Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • V10 Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • COMPETITION >
      • TH Business Data Analytics & Data Visualization
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2022
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Thais Teen Entrepreneurial Project
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM TH SEMINAR >
      • 2023 Education Transformation in Business Data Analytics
      • 2020 K-Practice
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Clip to Lecturer
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
    • MonsoonSIMTG x Alliances >
      • WoW Academy Thailand 2021!!! >
        • WoW Academy Workshop
      • Entrepreneurial Series by BDT and Gamification
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

Entreprenuerial ทักษะ และกระบวนคิด ที่คนไทยขาดแคลน และต้องร่วมกันส่งเสริมให้เกิดมี (EP6)

7/14/2019

0 Comments

 
ตอนที่ 6 มาร่วมกันสร้าง Eco-System ของสังคมอุดมนักประกอบการ
หมายเหตุ: บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ เป็นบทความเพื่อการแบ่งปันมุมมองต่อปัญหาของประเทศไทยในวิธีการมองแบบหนึ่งเท่านั้น ใน EP 6 นี้จะว่าด้วย บรรยากาศแวดล้อมที่ภาคีในสังคมต้องช่วยกันสร้างไว้ ให้ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมนักประกอบการ

​โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง

Related Content:
EP 1 นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
EP 2 ประเภททักษะแห่งการประกอบการ (ในทัศนะของผู้เขียน)

EP 3 ทักษะแห่งการประกอบการที่พึงมี
EP 4 Entreprenuerial Mideset กระบวนคิดและลงมือทำของผู้ประกอบการ
EP 5 ​ความเข้าใจผิดในการประกอบการในสังคมไทย ช่วยกันเปลี่ยน ช่วยกันปรับ เพื่อประเทศแห่งการประกอบการ 
EP 6 มาร่วมสร้าง Eco-System ของสังคมอุดมนักประกอบการ 
EP 7 มาเป็น Charles Xavier ให้กับสังคมอุดมนักประกอบการกัน
EP 8 ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร เมื่อเราสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ

Picture
     หากท่านผู้อ่านได้สละเวลาติดตามบทความนี้ ตั้งแต่ Skillset, Knowledge set, Mindset, Toolset และกำลังเข้าสู่ความในตอนที่ 6 นี้ คือ เรื่องของ Entreprenuerial Ecosystem หรือ ผู้เขียนจะใช้คำว่า "บรรยากาศแวดล้อมแห่งการสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ" อย่างไรก็ตามจะขอทับศัพท์ในตวามหมายนี้ ว่า Ent-Ecosystem  และย่อว่า EntEco 

คำถามที่ผู้เขียนชวนให้เป็นอันดับแรก ๆ  คือ EntEco; Entreprenuerial Ecosystem จะต้องมีหน้าตาอย่างไร

      ในส่วนของบรรยากาศแวดล้อมในการส้รางสังคมอุดมนักประกอบการ ขอใช้วัฎจักรทั้ง 5 ดังนี้ในการอธิบาย "ชวนให้เข้าใจ ส่งเสริมให้เกิด  สร้างให้แกร่ง  ขยายเติบให้โต คูณให้เพิ่มทวี"
Picture
Picture
ภาคีของการสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ (ขอนำเอาแนวคิดเรื่องภาคีของกระบวนการ Education Transformation มาอ้างอิง)
EntEco 5 วัฎจักร มีรายละเอียดดังนี้​

  • ชวนให้เข้าใจ เป็นกระบวนการโหมโรง จะต้องมีการวื่อสารให้สังคมในประเทศไทยเข้าใจถึง "ความจำเป็น" ของการมีสังคมอุดมนักประกอบการในยุคที่โลกหมุนเท่าเดิมแต่การวัฎจักรการเปลี่ยนแปลงของโลกเร็วขึ้น สังคมจะต้องมี "ตวามตระหนัก" ถึงสภาวะขาดแคลนนักประกอบการว่าจะมีผลกระทบอย่างไรต่อไป  (ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงของ John Kotter นี่คือ Create urgent หรือ Increas Urgentcy) ที่จริงแล้ว ประเทศไทยผ่านบทเรียนที่เกิดซ้ำเมื่อถึงจัดเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเป็นประวัติศาสตร์มาหลายครั้ง แต่ละครั้งของการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบต่อการไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลง จำกัดวงแคบ ๆ ในบางสังคม เช่น สังคมของนักการเมือง นักปกครอง นักวิชาการเท่านั้น เนืองจากมีข้อจำกัดด้านการสื่อสาร ในปัจจุบัน เมื่อทุกคนมีสื่อ และสื่อหลักเองถึงคราที่จะต้องเปี่ยนแปลง สื่อมวลชนมืออาชีพ, สื่อมวลชนสมัครเล่นที่มีอิทธิพลต่อสังคม (Influencer), นักคิดนักวิชาการต่าง ๆ ที่ต่างมี Online Media ของตัวเอง จะต้องสร้าง กระตุ้นให้สังคมได้คิด เป็นหนึ่งในการเริ่มต้นสร้างบรรยาการ EntEco ​
  • ส่งเสริมให้เกิด นั้น เป็นกระบวนการที่เกิดพร้อมกันกับกระบวนการแรก หรือ เกิดเป้นลำดับก็สุดแล้วแต่พื้นฐานของสังคม (เช่น กรณีของสังคมเมือง หรือสังคมในหัวเมือง สังคมที่มีความแตกต่างกันทางค่านิยม)  
    • ​การส่งเสริมให้เกิดขึ้นของการประกอบการ จะเริ่มในแบบ Top Down หรือ Buttom Up นั้น สำหรับผู้เขียนไม่มีปัญหา ในภาครัฐอาจจะต้องใช้วิธีแบ Top Down ในเชิงนโยบาย เพื่อการขับเคลื่อน พร้อมกับตัวชขี้วัด วิธีการ และทรัพยากรที่เอื้อให้เกิดขึ้น หรือ กฎเกณฑ์ที่รัฐสามารถสร้างการส่งเสริมสังคมอุดมนักประกอบการ และไม่ใช่การขับเคลื่อนเป็นนโยบายประจำปี แต่ควรเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) โดยส่งเสริมผ่านภาคีของการสร้างนักประกอบการ เช่น
      • หน่วยงานภาครัฐ กับหน่วยงานรัฐ เพื่อรประโยชน์เป้าหมาย และการจัดการทรัพยากร และการวัดผล หากองค์กรภาครัฐสามารถเป็นหน่วยงานแรก ๆ ที่ก้าวเข้าสู่ หน่วยงานรัฐเชิงผู้ประกอบการ Govern-Prenuer จะเกิดแรงผลัดกดันมหาศาลในการเปลี่ยนแปลงประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงเป้าประสงค์ วิธีการ การวัดผล ในหน่วยงานภาครัฐ, การ recruit ข้าราขการและพนักงานราชการในมิติใหม่ และรวมไปถึงการที่รัฐอาจะทำกับกลุ่มภาคีอื่น ๆ เช่นภาคเอกชน, ภาคประชาสังคม (ประชารัฐ), ภาคการศึกษา รัฐอาจจะต้องลงทุนสิ่งที่จำเป็นกับอนาคตของประเทศ ในการพัฒนาบุคลากรในปัจจุบันให้เกิดมีสถาะนแห่งนักประกอบการ ควบคู่ไปกับการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ให้เป็นนักประกอบการ 
      • ภาคธุรกิจ การแบ่งปัน Know how และ Practice ในการประกอบการ ระหว่าง รัฐ-เอกชน, องค์กรธุรกิจที่ต่างขนาดกัน
      • ภาคการศึกษา ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน LTT; Learning and Teaching Treansformation และเดินหน้าสู่การทำ Education Transformaion ในดับ Curriculum Transformation (โปรดดูเนื้อหาเรื่อง Education Transformation โดยผู้เขียน) สิ่งที่ทำได้คือ การเริ่มต้นมห้เกิดมี วิชาการประกอบการ เป็นวิชาพื้นฐาน โดยเน้น Funamentary Entreprenuerial Skillset and Mindset ซึ่งบุคลากรเองต้องเป็นยักประกอบการเสียก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ทำได้ทั้งความสมัครใจ และบังคับผลิดอก
      • ภาคสังคม และภาคครอบครัว การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในระดับครอบครัวซึ่งเป็นรากฐาน ครอบครัวส่งเสริมให้ลุกหลานใช้กระบวนการแก้ปัญหามากกว่า การช่วยแก้ปัญหาหรือออกรับปัญหาแทนเยาวชนรุ่นใหม่แบบที่เป็นอยู่ สังคมเลิกเสพติดความสมบูรณ์ และให้คุณค่ากับการเรียนรู้บนความผิดพลาด
          กระบวนการนี้ต้องอาศัยหลัก Logistics และ Entreprnuerial Building Chain ทั้งระบบประสานกัน โดยเริ่มต้นจาก Generation ที่้เป็นหลักยคดของสังคม ผู้เขียนพบว่า บางครั้งผู้ที่มีความสามารถในการผลักดันเรื่องเหล่านี้ กลับเพิกเฉย หรือสาละวนกับปัญหาจากภาระงานส่วนตัว คนรุ่น Gen X ที่เป็นผู้นำองค์กรต่าง ๆ ทั้งหมด อาจจะต้องถึงคราวที่ Generation ของท่านเป็นเจ้าภาพเพื่อประเทศไทย 
  • สร้างให้แกร่ง การสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ เฉกเช่นเดียวกับ ข้อความอุปมาที่ว่า "กรุงโรงไม่ได้สร้างเสร็จใจวันเดียว" การส้รางมิใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งหากแต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งทุกภาคีจะต้องร่วม สร้างคุณค่าร่วม (Co-Entreprenuerial Value Creating) และเรื่องสำคัญที่สุดที่ผู้เขียนเสนอในการสร้าง EntEco คือ
    • การปฎิวัติ HCM ของประเทศไทย 
      • ​กระบวนการ Recruit ของประเทศไทย คือ ด่านแรก ที่จะช่วยให้สร้างให้เกิด EntEco โดยเปลี่ยน ความต้องการของตาด เพื่อให้ผู้ผลิตคนจากวงการศึกษาปรับประบวนวิธี ซึ่งสามารถเริ่มจากการทานน้ำชาร่วมกันของกลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ ร่วมกัน Hack ระบบการศึกษาด้วยการเปลี่ยนเกณฑ์การยอมรับบุคลากร ส่วนภาครัฐนั้น ก็สามารถส่งเสริมผลัดันในเชิงนโยบาย และมาตรการจูงใจ 
      • กระบวนการอบรม และการวัดผลจากการอบรม ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ในภาครัฐเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ เพราะว่าการอบรม และกระบวนการวัดผลของภาคเอกชนมีความแข็งแกร่ง มีแผนรองรับ และมีความเป็นการประกอบการมากกว่า ภาครัฐจะต้องปรับกระบวนทัศน์สำคัญ คือ การตั้งเป้าประสงค์, การวัดผลงาน, ความคุ้มค่าของแผนงานภาครัฐ, ปรับกฎหมายให้เอื้อต่อการสร้างนักประกอบการ หากภาครัฐทำได้ประเทศจะกระโจนเข้าสู่ความเป็นสังคมอุดมนักประกอบการได้เร็วขึ้น
    • การปฎิวัติการศึกษา ผู้เขียนเสนอให้เราเลิกใช้คำว่า "ปฎิรูป" หรือเปลี่ยนหน้ากากแบบที่เราทำกันในรอบหลายปี สถาบันการศึกษาต้องเลิกใช้การตลาดในการสื่อสาร หรือเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาอย่างฉาบฉวยแบบที่เกิดขึ้นในรอบ 5-7 ปีนี้ (2015-2019) "ปฎิวัต" หรือเปลี่ยนวิธีการ เปลี่ยนวิธีคิด น่าจะเป็นคำที่ถูกต้องสำหรับ National Agenda นี้ โดยผู้เขียนขอให้หลักการ Digital Transformaion ของ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ซึ่งผู้เขียนใช้เป็นหลักในการเขียนแนวทางการทำ Education Transformation 
      • ​ภาคการศึกษาต้อง "ยกเลิก" สิ่งที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญแท้จริง กลับไปหา Flagship เดิม (หากมี) ต้องยกเลิกระบบ, ค่านิยม, หลักสูตร, วิธีการ และ หน่วยงาน ที่เป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงการศึกษา 
      • ภาคการศึกษาต้อง "พัฒนา" สิ่งดีที่มีแต่เดิม ให้ดียิ่งขึ้น ให้เป็น "ความรู้" คู่ "การลงมือปฏิบัติ" ได้จริงของนักศึกษา โดยมี "พื้นฐาน" ที่แข็งแกร่ง สามารถปรับพื้นฐานไปตามกาลเทศะของยุคสมัยได้ โดนเพิ่มความ "ร่วมสมัย" และ "ทันสมัย" เผื่อการ "ล่วงสมัย" 
      • ภาคการศึกษาต้อง "สร้าง" นักประกอบการ ที่รู้จัก นวตกรรม (วิธีการ, กระบวนการ, สิ่งใหม่) โดยใช้เทคโลยีที่เหมาะสม และมีความคุ้มค่า มิใช่การสร้าง "นักใช้นวตกรรม" หรือ "นักใช้เงินซื้อนวตกรรม" 
          ความเห็นนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งโดยความประสงค์ของผู้เขียน คือ เขียนให้ขัดใจ หรือเขียนให้สงสัย เพื่อให้ผู้ที่มีความสามารถลุกขึ้นมาร่วมกันสร้าง EntEco Planning ให้สำเร็จก่อนวันที่ Gen X จะชราภาพและหมดพลัง แท้จริงแล้ว การบวนการสร้างให้แกร่ง คือ คนที่อยู่ในฐานะผู้นำ, อาจารย์, ผู้บังคับบัญชา เพียงระดมปัญหา พร้อมกำลังใจ และทรัพยากรที่จำเป็น แก่ผู้ร่วมงาน, ผู้ใต้บังคับบัญชา, นักเรียนนักศึกษา ให้เขาได้เผชิญกับปัญหา โดยไม่ล้อมกรอบ และไม่คาดหวังผลแบบรูปธรรม ท่านก็กำลังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง EntEco แล้วระดับหนึ่ง 
  • ขยายให้โต การสร้างคน ค่านิยม แนวกระบวนการคิด ใช้ระยะเวลาและความอุตสาหะ เมื่อเห็นผลลัพท์ที่เกิดขึ้น สิ่งที่ผู้มีศักยภาพจะต้องทำต่อไปคือ การขยายให้โต ได้แก่ 
    • ​ขยายขอบเขตปัญหามุมมอง จากปัญหาเล็ก ๆ ทรัพยากรจำกัด ให้นักประกอบการที่สร้างแกร่งแล้ว พบกับปัญหาที่ใหญ่ขึ้น ข้อจำกัดมากขึ้น 
    • ขยายความเข้าใจ กับกลุ่มคนที่เข้าใจยากในองค์กรของท่าน การเกิดขึ้นของนักประกอบการ หรือนวตกรรม มีจุดร่วมคือ ต้องผิดพลาดและเรียนรู้ ต้องเปลี่ยนวิธีใหม่บนพื้นฐานปัญหาเดิม การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้อาจจะไม่ได้รับความเห็นชอบจากเหล่าไดโนเสาร์ในองค์กรทั้งหมด ท่านจะต้องขยายตวามเข้าใจ เรียกได้ว่า ท่านเองต้องใช้ศาสตร์และศิลป์แห่งนักประกอบการเพื่อสร้างนักประกอบการเช่นกัน
    • ขยายจำนวนและสัดส่วนของ Mentor และ Incubator โดยดึงเอานักประกอบการในองค์กร หรือนอกองค์กรมาร่วมด้วยช่วยสร้างนักประกอบการ
    • ขยายบทบาทและความรับผิดชอบของนักประกอบการที่ท่านกำลังบ่มเพาะ  (Incubating) หรือการขยายความเสี่ยงให้กับนักแก้ปัญหา เพื่อวัดว่า เขาพร้อมในระดับปัญหาเช่นใด เราอาจจะทั้งพบเพชรน้ำงามที่เจอยาก หรือ อาจจะพบนักแก้ปัญหาหน้างานที่ดี ท่านจะได้จัดเขาไว้ในส่วนที่เหมาะสมให้เขาเป็นฟันเฟืองของสังคมอุดมนักแก้ปัญหาในองค์กรของท่าน
  • คูณให้เพิ่มทวี จำนวนเป็นเรื่องสำคัญ การเปลี่ยนแปลงสิ่งยาก ๆ จะต้องใช้ จำนวน x ศักยภาพ เสมอ ซึ่งเป็นสูตรของความสำเร็จทั่วไป การสร้างนักประกอบการ ด้วยนักประกอบการ เป็นความจำเป็นหากประเทศไทยประสงค์ให้เกิดสังคมอุดมนักประกอบการ คนไทยเป็นคนเก่ง แต่ความเก่งของเรานั้นกระจุกตัว เหล่าผู้สร้างและผู้บ่มเพาะจำเป็นจะต้อง เพิ่มจำนวนไปพร้อม ๆ กับ เพิ่มศักยภาพ มิเช่นนั้น จงลงเอยเหมือนประวัติศาสตร์ของการพัฒนาเรื่องใด ๆ การคูณให้เพิ่มทวี มีหลากหลายมิติ
    • ​การคูณด้วย Easy Accessible Knowledge Tank/Facility การเข้าถึงแหล่งข้อมูล ความรู้ จะทำให้ Natural Entreprenuer เกิดขึ้นได้มาก 
    • การคูณด้วยจำนวน Mentor และ Incubator การเพิ่มจำนวนกลุ่มคนที่มี skills จะช่วยส้รางนักประกอบการสายอบรมได้มาก 
    • การคูณด้วยมาตรฐาน แรงจูงใจ และหรือข้อบังคับ ในภาคเอกชน เมื่อถึงคราวจำเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ ให้กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องในลักษะเงื่อนไขและผลตอบแทน หรือข้อบังคับ ก็ประสบความสำเร็จได้ เช่น ในอุตสาหกรรม IT ที่มีตวามซับซ้อน การเพิ่มยอดขาย หรือ margin หรือ การรับรางวัล ถูกบังคับให้ คู่ค้าจะต้องส่งผู้ขาย และ Engineer มาอบรม และต้องได้ Certificate จึงจะสามารถขาย Product ต่าง ๆ ได้ และได้รับรางวัลในรูปแบบ rebate เป็นต้น วิธีนี้ คือการบังคับให้เพิ่มจำนวน
          จะวิธีการใดก็ตามที การคูณให้เพิ่มทวี คือปลายทางของการสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ ซึ่งอาจจะมีวิธีการที่หลากหลาย รอท่านผู้ทรงความรู้มาช่วยกันเพิ่มเติมวิธี (ซึ่งก็คือ กลวิธีสร้างตัวคูณเช่นเดียวกัน)

       การอำนวยให้เกิดระบบ หรือบรรยากาศ มีความจำเป็น จะทำแบบร่วมมือพร้อมเพรียงกันในสังคม หรือ จะใช้วิธีการให้ผู้นำกรุยทางไปก่อน และจะเกิดมีผู้ตามดำเนินตามรอยกันมา จะแบบใดก็ได้ สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนฝากไว้ ก็คือ "ลงมือ" กันเถอะครับ  ท่านจะเรียกมันว่า การพัฒนาศักยภาพของคน หรือความเชี่ยวชาญ หรือจะอย่างไรก็สุดแล้วแต่ "ชื่อ" ที่จะตั้งกันมา ผู้เขียนเพียงเหมา ๆ รวมเรียกว่า "นักประกอบการ" เท่านั้นเอง อย่ากระไรเลย รวมกันมีพลังมากกว่าครับ 
0 Comments



Leave a Reply.

Picture
Picture
Picture
Picture

MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand