ตอนที่ 2: ประเภททักษะแห่งการประกอบการ (ในทัศนะของผู้เขียน)
หมายเหตุ: บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ เป็นบทความเพื่อการแบ่งปันมุมมองต่อปัญหาของประเทศไทยในวิธีการมองแบบหนึ่งเท่านั้น ใน EP ที่ 2 มาจากประสบการณ์ในรอบ 5 ปี (2015-2019) ณ วันที่เขียนบทความ ในอนาคต อาจมองเรื่องเดียวกันนี้เปลี่ยนไป
โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
Related Content:
EP 1 นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
EP 2 ประเภททักษะแห่งการประกอบการ (ในทัศนะของผู้เขียน)
EP 3 ทักษะแห่งการประกอบการที่พึงมี
EP 4 Entreprenuerial Mideset กระบวนคิดและลงมือทำของผู้ประกอบการ
EP 5 ความเข้าใจผิดในการประกอบการในสังคมไทย ช่วยกันเปลี่ยน ช่วยกันปรับ เพื่อประเทศแห่งการประกอบการ
EP 6 มาร่วมสร้าง Eco-System ของสังคมอุดมนักประกอบการ
EP 7 มาเป็น Charles Xavier ให้กับสังคมอุดมนักประกอบการกัน
EP 8 ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร เมื่อเราสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ
หมายเหตุ: บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ เป็นบทความเพื่อการแบ่งปันมุมมองต่อปัญหาของประเทศไทยในวิธีการมองแบบหนึ่งเท่านั้น ใน EP ที่ 2 มาจากประสบการณ์ในรอบ 5 ปี (2015-2019) ณ วันที่เขียนบทความ ในอนาคต อาจมองเรื่องเดียวกันนี้เปลี่ยนไป
โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
Related Content:
EP 1 นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
EP 2 ประเภททักษะแห่งการประกอบการ (ในทัศนะของผู้เขียน)
EP 3 ทักษะแห่งการประกอบการที่พึงมี
EP 4 Entreprenuerial Mideset กระบวนคิดและลงมือทำของผู้ประกอบการ
EP 5 ความเข้าใจผิดในการประกอบการในสังคมไทย ช่วยกันเปลี่ยน ช่วยกันปรับ เพื่อประเทศแห่งการประกอบการ
EP 6 มาร่วมสร้าง Eco-System ของสังคมอุดมนักประกอบการ
EP 7 มาเป็น Charles Xavier ให้กับสังคมอุดมนักประกอบการกัน
EP 8 ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร เมื่อเราสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ
แบ่งปันประสบการณ์ที่ควรต้อง "บ่น" ดัง ๆ ก่อนเริ่มเนื้อหา (ท่านใดจะข้ามไปไม่ว่ากัน)
ผมได้รับประสบการณ์จากการเอาตัวเองไปข้องแวะกับวงการศึกษาไทย ที่ปัจจุบันผมมั่นใจว่า ไม่ "โคม่า" แล้วหลอกตัวเองว่ายังดีอยู่ ก็ "ตาย" และรอเก็บศพ 100 วัน เพื่อเผา เพราะว่าอะไรนะรึครับ ผมพบว่าสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ซึ่งมักจะมีอาจารย์ที่เป็นโดยอาชีพ หรือจับฉลากได้ จะชอบบอกว่า นักศึกษาที่มาจากระบบมัธยมศึกษา ประถมศึกษาไม่มีความพร้อม และโทษกันไปเรื่อย ๆ และลงไปโทษระบบ และจักรวาลรอบตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้น ครูอาจารย์มืออาชีพเขาจะจัดการกับมัน) นั้น อาจจะมีัการส่งเสริมให้เกิดทักษะเหล่านี้น้อยมาก อย่าว่าแต่ทักษะเลยครับ ความรู้ที่เรียนที่สอนในสมัยนี้ ก็อาจจะล้าหลัง และเราเป็นประเทศที่มีเป้าหมายการสร้างนักศึกษาปริญญารตรีให้เป็นนักวิชาการ และเราได้ นักวิชาเกินแทนจากการที่เราอาจจะเอาคนเก่ง ที่ไม่พัฒนาอะไรนอกจากเอาความรู้ที่อื่น มาทำซ้ำ และทำซ้ำแบบไม่ต้องคิดก็ได้ เพราะว่า นักศึกษาของไทยไม่ได้ถูกสอนให้ "คิด" ในการแก้ปัญหา ไม่ได้ถูกสอนให้ "วิเคราะห์" ปัญหา แต่เราไปวัดที่ผลลัพท์ซึ่งเอามาจากไหนก็ได้ และมีแนวโน้มว่า อาจารย์จะถึงพอใจที่นักศึกษาสามารถอ้างทฤษฎี หรือมีคำนพเสนอที่สวยหรูทว่าไม่ทราบอะไรเลยเสียส่วนมาก อีกอย่างหนึ่งคือ เราอาจจะใช้แนวคิดที่ผิดมิติเวลาก็ได้ครับ (โปรดดูภาพขวามือประกอบ)
ผมได้รับประสบการณ์จากการเอาตัวเองไปข้องแวะกับวงการศึกษาไทย ที่ปัจจุบันผมมั่นใจว่า ไม่ "โคม่า" แล้วหลอกตัวเองว่ายังดีอยู่ ก็ "ตาย" และรอเก็บศพ 100 วัน เพื่อเผา เพราะว่าอะไรนะรึครับ ผมพบว่าสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ซึ่งมักจะมีอาจารย์ที่เป็นโดยอาชีพ หรือจับฉลากได้ จะชอบบอกว่า นักศึกษาที่มาจากระบบมัธยมศึกษา ประถมศึกษาไม่มีความพร้อม และโทษกันไปเรื่อย ๆ และลงไปโทษระบบ และจักรวาลรอบตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้น ครูอาจารย์มืออาชีพเขาจะจัดการกับมัน) นั้น อาจจะมีัการส่งเสริมให้เกิดทักษะเหล่านี้น้อยมาก อย่าว่าแต่ทักษะเลยครับ ความรู้ที่เรียนที่สอนในสมัยนี้ ก็อาจจะล้าหลัง และเราเป็นประเทศที่มีเป้าหมายการสร้างนักศึกษาปริญญารตรีให้เป็นนักวิชาการ และเราได้ นักวิชาเกินแทนจากการที่เราอาจจะเอาคนเก่ง ที่ไม่พัฒนาอะไรนอกจากเอาความรู้ที่อื่น มาทำซ้ำ และทำซ้ำแบบไม่ต้องคิดก็ได้ เพราะว่า นักศึกษาของไทยไม่ได้ถูกสอนให้ "คิด" ในการแก้ปัญหา ไม่ได้ถูกสอนให้ "วิเคราะห์" ปัญหา แต่เราไปวัดที่ผลลัพท์ซึ่งเอามาจากไหนก็ได้ และมีแนวโน้มว่า อาจารย์จะถึงพอใจที่นักศึกษาสามารถอ้างทฤษฎี หรือมีคำนพเสนอที่สวยหรูทว่าไม่ทราบอะไรเลยเสียส่วนมาก อีกอย่างหนึ่งคือ เราอาจจะใช้แนวคิดที่ผิดมิติเวลาก็ได้ครับ (โปรดดูภาพขวามือประกอบ)
ว่าด้วย "ทักษะ" ในความหมายที่จะใช้ในบทความนี้ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องนิยามของ "ทักษะ" จึงจำเป็นจะต้องจำกัดคำนิยามที่จะใช้ในบทความนี้เสียก่อน ในนิยามทั่วไปของทักษะ เรามักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
|
แยก Hard Skills ออกเป็น 2 กลุ่ม แต่จะได้การเชื่อมโยงของศาสตร์ต่าง ๆ หลายวิชา
ผู้เขียนได้แยกประเภท Hard Skills ออกมา เป็น 2 ประเภท โดย Hard skills ถูกแบ่งออกเป็น
ผู้เขียนได้แยกประเภท Hard Skills ออกมา เป็น 2 ประเภท โดย Hard skills ถูกแบ่งออกเป็น
- Hard Skill สาย Science Group (ฺฺB) หรือ ชุดความรู้ที่สามารถสอนได้ และถูกวัดได้ด้วยทางคณิตศาสตร์ หรือตัวเลข (Teachable skills which able to be measured by Quantitative methodology to Qualitative Results) ซึ่งความรู้ในกลุ่มนี้ รวมเข้าด้วยกลุ่มสาาวิชาเช่น วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, แพทยศาสตร์, เคมี, เทคโนโลยี ฯลฯ นี้ ในชุดวิชาเหล่านี้ในโลกทัศน์แบบเดิมเป็น "วิชาชีพเฉพาะ" ในอดีตวิชาเหล่านี้ นอกจากทำในสายวิชาชีพแล้ว จะมีวิธีหาสตางค์ในแบบอื่นได้ลำบาก ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มวิชานี้ เกิดเป็นสายการประกอบการใหม่ เช่น Innovative Startup, Tech Start Up โดยตรงไปผสมผสานกับ Skills ด้านอื่นๆ สายวิชาเหล่านี้ กำลังอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนในยุค Trasformation ซึ่งผู้เขียนเรียกว่า Transform ไปสู่การเป็น Comercialize และ Socialize มากขึ้น ทว่าปัญหาที่ประเทศไทยยังผลิตผู้ประกอบการสายนี้ได้ลำบาก เพราะว่าในระบบการศึกษานั้น ยังไม่ปรับเปลี่ยนตัวเองออก ในสายวิชาเหล่านี้ ยังควรจะต้องมี PURE SCIENCE คือ คงไวซึ่งหลักการสร้างนักวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญ เพราะว่ายังมีงานและความต้องการที่จำเป็นจะต้องคงลักษณะการเรียนการสอนแบนี้เอาไว้ และ APPLIED PURE SCIENCE หรือกลุ่มที่วิวัฒน์สายวิชาการนี้ผสมผสานกับศาสตร์อื่นๆ เป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นในยุค Disruptive
- Hard Skills สาย Art Group (C) หรือ สายความรู้ที่พัฒนาจาก Non Science Non Mathematics (Teachable skills which unable to be measure by Quantitive methogology but to be measured and become Measuarable) ซึ่งเรารู้จักกันในวิชาสายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์ แล้วแต่จะจัดกลุ่ม ในสยวิชากลุ่มนี้ ท่านมีความจำเป็นจะต้องเช้าใจวิวัฒนาการของสายวิชานี้ กับประวัติศาสตร์ของมันเสียก่อน ซึ่งแตะละศาสตร์ย่อย ๆ ของสายวิชานี้ มีจุดเปลี่ยนคล้ายกัน แต่อาจมีมิติเวลาในการเปลี่ยนต่างกันไปบ้าง
วิวัฒนาการของ Soft skills (A) ที่เลือนลางกับความลักลั่นในการเรียนรู้ในระบบ Academic
ก่อนหน้าที่เราจะมีระบบการศึกษาที่เป็น Intensive Silo based Learning and Teching แบบที่เกิดในระบบมหาวิทยาลัยในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคกรีก-โรมัน, อินเดีย และจีนโบราณ เราจะพบว่านักปราชญ์แห่งยุคในแต่ละภูมิภาคที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ไม่เติบโตมาแบบ Intensive Based methodology ท่านจะพบว่า นักปราชญ์นักคิดนั้น ใช้หลายศาสตร์และหลายทักษะควบคู่กัน (Integrated Knowledge and Skill sets) หากเราย้อนไปดูประวัติของบุคคลเหล่านั้น ก่อนที่เราจะมาเริ่ม Named หรือ จัดกลุ่มว่าเขามีอาชีพหรือเฉพาะทางในสาขาใดตั้งแต่ คศ.1800 เป็นต้นมา หากเราได้อ่านประวัติของคนเหล่านั้นเราไม่รู้จริง ๆ ว่าจะระบุให้เขาเป็น "นัก" อะไร เพราะว่า เขาเหล่านั้นผสมหสานศาสตร์รอบตัง เพื่อแก้ปัญหาใด ๆ ที่เขาเจอในชีวิตประจำวันในยุคสมัยนั้น ๆ ท่านจะบอกว่า กาลิเลโอ, ฟาราเดย์, โสเครตีส ฯลฯ เป็นนักอะไร มันยากเหลือเกิน แต่ เขามีทักษะในการผสมผสานหลายความรู้ทั้ง Hard และ Soft skills เข้าด้วยกัน และนั่นเป็นนิยามแรกของ ENTREPRENUERIAL SKILLS
เมื่อมีเจ้าภาพ ก็เริ่มเกิดีสกุลวิชา และเรียกชื่อเสียใหม่ และความรู้ที่จัดหมู่ในคริสตศตวรรษที่ 14-17 เป็นต้นมา ก็เลยเป็น "วิชาชีพ" และเริ่มยกเอาคนร่วมสมัยในขณะนั้น ให้เป็นเจ้าตำรับ, บิดา ในยุค คศ.1800 เป็นต้นมา เช่น ไปเรียกนักเล่นแร่แปรธาตุ ที่ค้นพบธาตุโดยบังเอิญ เช่น แมรี่คูรี่ ให้เป็นการค้นพบทางเคมีที่สำคัญ และเกิดเป็นวิชาเคมี และ นักเคมี เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนั้น ล้วนเกิดจากความพยายามจะเริ่มต้นแก้ไขสิ่งใด ๆ สิ่งหนึ่ง แล้วพยายามหาวัสดุหรือวิธีการ นำมาผสมกันในการแก้ปัญหาในการมีชีวิตประจำวันของคนธรรมดา และของผู้มีอำนายในทางสังคมนั่นเอง (โปรดอ่านประวัติศาสตร์ของวิทยาการในยุต Renaissance ประกอบ)
ปัญหาสำคัญเกิดมีึ้น เมื่อการตั้ง College ด้านใด ๆ เริ่มเกิดขึ้น และได้รับการส่งเสริมจากผู้มีอำนาจในทางใด ๆ เพื่อสร้างบุคคลารเนื่องจากในยุคที่โลกขาด Know-how และ Knowledge และต้องการเพิ่มจำนวนคนมาให้สอดคล้องกับความต้องการ (=วิชาเศรษฐศาสตร์สังคม) โลกก็เริ่มหันหลัง Integrated Knowledge เป็น Silo Based และเน้นไปที่ความลึกของแต่ละด้าน ที่ยิ่งลึกลงไปมาก ๆ ยิ่งทำให้ความเชื่อมโญงกับศาสตร์ที่เกื้อหนุนกันนั้นพังทลายลงไป และนี่เป็นจุดเริ่มต้น ที่การศึกษาเชิง Academic ทำให้ทักษะที่เดิมมนุษย์เคยมีผ่านการเรียนรู้พหุสาขาวิชา และพหุทักษะจบสิ้นลง เป็นการมุ่งเน้น Hard Skills ในด้านหนึ่ง ๆ และนักศึกษาของโลกก็จาด Soft Skills แต่นั้นมา ซ้ำร้ายไปกว่านั้น คือ Soft skills นั้น แทบจะไม่พบในวิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน หรือหากมี กลับกลายเป็นการ Lecture ซึ่งไม่อาจสร้าง Sogt Skills ให้เกิดขึ้นได้ และแน่นอน มีผลกระทบอย่างยิ่งกับ Entreprenuerial Skills ซึ่งต้องอาศัยทักษะร่วมกันระหว่าง Hard และ Soft Skills ซึ่งเห็นชัดเจนจากผลิตผลของนักศึกษา (จากประสบการณ์ของผู้เขียนในรอบ 2015-2019 ในหลากหลายสาขาวิชากว่า 30 สาจาวิชาใน 20 กว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย)
ในระบบการศึกษา และการบวนการ LT (คำย่อของ Learning and Teaching Methodology) ในปัจจุบัน มีความแข็งแรงอย่างยิ่งยวดใน กลุ่ม (B) และ (G) คำว่ายิ่งยวด คือ ได้แนกขาดจากกัน และไม่ได้ผลิตนักศึกษาที่เชื่อมโยงศาสตร์ของวิชาหลักตามหลักสูตรให้ผสมผสานใช้กับศาสตร์ตวามรู้อื่น ๆ ได้ และที่ร้ายไปกว่านั้น คือ ยังขาด (A) โดยสิ้นเชิง เช่น การปรับหลักสูตรในรอบสิบปีที่ผ่านมาที่ทำให้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนต่างคณะน้อยลง อันเกิดมาจากการลดจำนวนหน่วยกิต แทนที่จะลด "วิชาเกิน" ที่ไม่จำเป็นออกไป และระบบ "บ้าเกรด" "บ้าเกียรตินิยม" ของลัทธิการศึกษาของไทย ที่ทำให้ "การท่องจำ เพื่อสอบ" เป็นสรณะ มากกว่า "การเรียนเพื่อรู้และใช้งานความรู้"
ในปัจจุบันมีความพยายามจะนำ "วิธี" จากระบบการศึกษาเอเลี่ยน ที่เป็นเทรนของโลก มาผสมใช้ในรูปแบบของกิจกรรมประกอบการเรียน ทว่า ในเนื้อหาวิชาหลักหาได้มี กระบวนการ LTT; Learning and Teaching Transforamation เกิดขี้น ผู้สอนยังคงสอนแบบเดิม และวัดผลแบบเดิม ภายใต้ "หน้ากาก" หลักสูตรใหม่
(คลิกที่นี่ เพื่อบทความที่เกี่ยวข้องกับ Education Transformation และ กระบวนการ LTT)
(คลิกที่นี่ เพื่อ Slide ประกอบ DT2ET v1.7)
(คลิกที่นี่ เพื่อ Clip ในการอธิบายเรื่อง LTT)
ก่อนหน้าที่เราจะมีระบบการศึกษาที่เป็น Intensive Silo based Learning and Teching แบบที่เกิดในระบบมหาวิทยาลัยในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคกรีก-โรมัน, อินเดีย และจีนโบราณ เราจะพบว่านักปราชญ์แห่งยุคในแต่ละภูมิภาคที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ไม่เติบโตมาแบบ Intensive Based methodology ท่านจะพบว่า นักปราชญ์นักคิดนั้น ใช้หลายศาสตร์และหลายทักษะควบคู่กัน (Integrated Knowledge and Skill sets) หากเราย้อนไปดูประวัติของบุคคลเหล่านั้น ก่อนที่เราจะมาเริ่ม Named หรือ จัดกลุ่มว่าเขามีอาชีพหรือเฉพาะทางในสาขาใดตั้งแต่ คศ.1800 เป็นต้นมา หากเราได้อ่านประวัติของคนเหล่านั้นเราไม่รู้จริง ๆ ว่าจะระบุให้เขาเป็น "นัก" อะไร เพราะว่า เขาเหล่านั้นผสมหสานศาสตร์รอบตัง เพื่อแก้ปัญหาใด ๆ ที่เขาเจอในชีวิตประจำวันในยุคสมัยนั้น ๆ ท่านจะบอกว่า กาลิเลโอ, ฟาราเดย์, โสเครตีส ฯลฯ เป็นนักอะไร มันยากเหลือเกิน แต่ เขามีทักษะในการผสมผสานหลายความรู้ทั้ง Hard และ Soft skills เข้าด้วยกัน และนั่นเป็นนิยามแรกของ ENTREPRENUERIAL SKILLS
เมื่อมีเจ้าภาพ ก็เริ่มเกิดีสกุลวิชา และเรียกชื่อเสียใหม่ และความรู้ที่จัดหมู่ในคริสตศตวรรษที่ 14-17 เป็นต้นมา ก็เลยเป็น "วิชาชีพ" และเริ่มยกเอาคนร่วมสมัยในขณะนั้น ให้เป็นเจ้าตำรับ, บิดา ในยุค คศ.1800 เป็นต้นมา เช่น ไปเรียกนักเล่นแร่แปรธาตุ ที่ค้นพบธาตุโดยบังเอิญ เช่น แมรี่คูรี่ ให้เป็นการค้นพบทางเคมีที่สำคัญ และเกิดเป็นวิชาเคมี และ นักเคมี เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนั้น ล้วนเกิดจากความพยายามจะเริ่มต้นแก้ไขสิ่งใด ๆ สิ่งหนึ่ง แล้วพยายามหาวัสดุหรือวิธีการ นำมาผสมกันในการแก้ปัญหาในการมีชีวิตประจำวันของคนธรรมดา และของผู้มีอำนายในทางสังคมนั่นเอง (โปรดอ่านประวัติศาสตร์ของวิทยาการในยุต Renaissance ประกอบ)
ปัญหาสำคัญเกิดมีึ้น เมื่อการตั้ง College ด้านใด ๆ เริ่มเกิดขึ้น และได้รับการส่งเสริมจากผู้มีอำนาจในทางใด ๆ เพื่อสร้างบุคคลารเนื่องจากในยุคที่โลกขาด Know-how และ Knowledge และต้องการเพิ่มจำนวนคนมาให้สอดคล้องกับความต้องการ (=วิชาเศรษฐศาสตร์สังคม) โลกก็เริ่มหันหลัง Integrated Knowledge เป็น Silo Based และเน้นไปที่ความลึกของแต่ละด้าน ที่ยิ่งลึกลงไปมาก ๆ ยิ่งทำให้ความเชื่อมโญงกับศาสตร์ที่เกื้อหนุนกันนั้นพังทลายลงไป และนี่เป็นจุดเริ่มต้น ที่การศึกษาเชิง Academic ทำให้ทักษะที่เดิมมนุษย์เคยมีผ่านการเรียนรู้พหุสาขาวิชา และพหุทักษะจบสิ้นลง เป็นการมุ่งเน้น Hard Skills ในด้านหนึ่ง ๆ และนักศึกษาของโลกก็จาด Soft Skills แต่นั้นมา ซ้ำร้ายไปกว่านั้น คือ Soft skills นั้น แทบจะไม่พบในวิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน หรือหากมี กลับกลายเป็นการ Lecture ซึ่งไม่อาจสร้าง Sogt Skills ให้เกิดขึ้นได้ และแน่นอน มีผลกระทบอย่างยิ่งกับ Entreprenuerial Skills ซึ่งต้องอาศัยทักษะร่วมกันระหว่าง Hard และ Soft Skills ซึ่งเห็นชัดเจนจากผลิตผลของนักศึกษา (จากประสบการณ์ของผู้เขียนในรอบ 2015-2019 ในหลากหลายสาขาวิชากว่า 30 สาจาวิชาใน 20 กว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย)
ในระบบการศึกษา และการบวนการ LT (คำย่อของ Learning and Teaching Methodology) ในปัจจุบัน มีความแข็งแรงอย่างยิ่งยวดใน กลุ่ม (B) และ (G) คำว่ายิ่งยวด คือ ได้แนกขาดจากกัน และไม่ได้ผลิตนักศึกษาที่เชื่อมโยงศาสตร์ของวิชาหลักตามหลักสูตรให้ผสมผสานใช้กับศาสตร์ตวามรู้อื่น ๆ ได้ และที่ร้ายไปกว่านั้น คือ ยังขาด (A) โดยสิ้นเชิง เช่น การปรับหลักสูตรในรอบสิบปีที่ผ่านมาที่ทำให้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนต่างคณะน้อยลง อันเกิดมาจากการลดจำนวนหน่วยกิต แทนที่จะลด "วิชาเกิน" ที่ไม่จำเป็นออกไป และระบบ "บ้าเกรด" "บ้าเกียรตินิยม" ของลัทธิการศึกษาของไทย ที่ทำให้ "การท่องจำ เพื่อสอบ" เป็นสรณะ มากกว่า "การเรียนเพื่อรู้และใช้งานความรู้"
ในปัจจุบันมีความพยายามจะนำ "วิธี" จากระบบการศึกษาเอเลี่ยน ที่เป็นเทรนของโลก มาผสมใช้ในรูปแบบของกิจกรรมประกอบการเรียน ทว่า ในเนื้อหาวิชาหลักหาได้มี กระบวนการ LTT; Learning and Teaching Transforamation เกิดขี้น ผู้สอนยังคงสอนแบบเดิม และวัดผลแบบเดิม ภายใต้ "หน้ากาก" หลักสูตรใหม่
(คลิกที่นี่ เพื่อบทความที่เกี่ยวข้องกับ Education Transformation และ กระบวนการ LTT)
(คลิกที่นี่ เพื่อ Slide ประกอบ DT2ET v1.7)
(คลิกที่นี่ เพื่อ Clip ในการอธิบายเรื่อง LTT)
Entreprenurial Skills (หรือทักษะแห่งการประกอบการ) คืออะไร ในทัศนะของผู้เขียน
ผู้เขียนถูกสอนจากอาจารย์ท่านหนึ่งว่า วิธีป้องกันตัวในที่สาธารณะ และในโลกวิชาการบ้างครั้ง ให้ใช้คำว่า "ทัศนะของผู้เขียน" (In my opinion) และให้กำหนดนิยาม scope and limitation เสมอในการอธิบายเรื่องใด ๆ ซึ่งอาจจะถูกพิจารณาได้ว่าเป็น Soft skills หนึ่งในการแสดงความเห้ฯในที่สาธารณะ และผู้เขียนบทความก็ส่งมอบประสบการณ์และวิธีนี้ผ่านนักศึกษาที่ผู้เขียนมีโอกาสพบเจอเช่นกัน เพราะว่า Soft skills นั้น เกิดจากประสบการณ์ การลงมือทำ การฝึกฝน สำหรับผู้เขียนเองแล้ว Soft skills แนะนำได้ แต่ไม่สามารถ "สอน" ได้ เพราะว่าการได้มาซึ่ง Soft skills นั้น ต้องเกิดจากการ "ทำซ้ำ" หรือ "มีประสบการณ์" เท่านั้น เวลาที่จะต้องเขียน มคอ. ซึ่งเป็นเอกสารบังคับของการศึกษาไทย (ณ ปี 2019) ก็แปลกใจที่ ในแบบ มคอ. นั้น ให้ผู้สอนระบุว่า จะมีวิธีการสอนให้เกิดทักษะอย่างไร เช่น ในหัวข้อทักษะทางปัญญา และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (แค่เกริ่นก็นอกเรื่องไปเสียมากแล้วครับ)
ผู้เขียนถูกสอนจากอาจารย์ท่านหนึ่งว่า วิธีป้องกันตัวในที่สาธารณะ และในโลกวิชาการบ้างครั้ง ให้ใช้คำว่า "ทัศนะของผู้เขียน" (In my opinion) และให้กำหนดนิยาม scope and limitation เสมอในการอธิบายเรื่องใด ๆ ซึ่งอาจจะถูกพิจารณาได้ว่าเป็น Soft skills หนึ่งในการแสดงความเห้ฯในที่สาธารณะ และผู้เขียนบทความก็ส่งมอบประสบการณ์และวิธีนี้ผ่านนักศึกษาที่ผู้เขียนมีโอกาสพบเจอเช่นกัน เพราะว่า Soft skills นั้น เกิดจากประสบการณ์ การลงมือทำ การฝึกฝน สำหรับผู้เขียนเองแล้ว Soft skills แนะนำได้ แต่ไม่สามารถ "สอน" ได้ เพราะว่าการได้มาซึ่ง Soft skills นั้น ต้องเกิดจากการ "ทำซ้ำ" หรือ "มีประสบการณ์" เท่านั้น เวลาที่จะต้องเขียน มคอ. ซึ่งเป็นเอกสารบังคับของการศึกษาไทย (ณ ปี 2019) ก็แปลกใจที่ ในแบบ มคอ. นั้น ให้ผู้สอนระบุว่า จะมีวิธีการสอนให้เกิดทักษะอย่างไร เช่น ในหัวข้อทักษะทางปัญญา และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (แค่เกริ่นก็นอกเรื่องไปเสียมากแล้วครับ)
Entreprenuerial Skills ในทัศนะของผู้เขียนมีลักษณะและนิยามดังต่อไปนี้
ความหมายโดยกว้าง Entreprenuerial Skills คือ ทักษะแห่งการประกอบการ โดยแยกเป็น 2 ตวามหมาย คือ ทักษะซึ่งในที่นี้หมายถึง ทั้ง Hard Skills = Knowledge ในสาขาใด ๆ ก็ตามที่เอื้อต่อการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะเป็นทักษะที่เกิดมากับตัว, เกิดเพราะการสังเกตุสิ่งรอบข้าง หรือ เกิดเพราะการเรียนรู้้ตามช่องทางและกระบวนการต่าง ๆ และ Soft Skills คือ ทักษะเฉพาะบุคคล ในการอำนวยให้เกิดวามสามารถในการแก้ปัญหาจาทั้งตัวเอง และโดยความสัมพันธ์ในด้านใด ๆ กับบุคคลหรือองค์กรอื่น ที่เชื่อมโยงมาให้เกิดการแก้ปัญหา และ การประกอบการ คือ "งาน" "โจทย์" ใด ๆ ที่จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างใด ๆ ทั้งต่อระดับตัวเจ้าของปัญหาเอง ต่อสังคม และต่อองค์กร
ความหมายอย่างแคบนั้น ให้เติม "ธุรกิจ" ลงไปประกอบ
ความหมายโดยกว้าง Entreprenuerial Skills คือ ทักษะแห่งการประกอบการ โดยแยกเป็น 2 ตวามหมาย คือ ทักษะซึ่งในที่นี้หมายถึง ทั้ง Hard Skills = Knowledge ในสาขาใด ๆ ก็ตามที่เอื้อต่อการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะเป็นทักษะที่เกิดมากับตัว, เกิดเพราะการสังเกตุสิ่งรอบข้าง หรือ เกิดเพราะการเรียนรู้้ตามช่องทางและกระบวนการต่าง ๆ และ Soft Skills คือ ทักษะเฉพาะบุคคล ในการอำนวยให้เกิดวามสามารถในการแก้ปัญหาจาทั้งตัวเอง และโดยความสัมพันธ์ในด้านใด ๆ กับบุคคลหรือองค์กรอื่น ที่เชื่อมโยงมาให้เกิดการแก้ปัญหา และ การประกอบการ คือ "งาน" "โจทย์" ใด ๆ ที่จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างใด ๆ ทั้งต่อระดับตัวเจ้าของปัญหาเอง ต่อสังคม และต่อองค์กร
ความหมายอย่างแคบนั้น ให้เติม "ธุรกิจ" ลงไปประกอบ
Soft Skills Set สำหรับการเป็นผู้ประกอบการ
Soft skills คำนี้เพิ่งเกิดมีในราวปี ค.ศ.1972 ใน CONARC Soft Skills Conference ซึ่งจำกัดกลุ่มของทักษะนี้ไว้ 4 ด้านได้แก่ การสั่งการ, การควบคุมกำกับดูแล, การให้คำแนะนำปรึกษา และภาวะผู้นำ โดยจุดกำเนิดเกิดขึ้นความต้องการทักษะในการควบคุมกำลังพลในกองทัพ (อ้างอิงตาม Wikipeida)
ในภายหลัง Soft Skills ก็ถูกเพิ่มพูนนิยามแบ่งสรรจัดประเภทออกเป็นหลายกลุ่มตามแต่ว่าครจะเป็นคนนิยาม เช่นมีการเสนอว่า Soft skills จะจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ People Skills, Social Skills และ Personal Careen Attribute หรือ บางสายวิชาการ แบ่งออกเป็นถึง 9 ทักษะ ได้แก่ social graces, communication abilities, language skills, personal habits, cognitive or emotional empathy, time management, teamwork and leadership traits แต่ท้ายสุด concepts ที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนบทความเห็นด้วย คือ Soft Skills = Human Intelligence (ซึ่งหากผู้เขียนจะแปล จะแปลว่าความฉลาดในฐานะมนุษย์) และความหมายที่ชอบมากของ Hard Skills คือ Quantitative Intellegence (ความฉลาดในหลักวิชาที่สามารถวัดผลได้)
งานวิจัยของ Harvard University บอกไว้ว่าความสำเร็จด้านอาชีพเกิดจาก Soft Skills ถึง 80% ส่วน Hard Skills นั้นมีน้ำหนักเพียง 20% สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ น้ำหนักของเวลาตลอดระยะเวาการศึกษาของเด็กไทย หากนับตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา จนถึงอุดมศึกษา ราว 16 ปีนั้น ไม่ได้ให้น้ำหนักในการส่งเสริมให้เกิด Soft Skills เลย และแนวโน้มก็เป็นเช่นี้ทั่วโลก จนงานวิจัยที่เผยแพร่ต่อสาธารณะของ McDonald ในสหราชอาณาจักร (Link) กล่าวว่าจะมีปัญหาการขาด soft skills นี้อย่างกว้างขวางในปี 2020 (ซึ่งก็คือ ปีหน้าแล้วนับจากวันนี้; 2019 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นจริงเสียด้วย)
Entreprenuerial Skills กับ Soft Skills สัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบได้อย่างสั้นๆ ห้วน ๆ ว่า Soft Skills Set เป็นส่วนใหญ่ของ Entrprenuerial Skills ทว่ามิสามารถที่จะระบุให้ชัดเจนได้ว่า เป็นสัดส่วนเท่าไหร่เมื่อเทียบกับ Hard Skills ทั้งนี้ขั้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ รูปแบบของกิจการหรือธุรกิจ, ปัญหาอยู่ในขั้นตอนใดในกระบวนการทางธุรกิจ, ขนาด และเป้าประสงค์ของธุรกิจเป็นสำคัญ และ ในปัจจุบัน 21st Century Entreprenuership จะต้องมี ส่วนของ Hard Skills ที่เกี่ยวข้องทั้งใน Art and Science ประกอบกัน ส่วนการเรียงลำดับ หรือให้น้ำหนักในส่วนผสมของ skills นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ
Soft skills คำนี้เพิ่งเกิดมีในราวปี ค.ศ.1972 ใน CONARC Soft Skills Conference ซึ่งจำกัดกลุ่มของทักษะนี้ไว้ 4 ด้านได้แก่ การสั่งการ, การควบคุมกำกับดูแล, การให้คำแนะนำปรึกษา และภาวะผู้นำ โดยจุดกำเนิดเกิดขึ้นความต้องการทักษะในการควบคุมกำลังพลในกองทัพ (อ้างอิงตาม Wikipeida)
ในภายหลัง Soft Skills ก็ถูกเพิ่มพูนนิยามแบ่งสรรจัดประเภทออกเป็นหลายกลุ่มตามแต่ว่าครจะเป็นคนนิยาม เช่นมีการเสนอว่า Soft skills จะจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ People Skills, Social Skills และ Personal Careen Attribute หรือ บางสายวิชาการ แบ่งออกเป็นถึง 9 ทักษะ ได้แก่ social graces, communication abilities, language skills, personal habits, cognitive or emotional empathy, time management, teamwork and leadership traits แต่ท้ายสุด concepts ที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนบทความเห็นด้วย คือ Soft Skills = Human Intelligence (ซึ่งหากผู้เขียนจะแปล จะแปลว่าความฉลาดในฐานะมนุษย์) และความหมายที่ชอบมากของ Hard Skills คือ Quantitative Intellegence (ความฉลาดในหลักวิชาที่สามารถวัดผลได้)
งานวิจัยของ Harvard University บอกไว้ว่าความสำเร็จด้านอาชีพเกิดจาก Soft Skills ถึง 80% ส่วน Hard Skills นั้นมีน้ำหนักเพียง 20% สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ น้ำหนักของเวลาตลอดระยะเวาการศึกษาของเด็กไทย หากนับตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา จนถึงอุดมศึกษา ราว 16 ปีนั้น ไม่ได้ให้น้ำหนักในการส่งเสริมให้เกิด Soft Skills เลย และแนวโน้มก็เป็นเช่นี้ทั่วโลก จนงานวิจัยที่เผยแพร่ต่อสาธารณะของ McDonald ในสหราชอาณาจักร (Link) กล่าวว่าจะมีปัญหาการขาด soft skills นี้อย่างกว้างขวางในปี 2020 (ซึ่งก็คือ ปีหน้าแล้วนับจากวันนี้; 2019 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นจริงเสียด้วย)
Entreprenuerial Skills กับ Soft Skills สัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบได้อย่างสั้นๆ ห้วน ๆ ว่า Soft Skills Set เป็นส่วนใหญ่ของ Entrprenuerial Skills ทว่ามิสามารถที่จะระบุให้ชัดเจนได้ว่า เป็นสัดส่วนเท่าไหร่เมื่อเทียบกับ Hard Skills ทั้งนี้ขั้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ รูปแบบของกิจการหรือธุรกิจ, ปัญหาอยู่ในขั้นตอนใดในกระบวนการทางธุรกิจ, ขนาด และเป้าประสงค์ของธุรกิจเป็นสำคัญ และ ในปัจจุบัน 21st Century Entreprenuership จะต้องมี ส่วนของ Hard Skills ที่เกี่ยวข้องทั้งใน Art and Science ประกอบกัน ส่วนการเรียงลำดับ หรือให้น้ำหนักในส่วนผสมของ skills นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ
Entreprenuerial Skills 3 ประเภท
(เฉพาะการแยกประเภทในบริทบนี้เท่านั้น และประโยชน์เพื่อนการเสนอแนวคิดแก่ภาคการศึกษาในการผลิตนักศึกษาที่มีทักษะแห่งการประกอบการเป็นสำคัญ)
พื้นฐานของ Entreprenuerial Skills จะต้องมี Soft skills set เป็นส่วนประกอบเสมอด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น ความจำเป้นด้านสังคม ในกลุ่มของปัญหาที่ได้รับผลกระทบในคนหมู่มาก และหรือมีข้อจำกัดด้านทรัพยากร, Hard skills และความเชี่ยวชาญเฉพาะ ที่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลเล็ก ๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ (สิ่งเหล่านี้คือ พื้นฐานในวิชาสังคมวิทยา และเศรษฐศาสตร์)
ในประสบการณ์ชีวิตของผู้เขียน ได้เห็นผู้ประกอบการในหลายลักษณะ แต่เมื่อจะต้องจัดประเภท อาจจะจัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาของบทความนี้ ได้ 3 กลุ่มประเภท ทั้งนี้ การยกตัวอย่างจะสร้างความชัดเจนในคำอธิบายได้มากกว่า การพยายามอธิบายเพื่อให้เกิดความความเข้าใจ
ผู้เขียนแยกประเภทจาก ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจฉบับประสบการณ์ส่วนตัว หากผู้อ่านที่ร่วมสมัยกัน ย้อนภาพกลับไป แล้วประกอบกับปัจจัยแวดล้อมๆ ต่าง ๆ อาจจะทำให้เข้าใจการแบ่งประเภทเช่นนี้มากขึ้น
(เฉพาะการแยกประเภทในบริทบนี้เท่านั้น และประโยชน์เพื่อนการเสนอแนวคิดแก่ภาคการศึกษาในการผลิตนักศึกษาที่มีทักษะแห่งการประกอบการเป็นสำคัญ)
พื้นฐานของ Entreprenuerial Skills จะต้องมี Soft skills set เป็นส่วนประกอบเสมอด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น ความจำเป้นด้านสังคม ในกลุ่มของปัญหาที่ได้รับผลกระทบในคนหมู่มาก และหรือมีข้อจำกัดด้านทรัพยากร, Hard skills และความเชี่ยวชาญเฉพาะ ที่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลเล็ก ๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ (สิ่งเหล่านี้คือ พื้นฐานในวิชาสังคมวิทยา และเศรษฐศาสตร์)
ในประสบการณ์ชีวิตของผู้เขียน ได้เห็นผู้ประกอบการในหลายลักษณะ แต่เมื่อจะต้องจัดประเภท อาจจะจัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาของบทความนี้ ได้ 3 กลุ่มประเภท ทั้งนี้ การยกตัวอย่างจะสร้างความชัดเจนในคำอธิบายได้มากกว่า การพยายามอธิบายเพื่อให้เกิดความความเข้าใจ
ผู้เขียนแยกประเภทจาก ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจฉบับประสบการณ์ส่วนตัว หากผู้อ่านที่ร่วมสมัยกัน ย้อนภาพกลับไป แล้วประกอบกับปัจจัยแวดล้อมๆ ต่าง ๆ อาจจะทำให้เข้าใจการแบ่งประเภทเช่นนี้มากขึ้น
Entreprenuerial Skills ในกลุ่ม D สายทักษะการประกอบการที่พัฒนา หรือสร้างจากความรู้ในสายวิชาชีพ
ในกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่กำลังมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ ซึ่งเราพบเห็นในภาคการศึกษา และและภาคเอกชนมากขั้น โดยความพยายามในการเพิ่มทักษะ Soft skills ผ่านการอบรม, การทำ Workshop, การสร้าง Business Unit ใหม่ หรือ การเพิ่มเติมของหลักสูตร ผ่านกิจกรรมเช่น การสร้างกลุ่มนวตกรรมในองค์กร, การใช้หลักคิดของ Start up และกรรมวิธี และเครื่องมือตามสมัยต่าง ๆ เช่น BMC, Design Thinking เพื่อทานกระแส Disruptive
จุดเด่นหลักที่บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือ ภาคการศึกษาในวิชาสกุลนี้ มีคือ "ความเข้าใจเชิงเทคนิค" ที่สามารถต่อยอดไปสู่การประกอบการใหม่ ๆ ได้ เช่น บริษัทแนว Tech Startup, Innovation Hub เป็นต้น ที่น่าเสียดายก็คือ ไม่ค้นพบว่าสถาบันการศึกษาจะสร้างผู้ประกอบการแนวนี้ได้ หรือ โครงการหลักของประเทศ เช่น Thailand Start up จะประสบผลสำเร็จ (ทั้งนี้ไม่รวมการตีความจากภาคการศึกษาให้เป็นการแข่งขันเพื่อชื่อเสียง และยังไม่มี Eco-System ที่ห่วงโซ่อุปทานด้านนี้เกิดขึ้นเลย) ส่วนในภาคธุรกิจนั้นพบปัญหานี้แต่ทว่าน้อย ปัญหาคือ ไม่มี Innovation Idea จริง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรต่างหาก เพราะว่า คนไม่มีพื้นฐานของ Entreprenuerial Skills นั่นเอง
จุดอ่อนของการมีทักษะที่เน้น Hard Skills ด้านนี้มากเกินไป คือ การขาดความเข้าใจเรื่องการทำตลาด หรือการทำงานนวตกรรม (งานวิจัย) ในเชิงที่สามารถไปสู่โลกธุรกิจได้ (Commercialization) เราจะพบว่าผู้ประกอบในกลุ่มนี้ในโลกธุรกิจ มีความแข็งแกร่งด้านกระบวนการ R&D ทว่า มักขาดด้านของวิธีการตำตลาด และการบริหารจัดการที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ ในมหาวิทยาลัยจะคนพบงานวิจัยที่ดี แต่ไม่สามารถ scale up ได้ ไม่สามารถนำออกสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตในเชิง Mass Production ได้ ในโลกของ Start up แบบไทย ๆ คือ การเอาเวลาไปพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความบสมบูรณ์ จนอาจจะเกินความต้องการ หรือขีดความสามารถในการซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในราคาตลาดที่เหมาะสมได้
แนวทางของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการหรือกิจการในลักษณะนี้
ในกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่กำลังมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ ซึ่งเราพบเห็นในภาคการศึกษา และและภาคเอกชนมากขั้น โดยความพยายามในการเพิ่มทักษะ Soft skills ผ่านการอบรม, การทำ Workshop, การสร้าง Business Unit ใหม่ หรือ การเพิ่มเติมของหลักสูตร ผ่านกิจกรรมเช่น การสร้างกลุ่มนวตกรรมในองค์กร, การใช้หลักคิดของ Start up และกรรมวิธี และเครื่องมือตามสมัยต่าง ๆ เช่น BMC, Design Thinking เพื่อทานกระแส Disruptive
จุดเด่นหลักที่บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือ ภาคการศึกษาในวิชาสกุลนี้ มีคือ "ความเข้าใจเชิงเทคนิค" ที่สามารถต่อยอดไปสู่การประกอบการใหม่ ๆ ได้ เช่น บริษัทแนว Tech Startup, Innovation Hub เป็นต้น ที่น่าเสียดายก็คือ ไม่ค้นพบว่าสถาบันการศึกษาจะสร้างผู้ประกอบการแนวนี้ได้ หรือ โครงการหลักของประเทศ เช่น Thailand Start up จะประสบผลสำเร็จ (ทั้งนี้ไม่รวมการตีความจากภาคการศึกษาให้เป็นการแข่งขันเพื่อชื่อเสียง และยังไม่มี Eco-System ที่ห่วงโซ่อุปทานด้านนี้เกิดขึ้นเลย) ส่วนในภาคธุรกิจนั้นพบปัญหานี้แต่ทว่าน้อย ปัญหาคือ ไม่มี Innovation Idea จริง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรต่างหาก เพราะว่า คนไม่มีพื้นฐานของ Entreprenuerial Skills นั่นเอง
จุดอ่อนของการมีทักษะที่เน้น Hard Skills ด้านนี้มากเกินไป คือ การขาดความเข้าใจเรื่องการทำตลาด หรือการทำงานนวตกรรม (งานวิจัย) ในเชิงที่สามารถไปสู่โลกธุรกิจได้ (Commercialization) เราจะพบว่าผู้ประกอบในกลุ่มนี้ในโลกธุรกิจ มีความแข็งแกร่งด้านกระบวนการ R&D ทว่า มักขาดด้านของวิธีการตำตลาด และการบริหารจัดการที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ ในมหาวิทยาลัยจะคนพบงานวิจัยที่ดี แต่ไม่สามารถ scale up ได้ ไม่สามารถนำออกสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตในเชิง Mass Production ได้ ในโลกของ Start up แบบไทย ๆ คือ การเอาเวลาไปพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความบสมบูรณ์ จนอาจจะเกินความต้องการ หรือขีดความสามารถในการซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในราคาตลาดที่เหมาะสมได้
แนวทางของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการหรือกิจการในลักษณะนี้
- เติมสิ่งที่ขาด ซึ่งหมายถึง การนำเอาศาสตร์อื่นๆ รวมไปถึง Soft skills ที่พร่องไปมา Integrated รวมกัน
- ไม่จำเป็นจำต้องเรียนรู้หรือพัฒนาทักษะที่ขาดไปทั้งหมด การมีภาคี หรือสามารถ engage stakeholder ที่มาเติมภาพจิ๊กซอว์ได้น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับสมการนี้
- พัฒนาจุดแข็งของตนเอง เพื่อสร้างความแตกต่าง และนำเอา Hard Skills อื่น ๆ มาผสมผสานเพื่อสร้าง Innovation เช่น การนำเอาวัสดุศาสตร์ และเคมี + ความสามารถทางกลศาสตร์ สร้างผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาก Combination ใหม่ ๆ
- เพิ่มมุมมองของ Innvation ให้กว้างขวางออกไป ไม่จำกัดอยู่ที่ Product เท่านั้น แต่อาจจะหมายถึง กระบวนการใหม่, วิธีการใหม่
Entreprenuerial Skills ในกลุ่ม E สายทักษะการประกอบการที่เกิดจากการเรียนรู้นอกสายวิชาการ หรือสถาบันการศึกษา, การเกิดมีทักษะโดยกำเนิด (พรสวรรค์), การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ประจักษ์, การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม
ทักษะแห่งการประกอบการนี้ออกจะ "นอกรีต" จากสายวิชาการ หรืออาจจะเป็นสิ่งที่สายวิชาการไม่ใคร่ยอมรับได้ ทักษะแห่งผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ เช่น เป็นทักษะที่เกิดมี หรือที่เรียกว่า "พรสวรรค์" เป็นประเภทแรก หรือ เป็นทักษะการประกอบการที่เรียนรู้จาก "สิ่งแวดล้อม" "จากรุ่นสู่รุ่น" "จากการสังเกตุและเรียนรู้ด้วยตนเอง" ซึ่งผู้มีทักษะแห่งการประกอบการโดยธรรมชาตินี้ มักจะต้องมี Soft Skills ที่จำเป็นหลายด้าน เรามักจะพบผุ้ประกอบการที่มีทักษะในลักษณะนี้ได้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ระดับการประกอบการเล็ก ๆ น้อย ๆ จนกระทั่งถึงขนาดเล็กทั่ว ๆ ไป ที่น่าสนใจคือ ตั้งแต่เรามีระบบการศึกษาที่แข็งแรงแต่ไม่ปรับเปลี่ยนตัว เยาวชนของเราถูกสอนในระบบที่หัวเป็นสี่เหลี่ยมมากไป ใช่แล้วครับในรอบ 10-20 ปีนี้ เราจะพบว่าเยาวชนในเขตสังคมเมืองมีจำนวนผู้ประกอบการในลักษณะนี้น้อยลง หากมีมักจะเป็นทายาทในรุ่น Gen X ตอนปลาย และ Gen Y ตอนต้น ที่เติบโตมาวนกลุ่มของธุรกิจครวบครัวขนาดเล็ก ถึงขนาดกลางเป็นต้น
จุดเด่นหลักของทักษะการประกอบการในลักษณะนี้ คือ Adaptability และ Flixibility ซึ่งหมายถึง ทักษะในการปรับเปลี่ยน และ ความยืดหยุ่นในกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผู้เขียนเห็นว่าเป็นทักษะของ Generation BB และ X ตอนต้น หากย้อนไปในสภาพของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีทมี่มีข้อจำกัดในสมัยราว 40-60 ปีก่อน ในสมัยที่เราเกิดมีธุรกิจเล็ก ๆ กระจายไปในย่านการค้าในหัวเมืองต่าง ๆ และในเมืองหลวง ก่อนที่เราจะมาจัดประเภทธุรกิจแบบนี้ด้วยระบบ Micro และ SME ด้วยความสามารถนี้ ทำให้เกิดการประกอบการโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้ "ความรู้" แบบในระบบ academic มากก็สามารถทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนประเทศได้ ทว่าเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเช่นกัน
ข้อด้อยของผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ คือ เมื่อมี "กฎเกณฑ์" "มาตรฐาน" หรือ "นวตกรรม" เข้ามากระทบ การขาดแคลน Academic Knowlgde หรือ เมื่อเห็นข้อบังคับในรูปแบบของ Academic ก็ทำให้ผู้ประกอบการลักษณะนี้ ไม่ปรับตัว เนื่องจากติดลักษณะบางประการเช่น ความไม่ต้องการเข้าระบบ, ความกลัวระบบ, ความรู้สึกว่านยุ่งยาก หรือ หากจะปรับเปลี่ยนจะต้องใช้ทุนสูง หรือ ขาดผู้สืบทอด โดยจะเห็นได้ว่า ธุรกิจในยุค 70-90 เริ่มทยอยปิดตัวไปสำหรับกิจการที่ไม่ปรับตัว เช่น ร้านโชว์ห่วย หรือ กิจการที่ไม่มีจุดแข็งในการประกอบการ ก็พากันปิดตัวลง หรือ กิจการที่คนรุ่นก่อนสร้างไว้ และคนรุ่นใหม่ที่ถูกเลี้ยงมาด้วยสภาพความสบาย เห็นว่าลำบากและได้ return น้อย โดยเราจะเห็นจากการที่ย่านการค้าเดิมมีกิจการที่ทยอยปิดตัวไปจนเงียบเหงา หรือถูกความท้าทายด้วยกิจการใหม่ ในรูปแบบของ D และ F ที่เป็นสิ่งใหม่สำหรับคนกลุ่ม E นี้ เช่น การเกิดขึ้นของ Mega store เป็นต้น
ทักษะแห่งการประกอบการนี้ออกจะ "นอกรีต" จากสายวิชาการ หรืออาจจะเป็นสิ่งที่สายวิชาการไม่ใคร่ยอมรับได้ ทักษะแห่งผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ เช่น เป็นทักษะที่เกิดมี หรือที่เรียกว่า "พรสวรรค์" เป็นประเภทแรก หรือ เป็นทักษะการประกอบการที่เรียนรู้จาก "สิ่งแวดล้อม" "จากรุ่นสู่รุ่น" "จากการสังเกตุและเรียนรู้ด้วยตนเอง" ซึ่งผู้มีทักษะแห่งการประกอบการโดยธรรมชาตินี้ มักจะต้องมี Soft Skills ที่จำเป็นหลายด้าน เรามักจะพบผุ้ประกอบการที่มีทักษะในลักษณะนี้ได้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ระดับการประกอบการเล็ก ๆ น้อย ๆ จนกระทั่งถึงขนาดเล็กทั่ว ๆ ไป ที่น่าสนใจคือ ตั้งแต่เรามีระบบการศึกษาที่แข็งแรงแต่ไม่ปรับเปลี่ยนตัว เยาวชนของเราถูกสอนในระบบที่หัวเป็นสี่เหลี่ยมมากไป ใช่แล้วครับในรอบ 10-20 ปีนี้ เราจะพบว่าเยาวชนในเขตสังคมเมืองมีจำนวนผู้ประกอบการในลักษณะนี้น้อยลง หากมีมักจะเป็นทายาทในรุ่น Gen X ตอนปลาย และ Gen Y ตอนต้น ที่เติบโตมาวนกลุ่มของธุรกิจครวบครัวขนาดเล็ก ถึงขนาดกลางเป็นต้น
จุดเด่นหลักของทักษะการประกอบการในลักษณะนี้ คือ Adaptability และ Flixibility ซึ่งหมายถึง ทักษะในการปรับเปลี่ยน และ ความยืดหยุ่นในกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผู้เขียนเห็นว่าเป็นทักษะของ Generation BB และ X ตอนต้น หากย้อนไปในสภาพของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีทมี่มีข้อจำกัดในสมัยราว 40-60 ปีก่อน ในสมัยที่เราเกิดมีธุรกิจเล็ก ๆ กระจายไปในย่านการค้าในหัวเมืองต่าง ๆ และในเมืองหลวง ก่อนที่เราจะมาจัดประเภทธุรกิจแบบนี้ด้วยระบบ Micro และ SME ด้วยความสามารถนี้ ทำให้เกิดการประกอบการโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้ "ความรู้" แบบในระบบ academic มากก็สามารถทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนประเทศได้ ทว่าเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเช่นกัน
ข้อด้อยของผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ คือ เมื่อมี "กฎเกณฑ์" "มาตรฐาน" หรือ "นวตกรรม" เข้ามากระทบ การขาดแคลน Academic Knowlgde หรือ เมื่อเห็นข้อบังคับในรูปแบบของ Academic ก็ทำให้ผู้ประกอบการลักษณะนี้ ไม่ปรับตัว เนื่องจากติดลักษณะบางประการเช่น ความไม่ต้องการเข้าระบบ, ความกลัวระบบ, ความรู้สึกว่านยุ่งยาก หรือ หากจะปรับเปลี่ยนจะต้องใช้ทุนสูง หรือ ขาดผู้สืบทอด โดยจะเห็นได้ว่า ธุรกิจในยุค 70-90 เริ่มทยอยปิดตัวไปสำหรับกิจการที่ไม่ปรับตัว เช่น ร้านโชว์ห่วย หรือ กิจการที่ไม่มีจุดแข็งในการประกอบการ ก็พากันปิดตัวลง หรือ กิจการที่คนรุ่นก่อนสร้างไว้ และคนรุ่นใหม่ที่ถูกเลี้ยงมาด้วยสภาพความสบาย เห็นว่าลำบากและได้ return น้อย โดยเราจะเห็นจากการที่ย่านการค้าเดิมมีกิจการที่ทยอยปิดตัวไปจนเงียบเหงา หรือถูกความท้าทายด้วยกิจการใหม่ ในรูปแบบของ D และ F ที่เป็นสิ่งใหม่สำหรับคนกลุ่ม E นี้ เช่น การเกิดขึ้นของ Mega store เป็นต้น
Entreprenuerial Skills ในสาย F เป็นกลุ่มที่ผู้เขียนเห็นว่า "ควรมีมากที่สุด" และ "มีความจำเป็นเร่งด่วน" ที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้นในประเทศไทย นั่นคือ ทักษะการประกอบการที่มีส่วนผสมของ Soft Skills Set + Entreprenuerial skills ประเภท D และ E หรือกล่าวคือ ผู้ประกอบการที่มีทักษะผสมผสาน และสามารถเลือกปรับใช้ ให้น้ำหนักในแต่ละสถานการณ์ได้ (โปรดดูรูปประกอบด้านบน)
เหตุใด Entreprenuerial Skills สาย F จึงมีความจำเป็น (ผู้เขียนหมายถึง จำเป็นในช่วง Transitional Period ในยุค Dsiruptive นี้) เหตุแห่งความจำเป็น เนื่องจากสังคมของประเทศไทยในรอบ 20-30 ปีที่ผ่านมา ไม่ Compromise ในบางมิติ (ผู้เขียนหลีกเลี่ยงที่จำใช้คำว่า Balance ที่อาจจะแปลได้ว่า ดลุยภาพ และคนส่วนมากจำกัดตำแปลว่า "สมดุล" เนื่องจากไม่มีสิ่งใดดุลย์ได้ในมิติลักษณะนี้) กล่าวคือ สังคมไทยพอมีค่านิยมใด ๆ ก็มักจะไปสุดทาง ก่อนที่จะได้เรียนรู้ "วิบากกรรม" แห่งการไม่ประนีประนอมระหว่างค่านิยม เช่น ในกลาง Gen X เป็นต้นมา เมื่อความมั่งคั่งของ Baby Boomer มีมากขึ้น และการเกิดมีของมหาวิทยาลัยที่คนทั่วไปจับต้องได้ เข้าศึกษาได้ ทำให้ เกิดเป็นสังคมของคนชั้นกลาง ซึ่งมีรากฐานมาจาก Entreprenuerial Skills Type E เราจะพบปรากฎการณ์ของสังคม ในยุค 20-30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดระบบบริษัทในรูปแบบการดำเนินการแบบ Corporate และ Enterpreise แบบตะวันตกมากขึ้น คนที่ได้รับการศึกษาได้หันตัวเข้าสู่ระบบการเป็น "ลูกจ้างมืออาชีพ" ซึ่งจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่กิจการใน Tpye F บางส่วนปิดตัวลง
เมื่อมีผู้สำเร็จการศึกษาในระบบมากขึ้น ก็เกิดเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่าง E --> D และ E --> F ผสมกันไป จงบตนถึงปัจจุบันที่ Type E มีสัดส่วนน้อยลงอย่างน่าใจหาย ส่วนใน E ก็แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 3 ประเภท คือ กลุมแรก คือ
1) เกิดเป็นวิสากิจที่ปรับตัวจากพื้นฐานกิจการเดิม แต่ทันสมัยมากขึ้น
2) เกิดเป็นกลุ่มที่ทำงานในระบบบริษัท ในฐานะเป็นนักประกอบการ (2A) กับ ในฐานะลูกจ้างมืออาชีพ (2B) ; ในประเภท 2A ก็เกิดวิวิฒนาการ เป็นนักบริหารมืออาชีพ และผู้ที่เห็นโอกาสและออกมาตั้งกิจการของตนเอง หลังจากสะสม Know how และ ประสบการณ์จากองค์กรมากขึ้น และนำบางส่วนของระบบองค์กรติดไม่ติดมือมาด้วย เช่น รูปแบบการบริหาร, เทคโนโลยี ฯลฯ บ้างประสบความสำเร็จเพราะว่า ปรับเปลี่ยนตจามปัจจัยที่เปลี่ยนไป บ้างเอามาทั้งดุ้นและพบอุปสรรคมากมาย ทั้ง 1 และ 2A เกิดเป็น SUPER SME ในปัจจุบัน ส่วน 2B นั้น กลับกลายเป็นกลุ่มที่บริษัทรุ่นใหม่ ๆ อาจจะไม่ต้องการในยุค disruptive นี้
ข้อดี ของการประกอบการด้วยทักษะ Type F นี้ คือ การมีหลักยึดด้านวิชาการ (หากเลือกปรับใช้อย่างเหมาะสม);D + สัญชาตญานแห่งการประกอบการ; E ผสมหสานเข้าด้วยกัน และให้น้ำหนักในการเลือกนำมาใช้ เลือกนำมาเป็นแนวคิดหลักแตกต่างกันไปตามสถานการณ์
ข้อจำกัด คือ Entreprenuerial Type E นั้น สร้างไม่ได้จากระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบัน (หมายถึงโดยสภาพทั่วไป) ที่เจตจำนงค์ในการผลิตนักศึกษา คือ หลัก Logical ทว่า ในทางปฎิบัติกลับเป็นการจำเพื่อสอบ สอบเพื่อเกรด จำนวนนักศึกษากับผลลัพท์ที่จะทำให้เกิดขึ้นไม่มีสัดส่วนเหมาะสมกับชั้นเรียน แม้กระทั่งในการศึกษาระดับอุดมศึกษาก็ตาม อาจารย์ที่ส่วนมากก็เป็น type 2B และนี่คือโจทย์ใหญ่สำหรับการศึกษาไทย
เหตุใด Entreprenuerial Skills สาย F จึงมีความจำเป็น (ผู้เขียนหมายถึง จำเป็นในช่วง Transitional Period ในยุค Dsiruptive นี้) เหตุแห่งความจำเป็น เนื่องจากสังคมของประเทศไทยในรอบ 20-30 ปีที่ผ่านมา ไม่ Compromise ในบางมิติ (ผู้เขียนหลีกเลี่ยงที่จำใช้คำว่า Balance ที่อาจจะแปลได้ว่า ดลุยภาพ และคนส่วนมากจำกัดตำแปลว่า "สมดุล" เนื่องจากไม่มีสิ่งใดดุลย์ได้ในมิติลักษณะนี้) กล่าวคือ สังคมไทยพอมีค่านิยมใด ๆ ก็มักจะไปสุดทาง ก่อนที่จะได้เรียนรู้ "วิบากกรรม" แห่งการไม่ประนีประนอมระหว่างค่านิยม เช่น ในกลาง Gen X เป็นต้นมา เมื่อความมั่งคั่งของ Baby Boomer มีมากขึ้น และการเกิดมีของมหาวิทยาลัยที่คนทั่วไปจับต้องได้ เข้าศึกษาได้ ทำให้ เกิดเป็นสังคมของคนชั้นกลาง ซึ่งมีรากฐานมาจาก Entreprenuerial Skills Type E เราจะพบปรากฎการณ์ของสังคม ในยุค 20-30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดระบบบริษัทในรูปแบบการดำเนินการแบบ Corporate และ Enterpreise แบบตะวันตกมากขึ้น คนที่ได้รับการศึกษาได้หันตัวเข้าสู่ระบบการเป็น "ลูกจ้างมืออาชีพ" ซึ่งจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่กิจการใน Tpye F บางส่วนปิดตัวลง
เมื่อมีผู้สำเร็จการศึกษาในระบบมากขึ้น ก็เกิดเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่าง E --> D และ E --> F ผสมกันไป จงบตนถึงปัจจุบันที่ Type E มีสัดส่วนน้อยลงอย่างน่าใจหาย ส่วนใน E ก็แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 3 ประเภท คือ กลุมแรก คือ
1) เกิดเป็นวิสากิจที่ปรับตัวจากพื้นฐานกิจการเดิม แต่ทันสมัยมากขึ้น
2) เกิดเป็นกลุ่มที่ทำงานในระบบบริษัท ในฐานะเป็นนักประกอบการ (2A) กับ ในฐานะลูกจ้างมืออาชีพ (2B) ; ในประเภท 2A ก็เกิดวิวิฒนาการ เป็นนักบริหารมืออาชีพ และผู้ที่เห็นโอกาสและออกมาตั้งกิจการของตนเอง หลังจากสะสม Know how และ ประสบการณ์จากองค์กรมากขึ้น และนำบางส่วนของระบบองค์กรติดไม่ติดมือมาด้วย เช่น รูปแบบการบริหาร, เทคโนโลยี ฯลฯ บ้างประสบความสำเร็จเพราะว่า ปรับเปลี่ยนตจามปัจจัยที่เปลี่ยนไป บ้างเอามาทั้งดุ้นและพบอุปสรรคมากมาย ทั้ง 1 และ 2A เกิดเป็น SUPER SME ในปัจจุบัน ส่วน 2B นั้น กลับกลายเป็นกลุ่มที่บริษัทรุ่นใหม่ ๆ อาจจะไม่ต้องการในยุค disruptive นี้
ข้อดี ของการประกอบการด้วยทักษะ Type F นี้ คือ การมีหลักยึดด้านวิชาการ (หากเลือกปรับใช้อย่างเหมาะสม);D + สัญชาตญานแห่งการประกอบการ; E ผสมหสานเข้าด้วยกัน และให้น้ำหนักในการเลือกนำมาใช้ เลือกนำมาเป็นแนวคิดหลักแตกต่างกันไปตามสถานการณ์
ข้อจำกัด คือ Entreprenuerial Type E นั้น สร้างไม่ได้จากระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบัน (หมายถึงโดยสภาพทั่วไป) ที่เจตจำนงค์ในการผลิตนักศึกษา คือ หลัก Logical ทว่า ในทางปฎิบัติกลับเป็นการจำเพื่อสอบ สอบเพื่อเกรด จำนวนนักศึกษากับผลลัพท์ที่จะทำให้เกิดขึ้นไม่มีสัดส่วนเหมาะสมกับชั้นเรียน แม้กระทั่งในการศึกษาระดับอุดมศึกษาก็ตาม อาจารย์ที่ส่วนมากก็เป็น type 2B และนี่คือโจทย์ใหญ่สำหรับการศึกษาไทย
ผู้เขียนได้เสนอ ประเภทของผู้ประกอบการ โดยอาศัยการแยกประเภทจากทักษะ และเสนอเป็นความคิดเห็นส่วนตัวแก่ผู้อ่าน โดยใช้ประสบการณ์ที่ผู้เขียนพบเห็นจากสภาพรอบตัว ประกอบกับการอธิบายในมิติที่หลากลาย ซึ่งอาจจะไม่ตรงใจท่านผู้อ่าน (หากเป็นคำวปัจจุบัน ต้องบอกว่า ด่าได้แต่อย่างแรง) ในหัวข้อต่อไป จะเป็น EP3 ในส่วนของรายละเอียดทักษะแห่งการประกอบการที่พึงมี