ผู้เขียนแบ่งปันประสบการณ์การใช้การบ้านเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยมีท่าน CT หลายท่านได้แสดงวามเห็นว่า กิจกรรมนี้ได้รับผลตอบรับ เนื่องจาก กลุ่มนักศึกษาที่สมัครใจ หรือตั้งใจ ในการเข้าร่วมโครงการแข่งขัน TH ERM Challenge ซึ่งต้นทุนของนักศึกษาในชั้นเรียนอาจจะมีความแตกต่างกันไป สำหรับตัวผมนั้น สิ่งที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุน ยังต้องรวมไปถึง ความท้าทาย ในมุมต่าง ๆ ที่ให้การบ้านเป็นมากกว่าภาระงานที่ต้องทำส่ง และรวมไปถึงกระบวนการต่าง ๆ ในการสร้างการบ้านประกอบกัน ซึ่งกว่าจะได้เขียนเรื่องนี้เพื่อแบ่งปัน บางตัวอย่างอาจจะมีการลืมเลือนไปตามการเวลา และผู้เขียนเองก็อาจจะเลอะเลือนไปตามวัย การบ้านเหล่านี้ ใช้เพื่อเปิดประตูบานอื่น ๆ เกี่ยวกับ วิธีการหาความรู้ เครื่องมือ การตีความ การนะเสนอ การทดลองงานเขียน ฯลฯ และเพื่อให้ประสบการณ์ และความรู้กับนักศึกษาที่ลงมือทำเป็นสำคัญ ไม่ได้มีแนวคิดเรื่อง การบ้านที่จะต้อง Perfect ถูกต้องทั้งหมด CT ควรกำหนดเป้าหมายของท่าน สำหรับตัวอย่างเหล่านี้ วางอยู่บนวัตถุประสงค์นี้ |
หมายเหตุประกอบ:
การใช้การบ้านเป็นกิจกรรมใน TH ERM Challenge เกิดขึ้นในปี 2017 เป็นปีแรก เนื่องจากว่า ตัวผมจะเจอนักศึกษาเพียง 1 ครั้ง และในขณะนั้น การแข่งขันยังเป็นแบบเปิด คือ ให้ทั้งสถาบันที่เป็นสมาชิก และไม่เป็นสมาชิกได้เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งทำให้มีจำนวนทีมมาก จำเป็นจะต้องมีกระบวนการคัดสรร ตามขีดความสามารถของ server ของผู้จัด รวมไปถึงเวลาที่มี โดยมุ่งให้การบ้านเป็นส่วนหนึ่งของการคัดกรองนักศึกษาที่สนใจในกิจกรรมจริง ๆ และอุทิศตนเอง เพื่อการเรียนรู้ โดยในปี 2017 นั้น การบ้านจะถูกโพสต์ใน FB Group ทั้งคำถาม และขั้นตอนการส่ง รวมไปถึงการส่งการบ้านด้วยเช่นกัน (ท่านสามารถเข้าไปใน Group TH ERM Challenge 2017 เพื่อดูตัวอย่างได้) ซึ่งแต่ละการบ้าน จะมีการตรวจและตอบกลับ รวมไปถึงให้ความเห็น เพื่อที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้ระหว่างกันเองในการบ้านของแต่ละคน
ในปี 2018 สิ่งที่แตกต่างกันไป คือ การให้ส่งการบ้านทาง email เนื่องจาก นักศึกษาตำหนิว่า การตรวจการบ้าน และหากการบ้านเขาทำได้ไม่ดี จะเป็นการเสียหน้า ในฐานะผู้จัดก็รับฟังกันไป โดยผมก็จะตรวจการบ้านตอบทาง email
สิ่งที่แตกต่างกันมากของ 2016 - 2017 - 2018 ที่เห็นได้ชัด คือ วินัย การมีส่วนร่วม นั้น ลดลงเป็นเงาตามตัวเป็นนัยยะสำคัญตาลำดับเวลา นักศึกษาเน้นความเป็น privacy มากขึ้น ซึ่งโมเดลนี้อาจจะทำหรือไม่ทำอีกก็ได้นปีต่อไป
ผมจะบอกตัวเองว่าไม่มีการบ้านใด ที่นักเรียนนักศึกษาลงทุนทำแล้วเสียประโยชน์เสียเวลา ประโยชน์ของมันอาจจะเริ่มจากมุมเล็ก ๆ เช่น มีโอกาสได้ทบทวนอีกครั้ง ซึ่งเมื่อได้ทบทวนอีกครั้ง + คำแนะนำ เสริม จะเพิ่มมุมมองใหม่ ๆ บางคนได้มุมของจินตนาการและการจัดการ บางคนได้วิธีการไปปรับใช้ เพราะว่าการบ้านไม่ได้มีจุดประสงค์เดียว การตรวจและให้คำแนะนำ เป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ การตรวจการบ้านมิใช่เพื่อการตรวจความถูกต้อง แต่เป็นการให้ผู้เรียนได้เห็นข้อบกพร่องเพื่อการนำไปแก้ไข และหากเขามีโอกาสแก้ไข งานครั้งต่อมามักจะดีขึ้นเสมอ ได้ทั้งกำลังใจ ได้ทั้งความรู้ ความมั่นใจ
การใช้การบ้านเป็นกิจกรรมใน TH ERM Challenge เกิดขึ้นในปี 2017 เป็นปีแรก เนื่องจากว่า ตัวผมจะเจอนักศึกษาเพียง 1 ครั้ง และในขณะนั้น การแข่งขันยังเป็นแบบเปิด คือ ให้ทั้งสถาบันที่เป็นสมาชิก และไม่เป็นสมาชิกได้เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งทำให้มีจำนวนทีมมาก จำเป็นจะต้องมีกระบวนการคัดสรร ตามขีดความสามารถของ server ของผู้จัด รวมไปถึงเวลาที่มี โดยมุ่งให้การบ้านเป็นส่วนหนึ่งของการคัดกรองนักศึกษาที่สนใจในกิจกรรมจริง ๆ และอุทิศตนเอง เพื่อการเรียนรู้ โดยในปี 2017 นั้น การบ้านจะถูกโพสต์ใน FB Group ทั้งคำถาม และขั้นตอนการส่ง รวมไปถึงการส่งการบ้านด้วยเช่นกัน (ท่านสามารถเข้าไปใน Group TH ERM Challenge 2017 เพื่อดูตัวอย่างได้) ซึ่งแต่ละการบ้าน จะมีการตรวจและตอบกลับ รวมไปถึงให้ความเห็น เพื่อที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้ระหว่างกันเองในการบ้านของแต่ละคน
ในปี 2018 สิ่งที่แตกต่างกันไป คือ การให้ส่งการบ้านทาง email เนื่องจาก นักศึกษาตำหนิว่า การตรวจการบ้าน และหากการบ้านเขาทำได้ไม่ดี จะเป็นการเสียหน้า ในฐานะผู้จัดก็รับฟังกันไป โดยผมก็จะตรวจการบ้านตอบทาง email
สิ่งที่แตกต่างกันมากของ 2016 - 2017 - 2018 ที่เห็นได้ชัด คือ วินัย การมีส่วนร่วม นั้น ลดลงเป็นเงาตามตัวเป็นนัยยะสำคัญตาลำดับเวลา นักศึกษาเน้นความเป็น privacy มากขึ้น ซึ่งโมเดลนี้อาจจะทำหรือไม่ทำอีกก็ได้นปีต่อไป
ผมจะบอกตัวเองว่าไม่มีการบ้านใด ที่นักเรียนนักศึกษาลงทุนทำแล้วเสียประโยชน์เสียเวลา ประโยชน์ของมันอาจจะเริ่มจากมุมเล็ก ๆ เช่น มีโอกาสได้ทบทวนอีกครั้ง ซึ่งเมื่อได้ทบทวนอีกครั้ง + คำแนะนำ เสริม จะเพิ่มมุมมองใหม่ ๆ บางคนได้มุมของจินตนาการและการจัดการ บางคนได้วิธีการไปปรับใช้ เพราะว่าการบ้านไม่ได้มีจุดประสงค์เดียว การตรวจและให้คำแนะนำ เป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ การตรวจการบ้านมิใช่เพื่อการตรวจความถูกต้อง แต่เป็นการให้ผู้เรียนได้เห็นข้อบกพร่องเพื่อการนำไปแก้ไข และหากเขามีโอกาสแก้ไข งานครั้งต่อมามักจะดีขึ้นเสมอ ได้ทั้งกำลังใจ ได้ทั้งความรู้ ความมั่นใจ
4 การบ้าน จากกิจกรรม TH ERM Challenge 2017 ถอดบทเรียน วิธีคิด เพื่อการแบ่งปัน
ในปี 2017 นั้น ผมได้มีโอกาสใช้การบ้าน 4 การบ้านเพื่อสร้างประสบการณ์ ให้กับนักศึกษา โดยเน้นทักษะ และประโยชนที่การบ้านจะให้กับนักศึกษา โดยในปี 2017 มี การบ้าน 4 แบบดังนี้
THERMC 2017 Homework #1: ERM Mindmap
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างของการบ้านนี้ได้ที่: Download ZIP File (1.51 Mb)
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างของการบ้านนี้ได้ที่: Download ZIP File (1.51 Mb)
โจทย์ของการบ้าน: ให้เขียน Mindmap 8 ครอบคลุม เรื่องใด ๆ ก็ได้จาก MonsoonSIM ขั้นต่ำ 3 เรื่อง
แนวคิด และวัตถุประสงค์:
วิธีการ:
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
Link ที่เกี่ยวข้องกับ Mind map: ท่านสามารถ search เครื่องมือและหัวจ้ออื่นได้เพิ่มเติมใน Google
แนวคิด และวัตถุประสงค์:
- Mind map เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นภาพรวม และเห็นรายละเอียดต่าง ๆ เป็นการจัดกระบวนการคิด ผ่านเครื่องมือนี้ เพื่อช่วยให้นักศึกษามองเห็นภาพรวมของกระบวนการทางธุรกิจ การบริหารเชิงกลยุทธ์ ในงานแต่ละประเภท
- ผมใช้กิจกรรมนี้ แลกด้วยการซ้อมมือระหว่างสถาบัน ซึ่งจัดขึ้นในวันเสาร์ในช่วงเช้าและบ่าย ในการกิจกรรมเสริมก่อนการแข่งขันประจำปี 2017 สำหรับท่านนั้น อาจปรับ 13-14 ครั้งในชั้นเรียน ให้กลายเป็นการแข่งขันก็ได้ เพราะว่า ธรรมชาติของเกม และการแข่งขัน จะช่วยให้เกิดการกระตุ้นผู้เรียนในชั้นเรียนได้
วิธีการ:
- ได้โพสต์ link เกี่ยวกับ Mindmap ทั้งในรูปแบบของเนื้อหา, คลิปอธิบาย, Free tool ต่าง ๆ ไว้ใน FB Community: TH ERM Challenge 2017 (ท่าน CT สามารถ search ชื่อ community ใน Facebook และขอเข้ากลุ่มเพื่อติดตามการบ้านนี้)
- ให้โจทย์ไปเขียน mindmap ขั้นต่ำ 3 กระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกัน และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานเหล่านั้น
- ให้ export mindmap เป็นภาพ แล้วโพสต์ใน Community เพื่อส่งการบ้าน และจะได้แนะนำผ่านการแนะนำได้สะดวก และเป็นการแบ่งปันประสบการณ์แก่ผู้อื่น ๆ ให้เห็นวิธีคิด ในโจทย์เดียวกัน
- ใช้วิธีการ Challenge หลังจากแนะนำ เพื่อให้เพิ่มกระบวนการให้กว้างขึ้น หรือมีความซับซ้อน หรือ ไป integrated กับชุดความรู้และ operation process อื่นๆ
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
- หลายทีมในครั้งแรก เริ่มจากการเอาเมนูใน MonsoonSIM มาร่างเป็น Mindmap ซึ่งอาจจะยังไม่ตรงโจทย์ที่ต้องการเท่าใดนัก ทว่าก็เป็นประโยชน์ที่ เขาเองได้เห็นและทบทวนหน้าที่ มองภาพ หรือเนื้องานอื่น ๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้ทดลอง หรือทำความเข้าใจ เพราะว่าต้องแบ่งงานกันทำกับเพื่อนในกลุ่ม ซึ่งผมเอง ได้ให้เพิ่ม Circle knowlegde of MonsoonSIM ไปในกรณีนี้เพื่อขยายมุมมอง ซึ่งหลายทีมได้ส่งการบ้านที่แก้ไขกลับมา เพราะว่าเขาเองเห็นว่าเมื่อเขาลงมือเขาได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น
- บางกลุ่มยังไม่มีความเข้าใจ mind map เช่น บางกลุ่มทำออกมาในรูปแบบของ flow chart เป็นต้น ซึ่งได้แนะนำให้ไปศึกษางานของเพื่อน ๆ ที่โพสต์เอาไว้ใน Community และได้รับการประบปรุงแก้ไขกลับเข้ามา
- บางกลุ่มอาจจะเริ่มต้นจากการคัดลอกงานที่เห็น ทว่า จะมีการเพิ่มมุมมองในระหว่างที่ตนเองคัดลอกงานนั้น ในกระบวนการ C&D; Copy and Development ซึ่งอย่างน้อยก็เป็นผลดีที่นักศึกษาได้เห็นและเกิดกระบวนการคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
- บางกลุ่มเริ่มต้นจากการเขียนเป้าหมายของการดำเนินธุรกิจ และนำเอางานไปเชื่อมความสัมพันธ์ว่างานใด KPI บทบาทและความรับผิดชอบอยู่ในงานส่วนใด ซึ่งมีความคิดที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ
- นักศึกษาบางท่าน ไม่เคยใช้เครื่องมือนี้มาก่อน ทว่าพอได้เห็นเครื่องมือนี้และทดลองใช้ สามารถเอาไปปรับใช้กับการเรียน การทำ shortnote ต่าง ๆ ในวิชาอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งกิจกรรมนี้ หากท่าน CT มีเวลา ควรเป็นกิจกรรมแรก ๆ ที่ใช้ในชั้นปีที่ท่านเกี่ยวข้องให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะเป็นทางเลือกของนักศึกษาและเขาจะเอาไปปรับใช้ได้ต่อไป ตามประโยชน์ของเครื่องมือนี้
Link ที่เกี่ยวข้องกับ Mind map: ท่านสามารถ search เครื่องมือและหัวจ้ออื่นได้เพิ่มเติมใน Google
- คลิปสอนเรื่อง Mindmap (ภาษาไทย): https://www.youtube.com/watch?v=X7j_Gb5fah8
- 6 ขั้นตอนในการทำ Mind map โดย Frank.co.th: คลิกที่นี่
- รวม application โดย iphonemod.net: คลิกที่นี่
THERMC 2017 Homework #2: P and L Analysis
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างของการบ้านนี้ได้ที่: Download ZIP File (25.3 Mb)
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างของการบ้านนี้ได้ที่: Download ZIP File (25.3 Mb)
โจทย์ของการบ้าน: ในฐานะที่ท่านเป็นนักลงทุน ท่านละเลือกลงทุนกับบริษัทใด ด้วยสาเหตุใด
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
วิธีการ:
ผลลัพท์และการถอดบทเรียน:
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
- เป็นการให้แนวคิดเรื่องการเลือกลงทุนในธุรกิจใด โดยให้พิจารณาจากงบกำไรขาดทุนที่อยู่ใน MonsoonSIM เนื่องจากนักศึกษาจะมีประสบการณ์ในการทำงาน และ จะรู้ถึงกิจกรรม ซึ่งสร้างบันทึกเหล่านี้ในทางบัญชี เป็นการขยายมุมมองของนักศึกษาให้สนใจเรื่องการบริหารจัดการ โดยใช้มุมมองการวัดผลด้านบัญชีเข้ามาเสริมความเข้าใจ
- บัญชีเป็นเรื่องพื้นฐานในการทำธุรกิจ และการเข้าใจบัญชีจะเกิดประโยชน์กับนักศึกษา ทั้งนักศึกษาสาขาบัญชี และนักศึกษาในสาขาวิชาทั่วไป ทั้งในกลุ่มนักศึกษาที่จะเป็นผู้ประกอบการ หรือว่าจะเป็นพนักงานในองค์กร
- มีการดึงข้อมูลโดยจำลองออกเป็น 4 Quarter เพื่อให้นักศึกษาศึกษาพัฒนาการ และใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลและประเมินการบ้าน ซึ่งแนวคิดนี้ คือ พื้นฐานการสอน Business Information Systems
- การที่นักศึกษาจะต้องเขียนบทวิเคราะห์ ทำให้ท่านเห็นถึงกระบวนการวิธีคิด การใช้ภาษา ซึ่งท่านจะมีโอกาสในการแนะนำเพิ่มเติมให้กับนักศึกษาเหล่านี้
วิธีการ:
- นำ P and L จากเกมหนึ่ง ๆ ซึ่งเปิดครบตามจำนวนโมดูลที่ต้องการ ในกรณีนี้ ผมได้เลือก 12 โมดูล ในเกมที่เกิดจากรอบคัดเลือก เนื่องจากจะมีตัวเลขใน P and L ครบทุกหมวด หลังจากนั้น ได้ rename ชื่อทีมออกเป็น AA BB CC DD ซึ่งในโจทย์การบ้านมีจำนวนทีมราว 10-12 ทีม โดยถึงในในช่วงเกมทุก ๆ 30 วัน คือ วันที่ 30, 60, 90, 120 (คำแนะนำ ตั้งแต่ version 5.8 เป็นต้นมา สามารถที่จะเข้าไปดึง P and L ย้อนหลังได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องหยุดเกม)
- Copy and Paste ใน Excel หรือ Spreadsheet และให้ข้อมูลในสกุลที่นักศึกษาสามารถเอาข้อมูลเหล่านีั้ไปใส่สูตรคำนวน, การทำกราฟ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ได้
- ให้ส่งการบ้านทาง Email และภายหลังจากที่พ้นกำหนดการแก้ไขการบ้านแล้ว ได้นำเอาการบ้านนี้ไปเผยแพร่ โดย Rename ชื่อกลุ่ม ก่อนการแผยแพร่ใน Community
ผลลัพท์และการถอดบทเรียน:
- นักศึกษาส่วนมาก ใช้ข้อมูลเดียวในการตัดสินใจ และให้เหตุผลประกอบได้แบบไม่มีที่มาที่ไป ซึ่งได้แนะนำและให้นักศึกษากลับไปทดลองทำมาใหม่
- นักศึกษาบางส่วน ได้ใช้ทฤษฎีการเงินง่าย ๆ ประกอบกับการนำเอาข้อมูลมาสร้างกราฟเพื่ออธิบาย
- นักศึกษาบางกลุ่ม นำเอาทฤษฎีด้านการเงิน มาใช้เป็นหลักในการอธิบาย ซึ่งนักศึกษากลุ่มนี้กลับไม่ใช่ทีมนักศึกษาสายบริหารธุรกิจ แต่กลับเป็นนักศึกษาในสาย IT มีการนำเอาข้อมูล และ ratio ต่าง ๆ มาสร้างกราฟเพื่อ forecast การเติบโต
- การบ้านจากทุกกลุ่มได้ทำให้เห็นว่า ทักษะในการใช้ข้อมูลของนักศึกษายังไม่ดีพอ และนักศึกษามีปัญหาในการเขียน เรียบเรียง และการนำเสนอ เช่น การใช้ภาษาพูดในงานเขียน, ปัญหาของการใช้สันธาน, ปัญหาในการอ้างอิงข้อมูล, ปัญหาในการใช้กราฟ ในรูปแบบที่เหมาะสมในการนำเสนอ
เพื่อความบันเทิงและความเข้าใจ โปรดเปิด YouTube ฟัง และอ่านบทความนี้ ในหน้า 13 ประกอบ
THERMC 2017 Homework #3: Learn MonsoonSIM to Song
การบ้านสำหรับสายบันเทิง และสายเถิดเทิง
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างของการบ้านนี้ได้ที่: Download ZIP File (3.6 Mb)
Search hashtag ใน Facebook #LearnMonsoonSIMtoSong
การบ้านสำหรับสายบันเทิง และสายเถิดเทิง
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างของการบ้านนี้ได้ที่: Download ZIP File (3.6 Mb)
Search hashtag ใน Facebook #LearnMonsoonSIMtoSong
โจทย์ของการบ้าน: ให้นักศึกษาไปหาเพลงที่เนื้อหาสอนเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับธุรกิจ การบริหารจัดการ หรือชุดความรู้ ทักษะใด ๆ ก็ได้ โดยให้อธิบายเรื่องเพลง และความหมายที่เพลงสื่อสาร
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
วิธีการ:
ผลลัพท์และการถอดบทเรียน:
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
- เพื่อให้การสร้างประสบการณ์ครอบคลุมกับนักศึกษาในทุกกลุ่ม จึงได้สร้างการบ้านนี้ให้ครอลคลุมนักศึกษาที่อาจจะเป็นสายเน้นสนุก สาย gamer ได้ฝึกฝนวิธีคิดบ้าง
- นักศึกษาจะได้ใช้ทักษะอื่น ๆ ซึ่งมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต การการทำงานในอนาคต
- บางครั้งเพลงดีดี หนึ่งเพลง ประกอบกับจินตนาการ และกรอบของการตีความเล็กน้อย จะส่งมอบประสบการณ์และความรู้ได้ดีกว่าการสอนในรูปแบบที่จำเจ
- ฝึกการอ่านระหว่างบรรทัด ซึ่งในเพลงบางเพลงนั้น ไม่ได้มีความหมายตรงกับคำที่ใช้ อาจจะต้องมีการตีความ ซึ่งจะผสานกับประสบการณ์ที่นักศึกษามี
วิธีการ:
- ผมมักจะใช้เพลงบางเพลงสอนบางเรื่อง ซึ่งเพลงที่ใช้เป็นประจำ คือ เพลงนายไข่เจียว ที่สอนเรื่องกระบวนการ, ขั้นตอน, Strategy, การตลาด ฯลฯ รวมไปถึง คุกเข่า ที่สอนเรื่อง การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา, มาตรการการแก้ไข และกระบวนการแก้ไขปัญหา เป็นต้น ซึ่งทักจะใช้ในระหว่างพักเบรก หรือ ระหว่างเริ่ม โดยหากมีเวลา จะนำเนื้อเพลงมาตีความไปพร้อมๆ กับนักศึกษา ส่วนหนึ่ง คือ การสร้างงความประหลาดใจในชั้นเรียน เพื่อ drawing attention และเพิ่มทักษะอื่น ๆ ให้กับนักศึกษาในกระบวนการเรียนรู้
- ผมได้ให้โจทย์ที่เริ่มต้นจาก หาเพลงใด ๆ ที่คิดว่า สามารถอธิบาย เนื้อหา ทฤษฎี วิธีการ ส่วนหนึ่งส่วนใดก็ได้ของทฤษฎีใด ๆ ในศาสตร์ใด ๆ ก็ได้ ให้มานำเสนอ และตีความด้วยตาราง 2 ช่อง คือ ช่องซ้าย เป็นเนื้อเพลง ช่องขวา คือการอธิบายความหมาย และเชื่อมโยงเข้าสู่สิ่งที่ต้องการอธิบาย
- เพลงที่เหลือมา จะต้องไม่ซ้ำกัน โดยให้สิทธิใครโพสก่อนได้เพลงนั้นไป หากเพลงซ้ำ จะต้องไปหาเพลงใหม่มาตีความ
- เปิดโอกาสให้นำเพลงได้จากหลายภาษา แต่จะต้องแปลให้เข้าใจด้วยภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย ก็ได้ ประกอบ และอาจจะเป็นเพลงที่ให้แนวคิดด้านใด ๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตรงกับทฤษฎีเสมอไป
ผลลัพท์และการถอดบทเรียน:
- นักศึกษาที่ไม่ใช่สายวิชาการ เขาได้รับความสนุกสนานในกิจกรรมการบ้านนี้ และสิ่งที่เขาได้คือ การอ่านระหว่างบรรทัด ชั้นเรียนได้บรรยากาศของการเรียนที่สนุกสนาน
- บางเพลงนั้น เมื่อเห็นการตีความก็อาจจะมีความเกินเลยบ้าง หรือ นักศึกษาสื่อสารได้ไม่ชัดบ้าง ซึ่ง CT เองจะได้สอบถามถึงที่มาที่ไปเพื่อเข้าใจกระบวนการทางความคิด
- นักศึกษาได้ทักษะของการฟัง อ่าน ตีความ ความคิดสร้างสรรค์
- CT ผู้สอน ได้เห็นมุมมองของนักศึกษา รู้จักเพลงที่ร่วมสมัย รู้จักกระบวนวิธีคิด ของเขาเหล่านั้น
THERMC 2017 Homework #4: Learn ERP to MonsoonSIM
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างของการบ้านนี้ได้ที่: Download ZIP File (21.1Mb)
Search hashtag ใน Facebook #LearnERPtoMonsoonSIM
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างของการบ้านนี้ได้ที่: Download ZIP File (21.1Mb)
Search hashtag ใน Facebook #LearnERPtoMonsoonSIM
โจทย์ของการบ้าน: ให้นำเอาประสบการณ์ที่ได้จาก MonsoonSIM ลองอธิบายเรื่อง ERP ตามความเข้าใจของนักศึกษา
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
วิธีการ:
ผลลัพท์และการถอดบทเรียน:
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
- การเรียนการสอน ERP เป็นเรื่องที่ยากที่นักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ ไม่เข้าใจกระบวนการทำงานทางธุรกิจ ไม่เข้าใจกิจกรรมอันเป็นที่มาของข้อมูล ไม่เข้าใจการวัดผลซึ่งผูกโยงกับผลลัพท์ด้านธุรกิจและการประกอบการ จะเข้าใจได้ และเพื่อไม่ให้การเรียนการสอนเรื่อง ERP เป็นเพียงการท่องจำแล้วเข้าใจ จึงได้สร้างการบ้านนี้ขึ้น
- การบ้านนี้เป็นการบ้านสุดท้ายของการแข่งขัน TH ERM Challenge 2017 ซึ่ง ผมต้องการให้นักศึกษาได้เพิ่มเติมความรู้ส่วนนึี้ หลังจากที่มีประสบการณ์ของ MonsoonSIM ไปบ้างแล้วประมาณ 5-7 ครั้ง
- การบ้านนี้บังคับให้ส่งด้วยรูปแบบของ PowerPoint Presentation เพื่อฝึกฝนทักษะในการนำเสนอ การเลือกใช้ข้อมูล การกำหนดแนวทางการนำเสนอ ให้กับนักศึกษา โดยส่วนหนึ่งเป็นการตรวจเพื่อแนะนำในวัตถุประสงค์นี้
วิธีการ:
- หลังจากที่นักศึกษามีความเช้าใจพื้นฐานเรื่องกระบวนการทางธุรกิจ ที่หลากหลาย ตามความสั้นยาวของ Supply Chain แล้ว ได้เห็น Service Role, Duty, Measurement, Risk, Data form, Document, Dashboard แล้วนั้น ก็ถึงเวลาที่จะเพิ่มความรู้ความเข้าใจใน ERP โดยวางอยู่บนพื้นฐานของ Self Study, Searching และ Coaching
- ผมได้เข้าไปเอา list SAP Module list (Link) และ Random แบบจงใจ เลือกให้โมดูลไม่ตรงกับสาขาวิชาหลักที่นักศึกษาได้เรียน เช่น หากนักศึกษาเรียนสาขาบัญชี ก็จะไปเลือก random ในงานด้าน Supply Chain แทน, นักศึกษาด้านการจัดการผลิต ก็ Random Module ในด้านการเงิน เป็นต้น
- นักศึกษาจะต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยจะต้องระบุประโยชน์ของ Module นั้น ๆ ให้ได้ และขั้นต่อไปจึงระบุ data ที่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ ความเชื่อมโยงงานกับฝ่ายงานอื่น ๆ เพื่อเป็นการขยายขอบเขตและความเข้าใจ โดยที่ใช้ MonsoonSIM เป็นพื้นฐาน
ผลลัพท์และการถอดบทเรียน:
- นักศึกษาส่วนใหญ่ ได้หาข้อมูล และนำมา Copy & Paste ในตัว presentation ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานในการทำงานในเรื่องที่ไม่ทราบ หรือไม่มีความรู้มาก่อน ซึ่งอย่างน้อยนักศึกษาได้ก็ได้อ่าน และย่อยเพื่อตัดข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบ
- ผมจะตั้งคำถามเพิ่มเติม หลังจากเห็นงานใน Version แรก ซึ่งให้นักศึกษาแก้ไขตามความสมัครใจ และในอีกทางหนึ่งคือ การกำหนด seat ในรอบซ้อมมือครั้งสุดท้ายก่อนการแข่งขัน เพื่อเน้นผลงานที่ดีจากนักศึกษา โดยผมให้นักศึกษาที่คิดว่างานของตัวเอง Qualified เป็นการตัดสินใจ ซึ่งได้ผลที่ค่อยข้างดี คือ นักศึกษาประเมินตัวเองมา และพยายามปรับแก้
- นักศึกษาสามารถเข้าใจ ประโยชน์ของ SAP ERP ในโมดูลที่ได้รับมอลหมายดีขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการต่อยอดในงานที่จะต้องใช้ ERP ต่อไป ซึ่งแน่นอนด้วยเวลาที่จำกัดของทั้งนักศึกษา และความสามารถที่จำกัดของผม ก็ทำให้เกิดข้อจำกัดต่างๆ แต่โดยรวมแล้วผลของการบ้านก็เป็นที่น่ายินดี
ในหัวข้อต่อไป จะเป็น ตัวอย่างการใช้การบ้านเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ในกิจกรรม TH ERM Challenge #2 โดยนำเอาการบ้านในปี 2018 มาแบ่งปัน ผมเปลี่ยนรูปแบบของการแข่งขัน การ facilitate class ในทุกปี เพื่อทดลองหาวิธีการเรียนการสอนที่ดีขึ้น บางตัวอย่างของการบ้านอาจจะไม่ตรใจท่าน หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานของท่าน CT ก็ขอให้ท่านได้เห็นบทเรียนนี้เพื่อนำไปปรับใช้ เพื่อร่นระยะ ประหยัดเวลา และเพิ่มพูนความสามารถของนักศึกษาของท่านต่อไป