Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • V10 Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • COMPETITION >
      • TH Business Data Analytics & Data Visualization
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2022
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Thais Teen Entrepreneurial Project
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM TH SEMINAR >
      • 2023 Education Transformation in Business Data Analytics
      • 2020 K-Practice
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Clip to Lecturer
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
    • MonsoonSIMTG x Alliances >
      • WoW Academy Thailand 2021!!! >
        • WoW Academy Workshop
      • Entrepreneurial Series by BDT and Gamification
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

5 ความเข้าใจผิดหลักกับการสอนเกี่ยวกับผู้ประกอบการในสถาบันการศึกษาของไทย

3/11/2022

2 Comments

 
Picture
หมายเหตุ: ผู้เขียนเขียนจากประสบการณ์ตรงที่ได้สัมผัสกับผู้บริหารคณะในมหาวิทยาลัยของไทย และนี่ไม่ใช่บทความวิชาการ ไม่เหมาะกับคนไม่เปิดใจ
บทความโดย พี่แว่นหน้าตาดี

      ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ผันตัวเองจากวงการหนึ่ง มาสู่วงการที่เกี่ยวข้องกับภาคการอุดมศึกษาของไทย ผู้เขียนพบว่ามีหลายเรื่องราวที่ควรแบ่งปันให้ฟังให้ได้อ่านกัน "เล่นๆ" และท่าน ๆ ในฐานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสังคมนั้น ควรจัดสินใจกันเองว่าจะ "จริงจัง" หรือเปล่า นั้นแล้วแต่ท่าน  
        ผมพยายามเสนอสิ่งที่เรียกว่า LTT; Learning and Teaching Transformation มาหลายปี เพราะว่า Education Transformation เกิดไม่ได้ในสังคมไทย จากวิธีคิด mindset ของสถาบันการศึกษาในประเทศไทย  ซึ่งเริ่มจากให้ "เปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน" ในชั้นเรียนก่อน (และวิธีการเรียนการสอนนี่แหละเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างทักษะแห่งการประกอบการ) โดยส่วนตัวนั้นผู้เขียนหมดหวังกับการเปลี่ยนแปลงในการศึกษาไทยในเชิง "วิธีคิด" และ "การลงมือทำ อย่างเป็นระบบ วัดผลได้ เรียนรู้และปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์" มานานแล้ว สถาบันการศึกษาของไทย เอาแต่สร้าง "วิสัยทัศน์" เป็นวิมานในอากาศ แต่ไม่มี "พันธกิจ" ที่ทำจริงได้ จึงมีแต่ "นโยบายลวงโลก" กับ "การวัดผลที่มีความสำเร็จบนรายงาน กับภาพถ่ายที่ได้ทำแล้ว" ส่วนชีวิตจริงยังเป็นเหมือนเดิม  หาได้มีการลงมือทำจริงจัง จัดสรรทรัพยากร และที่สำคัญที่สุด คือ สร้างสิ่งแวดล้อมในการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลง "กฎเกณฑ์งี่เง่า" ที่ทำให้นโยบายเกิดไม่ได้ และไม่มีทางทำได้สำเร็จ (เช่น ตัวมีหน่วยการเรียนขั้นต่ำ 130-140 หน่วยกิต ที่รั้งขาผู้เรียน และเป็นต้นทุนของครอบครัว ในวิชาอีก 25-30 หน่วยกิตที่ไม่มีประโยชน์เลยต่อผู้เรียน เช่น General Education, ผู้สอนต้องทำวิจัย ซึ่งการวิจัยเหล่านั้นไม่เคยกลับมาเป็นประโยชน์กับชั้นเรียน, ฯลฯ เป็นต้น)

       ผู้เขียนถือโอกาสนี้นำเอาประสบการณ์ตรงในรอบ 7 ปีที่ได้คุยกับผู้บริหารสถาบันการศึกษา ในระดับคณบดี, รองวิชาการ ฯลฯ มาเล่าให้ฟังว่า มีความเข้าใจผิด 5 ประการ (จริงๆ มีมากกว่านี้มากเท่ามากกกกกกกกกกกกกก ก.ไก่เป็นอนันต์ในการศึกษาของไทย แต่ขอเลือกมา 5 ช้อ สำหรับมุมของการสร้างทักษะแห่งการประกอบการ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 

ข้อ 1) สาขาวิชาของฉันไม่จำเป็นต้องให้นักศึกษาเข้าใจหรือมีทักษะแห่งการประกอบการ
      ต้องพูดตามตรงว่าเวลาเจออาจารย์ที่มีความคิดเหล่านี้ในมหาวิทยาลัย ใบหน้าก็ยิ้มรับและเบ้ปากมองบนในใจ แต่ถ้าเจอผู้บริหารสถาบันการศึกษาคิดแบบนี้ ให้ถอดใจ และไว้อาลัยแด่นักศึกษาและครอบครัว  แนวคิดของการสร้างนักประกอบการเป็นแนวคิดสากล ที่เหมาะสมกับโลกปัจจุบัน การเป็นนักประกอบการนั้นมีหลายระดับ
  • การเป็นผู้ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการของตัวเอง ซึ่ง "สาขาวิชาหลัก" ที่บัณฑิตจบมาจะต้องรู้ว่าเอาหลักวิชานั้นไปแปลงเป็นทุนและสินทรัพย์ สร้างรายได้และความมั่งคั้ง ยั่งยืนได้อย่างไร  
  • การเป็นบุคลากรในองค์กรที่เข้าใจว่าบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ส่งผลอย่างไรต่อกิจการขององค์กร 
       ถ้าเรายังมีความคิดที่ว่า "สาขาวิชาของฉัน" (ของผู้บริหาร และอาจารย์ในโลกเก่า) ไม่ต้องสร้างแนวคิด ความรู้ และทักษะเหล่านี้ให้ติดตัวบัณฑิตไป คนยุคหินเหล่านั้นจะเข้าใจหรือเปล่าว่า กำลังส่งต่อปัญหาจาก Silo Thinking Based ไปในกระบวนการเรียนการสอน และส่งมอบไปยัง การทำงานที่กลายเป็นวัฒนธรรม Silo Culture ซึ่งไม่เหมาะกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง 
    การ "เข้าใจ" "มี" และ "ใช้เป็น" ของทักษะแห่งการประกอบการ คึอ การเข้าใจโลกธุรกิจ, อุตสาหกรรม หรือ งานของตัวเองในแบบภาพกว้าง เข้าใจกระบวนการทั้งหมดแบบ Holistic View และมองเห็นว่า แต่ละกระบวนการทำงานประสานสอดคล้องกัน และมองหา "โอกาส" หรือ "อุปสรรค" ในโจทย์ความต้องการพื้นฐานของธุรกิจหรือบริการนั้น ๆ แปลงโอกาส ให้เป็นตลาดและรายได้ จัดการอุปสรรคให้เบาบางและหายไป 
       จากประสบการณ์หลายปีในภาคการศึกษา พบว่ายังมีบุคลากรในภาคการศึกษาที่ยังไม่เข้าใจว่า "ทักษะแห่งการประกอบการ" คือ  Core Competency ควบคู่กับ Main Competency ในสายวิชาเฉพาะที่ให้บริการการศึกษา  ถ้าไม่เข้าใจเช่นนี้ เราจะส่งบัณฑิตไปเป็นภาระของโลก เช่น เราจะผลิตนักวิจัยที่ทำตามความใคร่รู้ของตัว แต่งานวิจัยนั้นไม่มีประโยชน์เลยในทาง Commericialize หรือ Socialize, เราจะมี IT ที่สนใจเฉพาะความอยู่รอดมั่นคงของระบบโดยไม่สนใจว่า IT จะเป็น Cost Center หรือไม่, เราจะมีวิศวกรที่ยืนกระต่ายขาเดียวโดยไม่ได้มองผลกระทบต่องานอื่น ๆ, เราจะมีบัญชีผู้สนใจเฉพาะแต่ความถูกต้องทางตัวเลขโดยไม่เข้าใจการจัดการที่ต้อง flexible และเป็นปัญหาในองค์กร, เราจะมีนักสื่อสารมวลชนที่เน้นแต่ความ Wow ของ content แต่ไม่รู้ว่าส่งผลกระทบอะไรต่อเยาวชนและสังคม, เราจะมีนักรัฐศาสตร์ที่บ้าคลั่งลัทธิทางการเมืองที่ตนคลั่งไคล้โดยไม่สนใจบริบททางสังคมและวัฒนธรรม, ฯลฯ หลายท่านบอกว่าตัวอย่างเหล่านี้ไกลตัว แต่ลองพิจารณาให้ลึกลงไป เป็นเพราะว่า เราสร้างวิธีคิดด้านเดียวในสาขาวิชาหลักหรือเปล่า หรือ หากเราเพิ่ม "ทักษะแห่งการประกอบการ" การมองมุมอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องจะส่งผลเช่นปัญหาที่เราพบในปัจจุบันหรือไม่ 
       ท่านมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสังคม ที่ท่านและลูกหลานได้รับผลกระทบอยู่ได้ จากการที่เราสร้างนักคิด นักแก้ปัญหา ด้วยทักษะแห่งการประกอบการได้

ข้อ 2) วิชาผู้ประกอบการเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิชาสายบริหารและการจัดการเท่านั้น
      บ่อยครั้งเวลาที่ผมนำเสนอแนวคิดเรื่องนักประกอบการกับสาขาวิชาที่ไม่ใช่บริหารธุรกิจ และวิทยาการจัดการ ซึ่งเป็นคณะ/สำนักวิชาที่มีอยู่ทุกมหาวิทยาลัย จะได้รับคำตอบจากผู้บริหารที่มาจากการเมืองภายใน/หรือเรียกว่าจับสลากมาได้ ว่านั่นเป็นเรื่องของบริหารธุรกิจและวิทยาการจัดการ  ซึ่งคุณต้องปั้นหน้านิ่งๆ แต่ภายในใจ "กระอักเลือด" เหมือนโดนฝ่ามือมารซัดมาที่หน้าอกด้วยพลังวัตรสูงส่ง  และวลีที่ดังในใจว่า "What the hell is going on here" 
      ความคิดที่ว่านี้จะเด่นชัดมากในสายวิชาเฉพาะที่เป็น Pure Scinece กับบุคลากรที่ย้อนเวลามาจากอดีต แต่ไม่ได้หมายความว่า สาย Applied Science จะไม่มีความคิดเช่นนี้ ผมเคยสนทนากับเพื่อนที่ฝันตัวเป็นอาจารย์ในสายสังคมศาสตร์ เกี่ยวกับแนวคิดนี้ สิ่งที่ได้รับฟังกลับมานั้น คือ ผู้บริหารที่คณะเค้าไม่ได้เห็นประโยชน์ในสิ่งนี้ ว่าจำเป็น เราจึงพบว่า วิชาผู้ประกอบการ หากโชคดีจะมีใน General Education 3 หน่วยกิต หรือ 1 วิชา ที่บรรจุไว้ว่า "ฉันมีแล้วนะ จะเอาอะไรอีก" ซึ่งสอนด้วยการบรรยายจากอาจารย์ที่ไม่มี mindset แบบผู้ประกอบการเสียด้วยซ้ำ มันลักลั่นคล้าย ๆ กับวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะทางที่คณะด้านภาษาศาสตร์ก็สอนไม่ได้ เพราะว่าสอนได้เพียง Communication English ซึ่งทำให้ นักศึกษาไทยเมื่อจบออกไปทำงานเป็นบัณฑิต ไม่สามารถใข้ภาษาอังกฤษเฉพาะสายอาชีพได้ ซึ่งคณะเฉพาะทางเหล่านั้นจะเปิดสอนเอง ก็ทำไมได้ เพราะว่ามีกฎงี่เง่าครอบไว้อีกทีหนึ่ง
     เป็นที่น่ายินดีระคนความเสียใจ ตั้งแต่มี 4 กุมารหาญกล้า แล้วหนึ่งใน 4 กุมาร สร้างลัทธิ Startup ขึ้น ทำให้คณะสายวิศวกรรมศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์ ที่มีอาจารย์ที่ร่วมสมัยเริ่มตื่นตัว จากนโยบายเชิงบังคับ และ ภาพลักษณ์ที่ต้องเปลี่ยนตามสมัยนิยม เริ่มให้ความสนใจสร้างนักประกอบการบ้าง และเลิกไปเมื่อ 4 กุมารหมดอำนาจลง นี่เป็น Tragedy ในประเทศไทย 
      มีคำถามที่ว่า หากคณะเหล่านี้สนใจจะสร้างเสริมทักษะผู้ประกอบการจะทำได้ไหม โจทย์แรกที่ถูกโยนหินถามทาง คือ ไปถามคณะสายบริหารสิว่าเปิด section ที่สอนได้ไหม หรือ Dedicated Section นั้นเพื่อนักศึกษาของเราได้ไหม ซึ่งเริ่มต้นก็ไม่เป็นนักประกอบการเสียแล้ว  และเป็นที่แน่นอนเหมือนกฎแห่งธรรมชาติ คือ พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเสมอ คือ ไม่สามารถหาความร่วมมือจากคณะอื่น ๆ ได้ ในมหาวิทยาลัยเดียวกันเสมอ เพราะ "วัฒนธรรมของการไม่เป็นนักประกอบการ" นั้นแต่ละคณะเป็น Competitor และเป็น Oppositer  ร่วมเวรกรรมกันมา ไอ้ครั้นจะสร้างทีมผู้สอนใหม่ มองไปแล้ว ก็ไม่เห็นอาจารย์ที่จะยอมมีภาระเพิ่มเลยในคณะ เป็นที่น่าเศร้าใจ  ในความเห็นส่วนตัวเราควรแทนที่วิชา Gen Ed ที่ไม่สามารถระบุประโยชน์แก่ผู้เรียนได้ ด้วยชุดวิชา Entrepreneurship 30 หน่วยกิต เราก็จะแก้ปัญหานี้ได้แล้ว  ทว่า Gen Ed เป็นการเมืองภายใน และเป็นรายได้ของบางกลุ่มในมหาวิทยาลัย กับพื้นฐานที่มหาลัยเห็นว่าจำเป็นแต่โลกข้างนอกไม่ต้องการ หรือ บางี่ต้องการยัด รากเหง้าซักเรืองลงไปโดยบอกไม่ได้ว่าจะเกิดประโยชน์อย่างกับผู้เรียน (วิชาเหล่านี้จะมีชื่อแปลก ๆ ให้ลองไป search ดูกันเอง)
     ปัญหาที่เลวร้ายกว่านั้น เกิดในคณะสายบริหารธุรกิจ และการจัดการเองว่า "วิชานักประกอบการ" เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของสาขาวิชาใด ซึ่งไม่สามารถเล่ารายะเอียดได้เพราะว่าจะกลายเป็น Gossip การศึกษาไป ซึ่งทำให้วิชานักประกอบการหลายมหาวิทยาลัยจึงเลือกหาทางออกในหัวข้อถัดไป 

ข้อ 3) ต้องสร้างคณะผู้ประกอบการขึ้นโดยเฉพาะ
      หลายมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน เลือกที่จะสร้างคณะผู้ประกอบการเป็นจุดขายใหม่ ทั้ง ๆ ที่มีคณะบริหารธุรกิจอยู่เดิม โดยจุดขายใหม่นั้น แยกไปว่า หากอยากเป็นเจ้าของกิจการให้เรียนในคณะผู้ประกอบการนี้ ซึ่งกลายเป็น Competitor แทนที่จะเป็น Complementary แก่กัน (ซึ่งโดยมากใช้ทรัพยากรอาจารย์ชุดเดียวกัน) แต่ถ้าเป็นคณะนักประกอบการอาจมีอาจารย์ฝรั่ง และหลักสูตรที่ไม่เคยประณีประนอมได้ในคณะบริหารธุรกิจมาสร้างสมการใหม่ แทนสมการที่ไม่อยากแก้ไขอีกแล้ว 
       มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเลือกวิธีใหม่ เพื่อสร้าง "ตลาด" ใหม่ ใน "โอกาส" ที่สังคมรุ่นใหม่กำลังต้องการ ทว่าแนวโน้มในต่างประเทศท กลับดำเนินการไปในทิศทางใกล้เคียงกัน คือ การเอาร่มของนักประกอบการไปครอบทุกสาขาวิชา ซึ่งทำให้ทักษะแห่งการประกอบการเป็นพื้นฐาน เพราะทุกสาขาวิชาเมื่อจบเป็นบัณฑิตย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบการทั้งสิ้น จะเป็น Entrepreneurs หรือ Intrapreseurs (Corporate Entrepreneus) ก็แล้วแต่ละบุคลจะตัดสินใจ วิธีการแบบที่เมืองนอก (ที่เราชอบ copy แต่การศึกษาไทยเรามีปัญหาที่ยัง Copy Model Entrepreneurship University ไม่ได้ อยู่ที่ (ข้อ 1) นั่นเอง)
        ในต่างประเทศ สาย IT เกิดแนวคิด Techopreneurship, ในสายวิศวกรรม เกิด Enginopreneurship ฯลฯ โดยให้ทุกสาขาวิชามีวิชาพืนฐานของการประกอบการ (ซึ่งควรแทน Gen Ed อันงี่เง่าของไทย) และลดจำนวนหน่วยกิตหลักลง เพิ่มโอกาสในการหาประสบการณ์ตรง หันไปใช้ Modular Education และเมื่อถึงระดับที่เป็น Junior(ปี 3) หรือ Senior(ปี4) มหาวิทยาลัยผลักดันให้เกิดการสร้างธุรกิจในรั้วมหาวิทยาลัย และพร้อมจะ spin-off ไปเป็นกิจการเมื่อจบการศึกษา และมีสัดส่วนของการปันรายได้อย่างชัดเจน ส่วนนักศึกษาที่ไม่เลือกการสร้างธุรกิจ ก็ได้รับแนวคิดของการเป็น Intrepreseurship ไปเป็นบุคลากรที่สร้างโอกาสให้องค์กรในฐานะนักประกอบการ โมเดลนี้ผมได้รับฟังจาก QUT; Queensland University of Technology ในประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน และไปดู model ของ Standford ที่ไทยชอบเอา Design Thinking เขามาใช้แบบงง ๆ ในมหาลัยไทย รวมไปถึงเห็น Model ของเกาหลีใต้เมื่อครั้งไปดูงานเรื่องการสร้าง Entrepreneurship Curriculum มาด้วยตนเอง เมื่อใดที่เราฝันใกล้รุ่งสางจะเป็นฝันที่เป็นจริง แต่ตอนนี้ฝันหวานปลอกตัวเองไปก่อน

ข้อ 4) จัดให้มี BMC และ Starup Event เอา Design Thinking มาแปะหน่อย ก็ทำให้ "คณะ" ดูทันสมัย เป็นสาขาวิชาที่พูดได้ว่าส่งเสริมทักษะแห่งการประกอบการแล้ว 

      ทักษะ คือ การฝึกฝนทำซ้ำ จนเกิดเป็นความชำนาญ การทำเป็น event base หรือทำแบบลูบหน้าปะจมูกไม่ได้ก่อให้เกิดทักษะใด ๆ ในสาขาวิชาที่มี Lab การทำ Lab จำนวนมาก นั่นคือ ส่วนหนึ่งของการสร้างทักษะ  ซึ่งในสาขาวิชาที่ไม่มี Lab หรือมี  Lab จำนวนน้อยมาก ทักษะจึงไม่เกิดขึ้น เช่น เดียวกันกับ การสอนภาษาในประเทศไทย จึงทำให้นอกจากนักศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะที่จะใช้ภาษาต่างประเทศไทย นักศึกษาส่วนใหญ่นั้น หากไม่ฝึกฝน ดิ้นรนด้วสยตัวเอง ก็ไม่ได้มีทักษะด้านภาษา และไทยเป็นประเทศที่ภาษาอังกฤษในการทำงานและการสื่อสารด้อยที่สุดในอาเซียน เพราะว่า เราแทบไม่ได้ใช้ภาษาต่างประเทศบ่อยจนกลายเป็นทักษะนั่นเอง เราจะมีวิชาสัมมนา และมี Project ในปีท้าย ๆ ของทุกหลักสูตร ซึ่งก็ไม่ได้เพียงพอที่จะฟูมฟักให้เดกิดทักษะติดตัวนักศึกษาไป เราจึงแทบไม่มีทักษะอะไรเลยที่ใช้งานได้จริง นอกจากทักษะการเอาตัวรอกเป็นครั้ง ๆ ไป ซึ่งเป็น Nature ของคนไทย 
      ในช่วงหลายปีมานี้ ก็มีความพยายามเป็นช่วง ๆ และหยุดไปแล้วของบางสาขาวิชา บางคณะ บางมหาวิทยาลัย ที่เป็น "ส่วนน้อย" ในจำนวนอันมากมายของการศึกษาไทย ที่เอา BMC มาแปะในกิจกรรม startup แต่ไม่ได้อยู่ในวิชา และไม่มีโอกาสทำซ้ำ หรือเอา Design Thinking มาสร้างเป็น event และจบไปเป็นครั้ง ๆ  ซึ่งต้องยอมรับกันตรง ๆ ว่า มันไม่ได้ประโยชน์ และมันไม่เกิดเป็นทักษะ ทว่า การมีวิชาที่เอา fashion เหล่านี้ผสมลงไป มันทำให้ภาพของการส่งเสริมด้านการประกอบการเกิดขึ้น 
      ทางที่ดีกว่า คือ เราจะทำให้เกิดการทำซ้ำจนเป็นทักษะได้หรือไม่ ไม่ต้องเอาวิชา fancy เหล่านี้ก็ได้ เราเพียงสร้าง Project ในทุกชั้นปี ไม่ใช่ครั้งเดียวก่อนจบ เราเพิ่มจำนวนการนำเสนอ ให้นักศึกษาได้พูดมากกว่าอาจารย์ และอาจารย์เป็น mentor ให้มากขึ้น เมื่อเขาได้ลงมือทำซ้ำ ในโจทย์ที่แตกต่างกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานของการประกอบการก็จะเกิดขึ้นได้ และมันอาจจะดีกว่าการมี event ซึ่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบลงแรงเต็มที่ และมีคนมาถ่ายภาพจำนวนมาก ยินดี แล้วไม่ทำอีกเลยในครั้งต่อไป


ข้อ 5) เอาอาจารย์ซักคนจับสลาก หรือบังคับมาสอนในวิชาข้อ 4 ก็ใช้ได้แล้ว
​      ส่วนมากอาจาร์ยผู้อ่อนอาวุโสในคณะ จะเป็นทางเลือก ซึ่ง "ดี" สำหรับตัวอาจารย์ที่จะได้รับการฝึกฝน "ทักษะ" และอยู่รอดต่อไปในอนาคต และเกิดความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการวางรากฐานให้กับนักศึกษาของตน นี่เป็นวิธีคิดแบบโลกสวยมาก ๆ (คล้าย ๆ วิ่งในทุ่งลาเวนเดอร์ที่อฮกไกโด หรืออยู่ท่ามกลางทิวลิปนับล้านที่เคอเคนคอร์ฟ)  ในความจริงนั้นทราบกันดีอยู่ 
    วิชาเหล่านี้ดูไปแล้วไม่ยาก แต่ไม่ง่ายในการทำความเข้าใจ ถ้าผู้สอนไม่ทำ "การบ้าน" เลย อ่าน Text แปล แล้ว Deploy เลยจะพบเจอปัญหาในระหว่าง Workshop แน่นอน ทว่าหากตัวอาจารย์เองมีโอกาสทำซ้ำ ก็จะได้ "ทักษะ" ในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ไปเช่นกัน การทดลองแบบนี้ในคณะ ต้องใช้ความร่วมมือจากลุ่มอาจารย์หลายคน ถ้าอาจารย์รุ่นลุงป้าจะลงมาช่วยเพื่อเรียนรู้ทักษะเรื่องใหม่ก็เป็นการดียิ่ง ถ้าไม่ลงมือในส่วนนี้ก็ช่วยเรื่องอื่น ๆ หากทำได้ ต้องเลิกมาให้กำลังใจในพิธีเปิด แวะมาถ่ายภาพ แต่สวมวิญญานของนักประกอบการว่าจะเติมเต็มช่องว่างอื่น ๆ ได้อย่างไร อย่างน้อยกระบวนการตั้งคำถามซึ่งเป็น "ทักษะ" ของอาจารย์ทุกคน สามารถมาประยุกต์ใช้ได้แน่นอน อย่าปล่อยให้ภาระในการทดลองวิธีการใหม่ เครื่องมือใหม่ ตกเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง หากมีความช่วยเหลือกันในคณะ (ซึ่งหากยากอยู่แล้ว) จะเป็นผลดี และอย่างน้อยจะสร้าง Impact แก่นักศึกษาเมื่อเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน เอา บางส่วนของ BMC ไป apply ในวิชา เช่น การ identify Segment บ้างก็ยังดี เอา emphatize ไปทำความเข้าใจปัญหา แทนที่จะเป็น event แต่เอา "กลวิธี" ของเครื่องมือเหล่านี้ ผสมไปกับการสอนในเนื้อหาของท่าน จะได้ไม่ต้องจับสลากให้ใครมาเป็นเหยื่อ และยังบัลคับตัวท่านเองให้เปลี่ยนรูปแบบการสอน เพื่อผลลัพท์ใหม่ด้วย

ความเข้าใจผิด 5 ประการนี้ขอให้เป็นเพียง ผู้เขียนเข้าใจผิดไปเอง อย่าให้เป็น "ข้อเท็จจริง" ในการศึกษาไทยเลย ทักษะแห่งการประกอบการนั้น เข้าใจให้กว้าง สร้างให้ "ทักษะ" ในการคิดเป็นตรรกะ, คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา, ผนวกเอา PROs/CONs ลงไปในทางเลือก, ปรับจูนหา Optinal ในการแก้ปัญหา ผสมวิธีการเหล่านี้ให้มากขึ้นในการเรียนการสอนที่ท่านอาจารย์ดูแล ท่านได้เปลี่ยนตัวท่านในฐานะอาจารย์ผู้ผังทักษะแห่งการประกอบการเบื้องต้นในวิชาที่ท่านดูแลแล้ว ดีกว่าสอนแบบเดิม ๆ มาเริ่ม LTT Learning and Teaching Transformation ในขอบเขตวิชาของท่าน ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยแล้วเด็กมันจะจำชื่ออาจารย์ไม่ได้ในอนาคต เพราะท่านไม่เคยสร้างอะไรให้เขา "เรียน" "จำ" "ทำ" และ "นำไปใช้ได้" เลย

2 Comments
Kevin Johnson link
10/9/2022 09:01:33 pm

Fall here energy dog owner each. Stop official audience him north produce. Be week population executive another by drop.

Reply
Michael Harrison link
10/24/2022 08:35:26 pm

Answer baby boy visit send. Quality customer good attack theory garden. Language natural series least continue.
Develop news customer eat. Must into beat blood network author part.

Reply



Leave a Reply.

Picture
Picture
Picture
Picture

MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand