ผมคิดอยู่นาน ก่อนที่จะเขียนเรื่องนี้ในการแบ่งปันประสบการณ์ เพราะว่า ผมไม่มีนักศึกษา หรือนักเรียนเป็นตัวตน แบบที่ท่าน CT มี ผมมีเพียงนักศึกษาชั่วคราวซึ่งจะใช้เวลาร่วมกันประมาณ 4-8 หรือ 12 ชม. ตามแต่ที่สถาบันการศึกษาจะจัดเวลาไว้ให้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ให้เขาเข้าใจพื้นฐานของการบริหารธุรกิจ การจัดการด้านต่างๆ ได้ในเวลาจำกัด และ ที่มุ่งมันให้เขาเป็น "ผู้รู้จักวิธีเรียนเพื่อรู้และทำงานให้เป็น" ไม่ใช่ "นักเรียน" ทั่วไปที่จะรอว่าครูอาจารย์จะสอนอะไร หากไม่สอน ไม่บอกก็จะไม่เรียน ผมเกรงว่าหากแบ่งปันประสบการณ์ที่ตัวเองมี มันจะเป็นการสอนหนังสือสังฆราช ตามภาษิตของไทย แต่สังฆราชย่อมมีวันตายเป็นของธรรมดาจริงมั้ยครับ เรื่องเล่านี้เป็นเทคนิค จากที่ได้ลองผิดลองถูกมาเป็นเวลาประมาณ 4 ปี ผ่าการทดลองที่หลากหลาย ซ้ำไปซ้ำมา ทว่าอยู่ในบริบทของการรันคลาสในเวลาจำกัด และเป็นการรันคลาสในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์แน่นอนตามที่กล่าวไว้เบื้องต้น ตั้งแต่คลาสที่มีแต่ด๊อกเตอร์ล้วนๆ, นศ.ป.เอก, นศ.ป.โท, นศ.ป.ตรี จนกระทั่งถึงนักเรียนชั้นประถมศึกษา ทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษกับคนไทยในคลาส Inter และภาษาอังกฤษในนักศึกษาต่างชาติ จึงนำมาแบ่งปันกันให้ท่าน CT เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านครับ
ทุกเรื่องได้วางสมมติฐานเอาไว้ หากท่าน "ไม่ทน" ต่อสมมติฐานเหล่านี้ แนะนำว่าไม่ต้องอ่านผลของมันครับ
ขอขอบคุณภาพประกอบจากแหล่งต่าง ๆ ใน Internet ภาพของท่าน หรือผลิตภัณฑ์ของท่าน มีส่วนช่วยให้ CT เป็น Facilitator ที่ Powerful เพื่อให้ท่านใช้เครื่องมือได้อย่างสร้างสรรค์ และเกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด
ทุกเรื่องได้วางสมมติฐานเอาไว้ หากท่าน "ไม่ทน" ต่อสมมติฐานเหล่านี้ แนะนำว่าไม่ต้องอ่านผลของมันครับ
ขอขอบคุณภาพประกอบจากแหล่งต่าง ๆ ใน Internet ภาพของท่าน หรือผลิตภัณฑ์ของท่าน มีส่วนช่วยให้ CT เป็น Facilitator ที่ Powerful เพื่อให้ท่านใช้เครื่องมือได้อย่างสร้างสรรค์ และเกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด
เทคนิคแรก: เวลาที่จำกัด Time Forcement สมมติฐาน: เมื่อเวลาถูกจำกัด กับกิจกรรม หรือ เนื้อหาที่เหมาะสม การจำกัดเวลาจะสร้างผลบวก ทว่าหากการจำกัดเวลา ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และปริมาณของเนื้อหา สิ่งที่ตามมาคือ เท่าทุน หรือมีผลร้ายมากกว่าผลดี เครื่องมือ: Online Countdown timer (แนะนำ http://www.timer-tab.com) การปรับใช้เทคนิคนี้กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
|
เทคนิคที่ 2: ยอมเสียเวลาเพื่อสร้าง Engagement โดย Class Rules ในช่วงแรก หรือครั้งแรก สมมติฐาน:
ในหลายครั้ง หากมีเวลา และถึงแม้นว่าไม่มีเวลา สิ่งที่ผมจะเป็นประจำ คือ การใช้เวลาที่ "ควรค่า" แก่การสละ เพื่อการตั้งกติกาของชั้นเรียน และมันได้ผลดี ลองคิดว่า นักศึกษานักเรียนที่เข้ามาในห้องครั้งแรก หลังจากที่เห็นการตั้งเวลานับถอยหลังการเริ่มชั้นเรียน ในสมองของเขาจะเห็นว่า ท่านให้ความสำคัญเรื่องเวลา ผมนำหลักการเดียวกันนี้ของการเรียนรู้ของสมอง และหัวใจมาตั้งกติการของชั้นเรียนดังนี้
|
เทคนิคที่ 3: ดักคอล่วงหน้า สมมติฐาน: การดักคอเพื่อไม่ให้บางเรื่อง "เกิด" ในชั้นเรียน ท่าน CT สามารถคาดเดาได้จากประสบการณ์อยู่แล้ว ว่าการดำเนินคลาสจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ท่านอาจจะใช้การดักคอนักศึกษาในเรื่องที่จะเกิดขึ้นแน่ ๆ เพื่อ ให้ "ละเว้น" หรือ ห้ามปราม หรือ และการอำนวยคลาส หรือ การเรียนในมุมที่ท่านประสงค์จะให้เกิด ตัวอย่างการดักคอ:
หมายเหตุ: โปรดอ่านการขุดหลุ่มล่อ |
เทคนิคที่ 4: การอำนวยชั้นเรียน = การแสดง ต้องมี Hit Point Facilitator คือ Conductor Related Topic: F Methodology ไม่มี "ผู้สอน" หรือ "อาจารย์" เมื่อไม่มีผู้เอาแต่สอน (ในสิ่งที่เชื่อ) ก็จะไม่มีผู้รอเรียน และแก้ปัญหา ไม่สอนก็ไม่เรียน ไม่มีคะแนนก็ไม่ทำ ผู้เขียนแนะนำให้ ท่าน CT เป็น FACILITATOR เพื่อ Facilitate ชั้นเรียน (ขออนุญาตไม่แปลคำว่า Facilitator) ผู้เขียนทำงานสัมมนาหนึ่งในปี 2017 ในมีผู้ถามคำถามว่า Teacher/Lecturer ต่างกันอย่างไรกับ Facilitator ผมได้ตอบไปว่า Teacher/Lecturer จะ devliver สิ่งใด ๆ ด้วยวิธีที่ตนเองเข้าใจ สบายใจ เชื่อ และศรัทธา ซึ่งมันอาจจะเป็นการ "จำกัด" วิธีการเรียนรู้ในมุมอื่น ๆ หรือบางครั้งถูกตัดสาระซึ่งสำคัญแต่ ผู้สอนไม่ซื้อไอเดียนั้นออกไป ขอให้ท่านเป็นผู้ Facilitate ตามสถานการณ์ให้ผู้ที่เป็น Learner ได้เห็นความหลากหลายและเลือกใช้เมื่อเหมาะสมกับสถานการณ์ ผมจึงใช้คำว่า การอำนวยคลาส คือ "การแสดง" แบบหนึ่ง ซึ่ง Facilitator เป็นผู้ดำเนินเรื่อง และสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ไม่ใช่การสอน การใช้ powerpoint แบบเดิมแบบเดียว การแสดงจะต้องมี "บท" ซึ่งบทจะต้องมี Hoit Point ในแต่ล่ะช่วงแต่ละตอน ที่คลี่คลายไป คลาย ๆ กับ การดำเนินเรื่องในละคร ทั้งนี้ยังต้องมี "สภาพแวดล้อม" ซึ่งหากรอการสร้าง คงไม่ไหว ผู้อำนวยคลาส จะต้องเสาะหาวิธีสร้างสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนบนความจำกัด ตามสถานการณ์ และ "เครื่องมือ" ที่จำเป็น ซึ่งมีจำกัด แต่ไม่ได้จำกัด "จินตนาการ" ของผู้อำนวยชั้นเรียน ท่าน CT จะต้องเป็นศิลปิน ผู้กำกับ นักแสดง ในละครเวที (ชั้นเรียน) ของท่าน เมื่อเห็นปฏิกิริยาของผู้ชม (นักเรียน) บางครั้งต้องด้นสด และขวมดให้กลับมาในบทหลักที่วางไว้ ฉันใดฉันนั้นครับ |
เทคนิคที่ 5: ชื่นชมออกสื่อ ตำหนิส่วนตัว ด่า (ด้วยความปราณี) เมื่อจำเป็น สมมติฐาน: ไม่มีใครอยากถูกตำหนิในที่สาธารณะ และทุกคนอยากได้คำชื่นชมในที่แจ้ง ทว่าในบริบทของสังคมไทยนั้น "ทำกลับข้างกัน" และไม่เว้นแม้แต่ในห้องเรียน ในชั้นเรียนในประเทศไทย เด็กเก่งและเด็กดีของอาจารย์ จะถูกชื่นชม ซึ่งเป็นส่วนน้อย เด็กหลังห้องที่ไม่มีโอกาสจะเก่ง หรือดีในสายตาของ Typical อาจารย์ จะถูกตำหนิออกสื่อ บรรยากาศนี้หากท่านไม่ชอบในชีวิตการทำงาน นักเรียนนักศึกษาก็ไม่ชอบในชีวิตการเรียนเช่นกัน คำแนะนำจากประสบการณ์:
|
เทคนิคที่ 6: ใช้ภาพอธิบาย ใช้การวาดอธิบาย สมมติฐาน: กลไกลของความเข้าใจของสมองมนุษย์นั้นการประมวลผลจากภาพได้ผลดีกว่า input แบบอื่น ๆ เหมาะควรอย่างยิ่งกับการอธิบายเนื้อหาที่เป็นขั้นตอน การติดตาม เครื่องมือ:
ตัวอย่างการใช้เทคนิคนี้ผสมสกับ Content ต่างๆ
|
เทคนิคที่ 7: หยุดเพื่อให้คิด หลังจากทดลองในปัญหาใหม่สั้น ๆ Related Topic: คลิกที่นี่ สมมติฐาน: การไหลบ่าท่วมของ "ข้อมูล" ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในเกม MonsoonSIM หรือ ข้อมูลมากมายจากการนำเสนอของ CT ผู้สอน, จะทำให้นักศึกษาคิดไม่ทัน และ "เลิกคิด" ซึ่งจะเกิดได้ง่ายกับนักศึกษาในเจเนอเรชั่นนี้ การหยุดพักซักครู่ ให้นักศึกษาได้คิดจะได้ผลดีกว่า การดาหน้าลุยส์ วิธีนี้จะใช้ได้กีในกรณีนีที่สามารถเห็นผลของงานใหม่ จากการทดลองใหม่ได้ เช่น ในกรณี Simulation หรือ Lab ที่สามารถเห็นของของการลองผิด เพื่อเรียนเรื่องที่ถูกต้องมากกว่า ตัวอย่างการใช้งานเทคนิคนี้
|
เทคนิคที่ 8: สร้าง หรือบังคับให้เกิดมี Silence Brainstrom และ Brainstrom Related topic:
สมมติฐาน: สุภาษิตไทยบทหนึ่งบอกไว้ว่า "หัวเดียวกระเทียมลีบ" แปลได้ความว่า คิดคนเดียว คิดแบบเดียว ไม่มีกระเทียบหุ้ทเป็นหัว กระเทียมนั้นก็จะสูญเสียความชื้นและลีบไปในที่สุด นักศึกษาไทยที่มีความคิด แต่ไม่ได้แสดงออก เพราะว่าในประถมและมัธยม รวมถึงมหาวิทยาลัย การแสดงความคิดที่แตกต่าขัดจากผู้สอนจะโดนตำหนิ แปลกไปจากวิชาที่ผู้สอนเชื่อ หรือ วิธีที่ผู้สอนเรียนมานั้นเป็นของผิด คนไทยเลยประหยัดความเห็น และไอเดีย เก็บไว้คนเดียว และคนไทยเองมีปฏฺกิริยาต่อสิ่งที่แปลกใหม่ หรือไม่เคยเจอมาก่อน ราวกับว่า ผู้ออกความเห็นเป็นเอเลี่ยน ด้วยสาเหตุนี้ การ Brainstroming จึงเกิดได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพในเมืองไทย กระบวนการ Brainstrom คือ กระบวนการระดมไอเดีย มิใช่กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ โดยไม่มีการระดมแนวคิด แบบที่คนไทยเข้าใจกัน และเชื่อว่าคือการทำ Brainstroming กระบวนการนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในระดับ กลุ่มย่อย และ ในกลุ่มใหญ่ ซึ่งนักศึกษาไทยอาจไม่มีคามคุ้นเคยเมื่อจะต้องแสดงแนวคิดในที่สาธารณะ โดยท่าน CT อาจจะต้องใช้การกระตุ้นอยู่บ้างในช่วงแรกสำหรับคนไทย โดยเริ่มจากกลุ่มเล็กที่คุ้นเคยกันเอง แล้วจึงหลากกลุ่ม (อย่าลืมเทคนิคการดักคอไว้ก่อนล่วงหน้า) การทำครั้งแรก ๆ อาจจะไม่เรียกว่า Brainsrroming ได้ คงเป็น Group Working มากกว่า แต่เมื่อท่านรวมกับเทคนิคการชมออกสื่อ การให้กำลังใจ บ่อยครั้งเข้าจะเป็น NewNorm(al) ในชั้นเรียนของท่านเอง ส่วนการ Silence Brainstrom นั้น นั้น เป็นกรรมวิธีที่ใหม่สำหรับคนไทย หมายถึงการระดมแนวคิดแบบไม่ออกเสียง กลวิธีนั้น มาจากกระบวนของ Start up เพื่อใช้ในการระดมความคิดของคนที่มีไอเดีย แต่อาจไม่พร้อมในการแสดงความเห็น หรือ ผู้แสดงความเห็นอาจจะไม่กล้าแสดงตัวด้วยความเชื่อไปเองเรื่องหน้าตาทางสังคม (กลัวคนว่าโง่ แต่ไม่กลัวไม่รู้ ไม่กลัวเสียเวลาและทรัพยากร) กระบวนการนี้ หากมีทุน ก็ใช้ Post-It หากไม่มี แนะนำกระดาษรีไซเคิลหน้าจาว 1 หน้า ตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก็พอครับ โดยให้หัวข้อ และให้เขียนแนวคิดของจนเป็น Keyword โดยไม่ต้องหารือกัน หลังจากนั้น จึงมารวมกัน จัดกลุ่มและถามรายละเอียด การให้นักศึกษาทำ Brainstrom ไม่จำเป็นจะต้องบอกคำตอบ หรือทางเลือกแนะนำ สิ่งที่ท่าน CT ทำได้ คือการให้เขาได้หาวิธี และ ทดลองเพื่อให้เกิดผลทั้งบวกและลบ ตัวอย่างที่ประยุกต์ใช้ในคลาส MonsoonSIM Conceptual Class อาจเรียกว่าการประยุกต์ใช้ PDCA ในการวางแผน, การ Agile และ Interval Scrum (ผู้เขียน) PRE-Brainstrom
In tee Midst Brainstrom หรือ กระบวนการ Brainstrom ในระหว่างงาน ซึ่งใน MonsoonSIM จะเกิดในกลุ่มย่อยของงานที่ suppyl chain เกี่ยวข้องกัน หรือกระบวนการนี้จะเกิดเมื่อท่าน "หยุด ให้คิด" หรือ มีระยะเวลาเพียงพอ เช่น 90 seconds per Virtual Day หรือ ในกลุ่มที่ มี Adaptive Skill Post-Brainstrom เมื่อนักศึกษาได้ทดลองจนเกิดผลแล้ว การทำ Post-Brainstrom มีความจำเป็น โดย ผมมักจำใช้ Template นี้ในการดำเนินกิจกรรม
|
เทคนิคที่ 9: สร้างให้เกิด Sharing Practice/Learn = To learn from others สมมติฐาน: การแบ่งปันเป็นการเรียนรู้ ทั้งผลลัพท์บวกและผลลัพท์ทางลบ สำหรับนักศึกษาทั้งหมด จะได้ฝึกฝนการเรียบเรียงความหมาย และสื่อสารออกไป สำหรับนักศึกษาที่ได้ผลลพท์ทางลบ จะได้เรียนรู้วิธีคิดและกระบวนการในการตัดสินใจของทีมที่ได้ สำหรับอาจารย์ CT ก็จะได้เห็นกระบวนการวิธีคิด การคลี่คลายปัญหา เพื่อให้สามารถแนะนำต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมมักจะให้เกิด sharing session ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
|
เทคนิคที่ 10: ใช้ Observer Tools และ KPIs Tool ให้เกิดประโยชน์ สมมติฐาน: อะไรที่วัดได้ (Measurable) ก็จะสามารถเห็นปัญหา และพัฒนาต่อยอดได้ ถ้าไม่สามารถที่จะวัดผลได้ อย่าเพิ่งตัดสินใจ ใน MonsoonSIM มี Observe Tools และ KPIs Tools นอกโลกแห่ง MonsoonSIM CT ที่สามารถวัดผลเรื่องต่าง ๆ ได้ จะสร้างคำแนะนำ วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ เห็นปัญหาในชั้นเรียนของท่านได้ และสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ แต่ทว่าขอใช้ perpecstive นี้ผ่านตัวอย่างของ MonsoonSIM นะครับ วิธีการมาตรฐาน
วิธีการกระตุ้น บ่อยครั้งที่การแสดงผล และใช้หลักการของเกมการแข่งขันให้เป็น ทว่าวิธีนี้ CT จะต้องสวม วิญญานนักพากย์เล็กน้อย ผมมักจะแสดงปัญหาเรื่องใด ๆ หลังจากที่ ได้ brainstorm, sharing ได้ให้ทีมนักศึกษาวางแผนและตกลงกันแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะมีเกมย่อย ๆ ในเกมใหญ่ โดยผมจะเปิด Observer Onscreen ไว้ เช่น
|
เทคนิคที่ 12: Keep it SIMPLE, Simple is the easiest way to simplified สมมติฐาน: ความเรียบง่าย ทำให้นักศึกษารับฟังแล้วเข้าใจได้มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ข้อมูลหลั่งไหลมาจากสื่อ และช่องทางต่าง ๆ ความง่ายนั้น ต้องเหมาะสมกับ "กลุ่มเป้าหมาย" ตัวอย่างความเรียบง่ายที่เกิดในคลาส MSIM
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างที่มักจะใช้ประจำในชั้นเรียนแรก ๆ เพื่อวางกระบวนการคิดเป็นขั้นตอน, ให้นักศึกษาเห็นความไม่ยากของเนื้อหา, การตรวจสอบความรู้พื้นาน และความสนใจของนักศึกษา เพื่อท่าน CT จะได้ปรับให้เหมาะสมได้ บางเรื่องที่ผมใช้อาจจะเหมาะสมบ้างไม่เหมาะสมบ้าง เพราะว่าต้องทดลองไปเรื่อย ๆ ซึ่งเรื่องไม่เหมาะสมนั้นมีมาก ในบางเรื่องอาจารย์บางฝท่านเดินมาทักท้วงว่าตัวอย่างมันอาจจะต้องขึ้นเรท 18+ ทว่า เชือ่เถอะครับ เ็นเรื่องที่ใช้ให้เป้นประโยชน์ได้ แต่ไม่แชร์ในนี้นะครับ |
เทคนิคที่ 13: ใช้ Online Tools ในชั้นเรียน สมมติฐาน: นักศึกษาตั้งแต่รุ่น Gen-Y หรือชาว Millenial นั้น โตมาพร้อมกับเทคโนโลยี และ Post Gen-Y นั้นโตมาในโลกินเทอร์เน็ต จะทำให้ "มือถือ" และ "อินเทอร์เน็ต" เป็นปรปักษ์กับชั้นเรียนทำไม ท่านก็ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้เสียเลย ผมมักจะส่งเสริมให้ใช้ หรือ อย่างน้อยถ้าเด็กอยาก chat ก็ให้ chat เรื่องงานเนียน ๆ ไป แล้วตัวท่านเองจะได้ไม่เสียใจเมื่อเห็นเด็ก Chat ต่อให้ไม่ใช่เรื่องในคลาสของท่านก็ตาม เด็กไม่มีใจจดจ่อกับคลาสท่าน แค่เขาไม่ chat ก็ไม่ได้แปลว่าเขาสนใจท่านอยู่ดี จริงมั้ยครับ ตัวอย่างของ Online-Tools ในการประกอบคลาส:
|
เทคนิคที่ 14: ทำให้เกิด Easy Win โดย Short Term KPI ... everyone can be winner สมมติฐาน: ทุกคนล้วนอยากชนะ อยากร้อง "เฮ" ในใจ เรื่องที่ยากแก่การชนะ เด็กและเยาวชนสมัยนี้จะทิ้งไปได้ง่าย ๆ ในชั้นเรียนท่านจะสูญเสียเขาไป หากเขาไม่เคย "เฮ" และ ร้อง "อ๋อ" ในในเมื่อแก้สมการอันซับซ้อนได้ และ ชัยชนะเล็ก ๆ จะนำไปสู่ชัยชนะที่ใหญ่กว่าเสมอ การตั้งตัววัดที่ทำได้ เป็นกำลังใจ เริ่มจากตัววัดง่าย ๆ แล้วจึงขยับไปเป็นขั้น "พิศาล อัครเศรณี" เช่น ลูกได้ที่โหล่ในชั้นเรียนที่วัดผลแบบเดียวกันหมด ท่านอาจจะเปลี่ยนเป็น ให้ดีกว่าเดิม 1 อันดับ เป็นรองโหล่ได้ไหม ... แบบนี้เด็ก ๆ มีกำลังใจ และท่านมักจะได้ผลที่พิเศษกว่าเสมอ ตัวอย่างของ Easy Win โดยใช้ Short Term KPI: เมื่อท่านประกาศผลในแต่ละช่วง จะมีทีมเฮ และทีมไม่เฮ เพราะว่ามันเป็นการแข่งขัน และมีการจัดอันดับ สิ่งที่ท่านทำได้กับทุกกลุ่ม คือ การให้ Easy Win เพื่อ ให้กำลังใจ ให้เห็นว่าทุกคนสามารถทำดีขึ้นได้เสมอ หรือ ทีมที่เป็นผู้นำ ท่านก็ปรับให้เขาดีขึ้นได้ในระดับต่อไป
|
เทคนิคที่ 15: ใช้การประเมินตัวเอง เพื่อพัฒนาตัวเอง เพื่อประโยชน์ของเขาเอง สมมติฐาน: การได้ประเมินงานที่ได้ทำ และมีโอกาสทบทวน เรียนรู้จากความผิดพลาดที่ทำ เป็นการเรียนรู้ที่ดี CT ควรพักการเล่นที่ต่อเนื่องเป็นช่วง ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ประเมินตัวเอง จากมุมมองต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับเรื่องที่ท่านจะสอนในชั้นเรียน ตัวอย่างของการให้นักศึกษาได้ประเมินตัวเอง:
|
เทคนิคที่ 16: ทำหลุมดักทาง ล่อให้ตกหลุม ผลักให้ลงหลุ่ม เจ็บแล้วจะเรียน (Learning from planned mistake) สมมติฐาน:
การขุดหลุมล่อใน MSIM: ผมจำเป็นจะต้องสวมวิญญาณสถาปนึก (ไม่ได้สะกดผิดนะครับ "นึก" จริง ๆ) เพื่อออกแบบเปลี่ยนแปลง Configurations ใด ๆ ให้เกิดหลุมดัก และจำเป็นจะต้องนั่งแท่นผู้กำกับนหนัง "สยองขวัญ" นิด ๆ พอหอมปากหอมคอ เพื่อ ขุดหลุม ให้นักศึกษาหลงเดินไป ซึ่งนักศึกษาส่วนมากจะตกไปในหลุม จะมีบางส่วนที่จะไปยืนอยู่ปากหลุมแต่ไม่ตกไปเสียงที วิธีที่ดีคือ ท่านเป็นมือ(เท้า)ที่มองไม่เห็นผลัก(ถีบ) ลงไปในหลุมครับ แล้วเด็ก ๆ จะพยายามปีนขึ้นมาเอง หากปีนไม่ได้ ก็สร้างหลุมใหม่อีกครั้ง แต่เปลี่ยนให้ลุกขึ้น กว้างขึ้น ครับ เพราะว่าท่านอยู่ในโลกแห่ง MonsoonSIM Simulation
หากนักศึกษาใช้ Practice แบบเดิม โดยไม่สนใจข้อจำกัดอื่นๆ เขาจะพลาดแและเรียนรู้เพิ่มเติมแน่นอน ในฐานะ Facilitator สิ่งที่เราทำได้จากเครื่องมือที่มี คือ โน้มนำให้เขาเรียนเพิ่มเติมเท่านั้นเอง |
เทคนิคที่ 17: ให้นักศึกษาเล่นบทนักสืบโมริโคโกโร ส่วนท่านนั้นเป็นโคนัน สมมติฐาน:
แนวทางการสืบสวนปัญหาใน MonsoonSIM: คำตอบมักอยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่ง "สังเกต" เห็น และ "ตีความ" เป็นหรือไม่
|
เทคนิคที่ 18: ติดปีกนางฟ้าเมื่อจำเป็น หรือเป็น Power Rangers ในบรรยากาศมาคุ (เลือกในแบบที่สบายใจ) สมมติฐาน:
ลักษณะการติดปีก หรือ แปลงร่างในยามมาคุ:
ในขณะที่เขียนหัวข้อนี้ก็รู้สึกเจ็บที่หลังเพราะว่าปีกกำลังจะงอกออกมา (แทนที่หางปีศาจที่มีอยู่เดิม) |
เทคนิคที่ 19: ใช้การบ้าน ให้เป็นการเรียน ยากบ้าง ง่ายบ้าง สนุกบ้าง เครียดบ้าง อย่าให้การบ้านเป็นภาระ สมมติฐาน: นักศึกษามักจะบ่นว่างานเยอะแล้ว เพราะว่าการบ้านเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากทำ ทว่า การบ้านเหมือนเป็นภาะ ท่านสามารถเปลี่ยนให้การบ้านเป็น ...................... ได้ตามจินตนาการ เช่น เปลี่ยนให้การบ้านเป็นบัตรผ่านในกิจกรรมต่อไป ตัวอย่างการบ้านที่เคยใช้: ผมทดลองใช้การบ้าน โดยกำหนดการบ้าน ในหัวข้อที่ไม่ได้มีเวลาในการสอน แต่ต้องการให้นักศึกษาไปค้นคว้าเอง สิ่งแรกที่วางไว้ แค่เขา Cut and Paste เขาก็ได้อ่านแล้ว 1 รอบ ผ่านตาผ่านหัว มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านซีรีบรัมแล้วครับ แล้วที่เหลือ คือ การตรวจการบ้านผ่าน Facebook เพื่อให้อ่านกันเองไปมา แล้วเรียนอีกครั้ง ผมใช้วิธีนี้ได้ อาจารย์บางท่านบอกว่า เพราะว่า ผมมีแต่นักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขัน วิธีนี้ไม่ work สำหรับนักศึกษาในชั้นเรียนทั่วไป ไม่มีอะไรดีไปกว่า การทดลอง ผมตรวจการบ้านจริงจัง ให้คำแนะนำ ท่านให้การบ้านเขาทำ ท่านตรวจการบ้านและแนะนำเขาหรือยัง หรือว่า ท่านตำหนิที่การบ้านไม่ได้ดั่งใจท่านสคาดหวังเอาไว้
จะเขียนขยายรายละเอียดในบทความแบ่งปันประสบการต่อไปนะครับ ถ้านักศึกษาได้เห็นประโยชน์จากการบ้าน คือ เขาเรียนรู้ และได้มุมมองจากมัน ได้คำแนะนำจากท่าน การบ้านก็จะเป็นที่น่าดึงดูดใจ |
เทคนิคที่ 20: ใช้รางวัลล่อ สมมติฐาน: มนุษย์มีความโลภ และของที่ได้มาฟรี ๆ ต่อให้มูลค่าไม่มาก ก็ขอให้ได้มากเสียก่อน หกท่านเข้าใจหลักการนี้ ก็เอาไปปรับใช้ได้หลากหลาย ผมใช้ของรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ สร้างแรงจูงใจในคลาส นอกเหนือไปจาก กำลังใจที่ให้ไปเสมอ คำชื่นชมที่พูดออกไมค์ แล้ว การตั้งรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ จะดึงดูดได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะรางวัลที่ Tangible คือ จับต้องได้ เช่น
|
เทคนิคที่ 21: Label Team Name and ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ Avarta สมมติฐาน: ในคลาสใหญ่ ๆ ที่มีนักศึกษาจำนวนมากคน และมากทีม ท่าน CT ไม่สามารถจำทุกคนและทุกทีมได้หรอกครับ
|
เทคนิคที่ 22: หมั่นเดิน และหูตาเป็นสัปปะรด สมมติฐาน: การเดินไปมาในชั้นเรียน เป็นหลายสิ่ง การเดินทำให้ท่านได้สำรวจ เห็นพฤติกรรม เห็นปัญหา และทำให้ท่านใกล้ชิดกับนักศึกษามากขึ้น ประโยชน์ของการหมั่นเดิน และการมีหูตาเป็นสัปปะรด:
|
เทคนิคที่ 23: หมั่นสรุปเป็นช่วง ๆ และสรุปแล้วสรุปอีก สมมติฐาน: นักศึกษาที่เกิดในยุค IT และดิจิตอล มักจะมีสมาธิสั้น และมีปัญหาในการรับสาร ขาดประสบการณ์ที่จะเชื่อมโงให้เกิดความเข้าใจ การหมั่นสรุปเป็นวิะีการที่ดี สรุปอะไรบ้าง:
|
สิ่งนี้เป็นเทคนิคที่ผมใช้ในชั้นเรียน ไม่ได้เรียงลำดับจากเงื่อนไข หรือ approcahing ใด ๆ เพียงมีวัตถุประสงค์เพื่อจะแบ่งปันสิ่งที่ได้พบดจอในรอบหลายปี ใน Conceptual Class บางมุม หรือบางเรื่องที่พลาดไป หากท่าน CT จะกรุณาเพิ่มเติมก็จะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกันครับ และบางเทคนิคนี้ปรับใช้ในชั้นเรียนของท่านได้ ผมบอกนักศึกษาเสมอว่า อะไรดีดีก็เก็บ อะไรไม่ดีก็โยนทิ้งไป นะครับ อาจจะมีเพิ่มเติมในหัวข้อนี้เรื่อย ๆ ครับ ขึ้นอยู่กับว่า นึกออกเมื่อไหร่ครับ
เริ่มที่ TT; Teaching Transformation จบที่ LT; Learning Transformation เพื่อ ET; Education Transformation กันครับ (อ่านเรื่อง LTT ได้ที่นี่)
เริ่มที่ TT; Teaching Transformation จบที่ LT; Learning Transformation เพื่อ ET; Education Transformation กันครับ (อ่านเรื่อง LTT ได้ที่นี่)