หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ใช่บทความวิชาการ ที่มาของบทความนี้ เกิดจากการดูรายการหนึ่งในโทรทัศน์และเห็นถึงมูลนิธิหนึ่งเพื่อการศึกษาและผู้เขียนกำลังเขียนอีกบทความหนึ่งเรื่อง อย่าให้การศึกษาไทยเป็นยาคุมกำเนิดของสังคมนักประกอบการในไทย และเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องจึงเขียนแยกเป็นอีกบทความเพื่อประกอบกัน ทั้งนี้ได้ขอข้อมูลจากเครือข่ายของ MonsoonSIM ในประเทศอินโดนีเซียมาเเพื่อให้เห็นว่า การส่งเสริมการศึกษาเรื่องการประกอบการของประเทศไทยต่างจากอินโดนีเซียเพื่อนบ้านอย่างไร
ทักษะแห่งการประกอบการ ทักษะที่ควรสร้างตั้งแต่เยาวรุ่น กรณีศึกษาจากประเทศอินโดนีเซียเพื่อการพัฒนาการศึกษาในประเทศไทย
ผู้เขียนเคยได้ยินการปัญหาในการศึกษาของไทย สัมผัส และได้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินการศึกษาของไทยมามากในรอบหลายปี และเห็นว่า "ปัญหามีอยู่จริง" ในหลายบริบท รวมไปถึงเห็นการสาละวนกับการพยายามหา "แพะ" มากกว่า "หาเหตุ" เพื่อแก้ไข และในรอบหลายปีนี้ก็เข้าไปพัวพันกับการศึกษา และได้ทดลองสมมติฐานหลายเรื่อง และได้คำตอบในหลายลักษณะ เห็นนโยบายการศึกษาจของไทย งบประมาณที่ใช้ กับการผลลัพท์ที่ได้แล้วก็ "หนักใจ"
การศึกษาของไทยถูกนำไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยใช้ข้อมูลจาก OECD งานวิจัยจากสถาบันอื่น ๆ มากมาย ได้เห็นสถิติที่การศึกษาของไทยทำได้ และการจัดอันดับ (ที่สถาบันการศึกษาของไทย เลือกเอามาเฉพาะตัวที่คะแนนดี มา propaganda โดยไม่ได้บอกว่า ลำดับที่ภูมิใจนั้นลงในหมวดการวัดผลแบบใด และใช้อะไรในการวัดผล) เราต้องยอมรับว่าการจัดอันดับเหล่านั้นมีทั้งดี และไม่ดี มีเกณฑ์ชี้วัดที่แตกต่างกันไป เพื่อระบุความน่าเชื่อถือของการจัดอันดับเหล่านั้น ทว่าจะจัดอันดับอย่างไร ในสถาบันใด ในระดับใด ตั้งแต่ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ไทยที่ติดอันดับประเทศที่ใช้งบประมาณในการศึกษาเป็นอัตราสูงสุดในระดับต้น ๆ ของโลกและภูมิภาค (อ่านเพิ่ม1, อ่านเพิ่ม2) แต่ไม่ติดอันดับของการจัดอันดับใด ๆ เลยในระดับ Top แบบที่ใช้งบประมาณ (อ่านเพิ่ม1, อ่านเพิ่ม2) ท่ามกลามมาตรฐานทางการศึกษามากมายที่ เราเปลี่ยนตัวมาตรฐานใช้ไปเรื่อย ๆ และเอาชนะทุกมาตรฐานทางกระดาษและรายงานเสมอ
การศึกษาของไทย ถูกนำไปเรียบเทียบกับประเทศในโลกพัฒนาแล้วไม่ได้ เช่น สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง หรือ ความบ้าคลั่งใน Finnish Education เป็นช่วง ๆ ของผู้มีอำนาจในการวางนโยบายการศึกษาของไทย และประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใด้ ซึ่งไม่ควรเปรียบเทียบกับประเทศเหล่านี้ เพราะว่า "ห่างช้้นกันเกินไปและมีปัจจัยที่แตกต่างกันมาก เช่น ในฟินแลนด์ มีจำนวนนักเรียน : ครู ในหลักที่สร้างคุณภาพได้ มีรูปแบบ และวิธีคิดทางการศึกษา ที่แตกต่างกันมาก การจะเอาไทยไปเทียบกับฟินแลนด์คงทำได้ยากมาก หรือในความพร้อมของบุคลากรก็แตกต่างกันมาก ทั้งในเชิงคุณภาพ, ค่าตอบแทน, การยอมรับจากสังคมในฐานะอาชีพ ก็แตกต่างอย่างมาก ทั้งนี้ค่านิยมที่กำหนดแนวคิด และสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาแตกต่างกันในทางประวัติศาสตร์ด้วย ทว่าในบทความนี้ขอนำเอา "ตัวอย่าง" จากประเทศอินโดนีเซีย มาใช้เป็นตัวอย่างในมุมใดมุมหนึ่งให้กับประเทศไทย เพราะว่าไทยและอินโดนีเซ๊ย มีความคล้ายคลึงกันในหลากองค์ประกอบ เช่น การใช้ภาษาถิ่นเป็นหลัก เป็นภาษาราชการ (ฺBahasa และ ไทย) ภูมิภาค วัฒนธรรมบ้างอย่างที่พอจะคล้ายกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่าง ซึ่งคู่เทียบนี้ดูจะสมน้ำสมเนื้อไปกว่าการเทียบไทยกับประเทศต่าง ๆ ขั้นต้น
ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะ "การสร้าง Entrepreneurship ในการศึกษาของไทย และอินโดนีเซีย" ซึ่งผู้เขียนใช้การสัมภาษณ์ พูดคุย กับคนอินโดนีเซียในหลากหลายโอกาส และเห็นความพยายาม และความจำเป็นในการสร้าง Entrepreneurship การยอมรับ และรูปแบบวิธีการที่แตกต่างจาก "สิ่งที่(ผู้เขียน)เจ็บและชินไปเอง" กับประสบการณ์ในแวดวงการศึกษาในประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายด้วยการนำตัวอย่างที่ดีของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในประเทศของเขา มาให้เป็นตัวอย่างให้กับการศึกษาของไทย ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเห็นถึงความสำคัญของการสร้างนักประกอบการในระดับการศึกษาในชั้นประถมและมัธยมศึกษาของไทย
ประเทศไทยกลัดกระดุมของการสร้างนักประกอบการผิดในเม็ดแรก คือ การศึกษาในช่วงเยาวรุ่น (ประถมศึกษาตอนปลาย - มัธยมศึกษาตอนปลาย) และการกลัดกระดุมที่ผิดพลาดนี้ส่งผลต่อกระดุมเม็ดต่อไป ซึ่งผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ของไทย ด้วยความหวังว่าจะมีการเริ่มต้นกลัดกระดุมนักประกอบการเม็ดแรกอย่างเหมาะสมในประเทศไทยเร็ว ๆ นี้ (โอมเพี้ยง)
ผู้เขียนเคยได้ยินการปัญหาในการศึกษาของไทย สัมผัส และได้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินการศึกษาของไทยมามากในรอบหลายปี และเห็นว่า "ปัญหามีอยู่จริง" ในหลายบริบท รวมไปถึงเห็นการสาละวนกับการพยายามหา "แพะ" มากกว่า "หาเหตุ" เพื่อแก้ไข และในรอบหลายปีนี้ก็เข้าไปพัวพันกับการศึกษา และได้ทดลองสมมติฐานหลายเรื่อง และได้คำตอบในหลายลักษณะ เห็นนโยบายการศึกษาจของไทย งบประมาณที่ใช้ กับการผลลัพท์ที่ได้แล้วก็ "หนักใจ"
การศึกษาของไทยถูกนำไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยใช้ข้อมูลจาก OECD งานวิจัยจากสถาบันอื่น ๆ มากมาย ได้เห็นสถิติที่การศึกษาของไทยทำได้ และการจัดอันดับ (ที่สถาบันการศึกษาของไทย เลือกเอามาเฉพาะตัวที่คะแนนดี มา propaganda โดยไม่ได้บอกว่า ลำดับที่ภูมิใจนั้นลงในหมวดการวัดผลแบบใด และใช้อะไรในการวัดผล) เราต้องยอมรับว่าการจัดอันดับเหล่านั้นมีทั้งดี และไม่ดี มีเกณฑ์ชี้วัดที่แตกต่างกันไป เพื่อระบุความน่าเชื่อถือของการจัดอันดับเหล่านั้น ทว่าจะจัดอันดับอย่างไร ในสถาบันใด ในระดับใด ตั้งแต่ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ไทยที่ติดอันดับประเทศที่ใช้งบประมาณในการศึกษาเป็นอัตราสูงสุดในระดับต้น ๆ ของโลกและภูมิภาค (อ่านเพิ่ม1, อ่านเพิ่ม2) แต่ไม่ติดอันดับของการจัดอันดับใด ๆ เลยในระดับ Top แบบที่ใช้งบประมาณ (อ่านเพิ่ม1, อ่านเพิ่ม2) ท่ามกลามมาตรฐานทางการศึกษามากมายที่ เราเปลี่ยนตัวมาตรฐานใช้ไปเรื่อย ๆ และเอาชนะทุกมาตรฐานทางกระดาษและรายงานเสมอ
การศึกษาของไทย ถูกนำไปเรียบเทียบกับประเทศในโลกพัฒนาแล้วไม่ได้ เช่น สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง หรือ ความบ้าคลั่งใน Finnish Education เป็นช่วง ๆ ของผู้มีอำนาจในการวางนโยบายการศึกษาของไทย และประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใด้ ซึ่งไม่ควรเปรียบเทียบกับประเทศเหล่านี้ เพราะว่า "ห่างช้้นกันเกินไปและมีปัจจัยที่แตกต่างกันมาก เช่น ในฟินแลนด์ มีจำนวนนักเรียน : ครู ในหลักที่สร้างคุณภาพได้ มีรูปแบบ และวิธีคิดทางการศึกษา ที่แตกต่างกันมาก การจะเอาไทยไปเทียบกับฟินแลนด์คงทำได้ยากมาก หรือในความพร้อมของบุคลากรก็แตกต่างกันมาก ทั้งในเชิงคุณภาพ, ค่าตอบแทน, การยอมรับจากสังคมในฐานะอาชีพ ก็แตกต่างอย่างมาก ทั้งนี้ค่านิยมที่กำหนดแนวคิด และสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาแตกต่างกันในทางประวัติศาสตร์ด้วย ทว่าในบทความนี้ขอนำเอา "ตัวอย่าง" จากประเทศอินโดนีเซีย มาใช้เป็นตัวอย่างในมุมใดมุมหนึ่งให้กับประเทศไทย เพราะว่าไทยและอินโดนีเซ๊ย มีความคล้ายคลึงกันในหลากองค์ประกอบ เช่น การใช้ภาษาถิ่นเป็นหลัก เป็นภาษาราชการ (ฺBahasa และ ไทย) ภูมิภาค วัฒนธรรมบ้างอย่างที่พอจะคล้ายกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่าง ซึ่งคู่เทียบนี้ดูจะสมน้ำสมเนื้อไปกว่าการเทียบไทยกับประเทศต่าง ๆ ขั้นต้น
ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะ "การสร้าง Entrepreneurship ในการศึกษาของไทย และอินโดนีเซีย" ซึ่งผู้เขียนใช้การสัมภาษณ์ พูดคุย กับคนอินโดนีเซียในหลากหลายโอกาส และเห็นความพยายาม และความจำเป็นในการสร้าง Entrepreneurship การยอมรับ และรูปแบบวิธีการที่แตกต่างจาก "สิ่งที่(ผู้เขียน)เจ็บและชินไปเอง" กับประสบการณ์ในแวดวงการศึกษาในประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายด้วยการนำตัวอย่างที่ดีของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในประเทศของเขา มาให้เป็นตัวอย่างให้กับการศึกษาของไทย ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเห็นถึงความสำคัญของการสร้างนักประกอบการในระดับการศึกษาในชั้นประถมและมัธยมศึกษาของไทย
ประเทศไทยกลัดกระดุมของการสร้างนักประกอบการผิดในเม็ดแรก คือ การศึกษาในช่วงเยาวรุ่น (ประถมศึกษาตอนปลาย - มัธยมศึกษาตอนปลาย) และการกลัดกระดุมที่ผิดพลาดนี้ส่งผลต่อกระดุมเม็ดต่อไป ซึ่งผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ของไทย ด้วยความหวังว่าจะมีการเริ่มต้นกลัดกระดุมนักประกอบการเม็ดแรกอย่างเหมาะสมในประเทศไทยเร็ว ๆ นี้ (โอมเพี้ยง)
ความเข้าใจพื้นฐานก่อนไปประเด็นถัดไป
นักประกอบการ หมายถึง นักแก้ปัญหา นักเผชิญปัญหา ที่มีความสามารถในการ ยืนยันปัญหา, วิเคราะห์สาเหตุโดยใช้ข้อมูลเป็นสำคัญ (และอาจประกอบด้วยสัญชาติฐาน และหรือประสบการณ์ประกอบกัน), ลงมือแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อคลี่คลายปัญหา ทั้งนี้ยังรวมไปถึง ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือสร้างวิธีการใหม่ (นวัตกรรม) ในการจัดการปัญหาเดิมให้ดีขึ้น เร็วขึ้น ประหยัดทรัพยากรมากขึ้น และในภายหลังจึงเป็นปัญหาที่พบในภาคธุรกิจ หรือวงจรทางธุรกิจ และเป็นที่มาของคำว่า "ผู้ประกอบการ" ที่มีความหมายจำเพาะมากขึ้น
โปรดอ่านประกอบ: นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ความเข้าใจในนิยามนักประกอบการในบทความนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับระดับของเยาวรุ่น (ประถมศึกษาตอนปลาย - มัธยมศึกษาตอนปลาย) นั้นมีระดับของการคิดแบบเป็นระบบ เป็นตรรกกะเพื่อการแก้ปัญหา และนำไปปรับใช้กับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และรวมไปถึงพื้นฐานในการทำธุรกิจ หรือกิจกรรมที่มีเป้าหมายของกิจกรรม โดยมีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย วิธีการ กระบวนการ ที่สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เป็นนักแก้ปัญหาบนโลกจริง ไม่ใช่แก้ปัญหาบนโลกตจินตนาการ
โดยเยาวชนไทยที่เป็นนักประกอบการ จะสามารถสร้างการตัดสินใจที่เป็นเหตุผล และคำนึงถึงวิธีการที่ถูกต้อง คาดเดาผลประกทบที่เกิดจากการตัดสินใจของตัวเขาเอง และ "วางแผน" ให้ตัวเอง เมื่อต้องเลือกเส้นทางการศึกษา หรือเส้นทางการใช้ชีวิต และเมื่อจบการศึกษาเขาสามารถสร้างอาชีพที่เลี้ยงชีพได้โดยสุจริตโดยใช้วิชาที่ตนเองเลือกเรียนประกอบกันให้เป็นวิธีเฉพาะสำหรับตัวเขาเอง ทั้งในรูปแบบของผู้ประกอบการ หรือ นักประกอบการที่เป็นสมาชิกในองค์กรใด ๆ ของสังคมต่อไป
นักประกอบการ หมายถึง นักแก้ปัญหา นักเผชิญปัญหา ที่มีความสามารถในการ ยืนยันปัญหา, วิเคราะห์สาเหตุโดยใช้ข้อมูลเป็นสำคัญ (และอาจประกอบด้วยสัญชาติฐาน และหรือประสบการณ์ประกอบกัน), ลงมือแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อคลี่คลายปัญหา ทั้งนี้ยังรวมไปถึง ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือสร้างวิธีการใหม่ (นวัตกรรม) ในการจัดการปัญหาเดิมให้ดีขึ้น เร็วขึ้น ประหยัดทรัพยากรมากขึ้น และในภายหลังจึงเป็นปัญหาที่พบในภาคธุรกิจ หรือวงจรทางธุรกิจ และเป็นที่มาของคำว่า "ผู้ประกอบการ" ที่มีความหมายจำเพาะมากขึ้น
โปรดอ่านประกอบ: นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ความเข้าใจในนิยามนักประกอบการในบทความนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับระดับของเยาวรุ่น (ประถมศึกษาตอนปลาย - มัธยมศึกษาตอนปลาย) นั้นมีระดับของการคิดแบบเป็นระบบ เป็นตรรกกะเพื่อการแก้ปัญหา และนำไปปรับใช้กับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และรวมไปถึงพื้นฐานในการทำธุรกิจ หรือกิจกรรมที่มีเป้าหมายของกิจกรรม โดยมีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย วิธีการ กระบวนการ ที่สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เป็นนักแก้ปัญหาบนโลกจริง ไม่ใช่แก้ปัญหาบนโลกตจินตนาการ
โดยเยาวชนไทยที่เป็นนักประกอบการ จะสามารถสร้างการตัดสินใจที่เป็นเหตุผล และคำนึงถึงวิธีการที่ถูกต้อง คาดเดาผลประกทบที่เกิดจากการตัดสินใจของตัวเขาเอง และ "วางแผน" ให้ตัวเอง เมื่อต้องเลือกเส้นทางการศึกษา หรือเส้นทางการใช้ชีวิต และเมื่อจบการศึกษาเขาสามารถสร้างอาชีพที่เลี้ยงชีพได้โดยสุจริตโดยใช้วิชาที่ตนเองเลือกเรียนประกอบกันให้เป็นวิธีเฉพาะสำหรับตัวเขาเอง ทั้งในรูปแบบของผู้ประกอบการ หรือ นักประกอบการที่เป็นสมาชิกในองค์กรใด ๆ ของสังคมต่อไป
เริ่มต้นที่การปรับเปลี่ยน Mindset
ผู้เขียนเคยได้รับคำถามว่า ทำไมต้องสร้างเยาวชนนักประกอบการ จากคณู อาจารย์ และผู้บริหารสถาบันการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทย ซึ่งในทรรศนะของผู้เขียนนั้น ควรเริ่มต้นคำถามใหม่ว่า เหตุใดจึงไม่คิดว่าการสร้างเยาวชนให้เป็นนักประกอบการ และมีทักษะพื้นฐานในการเป็นนักประกอบการจึงไม่จำเป็นในทรรศนะของผู้ถามมากกว่า
ผู้เขียนมิบังอาจบอกว่าผู้ถามคนนั้นไม่มีความเข้าใจ "ประโยชน์" ของการสร้างเยาวชนให้เป็นนักประกอบการ และเป็นที่มาของความสำคัญลำดับแรกว่า ไทยต้องยอมรับ และเริ่มปรับ Mindset และกำหนดเป้าหมายในเรื่องการสร้างเยาวชนนักประกอบการเสียใหม่
การปรับเปลี่ยน Mindset และวิธีคิดเกี่ยวกับนักประกอบการในสังคมไทย (เฉพาะด้านการศึกษา)
ผู้เขียนเคยได้รับคำถามว่า ทำไมต้องสร้างเยาวชนนักประกอบการ จากคณู อาจารย์ และผู้บริหารสถาบันการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทย ซึ่งในทรรศนะของผู้เขียนนั้น ควรเริ่มต้นคำถามใหม่ว่า เหตุใดจึงไม่คิดว่าการสร้างเยาวชนให้เป็นนักประกอบการ และมีทักษะพื้นฐานในการเป็นนักประกอบการจึงไม่จำเป็นในทรรศนะของผู้ถามมากกว่า
ผู้เขียนมิบังอาจบอกว่าผู้ถามคนนั้นไม่มีความเข้าใจ "ประโยชน์" ของการสร้างเยาวชนให้เป็นนักประกอบการ และเป็นที่มาของความสำคัญลำดับแรกว่า ไทยต้องยอมรับ และเริ่มปรับ Mindset และกำหนดเป้าหมายในเรื่องการสร้างเยาวชนนักประกอบการเสียใหม่
การปรับเปลี่ยน Mindset และวิธีคิดเกี่ยวกับนักประกอบการในสังคมไทย (เฉพาะด้านการศึกษา)
| Clip ที่ MonsoonSIM Academy Indonesia ทดลองนำเอา Platform MonsoonSIM ไปทดลองเป็นโครงการแรกในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย ในราวปี 2018 ซึ่งเป็นโครงการเริ่มต้นแรกในการนำ Simulation ไปใช้ในการสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียนด้านการประกอบการเป็นครั้งแรก ๆ สำหรับประเทศไทย MonsoonSIM Thailand มีความพยายามที่จะสร้างัชั้นเรียนทดลองกับโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการศึกษาร่วมกับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทว่าหลังจากได้ทดลองกับครูซึ่งเป็นแกนนำ ได้รับคำตอบว่า ครูมีความไม่พร้อมที่จะนำเอาความรู้ด้านการประกอบการแม้จะเป็นพื้นฐานไปใช้ และติดปัญหาเรื่อง Interface ซึ่งในขณะนั้นมีเฉพาะภาษาอังกฤษ (ในปัจจุบันมีภาษา available มากกว่า 5 ภาษาใน MonsoonSIM Platform) ของตัวครูเอง ซึ่งทำให้สะท้อนเกี่ยวกับปัญหาของการศึกษา และแนวคิดในการศึกษาของไทยได้เป็นอย่างดี |
ใน Clip ด้านบนนั้น ผู้รัน workshop เน้นที่ "ความสนุก" เป็นสำคัญ โดยใช้หลักการของ Gamification และการสร้างเรียนรู้เชิงประจักษ์ (Experiential Learning) ให้กับผู้เรียน มิได้เน้น "ความลึกในเชิงความรู้" แบบที่โรงเรียนในไทยในชั้นเรียนทดลอง "มองหา" และตัวครูที่ร่วมกันให้คำแนะนำกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นี้ร่วมกับ Facilitator ก็ร่วมประสบการณ์ในการถามและตอบให้กับนักเรียนร่วมกัน ตรงนี้คือความแตกต่างที่เกิดขึ้นและเห็นชัดเจนในวิธีการที่ใช้ในชั้นเรียนระหว่าง แนวคิดแบบอินโดนีเซีย และแบบไทย ถึงปรัชญาในการสร้างความรู้ และการเปิดกว้างในการศึกษา อินโดนนีเซียเน้นประสบการณ์จากการเล่น ส่วนไทยนั้นมุ่งหาแต่ ความรู้ ไม่ได้เน้นความสนุกเพื่อให้สอดคล้องกับวัยเท่าไหร่ ตรงนี้เป็นจุดที่แตกต่างกันในประสบการณ์แบบไทยและอินโดนีเซีย โดยมองจากกิจกรรมในคลิป และประสบการณ์ที่ได้เห็นในชั้นเรียนทดลองของไทย (ไทยทดลองในชั้นเรียน ประถมศึกษาปีที่ 6)
วิธีการเล่นและเรียนไปด้วยบนความสนุกนี้ คือ Play and Learn ซึ่งสนธิเป็นภาษาไทยได้ว่า เพลิน; PLEARN ซึ่งในชั้นเรียนแบบฟินแลนด์นั้น และชั้นเรียนอื่น ๆ เขาเลือกใช้วิธีนี้ในปฐมวัย ซึ่งแตกต่างกันกับชั้นเรียนประถมศึกษาในไทย ที่ผู้เขียนเคยเห็นการบ้านหรือข้อสอบที่ถามชื่อของกลุ่มเมฆที่มีแนวโน้มว่าฝนจะตก มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอะไร ซึ่งต้องถามว่ามันจำเป็นหรือไม่ เพราะว่าความรู้ที่ไม่จำเป็นมักเป็นวิชาเกิน สำหรับเด็กประถมต้นหรือปลาย เรียนรู้ก่อนที่จะจัดการตัวเองว่าฝนจะตกควรทำอย่างไรน่าจะดีกว่า นี่เป็นตัวอย่างของการศึกษาที่ผู็เขียนเรียกว่า "ผิดปรกติ" ในประเทศไทย ซึ่งเผอิญว่าอยู่ในหลักสูตร STEM ศึกษาของไทย ซึ่งมีปลายทางเพื่อสร้างผู้เรียนที่มีความเป็นเหตุผล ทว่าวิธีการไม่ได้สอดคล้องกัน ในขณะที่ชั้นเรียนแบบประเทศอื่น ๆ นั้น เน้นการสร้างประสบการณ์ตรง และมาเชื่อมโยงกับหลบักวิชาการ และใช้หลักเหตุและผลกับช่วงปฐมวัยนี้
กิจกรรมสนับสนุนหลังจากชั้นเรียนนี้ในอินโดนีเซีย คือ การพูดคุยถึงปัญหาที่พบในชั้นเรียน และอธิบายด้วยประสบการณ์ของนักเรียนที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน และหลังจากกิจกรรมนี้ ยังมีกิจกรรมเสริมทักษะ โดยสร้างประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ใน MonsoonSIM Game โดยนักเรียนได้ทดลองทำธุรกิจจริง ๆ จากเงินต้นทุนที่พ่อแม่ร่วมกันลงขัน มีการพยายามสร้าง Marketing Promotion และ Sales Promotion นักเรียนได้เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องของการจัดการ inventory ความสอดคล้องกันของราคาขาย กำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิ หลังกิจกรรมซึ่งเป็น Leraning by Doing ที่สร้าง Direct Experiences ให้กับผู้เรียนรุ่นเยาว์ในประเทศอินโดนีเซีย
หันหลับมามองในประเทศไทย ผู้เขียนนำเอาประสบการณ์ที่ได้รับจากการถ่ายทอดจากผู้ผลิตมาเล่าให้ชั้นเรียนทดลองฟัง และชวนให้ "ทำซ้ำ" กิจกรรมแบบ อินโดนีเซีย ซึ่งพบ "ข้อจำกัด" มากมาย เช่น ใครจะเป็นคนลงทุน, สินค้าที่เหลือจะทำอย่างไร, ต้องทำเป็นโครงการขออนุมัติ ฯลฯ ซึ่งท้ายที่สุดนอกจากจะไม่เกิดประสบการณ์ต่อยอดจากกิจกรรมแล้ว ระบบ mentoring ในชั้นเรียนของไทย ก็ทำได้อย่าง "น่าผิดหวัง" เพราะครูไทยในชั้นเรียนทดลองนั้น เน้นเพียง "ความถูกผิด" ตามทฤษฎีที่ตนเชื่อ (ไม่รับการเอาความเห็น ความเชื่อส่วนตัว เช่นด้านการเมืองใส่ลงไปในชั้นเรียนแบบไม่กลั่นกรอง ซึ่งพบมากในชั้นเรียนสมัยนี้ หรือ การให้แต่เหตุผลที่ชอบธรรมของฝ่ายใด และสอนให้เชื่อโดยไม่ตรวจสอบ หรือตั้งคำถาม เป็นต้น) จนอาจไม่เข้าใจว่า การเรียนแบบทดลองนั้น หรือการเรียนโดยทั่วไป "การทำผิด" และ "การหาเหตุแห่งความผิดเพื่อเรียนรู้" สำคัญกว่าการ "จำให้ได้ว่าครูสอนอะไร" ซึ่งระบบการ Coaching การสอนของไทยน่าจะเป็นปัญหาเช่นกัน และการยอมรับเฉพาะ "ความถูกต้อง" แบบของไทยนั้น น่ากลัวที่ทำให้คนไทยไม่กล้าทำผิด และไม่ได้ "เรียนรู้" อะไรเลย นอกจากการ "จดจำ" ซึ่งเป็นปัญหายาวต่อเนื่องไปจนระดับมัธยมศึกษา, อุดมศึกษา และการทำงานหลังจากเรียนจบของไทย
ท้ายสุดกิจกรรมทดลองนี้ไปต่อไม่ได้ หลังจากที่ครูกลุ่มทดลองจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ลงความเห็นว่า ไม่พร้อมในการจัดการชั้นเรียนแม้กระทั่งจะเป็นชั้นเรียนทดลองกับนักเรียน รวมไปถึง Interface ที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือแม้กระท้่งแปลเป็นไทยแล้วก็ตามที ยากเกินกว่าที่จะใช้ในโรงเรียนของตน ซึ่งหากท่านดูใน clip ท่านก็จะพบว่า ชั้นเรียนของผู้เรียนเกรด 4-5 ในประเทศอินโดนีเซียสามารถไปต่อได้ ซึ่งทำให้เราต้องกลับมามองว่าเกิดอะไรขึ้นในระบบความคิดและการศึกษาของไทยในชุดความคิดของผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษา เช่น ผู้เรียนไม่มีความพร้อม (หรือผู้สอนไม่พร้อม?), ความรู้เหล่านี้ยังไม่จำเป็นกับระดับของผู้เรียน (ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและเป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียน ซึ่งทำให้ชื่อกลุ่มเมฆที่ฝนกำลังจะตกชื่ออะไรมีคุณค่าเพิ่มขึ้น??), ภาษาอังกฤษทำให้เป็นอุปสรรค (ซึ่งก็จริงบางส่วน ทว่ามันสะท้อนให้เห็นวิธีการจัดการชั้นเรียน กับหลักสูตรของไทย ควรเปลี่ยนเอาภาษาอังกฤษพื้นฐานใน Simulation ปรับเป็นการสอนภาษาร่วมกันได้ แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ได้รับการพิจารณา, สำหรับชั้นเรียนประถมในหลักสูตรภาษาไทยผู้เขียนพอเข้าใจใน barrier นี้ ทว่าผู้เขียนก็มีประสบการณ์กับปัญหานี้ในชั้นเรียนระดับอุดมศึกษาของไทย ซึงน่าวิตกในสภาวะที่เราจะต้องผลิตคนเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ)
การเปลี่ยนแปลงวิธีการศึกษาของไทยต้องเริ่มจาก "วิธีคิด" "จิตลักษณะ" ที่ภาษาอังกฤษ่ใช้คำว่า Mindset เสียก่อน และนี่เป็นตัวอย่าง Mindset ที่ต้องได้รับการท้าทายในการศึกษาของประเทศไทย ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน และจะถูกตีประเด็นให้ "ดราม่า" จากนักการศึกษาของไทย ซึ่งผู้เขียนไม่ขอตัดง้างกับเจ้าทฤษฎีและสำนักวิทยาเกินเหล่านั้น ผู้เขียนขอเริ่มต้นที่คำถามชวนให้คิดเป็นกระบวนการและเป็นเหตุผล (อาจผสมอารมณ์และความรู้ึกหดหู่จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่มีต่อการศึกษาไทยบ้างระคนกันไป)
การปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อการสร้างนักประกอบการรุ่นเยาว์ในสังคมไทย
สำหรับผู้เขียนแล้ว Mind คือ จิต และวิธีคิด Set คือ การจัดตั้ง และกำหนด Mindset แปลว่าการจัดตั้งและกำหนดกรอบของวิธีคิดของจิต ซึ่งสะสมจากประสบการณ์, ความรู้และแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อเจ้าของจิตนั้นจนกลายเป็นทัศนคติ ซึ่งสร้างให้เกิดการตอบสนองต่อเรื่องใด ๆ ตามกรอบและแนวทางที่จิตกำหนดวิธีคิดเอาไว้ (ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง;2022) ซึ่งตัวกรอบวิะีคิดนี่เองที่ทำให้กิจกรรม และรูปแบบของกิจกรรมถูกกำหนดซึ่งสร้างทั้งผลดีและผลร้าย เช่น การทัศนคติวางบนศีลธรรมและธรรมเนียมการปฏิบัติที่ถูกต้องมีแบบแผน วิธีคิดนั้นจะมีสถานะเป็น ปรกติวิสัยของสังคม ทว่าหากทัศนคตินั้นไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม ในอัตราที่มีความเร็วและความสำคัญเท่าเทียมกัน ทัศนคติที่มาจาก Mindset ประเภทนี้อาจเป็นตัวที่ฉุดรั้งให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ยาก และอาจเป็นยาคุมกำเนิดโดยธรรมชาติของนวัตกรรมและความก้าวหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอุดมนักประกอบการของไทย
General Mindset ของการศึกษาไทย ว่าด้วย "เด็กดีและเด็กเก่ง" ความอันตรายเงียบของแนวคิดการศึกษาไทย
ผู้เขียนเคยจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับ Education Transformation (Ref กำหนดการ, บทความที่เกี่ยวข้อง1, บทความที่เกี่ยวข้อง2, Clips) และในกิจกรรมเสริม ที่มีอาจารย์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมใน Workshop ซึ่งเริ่มต้นด้วยการวางเป้าหมายของการปฏิรูปวิธีการศึกษาพบว่า General Mindset ที่อาจารย์ส่วนใหญ่ระบุคือ "เก่งและดี" โดยส่วนตัว ผู้เขียนเห็นว่า Mindset นี้เป็นโทษกับการศึกษาไทยเสียมากกว่า ไม่ใช่ในมุมของจุดหมายปลายทาง ทว่าในมุมที่ "เก่งและดี" ไม่มีนิยามที่ชัดเจน ไม่สามารถกำหนดพันธกิจที่ชัดเจนได้ว่าจะไปสู่เป้าหมายอย่างไร และมีรายละเอียดแบบใดสำหรับ "ความเก่ง" ที่ไม่ถูกนิยาม หรือ ความเก่งใน Mindset และค่านิยมแบบไทย ๆ ซึ่งผลักคนส่วนใหญ่ออกไป และสนับสนุนเพียงยอดปิรามิดของ "ความเก่ง" ไม่กี่แบบที่สังคมไทยยอมรับ หากอยากเปลี่ยนการศึกษาไทยต้อง "ยกเลิก" Mindset "เก่งและดีที่คลุมเครือ" นี้ออกไปให้ได้ก่อน
ความเก่ง ใน Mindset อย่างไทย มาจากอดีตที่การเข้าถึงการศึกษาจำกัดเฉพาสะในบางกลุ่ม ซึ่งเป็นรากเหง้าว่า คนที่เก่ง คือ "คนที่มีการศึกษาดีในระบบ" และหรือ "มีตัวชี้วัดทางการศึกษาในระบบที่ดี เช่น เกรดดี มีปริญญาบัตร หรือได้รับการรับรองจากสถาบันการศึกษาเท่านั้น" ซึ่ง mindset นี้มีอายุเก่าแก่ และอาจจะถูกต้องกับรุ่น ก่อน boomer และ boomer เท่านั้น แต่ Mindset ความเก่งใน "ลักษณะนี้" มีปัญหา เพราะว่า ความเก่งมีหลากหลายมิติ และชี้วัดได้หลากหลาย และ mindset แบบนี้นำไปสู่ "ความวิบัติในตรรกะของสังคมไทย" เป็นลำดับต่อไป กลายเป็น ความเก่งที่นอกเหนือจากเกณฑ์วัดผลของการศึกษาในระบบไม่ถูกนับรวม และความเก่งถูกเอาไปเทียบกับคุณสรรพของคำว่า "ฉลาด" จนแยกแยะไม่ออกจากกันเมื่อกล่าวถึงรวม ๆ ถ้าสังคมเปลียน Mindset และ นิยามจองคำว่า "เก่ง" และยอมรับความเก่งในรูแบบอื่น ๆ รูปแบบการส่งเสริมทักษะที่หลากหลาย ความเก่งที่หลายหลากจะงอกงามขึ้นในระบบสังคมไทย และพลิกโฉมประเทศไทยได้เร็วและ "ความเหลื่อมล้ำ" ทางการศึกษา ที่ชอบพูดกันจะได้หายไปด้วย
ทางออกของ General Mindset ของการศึกษาไทย ที่ควรเป็น การศึกษาที่สร้างเยาวชนที่หาเลี้ยงชีพชอบ ดูแลตัวเองและครอบครัวได้, เยาวชนที่เป็นนักคิดอย่างสร้างสรรค์ และเป็นนักลงมือปฏิบัติ, เยาวชนที่มีทักษะแห่งการประกอบการ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก, เยาวชนที่รู้ปรับตัวตามสถานะบนหลักศีลธรรมอันดี ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ผู้เขียนมีความเห็นกว่า ดีกว่า "เก่งและดี" หรือ "ดีและเก่ง" ซึ่งในภายหลังเรามีการสลับเอา "ดีนำหน้าเก่ง"
Mindset นั้นเป็นแนวคิดที่อยู่ควบคู่กับ Vision และกำหนด Mission (พันธกิจ) ซึ่งจะแยกออก หรือรวมเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดวิสัยทัศน์ก็ได้ และไม่มี Mindset หรือ Vision ที่เหมาะสมกับทุกกลุ่มปัญหาของการศึกษาในประเทศไทย และช่วงวัย ทว่า General Mindset แบบเดิม ๆ นั้นโดยทัศะนะของผู้เขียนนั้นควรได้รับการพิจารณา
วิธีการเล่นและเรียนไปด้วยบนความสนุกนี้ คือ Play and Learn ซึ่งสนธิเป็นภาษาไทยได้ว่า เพลิน; PLEARN ซึ่งในชั้นเรียนแบบฟินแลนด์นั้น และชั้นเรียนอื่น ๆ เขาเลือกใช้วิธีนี้ในปฐมวัย ซึ่งแตกต่างกันกับชั้นเรียนประถมศึกษาในไทย ที่ผู้เขียนเคยเห็นการบ้านหรือข้อสอบที่ถามชื่อของกลุ่มเมฆที่มีแนวโน้มว่าฝนจะตก มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอะไร ซึ่งต้องถามว่ามันจำเป็นหรือไม่ เพราะว่าความรู้ที่ไม่จำเป็นมักเป็นวิชาเกิน สำหรับเด็กประถมต้นหรือปลาย เรียนรู้ก่อนที่จะจัดการตัวเองว่าฝนจะตกควรทำอย่างไรน่าจะดีกว่า นี่เป็นตัวอย่างของการศึกษาที่ผู็เขียนเรียกว่า "ผิดปรกติ" ในประเทศไทย ซึ่งเผอิญว่าอยู่ในหลักสูตร STEM ศึกษาของไทย ซึ่งมีปลายทางเพื่อสร้างผู้เรียนที่มีความเป็นเหตุผล ทว่าวิธีการไม่ได้สอดคล้องกัน ในขณะที่ชั้นเรียนแบบประเทศอื่น ๆ นั้น เน้นการสร้างประสบการณ์ตรง และมาเชื่อมโยงกับหลบักวิชาการ และใช้หลักเหตุและผลกับช่วงปฐมวัยนี้
กิจกรรมสนับสนุนหลังจากชั้นเรียนนี้ในอินโดนีเซีย คือ การพูดคุยถึงปัญหาที่พบในชั้นเรียน และอธิบายด้วยประสบการณ์ของนักเรียนที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน และหลังจากกิจกรรมนี้ ยังมีกิจกรรมเสริมทักษะ โดยสร้างประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ใน MonsoonSIM Game โดยนักเรียนได้ทดลองทำธุรกิจจริง ๆ จากเงินต้นทุนที่พ่อแม่ร่วมกันลงขัน มีการพยายามสร้าง Marketing Promotion และ Sales Promotion นักเรียนได้เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องของการจัดการ inventory ความสอดคล้องกันของราคาขาย กำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิ หลังกิจกรรมซึ่งเป็น Leraning by Doing ที่สร้าง Direct Experiences ให้กับผู้เรียนรุ่นเยาว์ในประเทศอินโดนีเซีย
หันหลับมามองในประเทศไทย ผู้เขียนนำเอาประสบการณ์ที่ได้รับจากการถ่ายทอดจากผู้ผลิตมาเล่าให้ชั้นเรียนทดลองฟัง และชวนให้ "ทำซ้ำ" กิจกรรมแบบ อินโดนีเซีย ซึ่งพบ "ข้อจำกัด" มากมาย เช่น ใครจะเป็นคนลงทุน, สินค้าที่เหลือจะทำอย่างไร, ต้องทำเป็นโครงการขออนุมัติ ฯลฯ ซึ่งท้ายที่สุดนอกจากจะไม่เกิดประสบการณ์ต่อยอดจากกิจกรรมแล้ว ระบบ mentoring ในชั้นเรียนของไทย ก็ทำได้อย่าง "น่าผิดหวัง" เพราะครูไทยในชั้นเรียนทดลองนั้น เน้นเพียง "ความถูกผิด" ตามทฤษฎีที่ตนเชื่อ (ไม่รับการเอาความเห็น ความเชื่อส่วนตัว เช่นด้านการเมืองใส่ลงไปในชั้นเรียนแบบไม่กลั่นกรอง ซึ่งพบมากในชั้นเรียนสมัยนี้ หรือ การให้แต่เหตุผลที่ชอบธรรมของฝ่ายใด และสอนให้เชื่อโดยไม่ตรวจสอบ หรือตั้งคำถาม เป็นต้น) จนอาจไม่เข้าใจว่า การเรียนแบบทดลองนั้น หรือการเรียนโดยทั่วไป "การทำผิด" และ "การหาเหตุแห่งความผิดเพื่อเรียนรู้" สำคัญกว่าการ "จำให้ได้ว่าครูสอนอะไร" ซึ่งระบบการ Coaching การสอนของไทยน่าจะเป็นปัญหาเช่นกัน และการยอมรับเฉพาะ "ความถูกต้อง" แบบของไทยนั้น น่ากลัวที่ทำให้คนไทยไม่กล้าทำผิด และไม่ได้ "เรียนรู้" อะไรเลย นอกจากการ "จดจำ" ซึ่งเป็นปัญหายาวต่อเนื่องไปจนระดับมัธยมศึกษา, อุดมศึกษา และการทำงานหลังจากเรียนจบของไทย
ท้ายสุดกิจกรรมทดลองนี้ไปต่อไม่ได้ หลังจากที่ครูกลุ่มทดลองจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ลงความเห็นว่า ไม่พร้อมในการจัดการชั้นเรียนแม้กระทั่งจะเป็นชั้นเรียนทดลองกับนักเรียน รวมไปถึง Interface ที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือแม้กระท้่งแปลเป็นไทยแล้วก็ตามที ยากเกินกว่าที่จะใช้ในโรงเรียนของตน ซึ่งหากท่านดูใน clip ท่านก็จะพบว่า ชั้นเรียนของผู้เรียนเกรด 4-5 ในประเทศอินโดนีเซียสามารถไปต่อได้ ซึ่งทำให้เราต้องกลับมามองว่าเกิดอะไรขึ้นในระบบความคิดและการศึกษาของไทยในชุดความคิดของผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษา เช่น ผู้เรียนไม่มีความพร้อม (หรือผู้สอนไม่พร้อม?), ความรู้เหล่านี้ยังไม่จำเป็นกับระดับของผู้เรียน (ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและเป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียน ซึ่งทำให้ชื่อกลุ่มเมฆที่ฝนกำลังจะตกชื่ออะไรมีคุณค่าเพิ่มขึ้น??), ภาษาอังกฤษทำให้เป็นอุปสรรค (ซึ่งก็จริงบางส่วน ทว่ามันสะท้อนให้เห็นวิธีการจัดการชั้นเรียน กับหลักสูตรของไทย ควรเปลี่ยนเอาภาษาอังกฤษพื้นฐานใน Simulation ปรับเป็นการสอนภาษาร่วมกันได้ แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ได้รับการพิจารณา, สำหรับชั้นเรียนประถมในหลักสูตรภาษาไทยผู้เขียนพอเข้าใจใน barrier นี้ ทว่าผู้เขียนก็มีประสบการณ์กับปัญหานี้ในชั้นเรียนระดับอุดมศึกษาของไทย ซึงน่าวิตกในสภาวะที่เราจะต้องผลิตคนเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ)
การเปลี่ยนแปลงวิธีการศึกษาของไทยต้องเริ่มจาก "วิธีคิด" "จิตลักษณะ" ที่ภาษาอังกฤษ่ใช้คำว่า Mindset เสียก่อน และนี่เป็นตัวอย่าง Mindset ที่ต้องได้รับการท้าทายในการศึกษาของประเทศไทย ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน และจะถูกตีประเด็นให้ "ดราม่า" จากนักการศึกษาของไทย ซึ่งผู้เขียนไม่ขอตัดง้างกับเจ้าทฤษฎีและสำนักวิทยาเกินเหล่านั้น ผู้เขียนขอเริ่มต้นที่คำถามชวนให้คิดเป็นกระบวนการและเป็นเหตุผล (อาจผสมอารมณ์และความรู้ึกหดหู่จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่มีต่อการศึกษาไทยบ้างระคนกันไป)
การปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อการสร้างนักประกอบการรุ่นเยาว์ในสังคมไทย
สำหรับผู้เขียนแล้ว Mind คือ จิต และวิธีคิด Set คือ การจัดตั้ง และกำหนด Mindset แปลว่าการจัดตั้งและกำหนดกรอบของวิธีคิดของจิต ซึ่งสะสมจากประสบการณ์, ความรู้และแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อเจ้าของจิตนั้นจนกลายเป็นทัศนคติ ซึ่งสร้างให้เกิดการตอบสนองต่อเรื่องใด ๆ ตามกรอบและแนวทางที่จิตกำหนดวิธีคิดเอาไว้ (ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง;2022) ซึ่งตัวกรอบวิะีคิดนี่เองที่ทำให้กิจกรรม และรูปแบบของกิจกรรมถูกกำหนดซึ่งสร้างทั้งผลดีและผลร้าย เช่น การทัศนคติวางบนศีลธรรมและธรรมเนียมการปฏิบัติที่ถูกต้องมีแบบแผน วิธีคิดนั้นจะมีสถานะเป็น ปรกติวิสัยของสังคม ทว่าหากทัศนคตินั้นไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม ในอัตราที่มีความเร็วและความสำคัญเท่าเทียมกัน ทัศนคติที่มาจาก Mindset ประเภทนี้อาจเป็นตัวที่ฉุดรั้งให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ยาก และอาจเป็นยาคุมกำเนิดโดยธรรมชาติของนวัตกรรมและความก้าวหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอุดมนักประกอบการของไทย
General Mindset ของการศึกษาไทย ว่าด้วย "เด็กดีและเด็กเก่ง" ความอันตรายเงียบของแนวคิดการศึกษาไทย
ผู้เขียนเคยจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับ Education Transformation (Ref กำหนดการ, บทความที่เกี่ยวข้อง1, บทความที่เกี่ยวข้อง2, Clips) และในกิจกรรมเสริม ที่มีอาจารย์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมใน Workshop ซึ่งเริ่มต้นด้วยการวางเป้าหมายของการปฏิรูปวิธีการศึกษาพบว่า General Mindset ที่อาจารย์ส่วนใหญ่ระบุคือ "เก่งและดี" โดยส่วนตัว ผู้เขียนเห็นว่า Mindset นี้เป็นโทษกับการศึกษาไทยเสียมากกว่า ไม่ใช่ในมุมของจุดหมายปลายทาง ทว่าในมุมที่ "เก่งและดี" ไม่มีนิยามที่ชัดเจน ไม่สามารถกำหนดพันธกิจที่ชัดเจนได้ว่าจะไปสู่เป้าหมายอย่างไร และมีรายละเอียดแบบใดสำหรับ "ความเก่ง" ที่ไม่ถูกนิยาม หรือ ความเก่งใน Mindset และค่านิยมแบบไทย ๆ ซึ่งผลักคนส่วนใหญ่ออกไป และสนับสนุนเพียงยอดปิรามิดของ "ความเก่ง" ไม่กี่แบบที่สังคมไทยยอมรับ หากอยากเปลี่ยนการศึกษาไทยต้อง "ยกเลิก" Mindset "เก่งและดีที่คลุมเครือ" นี้ออกไปให้ได้ก่อน
ความเก่ง ใน Mindset อย่างไทย มาจากอดีตที่การเข้าถึงการศึกษาจำกัดเฉพาสะในบางกลุ่ม ซึ่งเป็นรากเหง้าว่า คนที่เก่ง คือ "คนที่มีการศึกษาดีในระบบ" และหรือ "มีตัวชี้วัดทางการศึกษาในระบบที่ดี เช่น เกรดดี มีปริญญาบัตร หรือได้รับการรับรองจากสถาบันการศึกษาเท่านั้น" ซึ่ง mindset นี้มีอายุเก่าแก่ และอาจจะถูกต้องกับรุ่น ก่อน boomer และ boomer เท่านั้น แต่ Mindset ความเก่งใน "ลักษณะนี้" มีปัญหา เพราะว่า ความเก่งมีหลากหลายมิติ และชี้วัดได้หลากหลาย และ mindset แบบนี้นำไปสู่ "ความวิบัติในตรรกะของสังคมไทย" เป็นลำดับต่อไป กลายเป็น ความเก่งที่นอกเหนือจากเกณฑ์วัดผลของการศึกษาในระบบไม่ถูกนับรวม และความเก่งถูกเอาไปเทียบกับคุณสรรพของคำว่า "ฉลาด" จนแยกแยะไม่ออกจากกันเมื่อกล่าวถึงรวม ๆ ถ้าสังคมเปลียน Mindset และ นิยามจองคำว่า "เก่ง" และยอมรับความเก่งในรูแบบอื่น ๆ รูปแบบการส่งเสริมทักษะที่หลากหลาย ความเก่งที่หลายหลากจะงอกงามขึ้นในระบบสังคมไทย และพลิกโฉมประเทศไทยได้เร็วและ "ความเหลื่อมล้ำ" ทางการศึกษา ที่ชอบพูดกันจะได้หายไปด้วย
ทางออกของ General Mindset ของการศึกษาไทย ที่ควรเป็น การศึกษาที่สร้างเยาวชนที่หาเลี้ยงชีพชอบ ดูแลตัวเองและครอบครัวได้, เยาวชนที่เป็นนักคิดอย่างสร้างสรรค์ และเป็นนักลงมือปฏิบัติ, เยาวชนที่มีทักษะแห่งการประกอบการ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก, เยาวชนที่รู้ปรับตัวตามสถานะบนหลักศีลธรรมอันดี ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ผู้เขียนมีความเห็นกว่า ดีกว่า "เก่งและดี" หรือ "ดีและเก่ง" ซึ่งในภายหลังเรามีการสลับเอา "ดีนำหน้าเก่ง"
Mindset นั้นเป็นแนวคิดที่อยู่ควบคู่กับ Vision และกำหนด Mission (พันธกิจ) ซึ่งจะแยกออก หรือรวมเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดวิสัยทัศน์ก็ได้ และไม่มี Mindset หรือ Vision ที่เหมาะสมกับทุกกลุ่มปัญหาของการศึกษาในประเทศไทย และช่วงวัย ทว่า General Mindset แบบเดิม ๆ นั้นโดยทัศะนะของผู้เขียนนั้นควรได้รับการพิจารณา
กรณีแรก: Mindset ที่ว่า ทักษะแห่งการประกอบการเป็นเรื่องของธุรกิจ และไม่เกี่ยวกับการศึกษาในระดับปฐมศึกษา และมัธยมศึกษา และเชื่อกันว่าทักษะและความรู้นี้ต้องไปเรียนในชั้นอุดมศึกษา
Mindset นี้มีอิทธิพลมากในการศึกษาแบบเดิมของประเทศไทย ที่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าในกรอบความคิดเรื่องนี้แตกต่างจากการศึกษาไทยมา (แนะนำให้ search หา keyword เช่น Entrepreneuship Education, Entrepreneurs+Vocational หรือ Entrepreneurs + Pre Graduate, Youth Entrepreneruship เป็นต้น) ซึ่งจะพบว่า ในประเทศอื่น ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องการสร้าง "นักประกอบการ" ในบริบทที่ต่างจากประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาว่าเหตุใดการศึกษาของไทยจึงไม่สนใจบรรจุสิ่งนี้ในหลักสูตร ทั้ง ๆ ที่ Entrepreneurships skills นั้น เป็นพื้นฐานสำคัญ
หนึ่งใน Mindset หรือ กรอบวิธีคิดหนึ่งยังไม่พบในประเทศไทย หรือพบได้น้อยในประเทศไทย คือ ความคิดที่ว่าความรู้ป และทักษะในการประกอบการนั้นเป็นความรู้ที่ไม่ต้องบรรจุอย่างมีนัยยัสำคัญในหลักสูตร และ ความรู้ในเชิงวิชาการเพื่อการศึกษาต่อมีความจำเป็นมากกว่าทักษะและความรู้ที่เป็นแกนกลางนี้ ซึ่งเมื่อมีกรอบความคิดเช่นนี้แล้วทำให้ ไม่มีการบรรจุแนวคิดในการประกอบการ มีวิชาในลักษณะนี้ในหลักสูตร หรือมีน้อย และไม่มีน้ำหนักในการสร้างทักษะนี้ เห็นได้จาก การจัดให้มี หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย (ดูภาพกระกอบด้านล่าง)
Download ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560; 4 กรกฎาคม 2561) จาก http://academic.obec.go.th/
Mindset นี้มีอิทธิพลมากในการศึกษาแบบเดิมของประเทศไทย ที่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าในกรอบความคิดเรื่องนี้แตกต่างจากการศึกษาไทยมา (แนะนำให้ search หา keyword เช่น Entrepreneuship Education, Entrepreneurs+Vocational หรือ Entrepreneurs + Pre Graduate, Youth Entrepreneruship เป็นต้น) ซึ่งจะพบว่า ในประเทศอื่น ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องการสร้าง "นักประกอบการ" ในบริบทที่ต่างจากประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาว่าเหตุใดการศึกษาของไทยจึงไม่สนใจบรรจุสิ่งนี้ในหลักสูตร ทั้ง ๆ ที่ Entrepreneurships skills นั้น เป็นพื้นฐานสำคัญ
หนึ่งใน Mindset หรือ กรอบวิธีคิดหนึ่งยังไม่พบในประเทศไทย หรือพบได้น้อยในประเทศไทย คือ ความคิดที่ว่าความรู้ป และทักษะในการประกอบการนั้นเป็นความรู้ที่ไม่ต้องบรรจุอย่างมีนัยยัสำคัญในหลักสูตร และ ความรู้ในเชิงวิชาการเพื่อการศึกษาต่อมีความจำเป็นมากกว่าทักษะและความรู้ที่เป็นแกนกลางนี้ ซึ่งเมื่อมีกรอบความคิดเช่นนี้แล้วทำให้ ไม่มีการบรรจุแนวคิดในการประกอบการ มีวิชาในลักษณะนี้ในหลักสูตร หรือมีน้อย และไม่มีน้ำหนักในการสร้างทักษะนี้ เห็นได้จาก การจัดให้มี หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย (ดูภาพกระกอบด้านล่าง)
Download ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560; 4 กรกฎาคม 2561) จาก http://academic.obec.go.th/
หากจะเทียบเคียงกับสิ่งที่เรียกว่า หลักสูตรสร้างนักประกอบการแบบตรง ๆ เท่าที่หลักสูตครการศึกษาเยาวชนของไทยจะมึ ใกล้เคียงที่สุด คือ หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีชือเหมือนกับ Career and Technoogy ในหลุกสูตรของสหรัฐอเมริกา และมีไส้ในคล้าย ๆ กัน อย่างที่เรียกว่า พี่น้องที่คลานตามกันมา ทว่าแตกต่างกันที่วิธีเลี้ยงดู (วิธีการให้การศึกษา และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน) สิ่งที่สะท้อนกรอบแนวคิดของกลุ่มสาระนี้ อยู่ในเอกสารที่เผยแพร่ ซึ่งมีความน่าสนใจ
ผู้เขียนมองเห็นกรอบความคิดที่ ณ ปัจจุบัน ต้องเรียนแจ้งว่า "เป็นข้อเสีย" มากกว่าข้อดี (ลองอ่านบทความส่วนล่างประกอบทีหลัง เพื่อเห็นความแตกต่างของการวางหลักสูตรของไทยกับประเทศอื่นๆ) ซึ่งเป็นทรรศนะส่วนตัวของผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนมองไม่เห็นว่า หากดูจากแนวโน้มที่ประเทศต่าง ๆ กำลังพัฒนา Youth Entrepreneurship แล้ว ประเทศเราห่างไกล เรามีนโยบายที่เป็นมายาคติที่ดีเสมอ เช่น "มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อ "การดำรงชีวิต" รู้เท่าทันการเปลียนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับกับการดำรงชีวิต การอาชีพ และเทคโนโลยี มา "ประยุกต์" ใช้ ในการทำงานอย่างมี "ความคิดสร้างสรรค์" และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียงและมีความสุข" ผู้เขียนรู้สึกเหมือนฝันที่กำลังเดินในทุ่งลาเวนเดอร์ ปัญหาจากการ "ฝันใหญ่ ฝันหวาน" นั้นเมื่อเป็น "ความฝัน" นั้นมันจะไม่ชัดเจน และเมื่อตื่นมาเราจะ "ลืมที่ฝัน" หรือ "จำลายละเอียดได้ลาง" และ "ฝันมักแฟนตาซี" เสมอ
หาก "ข้อความ" เป็น "เป้าหมาย" ของกลุ่มสาระการอาชีพ เป้าหมายควรเป็น
ที่น่าสนใจมากอีก คือ เรียนรู้อะไรในการงานอาชีพเทคโนโลยี ซึ่ง มีคำว่า "มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ซึ่งอะไรคือ องค์รวม, เมื่ออ่านไปไม่พบว่า จะสร้างทักษะใดในการทำงาน และ มีเป้าหมายเพียงให้เห็นแนวทาง เพื่อไปศึกษาต่อ ไม่เห็น "การลงมือเพื่อความเข้าใจ" และโรงเรียนเองก็มีความสามารถน้อยมากในการสร้างกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งจะอธิบายต่อไป ในสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 สาระในกลุ่มนี้ และเอา Layer ของมาตรฐานในเอกสารในซ้อนไว้ในร Bullet ย่อย ได้แก่
ใน Bullet ย่อย คือ มาตรฐานที่หลักสูตรต้องการ ซึ่ง "จะสร้างอย่างไร" นั้นน่ากลัวใจ สิ่งที่เขียนในมาตรฐานและหลักสูตรเป็นทุ่งลาเวนเดอร์ในสภาพแวดล้อมแบบร้อนชื้นของไทย ซึ่งลาเวนเดอร์ไม่สามารถเติบโตได้ตามต้องการ
อันดับต่อไปจะชวนดูส่วนของ "คุณภาพผู้เรียน" ซึ่งเขียนไว้อย่างกว้าง ๆ 4 ระดับ คือ เมื่อจบชั้น ประถมศึกษา 3, ประถมศึกษา 6, มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยสรุปเป็นตารางดังนี้ (ทังนี้ตัวเอกสารไม่ได้ระบุไว้ใน 4 สาระ ชัดเจจน ทว่า จากรูปแบบของเอกสาร ซึ่งควรต้องเรียงลำดับตามรูปแบบของเอกสารที่ดี จึงจัดกลุ่มในตารางตามลำดับข้องข้อความตาม Bullet ในเอกสารของทางราชการ)
หาก "ข้อความ" เป็น "เป้าหมาย" ของกลุ่มสาระการอาชีพ เป้าหมายควรเป็น
- ไม่ใช่ "การดำรงชีวิต" แต่มีความจำเป็นต่อการทำงานในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (Corporate Entrepreneurship) หรือสร้างธุรกิจใหม่ หรือต่อยอดธุรกิจเดิมให้ก้าวหน้าและยั่งยืน (Entrepreneurship)
- "ประยุกต์" และ "ความคิดสร้างสรรค์" เป็นคำวิเศษของการศึกษาไทยเสมอทว่า การวัดผลและการปฏิบัตินั้นไม่ได้ถูกวางแผนให้เกิดขึ้นเลย
ที่น่าสนใจมากอีก คือ เรียนรู้อะไรในการงานอาชีพเทคโนโลยี ซึ่ง มีคำว่า "มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ซึ่งอะไรคือ องค์รวม, เมื่ออ่านไปไม่พบว่า จะสร้างทักษะใดในการทำงาน และ มีเป้าหมายเพียงให้เห็นแนวทาง เพื่อไปศึกษาต่อ ไม่เห็น "การลงมือเพื่อความเข้าใจ" และโรงเรียนเองก็มีความสามารถน้อยมากในการสร้างกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งจะอธิบายต่อไป ในสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 สาระในกลุ่มนี้ และเอา Layer ของมาตรฐานในเอกสารในซ้อนไว้ในร Bullet ย่อย ได้แก่
- การดำรงชีวิตและครอบครัว (ซึ่งน่าจะอยู้่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมากกว่าในทรรศนะของของผู้เขียน ซึ่งควรตัดออก)
- มาตรฐาน ง.1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว (ซึ่งทักษะเหล่านี้ควรระบุใน 3 สาระที่เหี่ยวข้อง แต่ไม่มีการระบุชักเจนในมาตรฐานของสาระนั้น ซึ่งน่าจะเป็นการเขียนแบบกลอนพาไปมากกว่าระบุความชัดเจน และที่น่าแปลกใจ ที่ลงท้ายด้วย เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว แทนที่จะเป็น เพื่อการทำงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หรือทำอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
- การออกแบบและเทคโนโลยี (ซึ่งเป็นประโยชน์ ทว่าเมื่ออ่านดูไส้ใน ไม่พบวิธีการ ตัววัดผล เครื่องมือ ฯลฯ)
- มาตรฐาน ง.2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการของเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน ("ตามอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ? เป็นประเด็นที่น่าสนใจใจว่าจะตามอย่างไรดีให้สร้างสรรค์ รวมไปไปเลือกใช้อย่งสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน)
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ซึ่งเห็นควรบรรจุไว้ และเช่นเดิม ไม่พบวิธีการ ตัวชีวัด เครื่องมือ ฯลฯ)
- มาตรฐาน ง.3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม
- การอาชีพ (ซึ่งตรงกับชื่อกลุ่มสาระ) โดย เน้น "ทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพ" (แต่ไม่ระบุว่าทักษะใดบ้างที่ต้องสร้างเสริม) เห็นความสำคัญของจริยธรรมและเจคคติที่ดีต่ออาชีพ ใช้เทคโนโลยีเหมาะสม เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริต และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ (ซึ่งมีแต่แนวทางในอาชีพเดิม ไม่ครอบคลุมอาชีพใหม่หรือไม่ หรือ หากเห็นแนวทางแล้ว มีกิจกรรมใดเพื่อสานต่อพันธกิจนี้ ซึ่งไม่ได้เขียนไว้)
- มาตรฐาน ง.4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจคคติที่ดีต่ออาชีพ (ในความเห็นส่วนตัว มาตรฐานของสาระการอาชีพที่ควรโดดเด่น และชัดเจน ว่าเป้าหมายของการมีสาระการอาชีพคืออะไร ทว่าทำบรรยายในเอกสารนั้น สวนทางกัน กลับไปให้มาตรฐานในสาระการดำรงชีวิตและครอบครัว ที่มีรายละเอียดมาก และให้อนุมานมาครอบคลุมอีก 3 สาระที่เหลือ นี่คือความผิดพลาดในการออกแบบของกลุ่มวิชานี้)
ใน Bullet ย่อย คือ มาตรฐานที่หลักสูตรต้องการ ซึ่ง "จะสร้างอย่างไร" นั้นน่ากลัวใจ สิ่งที่เขียนในมาตรฐานและหลักสูตรเป็นทุ่งลาเวนเดอร์ในสภาพแวดล้อมแบบร้อนชื้นของไทย ซึ่งลาเวนเดอร์ไม่สามารถเติบโตได้ตามต้องการ
อันดับต่อไปจะชวนดูส่วนของ "คุณภาพผู้เรียน" ซึ่งเขียนไว้อย่างกว้าง ๆ 4 ระดับ คือ เมื่อจบชั้น ประถมศึกษา 3, ประถมศึกษา 6, มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยสรุปเป็นตารางดังนี้ (ทังนี้ตัวเอกสารไม่ได้ระบุไว้ใน 4 สาระ ชัดเจจน ทว่า จากรูปแบบของเอกสาร ซึ่งควรต้องเรียงลำดับตามรูปแบบของเอกสารที่ดี จึงจัดกลุ่มในตารางตามลำดับข้องข้อความตาม Bullet ในเอกสารของทางราชการ)
เมื่อจบ |
การดำรงชีวิตและครอบครัว |
การออกแบบและเทคโนโลยี |
เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร |
การอาชีพ |
ป.3 |
|
|
|
- ไม่ระบุ - เพราะว่ามีเพียง 3 bullet ย่อยในเอกสาร |
ป.6 |
|
|
|
|
ม.3 |
|
|
|
|
ม.6 |
|
|
|
|
ผู้เขียนมีเห็นภาพสะท้อนในวิธีคิดของหลักสูตรเยาวชนของไทย ที่ยังไม่มีหลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างสภาวะผู้ประกอบการโดยตรง ซึ่งต้องออกตัวก่อนว่าผู้เขียนทรรศนะคติที่ติดลบกับการศึกษาไทย ทั้งในเชิงนโยบาย วิธีการ เกณ์การวัดผล ตลอดจนการมีส่วนร่วมและจิตลักษณะของผู้มีส่วนได้เสียในสังคมเกี่ยวกับการศึกษา ผู้เขียนต้องการสะท้อนให้เห็นว่า กรอบวิธีคิดของการศึกษาไทยไม่ร่วมสมัยกับการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสังคมโลก การที่เราบอกกันว่าขีดความสามารถของคนไทยโดยภาพรวมจะลดน้อยลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ นั้น ส่วนหนึ่งที่มองเห็นจากกแกนกลางของหลักสูตร ซึ่งจริง ๆ แล้วแกนกลางต้องการให้ผู้สอน (ครูอาจารย์) ไปปรับแต่ง แต่ดูจากบริบทต่าง ๆ แล้ว แกนกลางที่ไม่ชัดเจนแบบนี้ทำให้ประเทศซึ่งถ้าไม่ผลักดันไม่สั่ง Top-Down หรือบางครั้งสั่งแล้วก็ทำไม่ได้แบบไทยนั้นต้องประสบปัญหาแน่นอน
บทสรุปจากผู้เขียนในส่วนแรก
ถ้าจะสร้างนักประกอบการ ต้องเรื่มที่การกลับมาทบทวนกรอบวิธีคิด และ "ยกเลิก" บางอย่างในหลักสูตรเดิมให้ได้เสียก่อน และกำหนดเป่้าหมายของแต่ละช่วงอายุที่ชัดเจน เช่น ป.3 สอนให้เข้าใจการใช้ชีวิต ตามหลักสูตรเดิมได้ ส่านวของเทคโนโลยีและต้องเข้าใจว่าเยาวชนใน Generation นี้เกิดมากในยุค Digital ซึ่งเขาซึมซับและใช้งานมากกว่าคนร่างหลักสูตรเป็นต้น ใน ป.6 ม.3 ไม่ใช่กรอบการเข้าใจอาชีพปัจจุบัน แต่ควรเปลี่ยนแป็น ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในอาชีพที่หลากหลายมากกว่า ความเข้าใจของสังคม และครูแนะแนวที่อาจจะไม่เข้าใจอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมสมัยด้วยซ้ำไป และเป็นการลดทอนความมั่นใจหรือทางเลือกในการเลือกอาชีพ ในส่วนของเทคโลยีสารสนเทศ ไม่ได้เห็นเรื่องของ digital Literacy, Security Literacy ควบคู่กันไป เห็นแต่การพุ่งเป้าไปที่การสืบค้น ไม่เห็นกระบวนการในการยืนยันความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของสิ่งที่สืบค้นได้ แม้นกระมั่ง Digital Foot Print ที่มีความเข้าใจก็ไม่ได้บรรจุเอาไว้ ซึ่งทำให้เห็นว่าอย่าว่าแต่การสร้างนักประกอบการเลย สร้างให้มีตรรกะความเข้าใจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงยังน่าจะไม่ผ่าน และกรอบวิธีคิดในการสร้างเยาวชนนักประกอบการไม่ปรากฎในหลักสูตรที่เยาวชนต้องเรียนและเติบโตไปพร้อมการเปลี่ยนแปลงของโลก
บทสรุปจากผู้เขียนในส่วนแรก
- ไทยไม่มีหลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างผู้ประกอบการในระดับมัธยมศึกษาเลย และMindset หรือกรอบวิธีการวางหลักสูตร ที่เทียบเคียงได้ (คัดลอกมาจาก US) ก็ไม่ได้ร่วมสมัยและทำไม่ได้ตามมาตรฐานของประเทศที่ไปคัดลอกมา
- หลักสูตรมีเป้าหมาย เป็นนามธรรม ไม่กำหนดวิธีการชัดเจน รวมไปถึงตัวชี้วัดที่เป็นนามธรรมและวัดผลได้อย่างเลื่อนลอย เราจะพบกลุ่่มคำที่มีแต่แนวคิด แต่ไม่เห็นวี่แววของวิธีการได้เลย เช่น ความคิดสร้างสรรค์, ประสบการณ์, พอเพียง, เหมาะสม, เข้าใจกระบวนการ ควมสัมพันธ์ องค์ประกอบของสิงต่าง ๆ แต่ครูอาจารย์เองก็ไม่ได้มีพื้นฐานในเรื่องแบบนี้ และไม่ได้เข้าใจเท่าเทียมกับที่หลักสูตรกำกับไว้ ซึ่งผู้เขียนขอใช้คำว่า "หลักสูตรสร้างแบบแกงโฮ๊ะ" ซึ่งหยิบทุกอย่างมาผปสมกัน ให้ได้ภาพที่สยนงาม
- หลักสูตรเขียนจากวิธีคิดแบบอดีต ไม่รองรับ ไม่มีอนาคต หรือตัวแปรอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรของประเทศอื่น ๆ เช่น การสร้างให้เยาวชนเป็นสมาชิกของโลกแบบเกาหลี หรือมีทักษะพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษหน้าแบบสิงคโปร์ ซึ่งเขียนโดยอาศัยจากวิชาเดิมที่มี มาสร้างมาตรฐานในหลักสูตร ไม่ได้เขียนหลักสูตรเพื่อสร้างมาตรฐาน
- เขียนแบบแยกส่วนกันเขียน ไม่ได้ align ตามพัฒนาการของชุดสาระความรู้ ซึ่งเราจะพบความลักลั่นของชั้นเรียนที่อายุผู้เรียนร้อยกว่ามีขอบเขตที่กว้างและลึกกว่าชั้นเรียนที่ผู้เรียนมีอายุมากกว่า
ถ้าจะสร้างนักประกอบการ ต้องเรื่มที่การกลับมาทบทวนกรอบวิธีคิด และ "ยกเลิก" บางอย่างในหลักสูตรเดิมให้ได้เสียก่อน และกำหนดเป่้าหมายของแต่ละช่วงอายุที่ชัดเจน เช่น ป.3 สอนให้เข้าใจการใช้ชีวิต ตามหลักสูตรเดิมได้ ส่านวของเทคโนโลยีและต้องเข้าใจว่าเยาวชนใน Generation นี้เกิดมากในยุค Digital ซึ่งเขาซึมซับและใช้งานมากกว่าคนร่างหลักสูตรเป็นต้น ใน ป.6 ม.3 ไม่ใช่กรอบการเข้าใจอาชีพปัจจุบัน แต่ควรเปลี่ยนแป็น ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในอาชีพที่หลากหลายมากกว่า ความเข้าใจของสังคม และครูแนะแนวที่อาจจะไม่เข้าใจอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมสมัยด้วยซ้ำไป และเป็นการลดทอนความมั่นใจหรือทางเลือกในการเลือกอาชีพ ในส่วนของเทคโลยีสารสนเทศ ไม่ได้เห็นเรื่องของ digital Literacy, Security Literacy ควบคู่กันไป เห็นแต่การพุ่งเป้าไปที่การสืบค้น ไม่เห็นกระบวนการในการยืนยันความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของสิ่งที่สืบค้นได้ แม้นกระมั่ง Digital Foot Print ที่มีความเข้าใจก็ไม่ได้บรรจุเอาไว้ ซึ่งทำให้เห็นว่าอย่าว่าแต่การสร้างนักประกอบการเลย สร้างให้มีตรรกะความเข้าใจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงยังน่าจะไม่ผ่าน และกรอบวิธีคิดในการสร้างเยาวชนนักประกอบการไม่ปรากฎในหลักสูตรที่เยาวชนต้องเรียนและเติบโตไปพร้อมการเปลี่ยนแปลงของโลก
กรณี Mindset ที่ว่า เรื่องของวิชาด้านการประกอบการเป็นชุดความรู้และทักษะของกลุ่มวิชาด้านบริหารธุรกิจ และการจัดการเท่านั้น
อ้างถึงแผนภาพ (ด้านซ้าย) ของ Kutzhanova (2009) ที่ทำวิจัยเรื่องของ ENtrepreneurships กับสาขาวิชาที่เปิดสอน 3 ด้านได้แก่ Accounting Department, Electrical Engineering and Civil Engineering ใน State Polytechnic of Malang ในแผนภาพจะเห็นความซ้อนเหลื่อมกันของ Skills และ Competency ซึ่งแท้จริงแล้วสมรรถนะ และทักษะแห่งการประกอบการเป็นทักษะพื้นฐานโดยทั่วไปของทุกสาขาอาชีพ
อ้างถึงแผนภาพ (ด้านซ้าย) ของ Kutzhanova (2009) ที่ทำวิจัยเรื่องของ ENtrepreneurships กับสาขาวิชาที่เปิดสอน 3 ด้านได้แก่ Accounting Department, Electrical Engineering and Civil Engineering ใน State Polytechnic of Malang ในแผนภาพจะเห็นความซ้อนเหลื่อมกันของ Skills และ Competency ซึ่งแท้จริงแล้วสมรรถนะ และทักษะแห่งการประกอบการเป็นทักษะพื้นฐานโดยทั่วไปของทุกสาขาอาชีพ
ตารางเปรียบเทียบผลการสำรวจที่ MonsoonSIM TH ลองทำโดยถามคำถามเดียวกับคำถามของ The Economist Survey เรื่องทักษะ โดยทำการเปรียบเทียบ Global Survey และ Local (Thai) Survey ซึ่งทำในปี 2017 แสดงให้เห็นว่า ทักษะแห่งการประกอบการไม่ได้อยู่ในอันดับความสำคัญของการสำรวจในกลุ่ม sampling ของอาจารย์ และนักศึกษาของไทยเลย ในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ยังไม่ได้ทำสำรวจอีกครั้งในคำถามเดิมว่าจะมีสัดส่วนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หลังจากผ่านมา 6 ปี (2022)
กำหนดเป้าหมาย วิธีการ และลงมือทำ
กรณีศึกษาจากกลุ่มโรงเรียน Penabur ประเทศอินโดนีเซีย
กรณีศึกษาจากหลักสูตรสร้างผู้ประกอบการของประเทศเกาหลีใต้
กรณีศึกษาจากกลุ่มโรงเรียน Penabur ประเทศอินโดนีเซีย
กรณีศึกษาจากหลักสูตรสร้างผู้ประกอบการของประเทศเกาหลีใต้