |
ปัญหานี้คนชั้นกลาง ชั้นสูงอาจะใช้เงินเลือกทางรอดได้ แต่ได้ผลจริงไหม ประสบการณ์ของท่านคงเป็นคำตอบที่ดี แต่ ท่านหนีออกจากสังคมแบบนี้ได้ไหม มีอะไรที่การันตีว่าลูกหลานของท่าน ซึ่งได้สิ่งพิเศษจากท่านในระบบการศึกษา จะอยู่ในสังคมที่ภาพรวมเป็นแบบเดิม"
ผู้เขียนตระหนักดีว่าผู้เขียนเองมีปัญหาเรื่องความลำเอียงในกรณีเมื่อพูดถึงเรื่อง Mindset (หากจะให้ผู้เขียนแปลเป็นไทย จะขอใช้คำว่า "จิตลักษณะ" แต่ขอทับศัพท์ว่า Mindset ในบทความแบบพิงวิชาการ แต่อิงความรู้สึกนี้) เพราะว่าจากประสบการณ์ในภาคการศึกษาที่คลุกคลีมาจากเนื้องานที่เกี่ยวข้อง และจนกลายมาเป็นงานหลักของผู้เขียนนั้น ไม่ "โน้มเอียง" ก็ไม่ได้ ผู้เขียนจึงเริ่มจาก Mindset ของตัวเอง จากการมองโลกในแง่ร้าย เป็นพยายามมองด้วยใจเป็นกลาง โดยใช้แนวทางของประวัติศาสตร์ซึ่งผู้เขียนสำเร็จการศึกษามาทางด้านนี้ ผู้เขียนจะได้สะท้อน "จิคลักษณะ" ที่ควรมี หรือควรสร้าง แทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ จิตลักษณะ หรือ วัฒนธรรมเดิมของการศึกษา อย่างไรก็ตามคงจะต้องสอดแทรกความเห็นส่วนตัว หรือประสบการณ์ตรงไว้บ้าง เพื่อให้เห็นว่ามีที่มาที่ไปในจิตลักษณะที่ควรมีหรือควรสร้างใหม่อย่างไร
สิ่งที่เป็นปัญหาในการศึกษาในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการประสบการณ์ตรงในประเทศไทย (ผ่านฐานะของ ผู้ประสานงานในโครงการ Digital Divide ซึ่ง Cisco Systems ประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา ในโครงการพิเศษหลังจากสึนามิ ซึ่งเดินไปทางไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทุกภูมิภาคในประเทศไทย พบเจอนักเรียนและครูมากมาย หรือในฐานะที่เป็น MonsoonSIM Certified Trainer ซึ่งนำกิจกรรมการแข่งขัน TH ERM Challenge มาจัดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปัจจุบัน) และรวมไปถึงประสบการณ์จากการสนทนากับเพื่อนต่างประเทศ ในหลากโอกาส เข้าร่วมการสัมมนาต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ปัญหาสำคัญที่เป็นเสมือนกับประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่ร่วมกัน คือ ปัญหาด้าน MINDSET
เรื่องการศึกษาเป็นปัญหาที่ซับซ้อน เหมือนดังไหมพรมที่โยนให้แมวเล่น แล้วท่านพยายามที่จะแก้ไขให้เป็นไหมพรมที่พน้อมเอาไปใช้งานอีกครั้ง หากจะต้องสะท้อนปัญหาทุกด้านอาจจะได้มหากาพย์ที่ยาวดั่งอีเลียด-โอดิสซี่ ก็ต้องค่อย ๆ ช่วยกันไป ประสบการณ์ผู้เขียนได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัสมา ก็มีหน้าที่ที่จะถ่ายทอดในมุมมอง แต่ถ้าผู้อ่านจะเอาแต่ชนะคะคานความเห็น ผมแนะนำว่าอย่างเสียเวลาอ่านครับ เอาเวลาไปหายใจทิ้งจะมีประโยชน์กับท่านมากกว่า
หมายเหตุ:
- ผู้เขียนทราบถึงความเสี่ยงหลังจากที่บทความนี้ถูกส่งให้เพื่อน ๆ และคนรู้จักได้อ่าน ผู้เขียนต้องการส่งสัญญานว่า คนธรรมดาก็พูดเรื่องการศึกษาได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นด๊อกเตอร์ หรือมีชื่อเสียงอะไร และการวิพาก์วิจารณ์ต่อบทความนี้เป็นธรรมดาของโลก ผู้เขียนได้วิพากษ์แต่ให้แนวทางตามที่ปัญญา และเวลา จะอำนวย มิได้มีแต่ความเผ็ดร้อน ผู้เขียนหวังว่าคำวิพาก์วิจารณ์ของท่านทั้งหลายต่อบทความนี้จะเพิ่มเติมโซลูชั่นในฐานะ Stakeholder ของสังคมไทย
- ขอขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ทจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อประกอบความสมบูรณ์ของบทความนี้
- บางหัวข้อเกี่ยวข้องกับภาพรวมของการศึกษาทุกระดับ, บางหัวข้อเน้นหนักที่ Higher Education ที่ปรับเปลี่ยนได้ยากกกกกกกกกกก มากกว่าระดับ Fundamental
เราเผชิญกับปัญหาด้านจิตลักษณะแบบใดอยู่บ้างในการศึกษา (เฉพาะกรณีสังคมไทย)
Mindset จะต้องเปลี่ยนไปตามกาลเวลา และนับถือซึ่งส่วนเกยจากฎแห่งเวลาและ Generation ที่แตกต่างใช้ชีวิตร่วมกัน ทว่า Mindset ที่สร้างสรรค์ควรเก็บ รักษา ส่งต่อ ส่วน Mindset ที่รังแต่จะสร้างปัญหา ก็ควรร่วมกันกำจัดออกไป การเข้าใจในเรื่องนี้นั้น ต้องเข้าใจว่า ความเชื่อ ที่เกิดจาก mondset แง่ร้ายนั้น ก็ควรได้รับการประณีประนอมจากคนต่างรุ่นกันด้วย ต่อไปนี้จะเป็น Mindset ซึ่งพบเห็นในสังคมเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในประเทศไทย ตามหัวข้อหลักเท่านั้น ซึ่งแน่นอน ผมไม่ได้มองว่าการเปลี่ยนแปลง mindset จะต้องทำที่กลุ่มนักเรียน หรือเยาวชนเท่านั้น มันจะไม่มีความสำเร็จในเชิง Social Impact เลย หากว่าไม่ได้เป็นภาระกิจระหว่าง Stakeholder ทั้งหมด และระหว่าง Generation โดยทั้งหมดนี้ยืนยันกับท่านผู้อ่านอีกครั้งว่าเป็นความสุ่มเสี่ยงต่อสังคมใจแคบของไทยมาก ที่จะต้องมองผู้เขียนในทางร้าย แต่ไหน ๆ ก็เป็นตัวร้ายมาตลอด จะร้ายอีกซักครั้งก็ไม่มีปัญหาใด ๆ โดย ผมจะแสดงทัศนะเรื่อง Mindset ของ 6 stakeholders กับ 4 Generations (ณ ปี 2018 จะมี BB, X, Y, Z) ที่จะต้องลงมือพร้อมกัน ผิดพลาด เรียนรู้ ให้กำลังใจกันไปในระหว่างที่เปลี่ยนแปลง (โปรดดูภาพด้านบนประกอบ)
- เริ่มต้นที่ Mindset มรดกจากอาขยายที่ต้องปรับตามกาลสมัย ความรู้ คู่ปัญญา และประสบการณ์ จะช่วยให้รอด ความรู้นั้นล้าสมัยได้ และโลกปัจจุบันความรู้ก็หาได้จากทุกที่ เข้าถึงได้ทุกเวลา
- ผมเป็นคนที่เกิดในช่วงปลาย Gen X สภาพสังคมยังเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงช้า บริบทของกอบและวิธีคิดของสังคมเป็นมรดกมาจากคนรุ่น BB ในช่วงประถมศึกษา (ตรงกับภาพยนตร์ในยุคแฟนฉัน ซึ่งยังคงทันทีวีขาวดำ พัดลมธานินท์ และห้างไทยไดมารู) ในช่วงก่อนทานอาหารเที่ยง จะต้องมีการท่องอาขยาน ซึ่งมันดีในยุคผม มันหล่อหลอมให้คนยุคผมต้องตั้งใจเรียน ต้องขยันต้องอดทน (ภาพซ้าย) แต่ในกาลสมัยเช่นปัจจุบัน สังคมเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีเปลี่ยนไว "ถ้อยความ" ของอาขยานเป็น Mindset ที่ต้องเปลี่ยน ผมจบการศึกษาด้านประวัติสาสตร์ ผมมั่นใจว่าของเก่าดีอย่างไร ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ดังนั้นขอให้ท่านที่อ่านมาถึงบัดนี้ ที่จะถาโถมประเด็นดราม่าว่า ไม่เข้าใจของโบราณที่ดี ให้ตกไปนะครับ
"เด็กเอ๋ย เด็กน้อย (และคนอ่อนคนเฒ่า) ความรู้ และประสบการ์ณยังด้อยเร่งค้นหา เมื่อเติบใหญ่เจ้าจะได้มีปัญญา เป็นเครื่องพา ชีพรอดอย่างปลอดภัย"
ความรู้ในสมัยก่อน การได้มาซึ่งความรู้มีจำกัด บ้างมากจากการสอนจากคุรุ (Guru) หรือ กูรู (อ่านแบบไทย) บ้างมาจากการสังเกตุแอบเรียน ที่เรียกว่าครูพักลักจำ หรือ บ้างมากจาหนังสือ ซึ่งเป็นของหากยาก และแพงมากในดั่งในยุค BB ด้วยวิทยาการการพิมพ์นั้น มีขั้นตอนยุ่งยากและต้นทุนสูง คนที่มีความรู้หนังสือก็จำกัด (ผมยังมีปัญหากับแม่เวลาทิ้งนิตยสารเก่า ๆ เพราะว่าแม่พิจารณาว่าเป็นหนังสือ ยุคของท่านมันหายาก มันแพง ท่านไม่ได้เรียนสูงดั่งใจ) สมัยนี้ความรู้ก็ยังจำเป็น ทว่าความรู้สมัยนี้ บางเรื่องอายุมันสั้น ตกสมัยได้ เพราะความเปลี่ยนแปลงนั้นมีอัตราเร่งที่เร็วกว่า (ที่วัยรุ่นในยุค 2018 ใช้คำว่า "วาร์ป") ความรู้ที่สอนกันในสถาบันการศึกษานั้นเช่นกัน กว่าที่ความรู้จะถูกบรรจุในหลักสูตร ตามมารจรการของหน่วยงานรัฐนั้น จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกว่าจะเชี่ยวชาญจนมาสอนได้ และบรรจุในหลักสูตรนั้น ตวามรู้จะล้าสมัยทันทีเมื่อนักศึกษาจบการศึกษาในรุ่นนั้น ๆ และที่ร้ายกว่า คือ บางชุดความรู้ก้ำกึ่งระหว่าง Fundamental Knowledge กับ Interval Knowledge in certain technology/Changes เป็นความรู้เฉพาะยุคสมัยหนึ่ง ๆ อาจไม่ได้ถูกปรับหรือถอดออกจากการเรียนการสอนในหลักสูตรเลย
ในยุคสมัย Internet และ Cloud platform เช่นทุกวันนี้ ความรู้ไม่ได้หายาก เข้าถึงยาก แต่มันมีระดับของมัน และความยากเปลี่ยนไปอย฿่ที่จะเชือเชื่อถือข้อมูลใดต่างหาก หากเยาวชน หรือ แม้กระทั่ง "คนอ่อนคนเฒ่า" เร่งค้นหา ก็จะได้ความรู้มาไม่ยาก และนั่น คือ theme ที่ UN บอกโลกว่า Live Long Learning
ผมใส่ความว่า "ประสบการณ์" ลงไปใน Neo-อาขยาน (ซึ่งไม่ได้มีสัมผัสที่ถูกต้องถามภาษา ซึ่งขออภัยครูจันท์พิมพ์ที่เคยสั่งสอนเอาไว้) เพราะว่า วิธีการหาความรู้ซึ่งจะเข้าใจ และมีโอกาสได้ทักษะเพิ่มด้วย สิ่งนี้ในโลกฝรั่งเขาเรียกว่า "Experiential Learning" ซึ่งผมแปลว่า "ความรู้จากประสบการณ์ประจักษ์ แปลว่า ลองแล้วเห็นผลจึงเรียนรู้ ซึ่งแตกต่างจาก Typical Teaching Style ที่พบในสถาบันการศึกษาที่บุคคลากรยังไม่ปรับตัว วิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่ คนอ่อนคนเฒ่า จะเป็น Active Learner ได้ตลอดไป สร้างและเข้าใจความรู้ได้ โดยไม่ต้องเข้าจว่ามันคือ ทฤษฎี หรือชื่อทางวิชาการว่าอะไร
วรรคต่อมาของเดิมบอกว่า เมื่อเติบใหญ่เจ้าจะได้มีวิชา เพราะว่าสมัยก่อน อาชีพ ขึ้นอยู่กับวิชาเฉพาะ ไม่มีความหลากหลายเท่าในปัจจุบัน จนมีอาขยานอีกบทรับกันว่า "วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่เมืองไกล ต้องยากลำบากไป จึงจะได้สินค้ามา" เพื่อสอนว่า เมื่อเราแลกเปลี่ยนความอุตสาหะ แลวจะได้วิชา อย่างที่เกริ่นไว้ในวรรคก่อนว่า "ความรู้" หรือ "วิช่า" สมัยนี้ Expire ได้ เปลี่ยนแปลงตามบริบทที่เปลี่ยนไป จึงขอเปลี่ยนอาขยานว่า "เมื่อเติบให้เจ้าจะได้มีปัญญา เป็นเครื่องพาชีพรอดอย่างปลอดภัย" สำหรับผมแล้วนั้น การโตมามีวิชาเดียวในปัจจุบันจะอยู่ไม่รอด แต่หากมีปัญญา ที่จะเปลี่ยน ได้ ปรับได้ ก็จะพาให้ชีพรอดอย่างปลอดภัย จริงๆ แล้ว เราศึกษา เพื่อให้เรามีปัญญาให้สามารถ แลกเปลี่ยนมาเป็นเงินทอง ในการเลี้ยงชีพ ให้เรามีปัญญาในการปรับตัว วิเคราะห์แก้ไขปัญหา ในปี 2017 ผมจึงจัด workshop แล้วใช้ชื่อว่า Suvival Curriculum ด้วยที่มาเช่นนี้
ดังนั้นประเด็นใน Mindset แรกนี้ ถ้าเราเปลี่ยน เราจะพบว่า ความรู้ในสมัยนี้ หาได้หาง่าย มีวิธีเรียนรู้อีกหลายแบบ และทุกคนควรเป็น Active Leaner
เปลี่ยน Mindset เรื่อง เรียนเก่งๆ เรียนสูง ๆ จะได้เป็นเจ้าคนนายคน สู่ ให้เก่งในเรื่องวิธีที่จะเรียนรู้ ให้ "ลงมือทำเก่ง" ใช้ความรู้ "ให้เป็นประโยชน์" จะเป็นผู้นำ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม หรือเป็นนายคนที่คนอื่นให้ความเคารพ
ทุกเรื่องมีทั้งแง่ดี และไม่ดี นะครับ ผมว่าท่านผู้อ่านมาถึงจุดนี้เข้าใจแล้วว่าผมจะสื่อสารอะไร เพราะว่าคนที่ต่อต้านน่าจะเลิกอ่านพร้อมคำสาบแช่งตั้งแต่วรรคที่สองแล้วครับ
เหตุใดโบราณถึงบอกว่า การเรียนเก่ง ๆ เรียนสูง ๆ จะได้เป็นเจ้าคนนายคน ผู้อ่านต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมในเชิงสังคมสมัยก่อน เช่น ในสังคมอยุธยาผู้หญิงไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ ได้เรียนแต่เรื่องการบ้านการเรือน ถึงขนาดมีคำเปรียบเปรยว่าผู้หญิงเป็นควายผู้ชายเป็นคน เด็กผู้ชายก็ไม่ได้เรียนทุกคน ได้เรียนเฉพาะคนมีฐานะ โดยส่วนมากเรียนในวัด ลูกขุนน้ำขุนนางจึงได้เรียนในวัดและในวัง คนที่มีความรู้ เรียนสูง ๆ จึงได้เป็น ขุนนางทำงานรับใช้ในรั้ววัง และเมื่อได้บรรดาศักดิ์ก็จะไพร่ ทาสรับใช้ เป็นเช่นนั้น ในสังคมใัศนธรรมจีนก็คล้าย ๆ กัน การได้เรียนสูงๆ จึงเป็นเจ้าคนนายคนด้วยเพราะเหตุที่มาเช่นนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 การศึกษาเปลี่ยนแปลงไปมาก ในพระราชสำนัก พระเข้าลูกเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าต่าง ๆ ได้รับการศึกษาจากเมืองนอก ตั้งแต่ปีนัง สิงคโปร์ ไปจนถึง ยุโรป ระบบราชการก็เปลี่ยนแปลง เกิดมีโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และจนกระทั่งมีโรงเรียนสามัญตามมา ซึ่งแน่นอนว่า ในยุคแรกมีเพียงคนไทยที่เรียน สายจีน และชาติพันธ์อื่น ๆ เพิ่งจะเริ่มมีความสามารถเข้าเรียนได้ ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกเป็นต้นมา และแน่นอน มีเฉพาะคนที่เรียนสูง ๆ เท่านั้น ที่ได้เป็นเจ้าคนนายคน
Mindset นี้มีที่มาดังกล่าวแะลอยู่ในสังคมไทยมาจนถึงคราวต้องเลิก หรือปรับเปลี่ยนใหม่ ในปัจจุบันเมื่อระบบการศึกษามีมากขึ้น ไม่ทั่วถึง และไม่เท่าเที่ยม ทว่่าคนส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับจนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 มาแล้วอย่างน้อย 20 กว่าปี สิ่งที่ต้องแก้ไข เพราะว่าว่าเรียนสูง ๆ ในบริบทไทยที่ไม่ถูกต้องนัก แปลว่าให้เรียนเยอะ ๆ ส่วนเรียนเก่ง ๆ นั้น ดันไปวัที่ผลของการสอบ ซึ่งข้อสอบในประเทศไทย ในยุคก่อน GAT PAT ที่แสนจะมีปัญหา กลายเป็นข้อสอบที่อาศัยความจำเสียส่วนมาก สิ่งที่ต้องตีความใหม่เป็น New Mindset คือ เรียนอะไรให้สูง เรียนอย่างไรให้จึงเก่ง หรือไปเก่งเรื่องอะไรในการเรียน
เรียน "สูง" หมายถึง ให้มีความเข้าใจจาก พื้นฐานที่แน่น และเพิ่มระดับไปจนถึงขั้น "สูง" คือ ใช้ความรู้มาแก้ปัญหาได้ถูกต้อง เลือกปรับเปลี่ยนความรู้ และทฤษฎีทีศึกษาและเกิดขึ้นจาก Closed Environment มาสู่การเลือกใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์
เรียนเก่ง ให้เปลี่ยนเป็น เก่งที่จะหาวิธีเรียน เก่งที่จะเปลี่ยนเรื่องที่เรียนไปใช้ประโยชน์ในงานได้ ให้เอาสิ่งที่รู้แบ่งปัน หรือสร้างประโยชน์ให้กับสังคม
ตอนมัธยมปลาย ผมมีโอกาสได้อ่านกลอนบททหนึ่ง ซึ่งเป็นงานในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับใบไม้ที่หายไปของคุณ จิรนันท์ พิตรปรีชา โดยมีบทที่อ่านครั้งแรก ก็ติดใจ เขีขยวไว้ว่า
" ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย
ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว"
เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน (2511)
วิทยากร เชียงกูล
ในวันนั้นผมเข้าใจความหมายของมัน แต่พอโตขึ้นได้กระดาษแผ่นนั้นมาครอบครอง ผมก็ยิ่งเข้าใจเพิ่มเติมขึ้นอีก พอเข้าสู่วัยทำงาน จนวันหนึ่งมาขายโซลูชั่นเพื่อการศึกษา ก็เข้าใจเพิ่มเติม สิ่งที่สะท้อนความจริง มากว่า 50 ปี (2561) ยังคงเป็นเรื่องยืนยันว่า Mindset สังคมนิยมปริญญา และเกรด ยังวนเวียนอยู่ และรอการแก้ไขให้ถูกต้อง ในส่วนนีเป็นเรื่องยาว ที่จะพยายามตัดให้สั้นลงเท่าที่จะทำได้
ชวนกันลดโลกร้อน ลดสังคมหลงใหลในกระดาษแผ่นเดียว ให้จบลงที่ "ความสามารถ"
หากย้อนกลับไปในยุคที่ประเทศไทยเริ่มมีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่เรียนกว่ามหาวิทยาลัยนั้น ก็ย้อนกลับไปได้ราว 100 ปี เศษ ซึ่งผู้อ่านต้องเข้าใจสภาพสังคมต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ซึ่งการศึกษาในแบบมาตรฐานกำลังก่อร่างสร้างตัว ในสมัยล้นเกล้รัชกาลที่ 6 เกิดระบบโรงเรียนในระบบปฐมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งแน่นอนว่า อุดมศึกษาก็เกิดขึ้นตามมา ทว่าสำหรับอุดมศึกษานั้น จำกัดวงมาก จนกระทั่งมีพระราชบัญญัตในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยน้อยใหญ่ขึ้นไล่หลังตามมา่ หลังจากทึ่คนชั้นสูงของไทยเริ่มกลับมาจากการศึกษาในต่างประเทศ การจะได้มาซึ่งปริญญาในช่วงนั้น มีจำนวนน้อยมาก เมื่อมีน้อยจึงเป็นของที่นิยมเชิดชูกัน
คล้อยหลังประมาณราว 80 ปี ก่อน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และสยามประเทศเป็น ไทยในระบอบการปกครองประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยแรกเริ่มที่เรียกตนว่าตลาดวิชาเกิดขึ้น เกิดเป็นความสามารถของคนทั่วไปใน Higher Education ลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเล ลูกขุนนาง มีโอกาสเขาเข้าเรียน บ้างได้ทุนจากหลวงส่งไปเพื่อให้กลับมาเป็นอาจารย์ สิบทอดวิชาต่อกันมา จำนวนที่เพิ่มขึ้นก็มิได้มากมาย เพราะว่ามีระบบการเรียนในสายวิชาชีพ (อาชีวะศึกษา; Vocational Education) ซึ่งสอดคล้องกับช่วงที่ประเทศเิดประตูรับการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงต้องการบุคคลากรในภาคอุตสาหกรรม
นั่นเป็นที่มาของเรื่องที่อาจจะใช้คำอธิบายเชิงเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ได้ เมื่อมีน้อย จึงมีค่า และเกิดเป็น Mindset ประสานกับ เรียงสูง ๆ เรียนเก่ง ๆ จะได้เป็นเจ้าคนนายคน เพราะว่า ระดับหัวหน้างานโดยเฉพาะในฝ่ายปกครองนั้น นอจากจะนับกันที่เส้นสาย ตระกูล ในช่วงต่อมาก็สืบทอดมาถึงสถาบันและสีต่าง ๆ Mindset เรื่องปริญยา คือ ใบเบิกทาง ใบแสดงวุฒิการศึกษาขั้นสูง ก็เกิดขึ้นในช่วงราว 60 ปีมานี่เอง (บทความนี้เขียนในปี 2561) ท่านจะเห็นว่า ยังมีมิติด้านพิธีกรรมในงานพระราชพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านให้ความสำคัญ เพราะว่า ขณะนั้นประเทศต้องการคนมาพัฒนา จึงเป็นอีกแรงส่งให้ Mindset นี้หยั่งรากในสังคมไทย ซึ่งดี และเหมาะสมในห้วงเวลานั้น ท่านจะวัดได้จากการที่ทุกบ้านที่ลูกหลานรับปริญญา จะต้องมีรูปรับพระราชทานปริญญาบัตร และใบปริญญาแปะฝาบ้านไว้ทุกหัวระแหงไป
ในยุค 60 ปีที่ผ่านมา จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และ แน่นอนว่า จำนวนสถาบันอุดมศึกษาเพืมขึ้นด้วย และแรงเสริมของการเกิดขึ้นของ Private University หรือมหาวิทยาลัยเอกชนที่ทวีจำนวนมากขึ้น บริษัทห้างร้านภาคเอกชน มีทางเลือกรับนักศึกษา และใช้เกณฑ์ของปริญญาเป็นหนึ่งในเกณฑ์ตัดสิน เพราะเชื่อว่า มีความรู้เพียงพอในการทำงานในขณะนั้น
ทว่า ในยุค 20-30 ปี จากปัจจุบัน (2018) เป็นยุคที่กระแสของการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป สังคมให้ค่าแก่ ใบปริญญา มากขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น ค่านิยมของสังคม บอกไว้ว่า ต้องทำงานนั่งโต๊ะ ปรากฎการณ์เช่นนี้ใต่างประเทศเรียกว่า Blue collar and White Collar ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองไทยเช่นกัน หลังจากเกิดที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ใครๆ ก็จบปริญญาตรี เกิดเป็นสภาวะปริญญาเฟ้อ ทุกคนปักธงมุ่งไปสู่ ปริญญาโท ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาก็ต่างแข่งขันกัน วัดค่าความสำเร็จจากการเปิดหลักสูตรตำนวนมากมาย เพิ่มจำนวนบัณฑิต มหาบัณฑิต และในปัจจุบันคือ สภาวะดถษฎีบัณฑิตล้นตลาด ปริญญามีหลายประเภท ซึ่งด้อยค่าลงไปเมื่อเป็น Mass Production และแน่นอน คุณภาพเช่นกัน
ในยุคราว 30 ปี ก่อน มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ตลาดของ IT เติบโตมาก จนมีตำแหน่งงานที่เรียกว่า "Manager" เกร่อไปหมด ในหนึ่งออฟฟิศ หากฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วปาออกไป จะพบว่ากระดาษจะต้องไปติดที่หัว Manager ทั้งสิ้น เพราะว่า แทบจะทุกคนเป็น Manager กันหมด ฉันใดก็ฉันนั้น กับ "ปริญญา" ของไทย
ความด้อยคุณค่า ไม่ได้เกิดจาก การที่ปริญญามีจำนวนที่มาก ทว่าคุณภาพของบัณฑฺตลดลง และเร่งผลิตบัณฑิต รวมไปถึงเรื่องของความอยู่รอดของสถาบันการศึกษาที่เน้นการสร้างอาคารสถานที่ในยุคที่ผ่านมา และปัจจุบันจำนวนนักศึกษาลดลง แต่าค่าใช้จ่ายยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา มีตัวแปรหลักกคือ การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยในกำกับของภาครัฐ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัว เกิดเป็นโครงการภาคพิเศษ ภาคพิสดาร แข่งขันกับมหาวิทยาลัยเอกชน เกิดหลักสูตรจ่ายครบจบแน่ (หลักสูตรจำนวนมาก ใช้การเข้าชื่อของผู้มีชื่อ แต่ไม่แน่ใจว่ามีวิชา และวิจารณญานหรือไม่ เพราะว่า ให้สถาบันการศึกษายืมชื่อ กันไปเปิด ในช่วงแรกก็เข้าไปมีบทบาทในการจัดตั้งหลักสูตร ในปีหลัง ๆ หายสาบสูญไปจากสถาบัน แต่ชื่อก็ยังคงอยู่) ซึ่งในบางสถาบันนั้น มีให้บริการจนถึงระดับดุษฎีบัณฑิตด้วยซ้ำไป ที่ยังมีมาตรฐานก็คงพอมีอยู่บ้าง ทว่า จำนวนน้อยเกินกว่า "ดีกรี" ที่ "ตรีตรา" ไว้ใน "ปริญญา" ทำให้ปริญญานั้น เสื่อมไปตามกาลเวลา (ทั้งนี้ยังไม่รวมหลักสูครที่ไม่ได้เน้นการเพิ่มปริมาณของตรรกะ การสร้างแนวคิด แต่เน้นการสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นหลักสูตรดัง ๆ ที่ออกจากสถาบันการศึกษาของภาครัฐ หรือหน่วยงานองรัฐเองเสียด้วซ้ำ)
ต่อคำถามที่ว่าแล้ว Mindset นี้ะเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในทรรศนะของผู้เขียน เชื่อว่า เฉพาะในสังคมไทย ปรากฎกาณณ์บ้าปริญญาจะยังอยู่ไปอีกราว 10-15 ปี แล้วจะถึงคราวที่ ปริญญา และการศึกษาในระบบ อาจไม่จำเป็นสำหรับสังคมในราวสองทศวรรษข้างหน้า เป็นการก้าวตามพัฒนาการของการวิวัฒน์ด้านการศึกษาที่เกิดขึ้นในประทศตะวันตก ในรอบ 10-15 ปี จากนี้ สถาบันการศึกษาจะลดจำนวนลงในประเทศไทย สถาบันที่เหลืออยู่จะเริ่มเปลี่ยนโครงสร้างและวิธีคิด เป็นการศึกษาที่ไม่จำกัดอายุ เป็นการศึกษาที่เลือกเรียนในวิชาที่สนใจ เป็นการศึกษาที่เรียนเพื่อผู้เรียนพัฒนาตนเอง โดยไม่ได้ผูกยึดกับปริญญาอีกต่อไป ทว่ามันจะเกิดช้าในภาคการศึกษา เพราะว่าทุกวันนี้ภาคการศึกษาเองก็พยายามปรับ "แต่รูป" เพื่อความอยู่รอด เช่น พยายามเอากระแสของเทคโนโลยีเข้ามา แล้ว "สร้างภาพ" การเปลี่ยนแปลงให้สาธษรณะเห็น ทว่า "รูปแบบ" การจัดการศึกษา "วิธีการ" "การวัดผล" "Mindset ของบุคคลากรในภาคการศึกษา" ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย เป็นการเปลี่ยนหน้ากาก และภาพประชาสัมพันธ์เพื่อหวังที่จะรักษาจำนวน
คุณภาพปริญญาตรีในเมืองไทย เทียบเท่ากับ เด็กเริ่มเดินหากวัดด้วยการทำงาน ทั้ง ๆ ที่ เมื่อจบการศึกษาและได้รับปริญญาแล้วควรอย่างยิ่งที่จะ "พร้อม" ทำงานในทันที แต่ในสภาพปัจจุบัน มีความรู้ที่ล้าสมัยในหลักสูตรก็กระท่อนกระแท่น, หากสถาบันอบรมหรือสอนด้วยซอฟต์แวร์ใด ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ จะถูกสอนมาในลักษณะของผู้ใช้งาน หากไม่ตรงกับที่เรียนที่มีประสบการณ์มา คือ ทำงานไม่ได้ เพราะว่าใช้การจำ ไม่ได้ใช้ความเข้าใจ, ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ปัญหาในส่วนของงานที่เกี่ยวจข้อง เพราะว่าถูกสอนมาในลักษณะ Silo-Based-Knowledge ส่วนการศึกษาในปริญญาโท กับกลายเป็น เพื่อให้ได้ความรู้ในมาตรฐานปริญญาตรี และเริ่มมีทักษะวิธีคิด กระบวนการแก้ปัญหา จากประสบการณ์ทำงานที่มีมากขึ้น ในกรณีที่ทำงานมาแล้วจึงไปเรียนในระดับปริญญาโท ส่วนหริญญาเอกนั้น ผู้เขียนด้อยปัญญาเกินกว่าที่จะวิจารณ์
มาถึงส่วนที่ควรสรุปในหัวข้อนี้ Mindset ที่สังคมควรเกิดมี เช่น
- ยอมรับปริญญาที่มีคุณภาพ สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบกลั่นกรอง ในหลายปีก่อน มีข้อความหลุดจากธนาคารแห่งหนึ่งเป็นหนังสือภายนที่จะไม่รับนักศึกษาจากสถาบันที่มีรายชื่อในรายการ ควรเป็นจุดเปลี่ยน ไม่ใช่ดราม่าแล้วไปใช้แรงผลักดันอื่น ๆ กดดันความจริงที่องค์กรนั้นเขาตระหนัก โดยการไปแก้ไข ภาคการศึกษาต้องรับผิด ไม่ได้รับแต่ชอบ เท่านั้น
- ปริญญา ไม่ใช่กระดาษที่บันดาลความวิเศษ สังคมต้องปรับจิตลักษณะ จากเดิมเป็น ยอมรับใน "ทักษะ" "ความสามารถมากกว่าตราที่ตี และข้อความในกระดาษ" เช่น ยอมรับในทักษะของจิตใจที่แข็งแกร่ง ปรับตัวในสภาพแวดล้อมของการกดดัน ที่เยาวชนรุ่นใหม่ไม่มี หรือขาดแคลน, ทักษะในการแก้ปัญหา และเป็นผู้เรียนรู้ ปรับใช้ได้ ทักษะนั้นวัดผลไม่ได้จากการสอบ ประสบการณ์ไม่ได้วัดจากอายุ สิ่งเหล่านี้จะต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลง
มีความน่าประหลาดใจ ในเรื่องประดาศที่ชื่อว่า "วุฒิบัตร" ในการประชุมสัมมนา ที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางคนมาเพื่อรอเอากระดาษแผ่นนี้ไป เพื่อบอกคนอื่นว่า ฉันน่าจะมีความรู้เรื่องนี้ ซึ่งปรากฎว่า หลับในห้องอบรม นั่งเล่นมือถือ มาสาย ไม่เข้าอบรมตามเวลา ซึ่งเกิดขึ้นในการอบรมภาครัฐของประเทศสารขัณฑ์
เริ่มต้นที่เกรด แต่ให้จบลงที่ "ความสามารถ"
เกรด เป็นวิธีวัดผล ที่ถูกใช้มานาน และยังอาจจะเป็นวิธีที่จะถูกใช้ต่อไป ผมไม่ได้ต่อต้านการวัดผลด้วยเกรด ตราบใดที่เกรดสามารถสะท้อนความสามารถในการปรับใช้ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาได้ และสะท้อนความเข้าใจในความรู้ มากไปกว่า การวัดผลว่า ใครสามารถจดใจได้มากกว่ากัน
แต่ปัญหาปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลด้วยการสอบ และเกรดนั้น มีจากหลายปัจจัย เช่น ในหลักสูตรเองก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้วัดผลด้วยวิธีอื่น ๆ เนื่องจาก จะต้องเอาเกรดไปใช้กับมาตรฐานอื่น ๆ เช่น ไปสอบเข้าต่อ, ไปสมัครงาน ซึ่งจะต้องประสานการแก้ไขปัญหานี้ไปทั้งระบบ, ข้อกำหนดในการจัดสอบที่โบราณคร่ำครึ (ซึ่งจะต้องไปกล่่าวอีกครั้งในส่วนจองคนกำหนดนโยบาย), จำนวนนักเรียน และนักศึกษาที่เป็นตัวแปรสำคัญให้การจัดสอบแบบอื่น เช่น ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ มีจำนวนนักเรียนต่อ Section ในวิชาเฉพาะ ยังอาจจะมากถึง 160-180 คน เนื่องจากขาดแคลนบุคคลากร หากมองในฐานะของครู อาจารย์ ก็ต้องเห็นใจที่จะต้องตรวจข้อสอบในจำนวนเท่านั้น และจะอกข้อสอบที่ยากแก่การตรวจก็ยาก นั่นเป็นสาเหตุบางประการเท่านั้น เป็นต้น
จุดประสงค์หลักที่ผมตั้งแง่กับการวัดผลด้วยเกรดนั้น คือ วิธีการต่างหากที่ไม่มีมาตรฐาน ดังตัวอย่างที่ได้พบปะกับอาจารย์จำนวนมาก ก็นำมาเสนอต่อ อาทิ
- สัดส่วนของคะแนนเก็บจากกิจกรรมอื่นๆ เช่น คะแนนเข้าห้อง จากความพยายามแก้ปัญหาเรื่องวินัยของเด็กไทย, คะแนนส่งงานทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม ซึ่งคุณภาพก็มีบ้างไม่มีบ้างตามความสนใจของนักศึกษา ซึ่งสัดส่วนของมนนั้น ทำไว้เพื่อ การันตีว่าจะมีโอกาส่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งสัดส่วนคะแนนเหล่านี้ ไม่ได้วัดผลโดยตรงกับความรู้ในวิชาเหล่านั้นเลย
- สัดส่วนของวิชาต่าง ๆ เช่น มีวิชา Boost เกรด ซึ่งวิชาเหล่านั้นมีไว้เพื่อการปรับฐานเกรดให้กลับมาในโซนที่ดีขึ้น อย่าว่าถึงความรู้ว่าได้อะไร อย่าวัดผลของความรู้นั้นว่าเปลี่ยนเป็นประโยชน์ได้ไหม อย่าวัดว่านักเรียนนักศึกษาได้ประสบการณ์อะไร เพราะว่า เป็นที่รู้กันว่า ลงให้ผ่านเป็นพอ เสียประโยชน์ทั้งในเชิงเวลา และต้นทุนทางการศึกษา
- มาตรฐานของการออกข้อสอบนั้น ที่มิอาจตรวจสอบได้ยาก เพราะว่าในระบบกปรึกษาไทย ในระบบชนชั้นทางวัฒนธรรมแบบไทย เราไม่ตรวจสอบกัน ผิดมารยาท และ เธอไม่ก้าวก่ายฉัน ฉันไม่ก้าวล่วงเธอ เป็นระบบอุปถัมภ์ในการตรวจประกันคุณภาพในบางสถาบัน หรือ ตรวจตามอักษร ไม่ได้ตรวจประสิทธิผลอะไร เพราะว่ากรรมการการตรวจสอบ เวียนกันเป็น ส่วนคณะของคนนอกนั้น ก็จ้างมา ส่วนคณะที่มาจากส่วนกลางนั้น ก็เลี้ยงน้ำร้อนน้ำชา เจรจาแป๊ะเอี่ย (ยอมๆ กันไป เรื่องน่าสะเทือนใจที่เคยได้รับผังเช่น ในวิชากลยุทธ์ของบางมหาวิทยาลัย ข้อสอบเป็นแบบปรนัย เป็นต้น
- นโยบาย และตัวชี้วัดที่ไม่เปิดโอกาสให้ครูอาจารย์ได้ทดลอง เช่น ครู และอาจารย์ที่มีจำนวนนักศึกษาสอบไม่ผ่านจำนวนมาก ก็จะถูกผู้บริหารเรียกพบ ถูกตั้งกรรมการสอบสวน ต้องทำรายงาน เพื่ออธิบาย ครูและอาจารย์ส่วนมากก็ขอหลับตาหนึ่งข้าง เพื่อจะไม่เป็นปัญหาของตน ซึ่งอะไรที่พอยอมให้ผ่านได้ ถึงแม้จะไม่ได้ตามมาตรฐานก็ดีกว่าจะเป็นปัญหาต่อมา ที่แย่ไปกว่านั้น ในระดับโรงเรียน และทุกวันนี้พ่อแม่รุ่นใหม่ของนักศึกษา นิสิตในมหาลัย หากบุตรหลานสอบไม่ผ่าน ก็จะมากดดันครูอาจาร์ยผู้สอนอีกต่างหาก
- ระบบเกรดเฟ้อ เพราะว่า หน้าตาของสถาบันการศึกษา ที่เกิดปัญหามากโดยเฉพาะในระดับโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารต้องการหน้าตา ต้องการชื่อว่าโรงเรียนมีอันดับ เราจะพบปัญหาการปล่อยเกรด เพื่อเพิ่มอันดับ แล้ว มหาวิทยาลัยก็บ้าจี้ เอาเกรดว่าคัดเลือกนักศึกษาในบางคณะ ในบาสถาบันระดับอุดมศึกษาอีกต่างหาก และภาคเอกชน หรือ ภาครัฐ ก็บ้าจี้ตามมาโดยเอาเกรดเป็นหนึ่งในเกณฑ์ตัดสิน
การที่เกรดไม่ควรได้รับการยอมรับ เพราะว่า ที่มาของมันไม่ได้คุณภาพ หากในภาพรวมทั้งประเทศ ทั้งระบบการศึกษาปรับให้ได้ตามมาตรฐาน เกรดก็ไมได้เป็นของต้องห้าม ยังคงเป็นการวัดผลที่ดี ทว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดในประเทศไทย อาจมีเพียงไม่กี่สถาบัน และไม่กี่วิชา ไม่กี่อาจารย์ ที่สามารถยืนยันเรื่องนี้ว่าเกรดของตนมีมาตรฐาน แต่ไม่ได้แปรว่าทั้งหมดได้มาตรฐานนั้นเอง
เรื่องที่ทุกคนเป็นห่วง และได้รับผลกระทบทั่วถึกันคือ เรื่องของการศึกษา เวลาที่เกิดอะไขึ้นกับวงการศึกษา ก็จะมีการวิพากษ์วิจารณ์กัอย่างถึงพริกถึงขิง เพื่อหา "แพะรับบาป" ในสังคมไทย และวนไปวนมา เพราะว่าต่างโทษกัน แต่ละคนมีเหตุผลและข้อจำกัดของฝ่ายตนเองทั้งสิ้น ที่รุนแรงมากขึ้นตั้งแต่มี Social Media คือ ศาลเตี้ย ผู้พิพากษา ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่ วางบนเหตุผลที่ตนเชื่อและเข้าใจทั้งสิ้น จะมีมีการแสดงตนเป็นผู้รู้อยู่บ่าง ที่พยายามบอกว่า ต้องแก้แบบนั้น แก้แบบนี้ ทว่า "ไม่เคยลงมือทำ" เพราะว่าการวิพากษ์วิจารณ์นั้นสนุกปาก แต่การลงมือทำนั้น "ยาก" การพูดพล่อย ๆ แล้วมมีความกด like อาจเป็นความภูมิใจของคนที่ให้ความเห็นที่เผ็ดร้อน
ทำไมจึงไม่มี "ใครลงมือทำ" เพราะว่า คนไทยทุกคนเชื่อว่าต้องมีเจ้าภาพ และมิใช่หน้าที่ของเรา ซึ่ง mindset แบบนี้นอกจากจะไม่ช่วยพัฒนาการศึกษาแล้ว ยังบั่นทอนคนทำงาน หรือคนที่เขาเกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง เจ้าภาพต้องมีชื่อเสียงเพียงพอ ต้องมีความรู้เพียงพอ จริงหรือไม่ คำตอบ คือ ไม่จริง ทุกคนที่เดือดร้อนกับปัญหาด้านการศึกษา คือ เจ้าภาพร่วม เหมือนกองผ้าป่าของวัดนั่นแหละ ทว่าประธาน หรือคนที่มีชื่อเสียงในสังคมระดับต่าง ๆ ก็ควรลุกมาเป็นประธาน หรือ ส่งเสริมให้ประธานทำงานได้ เจ้าภาพในที่นี้แตกต่างจากการลงเงินในซองผ้าป่า แต่ต้องลงแรง ตามทิศทางที่ที่ประชุมสภาผ้าป่าเพือการศึกษาของลูกหลานตนพึงกระทำ และสวมบทบาทเจ้าภาพทุกวัน เช่น พ่อแม่เป็นเจ้าภาพการศึกษษของลูก ไม่ได้เป็น Investor ต้องดูแลการศึกษานอกเวลาโรงเรียนทั้งหมดของบุตรหลาน, ครู เป็นเจ้าภาพในวิชที่เรียนที่สอน ให้มั่นใจว่าเด็ฏ ๆ ได้ประสบการณ์ และประโยชน์เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ เยาวชนทุกครั้งที่เจอกันในชั้นเรียน, ครูใหญ่ เป็นเจ้าภาพระดับโรงเรียน มีภาระสร้างเสริมให้เกิดบรรยากาศ ส่งเสริมครูให้มีความสามารถมีกำลังใจสอนนักเรียน ฯลฯ (เจ้าภาพอื่น ๆ จะแยกตามหัวใหญ่ต่าง ๆ กันไป)
หน้าที่ของแต่ละคน คือ ลงมือทำในขอบเขตของตนให้เต็มที่ ถ้าเริ่มต้นได้เช่นนั้น วงล้อของการปฏิรูกการศึกษาก็เกิดขึ้นได้จริง ท่านที่เป็นเจ้าภาพที่ระดับที่สูงกว่า ก็ทำในหน้าที่ความรับผิดชอบของตร บนสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลก มิใช่ตอบโจทย์ความต้องการของตนอย่างเดียว ประเด็นความสำเร็จคือ "ทำพร้อม ๆ กัน" แต่โดยประสบการณ์ จะมีเจ้าภาพหน้าใหม่ ขึ้นมาเป็นตัวตั้งตัวที แต่เจ้าภาพอื่น ๆ ไม่นำพา เจ้าภาพที่ลุกมาเป็นประธานก็จะตายไป รอผ้าป่าตั้งกองใหม่ เป็นแบบนี้วนไปเป็นวัฎจักร อย่ารอเจ้าภาพหลักเลย เป็นเจ้าภาพร่วมกันดีกว่าครับ
ขึ้นชื่อว่าเป็นคนไทยแนวคิดของ "บุญ" ที่ครอบและีอิทธิพลต่อความคิดทั่วปในทุกศาสนา ซึ่งสำหรับพุทธศาสนิกชนอาจจะมีอิทธิพลมากหน่อย ต่อให้ "บุญ" จะสร้างได้ สะสมได้ในหลายรูปแบบ ทว่าคนไทยนิยม "ซื้อบุญ" หรือ การบริจาค ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ (ซึ่งแท้จริงแล้วเป็น ทาน หรือ ทานัง ที่แปลว่า "การให้") คนไทยเราจะ ให้กับวัด ให้กับพระ เพื่อที่จะได้ผลบุญสูงผ่านกิจกรรมทางพุทธศาสนามากมาย เช่น ผ้าป่า กฐิน ติดกัณเทศน์ในงานต่าง ๆ ทำบุญบ้าน ร้านค้า อาคาร รวมไปถึงการบริจาคกับสิ่งที่มิใช่พระพุทธศาสนาในความหมายเดิม (ในสยามวงศ์นั้น เราผสมทุกเรื่องเป็นเรื่องของพุทธศาสนาทั้งหมด) คนไทยนิยทวัตถุธรรม และไม่เสียดายที่จะต้องใช้เงินแลกวัตถุธรรม เช่น พระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง สายสิญจน์ น้ำมนต์ ฯลฯ หลักร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน จะสามารถเดินทางไปตามศรัทาได้ ซึ่งไม่ได้ผิดแต่อย่างใด เชื่อสิ่งใดท่านปฏิบัติตามนั้น ถูกต้องเหมาะสมกับท่านแล้ว (ให้แทนคำว่า ทำบุญ = ทำทาน (ทานัง) = บริจาค(บริจาคะ)) ในคำต่อไปนี้ ซึ่งจะแทนว่า "บุญ" ทั้งหมด
ผู้เขียนกำลังจะชวนให้ท่าน ทำบุญกับการศึกษา (หรือ กับโรงพยาบาล ฯลฯ) โดยใช้กุศโลบายแห่งสิ่งที่ท่านเรียกว่า "บุญ" เช่นเดยวกับความคิดด้านบน เพราะว่า การบริจาคเพื่อการศึกษา เป็นความนิยมอันดับท้าย ๆ รองจาก วัด(ศาสนา) และโรงพยาลาล ซึ่งมีแนวโน้มว่าเห็นผลขอการบริจาคได้เร็วที่เป็นอันดับต้น ๆ ที่พูดเช่นนี้ เพราะว่า กรรมของท่าน ไม่สามารถหักล้างด้วยบุญที่ทำเพิ่ม การทำบุญแบบเดิมอาจเห็นผลในชาตินี้ หรือไม่เห็นผลเลย หรือ จะเห็นในอีกหลายชาติพบ ทว่า การทำบุญกับการศึกษา อาจจะเห็นได้ในชั่วชีวิตหนึ่งของท่านแน่นอน (รวมไปถึงการทำบุญกับโรงพยายาล) ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการพยายามผลักดันโครงการหลาย ๆ เรื่อง เกี่ยวกับการศึกษามาก่อน มีอยู่ครั้งหนึ่งไปที่ จังหวัดแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง โรงเรียนนี้ขอให้ช่วยในโครงการปรับปรุงน้ำดื่มให้สะอาด โรงเรียนมีสภาพทรุปโทรมมากเมื่อเทียบกับวัด ซึ่งชื่อโรงเรียนเดียวกันกับวัดที่อยู่ข้างกันก่างไปเพียง 1-200 เมตร วัดมีสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่ สะท้อนศรัทธา แต่ขาดการดูแลเอาใจใส่ แต่โรงเรียนนั้น สภาพดูแทบไม่ได้ จากชามในโรงอาหารเก่าเก็บ สิ่งนี้พบเห็นได้บ่อยครั้งจนชินตาในประเทศไทย ถ้าเราเพียงผันเงินทำบุญ จากวัดสู่โรงเรียน โรงพยาบาล ซึ่งสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ดุจพลังวิเศษ เหตุใดเราจึงไม่สนใจทำบุญ ที่เห็นผลเป็นรอยยิ้มของคน
ทำบุญกับการศึกษาให้ Smart (ให้อย่างฉลาด อย่าสักแต่จะให้อย่างเดียว)ฃ
สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลนเชิง Facility ในต่างจังหวัด โดยส่วนตัว ให้ช่วยกันแก้ปัญหาพื้นฐานก่อน เพราะว่ ท้องไม่อิ่ม สุขภาพไม่ดี จะเติมมุมด้านการเรียนรู้ได้่อย่างไร
- ในสถาบันการศึกษาที่เยาวชน ท้องยังหิว น้ำสะอาดยังไม่มีให้เด็ก ๆ และครูรับประทาน เริ่มที่สิ่งนี้ก่อน มีความจำเป็นมากกว่า ไม้แบต ขนม ลูกฟุตบอล ที่ชาวเมืองชอบไปทุ่มทิ้งไว้
- เลิกให้สิ่งที่เป็นโครงสร้างที่ไม่จำเป็น เช่น กำแพงโรงเรียน ป้ายชื่อโรงเรียน ซึ่งสิ่งหล่านี้ไม่เกิดประโชน์แก่ตัวนักเรียนเลย ถ้าโครงสร้างพื้นฐานจำเป็น เช่น ห้องเรียนที่กำลังผุพัง, โรงอาหารที่ทรุดโทรม, ห้องน้ำที่สกปรก และไม่เพียงพอ แบบนี้ให้ได้ เอาเงินที่ซื้อแต่ของไม่จำเป็นไปทุ่มทิ้ง มารวมกันทำเรื่องที่สมควร
- ให้ความช่วยเหลือ ที่พิจารณาร่วมกันว่าจำเป็น เช่น โรงเรียนในถิ่นธุรกันดารต้องการแต่คอมพิวเตอร์ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบุคคลากรที่สอนได้ใช้เป็น, ให้ไปแล้วจำนวนก็ไม่เพียงพอจ่อการใช้งาน, ดูแลรักษาไม่เป็น เมื่อ 10 ปีก่อน ในโ๕รงการบางโครงการของรัฐ เช่น คอมพิวเตอร์โรงเรียนในฝัน ผมเห็นกล่องที่ถูกส่งไป แต่ไม่เคยแกะ เพราะว่า โรงเรียนมีปัญหาด้านไฟฟ้า เป็นต้น บางที การร้องขอของภาคการศึกษาจะต้องถูกทดสอบความจำเป็น หาก มีแนวโน้มที่ให้ไปแล้ว จะใช้งานไม่ได้ ไม่เกิดประโยชน์ ก็ควรจะงดให้
- ให้หนังสือ ให้สื่อการสอน ที่เหมาะสมกับวัย ในห้องสมุดโรงเรียน ผมเดินทางไปเห็นโรงเรียนส่วมากที่ห้องสมุด มีหนังสือมากมาย จาก ขยะของสังคมคนเมือง เป็นหนังสือ ที่ไม่มีความเหมาะสมกับโรงเรียน โรงเรียนในต่างจังหวัดกลายเป็นที่รองรับหนังสือทิ้งแล้ว และเก็บไว้เป็นของประดับในห้องสมุด
- ให้ความช่วยเหลือ ที่พัฒนาครู หรือ ลดภาระ อื่น ๆ บางครั้งเป็นของง่าย ๆ นะครับ เช่น ในโรงเรียน ต่างจังหวัด ครูอาจจะมีหน้าที่ต้องทำอาหารกลางวันให้เด็กด้วย ผมเคยไปเจอโรงเรียนที่มีเด็กหลักหลายสิบ แต่ไม่มีหม้อหุงข้าว หรือมีเครื่องครัวที่ไม่มเหมาะสมในการทำงาน ทำให้ครูเสียเวลามากในการเตรียมอาหาร ซึ่งเป็นอีกภารกิจ ตัวอย่างนี้อาจจะต้องให้ครูเล่าปัญหาให้ฟัง แล้วในฐานะคนเมือง ท่านก็ช่วยเขาได้ อาจไม่เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรง แต่ครูจะประหยัดเวลามากขึ้น เหนื่อยน้อยลง และเมื่อนั้น ครูจะมีเวลากับเด็ก ๆ มากขึ้น เป็นต้น
สำหรับโรงเรียนในเมืองนั้น ปัญหาด้านโครงสร้างที่สนับสนุนการศึกษาพร้อมแล้ว การให้จากสังคมไมใช่เงินทองเสียแล้ว แต่เป็นการบริจาคแรงสนับสนุน
- แรงสนับสนุนที่ผู้ปกครอง พ่อแม่ มีต่อบุตรหลานของตน และผู้อื่น ในโรงเรียนทางเลือก พ่อแม่ที่มีอันจะกินและมีเวลา ได้แบ่งเวลาของตน (ตามข้อผูกพันกับโรงเรียน) ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่าง โรงเรียน ครอบครัว ครู ผู้ปกครอง ไปยัง นักเรียน บุตรหลาน วิธีแบบนี้เป็นการลงทุนทั้งเงินและเวลา เช่น พากันไปทัศนศึกษา โดยผู้ปกครองดูแลบุตรหลานทั้งที่ใช่และไม่ใช่ลูกหลานของตน ทำกิจกรรม ช่วยสอน ในสิ่งที่ถูกออกแบบตกลงกันมา ในโรงเรียนของคนทั่วไป ก็สามารถทำให้เกิดได้ในรุปแบบที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ
- ครอบครัว ให้ความร่วมมือ กับโรงเรียน บนเป้าหมายเดียวกัน ไม่มีการ overlap และ over rules ในความร่วมมือเพื่อประโยชน์ของลูกหลานเยาวชน ซึ่งแทบจะยังไม่เกิดขึ้นเลยในโรงเรียนของไทย เช่น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง ชุมชน ชุมนุม กับ โรงเรียน และบุตรหลาน ในแนงทางของ Project based ร่วมกัน เช่น การสอนให้เด็กบริการสังคม เช่น การร่วมใจปรับปรุงวัด หรือบริการสาธารณะในขอบเขตที่เยาวชนทำได้ เป็นต้น
การทำบุญด้วยทรัพย์ ด้วยแนวติด ด้วยแรง นั้น เป็นสิ่งที่ควรสร้างให้เกิดขึ้นในประเทศไทย อย่างน้อย การลงบุญด้วยทรัพย์ก็ถึงคราวจะต้องประโลกทัศน์กันใหม่ การลงบุญกับโรงเรียน คือ การพัฒนาคน เพื่อให้คนพัฒนาสังคมต่อไป
โลก และความเชื่อของคนรุ่น BB และ Gen X คือ การเรียนสิ่งใด จะต้องประกอบอาชีพในสิ่งนั้น ซึ่งอาจจะเริ่มมีการปฏิวัติแนวความคิดนี้ ในช่วงกลางค่อนปลาย Gen X จนถึง Gen Y ทว่า แนวคิดของผู้ปกครองเยาวชน และสังคมไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะว่า คนที่เป็นผู้ปกครองเยาวชนในสมัยนี้เองก็ไม่พร้อมกับความเปลี่ยนแปลง และวิวัฒนาการของสังคม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจดิติทัล ที่เข้ามามีอิทธิพลจต่อการเปลี่ยนแปลง
Mindset ในลักษณะดังกล่าวหยั่งรากลึก จนเชื่อว่า การเรียน และการเรียนสูง ๆ จะช่วย secure ความสำเร็จในงานอาชีพของบุตรหลานได้ ซึ่งเป็นความเป็นห่วงจากรุ่นสู่รุ่นเสนอมาเพราะว่าโลกยังมีความรัก ความปรารถนาเป็นปัจจัยหลัก ทว่า โลกในอนาคตจะมีอาชีพใหม่เกิดขึ้นมากมาย อาชีพที่คนรุ่นพ่อแม่ไม่คิดว่าจะเป็นอาชีพที่เลี้ยงชีพให้รอดได้ และอาชีพเหล่านั้น อาจจะไม่ต้องเรียนสาขาใดสาขาหนึ่งในรูปแบบความคิดเดิมของคนรุ่นก่อน
สังคมและผู้ปกครอง ต้องมี Mindset ที่ว่า หากลูกหลาน มีตรรกะ มีเหตุผล มีทักษะความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา และอยู่รอดได้ ซึ่งทุกวันนี้เราเลี้ยงลูกหลานให้ "อ่อนแอ" "จับจด" และ "ช่วยเหลือตัวเองไม่เป็น" โดย "ร้องขอความช่วยเหลือ หรือพลังพิเศษจากคนรุ่นก่อนเสมอ" มันเป็นของคู่กัน เพราะว่าสังคมและผู้ปกครองต้องเปลี่ยน "วิธีการ" บน "mindset" ที่ต้องละทิ้งจำนวนมาก เพราะว่า หากความเชื่อที่ว่า จะต้องให้รากฐานใด ๆ รากฐานหนึ่ง ซึ่งโดยมากใช้ "เม็ดเงิน" แลกมานั้น มันไม่เหมาะสมกับยุคสมัยแล้ว เราจะเสียเวลาไปอีก 1 รุ่น เพื่อเริ่มแก้ไขกันต่อไป และนั่นอาจหมายถึง "หน้าที่ของการเป็นพ่อแม่ ต้องเปลี่ยน Mindset" ด้วย
อาชีพรุ่นใหม่ อาจมีรากฐานมาจากความชอบ หรือแรงบันดาลใจ (คนใน Gen Y เป็นต้นไปเรียกว่า Passion ซึ่งอาจจะลุามหลง ฟุ้งเฟ้อ หากไม่มีการลงมือทำ) อาชีพรุ่นใหม่นี้ จะใช้ทักษะ ความสนใจพิเศษ ในบางเรื่อง เช่นเดียวกับอาชีพรุ่นเดิม ซึ่งมีจำนวนสมาชิกของแต่ละสายอาชีพมากน้อยไม่เท่ากัน มีความเก่งกาจในแต่ละคนไม่เท่ากัน ทว่า อาชีพรุ่นใหม่นี้อาจจะมีการวัดที่แตกต่างกันออกไปบ้างในบางมุม ซึ่งผู้ปกครองเองมักตั้งข้อสงสัย สำหรับผู้ปกครองนั้น ท่านต้องไม่ลืมว่า อาชีพรุ่นใหม่นี้ ท่านไม่มีความเข้าใจมัน ท่านอาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นเพียงพอ แต่ไม่ได้แปลว่าท่านต้อง "ปิดกั้น" เรื่องนี้กับบุตรหลาน ส่วนเยาวชนในยุคมิลเลนเนี่ยน และ Z Generation นั้น ท่านจะต้องพิสูจน์ให้เห็นความตั้งใจ ความอุตสาหะ ท่านต้องแสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้สามารถเลี้ยงชีพให้รอดได้ หรืออย่างน้อยต้องบอก Business Plan ของท่านได้ เห็นตลาดและโอกาสของมันและบอกผู้ใหญ่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าท่านไม่ค่อยมีมุมนี้ให้ผูใ้ใหญ่ได้เห็นเท่าใดนัก พ่อแม่ท่านจึงเป็นหัว จากช่วงนี้ (2018) ยาวไปอีก 10 ปีจากนี้ จะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างอาชีพรุ่นใหม่ในสังคมความคิดเดิม เช่นประเทศไทย ซึ่งท่านมิอาจอ้าง practice ที่เกิดขึ้นในต่งประเทศได้ เนื่องจากต่างบริยทางสังคม วัฒนธรรมกัน เยาวชนในรุ่นนี้ คาบเกี่ยวไป 10 ปี จะจะต้องพิสูจน์ตนเองว่า โมเดลที่ท่านอ้างนั้น ท่านเองทำมันให้ไปยังสุดทางได้ด้วยความสามารถจริง ๆ ที่ท่านมี ความเชี่ยวชาญ หลงใหลในความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ หากท่านไม่เข้าใจบทความในย่อหน้าสุดท้ายนี้ ท่านจงมองกลัไปที่ อาชีพนักแสดง ซึ่งใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษในเมืองไทย นับตั้งแต่มีโทรทัศน์ สิ่งนั้น คือ อาชีพที่คนโบราณเรียกเต้นกินรำกิน นั่นแหละครับ สังคมจะค่อยๆ เปิดรับ แต่มันจะเร็วกว่าในยุคของท่าน เช่น จาก 50 ปี เหลือ 10 ปี และแน่นอนว่า ท่านที่ "เพียงตามกระแส" ไม่รู่จักมันจริงๆ ท่านเองควรต้องยึดความสามารถ หรือ competency base ในอาชีพรุ่นเดิมไว้บ้างเพื่อเป็น Backup ของชีวิต
อาชีพรุ่นใหม่เป็นอาชีพที่อิงเทคโนโลยีใด ๆ เรื่องหนึ่ง ความเสี่ยงสำคัญคือ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในอัตราเร่ง อาชีพรุ่นใหม่เอง ต้องอาศัยการปรับตัวอย่างมาก มิเช่นนั้น อาชีพรุ่นใหม่เองก็จะถูก disrupt ส่วนอาชีพรุ่นเดิมในสาย classic ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองเช่นกัน
ตัวอย่างอาชีพที่คนรุ่น Gen BB และ X ไม่เข้าใจ ที่พบได้ในขณะนี้ (2018): YouTuber, Live Time Traveller, e-Sporter เป็นต้น
มีความแตกต่างกันอย่างมาก ใน 2 วลี ที่เป็นหัวข้อนี้ ทั้งนี้วางอยู่บนความจริงที่ว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่นั้น หวังดี และรักบุตรของตน จึงพยายาม ทำทุกอย่างที่(X)ดี ส่งมอบทุกอย่างที่(X)ดี เตรียมทุกอย่างที่(X)ดี เลือกทุกอย่างที่(X)ดี;(แทนที่ (x) ด้วยคำว่า (ตัวท่านคิดว่า) ลงไป ในข้อความดักล่าว) มอบให้แก่บุตรหลาน ซึ่งสิ่งนี้ผู้เขียนเรียกว่า "ความรักแบบพ่อแม่รุ่นเดิม" ต้องย้ำว่าผู้เขียนนั้นสุ่มเสี่ยงต่อการถูกตำหนิ หากริอ่านลงมือกับ Mindset หรือ สิ่งที่เกินกว่าตรรกะจะนิยามได้ หนึ่งในเรื่องนั้น คือ ความรักของพ่อแม่ต่อลูก และจะต้องอธิบายให้ละเอียดลงไปว่า ไม่ได้ดูแคลน หรือ ต้องการบอกว่า ความรักของพ่อแม่นั้น เป็นเรื่องไม่ดี แต่อาจจะเป็นเรื่อง "เกินพอดี" ในพลวัตของสังคมในปัจจุบันและอนาคต จึงเป็นหนึ่งใน mindset ที่เสนอเพื่อให้ปรับเปลี่ยน
ท่านอาจจะต้องมองด้วยใจที่เป็นคนอื่น ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นพ่อหรือแม่คน ให้ใช้วิธีคิดทำนองเดียวกับเรื่องที่ท่านตัดสินคนอื่น ในลักษณะเดียวกันนั่นแหละครับ ในการมองปัญหานี้ ชีวิตรุ่นที่พ่อแม่เติบโตมา สังคมไม่ได้เปลี่ยนแปลงเร็วเช่นในปัจจุบัน ท่านได้รับอิธิพลจากคนรุ่นพ่อแม่ Gen BB หรือ ต้น Gen X ของท่าน ในยุคที่ สุขภาพอนามัยไม่ดี การแพทย์ไม่เจริญ การสื่อสารไม่สะดวก อาชีพ โอกาส และทางเลือกมีน้อย ฯลฯ ท่านใช้ประสบการณ์เหล่านั้นและส่งต่อได้เพียง "บางส่วน" "บางมุม" เท่านั้นกับยุคสมัยนี้ ท่านลองมองดูรอบตัว ในสังคมปัจจุบัน ท่านเห็นสิ่งใดบ้าง
- การทำทุกอย่าง = ลูกหลาน จะไม่มีโอกาสได้ทำอะไรด้วยตัวเอง เมื่อไม่มีโอกาสลงมือทำ = ไม่มีประสบการณ์ = ไม่มีทักษะในการแก้ปัญหา
- การส่งมอบทุกอย่าง = ลูกหลาน จะเห็นแต่ความสำเร็จ และคิดว่าสิ่งนั้นง่าย = เขาจะไม่รู้กระบวนการขั้นตอน = เขาจะไม่มีความเข้าใจกลไกของสิ่งต่าง ๆ ในโลกตามที่ควรจะเป็น
- การเตรียมทุกอย่าง = จะไม่มีโอกาสได้เตรียมการสิ่งใด ด้วยตัวเอง = ไม่มีทักษะในการวางแผน การจัดการ
- เลือกทึกอย่าง = ลูกหลายจะไม่มีโอกาสได้พิจารณาตัวเลือกอื่นที่ท่านไม่ได้เลือกให้เขา = เขาจะถูกจำกัดความสามารถ ความต้องการ จากตัวเลือกที่มีไม่กว้างพอ = เขาอาจจะทำสิ่งนี้ในรุ่นต่อไป (โชคร้าย)
ในหัวข้อนี้ผู้เขียนหมายถึง "ภาพรวม" ของประเทศ ไม่ได้หมายถึงครอบครัวคนชั้นกลางหรือชั้นสูง ที่พ่อแม่มีความสามารถด้านการเงิน มีคว่ามพร้อมทางเศรษฐกิจ มีความเข้าใจ มีความรู้ และมีสำคัญคือ มีเวลาจากปัจจัยต่าง ๆ หัวข้อนี้อาจจะสะท้อนมุมมองของที่มีข้อจำกัดอื่น ๆ ซึ่งมีกลุ่มประชากรมากในประเทศไทย และอีกมุมคื อในมุมที่สังคม หรือความเข้าใจของผู้ปกครองยังไม่ได้มาตรฐานสังคมเดิมจาก 25-30 ปีก่อน ซึ่งยังคงมีในบางกลุ่มจังหวัด เขื้อชาติ ศาสนา
ผมมีเพื่อนเป็นครูประชาบาล ที่จังหวัดแห่งหนึ่ง เมื่อมีโอกาสเดินทางไปก็มักจะไปมาหาสู่กัน ในโรงเรียน ต่างจังหวัดนั้น จะมีปัญหาพื้นฐาหลัก เช่น พ่อแม่ทำงานในเมือง ทิ้งลูกให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง ซึ่งปูย่าตายายในสังคมเกษตรนั้น ท่านไม่ได้มีความรู้มาก แถมยังเกิดความขัดสน ไม่มีเรี่ยวแรง เวลาที่เพื่อนผมต้องเดินทางไปเยี่ยมเยือนบ้านของนักเรียน ผมได้รับฟังประสบการณ์ที่เธอแบ่งปันให้ฟังแล้วสะท้อนใจ เพราะว่าในบ้านมีแต่ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสุขภาพ หูตาไม่ดี และยังต้องกัดก้อนกินเกลือ (นี่ไม่ใช่ยุคของวัลลีเมื่อ 40 ปีก่อนนะครับ ทว่าเรื่องนี้ยังปรากฎในทศวรรษ 2570) และอีกประเภท คือ ครอบครัวที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างครอบครัว ซึ่งกลุ่มของครอบครัวเหล่านี้นั้น มักไม่มีความพร้อมในในการมีภาระร่วมกันเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน ซึ่งมาจาก Mindset หนึ่ง คือ หน้นาที่ในการสอนหนังสือ ให้ความรู้เป็นของครู และโรงเรียน ซึ่งประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ แล้ว ทำให้บุตรหลานไม่ได้รับการสนับสนุน และส่งเสริมในด้านการศึกษา เป็นสาเหตุของความเหลื่อมล้ำในการศึกษา สมการนี้เป็นสมการที่แก้ยาก เพราะว่า Mindset เหล่านี้ของกลุ่มที่มีปัญหาดังกล่าวแก้ได้ยาก ปัญหาปากท้อง คุณภาพชีวิตนั้นมาก่อน ปัญหาด้าน Mindset ทว่า ความช่วยเหลือจากกลุ่มสังคมรอบข้างมีความจำเป็นมากในกรณีนี้
ในกลุ่มของชนชั้นกลางขึ้นไป มี Mindset ที่เกิดจาก พ่อแม่ในยุคกลางค่อนปลาย Gen X ซึ่งมีบุตรหลานในยุคที่เรียกว่า Millenial Generation และ Gen Z (วัดจากสังคมในประเทศไทย การวัด generation แบบฝรั่งนั้น อาจจะไม่เหมาะสมกับบริบทของไทย โดยมากจะมีความล่าช้ากว่า 3-7 ปี หากรับตามปี ค.ศ. แบบตะวันตกตามถิ่นที่อยู่ในสังคมเมืองของไทย ในยุคกลางต่อกันปลาย Gen X ในประเทศไทย แต่ในสังคมเมืองของไทย ตั้งแต่กลางยุค Gen Y นั้นอาจทันกันในเชิงนิยาม ) ซึ่ง Mindset ที่พ่อแม่ผู้ปกครอง สร้างสังคมหุ้มห่อให้เกิดขึ้น และเป็นปัญหาติดตามมาของ Generation นี้
ผลของการสร้างสังคม Bubble (ชือเรียกนี้ตามทรรศนะของผู้เขียน โดยอาศัยการเกิดขึ้นของห้องเียนชั้นอนุบาลหรือเตรียมอนุบาลในโรงเรียนราคาแพง ที่มักจะหุ้มห่อทุกอย่างเพื่อป้องกันการกระแทกของเด็ก เป็นตัวแทนของสังคมลักษณะนี้ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเป็นทุกคนที่ผ่านห้องเรียนแบบนี้) Too Protectove คือ คำนิยามที่ให้กับเด็กที่เติบโตมาในรุ่นนี้ และความรุนแรงของมัน เกิดขึ้นที่กลางปลาย Gen Y ต่อ Gen Z และทวีความรุนแรงมากขึ้น จากการที่เยาวชนมีแนวโน้มช่วยตัวเองน้อยลง เพราะว่าผู้ปกครองเข้าไปสนับสนุน "ทุกอย่าง" "ป้องกันปัญหาทุกอย่าง" จนกลายเป็นพัฒนาการของ "การช่วยตัวเองไม่เป็น" "ไม่มีทักษะในการแก้ปัญหา" "ตัดสินใจบนหลักเหตุผลไม่ได้" "ไม่อดทน" "ไม่เตรียมตัวล่วงหน้า" และ "ไม่สนใจว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง เพราะว่ามีคนจัดการโซลูชั่นเบื้องหลัง" ซึ่งลุกลามบานปลายจน เด็กไทยมีความเป็นเด็กมากในอายุช่วงวัยรุ่น และคนที่ขบการศึกษาแล้วไม่พร้อมที่จะทำงาน บ้างก็มีฐานะทางบ้านที่เกิดจากการสั่งสมมาแต่รุ่น BB และไม่ได้สนใจว่าจะต้องทำงานเสียด้วยซ้ำไป ตัวอย่าง เช่น เยาวชนในสังคม Bubble นี้พ่อแม่จะเตรียมทุกอย่างให้ลูก ๆ ของตน ทำให้ข้ามกระบวนการเจรียมความพร้อมด้วยตนเองไป เช่น เสื้อผ้าพ่อแม่เตรียมให้หมด พ่อแม่คอยเตือนว่า วันไหนใส่ชุดพละ ชุดลูกเสือ เตือนให้ทำการบ้า สอนการบ้าน หากลูกต้องการอะไร พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย จะรีบประเคนให้ในทันที ไม่เกิดการรอคอย ไม่ต้องได้รับของอย่างมีเงื่อนไข และจนกระทั่งหนักหนาถึงขั้น เตรียมทำงานที่ได้รับมอบหมาจากโรงเรียนให้ลูกทุกอย่าง และพ่อแม่ก็ชื่นชมปรีดากับผลงานเหล่านั้น ในฐานะ Nominee ของลูก (ภาพรวมของการสังเกต ได้เห็นพฤติกรรมของคนรอบข้างนะครับ พ่อแม่บางท่าน อ่านแล้วไม่ใช่สิ่งที่ท่านทำก็ให้ข้ามไป "ด่าได้แต่อย่าแรง")
ดังนั้น อย่าไปอารมณ์เสียใส่เด็ก ๆ เพราะว่า ท่านช่วยกันสร้างวัฒนธรรมนี้ขึ้นมา สมัยผมเด็ก ๆ เราจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตัวเองก่อนในวันเด็ก เช่น ต้องอาบน้ำ ทานข้าว จัดกระเป๋า หากเราเกเรเราไม่ทำการบ้าน เราต้องไปแก้ปัญหาหน้างาน หากละเลยไม่ดูแลตารางเรียน ใส่ชุดผิด ก็ต้องไปขายหน้าที่โรงเรียน ต้องรีดเสื้อนักเรียนเองตั้งแต่ ป.3 และเมื่อโตขึ้นก็จะต้องรับผิดชอบงานส่วนรวมในบ้าน ไม่ใช่ว่าพ่อแม่ไม่สนใจนะคัรบ ต้องเข้าใจว่าพ่อแม่ของ Gen X นั้น มีภาระงาน มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน มีลูกหลายคนที่ต้องดูและ ซึ่งปัจจัยเหลานี้ มีอิทธิพลให้พ่อแม่ของ Gen Y Gen Z ในสังคมของชนชั้นกลางแต่ต่างไป เมื่อวิธีการเลี้ยงดูของยุคสมัยแตกต่างกัน ผลที่ได้ก็ต้องเปลี่ยนไป เลี้ยงอย่างไร ได้อย่างนั้น มันเป็นเหตุและผล
พ่อแม่รุ่นใหม่ต้องเปลี่ยน Mindset โดยอาจจะต้องใช้โลกเก่า + โลกใหม่ ดังนี้
- ให้ลูกได้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ยอมให้เกิดความผิดพลาดในชีวิตเพื่อเรียนรู้ และความผิดพลาดเกิดซ้ำ ๆ ได้ จนกว่าจะเรียนรู้ ลูกต้องเผชิญความเสียดาย เสียใจ เสียหน้า ไม่ต้องฉีกกลีบดอกกุหลาบ แล้วมาลองเดินก่อนว่ามีหนามเหลือไว้ไหม ต้องให้มีหนามบาด เสียเลือดกันบ้าง ประสบการณ์เช่นนี้ขาดไปเพราะสังคม Too Protective โดยเรื่องนีต้องให้ปู่ย่าตายาย เข้าใจด้วย ร่วมมือด้วย มิเช่นนั้น จะเกิดเป็นปัญหาในครัวเรือนเพิ่มเติม
- พ่อแม่ต้องเลิกแนวคิดว่า จะต้องเตรียมพร้อมไปทุกสิ่งให้ลูก ตั้งแต่ความรู้ การเป็นอยู่ อาชีพ และเงินทองในอนาคต ท่านต้องปล่อยให้เขาเกิดประสบการณ์ มี mindset ที่ตัวเองจะต้องอยู่รอดได้ด้วยตนเอง ไม่อาศัยความพร้อม บารมี ที่พอ่แม่มีให้ ให้ลูกได้อะไรยาก ๆ ให้เขาใช้ "ความพยายาม" "ความอุตสาหะ" และได้มา ไม่ใช่ซื้อหาเอาอัฐเข้าแลกและได้มา
- พ่อแม่ต้องมีสติ ในการใช้ชีวิต ที่เป็นตัวอย่างเมื่ออยู่กับลูก ส่วนจะเป็นอย่างไรเมื่อลูกไม่อยู่ก็แล้วแต่ท่าน เพราะว่าสิ่งที่ท่านทำ มันมีผลต่อเด็ฏ ๆ ทั้งสิ้น เช่น พ่อแม่ขับรถย้อนศรในโรงเรียน หรือในห้างเพื่อชิงที่จอดรถ, แสดงให้เห็นการแซงคิว เพื่อประโยชน์เล็กน้อยของตนเองเป็นเรื่องที่ทำได้ ไม่เรียกว่าละเมิดผู้อื่น เป็นต้น สิ่งที่ท่านทำเพราะความเผลอเรอบ่อย ๆ (หรือจริง ๆ แล้วคือ ตัวตนของท่านเองนั้นแหละ) จะส่งไปยังลูกหลาน สงัคมก็จะเห็นเรื่องความผิดชั่วเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อตัวเองเป็นสิ่งที่ทำได้
- พ่อแม่ผสมผสานความรู้สมัยใหม่ ที่มี โอกาสที่ท่านสามารถสร้างให้เขาได้ แต่ ให้เขาเลือกเอง พ่อแม่ต้องเลิกใช้ลูกเป็นเครื่องมือทำในสิ่งที่ตนอยากทำในวัยเด็กแต่ไม่มีโอกาส ลูกไม่ใช่การล้างแค้นของอดีตที่อัดอั้น สิ่งที่ท่านเป็นหรือม้อจำกัดจากวันเยาว์ของท่าน คือของท่าน
- พ่อแม่เปิดโอกาสเปิดใจ เพราะว่าโลกในอนาคตท่านก็ไม่รู้ เขาเองก็ไม่รู้ ให้มันเป็นไปตามที่ควรจะเป็น ท่านปลูกผังความมีทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง ครอบครัว และสังคม ท่านส่งเสริมให้เขามีทักษะความรู้หลากหลายได้ แต่ท่านต้องให้เขาเลือกเอง ผมพูดกับเพื่อน ๆ เสมอว่า ถ้าเปรียบเด็กเป็นต้นมะม่วง ผลของมันคือลูกมะม่วง มันจะออกผลในหน้าร้อน เด็กเป็นะม่วงให้เขาเป็นมะม่วง เขาจะเป็น น้ำดอกไม้ เชียวเสวย แรด หรือสายพันธุ์ไหนก้ปล่อยให้เขาเป็นไปตามธรรมชาติ พ่อแม่ไม่ต้อง "ตัดกิ่ง" "เสียบตา" ให้ต้นมะม่วงออกลูกเป็นชมพู่ที่อยากทาน
- พ่อแม่ต้องเลิกเอาลูกเป็นเครื่องประดับ หรือ เพลิดเพลินไปกับคำชม ที่เสแสร้ง หรือคำเน็บแนมในสังคมผู้ปกครอง ท่านทำทุกอย่างให้ชนะในวงของผู้ปกครองแบบนั้น แล้วท่านได้อะไรท่านต้องคิดดูให้จงดี
- พ่อแม่ชนชั้นกลางเชื่อว่า สามารถใช้เงินในการแก้ปัญหา ทางการศึกษา การเรียนในโรงเรียนรู้ทั้งรู้ว่าอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะสถาบันการศึกษาที่ดีเป็นเพียงในฝัน
ในปัจจุบัน ความน่ากลัวของ mindset ด้านการศึกษา และเลี้ยงดูซึ่งมัสพันธ์กัน มีการเกยกันของปัญหาข้ามรูปแบบของเศรษฐกิจนครัวเรือน พ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็ฯจะต้องร่วมมือเท่าที่ท่านสามารถทำได้ การให้ความร่วมมือตรวจสอบเพื่อสร้างมาตรฐานเป็นเรื่องที่ควรทำ ท่านต้องเข้าใจว่าภาระด้านการศึกษา โดยเฉพาะในวัยเยาว์ ผูกพันกับการเลี้ยงดู การยื่นมือสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานำเพื่อประโยชน์ของการเป็นคนในอนาคต ไม่ได้ทำบนมาตรฐานของอดีต
คนไทยชอบแข่งขัน ในสายเลือด เราสามารถแข่งกันได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ ไม่เป็นเรื่อง จนถึงเรื่องใหญ่ ๆ การแข่งขันที่จะต้องรู้ผลชนะ ซึ่งบางครั้งไม่มีประโยชน์อะไรเลย หรือกับฝ่ายใด ๆ เลย (ไม่เชื่อพนันกับผมไหม ว่าผมพูดถูก ?) เรื่องยางเรื่องแข่งกันแบบไม่เป็นทางการ ชัยชนะไม่ได้ถ้วยรางวัลอะไร แต่ได้ สิ่งที่เรียกว่า "ความภูมิใจ" ซึ่งหนึ่งในเรื่องร้ายแรง คือ การเอาเรื่องของการศึกษามาเป็นการแข่งขัน
คำถามที่อาจจะพอใจพ่อแม่ Gen BB หรือ Gen X ตอนต้น ที่อยากได้ยิน คือ โตขึ้นอยากเป็นอะไร ในสภาวะที่สมัยนั้น อาชีพที่นับหน้าถือตามีน้อย หากลูกบ้านไหนในสมัยที่ผู้เขียนยังเด็ก ตอบว่า หมอ วิศวะ พ่อแม่จะได้หน้ามาก เพราะว่าพ่อแม่ก็เอาคำตอบจากความไร้เดียงสาของเด็กมาแข่งกัน สังคมบ้าการแข่งขัน และบ้าชัยชนะที่ไร้สาระ อาจจะกระตุ้นคนบางคนเป้รแรงผลักดัน ทว่า ทำร้านสังคมโดยรวมก็ได้ ตัวอย่างต่อมาเช่น เรียนได้เกรดเท่าไหร่ ซึ่งสมัยนี้พ่อแม่ก็ยังบ้าอยู่ คือ เอาเกรด และผลการเรียนของลูก หรือผลงานจองลูก มาโพสใน Social Media เพื่อให้บรรดาเพื่อนฝูงแห่งมาชม เป็นความภูมิใจเล็ก ๆ เหมือนก้าวแรกบนดวงจันทน์ของนีล อาร์มสตรอง เป็นชัยชนะเล็ก ๆ ของคนคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ชาติ ทำนองนั้น
การแข่งขันในยุคก่อน คือ ยุคที่พ่อแม่เองก็โตมาในสังคมที่มีทางเลือกจำกัด เมื่อก่อน 30-40 ปี ก่อน เราจะแข่งบนโลกแห่งวิชาการลูกได้เกรดเท่าไหร่ ลูกเข้าโรงเรียนชื่อดังได้ไหม ลูกสอบเอนทรานซ์ได้ไหม ลูกได้เกียตินิยม หรือไม่ แล้วการแข่งขันแบบนี้มันทิ้งผลลัพท์อะไรไว้ในสังคม มันทิ้ง การเรียนการสอนที่แบ่งแยกจากการวัดผลด้วยวิธีการเดียว เป็น ห้องเด็กเก่ง ทิ้งเด็กที่ถูกละเลยจากการวัดผลแบบเดียว และสังคมไม่เข้าไปไปรวมตัวกัน และสังคมก็ตราหน้าว่าเป็นเด็กเหลวไหล เกเร ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเพียงไม่ถนัดในการวัดแบบวิชาการ จนกลายเป็นปัญหาของสังคมที่เรื้อรัง พ่อแม่ และสังคมมี Mindset เด็กที่เรียนไม่เก่ง จากการสอบเป็นเด็กที่ไม่เอาไหน
ในปัจจุบัน ความเครียดกดดันถาโถมไปที่เด็ก และเยาวชน ที่สังคมบอกว่า เขาจะเป็นเด็กดีเขาต้องเก่งอะไรซักเรื่อง ซึ่งพ่อแม่เองเป็นคนผลักดันบนความรัก ? หรือ บนการแข่งขันในสังคม ? สังคมบ้าการแข่งขันเริ่มตั้งแค่อนุบาล มีการติวเพื่อเข้าโรงเรียน ที่พ่อแม่คาดวังว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของลูก ต่อให้โรงเรียนจะทำทุกทางที่ขัดพัฒนาการของเด็กก็ตามที เด็กมความรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่ทักษะขาดหายไปหมด เราพบว่าเด็กอาจจะบวกเลข รู้ศัพท์ อ่านออกได้แต่อนุบาล ทว่าทักษะของการดูแตัวเองไม่มี ผมเคต้องสอนการบ้านเด็ก ป.3 เมื่อราว 7 ปีก่อน การบ้านถามว่า กลุ่มเมฆที่ฝนกำลังจะตก มีรูปร่างลักษณะแบบนี้ ชื่อวิชาการเรียกชื่อกลุ่มเมฆนี้ว่าอะไร ผมร้องอุทานออกมาว่า สอนเด็ก ป.3 ให้รู้ก่อนไหมว่า ฝนจะตกจะดูแลตัวเองอย่างไร อะไรที่จะต้องระวังตัวบ้าง นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ผมเจอ ยังมีตัวอย่างเช่น การเรียนคณิตศาสตร์แบบปิมากอรัส ที่ขยับมาเรียนในชั้นประถมศึกษา ซึ่งทุกวันนี้เราเรียนเกินความจำเป็น เรียนขัดกับหลักพัฒนาการ เพราะว่า ความบ้าของพ่อแม่ ผลักดันให้ โรงเรียนบ้าไปด้วย และที่แย่ไปกว่านั้น คือ การให้ด๊อกเตอร์เขียนหลักสูตรการศึกษาบนพืรฐานของความกระหายอยากแต่รู้ ไม่ได้เอาความรู้ไปทำอะไร
สภาพการณ์นี้ในสมัยปัจจุบัน ยังมีคงอยู่ แต่ทว่า สังคมก็เปิดกว้างพอจะรับความแตกต่าง แต่อย่างไรก็ตามลูกคุณต้องไปเก่งซักเรื่อง ที่ยังเป็นเรื่องสากล โดยเพิ่มจากการเรียน การสอบ เป็น กีฬา ดนตรี เพิ่มเติมขึ้นมาทางยุดสมัย ถ้าเราไม่ให้เด็กต้องแข่งขันล่ะ จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าไม่แข่งขัน
ในตอนนี้ มีพ่อแม่ กลุ่มทางเลือก คือ เลือกที่จะไม่เอาแนวคิดแบบเดิม ๆ ที่กดดันตัวเองในวัยเด็ก ไม่ต้องการให้ลูกหลานเป็นเช่นัน้น สังคมจะมีความแตกต่างกันสุดขั้ว เพระากลุ่มทางเลือก ก็ไม่เอาทางเดิม กลุ่มทางเดิมก็ยังคงเดินทางตามรอย และถลำเข้าไป สังคมจะเป็นอย่างไรบนพื้นฐานที่แตกต่างกันขนาดนี้
แนวทางแก้ไข คือ
- สังคมต้องละทิ้ง mindset เดิม ๆ นี้ เลิกแข่งขันกันโดยเอาการศึกษามาวัด ผมไม่ได้กระแดะนะ มันมีความแตกต่างกันในระดับของโรงเรียนจริงๆ แต่คุณต้องเลิกสังเวียนการแข่งขันโดยเอาการศึกษามาวัดกันทุกวัน ทุกเวลา การศึกษามีไว้เพื่อเอาตัวรอดในยามเกิดปัญหา ไม่ได้เอาไว้เก็บคะแนนในชีวิตจริง
- ความเก่ง หรือ อัจฉริยภาพมีหลายแบบ และแตกต่าง ซึ่งแต่ละคนเกิดมาบนอัจฮริยะภาพที่แตกต่างกัน ควรมีโอกาสที่การศึกษา พ่อแม่ ครูอาจารย์ จะส่งเสริมความแตกต่าง เพราะว่าเราไม่ได้ผลิตของโลก ในวันที่โลกต้องการความ Uniqueness ประเด็นนี้ต้องเริ่มที่ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง หลังจากนั้นให้ลุกลาม ระบาดออกไปล้างบางความคิดเดิม ๆ ในโลกของสถาบันการศึกษาจะเป็นการดีที่สุด พ่อแม่ที่มี mindset ใหม่นี้เป็นเหมือนถาดเพาะเชื้อเพื่อให้เชื้อดีนี้ ลุกลามไปเปลี่ยนสังคม
- พ่อแม่ และสังคม ต้องเปิดกว้าง การศึกษาเป็นหนึ่งในเครื่องมือให้รอด แต่ไม่ได้เป็นเครื่องมือเดียวในการมีชีวิตอยู่รอด โลกในอนาคต มันเกินกว่าอาชีพเดิม ๆ ที่เราท่านในฐานะพ่อแม่คนในยุคนี้จะเข้าใจได้ ท่านเอามาตรฐานของท่านไปเปรียบกับมาตรฐานใหม่ไม่ได้ ในอนาคนจะมีอาชีพที่เลี้ยงตัวรอดได้หลาย ๆ แบบ ซึ่งบางอาชีพอาจจะไม่ได้ใช้ Academic Knowledge เลย หรือ หากใช้ ก็ไม่จำเป็นต้องทราบในระดับทฤษฎี ก็ทำงานเลี้ยงชีพรอดได้
ถ้าผมเขียนว่า ภาคการศึกษาไทยแทบจะไม่ปรับเปลี่ยนอะไรด้วยตนเองเลย หากไม่ได้รับแรงกดดันด้านนโยบาย ซึ่งมีส่วนได้เสียกับหน้าที่การงานของบุคคลากรในภาคการศึกษา ซึ่งแน่นอนว่าในประเทศไทยจะไมเกิดการปฏิรูปการศึกษาในแบบที่เราท่านต้องการอย่างแน่นอน ส่วนแรงกดดันที่ไม่ใช่นโยบายนั้น ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อภาคการศึกษาของไทย คนที่มีจิตใจที่อยากเปลี่ยนแปลงพัฒนาการศึกษาที่อยู่ในระบบ มีแต่จะเสียกำลังใจและพ่ายแพ้ กลับไปทำในขอบเขตเฉพาะที่ตนรับผิดชอบ คนที่เข้ามาเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงอะไรในการศึกษาไทย จากทั้งภายในและภายนอก จะพ่ายแพ้ต่อ "ระบบ ระบอบ ความไม่จริงจังของคนที่มีส่วนร่วมอื่นๆ เสมอ"
มุมมองจากคนในสถาบันการศึกษา
(ซึ่งเกิดจากการพูดคุย ปรับทุกข์ ระหว่างผู้เขียนกับบุคคลากรในระบบ เน้นเฉพาะครู และอาจารย์)
ปัญหาของครูอาจารย์ที่อยากจะเปลี่ยนแปลง หรือทำบางอย่าง รู้สึกทุกข์ร้อนกับสภาวะที่เป็นอยู่ รู้สึกถึงนักเรียนนักศึกษาและอนาคตของพวกเขาในฐานะครูและอาจารย์มืออาชีพ กับอุปสรรคด้านการศึกษา แบ่งออกเป็นกลุ่มปัญหาได้ดังนี้
- ปัญหาการเมืองภายในองค์กร
- ปัญหาความมั่นคงด้านวิชาชีพ จากค่าตอบแทน และสภาวะหนี้สิน
- ปัญหาความไม่เข้าใจจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และสังคม
- ปัญหาด้านจำนวนนักเรียน จำนวนครู
- ปัญหาภาระจากงานอื่น ๆ ที่ดึงเวลาที่จะใช้ในห้องเรียนออกไป จากทั้งกิจกรรมทางตรง และทางอ้อม
- การตรวจประกันคุณภาพต่าง ๆ ที่ตรวจเพียงข้อความบนกระดาษ และจบที่การเลี้ยง ชากาแฟ แก้ไขข้อความในเอกสาร
- ปัญหาของความเข้าใจระหว่างผู้บริหาร กับครูอาจารย์ที่ต่าง Generation
- ผู้น้อยด้านวัยวุฒิ ไม่สามารถเสนอแนวคิดในาการเปลี่ยนแปลง
- ผู้มากด้านวัยวุฒิ หมดแรงถอดใจ และถูกสิ่งแวดล้อมกลืนกิน
- ผู้น้อยด้านวัยวุฒิ ไม่สามารถเสนอแนวคิดในาการเปลี่ยนแปลง
- ปัญหาอันเกิดจากกระบวนการทำงานในองค์กร และระบบตรวจสอบภายในที่มีขั้นตอนยุ่งยาก และเสียเวลา
- ปัญหาจากกลไกด้านนโยบาย
- ปัญหาของเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับจำนวนเวลา
- ปัญหาเรื่องการวัดผล เลื่อนขั้น และวิทยาฐานะ จากผลงานวิจัย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเดียว
- ปัญหาเรื่องการไม่มีอิสระในการวัดผล หรือการประเมินผล
- ปัญหาเรื่องภาระหลังจากที่ให้นักเรียนหรือนักศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง ๆ ที่เป็นไปตามมาตรฐาน
- ปัญหาเรื่องขั้นตอนภายในในการอนุมัติเรื่องต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับนักศึกษา
- อืน ๆ มีมากมาย
มุมมองจากคนนอกสถาบันการศึกษา
คนนอกภาคการศึกษาเขามองปัญหาอะไรบ้าง กับสภาพการศึกษาของไทย
- สถาบันการศึกษาไม่ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และสังคมในอัตราที่เร็วพอ
- สถาบันการศึกษาไม่ได้ผลิตนักศึกษาที่ภาคเอกชนต้องการ
- สถาบันการศึกษาสอนในศาสตร์ที่ล้าสมัย หลักสูตรที่ไม่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
- สถาบันการศึกษาไม่มีวิธีการสอนใหม่ สร้างให้เยาวชนจำเพื่อสอบ ไม่ได้สร้างให้เกิดตรรกะ
- ภาคการศึกษาเป็น Serial Killer ตั้งแต่ อนุบาล ที่ฆ่าประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัย, ประถมศึกษาที่ฆ่าจิตตนาการ, มัธยมศึกษาที่ฆ่าโอกาสในการเลือกของผู้เรียน และ มหาวิทยาลัย ป.ตรี ที่ฆ่าการเลีย้งชีพชอบจากการขาดทักษะที่จำเป็นในการเรียน มหาวิทยาลัยปริญญาโท ที่ฆ่าโอกาสการเติบโตของสังคม จากความพยายามทำให้ ป.โท ในประเทศไทย ได้ระดบัความรู้และทักษะเท่า ป.ตรี ในระดับสากล
- ฯลฯ
องค์กรนอกภาคการศึกษาที่จะเข้าไปยื่นมือให้ความช่วยเหลือภาคการศึกษาควรทำอย่างไร
- เลิกมุมมองการให้เพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษี โดยไม่พิจารณาติดตามผลที่ได้รับ การให้แบบนี้ทำให้สังคมไทยพังมาอย่างต่อเนื่อง
- แนะนำให้พิจารณาวิธีการสนับสนุน และควรเลิกการให้เปล่า แก่ภาคการศึกษา ที่ไมาสามารถเสนอโครงการที่มี measuremt ในแบบที่ผู้ให้ต้องการได้
- ให้เป็นความร่วมมือ ที่เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ ที่ภาคการศึกษาขาดแคลน
- สหกิจอาจารย์ เราพบว่า อาจารย์มีประสบการณ์ในโลกจริงน้อย และมองผ่านการวิจัยในฐานะที่ปรึกษา ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงในสถานการณ์ ภาคเอกชนควรมอบโอกาสให้อาจารย์ได้มีกิจกรรมนี้ในระหว่างปิดภาคเรียน หรือใน time frame ใด ๆ ภายใต้กฎเกณฑ์แบบเดิม ไม่มี privilege เช่นพนักงานทั่วไป อาจารย์จะได้รับประสบการณ์จริงเพื่อนำไปแบ่งปัน ถึงปัญหา และวิธีการ เป็นการที่อาจารย์เองจะได้เห็นความต้องการแท้จริงเพื่อการปรับหลักสูตร และวิธีการ ภายใต้ MOU ซึ่งปกป้องความลับทางการค้า
- สหกิจนักศึกษา ที่มีคุณภาพต่างตรวจสอบได้ สหกิจเป็นกิจกรรมที่แนวความคิดดี แต่ในทางปฏิบัตินั้น มีจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่มีคุณภาพและส่งมอบ ทุกวันนี้สหกิจคือการถูกล๊อตเตอร์รี่ หากได้หน่วยงานที่ดี นักศึกษาก็มีประสบการณ์ที่เอาไปใช้งานได้จริง ในประเทศสิงคโปร์เพื่อนบ้านของเรา การประเมินสหกิจ เกิดขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย คือ นักศึกษา ประเมิน บริษัท และบริษัท ประเมินนักศึกษา หากนักศึกษาพอว่าตนเองไม่ได้ประสบการณ์ใด ๆ สามารถที่จะขอเปลี่ยนแปลง หรือแจ้งกลับไปที่สถาบัน เพื่อที่สถาบันจะดำเนินการได้ ในฐานะความร่วมมือ แต่สิ่งนี้กลับเป็นโชคชะตาในประเทศไทย
- ให้ความความร่วมในการเป็นอาจารย์ตามสถาบัน และสามารถ accumulated เป็นเวลาทำงาน และนับเป็น KPI ของคนระดับหัวหน้างาน และเป็น OKR ขององค์กร โดยมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า -3-5% ของเวลางาน (ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขสมมติ)
- ความร่วมมือในเชิง Pro่ject based และ Problem based ที่ "นักศึกษา" ได้ร่วมกระบวนการ มิใช่แขนชาหรือแรงงานของอาจารย์ ในงานวิจัยที่ไม่ได้ย้อนลับมาเพื่อประโยชน์ของนักศึกษา
ภาคประชาสังคมจะต้องทำอย่างไร
- ภาคประชาสังคมแรก คือ สมาคมศิษย์เก่า ต้องเปลี่ยน Mindset จากข้าไปเพื่อรับประโยชน์ กลับไปสู่่จุดเดิม คือ เข้าไปเพื่อสร้างประโยชน์ สมาคมศิษย์เก่าทั้งหลาย ต้องมีบทบาท และพร้อมที่จะให้ "สถาบัน" สิ้นสูญไปได้ เก็บไว้เพียงอดีต หากไม่ปรับตัว มิใช่ไปรั้งเอาไว้ ทั้ง ๆ ที่สถาบันอาจไม่ปรับตัว และไม่มีแนวโน้มในการพัฒนา
- ช่วยในเชิงแนวคิด ศิษย์เก่าที่ใด ก็กลับไปให้ความร่วมมือ ในเชิงองค์กรแบบหัว้อด้านบน หรือในเชิงบุคคลตามความถนัดของตัวเอง
- งดกิจกรรมหาทุน ที่ไม่เกิดประโยชน์กับนักศึกษา เลิกการส่งมอบ facilitiy ที่ไม่มีแผนการใช้ประโยชน์ และเกินจำเป็น
- เป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เกิด practice การเรียนรู้เชื่อมโยง แลกเปลี่ยน วิธีคิด วิธีการดำเนินงานต่าง ๆ
ส่วนนี้จะขอกล่าวถึง Mindset ที่ผู้วางนฌยบายเพื่อกำกับการศึกษา, สถาบันการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะมีส่วนในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม
ผู้วางนโยบายกำกับการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา
ในประเทศไทย (2018) มีกระทรวงศึกษาธิการเป็นแม่ทัพเรือใหญ่ และมีหน่วยงานยิบย่อยมากมายในกระทรวง เพื่อทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง หรือควบคุมกำกับดูแลสถาบันการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง ซึ่งมีเป้าหมายทิศทางของหน่วยงานตรงกันใน Vision เดียวกัน คือ การพัฒนาการศึกษาของชาติ แล้วส่งมอบต่อลงมาในระดับภาค ในระดับผู้นำสถานศึกษาเป็นลำดับ
ถ้ากลัดกระดุมเม็ดแรกพลาด เม็ดอื่นๆ ก็พลาดลงมาเรื่อย ๆ เป็นคำเปรียบเปรยที่รู้จักกันดี ในระดับผู้วางนโยบายนั้น มี mindset ที่เสนอให้เปลี่ยนแปลง ในเชิง "การลงมือกระทำ" มิใช่เชิงนโยบายอย่างเดียว เพราะว่า นโยบายต่าง ๆ นั้น เป็นนโยบายที่ดีระดับหนึ่งอยู่แล้ว (แต่ต้องขอเรียนให้ทราบว่า บางนโยบายนั้น ถึงคราจะต้องเปลี่ยนแปลงจริงๆ เช่น นโยบายเรื่องตัวชี้วัดทั้งหมด ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการหากลงมือเปลี่ยนแปลงได้ นั่นหมายถึง ทั้งองคาพยพในระบบรัฐก็เปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน) ทว่าด้วย ระเบียบโครงสร้างที่อุ้ยอ่าย ใหญ่โต เทอะทะ ของกระทรวง, ขั้นตอนการปฏิบัติงานราชการ ที่มีมากขั้นตอน และไม่แน่ใจว่าจะจำเป็นหรือไม่ การลงมือกระทำตามนโยบายจึงเป็นเรื่องยาก เช่น นโยบาย ลดเวลเรียนเพิ่มเวลารู้ ท้ายที่สุด บางส่วนเมื่อนำไปลงมือกระทำจริง ๆ ก็เปลี่ยนให้นโยบายเป็นของหายนะได้ หรือ ในกรณ๊ที่เราต้องการเปลี่ยนวิธีการศึกษา แต่ประเทศและกระทรวงเอาเงินไปซื้อเครื่องมือ เช่น Tablet ที่เป็น Hardware ที่ไม่มี Software รองรับ ครูอาจารย์ไม่พร้อมเปลียนวิะีการเรียนการสอน แบบนี้ก็เป็นการลงมือกระทำที่ไร้ประโยชน์ เป็นต้น ในการบริหารจัดการโดยมองจากสายตาของคนนอก เหล่านี้ทำให้ แผนพัฒนาและการปฏิรูปการศึกษา ไม่สำเร็จ ทั้งนี้ยังไม่รวมที่จะมีการเกิดขึ้นของกระทรวงวิจัย และการอุดมศึกษา ที่จะถูกตั้งเพื่อดูแล Higher Education ในอนาคต
Mindset ภาพใหญ่ภาพรวมของผู้วางนโยบายด้านการศึกษา ที่เสนอแนะให้มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่
- One fit All Curriculum and Measurement หรือ หลักสูตรกลาง ควรมาจากส่วนกลางเพื่อวัด หรือสร้างมาตรฐานเดียวกัน แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ปฏิบัติมานานแล้ว ท่ามกลาง ความแตกต่างด้านพื้นที่ วัฒนธรรม จำนวนทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าไม่เหมาะสมแก่กาลสมัย ท่านไม่สามรถใช้การวัดผลแบบเดียวกันกับกรุงเทพมหานคร กับโรงเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารได้ ตราบใดที่กระทรวงยังไม่ได้สร้างความทั่วถึงในการศึกษา และมีทรัพยากรที่ไม่แตกต่างกันเช่นในปัจจุบัน เท่าเทียม หรือ ทั่วถึง เป็นเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ รัฐควรส่งเสริมให้เกิดความ "ทั่วถึง" ก่อน เพราะว่า ความเท่าเทียมด้านการศึกษานั้น เป็นไปไม่ได้ หากยังมีความแตกต่างอย่างสุดขั้วในแต่ละพื้นที่
- การวัดผลจากวิธีการสอบเป็นผลร้าย นโยบายการวัดผลในมิติอื่น ๆ มีความจำเป็น ไม่ใช่ทุกศาสตร์ และแขนงวิชาจะต้องวัดผลในรูปแบบของการสอบ หากเป็น Hard-Sciences ก็วัดด้วยการสอบต่อไป หากเป็น Apply-Science ควรวัดผลด้วยทักษะ วิธีคิด วิธีแก้ปัญหา มิได้วัดด้วยข้อสอบที่เจ้าเล่ห์ หลอกลวง แบบข้อสอบ GAT PAT ในบางวิชาในปัจจุบัน
- หลักสูตรที่ตรงพัฒนาการ และความจำเป็น มิใช่เน้นที่วิชาเกิน
- อนุบาล ควรเน้นประสบการณ์ในวัยเยาว์ ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ ควรออกมาตรการยกเลิก การสอบเข้าชั้น ป.1 เป็นต้น
- ประถมต้น ความสามารถในการดูแลตนเอง พื้นฐานด้านภาษา การคิดอย่างมีตรรกะ ที่ไม่ใช่การนำเอาวิชา coding ไปใส่ในเด็กวัยนี้ เปลี่ยนเป็นทักษะการเรียนรู้ Leanability
- ประถมปลาย ความรู้เท่าทันในทางเลือกด้าน อาชีพ สังคม โอกาสที่จะให้เด็กได้เปิดประสบการณ์ เพื่อวางแผนชีวิต
- มัธยมศึกษา/อาชีวะ ทักษะการเรียนรู้ วิชาพื้นฐานทั้งมวลเพื่อการเลือกศึกษา หรือไม่ศึกษา ทักษะในการประกอบการ
- ปริญญาตรี ที่ผลิตบัณฑฺตที่ทำงานได้ทันที ไม่ใช่ เรียบแล้วต้องไปอรมใหม่เพื่อทำงานให้เป็น เติมทักษะที่ขาด
- ส่วนการศึกษาที่เหนือกว่าระดับปริญยาตรีขึ้นไป ขอไม่กล่าวถึง
- วิธีการวัดมาตรฐานที่หลากหลาย ไม่เน้นการวัดด้านวิชาการเพียงด้านเดียว ควรเพิ่มการวัดขีดความสามารถ ศักยภาพด้านอื่น ๆ เช่น ทักษะ มิใช่วัดความรู้ด้านวิชาการ
- ส่งเสริมให้คนที่มีความสามารถจากส่วนอื่น ๆ เข้าเป็นครู และอาจารย์ได้ มิใช่ไปกักกันไว้ด้วย ระดับการศึกษา ระดับการศึกษาไม่ได้บอกว่า คนเหล่านั้นมีความเหมาะสม หรือมีคุณสสมบัติที่จะเป็นครู ทั้งนี้ไม่รวมหลักสูตรมากมายที่ไม่ได้มาตรฐาน แล้วสร้างวุฒิการศึกษาที่ไม่มีมาตรฐานนับไม่ถ้วนใประเทศไทย และคนเหล่านั้นก็วนกลับมาเป็นครู แลอาจารย์ในระบบ ผู้กำหนดนโยบาย อาจจะต้องใช้ความเป็น Specilize ด้านต่าง ๆ ของคนในสังคม และให้คนเหล่านั้น สามารถเข้ามามส่วนร่วมในการเรียนการสอน เป็นทางเลือก
- อาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย ควรมีประสบการณ์ทำงานจริง ๆ เป็นคุณสมบัติหลักในการพิจารณา เราอาจจะมีคนเก่งมากมายเป็นอาจารย์ แต่เป็นอาจารย์ที่ไม่เคยผ่านการทำงานจริง ในสถานการณ์จริง เราไม่สามารถรับแต่เพียงคนเรียนเก่ง วิจัยเก่งเท่านั้นมาเป็นอาจารย์ได้อีกในอนาคต ซึ่งควรเป็นนโยบายในการเลือกรับบุคลากร
- นโยบายที่เปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษากำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการศึกษาของตน, ปรับนโยบายภายใน, บริหารจัดการทรัพยากรให้เหมาะสมด้วยตนเอง
- ยกเลิกระเบียบ และข้อบังคับที่ไม่มีความจำเป็น ล้าสมัย
บุคลากรด้านการศึกษา
ในที่นี้ขอครอบคลุมบุคลากรด้านการศึกษาได้แก่ นักการศึกษา, ครู และอาจารย์
หากเริ่มต้นที่ภาระงาน ปัญหาภายในองค์กร ค่าตอบแทน ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร หลักสูตรและข้อบังคับ ต้นทุนของนักเรียนนักศึกษาที่รับต่อมาไม่ได้คุณภาพ ไม่มีวินัย การเลื่อนขั้นทางวิทยาฐานะ และการเพิ่มค่าตอบแทนอันได้มาจากวิทยาฐานะนั้น เอามาสุมกองเป็นกองปัญหา และ เป็นเหตุผลที่บุคลากรด้านการศึกษาบอกว่า ทำให้ตนเองไม่มีเวลา โอกาส ในการปรับใส่ใจกับชั้นเรียนซึ่งเป็นหน้าที่ภาระ แล้วก็เป็นอันไม่่ต้องทำอะไรกัน และบทความส่วนนี้ก็ไม่เหมาะสมกับคนแบบท่านด้วย และแนะนำให้รู้สึกละอายแก่ใจเมื่อใคร ๆ พากันเรียนท่านว่า คุณครู และอาจารย์ หากท่านยอมแพ้ต่อเหตุนานับปการและยอมแพ้ต่อชั้นเรียนของท่านเอง
- ในชั้นเรียน ที่อาจจะมีเวลา 13-15 ครั้ง ต่อเทอม กับเนื้อหาตามหลักสูตรที่มีจำนวนมาก ขอให้ท่านได้ตั้งเป้าหมายว่า ในแต่ละครั้งนักเรียนนักศึกษาจะได้ประโยชน์อะไรจากแต่ละครั้ง และเมื่อรวมกันทุกครั้งแล้ว วิชานั้นจะเกิดประโยชน์อย่างไรกับนักศึกษา
- หลักสูตรอาจจะเขียนจากผูู้รู้ที่เป็นนักวิชาการ ทว่า เราไม่ได้ผลิตนักเรียนนักศึกษาให้เป็นนักวิชาการไปเสียทุกคน แต่เราควรสร้างให้นักเรียนนักศึกษาสามารถมีวิชาที่พอแก่การทำงานเลี้ยงชีพได้ หรือเอาหลักการใด ๆ จากวิชาเหล่านั้น ไปเลือกใช้ได้ในอนาคต เข้าใจหลักการพื้นฐาน ท่านอาจจะต้องริดกิ่งก้านที่ไม่จำเป็นออกไปจากวิชาเกินที่หลักสูตรใส่ไว้ ใช่ครับ Mindset นี้คือ ความกล้าหาญ ใน Authorize area ของท่าน
- เราท่านต่างรู้จัก Bloom's Taxonomy ขอให้เป้าหมายของท่าน รวมไปถึงวิธีการวัดผลนั้น อยู่ในส่วนอื่น ๆ ที่เหนือจากการท่องจำ เช่นที่การศึกษาไทยได้ทำมา หากวิชาของท่านเป็นพื้นฐาน ควรได้ในระดับสีฟ้าอ่อน Understanding หากวิชาของท่านเป็นไม้ผลัดที่ 2-3 ระดับสีเขียว คือ Apply และ Analyze เป็น สิ่งที่ต้องอำนวยคลาสของท่านให้ไปถึงจุดนั้น
- นักเรียนนักศึกษามีความหลากหลายฉันใด การวัดผล และวิธีการสอนก็ควรมีความหลายหลายฉันนั้น
- ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ตัดสินใจในการวัดผลได้ ถึงแม้นว่าจะมีเพดานด้านนี้อยู่ ท่านสามารถที่จะเพิ่ม หรือปรับการวัดผลในวิชาที่ท่านรับผิดชอบได้
- Do not left someone behind เป็นหลักการที่ ครูและอาจารย์ จำเป็นจะต้องคงหลักนี้ไว้ นักเรียนนักศึกษาควรมี Winning area ในส่วนที่เขาถนัด วิธีนี้ทุกคนจะมีความสุข ผู้เรียนในชั้นเรียนสามารถพัฒนาได้ทุกคนตามศักยภาพ มิใช่พัฒนาเฉพาะกลุ่ม หากท่านได้ให้เวทีที่เยาวชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึงกัน มิใช่ สนใจเฉพาะเด็กเรียน เนื่องจากท่านไม่ได้มีเวทีให้เด็กที่ขยันเล่น ได้มีโอกาสในชั้นเรียนของท่านบ้าง
- ครู อาจารย์ ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง ไม่รู้ก็ได้ และหาคำตอบไปกับนักเรียนนักศึกษา ครูและอาารย์ผิดพลาดได้ และแก้ไขได้ อย่าขังตัวท่านไว้ในกรอบแนวคิดที่ "ผิด" ไม่ได้ ... เพราะว่าผิดเป็นครู ดั่งคำโบราณ
- ครู และอาจารย์ จะต้อง Transform จาก TEACHER เป็น FACILITATOR และเปลี่ยนนักเรียนของท่านเป็น Learner
- Teacher ผู้สอน จะสอนสิ่งที่ตนเข้าใจ เชื่อมั่น ถ่ายทอดสู่นักเรียน นักศึกษา
- Faciliator จะแนะนำ ทางเลือก วิธีคิด เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปรับปรุง เลือกใช้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
- Facilitator ควรสร้างให้ชั้นเรียน เกิด "ประสบการณ์" ผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น Problem base, Project base และ ยอมรับในผลลัพท์ที่ผิดพลาด
- ความถูกต้อง อาจมีในชั้นเรียนเท่านั้น ในกรณีเป็นแนวคิด วิธีคิด
- ในกรณีคำตอบทีเป็น Static อาจมาจากวิธีการที่หลากหลาย วิธีการนำไปสู่คำตอบนั้นมีความหลากหลาย ผู้เรียนอาจจะมีวิธีสังเหคราะห์ที่แตกต่างไปจากวิธีที่ท่านวางแผนไว้ ท่านอาจให้คำแนะนำในโจทย์ใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองในวิธีของเขา
- ประสบการณ์ที่ได้คำตอบในทางบวก กับ ประสบการณ์ที่ได้คำตอบในทางลบ หรือพลาดเป้า มีค่าต่อการเรียนรู้ได้เท่ากัน มันเป็นวิธีคิดระหว่างหนึ่งวิธีที่ทำให้ถูกต้อง(ถูกใจ) หรือ หลายวิธีที่เรียนเพิ่ม และรู้ว่าทำเช่นนี้จะเกิดความผิดพลาดเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำอีก
- การเรียนรู้จากการผิดพลาด การสนทนาแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน คำแนะนำ การทดลอง การสืบค้น ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีการเรียนการสอน
- Facilitator ต้องเป็นผู้หมั่นทดลองวิธีการใหม่ ๆ และเป็นผู้กล้าทดลอง ในการเปลี่ยนวิธีการเดิมเพื่อผลลัพท์ใหม่
- บางเรื่องในช่วงการเปลี่ยนผ่านนั้น อาจจะต้องบังคับให้เกิดขึ้น เช่น นักเรียนนักศึกษา ไม่เตรียมตัวมาเพื่อการเขช้าในชั้นเรียน Facilitator จะต้องปรับวิธีการ และเป็นการสร้างฐานของการเป็น Learner ให้กับนักเรียนนักศึกษาด้วย ทว่าในช่วงเปลี่ยนผ่าน การบังคับสภาพแวดล้อมให้ผลักดันให้พฤติกรรมเปลี่ยนนั้นมีความจำเป็น กับสังคมเอ้อระเหยแบบไทย เช่น การบังคับ Quiz ต้นชั่วโมง, การให้คะแนนในส่วนของการแสดงความเห็น หรือมีส่วนร่วมในคลาส ให้มีสัดส่วนมากขึ้น, การให้งานกลุ่มเพื่อบอกเล่าเนื้อหา โดย Facilitator มี check point เพื่อให้คะแนน เป็นต้น ท่านต้องยอมรับวิธีการเหล่านี้ในช่วงการเปลี่ยนแปลง หากทำพร้อมกันทุกท่าน หรือทำบ่อยเข้า สิ่งนี้จะเปลี่ยนเป็นนิสัยพื้นฐานของ Learner
แนวคิดหลักที่ผู้เขียนเสนอคือ แนวคิดการเปลี่ยนตัวท่านเองเป็น Facilitator และเริ่มผลลัพท์ใหม่ผ่านการทดลองที่หลากหลาย นอกจากนี้คงเป็นกำลังใจให้ Facilitator ผู้ลงมือเปลี่ยน กล้าเแปลียน และเรียนรู้ไปเฉากเช่นเป็นผู้เรียนตลอดชีวิต ตามแนวคิด Live Long Learning และผลงานที่ผ่านมาของคุณครูและอาจารย์ทุกท่านดีแล้ว ทำอย่างไรให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ในแต่ละครั้ง
- เด็กและเยาวชน ต้องพัฒนาตนเองจาก "นักเรียน นักศึกษา" (Student) เป็น "ผู้เรียน" (Learner)
- นักเรียน นักศึกษา เปรียบเหมือน ลูกนกที่แม่จะป้อนอาหารเข้าปาก หากแม่ไม่ป้อน ทิ้งหนอนซึ่งเป็นอาหารไว้ ก็ไม่สามารถจิกกินเองได้ หรือ ผู้รอว่าครูและอาจารย์จะสอนอะไร และพร้อมจะเชื่อ จะจำเพื่อนำไปสอบ ซึ่งเป็นแนวคิดของโลกโบราณ เด็กและเยาวชนในสภาพนี้ จะอยู่ไม่รอดในอนาคต หรือหากอยู่ก็จะใช้ทรัพยากรที่ครอบครัวสั่งสมมาจะหมดไป เด็กและเยาวชนที่ท่องจำนิยามได้แม่นยำ แต่ไม่ทราบวิะีการใช้งาน ไม่สามารถพลิกแพลงความรู้ไปใช้ได้ ก็เป็นเพียงนักเรียน นักศึกษา, นักเรียนนักศึกษา จะจบลงที่การจำกัดอายุ ตามช่วงวัย
- ผู้เรียน คือ ผู้ที่พยายามตั้งคำถาม สรรหาคำตอบ และวิธีการได้มาซึ่งคำตอบที่หลากหลาย ช่วยให้ตนเองเป็นผู้รู้ใช้วิชาเพื่อให้เกิดประโยชน์ มิใช่รู้เพียงนิยามที่ท่องจำ และไม่สามารถเปลี่ยนชุดความรู้ใด ๆ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลได้ ผู้เรียนนั้น ไม่ได้มีขอบเขตของอายุมาปิดกั้น สามารถเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสภาพของสถาบันการศึกษา หากแต่ สืบหาความรู้, ครูพักลักจำ, จินตนาการ และคาดการณ์บนหลักเหตุผลได้, สร้าง action ที่เกิดขั้น เข้าใจถึงกลไกของการคลี่คลายปัญหา โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องทราบนิยามแห่งทฤษฎีใด ๆ เป็นต้น
- การเรียนรู้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน และจะต้องมีครู หรืออาจารย์ประกอบ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ล้าสมัย ไม่เหมาะสมกับกาลเวลา หากเด็กและเยาวชนยังเชื่อว่า การเรียนรู้นั้นจะต้องเริ่มที่เวลา 08.00 น. - 15.30 น. ในวันจันทร์ - ศุกร์ (ซึ่งจริงๆ แล้ว บางรายกลายเป็นโศกนาฎกรรมในวัยเยาว์ ที่เกิดจากความหวังดีของพ่อแม่ จนทำให้การเรียนแบบ Oridnary style นี้ยาวนาน และมากเกินไป) การเรียนสำหรับ Learner มีมิติหลากหลายดังนี้
- ในยุค 3G4G ในโลกที่ Internet เชื่อมโยงฐานข้อมูลมากมาย ทั้งรูปแบบ e-book, Blog, Website, Clip หรือสื่ออื่นๆ ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ทุกเนื้อหา ทุกที่ และทุกเวลา ห้องเรียนของท่านกว้างขึ้นอย่างมาก เชฟวอร์เจอร์ลี สนทนากับคุณสิทธิชัย หยุ่นกล่างไว้อย่างน่าสนใจว่า สำหรับ Generation นี้นั้น "ไม่มีไม่รู้ มีแต่ไม่อยากจะรู้เสียมากกว่า"
- ในยุคสมัยที่โอกาสวิ่งเข้าหาผู้เรียน มีผู้สร้างกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย หากท่านเพียงเพิ่มความสนใจเข้าร่วม ฉกฉวยโอกาสที่มีผู้หยิบยื่นให้อย่างล้นหลาม ท่านจะได้รับประโยชน์ และประสบการณ์มากมาย แต่พบว่าในอีเว้นท์ต่าง ๆ ถึงแม้นว่าจะจัดขึ้นในสถาบันการศึกษาก็ตาม ยังจะต้องใช้การกะเกณฑ์เพื่อให้เข้าฟัง เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อคนจัดจะไม่เสียหน้า วิทยากรไม่เสียดายเวลา
- ยุคที่ท่านสามารถติดต่อสื่อสารไปยังผู้เขียนบทความ เจ้าของ Content ต่าง ๆ ได้โดยง่าย ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ หากท่านประสงค์ที่จะสื่อสารกับคนเหล่านั้น เพื่อเพิ่มเติมความรู้ แสดงความเห็น สอบถามข้อสงสัย
- ผู้เรียน จะเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนถึงเวลาเรียนในชั้นเรียน นักเรียนนักศึกษาจะรอให้ครูและอาจารย์ป้อนข้อมูลให้ เด็กไทยไม่เคยถูกฝึกฝนย หรือมีจำนวนน้อยมากที่มีการเตรียมตัวก่อนถึงชั้นเรียนตั้งแต่ระดับ ปริญญาตรีไล่ลงไป (แต่อันที่จริงแล้ว ในระดับปริญญาโท ก็ยังพบอยู่บ้างจากประสบการณ์ของผู้เขียน) การเตรียมตัวล่วงหน้า จะเกิดประสิทธิภาพ เพราะว่า จะสามารถใช้เวลา่ในชั้นเรียนเพื่อการสนทนา แลกเปลี่ยนทรรศนะ ฟังจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน ซึ่งขอให้นักเรียน นักศึกษาที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง เพื่อตัวเองได้เริ่มกระบวนการนี้
- หน้าที่ของท่านในช่วงวัยกำลังศึกษา คือ การเรียนโดยปราศจากความกังวลอื่น ๆ พ่อแม่พยายามระดมทรัพยากรมาเพื่อส่งเสริมให้ท่านได้มีโอกาส เพื่อเป็นรากฐานของชีวิตในอนาคต ทว่าหน้าที่อย่างเดียว คือ การตั้งใจในระยะเวลาเพียง 12-18 ปี กลับเป็นเรื่องยากที่จะทำสำหรับเด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่ ที่มีโอกาสและความพร้อม อยากให้ท่านได้ลองหันมองถึงคนที่ปรารถนาแต่ไม่มีโอกาสและทรัพยากรเพียงพอ
- ให้เพิ่มแนวคิดว่า การศึกษาในวันนี้ หากสามารถเตรียมการดี ตั้งใจดี อุทิศเวลาดี จนเข้าใจพื้นฐานแห่งความรู้เรื่องต่าง ๆ และเป็นฐานในการไปศึกษาต่อเอง หรือเพิ่มเติมได้จากประสบการณ์ทำงานต่าง ๆ จะช่วยให้ท่าน ภาคเอกชน ภาคสังคม ประหยัดงบประมาณที่จะใช้ในการ อบรมเพื่อให้พร้อมทำงานได้ แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่เกิดความสูญเสีย แนวคิดนี้ ให้ท่านลองคำนวนค่าใ้จ่ายที่เกิดจากการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดระยะเวลา 12-18 ปี แล้วพบว่าท่านไม่สามารถที่จะใช้ความรู้เหล่านั้น ในเวลาที่ผ่านไปทำงานได้เมื่อต้องการ มันคือความสูญเปล่าทั้งเวลา เศรษฐกิจ ทั้งส่วนตัว ส่วนครัวเรือน และประเทศชาติ
- ต้องทำลายความเชื่อเดิม ๆ ว่า เรียนเพื่อทำอาชีพใด ๆ อาชีพหนึ่ง ในโลกปัจจุบัน และอนาคต ท่านสามารถที่จะทำอาชีพได้หลากหลาย พร้อม ๆ กัน ด้วยตัวช่วยดานเทคโนโลยีต่าง ๆ หากท่านไม่จำกัดตัวเอง ไว้ที่กรอบความคิดเดิมนีั้ และท่านไม่หยุดเรียนรู้ในฐานะผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
- เราสามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาด และท่านไม่ต้องกลัวที่จะทำผิด หากท่านได้ใช้เวลาทบทวนสาเหตุของการผิดครั้งนั้น ก็เป็นการเรียนรู้เช่นกัน เด็กและเยาวชนไทยที่กลัวการทำผิด ตอบผิด กลัวเสียหน้า เป็นแนวคิดเดิมในโลกเก่า บริษัทชั้นนำในปัจจุบันนี้ ให้คุณค่ากับการทำผิด และเข้าใจที่เหตุผล และปรับปรุงกระบวนการทำผิดเหล่านั้น มากกว่าความสำเร็จเสียด้วยซ้ำไป
ทั้งหมดนี้คือ ตัวอย่างของ Mindset เพื่อเยาวชนไทยจะได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาตัวเอง ลงมือทำสิ่งใด จะได้สิ่งนั้น เปลี่ยนแปลงวิธีคิด เปลี่ยนแปลงวิธีการ ก็จะได้ผลลัพท์ใหม่ และท้ายสุด จงใช้โอกาสของความเยาว์วัย เพื่อเป็นประตูในการเรียนรู้ เพราะว่าผู้ใหญ่เอ็นดู และให้โอกาส หากท่านไม่ฉกฉวยโอกาสแห่งวัยเพื่อการเรียนรู้แล้ว เป็นความผิดพลาดอย่างมหาศาล และนี่คือสิ่งที่ฝากไว้ในหัวข้อนี้