Team Building เป็นกิจกรรมหนึ่งที่องค์กรภาคเอกชนนิยมใช้กิจกรรมนี้ โดยมุ่งหมายให้บุคลากร "รู้จักและสนิทสนมกัน" และ "คาดหวัง" ว่าจะทำให้เกิดการทำงานประสาน ไปยังทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน ที่เรียกว่า "Team Work" ซึ่งผลลัพท์ที่เกิดขึ้นหลังจากการลงทุนใน Team Building ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังในทุกองค์กร รูปแบบของ Team Building เกิดเมื่อราว ปีพุทธศักราช 2540 ในประเทศไทย และเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงเวลานั้นต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Outing ประจำปี กระบวนการของ Team Building ถูกใช้โดยที่มีวัตถุประสงค์หลวม ๆ ไม่ได้จริงจัง กลายเป็นกิจกรรมที่ต้องมีเมื่อรวมเอาคนหมู่มากในบริษัท หรือกลุ่ม community ใด ๆ ในองค์กรเข้าไว้ด้วยกัน วิธีการนี้ได้รับการเชื่อมั่นว่าเป็น "วิธีแก้ปัญหา" ที่ได้รับ "มรดก" ตกทอดของการศึกษา วิธีการวัดผลรายแผนกของฝรั่ง และสร้าง Silo Working Culture ขึ้นมา เมื่อมีโอกาสที่คนหลายกลุ่มในองค์กร จะมาใช้เวลาด้วยกันผ่านการ Outing สัมมนาประจำปี Team Building จึงเกิดขึ้นและเป็นที่นิยมในประเทศไทย
โดยมากกระบวนการ Team Building มักจะเริ่มต้นด้วยกิจกรรมในลักษณะที่เรียกว่า "ละลายพฤติกรรม" (Ice Breaking) โดยเชื่อว่าจะทำให้แต่ละคน หรือ ส่วนใหญ่ของกลุ่มคนเข้าร่วมกันได้แบบหลวม ๆ และมักจะตามด้วยกิจกรรมที่มีลักษณะสันทนาการต่าง ๆ เช่น ร้องรำทำเพลง มีกิจกรรมที่มีภารกิจให้ทำ ซึ่งในบางครั้งผู้เข้าร่วมการกิจกรรมอาจตกในสถานะที่พลาดในภารกิจ และจบด้วยการทำโทษแบบตลกโปกฮา ซึ่งบ่อยครั้งทำให้เกิดการเสียหน้า ซึ่งอาจจะขัดกับความพยายามที่ต้องการให้คนเกิดทัศนคติในแง่ดีร่วมกัน แต่ด้วยธรรมเนียมปฏิบัติแบบไทยที่ทำต่อเนื่องกันมาก็ถือเป็นอันอนุโลมและได้รับการยอมรับโดนปริยาย การทำ Team Building ในลักษณะนี้ จะจบลงด้วยหากสนุกสนาน และตลกมากเท่าไหร่ อาจถือว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ได้ผิดอะไรกับกิจกรรมที่เน้นความบันเทิงมากกว่าเป้าหมายเบื้องลึกที่องค์กรอยากได้ ซึ่งต้องตั้งคำถามให้ชัดเจนว่า องค์กรตัดสินใจทำกิจกรรม Team Building เพื่ออะไร หากเพื่อเป็นการสันทนาการแบบนี้ถือว่าตรงเป้า แต่ถ้าคาดหวังใหญ่โตเกินกว่า Practice ที่ทำซ้ำจนเป็นที่นิยม แล้วบอกว่า ต้องการสร้าง Team Work น่าจะมาผิดทาง
ในบางกรณี มีการสร้างแรงบันดาลใจเชิงกระตุ้นให้บุคคลฮึกเหิม เหมือนการขายในลักษณะ MLM ซึ่งได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างในรายบุคคล เช่น การกระตุ้นยักษ์ในตัว ซึ่งตื่นเมื่อได้รับการกระตุ้น และกลับไปหลับทันทีเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม และในลักษณะของกลุ่มคนอาจจะเกิด การทำงานเป็นกลุ่มด้วยใจฮึกเหิมชั่วคราว พอจบจากกิจกรรมที่มีลักษณะเป็น Event ตามความคิดของฝ่ายบริหาร หรือฝ่าย HR วิญญานที่ถูกปลุกชั่วคราวก็ลงหม้อดินเผาและมีผ้ายันต์ลงอาคม ที่เปรียบเสมือนกำแพงที่ป้องกันความผิดพลาดของแต่ละงานแบบ Silo Base Working อยู่ดี
กระบวนการและขั้นตอนของ Team Building นอกจากมีวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนแล้ว กิจกรรมที่ถูก outsource ก็มักจะเน้นกิจกรรมที่ทำเป็นหมู่คณะ ซึ่งได้ผลการร่วมแรงร่วมใจเฉพาะในช่วงเวลาที่่มีกิจกรรมเกิดขึ้น และบางส่วนของการรู้จักกัน ซึ่งถูกแปลความว่า "ได้สร้างทีม" ขึ้นแล้ว ทว่าเมื่อกลับสู่สภาพการทำงานก็กลับไปยังสถานการทำงานแบบเดิม การทำงานในอุดมคติขององค์กรแบบ Team Work จึงเกิดได้ยาก
ปัญหาสำคัญอย่างแรกที่ทำให้ Team Building ไม่ประสบความสำเร็จดั่งตั้งใจ คือ ความเข้าใจผิดเรื่อง Team Work
ความเข้าใจผิดเรื่อง "ทีม" ของคนไทย ถูกผสมเข้ากับ "การทำงานเป็นกลุ่ม" เมื่อใดที่ คนหลาย ๆ คนทำงานร่วมกัน หรือ ถูกจัดให้ทำงานใด ๆ ร่วมกันจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็น "การทำงานเป็นทีม" เสมอ ซึ่งทำให้สิ่งที่ลงทุนไปจาก Team Building คลาดเคลื่อนจากสิ่งที่ต้องการ
การทำงานเป็นทีม มี "หัวใจ" หลัก ที่ถูกมองข้ามไป นั่นคือ "การมีจุดประสงค์หรือเป้าหมายเดียวกัน" และเมื่อมีเป้าหมายเดียวกัน ทุกคนจะมีส่วนใน Action ต่าง ๆ ร่วมกัน ตั้งแต่
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ กลุ่มคนนั้น ไม่รับทราบถึง "ประโยชน์" ที่จะได้จากการทำงานร่วมกัน ทั้งใน "ภาพรวมขององค์กร" และ "ในระดับฝ่ายแผนก" หรือ "ในระดับบุคคล" ซึ่งมักพบว่าการจัด Team Building แบบทั่วไปนี้ ไม่ครอบคลุมเรื่องสำคัญ เท่ากับว่าสิ่งที่ภาคเอกชนลงทุนและรู้จักในนาม Team Building ในประเทศไทยเป็นเพียง Group Activity for receration เท่านั้น ไม่ได้มีนัยยะของ Team Work
ปัญหาสำคัญต่อมา ในกรณีจะให้ Team Building สร้าง Team Work ให้องค์กร คือ กระบวนการจัดกิจกรรม ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการ
ในกิจกรรม Team Building แบบทั่วไป มีการกำหนด Vision ของกิจกรรมอย่างง่าย ซึ่งมักเป็นการชนะ หรือทำ mission ที่ได้รับมอบหมาย และให้กลุ่มคนสร้างวิธีการทำงาน "ด้วยกัน" ในบางครั่งเป็นการทำงาน "ร่วมกัน" และแต่ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรม define ประโยชน์ในลักษระใด ทว่าส่วนมากมักมีเพียงไม่กี่คนที่ร่วมแบ่งปันความเห็น ความรู้ ทางเลือก ในกลุ่มคนที่รวมตัวกัน และเมื่อ execute แผนที่วางไว้ บางส่วนจะร่วมเพื่อให้ "เวลา" ผ่านไป และ "กิจกรรม" นั้นจบลง
กระบวนการจัดกิจกรรม Group Activity for Recreation/Mission ที่ถูกเรียกว่า Team Building ในประเทศไทย มักจะอยู่ในลักษณะให้ "ร่วมแรง" กันส่วนใหญ่ "ร่วมคิด" กันบ้าง "ร่วมหารือ" กันไม่กี่คนในกลุ่มคนนั้น แต่ไม่ได้ร่วมเป้าหมายทางธุรกิจเดียวกัน อาจมีบ้างที่ Facilitator ของกิจกรรมจะปลุกวิญญานที่หลับใหลของคนส่วนมากได้หรือไม่ กิจกรรมมีทั้งรูปแบบของ การมีอุปกรณ์และไม่มีอุปกรณ์ เพื่อให้เกิดการทำงานด้วยกัน หรือ ร่วมกันในกลุ่ม โดยรูปแบบของกิจกรรมนั้น ไม่ได้มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับ "ธุรกิจ" หรือ "งานที่ทำ" มีเพียงพิงหลักการบาง ๆ ว่า ต้องทำงานร่วมกัน และหากพลาดใน mission ใด ๆ ก็อาจจะได้ การลงโทษที่ทำให้เกิดความละอายได้หากผู้นำกิจกรรมเน้นความตลกให้คนได้อาย เพื่อทำให้กิจกรรมต่อไป คนกลัวที่จะอายและต้องทำใจยอมทำงาน "ร่วมกัน" ให้ดีขึ้น รูปแบบนี้จึงเป็น get co-operation by penalty ไม่ได้เกิดจากความ "ปรารถนา" ที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
ปัญหาสุดท้าย คือ การไม่มีโอกาส Decode ถอดความหมายของกิจกรรม Group Activity เพื่อปรับใช้ในงาน
Group Activity ในบางกิจกรรมมีสาระที่ดี มีการออกแบบที่ดี ทว่าสิ่งที่พลาดไปคือ การ Decode เพื่อถอดความหมายว่า เป้าหมายของกิจกรรมนั้นคืออะไร และเอาไปปรับใช้ในงานได้อย่างไร ส่วนมากจะเป็นเพียงการหวังว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มจะเข้าใจได้เอง เช่น เกิดสปิริตของการทำงานร่วมกันในบริษัท หรือองค์กรหลังจากจบกิจกรรมนี้ อุปมาคล้าย ๆ กับการให้นักศึกษาเรียนตามหลักสูตร และคาดหวังว่า นักศึกษาของไทยจะรวมร่างทุกวิชา และ integrated เข้าด้วยกันจนเกิดเป็น Super Hero ได้เหมือนในภาพยนตร์ และเท่าที่เห็นก็มีเพียงแง่มุมเดียวของกิจกรรมที่ถูกเรียกว่า Team Building แบบไทย
ด้วยปัญหา 3 ประการข้างต้น จึงขอเรียก Team Building ในความเข้าใจของคนไทย ว่า Group Activity for Recreation/Mission มากกว่าที่จะะเรียนกว่า Team Building และอาจถูกเรียกว่า Group Bonding มากกว่า Team Building
โดยมากกระบวนการ Team Building มักจะเริ่มต้นด้วยกิจกรรมในลักษณะที่เรียกว่า "ละลายพฤติกรรม" (Ice Breaking) โดยเชื่อว่าจะทำให้แต่ละคน หรือ ส่วนใหญ่ของกลุ่มคนเข้าร่วมกันได้แบบหลวม ๆ และมักจะตามด้วยกิจกรรมที่มีลักษณะสันทนาการต่าง ๆ เช่น ร้องรำทำเพลง มีกิจกรรมที่มีภารกิจให้ทำ ซึ่งในบางครั้งผู้เข้าร่วมการกิจกรรมอาจตกในสถานะที่พลาดในภารกิจ และจบด้วยการทำโทษแบบตลกโปกฮา ซึ่งบ่อยครั้งทำให้เกิดการเสียหน้า ซึ่งอาจจะขัดกับความพยายามที่ต้องการให้คนเกิดทัศนคติในแง่ดีร่วมกัน แต่ด้วยธรรมเนียมปฏิบัติแบบไทยที่ทำต่อเนื่องกันมาก็ถือเป็นอันอนุโลมและได้รับการยอมรับโดนปริยาย การทำ Team Building ในลักษณะนี้ จะจบลงด้วยหากสนุกสนาน และตลกมากเท่าไหร่ อาจถือว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ได้ผิดอะไรกับกิจกรรมที่เน้นความบันเทิงมากกว่าเป้าหมายเบื้องลึกที่องค์กรอยากได้ ซึ่งต้องตั้งคำถามให้ชัดเจนว่า องค์กรตัดสินใจทำกิจกรรม Team Building เพื่ออะไร หากเพื่อเป็นการสันทนาการแบบนี้ถือว่าตรงเป้า แต่ถ้าคาดหวังใหญ่โตเกินกว่า Practice ที่ทำซ้ำจนเป็นที่นิยม แล้วบอกว่า ต้องการสร้าง Team Work น่าจะมาผิดทาง
ในบางกรณี มีการสร้างแรงบันดาลใจเชิงกระตุ้นให้บุคคลฮึกเหิม เหมือนการขายในลักษณะ MLM ซึ่งได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างในรายบุคคล เช่น การกระตุ้นยักษ์ในตัว ซึ่งตื่นเมื่อได้รับการกระตุ้น และกลับไปหลับทันทีเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม และในลักษณะของกลุ่มคนอาจจะเกิด การทำงานเป็นกลุ่มด้วยใจฮึกเหิมชั่วคราว พอจบจากกิจกรรมที่มีลักษณะเป็น Event ตามความคิดของฝ่ายบริหาร หรือฝ่าย HR วิญญานที่ถูกปลุกชั่วคราวก็ลงหม้อดินเผาและมีผ้ายันต์ลงอาคม ที่เปรียบเสมือนกำแพงที่ป้องกันความผิดพลาดของแต่ละงานแบบ Silo Base Working อยู่ดี
กระบวนการและขั้นตอนของ Team Building นอกจากมีวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนแล้ว กิจกรรมที่ถูก outsource ก็มักจะเน้นกิจกรรมที่ทำเป็นหมู่คณะ ซึ่งได้ผลการร่วมแรงร่วมใจเฉพาะในช่วงเวลาที่่มีกิจกรรมเกิดขึ้น และบางส่วนของการรู้จักกัน ซึ่งถูกแปลความว่า "ได้สร้างทีม" ขึ้นแล้ว ทว่าเมื่อกลับสู่สภาพการทำงานก็กลับไปยังสถานการทำงานแบบเดิม การทำงานในอุดมคติขององค์กรแบบ Team Work จึงเกิดได้ยาก
ปัญหาสำคัญอย่างแรกที่ทำให้ Team Building ไม่ประสบความสำเร็จดั่งตั้งใจ คือ ความเข้าใจผิดเรื่อง Team Work
ความเข้าใจผิดเรื่อง "ทีม" ของคนไทย ถูกผสมเข้ากับ "การทำงานเป็นกลุ่ม" เมื่อใดที่ คนหลาย ๆ คนทำงานร่วมกัน หรือ ถูกจัดให้ทำงานใด ๆ ร่วมกันจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็น "การทำงานเป็นทีม" เสมอ ซึ่งทำให้สิ่งที่ลงทุนไปจาก Team Building คลาดเคลื่อนจากสิ่งที่ต้องการ
การทำงานเป็นทีม มี "หัวใจ" หลัก ที่ถูกมองข้ามไป นั่นคือ "การมีจุดประสงค์หรือเป้าหมายเดียวกัน" และเมื่อมีเป้าหมายเดียวกัน ทุกคนจะมีส่วนใน Action ต่าง ๆ ร่วมกัน ตั้งแต่
- กระบวนการวางแผนร่วมกัน (ความเห็นเล็ก ๆ น้อยๆ ของทุกคนได้รับการรับฟัง และมีส่วนร่วมในการวางแผน)
- กระบวนการทำงานร่วมกัน (โดยทุกคนมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ เกณฑ์วัดผล ที่ประสานการทำงานเพื่อไปยังเป้าหมายเดียวกัน)
- กระบวนการพิจารณาวัดผล และปรับแก้แผน และปรับปรุงการทำงานร่วมกัน
- กระบวนการรับรู้ร่วมกัน (ทั้งในส่วนของความสำเร็จ และความผิดพลาด)
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ กลุ่มคนนั้น ไม่รับทราบถึง "ประโยชน์" ที่จะได้จากการทำงานร่วมกัน ทั้งใน "ภาพรวมขององค์กร" และ "ในระดับฝ่ายแผนก" หรือ "ในระดับบุคคล" ซึ่งมักพบว่าการจัด Team Building แบบทั่วไปนี้ ไม่ครอบคลุมเรื่องสำคัญ เท่ากับว่าสิ่งที่ภาคเอกชนลงทุนและรู้จักในนาม Team Building ในประเทศไทยเป็นเพียง Group Activity for receration เท่านั้น ไม่ได้มีนัยยะของ Team Work
ปัญหาสำคัญต่อมา ในกรณีจะให้ Team Building สร้าง Team Work ให้องค์กร คือ กระบวนการจัดกิจกรรม ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการ
ในกิจกรรม Team Building แบบทั่วไป มีการกำหนด Vision ของกิจกรรมอย่างง่าย ซึ่งมักเป็นการชนะ หรือทำ mission ที่ได้รับมอบหมาย และให้กลุ่มคนสร้างวิธีการทำงาน "ด้วยกัน" ในบางครั่งเป็นการทำงาน "ร่วมกัน" และแต่ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรม define ประโยชน์ในลักษระใด ทว่าส่วนมากมักมีเพียงไม่กี่คนที่ร่วมแบ่งปันความเห็น ความรู้ ทางเลือก ในกลุ่มคนที่รวมตัวกัน และเมื่อ execute แผนที่วางไว้ บางส่วนจะร่วมเพื่อให้ "เวลา" ผ่านไป และ "กิจกรรม" นั้นจบลง
กระบวนการจัดกิจกรรม Group Activity for Recreation/Mission ที่ถูกเรียกว่า Team Building ในประเทศไทย มักจะอยู่ในลักษณะให้ "ร่วมแรง" กันส่วนใหญ่ "ร่วมคิด" กันบ้าง "ร่วมหารือ" กันไม่กี่คนในกลุ่มคนนั้น แต่ไม่ได้ร่วมเป้าหมายทางธุรกิจเดียวกัน อาจมีบ้างที่ Facilitator ของกิจกรรมจะปลุกวิญญานที่หลับใหลของคนส่วนมากได้หรือไม่ กิจกรรมมีทั้งรูปแบบของ การมีอุปกรณ์และไม่มีอุปกรณ์ เพื่อให้เกิดการทำงานด้วยกัน หรือ ร่วมกันในกลุ่ม โดยรูปแบบของกิจกรรมนั้น ไม่ได้มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับ "ธุรกิจ" หรือ "งานที่ทำ" มีเพียงพิงหลักการบาง ๆ ว่า ต้องทำงานร่วมกัน และหากพลาดใน mission ใด ๆ ก็อาจจะได้ การลงโทษที่ทำให้เกิดความละอายได้หากผู้นำกิจกรรมเน้นความตลกให้คนได้อาย เพื่อทำให้กิจกรรมต่อไป คนกลัวที่จะอายและต้องทำใจยอมทำงาน "ร่วมกัน" ให้ดีขึ้น รูปแบบนี้จึงเป็น get co-operation by penalty ไม่ได้เกิดจากความ "ปรารถนา" ที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
ปัญหาสุดท้าย คือ การไม่มีโอกาส Decode ถอดความหมายของกิจกรรม Group Activity เพื่อปรับใช้ในงาน
Group Activity ในบางกิจกรรมมีสาระที่ดี มีการออกแบบที่ดี ทว่าสิ่งที่พลาดไปคือ การ Decode เพื่อถอดความหมายว่า เป้าหมายของกิจกรรมนั้นคืออะไร และเอาไปปรับใช้ในงานได้อย่างไร ส่วนมากจะเป็นเพียงการหวังว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มจะเข้าใจได้เอง เช่น เกิดสปิริตของการทำงานร่วมกันในบริษัท หรือองค์กรหลังจากจบกิจกรรมนี้ อุปมาคล้าย ๆ กับการให้นักศึกษาเรียนตามหลักสูตร และคาดหวังว่า นักศึกษาของไทยจะรวมร่างทุกวิชา และ integrated เข้าด้วยกันจนเกิดเป็น Super Hero ได้เหมือนในภาพยนตร์ และเท่าที่เห็นก็มีเพียงแง่มุมเดียวของกิจกรรมที่ถูกเรียกว่า Team Building แบบไทย
ด้วยปัญหา 3 ประการข้างต้น จึงขอเรียก Team Building ในความเข้าใจของคนไทย ว่า Group Activity for Recreation/Mission มากกว่าที่จะะเรียนกว่า Team Building และอาจถูกเรียกว่า Group Bonding มากกว่า Team Building
Team Building ในความปรารถนาขององค์กร คือ การสร้างทีม เพื่อให้ทีมไปสร้างธุรกิจ ให้แข็งแรง เติบโต ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และแข่งขันได้ หรือควรเรียกว่า Business Team Buuilding เพื่อให้เกิดเป้าหมายที่ชัดเจน นำมาซึ่งกิจกรรมที่ถูกออกแบบเพื่อไปยังเป้าหมาย มากกว่า Group Bonding
| บรรยากาศในระหว่างกิจกรรม สมาชิกในทีมจะต้องวิเคราะห์ปัญหา, แลกเปลี่ยนข้อมูล, ทำงานประสานงานกัน โดยมีโจทย์เป็นปัญหาทางธุรกิจ ในความสั้นยาวของโซ่อุปทาน และความซับซ้อนในกระบวนการทางธุรกิจที่แตกต่างกันไป และยังแสดงความเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์ ทั้งนี้คลิปนี้เป็นตัวอย่างของ MonsoonSIM ในอดีต ตั้งแต่ version 3.08 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมี design principle เพื่อใช้ในการทำความเข้าใจเรื่อง ERP และ Business Funamental ในปัจจุบัน (มิ.ย. 2564) MonsoonSIM พัฒนามาถึง version 9.0 |
Business Team Building คืออะไร
หากแปลความหมายให้ตรงตัว Business Team Building คือ การใช้กิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ สร้างให้บุคลากรทำงานร่วมกันในลักษณะทีม เพื่อให้บุคลากรสามารถทำงานประสานกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ เช่น ทำกำไรเพิ่มขึ้น, เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นต้น
MonsoonSIM Business Simulation เป็นทางเลือกที่ดีตัวหนึ่งในการสร้าง Business Team Building ให้กับองค์กรของท่าน โดยมีคุณสมบัติดังนี้
หากองค์กรสามารถสร้างทีมธุรกิจได้สำเร็จ และทีมธุรกิจนั้นได้รับการติดอาวุธจากการเพิ่มขอบเขตของประสบการณ์จาก Simulation จะทำให้ทีมบุคลากรของท่าน สามารถที่จะบริหารจัดการธุรกิจได้ดีขึ้น, ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ, สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอันเกิดจากความเข้าในกระบวนการทำงานระหว่างกัน, สามารถสร้าง Collaborate KPI ปรับเปลี่ยนรูปแบบ น้ำหนักของความสำคัญตามสภาพปัญหาได้ ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรสูงขึ้น ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่องค์กรต้องการจาก Team Building
คิดถึงกระบวนการสร้างทีมทางธุรกิจ Business Team Building คิดถึงทางเลือกที่ดีที่สุดอย่าง MonsoonSIM Business Team Building Workshop
หากแปลความหมายให้ตรงตัว Business Team Building คือ การใช้กิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ สร้างให้บุคลากรทำงานร่วมกันในลักษณะทีม เพื่อให้บุคลากรสามารถทำงานประสานกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ เช่น ทำกำไรเพิ่มขึ้น, เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นต้น
MonsoonSIM Business Simulation เป็นทางเลือกที่ดีตัวหนึ่งในการสร้าง Business Team Building ให้กับองค์กรของท่าน โดยมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็น Simulation ที่จำลองสถานการณ์ และปัญหาทางธุรกิจเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก้ปัญหา ซึ่งจะได้มุมมองและทางเลือกในการแก้ปัญหาทางธุรกิจไปด้วย โดยสามารถสร้างความหลากหลายในตัวแปรต่าง ๆ เช่น ความสั้นยาวของห่วงโซ่อุปทาน, ความซับซ้อนในกระบวนการทางธุรกิจภายใน ทำให้เกิดประสบการณ์ และนำเอาไปปรับใช้กับงานจริงได้ ได้ทักษะในการแก้ปัญหา Critical Thinking
- กำหนดเป้าหมายของกิจกรรมใน Simulation ได้ชัดเจน ทั้งในระยะยาว เช่น การสร้างกำไรสุทธิ, การเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการเพื่อควบคุมต้นทุน ฯลฯ หรือการแก้ปัญหาระยะสั้น เช่น การจัดการ Excess Inventory, การแก้ปัญหาในการจัดการต้นทุนจากกระบวนการจัดซื้อหรือการผลิต ซึ่งเป้าหมายต้องสอดคล้องและกลับมาส่งผลต่อธุรกิจขององค์กร
- มีการวัดผลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่หลากหลาย การวัดผลเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้มองเห็น หรือชี้จุดที่เกิดของปัญหาได้ และสามารถสะท้อนผลลัพท์ของการวัดผลในกิจกรรมที่ทำลงไป จากข้อมูลทำให้เกิดการเรียนรู้หลากหลายมิติ
- มีรูปแบบกิจกรรมที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม และเน้นการ Collaborate/Co-operate ของบุคลากรในองค์กร เพื่อการสร้าง Business Team Work โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจจะต้องทำงานมากกว่าหนึ่งงาน ทำให้เกิดความเข้าใจในงานอื่น ๆ ถึงข้อจำกัด, ระยะเวลา, การวัดผล และความเสี่ยงของงานต่าง ๆ สร้างความเข้าใจใน และทำให้เกิดประสบการณ์ Cross Functional
- เป็น Simulation ที่สามารถลองผิดลองถูกได้ และเกิดความผิดพลาดได้ ซึ่งความผิดพลาดสามารถอธิบายได้ด้วยรูปแบบ และน้ำหนักการตัดสินใจ นอกจากจะได้ทีมแล้วยังได้ upskill/reskill พื้นฐานทางธุรกิจ และการจัดการได้อีกด้วย
- ใน Sumulation ต้องมีการสื่อสาร ซึ่งเนื้อหาที่สื่อสารกัน ล้วนเป็นข้อมูลทางธุรกิจซึ่งเพิ่มน้ำหนักให้แตกต่างจากการสร้างทีมแบบอื่น ๆ และได้่ทักษะของการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มขึ้น (Data Driven Decision) และเมื่อมีประสบการณ์ที่หลากหลาย ศัพท์เฉพาะทางของแต่งานจะเรียนรู้ได้ และทำให้การสื่อสารในองค์กรเกิดความเข้าใจกันได้มากขึ้น (Better Understading)
- สามารถสร้างกิจกรรม เช่น การแข่งขันภายในองค์กร โดยการรวมกันของทีมจากฝ่ายต่าง ๆ ให้เกิดมีกิจกรรมร่วมกัน ในฐานะทีมเฉพาะกิจ
- ทำให้มองเห็นภาพรวมของการทำธุรกิจ สร้างสภาวะการเป็นนักแก้ปัญหา ที่มีทักษะแห่งการประกอบการในองค์กร (Coporate Entrepreneurship; Intrepreneurship)
หากองค์กรสามารถสร้างทีมธุรกิจได้สำเร็จ และทีมธุรกิจนั้นได้รับการติดอาวุธจากการเพิ่มขอบเขตของประสบการณ์จาก Simulation จะทำให้ทีมบุคลากรของท่าน สามารถที่จะบริหารจัดการธุรกิจได้ดีขึ้น, ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ, สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอันเกิดจากความเข้าในกระบวนการทำงานระหว่างกัน, สามารถสร้าง Collaborate KPI ปรับเปลี่ยนรูปแบบ น้ำหนักของความสำคัญตามสภาพปัญหาได้ ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรสูงขึ้น ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่องค์กรต้องการจาก Team Building
คิดถึงกระบวนการสร้างทีมทางธุรกิจ Business Team Building คิดถึงทางเลือกที่ดีที่สุดอย่าง MonsoonSIM Business Team Building Workshop