หมายเหตุ:
- เขียน เขียนจากประสบการณ์ในฐานะ MonsoonSIM Certified Trainer และ MonsoonSIM Reseller และมิใช่ผู้สอนในวิชากลยุทธ์หรือนักกลยุทธ์ โดยบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ของผู้เขียนเท่านั้น
- ผู้เขียน เขียนไว้เป็นกลางสำหรับนักศึกษาที่มีประสบการณ์เพื่อการทบทวนว่าท่านได้ empower ความรู้จากประสบการณ์หรือไม่ เขียนไว้สำหรับท่าน อาจารย์ CT เพื่อเป็นแนวทางจากประสบการณ์ของผู้เขียน เขียนไว้สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องกลยุทธ์ที่เป็นพื้นฐาน ส่วนกลยุทธ์ภาคพิสดารให้ศึกษาได้ที่มหาวิทยาลัย
- แรงบันดาลใจมาจากอาจารย์ท่านหนึ่งที่ให้ความเห็นเชิงลบว่า การเล่นเกมธุรกิจอย่าง MonsoonSIM ไม่ได้สอนให้นักศึกษามีความคิดเชิงกลยุทธ์ แต่สอนให้เด็กทำงานตาม Flow ในกระบวนการเสียมากกว่า ซึ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมาจากประสบการณ์ของ CT ผู้เขียนบทความนี้ เห็นว่าแท้จริงแล้ว เครื่องมือจะมีความพิเศษ เมื่อผู้ใช้มีความเข้าใจมัน จะสามารถพลิกแพลงให้เครื่องมือแสดงพลังได้มากกว่าที่มันเป็น และผู้เขียนยืนยันว่า MonsoonSIM สามารถสร้าง "ความคิดเชิงกลยุทธ์" สามารถเป็นเครื่องมือในการสอนวิชากลุยุทธ์ได้ และยังให้ประสบการณ์ที่การสอนวิชากลยุทธ์แบบดั้งเดิมทำไมไ่ด้
กลยุทธ์ นั้นหรือคือสิ่งใด และเหตุไฉนจึงมีลับลมคมนัย
ในเชิงภาษาศาสตร์ กลยุทธ์ เป็นการสมาส หรือการรวมกันของสองคำ คือ กล+ยุทธ และจะต้องอ่านออกเสียงต่อเนื่องระหว่างคำ คำนี้จึงต้องอ่านตามหลักภาษาว่า "กน-ละ-ยุด" โดยมีเอาความหมายของ 2 คำมารวมกันไว้ คือ
เมื่อเอาสองคำรวมกันเข้า ความหมายคือ วิธีการคิด วิธีทำ (ที่ตรงไปตรงมา หรือใช้อุบาย) เพื่อให้มีชัยชนะเหนือการต่อสู้ในสงคราม ข้อความในวงเล็บ ทำให้ กลยุทธ์ แปลต่างยาก ยุทธวิธี ตรงที่มี วิธีการเชิงอุบาย เช่น ในกลศึก เมื่อยามที่มีกำลังน้อยกว่าคู่แข่ง อาจใช้กลอุบาย เช่น การใช้กิ่งไม้ผูกไว้กับช้างม้า แล้วให้วิ่งวนให้เกิดฝุ่นตลบ และสร้างบรรยากาศด้วยเสียงกลองออกรบให้จังหวะ เพื่อลวงข้าศึกให้เชื่อว่ามีกองกำลังเหนือกว่า หรือ กลศึกในการแสร้งว่าถอยทัพ แล้วล่อให้ข้าศึกตามมาในจุดอับเพื่อกวาดล้าง หรือทำลายกำลังศัตรู หรือ การใช้สตรีมอมเมาทหารของฝ่ายตรงข้าม และสังหารทิ้งเมื่อเมามาย ในแบบคุณหญิงโม ที่ทุ่งสัมริด เป็นต้น
ในภาษาอังกฤษ มีความแตกต่างกันในเชิงรากศัพท์ แต่มีแหล่งกำเนิดในกองทัพเช่นกัน Strategy (from Greek στρατηγία stratēgia, "art of troop leader; office of general, command, generalship") is a high level plan to achieve one or more goals under conditions of uncertainty. ; Wikipedia) มาจากภาษากรีก ในความหมายที่หมายถึงผู้นำ, นายพล, ผู้นำกองทัพ กับแผนที่จะชนะศึกภายใต้เงื่อนไขและความไม่แน่นอน
ความสอดคล้องกันของภาษาอังกฤษ ที่มีรากศัพท์จากกรีก และคำแปลในภาษาไทยมีความหมายที่ใกล้เคียง และอธิบายได้ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ในการรบ หรีอกลศึก ข้ามสายสู่การเป็นกลยุทธ์ในการบริหารจัดการธุรกิจ หรือถูกเรียกว่า Business Strategy แต่เมื่อใด ผู้เขียนยังไม่สามารถหาช่วงเวลานั้นได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในปัจจุบันกลยุทธ์ถูกนำมาใช้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งยังคงหลักความหมายตั้งต้น คือ การเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยชั้นเชิงในการบริหารจัดการ ด้วยปัจจัยภายนอก และภายใน ผ่านกิจกรรมที่ผสมผสานกัน โดยกลยุทธ์ที่ดีนั้น คู่แข่งจะต้องทำซ้ำได้ยาก หรือทำซ้ำได้แต่ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า หรือ ทำซ้ำไม่ได้ ส่งผลตามระยะเวลาที่คาดหวังไว้ และเกิดประโยชน์สูงสุดในทรัพยากรที่จำกัด (ผู้เขียน) ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปคงเป็นบริบทของกลยุทธฺ์ เช่น จาก สนามรบ เป็นสนามการค้า เปลี่ยนจากการเอาชนะด้วยกำลังเป็นเอาชนะด้านตัวเลขในในมิติใด ๆ ทางธุรกิจ เปลี่ยนจากแม่ทัพ เป็น CEO เป็นต้น
กลยุทธ์เป็นสิ่งที่ไม่เปิดเผย เพราะว่า เป็นความลับในการเอาชนะข้าศึก ที่มาของกลยุทธ์จึงอาจได้รับความหมายแฝงว่าเป็นของที่จำกัดวงเฉพาะแม่ทัพนายกอง หรือเป็นการเรียนรู้ผ่านตำราพิชัยสงคราม ซึ่งจำกัดวงของผู้อ่านไว้อย่างจำกัดเท่านั้น ความลับคงไม่เอามาบอกกันในวงกว้าง แต่ กลยุทธฺธุรกิจถูกสอนในวงกว้าง ทั้ง ๆ ที่ปัจจัยของศึกแตกต่างกันไป การถูกสอนด้วยวิชากลยุทธ์ หรือการเรียนวิชากลยุทธฺที่ถูกสอนเป็นดาบสองคม คือ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี จะเกิดเมื่อกลยุทธ์เหล่านั้นถูกอธิบายโดยเข้าใจพื้นฐานของปัญหา และบริบทแวดล้อม แต่หากกระโจนเข้าไปสอนว่ากลยุทธ์นี้เกิดประโยชน์อะไร อาจจะกลายเป็นข้อเสียได้ และ การสอนวิชากลยุทธ์นั้น อาจจะเป็นกรอบความคิดในการคุมกำเนิดกลยุทธ์อื่น ๆ ได้อีกชั้นหนึ่ง อย่างไรเสีย วิชากลยุทธ์เป็นวิชาพื้นฐานไปเสียแล้วในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หากแต่ว่า ในอนาคต ทุกวิชาสามารถสร้างนักกลยุทธ์ได้ จะเป็นประโยชน์ยิ่ง เช่น การป้องกันโรคเชิงกลยุทธ์ในสาขาวิชาด้านสาธารณสุข, การเตรียม และบริหารจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจของสาขาวิชา Data Analytics เป็นต้น
การคิดเชิงกลยุทธ์ Strategic Thinking และ กลยุทธ์ที่สามารถพัฒนาได้จากประสบการณ์ธุรกิจจำลองจาก MonsoonSIM
ความคิดเชิงกลยุทธ์ Strategic Thinking สำหรับผู้เขียนให้ความหมายไว้ในบริบทดังต่อไปนี้
ใน MonsoonSIM ซึ่งมีทั้งหมด ณ 13 โมดูล (ณ กรกฎาคม 2562) เพื่อจำลองธุรกิจขนาดต่าง ๆ กัน มีความซับซ้อนแตกต่างกัน มีข้อจำกัดและเงื่อนไขแตกต่างกัน เพื่อสร้างให้เกิดปัญหาที่แตกต่างกัน นอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือสร้างประสบการณ์และความรู้พื้นฐานให้กับนักศึกษา หรือ มือใหม่หัดบริหารธุรกิจ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถที่จะสร้าง Combination ของการทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจได้ โดยผู้เขียนในฐานะ Certified Trainer เล็งเห็นว่า สามารถใช้เครื่องมือนี้ในการสอน หรือสร้างวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ เมื่อผู้ใช้มีความเข้าใจพื้นฐานต่าง ๆ ใน MonsoonSIM แล้ว (ตามแบบที่ผู้เขียนให้นิยามไว้ด้านบน) อาจสรุปให้เห็นเบื้องต้นได้ดังนี้
ความคิดที่เป็นระบบ Systematic Thinking
หมายถึง ความคิดที่แก้ปัญหาจากความเข้าใจระบบ และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ แบบ end-to-end เช่น ธุรกิจ จะมีกระบวนการทางธุรกิจ ที่เรียกว่า Business Processes ซึ่งจะมีความซับซ้อน สั้นยาว ด้วยห่วงโซ่อุปทานที่มีสายโซ้สั้นและยาวไม่เท่ากัน ในการเรียนแบบวิธีปรกติ จะไม่สามารถสร้างความเข้าใจ พร้อมกับประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกันในระบบ จริงอยู่ที่จะมีบ้างที่นักศึกษาพบเห็นจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น ที่บ้านมีธุรกิจในขนาดต่าง ๆ และเป็นผู้หมั่นสังเกตกิจกรรมต่าง ๆ และการจัดการปัญหาของผุ้ใหญ่ในบ้าน ทว่าก็จะมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถมองเห็นผลลัพท์ ข้อมูล จากกิจกรรมที่ทำได้อย่างชัดเจน MonsoonSIM ที่สามารถจำลองธุรกิจที่มีความสั้นยาวของห่วงโซ่อุปทานได้อย่างหลากหลาย จะช่วยสร้างกระบวนการคิดที่เป็นระบบได้มากขึ้น เนื่องจาก จะสามารถเห็นผลที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการได้ และรวมไปถึงผลลัพท์ของทั้งบริษัทจำลองรวมกัน
ในเชิงภาษาศาสตร์ กลยุทธ์ เป็นการสมาส หรือการรวมกันของสองคำ คือ กล+ยุทธ และจะต้องอ่านออกเสียงต่อเนื่องระหว่างคำ คำนี้จึงต้องอ่านตามหลักภาษาว่า "กน-ละ-ยุด" โดยมีเอาความหมายของ 2 คำมารวมกันไว้ คือ
- กล มีความหมายว่า วิธีการคิด วิธีการทำ ที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย ให้ความหมายที่ไม่ต้องไปตรงมา หรือมีอุบาย ในเชิงวรรณคดี กลอนกลบท คือ บทกลอนที่ต้องอ่านแล้วเชื่อมความสัมพันธ์ไปมา การสลับคำทำให้เกิดความหมายในบทกลอน หรือ ประตูกล คือ ประตูที่ไม่สามารถเข้าไปด้วยวิธีปรกติ หรือ ยังมีศัพท์ต่าง ๆ เช่น มายากล, กลอุบาย เป็นต้น
- ยุทธ หรือ การสงคราม การต่อสู้
เมื่อเอาสองคำรวมกันเข้า ความหมายคือ วิธีการคิด วิธีทำ (ที่ตรงไปตรงมา หรือใช้อุบาย) เพื่อให้มีชัยชนะเหนือการต่อสู้ในสงคราม ข้อความในวงเล็บ ทำให้ กลยุทธ์ แปลต่างยาก ยุทธวิธี ตรงที่มี วิธีการเชิงอุบาย เช่น ในกลศึก เมื่อยามที่มีกำลังน้อยกว่าคู่แข่ง อาจใช้กลอุบาย เช่น การใช้กิ่งไม้ผูกไว้กับช้างม้า แล้วให้วิ่งวนให้เกิดฝุ่นตลบ และสร้างบรรยากาศด้วยเสียงกลองออกรบให้จังหวะ เพื่อลวงข้าศึกให้เชื่อว่ามีกองกำลังเหนือกว่า หรือ กลศึกในการแสร้งว่าถอยทัพ แล้วล่อให้ข้าศึกตามมาในจุดอับเพื่อกวาดล้าง หรือทำลายกำลังศัตรู หรือ การใช้สตรีมอมเมาทหารของฝ่ายตรงข้าม และสังหารทิ้งเมื่อเมามาย ในแบบคุณหญิงโม ที่ทุ่งสัมริด เป็นต้น
ในภาษาอังกฤษ มีความแตกต่างกันในเชิงรากศัพท์ แต่มีแหล่งกำเนิดในกองทัพเช่นกัน Strategy (from Greek στρατηγία stratēgia, "art of troop leader; office of general, command, generalship") is a high level plan to achieve one or more goals under conditions of uncertainty. ; Wikipedia) มาจากภาษากรีก ในความหมายที่หมายถึงผู้นำ, นายพล, ผู้นำกองทัพ กับแผนที่จะชนะศึกภายใต้เงื่อนไขและความไม่แน่นอน
ความสอดคล้องกันของภาษาอังกฤษ ที่มีรากศัพท์จากกรีก และคำแปลในภาษาไทยมีความหมายที่ใกล้เคียง และอธิบายได้ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ในการรบ หรีอกลศึก ข้ามสายสู่การเป็นกลยุทธ์ในการบริหารจัดการธุรกิจ หรือถูกเรียกว่า Business Strategy แต่เมื่อใด ผู้เขียนยังไม่สามารถหาช่วงเวลานั้นได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในปัจจุบันกลยุทธ์ถูกนำมาใช้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งยังคงหลักความหมายตั้งต้น คือ การเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยชั้นเชิงในการบริหารจัดการ ด้วยปัจจัยภายนอก และภายใน ผ่านกิจกรรมที่ผสมผสานกัน โดยกลยุทธ์ที่ดีนั้น คู่แข่งจะต้องทำซ้ำได้ยาก หรือทำซ้ำได้แต่ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า หรือ ทำซ้ำไม่ได้ ส่งผลตามระยะเวลาที่คาดหวังไว้ และเกิดประโยชน์สูงสุดในทรัพยากรที่จำกัด (ผู้เขียน) ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปคงเป็นบริบทของกลยุทธฺ์ เช่น จาก สนามรบ เป็นสนามการค้า เปลี่ยนจากการเอาชนะด้วยกำลังเป็นเอาชนะด้านตัวเลขในในมิติใด ๆ ทางธุรกิจ เปลี่ยนจากแม่ทัพ เป็น CEO เป็นต้น
กลยุทธ์เป็นสิ่งที่ไม่เปิดเผย เพราะว่า เป็นความลับในการเอาชนะข้าศึก ที่มาของกลยุทธ์จึงอาจได้รับความหมายแฝงว่าเป็นของที่จำกัดวงเฉพาะแม่ทัพนายกอง หรือเป็นการเรียนรู้ผ่านตำราพิชัยสงคราม ซึ่งจำกัดวงของผู้อ่านไว้อย่างจำกัดเท่านั้น ความลับคงไม่เอามาบอกกันในวงกว้าง แต่ กลยุทธฺธุรกิจถูกสอนในวงกว้าง ทั้ง ๆ ที่ปัจจัยของศึกแตกต่างกันไป การถูกสอนด้วยวิชากลยุทธ์ หรือการเรียนวิชากลยุทธฺที่ถูกสอนเป็นดาบสองคม คือ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี จะเกิดเมื่อกลยุทธ์เหล่านั้นถูกอธิบายโดยเข้าใจพื้นฐานของปัญหา และบริบทแวดล้อม แต่หากกระโจนเข้าไปสอนว่ากลยุทธ์นี้เกิดประโยชน์อะไร อาจจะกลายเป็นข้อเสียได้ และ การสอนวิชากลยุทธ์นั้น อาจจะเป็นกรอบความคิดในการคุมกำเนิดกลยุทธ์อื่น ๆ ได้อีกชั้นหนึ่ง อย่างไรเสีย วิชากลยุทธ์เป็นวิชาพื้นฐานไปเสียแล้วในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หากแต่ว่า ในอนาคต ทุกวิชาสามารถสร้างนักกลยุทธ์ได้ จะเป็นประโยชน์ยิ่ง เช่น การป้องกันโรคเชิงกลยุทธ์ในสาขาวิชาด้านสาธารณสุข, การเตรียม และบริหารจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจของสาขาวิชา Data Analytics เป็นต้น
การคิดเชิงกลยุทธ์ Strategic Thinking และ กลยุทธ์ที่สามารถพัฒนาได้จากประสบการณ์ธุรกิจจำลองจาก MonsoonSIM
ความคิดเชิงกลยุทธ์ Strategic Thinking สำหรับผู้เขียนให้ความหมายไว้ในบริบทดังต่อไปนี้
- ความคิดที่เข้าใจถึงรากฐานของปัญหา และผู้ใช้สามารถให้ทางเลือกในการใช้งานได้หลากหลาย จัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนได้ สำหรับผู้เขียนนั้นปัญหามีหลายมิติ ปัญหาที่เราพบเห็นกัน อาจจะมีวิธีแก้ไขได้หลากหลายวิธีการ ซึ่งควรเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ ตามสถานการณ์และข้อจำกัด การคิดเชิงกลยุทธ์นั้น ควรมีทางเลือกให้กับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้ ถ้าวิธีคิดเชิงกลยุทธ์มีทางเลือกเพียงทางเลือกเดียว และในระหว่างการแก้ไขเจออุปสรรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้คาดหวัง หรือ ไม่รู้รากฐานปัญหาที่แท้จริง ความคิดล้ำ ๆ เหล่านั้นสำหรับผู้เขียนไม่ได้เป็นกลยุทธ์
- ความคิดที่สามารถลงมือทำได้ และผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการได้ และเห็นผลทางบวกจริงเกิดปรพโยชน์กับกิจการอย่างแท้จริง บ่อยครั้งที่เราเห็นการสอนวิชากลยุทธ์ สอนให้รู้จักกลยุทธ์ที่มีการใช้งานมาจากองค์กรใด ๆ แล้วประสบความสำเร็จ ทว่าเมื่อผู้เรียนจะนำเอาหลักวิชากลยุทธ์ไปใช้ จะไม่สามารถทำได้ เพราะว่า ปัจจัยแวดล้อมของปัญหา, ข้อจำกัดด้านทรัพยากร แตกต่างกัน หากจะเข้าจกลยุทธ์ล้ำ ๆ แต่ทว่า ไม่สามารถเข้าถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของกลยุทธ์ตามสถานการณ์ที่ใช้ แบบนี้ไม่เกิดประโยชน์
- ความคิดเชิงกลยุทธ์อาจจะซับซ้อน แต่วิธีการปฏิบัติต้องเรียบง่าย และสื่อสารให้คนที่ไม่ได้อยู่ในกระวนวิธีคิด หรือมีความพร้อมเช่นผู้คิด สามารถลงมือปฏิบัติได้ ความคิดเชิงกลยุทธ์ถูกตีความว่าต้องเป็น "ท่ายาก" เพราะว่าความยาก อาจะหมายถึงความเก่ง หรือ "มีความซับซ้อน" เพราะว่าความซับซ้อนทำให้เกิดความพิเศษ ในหลาย ๆ องค์กรมีแนวคิดเชิงกลยุทธ์มากมาย แต่มักจะตกม้าตาย เมื่อนำไป "ลงมือ" ปฏิบัติ เพราะว่า "ความยาก" และ "ความซับซ้อน" อาจมีราคาในเชิงความคิด แต่เมื่อถึงการปฏิบัติ ความยากและซับซ้อนเป็นอุปสรรคกับคนที่จะต้องลงมือทำให้เกิดผลลัพท์ที่ต้องการ การสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานจริง ๆ มักจะไม่ได้ประสบผลสำเร็จตามความคาดหวัง เนื่องจากความรู้ ความเข้าใจ ของสายปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์อาจไม่พร้อม กลยุทธ์จึงต้องออกแบบให้ง่ายเวลานำไปปฏิบัติ
ใน MonsoonSIM ซึ่งมีทั้งหมด ณ 13 โมดูล (ณ กรกฎาคม 2562) เพื่อจำลองธุรกิจขนาดต่าง ๆ กัน มีความซับซ้อนแตกต่างกัน มีข้อจำกัดและเงื่อนไขแตกต่างกัน เพื่อสร้างให้เกิดปัญหาที่แตกต่างกัน นอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือสร้างประสบการณ์และความรู้พื้นฐานให้กับนักศึกษา หรือ มือใหม่หัดบริหารธุรกิจ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถที่จะสร้าง Combination ของการทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจได้ โดยผู้เขียนในฐานะ Certified Trainer เล็งเห็นว่า สามารถใช้เครื่องมือนี้ในการสอน หรือสร้างวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ เมื่อผู้ใช้มีความเข้าใจพื้นฐานต่าง ๆ ใน MonsoonSIM แล้ว (ตามแบบที่ผู้เขียนให้นิยามไว้ด้านบน) อาจสรุปให้เห็นเบื้องต้นได้ดังนี้
ความคิดที่เป็นระบบ Systematic Thinking
หมายถึง ความคิดที่แก้ปัญหาจากความเข้าใจระบบ และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ แบบ end-to-end เช่น ธุรกิจ จะมีกระบวนการทางธุรกิจ ที่เรียกว่า Business Processes ซึ่งจะมีความซับซ้อน สั้นยาว ด้วยห่วงโซ่อุปทานที่มีสายโซ้สั้นและยาวไม่เท่ากัน ในการเรียนแบบวิธีปรกติ จะไม่สามารถสร้างความเข้าใจ พร้อมกับประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกันในระบบ จริงอยู่ที่จะมีบ้างที่นักศึกษาพบเห็นจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น ที่บ้านมีธุรกิจในขนาดต่าง ๆ และเป็นผู้หมั่นสังเกตกิจกรรมต่าง ๆ และการจัดการปัญหาของผุ้ใหญ่ในบ้าน ทว่าก็จะมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถมองเห็นผลลัพท์ ข้อมูล จากกิจกรรมที่ทำได้อย่างชัดเจน MonsoonSIM ที่สามารถจำลองธุรกิจที่มีความสั้นยาวของห่วงโซ่อุปทานได้อย่างหลากหลาย จะช่วยสร้างกระบวนการคิดที่เป็นระบบได้มากขึ้น เนื่องจาก จะสามารถเห็นผลที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการได้ และรวมไปถึงผลลัพท์ของทั้งบริษัทจำลองรวมกัน
- Business Process Management Strategy เป็นกลยุทธ์ที่สามารถใช้ MonsoonSIM สร้างประสบการณ์และเรียนรู้เรื่องนี้ได้อย่างโดดเด่น เนื่องจากการจำลองธุรกิจจากสายโซ่อุปทานที่สั้น จะมีกระบวนการทำงาน และการตัดสินใจจำนวนไม่มาก และเมื่อนักศึกษาได้มีความเข้าใจหลักการบริหาร หลักการตัดสินใจเหล่านั้น (โดยไม่จำเป็นจะต้องทราบชื่อทฤษฎี หรือหลักวิชา) จะเกิดเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยง multiple cuases เพื่อสร้าง multiple optional Solutions ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ ทำใหเิกดทางเลือกได้มากขึ้น และยังสามารถมองเห็นสาเหตุของปัญหาหนึ่ง ๆ ในทางธุรกิจ ที่เกิดจากหลายกระบวนการได้ และเมื่อให้ MonsoonSIM จำลองธุรกิจที่มีสายโซ่อุปทานเพิ่มเติมจากขนาดเดิมที่เคยได้รับประสบการณ์ และเพิ่มความซับซ้อนด้วย Feature ต่าง ๆ สิ่งที่นักศึกษาจะเข้าใจ และทำให้วิชา Business Process Management สามารถจับต้องได้จริง จะกลายเป็น "กลยุทธ์ในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ" ทั้งนี้อาจารย์ และ Certified Trainer ผู้สอน ควรที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ในสายโซ่อุปทานที่มีขนาดสั้นยาวไม่เท่ากัน กับโลกธุรกิจจริง และยกตัวอย่างกระบวนการบริหารนี้ในโลกจริงเปรียบเทียบกันให้เกิดความชัดเจน
- ตัวอย่างเช่น บริษัทฯ มีที่ช่องทางการทำตลาดเิพิ่มขึ้น อาจจะสร้างปัญหาของการจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งปัญหาจากการกระบวนการนี้ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมของคู่ค้า, การขาดสภาพคล่องทางการเงินของกิจการ, ความสามารถในการเติมอุปสงค์ที่มีข้อจำกัด เป็นต้น ผู้มีประสบการณ์ MonsoonSIM จะสามารถเข้าใจพื้นฐานของปัญหาที่หลากหลายสาเหตุ และจะสามารถพัฒนารูปแบบวิะีการแก้ปัญหาในกระบวนการต่าง ๆ มากกว่า 1 วิธี แต่จะเป็นการเกิดขึ้นของวิธีการแก้ปัญหาแบบเป็นโซลูชั่น ซึ่งสิ่งนี้คือรูปแบบหนึ่งของ Systematic Thinking
- ตัวอย่างเช่น ปัญหาที่เกิดจากความไม่สามารถดำเนินการผลิตตามขั้นตอน (Production Process) ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปในกระบวนการ อาจเกิดจากหลายสาเหตุในกระบวนการดำเนินการ เช่น การ forecasting ผิดพลาด หรือแผนการตลาดไม่มีความชัดเจน, ความผิดพลาดจากกระบวนการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ, ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการขนส่ง และโลจิสติกส์ในสาเหตุอื่นๆ, ความผิดพลาดในการวางแผนการซ่อมบำรุง ฯลฯ เมื่อนักศึกษามีความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจ จะสามารถมองเห็นสาเหตุของปัญหาและสามารถแก้ได้ถูกจุด ซึ่งสิ่งนี้ไม่สามารถสอนได้ด้ววิธีการสอนกลยุทธฺจากรูปแบบการ lecture แบบที่สอนกันในสถาบันการศึกษา เป็นต้น
- ความเข้าใจในเชิงกระบวนการทางธุรกิจนี้ มีความจำเป็นต่อสายวิชาอื่นๆ เช่น IT for Business, ERP Consultant เนื่องจาก IT เป็นหน่วยสนับสนุนธุรกิจในปัจจุบัน นักศึกษาที่ไ้ดมีประสบการณ์และความเข้าใจเรื่อง Business Process ในกรณีสาย IT จะสามารถเข้าใจพื้นฐาน ความต้องการของงาน ในกรณีการสร้างรายงานที่จำเป็น จะทราบว่าจะค้องดึงข้อมูลจากใคร ใน Database ใดบ้าง หรือในส่วนของ ERP นั้น ยิ่งมีความจำเป็น เนื่องจาก การเข้าใจ Business Processes มีความจำเป็นในการเข้าใจและใช้งาน ERP เป็นต้น หากสถาบันการศึกษาที่มีสาขาวิชา IT for Business ในชื่อต่าง ๆ กัน สามารถสร้างให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องนี้ได้ ก็จะสร้างนักกลยุทธ์ทาง IT for Business ด้วยเช่นกัน
กลยุทธ์ที่เกิดจากการผสมผสานเครื่องมือเข้าด้วยกัน (Intrgrated Tools to build Basic Strategy)
ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นในพื้นฐานของความรู้ และเชื่ออย่างยิ่งว่า "พื้นฐาน" ที่ผู้ใช้ นักศึกษา นักประกอบการ มีความเข้าใจจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ก่อนสิ่งที่ Advance ที่ถูกขนานนามว่า "กลยุทธ์" และกลยุทธ์สร้างได้จากพื้นฐานที่ดี ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการใช้ Marketing Mix 4P และ 7P ซึ่งเป็นทั้งพื้นฐาน และสุดยอดเคล็ดวิชาในการบริหารธุรกิจมาแสดงให้เห็นว่า MonsoonSIM สามารถที่จะทำให้ความเข้าใจ และการนำเอา Marekting Mix มาผสมผสานใช้จริง ๆ จนเกิดเป็นพื้นฐานได้อย่างไร และจริงอยู่ที่ว่า เราสามารถสอนและอธิบายสเรื่องนี้ได้ในชั้นเรียนแบบ lecture ทว่า การที่ความรู้ สามารถสัมผัสได้ และเกิดเป็นประสบการณ์นั้นสำคัญกว่าในทรรศนะของผู้เขียน ใน MonsoonSIM ณ ปัจจุบัน (Version 7.x กรกฎาคม 2562) สามารถเชื่อมโยงหลัก marketing mix ได้เกือจะครบวง เช่น Price, Place, Product, Promotion, Process, People ซึ่งจะมี P บางตัว และใน Marketing mix ที่ครอบคลุมพื้นฐาน ทว่า CT สามารถเป็นผู้สร้างประบวนการคิดให้กับนักศึกษาได้
ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นในพื้นฐานของความรู้ และเชื่ออย่างยิ่งว่า "พื้นฐาน" ที่ผู้ใช้ นักศึกษา นักประกอบการ มีความเข้าใจจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ก่อนสิ่งที่ Advance ที่ถูกขนานนามว่า "กลยุทธ์" และกลยุทธ์สร้างได้จากพื้นฐานที่ดี ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการใช้ Marketing Mix 4P และ 7P ซึ่งเป็นทั้งพื้นฐาน และสุดยอดเคล็ดวิชาในการบริหารธุรกิจมาแสดงให้เห็นว่า MonsoonSIM สามารถที่จะทำให้ความเข้าใจ และการนำเอา Marekting Mix มาผสมผสานใช้จริง ๆ จนเกิดเป็นพื้นฐานได้อย่างไร และจริงอยู่ที่ว่า เราสามารถสอนและอธิบายสเรื่องนี้ได้ในชั้นเรียนแบบ lecture ทว่า การที่ความรู้ สามารถสัมผัสได้ และเกิดเป็นประสบการณ์นั้นสำคัญกว่าในทรรศนะของผู้เขียน ใน MonsoonSIM ณ ปัจจุบัน (Version 7.x กรกฎาคม 2562) สามารถเชื่อมโยงหลัก marketing mix ได้เกือจะครบวง เช่น Price, Place, Product, Promotion, Process, People ซึ่งจะมี P บางตัว และใน Marketing mix ที่ครอบคลุมพื้นฐาน ทว่า CT สามารถเป็นผู้สร้างประบวนการคิดให้กับนักศึกษาได้
- กลยุทธ์ของ P integrated P คือ พื้นฐานกลยุทธ์ในการทำตลาด ด้วย Marketing Mix
- สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ทางการทำตลาด และจะต้องใช้ Marketing Mix บ่อยครั้งที่พบว่า ไม่รู้ว่าจะผสมเครื่องมือเหล่านี้อย่างไร เนื่องจากตอนที่เรียนก็เรียนแยกส่วนกัน ถูกบังคับให้เข้าใจว่าแต่ละเครื่องมือทำงานอย่างไร เรียนบนสมมติฐานหนึ่ง ๆ ไม่เห็นผลอย่างชัดเจน และใช้ประสบกาณ์รอบตัวในการตัดสินใจ ทั้ง ๆ ที่เครื่องมือมีชื่อว่า Marketing MIX แต่ยากเหลือเกินที่จะผสมเครื่องมือเข้าด้วยกัน
- ราคา หรือ Price เป็นเครื่องมือหลักที่ถูกหยิบยกมาใช้มากที่สุด บ่อยครั้งที่สุด เพราะว่าทำง่ายที่สุด และถูกเรียกอย่างรวดเร็วว่า "กลยุทธ์ราคา" แต่หากตั้งคำถามกลับไปว่า
- ยอดขายที่เพิ่มขึ้น หมายถึงสัดส่วนกำไรที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะว่าบ่อยครั้งที่เราขายได้เพราะการลดราคา แต่เราตั้งราคาผิด เป็นราคาที่มี Margin แคบ และไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุน ทั้ง COGS และ OPEX ที่เข้าใจผิดว่าเป็นกลยุทธ์ อาจเป้นการวางยาตัวเองหรือเปล่า
- ยอดขายที่เพิ่มขึ้น เป็นความต้องการแท้จริง หรือเป็นความต้องการชั่วคราว เพราะแรงจูงใจ การลดราคาที่เรียกว่าเป็นกลยุทธ์จะส่งผลอย่างไร หากปรับเพิ่มราคาในอนาคต หากมีแผนรองรับ และแผนที่รองรับเดินไปตามสมมติฐาน แบบนี้เป็นกลยุทธ์ของราคาได้
- ยอดขายที่เพิ่มขึ้น จากการใช้ Price นั้น ข้อดีข้อเสึย และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอีกหลายส่วนใน Business Process สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สอนด้วยวิธีการเดิมอย่างไร ก็ไม่มีทางเข้าใจได้ทั้งหมด
- การใช้ P intergreated P เป็นพื้นฐานทางกลยุทธ์ ที่ช่วยให้การทำตลาดดำเนินไป ด้วยกระบวนการรองรับที่เหมาะสม ซึ่งก็ยังคงยืนยันว่า Process Strategy มีความสำคัญอย่างไร มิเช่นนั้น Kaizen หรือ Lean Management จะไม่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น
- เมื่อ P-Price intergrated with P-Promotion และทำงานร่วมกัน ทำให้เกิด Market Penetration และ Boost up Marker Share โดยทฤษฎี ใครๆ ก็เข้าใจได้ ทว่าในการเรียนการสอน จะให้เห็นพลานุภาพของ Marketing Mix ได้อย่างไร ผลที่เกิดขึ้นจาก การ ที่ Price Integrated with Promotion จะส่งผลให้ Demand สูงขึ้นทางทฤษฎี ทว่าจะตามมาด้วยปัญหาต่อไป คือ ปัญหาของ สินค้าที่ไม่พอกับการขาย อันเกิดจากการประเมินผิดพลาด ในกระบวนการ Procurement (ซึ่งปัญหานี้สะท้อนได้ใน MonsoonSIM Simulataion) ในกรณีนี้จะเป็นจะต้อง Integreated P-Process เข้าไปร่วมด้วยในการปฏิบัติจริง หากพักไว้เท่านี้ ท่านจะสังเกตว่าเหตุใด ผู้เขียนจึงนิยามว่า กลยุทธ์ คือการผสมผสานกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรมเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุผลตามที่ตังเป้าไว้ โดยวิเคราะห์ทั้งปัจจัยภายใน และภายนอก รวมไปถึงทรัพยากรที่จำกัด
- หากพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่ม เนื่องจากในแต่ตลาด มีความต้องการแตกต่างกันไป P-Place จะผนวกเพิ่มเข้าไป (ซึ่ง Alrogithm ของ MonsoonSIM สร้างประสบการณ์นี้ได้) ผ่านตัวเลขที่ถูกบันทึกรายการตามระบบ ERP และให้ concept Real Time Management ด้วย P-Physical Evidence ที่เห็นผลของการประกอบการขัดเจน หรือวัดคุณภาพงาน ตรวจสอบคุณภาพการตัดสินใจได้ด้วย Business Intellegent; BI ถ้าเพียงเท่านี้ ท่านจะเห็นว่า ได้ให้ประสบการณ์ การคิดเชิงกลยุทธ์ด้วย การ Interegated P เข้าด้วยกัน ถึง 4 ตัว เป็นวิธีการที่ทำซ้ำได้ยาก เพระาต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และนี่เป็วิธีการสร้างนักกลยุทธ์จากความรู้พื้นฐาน
- ในแต่ละงาน จะคุณภาพการทำงานของบุคลากร ใน MonsoonSIM สามารถจำลองสถานการณ์นี้ได้ ทำให้ P-People ถูก Integrate ร่วมเข้าไป หากนักประกอบการ นักเรัยน นักศึกษาเปลี่ยนพื้นฐานเหล่านี้เป็นกลยุทธ์ได้ เขาจะสามารถไปสร้างกลยุทธ์อื่น ๆ ได้อีก เพราะว่าเขาเข้าใจหลักวิธีคิด ซึ่งสำคัญกว่าการสอนให้จำแค่ว่า กลยุทธ์นี้ใครคิด ใช้ในอตุสาหกรรมใด ในปีอะไร
หลักคิดและประสบการณ์ในการสร้างการบริหารเชิงกลยุทธ์ใน FRM และ SCM
กลยุทธ์ จะก้าวผ่านเส้นกั้นของกลุยทธ์ กับ ความคิด ได้เมื่อเห็นผล การคิดกลยุทธ์ และการเรียนการสอนในวิชากลยุทธ์ หากพิสูจน์หรือเห็นผลลัพท์ไม่ได้ จะมั่ใจได้อย่างไร นอกจากการท่องจำ และชเื่อว่า ปัจจัยแวดล้อมจะมีความคล้ายคลึงสถานการณ์จริงที่กลยุทธ์นั้น ๆ เคยประสบความสำเร็จมาก หนึ่งในความท้าทาย ที่ผู้เขียนบทความเรียนรู้ด้วยตนเอง จาก MonsoonSIM ที่ตัวเองมีประสบการณ์ CT คือ ความยุ่งยากที่จะอธิบาย Financial Resource Management และ Supply Chain Management ให้เข้าใจได้ และทำให้นักศึกษาไปพัฒนารูปแบบของการบริหารจัดการเรื่องเหล่านี้ให้เป็นเชิงกลยุทธ์
กลยุทธ์ จะก้าวผ่านเส้นกั้นของกลุยทธ์ กับ ความคิด ได้เมื่อเห็นผล การคิดกลยุทธ์ และการเรียนการสอนในวิชากลยุทธ์ หากพิสูจน์หรือเห็นผลลัพท์ไม่ได้ จะมั่ใจได้อย่างไร นอกจากการท่องจำ และชเื่อว่า ปัจจัยแวดล้อมจะมีความคล้ายคลึงสถานการณ์จริงที่กลยุทธ์นั้น ๆ เคยประสบความสำเร็จมาก หนึ่งในความท้าทาย ที่ผู้เขียนบทความเรียนรู้ด้วยตนเอง จาก MonsoonSIM ที่ตัวเองมีประสบการณ์ CT คือ ความยุ่งยากที่จะอธิบาย Financial Resource Management และ Supply Chain Management ให้เข้าใจได้ และทำให้นักศึกษาไปพัฒนารูปแบบของการบริหารจัดการเรื่องเหล่านี้ให้เป็นเชิงกลยุทธ์
- FRM; Financial Resource Management คือ การบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงิน หรือมูลค่าเทียบเท่ากับเงิน เราอาจจะสอนเชิงทฤษด้านวิชาการเงินได้ แต่จะมีนักศึกษาการเงิน และนักศึกษาทั่วไปที่ การเงินควรเป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิต และการประกอบการได้อย่างไร นักศึกษา ป.ตรี หรือ ป.โท อาจไม่รู้จักการบริหารเชิงกลยุทธ์เท้ากับ SME ที่มีทักษะในการหมุนเงิน ให้เกิดงาน และไม่เดือนร้อน ซึ่งเป็นขั้นเทพของวิชา SME-FRM แต่จากประสบการณ์ CT ของผู้เขียน เราสามารถสร้างให้นักศึกษาเข้าใจเรื่อง ความสำคัญของ Cash Liquidity, Cash Conversion Cycle, Turnover Ratio ที่เกี่ยวข้องด้วย MonsoonSIM ซึ่งดีพอจะเป็นพื้นฐาน ให้เขารู้จักจังหวะในการบริหาร FRM กับ จังหวะของการดำเนินธุรกิจตามแผนทางการตลาด ในเกม MonsoonSIM พื้นฐาสำคัญ ที่พัฒนาเป็นกลยุทธ์ในการบริหารการเงินได้ คือ การรักษาสภาพคล่อง, การจัดการการเงินให้ตรงกับความต้องการในการ Procurement, ความสัมพันธ์ระหว่างการขายกับรายได้ และวงรอบของ Cash flow
- SCM; Supply Chain Management คือ การบริหารโซ่อุปทาน ซึ่งครอบคลุมทั้ง Internal Chain และ External Chain การจะทำให้ Multiple Business Process Lead time สัมพันธ์กันเป็นเรื่องที่ยาก ทว่าใน MonsoonSIM สร้าง concept นี้ได้ และเมื่อมีประสบการณ์และความเข้าใจเรื่องการจัดการ SCM และประโยชน์ทางธุรกิจ ท่านจะพบว่านี่คือ สุดยอดกลยุทธ์ที่สร้างจากพื้นฐาน และสร้างจากเกมได้
การทำงานเป็นทีม และการเชื่อมโยงข้อมูล เป็นผลผลอยได้จาก MonsoonSIM แต่เป็นผลผลอยได้ของการสร้างกลยุทธ์ระดับองค์กร
การทำงานของกลุ่มคน ที่เป็นระดับทีม เป็นผลิตผลที่มีเงินก็สร้างได้ยาก องค์กรต่างๆ พากันลงทุนในกิจกรรมรูปแบบ Team Building ที่มักลงเอยด้วยการจ่ายตังส์และจบที่ปรบมือ ปลุกยักษ์ในการทำงานเป็นครั้ง ๆ ไป จบการอบรมจะมีผลอยู่ 2-3 วัน และเริ่มต้นใหม่ในปีต่อไป ผู้เขียนเคยมีอาชีพ event organizer ได้เห็นกิจกรรมลักษณะนี้อย่างหลากหลาย ได้รับโจทย์จากผู้บริหารว่า จ่ายแพงแต่ขอให้ได้ทีม ซึ่งเงินนั้นแลกทีมไม่ได้ ได้เห็น Trainer, Coach และ Approching มากมายหลากหลายวิธี ผุ้เขียนเพียงแบ่งปันความคิดและประสบการณ์ว่า การสร้างทีมทางธุรกิจ ต้องใช้ ข้อมูลและหลักคิดทางธุรกิจ จะสร้างทีมให้ทำธุรกิจ ใช้การปรบมือ และปลุกยักษ์เป็นคน ๆ ไม่ได้ BUSINESS TEAM BUILDING กับ การแบ่งปัน สื่อสรข้อมูล สร้าง Strategic Decision Makign Team สำหรับนักศึกษาผู้เขียนบอกเขาหล่านั้นเสมอว่า สิ่งนี้เป็น "ของขวัญ" เป็นสิ่งที่เมื่อเขาเปิดออกในเวลาที่เหมาะสม เขาจะร้องว้าว ดีใจ เนื่องจาก เขาเองยังไม่มีประสบการณ์ และไม่รู้ว่าทักษะนี้จำเป็นยิ่ง จนกว่าเขาจะได้ใช้งานในงานจริง สำหรับองค์กรทั่วไป การสร้างทีมที่ที่มีนัยยะของ Collaboration ในหลายมิติ เป็นความปรารถนาที่ทุกองค์กรต้องการ คุณจะพบว่า พื้นฐานของการสร้าง Strategic Decision Maker และ Stratrgic Decision Makign Team หาได้จากคุณสมบัติเหล่านี้ที่พบใน MonsoonSIM
การทำงานของกลุ่มคน ที่เป็นระดับทีม เป็นผลิตผลที่มีเงินก็สร้างได้ยาก องค์กรต่างๆ พากันลงทุนในกิจกรรมรูปแบบ Team Building ที่มักลงเอยด้วยการจ่ายตังส์และจบที่ปรบมือ ปลุกยักษ์ในการทำงานเป็นครั้ง ๆ ไป จบการอบรมจะมีผลอยู่ 2-3 วัน และเริ่มต้นใหม่ในปีต่อไป ผู้เขียนเคยมีอาชีพ event organizer ได้เห็นกิจกรรมลักษณะนี้อย่างหลากหลาย ได้รับโจทย์จากผู้บริหารว่า จ่ายแพงแต่ขอให้ได้ทีม ซึ่งเงินนั้นแลกทีมไม่ได้ ได้เห็น Trainer, Coach และ Approching มากมายหลากหลายวิธี ผุ้เขียนเพียงแบ่งปันความคิดและประสบการณ์ว่า การสร้างทีมทางธุรกิจ ต้องใช้ ข้อมูลและหลักคิดทางธุรกิจ จะสร้างทีมให้ทำธุรกิจ ใช้การปรบมือ และปลุกยักษ์เป็นคน ๆ ไม่ได้ BUSINESS TEAM BUILDING กับ การแบ่งปัน สื่อสรข้อมูล สร้าง Strategic Decision Makign Team สำหรับนักศึกษาผู้เขียนบอกเขาหล่านั้นเสมอว่า สิ่งนี้เป็น "ของขวัญ" เป็นสิ่งที่เมื่อเขาเปิดออกในเวลาที่เหมาะสม เขาจะร้องว้าว ดีใจ เนื่องจาก เขาเองยังไม่มีประสบการณ์ และไม่รู้ว่าทักษะนี้จำเป็นยิ่ง จนกว่าเขาจะได้ใช้งานในงานจริง สำหรับองค์กรทั่วไป การสร้างทีมที่ที่มีนัยยะของ Collaboration ในหลายมิติ เป็นความปรารถนาที่ทุกองค์กรต้องการ คุณจะพบว่า พื้นฐานของการสร้าง Strategic Decision Maker และ Stratrgic Decision Makign Team หาได้จากคุณสมบัติเหล่านี้ที่พบใน MonsoonSIM
- Dashboard คือ แนวคิดของการแบ่งปันข้อมูล เมื่อทีมแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน ทีมจะสามารถสร้างการทำงานที่ประสานกันได้ พื้นฐานนี้คือ พื้นฐานของ ERP Dahsboard, Kanban และสิ่งใกล้เคียงทั้งหมด จริง ๆ แล้ว เราไม่ได้มี Dahsboard เพื่อ FYI; For anyone Informations ทว่า เราใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการตัดสินใจร่วมกัน หรือ ร่นระยะเวลาการตัดสินใจ ที่ต้องใช้เวลาในการสื่อสารกันไปมาเสียมากกว่า
- Data >> Information >> Decision คือ พื่นฐานของ Information Sciences หรือแท้จริงแล้ว คือ หลักการตัดสินใจจากข้อมูลที่มากพอ ซึ่งหากมีข้อมูลที่มากพอ การจัดสินใจที่จัดเป็นกลยุทธ์ย่อมทำได้
- Team ที่เห็นข้อมูล และสามารถ แลกเปลี่ยนทัศนะ วิธีคิด วิธีแก้ปัญหา คือ ทีมที่เป็น Strategic Team
กลยุทธ์ ที่สร้างจากพื่นฐาน ความเรียบง่าย แต่เข้าใจจริง ๆ พร้อมประสบการณ์ ในทรรศนะของผู้เขียนนั้น เกิดประโยชน์แก่ผู้รียนผู้ใช้มากกว่า เพราะว่าผู้เรียนผู้ใช้มีหลักพื้นฐานในการสร้างทฤษฎี จะเลือกใช้ เลือกปรับซึ่งสิ่งนี้เป็นทักษะขั้นสูงของการประกอบการ ผู้เขียนทำได้เพียง แบ่งปันประสบการณ์และความคิด สำหรับคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย หากนักศึกษาจะพัฒนาตัวเอง เป็นนักกลยุทธฺ จะต้องมองและตีความเกมให้ลึก และกว้าง เทียบประสบการณ์ในเกมกับโลกจริงได้ ท่านจะเป็นนักกลยุทธ์ สำหรับ MonsoonSIM CT ท่านจะมองเห็นว่า ท่านสามารพสร้างความหลากหลาย โดยยึดเอาวิชากลยุทธ์มาสร้างประสบการณ์ และแนะนำแก่นักศึกษาเพิ่มเติม ท่านสามรถทำให้เครื่องมือธรรมดา เป็นของวิเศษได้ ผมมีหน้าที่จะทำให้ท่านเป็น Power User สำหรับ Training Manager ทักษะความรู้ต้องใ้เวลา แต่ประสบการณ์ที่ดี จะทำให้เกิดพลวัตสำคัญในการเปลี่ยนแปลงขององค์กร สำหรับสถาบันการศึกษา การมีเครื่องมือที่ดี เป็นการสร้าง active learning