Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • V10 Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • COMPETITION >
      • TH Business Data Analytics & Data Visualization
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2022
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Thais Teen Entrepreneurial Project
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM TH SEMINAR >
      • 2023 Education Transformation in Business Data Analytics
      • 2020 K-Practice
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Clip to Lecturer
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
    • MonsoonSIMTG x Alliances >
      • WoW Academy Thailand 2021!!! >
        • WoW Academy Workshop
      • Entrepreneurial Series by BDT and Gamification
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

Entreprenuerial ทักษะ และกระบวนคิด ที่คนไทยขาดแคลน และต้องร่วมกันส่งเสริมให้เกิดมี (EP8) -- Last Episode

7/15/2019

0 Comments

 
ตอนที่ 8: ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร เมื่อเราสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ
หมายเหตุ: บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ เป็นบทความเพื่อการแบ่งปันมุมมองต่อปัญหาของประเทศไทยในวิธีการมองแบบหนึ่งเท่านั้น ใน EP 8 นี้ เป็น Episode ทุดท้าย ที่ท่านผู้อ่านจะไม่ต้อง suffer กับงานเขียนที่ไม่คาดหวังจะมีคนอ่านนี้ โดยเป็นส่วนสรุปให้เห็นประโยชน์ของการสร้างนักประกอบการ ที่มากขึ้น จนประเทศไทยสามารถเป็นสังคมอุดมนักประกอบการ

​โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง

Related Content:
EP 1 นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
EP 2 ประเภททักษะแห่งการประกอบการ (ในทัศนะของผู้เขียน)

EP 3 ทักษะแห่งการประกอบการที่พึงมี
EP 4 Entreprenuerial Mideset กระบวนคิดและลงมือทำของผู้ประกอบการ
EP 5 ​ความเข้าใจผิดในการประกอบการในสังคมไทย ช่วยกันเปลี่ยน ช่วยกันปรับ เพื่อประเทศแห่งการประกอบการ 
EP 6 มาร่วมสร้าง Eco-System ของสังคมอุดมนักประกอบการ 
EP 7 มาเป็น Charles Xavier ให้กับสังคมอุดมนักประกอบการกัน
EP 8 ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร เมื่อเราสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ
Picture
ภาพโดย Robert McCall ขอบคุณภาพ Utopia จาก https://medium.com/@conradshaw/maybe-utopia-is-terrifying-bbc8870cd1c2
     ในฐานะที่ผู้เขียนจบการศึกษาในสายสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบว่า  "สังคมอุดมนักประกอบการ" น่าจะเป็นเรื่องเกินความใฝ่ฝัน แบบที่ Thomas more เขียนไว้ในวรรณกรรมยุคกลาง (ราว คศ. 1516) เรื่อง Utopia และเข้าได้รับการขนานนามว่าเป็น Utopian Socialist ผู้เขียนเชื่อว่า เราอาจจะทำให้ทุกคนในสังคมเป็นนักประกอบการไม่ได้ทั้งหมด แต่ไม่ได้แปลว่า เราจะมีสัดส่วนของนักประกอบการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้สังคมเรามากด้วย (อุดม) นักประกอบการได้  ใน EP 1 -EP 7 ผู้เขียนได้เริ่มตั้งแต่นิยาม ความรู้ทักษะของการเป็นนักประกอบการ การสร้างบรรยากาศแวดล้อม การสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ ผู้นำของการสร้างแบบ Charles Xavier ตามภาพยนตร์ที่ผู้เขียนชืนชอบ ใน EP8 นี้ จะมาพูดถึงหน้าตาโฉมใหม่ของสังคมอุดมนักประกอบการ ซึ่งไม่ไกลเกินความเพ้อฝัน หากทุกคนในสังคมร่วมด้วยช่วยกันสร้างสังคมนี้ให้เป็นสังคมอุดมนักประกอบการ

เกณฑ์ 5 ข้อของนักประกอบการ
  • นักประกอบการ คือ นักแก้ปัญหาด้วยเป้าประสงค์ที่วางไว้ บนทรัพยากรที่จำกัด วัดผลงานได้ เรียนรู้ได้จากความผิดพลาด ประสบความสำเร็จแล้วส่งมอบตัวคูณไปสู่สังคมได้ โดยยังคงความสงบสุขและสวัสดิภาพแก่สังคมและสิ่งแวดล้อม 
  • นักประกอบการ แก้ปัญหาด้วย กระบวนการและวิธีการ เทคโนโลยี รอบตัวก่อน ก่อนจะพิจารณาใช้ "เงิน" หรือ "ความช่วยเหลือพิเศษ" แก้ปัญหา
  • นักประกอบการ ไม่ใช่นักคิด แต่เป็น นักคิด + นักปฏิบัติ + นักบริหาร เป็นพื้นฐานสำคัญ
  • นักประกอบการ มีหลายระดับ หลายสาขาความเชี่ยวชาญ คุณค่าของนักประกอบการไม่ได้อยู่ที่ควสามยากหรือง่ายของปัญหา หรือ Outcome ที่เกิดขึ้น ตราบใดที่ปัญหาสิ้นสุดลงไใ่ว่าจะระดับใด เขาเป็นนักประกอบการทั้งสิ้นซึ่งเป็นความเหมือนกัน ส่วนความแตกต่างนั้น อยู่ที่ว่า จะเป็นนักประกอบการด้านใด เช่น นักประกอบการทางธุรกิจ, นักประกอบการสังคม, นักประกอบการด้านเทคโนโลยี, นักประกอบการด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ หรือ อาจะเรียกว่า "เป็นมืออาชีพในสายงานนั้นๆ ก็ไม่ผิด
  • นักประกอบการ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเจ้าของ หรือมีส่วนความเป็นเจ้าของในเชิงธุรกิจ แต่ "จำเป็น" จะต้องมีส่วนร่วมในผลลัพท์ ที่เกิดขึ้นในสังคม หรือองค์กรนั้น ๆ มีความปรารถนาที่จะให้สังคมหรือองค์กรเกิดผลทางบวกทั้งในระดับส่วนตัวและสวนร่วม มีความกระตือรือล้น มีส่วนร่วมใน "ส่วนเสีย" ที่เกิดขึ้น และพร้อมร่วมมือช่วยแก้ปัญหาตามความสามารถของจนสู่สังคมและองค์กร

สังคมอุดมนักประกอบการ 
  • ในทุกหน่วยของสังคมมีนักประกอบการอยู่ในหน่วยต่าง ๆ ของสังคม ในจำนวนที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กร และสังคมนั้น ๆ ให้ดีขึ้น และทหใ้ทุกคนในสังคมเห็นประโยชน์ จับต้องประโยชน์นั้น ๆ ร่วมกันได้ 
  • หน่วยของสังคมมีนักแก้ปัญหา(นักประกอบการ) เช่น วัด มีพระสงฆ์ และมัคทายก, บ้าน มีสมาชิกในครอบครัว, โรงเรียน สถานบันการศึกษา มีครูอาจารย์ และผู้บริหาร, หมู่บ้านมีลูกบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน และเติบโตไปในหน่วยอื่น ๆ ต่อไปตามลำดับ 
  • สัดส่วนของนักประกอบการ ภายในสังคม หรือองค์กร เมื่อแรกเริ่มนั้น ควรเพิ่มจำนวนจากหลักหน่วย เป็นหลักสิบ และพัฒนาจำนวนเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดต่อประชากรนั้น ผู้เขียนคงให้คำตอบไม่ได้ เพราะว่า ไม่สามารถทำให้ทุกคนเป็นนักประกอบการได้ทั้งหมด เพียงแต่ต้องมีจำนวนมากพอที่จะไม่ต้องการระบบ Super Hero เพื่อแก้ปัญหา
  • ผู้ได้รับประโยชน์จากนักประกอบการ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนตัวเอง มาเป็นนักประกอบการ หากขาดปัจจัยข้อนี้ ไม่ถือว่าเป็นสังคมของนักประกอบการ

ประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจาก "สังคมอุดมนักประกอบการ"
     โดยความสัจจริง ผู้เขียนไม่เห็นประโยชน์ที่จะต้องแสดงรายละเอียดที่จะมีอยู่อย่างหลากหลายและมากมายจากการที่สังคมของเราเป็นสังคมอุดมนักประกอบการ ทว่า เพื่อให้ข้อเขียนมีทางลงที่สวยงามแลลมีลีลา จำเป็นจะต้องแสดงรายละเอียดไว้พอเป็นสังเขปดังนี้

  • เชิงปัจเจกบุคคล ครัวเรือน และสังคมรอบตัว
    • ประชาชนที่เป็นนักประกอบการ จะสามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ เพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ มีทักษะเพิ่มขึ้น
    • นักประกอบการที่มีประสบการณ์มากขึ้น จะเป็น Mentor หรือ Incubator ต่อไปในระดับปัจเจกบุคคล 
    • ต้นทุนในการแก้ปัญหาในส่วนตัว และครัวเรือง
    • หน่วยสังคมขนาดเล็ก ๆ รายนรอบตัว จะได้รับอานิสงค์ของนักประกอบการ ทำให้สังคมเหล่านั้น มีทางออกที่ดี มีผลการเปลี่ยนแปลงเป็นรุปธรรม มีคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีต่อไป
    • สังคมมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น เกิดเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีในการอยู่อาศัยร่วมกัน.
    • จะมีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกมากขึ้น 
    • ฯลฯ
 
  • เชิงสังคมมหภาค
    • ประเทศเป็นสังคมตื่นรู้ และตื่นทำ มีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น สามารถปรับตัวได้ไวขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    • มีการถ่ายโอนองค์ความรู้ ทักษะ วิธีการรปฏิบัติ บทเรียน แก่กันและกัน นำไปสู่การเป็น Live Long Learning Nation 
    • จำนวนปัญหาของประเทศไทยในระดับชาติจะทยอยลดลง และปัญหารากฐานต่าง ๆ ที่สามารถใช้การจัดการเบื้องต้นแก้ปัญหาได้ จะด้รับการแก้ไขเพิ่มขึ้น งบประมาณที่ใช้ และระยะเวลาในการแก้ปัญหาลดลง 
    • ฯลฯ

        ประโยชน์เหล่านี้เกิดจาก การที่ประชากรมีคุณภาพมากขึ้น จากการเป็นนักแก้ปัญหา ซึ่งใช้การปฏิบัติลงมือ ควบคู่ความรู้  เป็นสิ่งที่จะเป็น มโนคติก็ได้ หรือ จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงทีละเล็กทีละน้อย จนใกล้เคียงความสมบูรณ์ได้ในอนาคต ให้เริ่มต้นที่ ทุกคนเป็นนักประกอบการ ทำในขนาดของตนเอง ในความรับผิดชอบปรกติ และเพิ่มคุณค่าร่วมกัน เราจะเป็นประเทศไทยที่ดีได้ และอุดมไปด้วยนักประกอบการ 


ผู้เขียนขอมอบบทความทั้ง 7 ตอน เพื่อประโยชน์ของสังคม อาจมีความขัดใจแก่ผู้อ่านทั้งในเนื้อหา ลีลา ข้อความ ตัวอย่าง ทั้งหมดล้วนแต่เป็นการแบ่งปันแนวคิด และประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด และไม่สามารถถูกใจทุกท่าน ในทุกมุมมองได้ หากเพียงท่านได้นำเอาสิ่งเหล่านี้ไปเริ่มต้น ให้ความร่วมมือที่ท่านทำได้ บทความนี้ก็เป็นประโยชน์คืนกลับไปสู่สังคมของเราเท่านั้นเอง 
0 Comments



Leave a Reply.

Picture
Picture
Picture
Picture

MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand