Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • New Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
        • Integrated Business Knowledge
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
        • Configurations drill down
        • Configulations Design
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • COMPETITION >
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Thais Teen Entrepreneurial Project
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
    • MSIM TH SEMINAR >
      • K-Practice 2020
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Online Seminar
        • Clip to Lecturer
    • MonsoonSIMTG x Alliances >
      • WoW Academy Thailand 2021!!! >
        • WoW Academy Workshop
      • Entrepreneurial Series by BDT and Gamification
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

EP 17 P-Product & Service ที่ตบแป้งแต่งหน้าเป็น C-Customer's value

10/16/2019

0 Comments

 
Picture
Picture
Picture
EP 17 P-Product & Service ที่ตบแป้งแต่งหน้าเป็น C-Customer's value / Problem Solving เปลี่ยนชื่อเปลี่ยนวิธีการ บน "เบ้า" หน้าเดิม
พี่แว่นหน้าตาดี กลับมาอีกครั้ง ในบทความที่ใช้ภาษาง่าย ๆ ไม่เป็นทางการ ที่ผู้อ่านไม่ต้องปีนบันไดฟัง แต่ต้องก้าวอย่างมั่นใจทีละขั้น เพราะว่า เป็นบทความที่เขียนเพื่อให้ "คิด และพิจารณา" ตาม ไม่ใช่เขียนให้เชื่อ (อย่าเติบโตด้านความรู้ด้วยการเพิ่มข้อมูล แต่ไม่เข้าใจมันเลย) เมื่อวันเสาร์ที่ผ่าน จับผลัดจับผลูไปงานสัมมนางานหนึ่ง ซึ่งลงท้ายด้วยการเป็น Modern MLM ที่ขายความฝันที่จะร่ำรวย แต่ products เป็น Online Knowledge Tank ขอใช้ศัพท์โบราณแทนคำว่า Platform เพราะว่าเป็นการเปลี่ยนรูปแบบของ Media ที่ใช้ให้ดูผ่าน Online เท่านั้นเอง ตอนท้ายนั้น มีสุภาพสตรีชะนี มา talks โชว์ เรื่อง 4P 4C 4E แล้วพูดว่า 4P นะ "โบราณ"
พี่แว่นหน้าตาดียังคงเชื่อมั่นในวิธีพื้นฐาน ที่ปัจจุบัน การ "ผสม" กันด้วยสัดส่วนใหม่ เกิดเป็น "ชื่อใหม่" บน "รากเหง้า" หรือ "เบ้า" เดิม และมันก็ไม่ได้ "ล้าสมัย" แบบที่คนอื่นๆ ว่ากัน เพียงเพราะว่า หลงระเริงกับชื่อใหม่ ที่ไม่รู้ที่มาที่ไป อันนี้ พี่แว่นหน้าตาดีไม่ปลื้ม
P-Products เป็นบรรพบุรุษของวิชาความรู้ และพัฒนาการมากมาย ถึงรุ่นบุกเบิกจะถูกปรักปรำว่า "ล้าสมัย" แต่ "คลาสสิค" P-Products นี้ แต่แรกเร่ิมนั้น เกิดมาในยุคที่เราทำตลาดกันดัวย "คุณสมบัติของมัน" โดยเป็นยุคที่ทางการตลาดเรียกว่า "Product Centric" หรือ Marketing 1.0
สมัยแรกเริ่มของการ "ทำตลาด" นั้น เน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเสนอ FEATURE ที่มาก ในราคาที่ COMPETITIVE และให้ลูกค้าพิจารณา VALUE จากราคา ไม่ได้มอง "แปลก" ไปจากนั้น ทว่า ในสมัยหลัง ๆ เพื่อต้องงการให้เกิดความทันสมัยมากขึ้น ก็บอกว่า
FEATURE เปลี่ยนมาเป็น PROBLEM SOLVING และใครสามารถ เกาที่คันของผู้ใช้งาน (CUSTOMERs) ได้ จะ "ทำตลาด = ขาย" ได้
พอการพัฒนาสินค้าเดินมา จากการเดินทางของ วัสดุใหม่ การผลิตแบบ Mass Prodiction และเกิดการแข้งขันด้านราคา ที่ Margin ต่ำลง ผู้ผลิต (ก่อนจะเรียกชือใหม่ภายหลังว่า แบรนด์) ก็หาทางดิ้นรน เพื่อ สร้างความแตกต่าง จากการเรียก "สิ่งเดิม" เป็น "ชื่อใหม่" ซึ่งทำให้ แก้ปัญหาสงครามราคาเป็นช่วง ๆ ไป
พัฒนาการเช่นนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก โดย เริ่มมองว่า "ลูกค้าไม่ได้ต้องการสว่าน ลูกค้าต้องการรูต่างหาก" ซึ่งเป็น สุดยอดอภิมหา Metaphor ที่ใช้บ่อยในสมัยนี้ เกิดเป็น SOLUTIONS เพราะว่า ขายสินค้าเป็นชิ้น ๆ หมดความนิยมลงไป และมอง ประโยชน์ที่เกิดจาก Feature ที่ใช้แก้ปัญหาใด ๆ เป็นคำใหม่ว่า "VALUE" พี่แว่นจึงบอกว่า อย่าไปตืนเต้นอะไรมากมาย และอย่ามา "ลบหลู่" บรรพบุรุษ 4P ด้วยการเรียกว่า 4C ซึ่งชื่อใหม่ เกิดจากการ Mix-use ของ 4Ps ที่ integrated กัน พอเทคโนโลยีอินเตอร์เนตเติบโต ก็เรียกว่า 4Es ซึ่งเอา 4C+Technology and Trend
ปฐมบทแห่ง P-Products
ในยุคที่การแปรรูปวัตถุดิบ เกิดขึ้นในยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม (อย่าลืมว่าใยุคสมัยใด ๆ มี Technology + วัสดุ เป็นตัวแปรทั้งสิ้น) ในยุคนี้ เครื่องจักรไอน้ำ ไฟฟ้า และการเกิดขึ้นของแร่ธาต และวิธีแปรแร่ธาตุที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ของมันไม่เคยมี หรือ มีในจำนวนน้อย หรือ เกิดได้โดกรรมวิธีที่ยากและใช้เวลานาน เป็นเหตุให้ P-Products จึงถูกพัฒนาและกินเวลากว่า ร้อยปี นี่มันคือ การเริ่มต้นของบรรพบุรุษ 4Ps
เมื่อโลกค้นพบเทคโนโลยีใหม่ และวัสดุใหม่ ก้ทำให้การแข่งขันว่า ใครสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้เร็วกว่า ดีกว่า เบากว่า มีสมรรถภาพมากกว่า ประหยัดกว่า ต้นทุนต่ำกว่า ......กว่า ทำให้เกิดการพัฒนาแข่งขัน เป็นยุคแห่งการ เพิ่ม Feature ซึ่ง ภายหลังกระแดะเรียกว่า "Value Added"
จำนวนของ Feature ยังคงมีอิทธฺพลในการตัดสินใจซื้อในปัจจุบัน เมื่อเกิดการเทียบ Pricing กับ Value ที่เกิดขึน ซึ่งเป็นกระวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Consumer) ที่ภายหลังเรียกว่า ลูกค้า (Csutomer) และเป็นวิวิํมนาการของการเอาสองสามสี่ห้าอย่างนี้ มาผสมกันเรียกชื่อใหม่ บน "เบ้าเดิม"
การแข่งขัน Feature มาถึงจุดแตกหัก คือ ทุกคนต่างเพิ่ม feature จนเกิน พื้นฐานความต้องการของลูกค้าทั่วไป และการแข่งขันอันดุเดือดในสงครามราคา บางแบรนด์(ผู้ผลิตและค้าขาย) ก็พัฒนาตัวเองไปใน SEGMENT เดิม TARGET ใหม่ ที่เรียกว่า Niches Market (ตลาดเฉพาะทาง ของคนเฉพาะกลุ่ม) เพื่อไม่ต่อสู่กับคู่แข่งที่มาก และมุ่งเสนอเฉพาะ Feature ที่กลุ่มเฉพาะต้องการ พอเกิดแบบนี้บ่อย ๆ เค้า จึงมีการทบทวนแนวคิด แทนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ "ครอบคลุม" คนทั่งมวล เป็น ทำไมไม่เฉพาะกลุ่มปัญหา ของกลุ่มคนที่แตกต่างกัน จึงเกิดเป็น Customer Centric และเป็นที่มาของ Marketing ในยุคอื่น ๆ ต่อมา
เมื่อ P-Products เปลีย่นวิธีคิด ไปจาก Product-Centric เป็น Customer-Centric คือ ยืดเอาความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ 4Ps ก็กลายร่างเป็น 4Cs P-Products จึงเป็น C-Customer ล่วงเลยมาถึงยุคข้าวยากหมากแพง ก็แข่งกันที่ Value ของใครนำเสนอได้ตรงใจมากกว่ากัน เป็น E-Experiences (CE; Customer Esperiecces ด้วย UXUI ล่อไปกับ Technogy ที่เปลี่ยนแปลงไป)
ท่านจะเห็นว่า หากท่านเล่นแร่แปรธาตุ 4Ps หรือ 7Ps เป็นแล้ว จะเกิด C, E, X หรืออะไร ๆ ก็ตามก็เกิดจาก Chromosome ด้านการตลาดคือ 4P พวกครูอาจารย์ที่สอนเรื่องใหม่ ๆ แล้วบอกว่า 4P โบราณ นี่ให้เข้าใจว่า ผลิกแพลงไม่เป็น ไม่สอนให้เด็กนักศึกษา "คิดเป็น" "เลือกใช้เป็น" และ "ผสมผสานเป็น"
พอยุตข้าวยากหมากแพง รายเล็กอยากเป็นปลายใหญ่ จึงบอกว่า MVP; Mininu Variable Products แปลว่า Test ตลาดบน Feature ที่พอจะขายได้ และขายก่อน อย่าไป รวมร่าง Feature ที่มากมาย แต่แพงจนลูกค้าซื้อไม่ได้ แบบ Startup บอกไว้
P-Products มาโดด ๆ ไม่ได้ ต้อง + Plus S-Services เสมอ พี่แว่น จึงแนะนำว่า เวลาเรียก P-Product ให้เรียกว่า P-Products & Services ได้แล้ว หากจะให้ "อากง" ทันสมัยขึ้น ที่มาที่ไปมันก็มีนะครับ เพราะว่า สินค้าใช้แล้วเสื่อมลง จึงมีบริการ Maintenance เกิด เป็น "บริการหลังการขาย" After Sales Services ขึ้น หรือ สินค้าที่ี feเature ซับซ้อน ต้องการคำอธิบาย จึงต้องมีการบริการข้อมูล และวิธีการในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการสาธิต หรือมีผู้ขายให้ข้อมูล ณ จุดขาย (Point of Selling Service) หรือ ในกลุ่มสินคาที่ยุ่งยาก เกิดมี Pre-sales Service คือ บริการให้เรียกร้อยก่อนการขาย เช่น กลุ่มสินค้า IT กลุ่มท่องเที่ยว ฯลฯ ความต้องการบริการเหล่านี้เปลี่ยนรูปแบบไป เมื่อ Internet เป็นของสามัญมีทุกที่ทุกบ้าน จึงหมายรวมเอา บริการทั้ง 3 ส่วน ซึ่งจะมีมากหรือน้อยต่างันไปตาม Products ที่แตกต่างกัน ว่า CUSTOMER's Experience คือ ใครทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ เข้าใจ เชื่อใจ มั่นใจ ได้มากกว่า ก็มักจะ "ทำตลาด" ได้ ..
ด้วยเหตุเหล่านี้ พี่แว่นหน้าตาดี จึงอยากให้ทุกคนเข้าใจ Marketing Mix มันต้อง Mix พอผสมแล้วเปลี่ยนชื่อเรียกให้ "เก๋ไก๋" หากคุณเป็นพวกผู้ตาม fashion ไม่เข้าใจมัน ก็จะต้อง ท่องจำวิธีการทำตลาด ที่ "ใช้ไม่เป็น" เพราะว่า "ไม่เข้าใจ" นั่นเอง
พี่แว่นหน้าตาดี จบบทความนี้เท่านี้ก่อนนะคัรบ เพราะว่า เขียนยาวไปคนก็บ่นเสียเปล่าๆ อย่งไรก็ตามติดตามความรู้ที่ตำรากระแสหลักเค้าไม่บรรจุไว้ได้้ที่นี่ บนหลักการที่พี่แว่นหน้าตาดีต้องการ ชวนให้คิดตาม เข้าใจ และเอาไปใช้งานให้เป็น เช่นเคย ติดตามสาระดีดี ได้ จาก
#บทเรียนง่ายๆสไตล์มอนซูน ซึ่งเป็นชั้น Beginner to Intermediate
#ครูพักมอนซูนลักจำ คือ วิชาอื่น ๆ ที่พี่แว่นไปฟังจากกูรูมาแล้วมาสรุปง่าย ๆ เพื่อแบ่งปัน และในอนาคตอันใกล้นี้ #BeOurMonsoonGuest คือ คลิปสนทนาเรื่องต่าง ๆ ในหลากหลายเรื่องจากเพื่อน และพันธมิตรของ MonsoonSIM และพี่แว่นหน้าตาดี
เจอกัน EP ต่อไปนะครับ
0 Comments



Leave a Reply.

Picture
Picture
Picture

MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand