ตอนที่ 4 Entreprenuerial Mindset กระบวนคิดในการประกอบการ การตีความใหม่เพื่อสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมไทย
หมายเหตุ: บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ เป็นบทความเพื่อการแบ่งปันมุมมองต่อปัญหาของประเทศไทยในวิธีการมองแบบหนึ่งเท่านั้น ใน EP 4 นี้จะว่าด้วย Entreprenuerial Mindset หรือกระบวนการคิดแบบผู้ประกอบการ
โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
Related Content:
EP 1 นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
EP 2 ประเภททักษะแห่งการประกอบการ (ในทัศนะของผู้เขียน)
EP 3 ทักษะแห่งการประกอบการที่พึงม
EP 4 Entreprenuerial Mideset กระบวนคิดและลงมือทำของผู้ประกอบการ
EP 5 ความเข้าใจผิดในการประกอบการในสังคมไทย ช่วยกันเปลี่ยน ช่วยกันปรับ เพื่อประเทศแห่งการประกอบการ
EP 6 มาร่วมสร้าง Eco-System ของสังคมอุดมนักประกอบการ
EP 7 มาเป็น Charles Xavier ให้กับสังคมอุดมนักประกอบการกัน
EP 8 ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร เมื่อเราสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ
หมายเหตุ: บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ เป็นบทความเพื่อการแบ่งปันมุมมองต่อปัญหาของประเทศไทยในวิธีการมองแบบหนึ่งเท่านั้น ใน EP 4 นี้จะว่าด้วย Entreprenuerial Mindset หรือกระบวนการคิดแบบผู้ประกอบการ
โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
Related Content:
EP 1 นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
EP 2 ประเภททักษะแห่งการประกอบการ (ในทัศนะของผู้เขียน)
EP 3 ทักษะแห่งการประกอบการที่พึงม
EP 4 Entreprenuerial Mideset กระบวนคิดและลงมือทำของผู้ประกอบการ
EP 5 ความเข้าใจผิดในการประกอบการในสังคมไทย ช่วยกันเปลี่ยน ช่วยกันปรับ เพื่อประเทศแห่งการประกอบการ
EP 6 มาร่วมสร้าง Eco-System ของสังคมอุดมนักประกอบการ
EP 7 มาเป็น Charles Xavier ให้กับสังคมอุดมนักประกอบการกัน
EP 8 ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร เมื่อเราสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ
ผู้เขียนต้องชั่งใจอย่างมาก ที่จะแปลคำว่า Mindset ให้เป็นภาษาไทย หากจะต้องแปล ขอใช้คำว่า "กระบวนคิด" มากกว่า "กรอบความคิด" หรือ "ความคิด" "ความนึกคิด" เพราะว่า จะให้ระดับความเข้าใจต่อคำเหล่านี้แตกต่างระดับกันไป เพราะว่ากระบวนคิด หรือ คิดแบบเป็นกระบวน จะทำให้สร้างสรรค์ได้เกินกรอบ ดีกว่าความคิดเฉย ๆ ที่ไม่กลั่นกรอง และดีกว่า การนึกเพื่อให้เกิดความคิด อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจะแปลเพียงวรรคนี้เท่านั้น เพราะว่าหลังจากนี้ จะขอใช้คำทับศัพท์ในบทความว่า Mindset
ในองค์ประกอบของการส่งเสริมให้เกิด (สร้าง) "นักประกอบการ" "ผู้ประกอบการ" "การประกอบการที่ดี" นั้น ในความคิดของผู้เขียนพบว่า มี 2 ส่วน
โดยบทความใน EP4 นี้ จะเป็นเรื่องของ "Mindset" ซึ่งจากการค้นคว้าจากแหล่งความร้ใน Internet มักจะมีการเรียงลำดับการเกิดก่อนหลัง หากประสงค์จะได้ output แบบใด ๆ (ซึ่งท้ายสุดทุกแบบ คือ นักประกอบการ; Entreprenuership ทั้งสิ้น) เช่น บางสำนักเชื่อว่า จะต้องสร้างให้มี SkillSet >> Toolset >> Mindset ตามลำดับ ทว่า ผู้เขียนเชื่อว่า การเรียงลำดับแบบนี้เป็น Metaphor เช่น ไก่และไข่สิ่งใดเกิดก่อนกัน ซึ่งการค้นคว้าและได้คำตอบใด ๆ อาจไม่มีประโยชน์ในการได้รับสารอาการจากไข่ การประกอบการก็เช่นกัน โดยลักษณะของเป็นการประกอบการนั้นเกิดได้หลายลักษณะ และแต่ละลักษณะก็มีอยู่ให้พบเห็นได้ เช่น สามารถเกิดขึ้นเองได้ หรือมาจากพรสรรค์ เราจะพบนักแก้ปัญหาที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงวิชาการก็พบมีมากในสังคม หรือ ฝึกฝนเรียนรู้ได้จากการสะสมทักษะอันหลากหลาย ก็พบนักประกอบการที่เป็นนักเรียน (ในความหมายของ Learner) ที่เปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ที่สะสมมาเป็นผู้ประกอบการก็มีมาก หรือ มีความคลุกคลีกับเครื่องมือแห่งการประกอบการ จนเกิดความคุ้นเคยและเป็นผู้ประกอบการในที่สุด แต่ที่แน่ ๆ คือ ทั้ง Skillset, Mindset และ Toolset "ต้องรวมกัน" จึงมีประสิทธิภาพและแสดงผลในการประกอบการ
Entreprenuerial Mindset นั้น หมายถึง กระบวนคิดที่ผู้ประกอบการควรมี และต้องเป็น "กระบวนคิดเพื่อการลงมือปฏิบัติ" คิดอย่างไรให้เป็นกระบวนคิด และเมื่อทำเป็นประจำ จะเกิดเป็น ลักษณะนิสัยของผู้ประกอบการ ซึ่งจะแปลว่า "นิสัยของนักประกอบการที่ดี" ก็ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในเชิงความหมาย ท่านผู้อ่านต้องไม่ลืมว่า รากฐานของการประกอบการ คือ "การแก้ปัญหาอย่างใด อย่างหนึ่ง ให้บรรลุเป้าหมาย" แสดงว่า กระบวนคิดที่กำลังให้รายละเอียดนี้วางอยู่บนหลักการนี้ (ผมวางไว้ 10 ข้อ หากท่านจะประเมินตัวท่านเอง หรือนำไปประเมินท่านอื่นๆ ก็อาจจะใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายเพื่อวัด Mindset ของนักประกอบการได้ใน Score เต็ม 100%)
ผู้เขียนได้เสนอ Entreprenuerial Mindset ตามแต่ประสบการ์ณของผู้เขียนจะแบ่งปันให้ท่านได้ ท้ายที่สุดผู้เขียนยังคงเน้นว่า "อย่าคิดแล้วไม่ทำ" ในองค์กรจะมี VISION และ MISSION เสมอ ๆ เป็น Template ของการประกอบการเพื่อการโชว์ความประสงค์ในอนาคต แต่สำคัญที่สุดคือ EXECUTION หรือลงมือทำ
- ส่วนเสริม สร้าง พัฒนา ผู้ประกอบการ (Individualize) ซึ่งประกอบ Mindset (จิตตะ), Skills set & Knowledge Sets(ทักษะ&ความรู้),เครื่องมือ (อุปกรณะ)
- ส่วนขยาย และเพิ่มจำนวนของผู้(นัก)ประกอบการ (Mass Generating) ได้แก่ EcoSystem, และ ระบบบ่มเพาะและให้คำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ (Mentoring & Incubating)
โดยบทความใน EP4 นี้ จะเป็นเรื่องของ "Mindset" ซึ่งจากการค้นคว้าจากแหล่งความร้ใน Internet มักจะมีการเรียงลำดับการเกิดก่อนหลัง หากประสงค์จะได้ output แบบใด ๆ (ซึ่งท้ายสุดทุกแบบ คือ นักประกอบการ; Entreprenuership ทั้งสิ้น) เช่น บางสำนักเชื่อว่า จะต้องสร้างให้มี SkillSet >> Toolset >> Mindset ตามลำดับ ทว่า ผู้เขียนเชื่อว่า การเรียงลำดับแบบนี้เป็น Metaphor เช่น ไก่และไข่สิ่งใดเกิดก่อนกัน ซึ่งการค้นคว้าและได้คำตอบใด ๆ อาจไม่มีประโยชน์ในการได้รับสารอาการจากไข่ การประกอบการก็เช่นกัน โดยลักษณะของเป็นการประกอบการนั้นเกิดได้หลายลักษณะ และแต่ละลักษณะก็มีอยู่ให้พบเห็นได้ เช่น สามารถเกิดขึ้นเองได้ หรือมาจากพรสรรค์ เราจะพบนักแก้ปัญหาที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงวิชาการก็พบมีมากในสังคม หรือ ฝึกฝนเรียนรู้ได้จากการสะสมทักษะอันหลากหลาย ก็พบนักประกอบการที่เป็นนักเรียน (ในความหมายของ Learner) ที่เปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ที่สะสมมาเป็นผู้ประกอบการก็มีมาก หรือ มีความคลุกคลีกับเครื่องมือแห่งการประกอบการ จนเกิดความคุ้นเคยและเป็นผู้ประกอบการในที่สุด แต่ที่แน่ ๆ คือ ทั้ง Skillset, Mindset และ Toolset "ต้องรวมกัน" จึงมีประสิทธิภาพและแสดงผลในการประกอบการ
Entreprenuerial Mindset นั้น หมายถึง กระบวนคิดที่ผู้ประกอบการควรมี และต้องเป็น "กระบวนคิดเพื่อการลงมือปฏิบัติ" คิดอย่างไรให้เป็นกระบวนคิด และเมื่อทำเป็นประจำ จะเกิดเป็น ลักษณะนิสัยของผู้ประกอบการ ซึ่งจะแปลว่า "นิสัยของนักประกอบการที่ดี" ก็ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในเชิงความหมาย ท่านผู้อ่านต้องไม่ลืมว่า รากฐานของการประกอบการ คือ "การแก้ปัญหาอย่างใด อย่างหนึ่ง ให้บรรลุเป้าหมาย" แสดงว่า กระบวนคิดที่กำลังให้รายละเอียดนี้วางอยู่บนหลักการนี้ (ผมวางไว้ 10 ข้อ หากท่านจะประเมินตัวท่านเอง หรือนำไปประเมินท่านอื่นๆ ก็อาจจะใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายเพื่อวัด Mindset ของนักประกอบการได้ใน Score เต็ม 100%)
- เป็นผู้มีลักษณะนิสัยช่างสังเกต
- การสังเกตุเพื่อให้เข้าใจสิงแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาหา ปัญหา (=โอกาส) และเพิ่มความเข้าใจสถานการณ์ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานก่อนก้าวไปสู่กระบวนคิดต่อไป
- การสังเกตุสามารถทำได้โดย Eye Withness คือ สามารถใช้การสังเกตุด้วยตา ในสภาพการณ์ที่ต้องการประเมิน Ear Withness คือการฟังจากคยรอบข้างนสิงแวดล้อมนั้นๆ Touch&Try Withness คือ การสัมผัสหรือมีประสบการณ์ร่วม ผู้ที่มีลักษณะนี้ และพิจารณาอย่างรอบด้าน และผ่านการทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะมีความเชี่ยวชาญ แต่ทว่า ก็จะมี Bias เกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อพบ Factors ที่ใกล้เคียงกัน
- คำแนะนำคือ อย่ารีบตัดสินใจ และโดดไปที่วิธีการ ต่อให้ท่านพบเจอปัญหาเดิม ๆ มาหลายครั้ง ทว่า ทุกองค์กรย่อมมีสภาพการณ์แตกต่างกัน
- เป็นผู้สงสัยและตั้งคำถามเป็น
- หลังจากขั้นตอนของการสังเกตุ(สถาน)การณ์ นักประกอบกาจะต้องเป็นนักสงสัย แต่(อย่าหาผู้ต้องสงสัย)
- ต้องเป็นนักถาม โดยเริ่มจากถามตัวท่านเอง และถาม Withness ร่วม โดยมากกระบวนการตั้งคำถามนี้เป็น "จุดบอด" ของคนไทยโดยทั่วไป การตั้งคำถามให้เป็นจะนำไปพาสู่ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น และเข้าใจสภาพการณ์มากขึ้น
- 5WXH หรือ Who, What, When, Where, Why และชุดคำถามของ How
- ผู้ประกอบการควรตั้งคำถามที่เชื่อมโยงกัน
- ในกรณีสัมภาษณ์บุคคลอื่นด้วยการตั้งคำถาม ให้งดการ Bias มีศิลปะในการตั้งคำถาม ที่ผู้ตอบจะสามารถบอกข้อมูลแท้จริงได้ และไม่ตั้งคำถามปลายปิด หรือแสดงตนข่มผู้ตอบ
- เป็นผู้มีความสามารถในการประเมินปัญหา (Problem Identification)
- กฎข้อแรกคือ การมองปัญหาจะแตกต่างกันไปตามบทบาทหน้าที่ และประสบการณ์ เรื่องเดียวกัน คนหนึ่งมองเป็นปัญหา แต่อีกคนอาจไม่เห็นด้วยอย่าเชื่อไปเองว่าเป็นปัญหา เพราะว่าคนอื่น ๆ อาจจะไม่เห็นเช่นเดียวกัน
- การยืนยันสถานภาพของปัญหามีความจำเป็นก่อนลงมือทำ
- เรายืนยันอะไร ต้องระบุ ปัญหาให้ได้ว่า ใครเป็นกลุ่ม Stakeholder ในปัญหาเหล่านั้น เพราะว่า ปัญหาอาจจะกระจุกไม่กระจายไปยังทุก Stake holder การยืนยันสถานภาพปัญหา ต้องระบุให้ได้ว่า เกิดปัญหาจริงกับ Stakeholders ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น หากพบว่า stakeholder ไม่เชื่อว่าเป็นปัญหา หรือ เป็นปัญหาแต่ไม่คิดจะลงมือแก้ไข ให้ตัดสินใจยกเลิกแผน อย่าลงมือทำ
- หลังจากยืนยันปัญหาได้แล้ว ในองค์กร หรือในโครงการใด ๆ จะต้องมีการ Prioritize ปัญหาให้ได้ โดย ระบุให้ได้ถึง ความสัมพันธ์ และความจำเป็นเร่งด่วน เพราะว่า มีปัญหาด่วน และสำคัญ, สำคัญแต่ไม่ด่วน, ไม่สำคัญแต่ด่วน และ ไม่สำคัญและไม่ด่วน
- เป็นผู้รอบรู้ นักสืบค้น นักค้นคว้า นักประสานประโยชน์
- ปัญหาหนึ่ง ๆ อาจจะมีวิธีแก้มากกว่าหนึ่งวิธีเสมอ หรือ จำเป็นจะต้องทำ A แล้วได้ผลลัพท์ B เพื่อประโยชน์ C
- ผู้รอบรู้ หากไม่รู้จริง ๆ หรือ ให้รอบรู้ว่าควรจะไปปรึกษาใคร
- เป็นนักสืบค้น เพราะว่า ปัญหาในโลก ภายใต้สภาะวแวดล้อมเดียวกัน คุณมักไม่ใช่คนแรกที่ลงมือแก้ไข การสืบค้นอาจพบวิธีลองผิดลองถูกของผู้อื่น และนักประกอบการค่อยนำปัจจัยของปัญหาที่ตนจะแก้ไข ปรับใช้ให้เป็น
- น้กค้นคว้า ในกรณีทีไม่มีที่พึ่งให้ถาม ไม่มีคนที่ลงมือแล้วพลาดมาก่อน ก็ต้องเป็นนักค้นคว้า และหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
- เป็น Co-Value Creator เพราะปัญหาที่สามารถ Idendity Stakeholder ได้แล้วนั้น มักจะสามารถมีผู้ร่วมก่อการได้ เพียงแต่ต้องเสนอประโยชน์ และวิธีการ พร้อมปัจจัยๆ อื่น ๆ ให้ชัดเจน
- เป็นผู้ลงมือกระทำในการแก้ปัญหาในทรัพยากรที่จำกัด แต่มีความสร้างสรรค์และสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อม
- ผมพูดเสมอว่า ประเทศไทยเป็นประเทศ FYI คือ รู้ ให้เป็นข้อมูล มาอบรมให้เป็นข้อมูล มาสร้างแผนเพื่อนับเวลาตาม KPI และเป็นประเทศที่ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ไร้วิสัยทัศน์ และไม่ปฏิบติตามพันธกิจ นักประกอบการที่ดี เป็นนักประกอบการที่ "ลงมือ" กระทำ โดยให้บรรลุวัตถุประสงค์ ลงมือโดยใช้ทรัพยากรที่จำกัด และมีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์นการแก้ปัญหา (นำลักษระศรีปราชญ์ของคนไทยมาใช้ให้ถูกที่และถูกเวลา) และวางอยู่บนปัจจัยแวดล้อมตามบริบทสังคมไทย
- สรุปใจคงวามสำคัญ คือ เป็นนักปฏิบัติที่สวมวิญญานนักบริหารทรัพยากร ที่เข้าใจความเสี่ยง และสังคมรอบข้าง
- เป็นผู้เข้าใจจิตใจมนุษย์ และความเคลื่อนไหวของสังคม
- สิ่งที่ยากที่สุด คือ การเปลี่ยนความคุ้นเคยของคนไทย ผู้ประกอบการจะต้องประทับร่างทรงในหลาย ๆ ฐานะ เช่น เป็นนักจิตวิทยา, เป็นนักสื่อสาร, เป็นพี่ น้อง เพื่อน ครู Influencer และผู้นำในเวลาเดียวกัน
- ในระหว่างการดำเนินการตามแผนที่ศึกษามา ต้องเป็นนักสังเกตความเคลื่อนไหวในสังคมที่เกี่ยวข้อง ปรับท่าที พุ่งเข้าไปสอบถามพูดคุย ฯลฯ
- ในการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะมีคนหลายประเภท ต้องบริการให้เป็น
- ประเภท Welcomer คือ ดีไปหมด เห็นด้วยทุกอย่าง แต่ไม่ทำ
- ประเภท Observer คือ รอดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพื่อรอผลที่เกิดขึ้น แล้วจึงรวมขบวนยินดี และสมน้ำหน้า (สิ่งนี้คือ ลักษณะของไทยแท้ๆ ส่วนใหญ่)
- ประเภท Doer but Hiding คือ เป็นคนลงมือทำ แต่ขอไม่เปิดเผย ไม่ออกหน้า
- ประเภท Do nothing / Do Little but Huge Expression คือ ไม่่ลงมือทำอะไร หรือ ทำนิดเดียว แต่ออกหน้า แสดงตัว
- ประเภท May I be Doer but Do not ask me to think or Plan อันนี้เป็นร้อยละ 95 ของประชากรไทย
- ประเภท Policy Maker คือ เสนอแผนร้อยแปดพันประการ แต่อย่าขอให้ลงมือทำ
- ประเภท Criticism คือ วิพากษ์วิจารณ์ทุกเรื่อง และหมั่นทำลายกำลังใจคนทำ
- ประเภท Cake Garnisher คือ นักปาดหน้าเค้ก จะมาลงมือลงแรงตอนใกล้สำเร็จ
- ประเภทอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถจะแสดงได้ทั้งหมด
- นักประกอบการที่ดี คือ รู้จักบริหารคนประเภทต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ กันคนที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการประกอบการอย่างชาญฉลาด, ส่งเสริมคนทำ ให้เกียรติผู้ลงมือ, ไม่ทะเลาะกับใคร (โดยทฤษฎี) ซึ่งเป็นสุดยอดเคล็ดวิชา จะต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต
- เป็นนักบริการทีมที่ดี และเป็น LEADER NOT BOSS ไม่ Proactive จนสร้างแรงกดดัน และไม่ Low Active จนหมดบรรยาการในการเปลี่นยแปลง
- เป็นผู้มีจิตใจไม่ยอมแพ้ ไม่หวั่นเกรงที่จะต้องเริ่มต้นใหม่ หรือพบความยุ่งยาก (ควรเปิดเพลงฟังไปด้วย และต้องงใช้จินตนาการในการแปลความหัวข้อนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณเพลงประกอบจากศิลปิน และค่ายเพลงเจ้าของลิขสิทธิ์ทุกท่าน)
- ในระหว่างทาง จะเจอสภาวะใจกลางความเจ็บปวด ท่านต้องศรัทธาในสิ่งที่ท่านและทีมกำลังทำ สร้างให้ตนเองและทีมเป็นเธอผู้ไม่แพ้ ผ่านฤดูที่แตกต่างไปได้ Live and Learn ก็จะอยู่ใจกลางความรู้สึกดีดี ที่ ชัยชนะ ณ ปลายทาง
- บางครั้งอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก นักประกอบการที่จะสานต่อเพื่อประโยชน์ปลายทาง จะต้องเป็นนักเดินทางที่เรียนรู้ว่าเกิดปัญหาใดขึ้นบ้าง เพราะว่าบางปัญหาอาจจะมีด้อยประสบการณ์ และมีความไม่พร้อมในหลายด้าน เพราะปัญหาอาจะสะสมมานาน หรือใหญ่เกินกว่าความสามารถและทรัพยากรที่มี ในวันเวลาที่รุมล้อมไปด้วยปัญหา จงมองหาแสงสุดท้ายนำทางให้ท่านเสมอถ้าท่านไม่ยอมแพ้ อุปสรรคจะพัฒนาท่านให้เป็นนักประกอบการที่ดีต่อไป จงมองให้เห็นว่าประสบการณ์ที่ได้จากความผิดหวัง ความผิดพลาด คือการเดินทางที่แสนวิเศษ และทีมที่ยังร่วมทางไปกับท่านคือทีมที่จะพาองค์กรให้เติบโต และยั่งยืน
- เป็นผู้มีความสันทัดในการประเมินที่เป็นกลางไม่โน้มเอียง รับฟังการประเมินจากผู้อื่น
- การประเมินในประเทศไทย มักโน้มเอียงเข้าข้างตนเอง ปั้นผลงานให้สวยหรู เพื่อรักษาชื่อเสียงและหน้าตา เป็นค่านิยมที่ "ล้าสมัย" นักประกอบการ ควรเปิดโอกาสให้มีการประเมินที่เป็นกลาง ไม่โน้มเอียง เพื่อแสดงสถานการณ์ที่แท้จริงของการประกอบการ หาสาเหตุของปัญหา และแก้ไขได้ หรือ เป็น Best Practive ของหน่วยงาน
- การประเมินในประเทศไทย มักโน้มเอียงเข้าข้างตนเอง ปั้นผลงานให้สวยหรู เพื่อรักษาชื่อเสียงและหน้าตา เป็นค่านิยมที่ "ล้าสมัย" นักประกอบการ ควรเปิดโอกาสให้มีการประเมินที่เป็นกลาง ไม่โน้มเอียง เพื่อแสดงสถานการณ์ที่แท้จริงของการประกอบการ หาสาเหตุของปัญหา และแก้ไขได้ หรือ เป็น Best Practive ของหน่วยงาน
- เป็นผู้นำ ถอดบทเรียน และนำแก่ทีม และสังคม
- การเป็นนักบันทึก สร้างเป็น Learning Log จะเป็นคัมภีร์สำคัญของการประกอบการให้แก่องค์กร และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
- บทเรียนที่สำคัญ คือ คำอธิบายเรื่องความล้มเหลว การวิเคราหะ์ และข้อมูลแวดล้อม นักประกอบการที่ประสงค์จะสร้างทีมงาน และคนรุ่นต่อไปที่แข็งแกร่ง จะต้องถอดบทเรียนอย่างจริงจัง และส่งมอบ Log นี้เืพ่อเป็นสมบัติแห่งการประกอบการให้คนอื่น ๆ ต่อไป ส่วนประสบการณ์ของความสำเร็จ โดยส่วนตัวของผู้เขียน พบว่าเป็นสภาวะความสำเร็จเฟ้อ ด้อยค่าและเป็นยาเสพติด
- การเป็นนักบันทึก สร้างเป็น Learning Log จะเป็นคัมภีร์สำคัญของการประกอบการให้แก่องค์กร และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
- เป็นผู้เสพติดการแก้ปัญหา และพร้อมเริ่มวงรอบในครั้งต่อไป
- Master Piece จะถูกประเมินเมื่อท่านลาลับจากโลกนี้ไปเสมอ จงอย่าเป็นคนที่ ไม่ทำอีกแล้ว ไม่เอาอีกแล้ว เมื่อจบปัญหา เหนื่อยก็พัก และกลับมาเสฟติดการแก้ปัญหาในปัญหาใหม่ ๆ เสมอ อย่างน้อยท่านจะไม่เป็นอัลไซเมอร์
- Master Piece จะถูกประเมินเมื่อท่านลาลับจากโลกนี้ไปเสมอ จงอย่าเป็นคนที่ ไม่ทำอีกแล้ว ไม่เอาอีกแล้ว เมื่อจบปัญหา เหนื่อยก็พัก และกลับมาเสฟติดการแก้ปัญหาในปัญหาใหม่ ๆ เสมอ อย่างน้อยท่านจะไม่เป็นอัลไซเมอร์
ผู้เขียนได้เสนอ Entreprenuerial Mindset ตามแต่ประสบการ์ณของผู้เขียนจะแบ่งปันให้ท่านได้ ท้ายที่สุดผู้เขียนยังคงเน้นว่า "อย่าคิดแล้วไม่ทำ" ในองค์กรจะมี VISION และ MISSION เสมอ ๆ เป็น Template ของการประกอบการเพื่อการโชว์ความประสงค์ในอนาคต แต่สำคัญที่สุดคือ EXECUTION หรือลงมือทำ