หมายเหตุประกอบบทความ
บทความที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจล้าสมัยแล้วจากเมื่อวันที่เริ่มเขียน
บทความที่เกี่ยวข้องนี้ เขียนในขณะที่ผู้เขียนยังด้อยประสบการณ์ ก่อนการพบความจริงที่ว่า ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพที่แท้จริงในการปฏิวัติการศึกษา
บทความชุดนี้ประกอบด้วย
EP 1 อรรถาธิบายเรื่อง LTT ส่วนสำคัญส่วนแรกในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย
EP 2 ขั้นตอนในกระบวนการ LTT องค์ประกอบที่จะทำให้ LTT เกิดได้ และส่งผลเป็นรูปธรรม
EP 3 LTT ความเรียบง่ายที่ครูอาจารย์มืออาชีพสามารถทำได้ ตัวอย่างของ LTT (Coming Soon)
EP 4 ผลที่จะเกิดจาก LTT เมื่อเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการ ผลลัพท์จะเปลี่ยน จากผู้สอนเป็นผู้อำนวยการความรู้ จากนักเรียนเป็นผู้เรียน
EP 5 กระบวนการที่ต้องเกิดควบคู่กับ LTT เพื่อสู่ CT และ ET อนาคตที่เลือนลางของการปฏิวัติการศึกษาไทย
การศึกษาเป็นไหมพรมที่ถูกแมวเล่น เด็กเล่น จนพันกันยุ่งเหยิง ทว่า เป็นไหมพรมที่ทิ้งก็ไม่ได้ จะตัดให้ขาดเป็นท่อน ๆ ก็ทำได้ยาก สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือ พยายามแกะไปทีละเงื่อนปม โดยอาศัยตความร่วมมือในสังคม เพราะว่า เป็น "ปมปัญหา" ใหญ่ ความคิดนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ความคิด ซึ่งเสนอเป็น "ทางเลือก" ผู้เขียนเกิดความเสียดาย ที่จะไม่ได้เผยแพร่แนวความคิดนี้ให้แพร่หลาย เพระาว่าแรงผลัดกันในใจที่เดือดร้อนกับ อนาคตของตัวเอง ที่เป็นส่วนหนึ่งของอนาคตประเทศ และผลของมันจะเกิดอย่างไรก็แล้วแต่คุณภาพของคนในประเทศ ที่เกิดจากการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของความเข้าใจ การมีเหตุผล ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทำให้สังคมอยู่รอดได้ และกระทบต่อผู้เขียนในวันที่ก้าวเข้าสู่วัยชราในอนาคต การแก้ปัญหาจากมุมมองนี้ เขียนไว้เพื่อให้ท่านได้ระลึกว่า หากไม่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเรื่องนี้จริงจัง ก็จะส่งผลต่ออนาคตของทุกท่านอยู่ดี ขอพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดใด ๆ เพื่อสังคมที่ดีขึ้นจากการศึกษา จงสถิตย์อยู่กับทุกท่านจากนีั้ และของให้พลังนั้น ส่งผลให้ "เกิดการลงมือพร้อม ๆ กันในหลาย ๆ ภาคส่วนต่อไป จนเกิดเป็นผลลัพท์ที่ดี" ท่านที่เห็นต่างก็เสนอแนวทางแก้นะคัรบ อย่าเสียเวลามาเถียงกันเลยว่าวิธีของใคร หลักการใดกว่ากัน เราเสียเวลามาแล้วสอง Generation ครับ
... เขียนแล้วก็ให้พรกับความปรารถนานี้ว่า "สมพรปาก"
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
- บทความนี้มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูอาจารย์ นักการศึกษา ผู้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการศึกษา เรียงตามลำดับกันมา แต่ผู้เขียน มุ่งเน้นให้ครูอาจาร์เป็นกบฎต่อระบบปัจจุบัน หากระบบปัจจุบันยังคงอยู่
- บทความนี้ไม่ได้เขียนโดยนักการศึกษา หรือนักวิชาการ หากมันมีความจำเป็นสำหรับผู้อ่านว่า คนที่จะพูดหรือเขียนเรื่องการปฎิวิตัการศึกษาต้องจำกัดอยู่กับคนที่อยู่ในวงการการศึกษา เป็นอาจารย์ เป็นผู้มีชือเสียงเท่านั้น ก็ขอให้ท่านได้ข้ามบทวามนี้ไปครับ
- บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ชวนกันเปลี่ยนแปลง โดยผู้เขียนแนะนำกระบวนการที่ง่าย และทำได้มากที่สุด คือ LTT; Learning and Teaching Transformation ซึ่งเป็นระดับแรกของกระบวนการทั้งหมดเท่านั้น ส่วน CT; Curriculum and Commons Edcuational Practice Transformation และ ET; Edcucation Transformation ตราบใดที่เรายังมีกระบวนการคิดแบบเดิม มีหน่วยงานเดิมที่ดูแลารศึกษา ผมคิดว่าเราอย่าไปฝากความหวังในกรับวนการอื่น ๆ
- บทความนี้ใช้ Framework จาก Digital Transformation ของ คุณดนัยรัตน์ ธนบดีธรรมจารี และได้ขออนุญาตไว้แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2560 ตั้งแต่ ใน version 1.0 จนถึง 1.7 นี้ ซึ่งผู้เขียน ทดท้อใจ และหยุดพัฒนาความคิดนี้มาแล้ว 3 ปี จากการที่ไม่เห็นว่า มีใครที่จะลงมือจริงจังในการแก้ปัญหานี้ เพราะว่า ปัญหาอืน ๆ ถูกจัดใก้มีความสำคัญในการลงมือ เห็นผล และประโยชน์เร็วว่าในเรื่องของการปฎิรูปการศึกษา อย่างไรก็ตามหากมีความผิดพลาดในบทความนี้ หรือ framework ถูกนำมาตีความใหม่ ความผิดพลาดบกพร่องนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ
- ผู้เขียนเขียนด้วยความหวัง กับสิ่งที่จะเกิดในทางที่ดีขึ้นกับการศึกษาของไทย เพราะถ้าสิ้นหวังแล้วคงไม่เสียเวลาใด ๆ ในบทความเหล่านี้
- ความทันสมัยของบทความ โปรดพิจารณาการเปลี่ยนแปลงเมื่อท่านอ่านบทความนี้ บทความนี้ถูกเขียนในช่วง 2562 โดยแนวคิด จากปี 2560
บทความที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจล้าสมัยแล้วจากเมื่อวันที่เริ่มเขียน
บทความที่เกี่ยวข้องนี้ เขียนในขณะที่ผู้เขียนยังด้อยประสบการณ์ ก่อนการพบความจริงที่ว่า ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพที่แท้จริงในการปฏิวัติการศึกษา
- เหตุใดจึงเลือก Digital Transformation มาเป็นแนวคิดในการทำ Education Transformation ใน MonsoonSIM Seminar 2017
- Thai Style จะต้องไม่จบลงที่ Thailand Only !!! แต่มี Only Thailand ที่ทำได้
- Link เพื่อไปยังงานสัมมนาในปี 2017 https://www.monsoonsimthailand.com/summay-and-download.html
บทความชุดนี้ประกอบด้วย
EP 1 อรรถาธิบายเรื่อง LTT ส่วนสำคัญส่วนแรกในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย
EP 2 ขั้นตอนในกระบวนการ LTT องค์ประกอบที่จะทำให้ LTT เกิดได้ และส่งผลเป็นรูปธรรม
EP 3 LTT ความเรียบง่ายที่ครูอาจารย์มืออาชีพสามารถทำได้ ตัวอย่างของ LTT (Coming Soon)
EP 4 ผลที่จะเกิดจาก LTT เมื่อเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการ ผลลัพท์จะเปลี่ยน จากผู้สอนเป็นผู้อำนวยการความรู้ จากนักเรียนเป็นผู้เรียน
EP 5 กระบวนการที่ต้องเกิดควบคู่กับ LTT เพื่อสู่ CT และ ET อนาคตที่เลือนลางของการปฏิวัติการศึกษาไทย
การศึกษาเป็นไหมพรมที่ถูกแมวเล่น เด็กเล่น จนพันกันยุ่งเหยิง ทว่า เป็นไหมพรมที่ทิ้งก็ไม่ได้ จะตัดให้ขาดเป็นท่อน ๆ ก็ทำได้ยาก สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือ พยายามแกะไปทีละเงื่อนปม โดยอาศัยตความร่วมมือในสังคม เพราะว่า เป็น "ปมปัญหา" ใหญ่ ความคิดนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ความคิด ซึ่งเสนอเป็น "ทางเลือก" ผู้เขียนเกิดความเสียดาย ที่จะไม่ได้เผยแพร่แนวความคิดนี้ให้แพร่หลาย เพระาว่าแรงผลัดกันในใจที่เดือดร้อนกับ อนาคตของตัวเอง ที่เป็นส่วนหนึ่งของอนาคตประเทศ และผลของมันจะเกิดอย่างไรก็แล้วแต่คุณภาพของคนในประเทศ ที่เกิดจากการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของความเข้าใจ การมีเหตุผล ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทำให้สังคมอยู่รอดได้ และกระทบต่อผู้เขียนในวันที่ก้าวเข้าสู่วัยชราในอนาคต การแก้ปัญหาจากมุมมองนี้ เขียนไว้เพื่อให้ท่านได้ระลึกว่า หากไม่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเรื่องนี้จริงจัง ก็จะส่งผลต่ออนาคตของทุกท่านอยู่ดี ขอพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดใด ๆ เพื่อสังคมที่ดีขึ้นจากการศึกษา จงสถิตย์อยู่กับทุกท่านจากนีั้ และของให้พลังนั้น ส่งผลให้ "เกิดการลงมือพร้อม ๆ กันในหลาย ๆ ภาคส่วนต่อไป จนเกิดเป็นผลลัพท์ที่ดี" ท่านที่เห็นต่างก็เสนอแนวทางแก้นะคัรบ อย่าเสียเวลามาเถียงกันเลยว่าวิธีของใคร หลักการใดกว่ากัน เราเสียเวลามาแล้วสอง Generation ครับ
... เขียนแล้วก็ให้พรกับความปรารถนานี้ว่า "สมพรปาก"
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
EP 1 อรรถาธิบายเรื่อง LTT ส่วนสำคัญส่วนแรกในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย
หมายเหตุ: ผู้เขียนขอทึกทักว่า ท่านได้เข้าใจ Frame Work พื้นฐานของคุณดนัยรัตน์ ธนบดีธรรมจารี โปรดอย่าข้ามไป เหตุใดจึงเลือก Digital Transformation มาเป็นแนวคิดในการทำ Education Transformation ใน MonsoonSIM Seminar 2017
หลักการแรก คือ รู้ หรือสงสัยว่าเกิดปัญหา และพิสูจน์ก่อนว่าปัญหานั้น ไม่ได้คิดไปเอง
ในเครื่องมือปัจจุบันที่ใช้ในการวิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหา (ที่มีพื้นฐานมาจากหลักวิชาคลาสสิค) ถ้าคนเอามาใช้แล้วไม่ข้ามขั้นตอน ขั้นแรก คือ การพิสูจน์สมมติฐาน (ผู้เขียนเรียนในพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ สมัย ม.1 ผ่านมา 30 ปีเศษ จึงเข้าใจว่า วิธีเดียวกันในทุกเรืองทุกศาสตร์; ผู้เขียนกำลังแสดง LTT ในบทความของตัวเอง ท่านอ่านไปเรื่อย ๆ ท่านจะเข้าใจข้อความในวงเล็บนี้)
การศึกษาเป็นปัญหา หรือยัง เป็นคำถามที่สังคมโดยภาพรวม "เพียงเชื่อ" ว่าเป็นปัญหา ด้วยหลักการตอบคำถามในวิชาสังคมศาสตร์เพื่อให้ได้คะแนน คือ ปัญหาทุกสิ่งล้วนแก้ด้วยการศึกษา เป็นสรณะท่องจำแห่งชาติ และแห่งโลก ความเชื่อไม่ถูกพิสูจน์ให้เห็นในข้ามวัน แต่มักจะเกิดเมื่อผ่านไปแล้วในระยะเวลาหนึ่ง เช่น 20 ปี และมักมีโซลูชั่นจากการศึกษานอกตำรามาแทนที่ปัญหา ความเชื่อที่ผังใจคนไทยเหล่านี้ มีเพียงกระพีกเดียวของสังคมที่เข้าใจว่าเป็นปัญหาที่ควรเดือดร้อน เพราะว่า หากสังคมเชื่อ แต่ไม่พิสูจน์ จะเกิดปัญหาความร่วมมือในการแก้ปัญหา ซึ่งในปัจจุบันเป็นเครื่องยืนยันแล้วว่า ทุกคงยังคงเชื่อว่าเป็นวาระแห่งชาติ แต่ ไม่ใช่ทุกคนที่จะยื่นมือมาเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการแก้ปัญหา เช่น
ทั้งหมดนี้คือ ตัวอย่างที่ผ้เขียน พยายามยืนยันว่า เราเกิดมีปัญหาด้านการศึกษาทุกระดับ และปัญหามีอยู่จริง แต่ระดับความสำคัญของการเลี้ยงปากท้อง, ปัญหาทางการเมือง, ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้, ปัญหาสังคม ที่เราท่องอาขยายและได้รับโปรแกรมมาว่า ปัญหาเหล่านี้เยียวยา และแก้ไขได้จากการศึกษาที่ดี แต่ ทำไมเราไม่มีการศึกษาที่ดีเสียที การศึกษาที่ดีเหมาะสมกับสังคม สภาพการณ์ และการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมของเรา งบประมาณถูกเทไปเพื่อการศึกษามากกว่ากระทรวงใด ๆ มาแล้วหลายสิบปี แต่ผลลัพท์ที่เราได้ คือ การไม่คิดแต่ท่องจำ, การคิดไม่เป็นระบบ, การคิดเชิงจรรกะที่อ่อนแอ ผู้เขียนร่ายยาวมาเพื่อพิสูจน์ปัญหาให้เห็นชัดเจน หาก ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาในทรรศนะของท่านอย่าเสียเวลาอ่านต่อครับ เพราะว่า ถ้าไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา แล้วจะไปอ่านข้อเสนอในวิธีการแก้ไขปัญหาทำไม เสียเวลาและทรัพยากรครับ
หมายเหตุ: ผู้เขียนขอทึกทักว่า ท่านได้เข้าใจ Frame Work พื้นฐานของคุณดนัยรัตน์ ธนบดีธรรมจารี โปรดอย่าข้ามไป เหตุใดจึงเลือก Digital Transformation มาเป็นแนวคิดในการทำ Education Transformation ใน MonsoonSIM Seminar 2017
หลักการแรก คือ รู้ หรือสงสัยว่าเกิดปัญหา และพิสูจน์ก่อนว่าปัญหานั้น ไม่ได้คิดไปเอง
ในเครื่องมือปัจจุบันที่ใช้ในการวิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหา (ที่มีพื้นฐานมาจากหลักวิชาคลาสสิค) ถ้าคนเอามาใช้แล้วไม่ข้ามขั้นตอน ขั้นแรก คือ การพิสูจน์สมมติฐาน (ผู้เขียนเรียนในพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ สมัย ม.1 ผ่านมา 30 ปีเศษ จึงเข้าใจว่า วิธีเดียวกันในทุกเรืองทุกศาสตร์; ผู้เขียนกำลังแสดง LTT ในบทความของตัวเอง ท่านอ่านไปเรื่อย ๆ ท่านจะเข้าใจข้อความในวงเล็บนี้)
การศึกษาเป็นปัญหา หรือยัง เป็นคำถามที่สังคมโดยภาพรวม "เพียงเชื่อ" ว่าเป็นปัญหา ด้วยหลักการตอบคำถามในวิชาสังคมศาสตร์เพื่อให้ได้คะแนน คือ ปัญหาทุกสิ่งล้วนแก้ด้วยการศึกษา เป็นสรณะท่องจำแห่งชาติ และแห่งโลก ความเชื่อไม่ถูกพิสูจน์ให้เห็นในข้ามวัน แต่มักจะเกิดเมื่อผ่านไปแล้วในระยะเวลาหนึ่ง เช่น 20 ปี และมักมีโซลูชั่นจากการศึกษานอกตำรามาแทนที่ปัญหา ความเชื่อที่ผังใจคนไทยเหล่านี้ มีเพียงกระพีกเดียวของสังคมที่เข้าใจว่าเป็นปัญหาที่ควรเดือดร้อน เพราะว่า หากสังคมเชื่อ แต่ไม่พิสูจน์ จะเกิดปัญหาความร่วมมือในการแก้ปัญหา ซึ่งในปัจจุบันเป็นเครื่องยืนยันแล้วว่า ทุกคงยังคงเชื่อว่าเป็นวาระแห่งชาติ แต่ ไม่ใช่ทุกคนที่จะยื่นมือมาเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการแก้ปัญหา เช่น
- ทุกวันนี้ การส่งบุตรหลานไปโรงเรียน พ่อแม่รุ่น Gen X เป็นต้นมา กลับต้องดูแลการศึกษาเสมือนหนึ่งว่า ต้องไปเรียน ไปสอบ แลไปรับผิดชอบชีิวิตการศึกษาของบุตรหลาน ตรงนี้ผู้เขียนมองได้ หลายมุม อาทิ ลงไปแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อที่จะได้ไม่เป็นปัญหาของผู้ปกครอง จนลืมไปว่า เราละเลยพื้นฐานเช่น ความรับผิดชอบตนเอง, การใช้จินตนาการในการแก้ปัญหาของเยาวชน ด้วยวิธีการแก้ปัญหาของผู้ปกครอง ซึ่งทำให้เยาวชนนอกจากจะอยู่ในระบบการศึกษาที่ไม่ได้สอนให้คิด หรือ จำกัดความคิด จำกัดคำตอบเฉพาะที่ครูสอนแล้ว ยังถูกจำกัดอีกขั้นด้วยวิธีการของพ่อแม่ผู้ปกครอง ตกลงต้องถามตัวพวกเรากันเองว่า ที่ทำอยู่เช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็น ไลน์กลุ่มที่เตือนพ่อแม่ให้วางแผนทุกอย่างให้ลูกจนทำอะไรเองไม่เป็น, เตรียมการทุกอย่าง ให้ตั้งแต่ เส้อผ้า ชุดลุกเสือ ชุดพละ จัดกระเป๋า เช็คการบ้าน อ่านหนังสือสอบ เพื่อติวลูก ส่งลูกไปเรียนพิเศษเพือทำการบ้านในชั้นประถม ตัดสินใจอนาคตแทนที่จะให้ลูกเข้าใจทางเลือกที่มีและเลือกเอง การเลือกให้ลูกจกปมในใจพ่อแม่ ในชั้นมัธยมเพื่อประกันสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จ แบบนี้ เราท่าน และสังคมรอบตัวที่ไม่ตักเตือนกัน เป็นคนสร้างปัญหาพื่นฐาน ที่มีเหตุผลแห่งการแก้ตัวด้วย "ความรัก" "ความห่วงใย" ที่มากเกินไป จนเขาทำอะไรไม่เป็น ตัดสินใจไม่ได้ ขาดแรงต้านจากความผิดหวัง ฯลฯ
- ระบบการวัดผล ที่วัดแบบแกนเดียว ไม่ได้วัดแบบ Matrix ส่งผลให้ เกิดแนวคิดที่ล้มเหลว เด็กดี = เด็กเก่ง = เรียนเก่ง = สอบได้คะแนนดี =ตอนตรงใจครูอาจารย์ผู้สอน = ว่านอนสอนง่าย = ต้องเป็นที่หนึ่ง หรืออันดับต้น ๆ = อนาคตที่ดี แนวคิดแบบนี้ คือ แนวคิดที่มาจากยุคที่การศึกษาไม่ใช่ของสามัญของ Baby Boomer และค่านิยมที่เกิดจากกรอบของสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี จารีต ธรรมเนียม และหลักสูตรการศึกษา ย้อนถอยหลังไป 60-200 ปี ค่านิยม ที่กลายมาเป็นความเชื่อนี้ ทำให้ เกิดระบบผู้ขาดทักษะความรู้เพียงกลุ่มเดียว หยั่งรากจนกำหนดพฤติกรรมต่อมา ทั้ง ๆ ที่โลกในรอบหลายสิบปีเปลี่ยนแปลงไปมาก และผู้ตามสังคมตะวันตกแบบคนไทย ยังย่ำอยู่ที่เดิม ล๊อกค่าความสำเร็จของการศึกษาไว้ที่จุดเดิมเมื่อ 60-200 ปีก่อน ในขณะที่โลกที่เรา copy และเดินตามเปลี่ยนเป็น การวัดผลบนความหลากกหลาย Diversify Measurement และ ทำให้ ทักษะ ความรู้ อีกกระบุงโกยมีคุณค่าทัดเทียม แต่ความลักลั่นยังมีอยู่ เช่น ในวัยเด็กพ่อแม่สมัยนี้ส่งเสริมสิ่งที่เรียกว่า "ความชอบ" เช่น ชอบทำอาหาร ชอบดนตรี การแสดง ศิลปะ (บ้างเลือกตัวเลือกที่จำกัดให้ลูกเลือก, บ้างเลือกให้ลูกเพราะเงือนไขอื่น อันนี้พูดถึงสังคมชนชั้นกลางทั่วไป) แต่พอเด็กโตขึ้นถึงมัธยมต้น เราเหลือทางเลือกในระบบ ให้เดิน คือ สายอาชีวะ และ สายสามัญ วิทย์ หรือศิลป์ และค่านิยมก็ drive ให้ไปสู่ อุดศึกษา ด้วยความเชื่อเดิมแบบ 60-200 ปีก่อน บนคณะวิชา และคณาจารย์ที่เป็นผลิตภัณฑ์จาก 60-200 ปีก่อน แล้ว การยอมรับแบบนี้จะอยู่ไปอีกนานเท่าใด ทุกวันนี้เยาวชน ต้องเรียนไปตามกรอบเดิม และไปแสวงหา เสียเวลา โอกาส ทรัพยากร เพื่อจะประกอบอาชีพที่ตนเองรู้ว่าอยากทำ แต่ต้องเรียนให้จบแบบจำใจในระบบเสียเป็นส่วนใหญ่ แบบนี้เป็นปัญหาหรือยัง
- นักเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป ต้องเรียนพิเศษ ในเนื้อหาเดิมอีกรอบ เพราะว่า เนื้อหาที่โรงเรียนสอนตามหลักสูตร มาเทียบกับ Measurement ในกิจกรรมทางการศึกษาต่อไป ทำให้ทั้งตัวเอง ผู้ปกครอง ไม่มั่นใจว่าการศึกษาที่ได้รับจาก Ordinary School เพียงพอต่อก้าวต่อไป แบบนี้เป็นปัญหาที่สัมผัสได้ แต่เราชินจนกลายเป็นของจำเป็น กลายเป็นปรกติ บนความผิดปรกติอย่างร้ายแรงหรือเปล่า
- นักศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย ถูกลดทอนหน่วยกิจ และโอกาสในการเห็น และสัมผัสวิชาความรู้และเพื่อนต่างคณะ เหลือจำกัดเพียงวิชาในเมเจอร์ของตน ที่ยิ่งเรียนยิ่งลุกลงไปในรายละเอียด แต่ทักษะ สังคมความรู้รอบตัว ที่จำเป็นต่อสังคมที่มีคามหลากหลายหายไป เรียนเพื่อจำ จำเพื่อสอบ สอบเพื่อให้ได้ประกาษดใบเดียว แล้วไปเป็นภาระกับภาคธุรกิจที่ต้องอบรมใหม่ เพราะว่า ชุดความรู้และทักษะที่ใช้เวลาเฉลี่ย 4 ปี ไม่มีประโยชน์ นี่ยังไม่รวม แนวโน้มของการพึ่งพาตัวเองที่น้อยลง เช่น การรวมตัวกันติวจนมหาวิทยาลัยต้องเปิดโรงอาหาร ห้องสมุดกลาง เปิดแอร์ ต้องหาศิษย์เก่าและสปอนเซอร์มาจัดอาหารน้ำในช่วงสอบ ทั้งๆ ที่เป็นความรับผิดชอบส่วนตัว และปรากฎการณ์ล่าสุดที่การปฐมนิเทศก์ของนักศึกษาใหม่ ต้องมีผู้ปกครองเข้าร่วมด้วยเป็นต้น นี่เรากำลังมีการศึกษาของคนท่จะเป็นผู้ใหญ่ หรือ เราร่วมกันทำให้เขาเป็นผู้เยาว์ไปตลอดอายุการศึกษา ตรงนี้สำหรับผู้เขียนคือปัญหา ปัญหาที่เยาวชนของเรา โตแต่ตัว และฮอร์โมน แต่ไม่โตในทักษะชีวิต และสังคม
- หากท่านไปทำ survey กับ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนลูกหลานท่านนี่แหละครับ แต่พวกเขาส่วนใหญ่ หากทรัพยากรด้านำลังทรัพยน์ถึง อาจารย์เหล่านั้นส่งลุึกไปเรียนเมืองนอก เพราะอะไรนะหรือครับ เพราะว่า เขาไม่เชื่อว่าการศึกษาที่นี่ "ได้ผล" พ่อแม่คนชั้นกลาง ถึงคนชั้นสูง ที่มีฐานะ "ใช้เงิน" เพื่อเลือกการศึกษาที่เข้าใจว่าจะมีคุณภาพมากกว่า หรือ อย่างน้อย เลือกสังคมในอนาคตให้ลูกหลานตน ที่มีเงินมากหน่อยแต่อยากใกล้ชิดลูก ก็เลือก โรงเรียนนานาชาติ เพราะว่า เชื่อว่าโรงเรียนในไทยไม่มีมาตรฐานที่ดี ที่มีอันจะกิน จะส่งลูกไปเรียนเมืองนอก เพราะ เชือว่าการเรียนในประเทศไทยไม่มีมาตรฐานที่ดี
- ภาคเอกชน รับพนักงานใหม่ จะต้องจัดการอบรมพนักงานเพื่อให้ทำได้ ลงทุนใหม่กับ คนที่คัดมาแล้วคัดมากอีกจากสถาบันการศึกษา แต่ "ทำงานไม่ได้ ทำงานไม่เป็น ขาดทักษะอีกกระบุงโกย" ประเทศเสียเวลา เงินทุน ทรัพยากร และโอกาส มากเท่าใดในกระบวนการหลัง recuritment และต้อง Re-Skills อีกรอบ จนกระทั่ง ภาคเอกชนต้องหันมาสร้าง Academy ของตนเอง เพื่อแกปัญหานี้
- บัณฑิตจบใหม่ และ first jobber จะต้อง ไปอบรมเพื่อเสริมทักษะที่ควรมี หรือ ลบตราบาปที่ตัวเองไม่ได้เลือก ไม่ได้ศึกษาตามที่ตัวเองต้องการ ผ่านการอบรมต่าง ๆ และการเรียน ป.โท ซึ่งคุณภาพของปริญญาโท ก็ลดลงอย่างมาในรอบหลายสิบปีมานี้ จากเดิมเป็นการเรียนเพื่อต่อยอดกระบวนคิดที่มีความซับซ้อน กลายเป็นเรียนเพิ่มในทฤษฎีที่ยากขึ้นแต่วิธีการคิดของนักศึกษา ปริญญาโทมีขีดจำกัดสูงขึ้น สวนทางกับความสามารถที่ลดลง
ทั้งหมดนี้คือ ตัวอย่างที่ผ้เขียน พยายามยืนยันว่า เราเกิดมีปัญหาด้านการศึกษาทุกระดับ และปัญหามีอยู่จริง แต่ระดับความสำคัญของการเลี้ยงปากท้อง, ปัญหาทางการเมือง, ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้, ปัญหาสังคม ที่เราท่องอาขยายและได้รับโปรแกรมมาว่า ปัญหาเหล่านี้เยียวยา และแก้ไขได้จากการศึกษาที่ดี แต่ ทำไมเราไม่มีการศึกษาที่ดีเสียที การศึกษาที่ดีเหมาะสมกับสังคม สภาพการณ์ และการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมของเรา งบประมาณถูกเทไปเพื่อการศึกษามากกว่ากระทรวงใด ๆ มาแล้วหลายสิบปี แต่ผลลัพท์ที่เราได้ คือ การไม่คิดแต่ท่องจำ, การคิดไม่เป็นระบบ, การคิดเชิงจรรกะที่อ่อนแอ ผู้เขียนร่ายยาวมาเพื่อพิสูจน์ปัญหาให้เห็นชัดเจน หาก ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาในทรรศนะของท่านอย่าเสียเวลาอ่านต่อครับ เพราะว่า ถ้าไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา แล้วจะไปอ่านข้อเสนอในวิธีการแก้ไขปัญหาทำไม เสียเวลาและทรัพยากรครับ
กระบวนการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการ Education Transformation ในทรรศนะของผู้เขียน
ต้องเรียนย่ำกับผู้อ่านอีกครั้งว่า ข้อเสนอผ่านบทความนี้เป็นของคนธรรมดา มิใช่นักการศึกษา ไมมีปริญญาเอก ผู้เขียนเติบโตในระบบการศึกษาไทย ไม่เคยเรียนเมืองนอก และรับปริญญาอย่างเป็นทางการ คือ ปริญญาตรี เรียนและสอบประมวลวิชาในระดับปริญญาโทผ่าน และไม่ทำวิทยานิพนธ์ต่อ เพราะว่าเห็นไม่ตรงกับอาจารย์ที่ปรึกษา ความคิดเห็นและจ้อเสนอในบทความนี้มาจาก ประสบการณ์ที่บังเอิญเกี่ยวข้องกับภาคการศึกษา, ประสบการณ์ที่ทุกข์ใจเพระาการศึกษา และอ่านจากหนังสือที่เกี่ยวกับการศึกษา ในช่วงเวลา Distupive Period ของวงการต่าง ๆ และผู้เขียนภาวนาว่าให้เกิดเสียทีในการศึกษาไทย แต่การศึกษาไทยจะรอดด้วยระบบ และมายาคติในรูปแบบของสถาบันและสิ่งหุ้มห่อ แต่จะทยอยตายไปในเชิงความศรัทธาซึ่งกินระยะเวลามะเร็งระยะสุดท้ายในรอบ 7-10 ปี จากวันนี้ เป็นคน ๆ ไป เพราะว่า คนรวย หรือมี Ability จาก พรบ. พรก. จัดตั้งสถานศึกษานั้น จะไม่ตายแค่โคม่าไปเรื่อย ๆ ดังนั้น หากท่านจะหาความอะไร จากความด้อยปัญญาของผู้เขียน ผู้เขียนขอน้อมรับไว้นะ เนื่องจากไม่มีประโยชน์ใด ๆ ที่จะต่อกรกับหอคอยงาช้าง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย
กระบวนการแรก: กระบวนการตื่นรู้ต่อปัญหาและสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
DT2ET2ST >> Digital Transformation to Education Tansformation to Social Transformation หรือ การใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากดิจิตอล เพื่อสร้างโครงร้างของการปฎิวัตการศึกษา เพื่อการกลายเป็นสังคมอุดมนักประกอบการ สังคมที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่มีประชาชนหรือสมาชิกในสังคมสเป็นนักแก้ปัญหา โดยใช้การศึกษาเป็นพื้นฐานในการสรัาง การทำมาหากินใหม่ เช่น Digital economy, สังคมอุดมคติในโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น
กระบวนการปฎิวัติการศึกษา 3 ขั้นตอนย่อย
การบวนการตื่นรู้ต่อปัญหา และสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
(Awareness in same view and Agreeableness to Solve by solutions)
เป็นกระบวนการแรก ๆ ในการส้รงความเปลี่ยนแปลงของทุกเรื่อง ในทุกวงการ ในทุกระดับ หากประสงค์ผลของการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มที่หน่วยนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดังสังคม เห็นปัญหาหา และ "ประสงค์" จะแก้ไข กระบวนการนี้เกิดขึ้นได้ง่าย โตและคงอยู่ได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปัญหาของการศึกษา เมื่อปัญหาถูกเข้าใจ และเห็นพ้องต้องกันแล้ว จึงจะเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการแก้ไข ซึ่งใน FrameWork ของ Digital Transformation และการจัดการปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ ระบุไว้ตรงกันดังนี้
ต้องเรียนย่ำกับผู้อ่านอีกครั้งว่า ข้อเสนอผ่านบทความนี้เป็นของคนธรรมดา มิใช่นักการศึกษา ไมมีปริญญาเอก ผู้เขียนเติบโตในระบบการศึกษาไทย ไม่เคยเรียนเมืองนอก และรับปริญญาอย่างเป็นทางการ คือ ปริญญาตรี เรียนและสอบประมวลวิชาในระดับปริญญาโทผ่าน และไม่ทำวิทยานิพนธ์ต่อ เพราะว่าเห็นไม่ตรงกับอาจารย์ที่ปรึกษา ความคิดเห็นและจ้อเสนอในบทความนี้มาจาก ประสบการณ์ที่บังเอิญเกี่ยวข้องกับภาคการศึกษา, ประสบการณ์ที่ทุกข์ใจเพระาการศึกษา และอ่านจากหนังสือที่เกี่ยวกับการศึกษา ในช่วงเวลา Distupive Period ของวงการต่าง ๆ และผู้เขียนภาวนาว่าให้เกิดเสียทีในการศึกษาไทย แต่การศึกษาไทยจะรอดด้วยระบบ และมายาคติในรูปแบบของสถาบันและสิ่งหุ้มห่อ แต่จะทยอยตายไปในเชิงความศรัทธาซึ่งกินระยะเวลามะเร็งระยะสุดท้ายในรอบ 7-10 ปี จากวันนี้ เป็นคน ๆ ไป เพราะว่า คนรวย หรือมี Ability จาก พรบ. พรก. จัดตั้งสถานศึกษานั้น จะไม่ตายแค่โคม่าไปเรื่อย ๆ ดังนั้น หากท่านจะหาความอะไร จากความด้อยปัญญาของผู้เขียน ผู้เขียนขอน้อมรับไว้นะ เนื่องจากไม่มีประโยชน์ใด ๆ ที่จะต่อกรกับหอคอยงาช้าง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย
กระบวนการแรก: กระบวนการตื่นรู้ต่อปัญหาและสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
DT2ET2ST >> Digital Transformation to Education Tansformation to Social Transformation หรือ การใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากดิจิตอล เพื่อสร้างโครงร้างของการปฎิวัตการศึกษา เพื่อการกลายเป็นสังคมอุดมนักประกอบการ สังคมที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่มีประชาชนหรือสมาชิกในสังคมสเป็นนักแก้ปัญหา โดยใช้การศึกษาเป็นพื้นฐานในการสรัาง การทำมาหากินใหม่ เช่น Digital economy, สังคมอุดมคติในโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น
กระบวนการปฎิวัติการศึกษา 3 ขั้นตอนย่อย
- ขั้นตอน LTT; Learning and Teaching Transformation
- ขั้นตอน CT; Curriculum and Common Practice Transformation
- ขั้นตอน ET ; Education Transformation
การบวนการตื่นรู้ต่อปัญหา และสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
(Awareness in same view and Agreeableness to Solve by solutions)
เป็นกระบวนการแรก ๆ ในการส้รงความเปลี่ยนแปลงของทุกเรื่อง ในทุกวงการ ในทุกระดับ หากประสงค์ผลของการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มที่หน่วยนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดังสังคม เห็นปัญหาหา และ "ประสงค์" จะแก้ไข กระบวนการนี้เกิดขึ้นได้ง่าย โตและคงอยู่ได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปัญหาของการศึกษา เมื่อปัญหาถูกเข้าใจ และเห็นพ้องต้องกันแล้ว จึงจะเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการแก้ไข ซึ่งใน FrameWork ของ Digital Transformation และการจัดการปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ ระบุไว้ตรงกันดังนี้
- ระบุเป้าหมาย หรือวิสัยทัศน์ ของการแก้ปัญหา (Identify Vision) ซึ่ง แต่ละหน่วยสามารถกำนหดขึ้นได้เอง และเปลี่ยนแปลงได้เมื่อปัจจัยแวดล้อม หรือสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยอาจใช้
- นวตกรรมเพื่อแก้ปัญหา; Innovation (แนวคิด, ผลิตภัณฑ์, เครื่องมือ, รูปแบบการดำเนินการ, วิธีการ หรือ พิธีกรรมใหม่สำหรับการศึกษาและเรื่องอื่น ๆ ในสังคมไทย)
- เพิ่มศักยภาพ และคุณภาพของงานเดิมให้สูงขึ้น; Efficiency
- สร้างความยั่งยืนแก่สิ่งที่เติบโตและงอกงามได้ด้วยระบบของมันเอง; Sustainability
- กำหนดพันธกิจ หรือ กำหนดเป้าประสงค์ของการแก้ปัญหา (Define Conceptual Missions) เพื่อเป็นขอบข่ายในการวางแผนการแก้ปัญหา และจะได้กำหนดวิธีการในระยะต่อไปในการแก้ไข
- กำหนดบริหารเรือธงในแต่ละเป้าประสงค์ ให้สอดคล้องต่อวิสัยทัศน์ (Define specific Goals and Create Service) โดย
- สร้างเป็นบริการใหม่ (New Services) ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพื่อรองรับอนาคต
- ปรับปรุงของเดิมให้ดี ทันยุค ทันสมุย ทันความต้องการของตลาดในปัจจุบัน (Optimize Services)
- ยกเลิกบริการ หรืองานเดิมที่ไม่เกิดประโยชน์แล้ว (Retired Services)
- กำหนดองคาพยพของการเปลี่ยนแปลง (Re or Build new Organization to from structural respondsiber)
- กำหนดกิจกรรม มาตรการ กระบวนการ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามวิสันทัศน์ พันธกิจ รูปแบบการบริการ องค์กรและทีมงาม เพื่อให้เกิดผลตามระยะเวลาที่วางไว้ (Identiy workflow and process to collaborate Vision, Mission, Services, Organizarion in planned time)
- กำหนดเครื่องมือที่จะใช้ (Define tools and Platform)
DT2ET ตัวอย่างของการ Transform
ผู้เขียนประสงค์จะคงคำว่า Transform (Trans + form) หรือการเปลี่ยนรูป จากโมเดล DT เดิมไว้ หลังจากพบว่า ปฏิรูป เป็นคำที่ไม่เหมาะสมกับการศึกษา เพราว่า ส่วนมากพากัน "เปลี่ยนเฉพาะรูปลักษณ์ภายนอก" แต่ไส้ในยังเป้นเหมือนเดิม (เช่น สถาบันอุดมศึกษาเอาวิธีการฝรั่งมาเปลี่ยนเพื่อให้เกิดภาพทันสมัย เพื่อยื้อเวลา หรือ ใช้การตลาด การ rebrand เปลือกนอก จับอาจารย์มาถ่ายภาพให้ทันสมัย เปลี่ยนตราสัญยลักษณ์ เพื่อสร้างให้เชือว่า มีการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ๆ ที่ ไส้ใน หลัก และแกนกลาง แทบไม่เปลี่ยนเลย เช่นที่พบในปัจจุบัน) ผู้เขียนเลยจะใช้คำที่มีความหมายแรงกว่า คือ ปฏิวัติ (ปฏิ = เปลี่ยน และ วัตร (วัตตะ หรือ วัฎฎ) คือ วิธีการ, วงรอบ, ความคุ้นเคย ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษ คือ Revolt เพื่อสื่อสารว่า ควรเลิกเปลี่ยนแค่เปลือกได้แล้ว)
ผู้เขียนประสงค์จะคงคำว่า Transform (Trans + form) หรือการเปลี่ยนรูป จากโมเดล DT เดิมไว้ หลังจากพบว่า ปฏิรูป เป็นคำที่ไม่เหมาะสมกับการศึกษา เพราว่า ส่วนมากพากัน "เปลี่ยนเฉพาะรูปลักษณ์ภายนอก" แต่ไส้ในยังเป้นเหมือนเดิม (เช่น สถาบันอุดมศึกษาเอาวิธีการฝรั่งมาเปลี่ยนเพื่อให้เกิดภาพทันสมัย เพื่อยื้อเวลา หรือ ใช้การตลาด การ rebrand เปลือกนอก จับอาจารย์มาถ่ายภาพให้ทันสมัย เปลี่ยนตราสัญยลักษณ์ เพื่อสร้างให้เชือว่า มีการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ๆ ที่ ไส้ใน หลัก และแกนกลาง แทบไม่เปลี่ยนเลย เช่นที่พบในปัจจุบัน) ผู้เขียนเลยจะใช้คำที่มีความหมายแรงกว่า คือ ปฏิวัติ (ปฏิ = เปลี่ยน และ วัตร (วัตตะ หรือ วัฎฎ) คือ วิธีการ, วงรอบ, ความคุ้นเคย ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษ คือ Revolt เพื่อสื่อสารว่า ควรเลิกเปลี่ยนแค่เปลือกได้แล้ว)
ผู้เขียนวางโครงของ ET Framework ในกระบวนการที่ 2 ไว้ดังนี้
- ได้คง Vision and Mission Statement เพราะว่า เป็นจุดสำคัญของทุกกิจกรรม
- Vision คือ สิ่งที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น โดยผู้เขียนแนะนำว่า อย่าเป็นวิสัยทัศน์ที่ยาวไป ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง อาจจะกำหนดในวงรอบที่ไม่ส้ั้นเกินไป จนทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ หรือยาวเกินไปจนปัจจุยเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นเพดานความคิด ในการคุมกำเนิด Vision ใหม่ที่ถูกกาลเทศะมากกว่าในอนาคต Vision จะแตกต่างไปตามมุมมองของปัญหา ขนาดและความสำคัญของปัญหา และในปัญหาเดียวกัน จากคนที่ต่างหน้าที่รับผิดชอบ และประสบการณ์ อาจกำหนด Vision แตกต่างกันไป ในโลกธุรกิจ และหน่วยงานใหญ่ๆ ผู้กำหนด Vision จะเป็นผู้นำขององค์กร ทว่า ในเรื่องขอการศึกษา ผู้เขียนคิดว่า ทุกระดับควรกำหนด Vision ของตนเอง จากความคาดหวัง พื้นเพประสบการณ์ เช่น
- รัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษาและงานวิจัย >> ให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นแหลงงานวิจันเพื่อให้ประเทศด้าวสู่เศรษฐกิจดิจิตอล
- อธิการบดี >> เพื่อสร้างสถาบันที่เป็นเลิศในวงวิชาการในระดบันานาชาติ
- คณบดี >> เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม ออกไปพัฒนาประเทศในสายวิชาที่เกี่ยวข้อง
- พ่อแม่ >> การศึกษาที่สร้างอาชีพให้ลูกหลานเลี้ยงตัวเองได้ในอนาคต
- นักศึกษา >> การได้งานทำที่ได้รับผลตอบแทนสูง และเป็นไปตาม Passion
- Mission (พันธกิจ) หมายถึง Roadmap และวิธีการไปสู่ Vision จำนวนของพันธกิจมีความเกี่ยวข้องกับ Vision Mission ที่ดี ทำให้เกิดกระบวนการที่เอื้อให้องค์กรพุ่งไปสื่อเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
- พันธกิจที่ดี จะเห็นขอบเขตของโครงการ ระยะเวลา
- พันธกิจที่ดี จำเป็นจะต้องวางบนความสามารถ ศักยภาพ และทรัพยากรที่องค์กรมี
- เบื่องหลังของพันธกิจที่ดี ควรจะมองเห็นทีมงาน ผู้รับผิดชอง เพื่อให้พันธกิจนี้เกิดผลสำหรับองค์กร
- Vision คือ สิ่งที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น โดยผู้เขียนแนะนำว่า อย่าเป็นวิสัยทัศน์ที่ยาวไป ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง อาจจะกำหนดในวงรอบที่ไม่ส้ั้นเกินไป จนทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ หรือยาวเกินไปจนปัจจุยเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นเพดานความคิด ในการคุมกำเนิด Vision ใหม่ที่ถูกกาลเทศะมากกว่าในอนาคต Vision จะแตกต่างไปตามมุมมองของปัญหา ขนาดและความสำคัญของปัญหา และในปัญหาเดียวกัน จากคนที่ต่างหน้าที่รับผิดชอบ และประสบการณ์ อาจกำหนด Vision แตกต่างกันไป ในโลกธุรกิจ และหน่วยงานใหญ่ๆ ผู้กำหนด Vision จะเป็นผู้นำขององค์กร ทว่า ในเรื่องขอการศึกษา ผู้เขียนคิดว่า ทุกระดับควรกำหนด Vision ของตนเอง จากความคาดหวัง พื้นเพประสบการณ์ เช่น
- ได้ระบุว่า ให้ทราบ Education as Services (EduaaS) และมีความตั้งใจที่จะให้คล้ายกับโลกดิจิตอลและ IT อีกส่วนหนึ่งประสงค์จะให้การศึกษาเป็นบริการ ที่ จะต้องรับฟังความต้องการของตลาด ทั้งผู้ซื้อและผู้ใช้ ซึ่งถูกละเลยจากจารีตและค่านิยมผิด ๆ เช่น ครูอาจารย์ไม่รับฟังนักเรียน, สถาบันการศึกษาไม่รับฟังพ่อแม่ และตลาดแรงงาน
- New Educational Service เป็นบริการทางการศึกษารูปแบบใหม่ ซึ่งอาจหมายถึง กำหนดใหม่ให้เหมาะสมกับสังคม หรือ เอาความใหม่จากที่อื่น ๆ มาใช้ที่เดิม เช่น รูปแบบการศึกษาแบบโมดูล (Modular Education) ซึ่ง ใช้การเรียนรู้ตามความประสงค์ของผู้เรียน โดยมีจุดหมยเพื่อพัฒนาตนเง และ เข้าใจความต้องการโดยให้การศึกษาเป็นฐานในการพัฒนาตนเอง ซึ่งในต่างประเทศเกิดขึ้นแล้ว ในรูปแบบของการเรียนิ่งที่ต้องการ ไม่ใช้วิชาตายตัวตามหลักสูตร สถาบันการศึกษามีหน้าที่รับรองมาตรฐานความรู้ และทักษะแก่ผู้เรียนต่อตลาดแรงงาน และไม่ได้กำนหดเพดานอายุ และวุฒิการศึกษา เป็นต้น สิ่งนี้ อาจเก่าจากที่อื่น แต่ใหม่ในสังคมการศึกษาไทย ก็จัดว่าเป็น New Educational Service ได้
- Optimize Educational Service คือ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งที่มีอยู่และใช้งานในปัจจุบันให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เกิดประโยชน์แก่ผู้รับบริการ (ลูกค้า) มากขึ้น เช่น ขั้นตอนในการลงทะเบียน เพิ่มและถอนวิชาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวดเร็ว และตรวจสอบได้ง่ายขึ้นสำหรับนักศึกษา และอาจารย์สามารถยืนยันได้และทราบจำนวนได้อย่งารวดเร็ว, การเพิ่มทักษะพื้นฐานของการประกอบการให้เป็นวิชาเลือกเสรี เพื่อสร้างให้วิชาการประกอบการเป็นพื้นฐานของนักศึกษาไทย, การปรับเปลี่ยนการนับผลการเรียนแบบผสมผสานให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษา โดยสามารถโอนย้ายหน่วยกิจภายใน และภายนอกสถาบันการศึกษา, ออกระเบียบให้อาจารย์สามารถปรับ KPI หรือ Set KPI ของชั้นเรียนให้รองรับความหลากหลายของนักศึกษาได้มากกว่าการวัดผลด้วยวิธีการเดียวทั้งชั้นเรียน เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการ Optimize Educational Service คือ วางแผนและวัดผลเชิงปริมาณ ควบคู่กับคุณภาพ การวัดผลที่ชัดเจน จะช่วยให้สามารถ
- Retired Educational Service คือ การยกเลิกระบบ กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติ ในปัจจุบันที่เป็นปัญหา หรือระเบียบเดิมที่ล้าสมัย ไม่ได้ใช้งาน ไม่เกิดประโยชน์ หรือ จะเป็นอุปสรรคกับรูปแบบบริการใหม่ หรือ บริการที่จะพัฒนาคุณภาพ ปัญหาที่พบมากในกระบวนการเปลี่ยนแปลง คือ ไม่สามารถยกเลิกสิ่งที่มีอยู่เดิมจากเงื่อนไขต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นเงื่อนไขด้านกฎเกณฑ์ ค่านิยม ภายในองค์กร ในกรณีที่เป็น ปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจจะยกเลิกได้ เช่น หลักเกณฑ์ตามข้อประกาศของกฎหมายค่าง ๆ ก็จะเป็นจะต้องลงแรงมากขึ้นในการยกเลิก
- การยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติภายในองค์กร เช่น การมีที่จอดรถพิเศษสำหรับนักวิจัยดีเด่นในบางคณะในบางสถาบันการศึกษา, การยอมรับให้อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาไม่อยู่ในระยะเวลาปฏิบัติราชการ, การยอมรับการ Make up Class โดยที่ผู้สอนไม่ปฏิบัติตามเวลาราชการ ฯลฯ
- Retired Educational Service จากกฎระเบียบอื่น ๆ เช่น การยดกเลิกหลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน, การยกเลิก หรือเปลี่ยนสาขาวิชา, การยกเลิกความยุ่งยากในการจัดทำแผนการสอน และ หลักสูตร ที่ทำให้การปรับหลักสูตรล่าช้าเพราะขั้นตอนและกระบวนการ เป็นต้น
- ให้ดำเนินกระบวนการ LTT ในชั้นเรียน สำหรับระยะแรก ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็น ไม่ว่ากระบวนการปฎิวัติการศึกษาในขั้นตอนอื่น ๆ จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม (รายละเอียดของกระบวนการ LTT ในหัวข้อต่อไป)
- ให้ดำเนินการปรับประบวนการ LTT โดยวางบนรากฐานของ Integrated Knowledge and Skills ในแต่ละวิชาที่เริ่มกระบวนการ LTT โดยเริ่มกระบวนการกบฎต่อ Curriculum โดยครูและอาจารย์ และหากได้รับการสนับสนุน เพื่อสร้างกระบวนการ LTT จากผู้บริหารสถาบันการศึกษาจะดียิ่ง ทั้งนี้อาจจะต้องคงการวัดผลตามแบบแผนาการสอนเดิม และ Curriculum ที่ยังไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงได้ เพื่อให้คณุอาจารย์สามารถที่จะดำเนินการด้านเอกสารตามข้อบังคับได้สำเร็จในกระบวนการนี้
- ให้เลือกเครื่องมือเท่าที่มีอยู่ หรือ เครื่องมืออื่น ในแนวคิดใหม่ และวิธีการใหม่ ที่ยังไม่ต้องลงทุนด้านงบประมาณ หรือ ลงทุนน้อย ในการสนับสนุน LTT ในช่วงแรก และเขียนโครงการเพื่อจัดหาเครื่องมือมาสนับสนุนกระบวนการ LTT ที่เหมาะสมต่อไป
อรรถาธิบายเรื่องกระบวนการ LTT
LTT คืออะไร
LTT ย่อมาจาก Learning and Teaching Transformation หรือ กระบวนการปฏิวัติการเรียนและการสอน
หัวใจของกระบวนการ LTT คือ
LTT ย่อมาจาก Learning and Teaching Transformation หรือ กระบวนการปฏิวัติการเรียนและการสอน
หัวใจของกระบวนการ LTT คือ
- การเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียน และการสอนในชั้นเรียน ด้วยสมมติฐานที่ว่า หากใช้วิธีการเรียน และการสอนแบบเดิม จะได้ผลลัพท์เช่นเดิม หากเปลี่ยนวิธีของการเรียน และวิธีของการสอน จะได้ผลลัพท์ใหม่ LTT คือ Innovation Skills and Knowledge delivering methodology ของผู้สอน และ Innovative Learning to multiple approaching
- การเปลี่ยนแปลงไม่มีสูตรสำเร็จ การเปลี่ยนแปลง คือ การทดลองทำ แก้ไข และพัฒนา ไปในชั้นเรียนหนึ่ง ๆ ครูและอาจารย์ผู้สอนต้องมีทักษะ และจิตตะพื้นฐานแบบผู้ประกอบการ คือ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นการการใช้ LTT ให้รวดเร็ว โดยว่าผลลัพท์ หรือ Vision ไว้ที่ ให้ประโยชน์สูงสุดในทุกคาบเรียน เพื่อให้นักเรียนนักศึกษานำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยมีพันธกิจ และวิธีการในชั้นเรียนนั้นอย่างเป็นระบบ
- การเปลี่ยนแปลงนี้ เกิดขึ้นได้ทันที ในหน่วยที่เล็กที่สุดของการศึกษา คือ ใช้วิชาแต่ละคาบหรือหน่วยเวลา ในแต่ละชั้นเรียน หากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการนี้สำเร็จ ผลลัพท์จะเกิดขึ้นได้ทันที และเมื่อการเปลี่ยนแปลงในระดับที่เล็กที้สุดเกิดขึ้น เมื่อรวมระยะเวลาที่นักเรียนนักศึกษา ใช้ในการเรียนรู้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็จะเกิดผลลัพท์ใหม่กับนักเรียนนักศึกษา ที่อยู่ในกระบวนการ LTT
- ครู และ อาจารย์ เป็นกุญแจสำคัญของกระบวนการ LTT และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการ ครูและอาจารย์ จะแปรสภาพเป็น Facilitator สูตรลับนั้นมีเพียงคำเดียว คือ ครูและอาจารย์ มืออาชีพ คือ ผู้ที่เห็นประโยชน์ของผู้เรียนเสมอ
- นักเรียน จะค่อยๆ พัฒนาเป็นผู้เรียนในที่สุด ซึ่งเขาจะสามารถเรียนรู้เรื่องใด ๆ ได้ต่อไปด้วยตัวเอง
กระบวนการ LTT สู่ CT และ ET
สำหรับผู้เขียนแล้ว LTT เป็นสิ่งที่ทำได้ทันที แต่ทำได้ยาก เพราะต้องเปลี่ยนแปลง Mindset ของ Teacher ให้เป็น Facilitato และ เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยวมมือ และความกล้าหาญจของครูอาจรย์ ความร่วมมือและความเข้าใจในสังคม ซึ่งเป็นกระบวนวการที่สามารถจะเกิดขึ้นได้จริง และเป็นทั้ง Quick Win และ Lonf run Win ที่ต้องทำให้ได้ และได้เพียงระดบันี้ การศึกษาก็จะเปลียนแปลงไปมากแล้ว
กระบวนการต่อไป คือ CT; Curriculum and Common Praqctice Transforamation จะสำเร็จได้ยาก และ กระบในการ Fully Transformed Education ทั้งระบบเป็นความหวังริบหรี่ และไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทย หาก ภาพรวมของ Mindset ปัจจัยแวดล้อม วิธีการ ยังคงรูปแบบเดิม เช่นในปัจจุบัน ผู้เขียนจึงสนับสนุนให้ เกิดกบฎในชั้นเรียน ก็เพียงพอ เพราะว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งองคาพยพในการศึกษาไทย ทำไปก็เจอ "ตอ" ผู้เขียนมองโลกในความจริง และมองแบบแง่ร้าย ซึ่งขอให้ วิธีการมองแบบนี้ไม่เป็นจริง เรายังเชื่อมั่นได้ว่าการศึกษาไทยจะ "ปฏิวัติ" สำเร็จได้ในซักวัน
กระบวนการต่อไป คือ CT; Curriculum and Common Praqctice Transforamation จะสำเร็จได้ยาก และ กระบในการ Fully Transformed Education ทั้งระบบเป็นความหวังริบหรี่ และไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทย หาก ภาพรวมของ Mindset ปัจจัยแวดล้อม วิธีการ ยังคงรูปแบบเดิม เช่นในปัจจุบัน ผู้เขียนจึงสนับสนุนให้ เกิดกบฎในชั้นเรียน ก็เพียงพอ เพราะว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งองคาพยพในการศึกษาไทย ทำไปก็เจอ "ตอ" ผู้เขียนมองโลกในความจริง และมองแบบแง่ร้าย ซึ่งขอให้ วิธีการมองแบบนี้ไม่เป็นจริง เรายังเชื่อมั่นได้ว่าการศึกษาไทยจะ "ปฏิวัติ" สำเร็จได้ในซักวัน
ใครเกี่ยวข้องบ้างในกระบวนการ LTT
"ธุระ และภารกิจด้านการปฏิวัติการศึกษาเป็นของทุกคน เพราะผลประทบทั้งดีร้าย เกิดขึ้นกับทุกคน มีบทเรียนแล้วจากอดีต เห็นปัญหาแล้วในปัจจุบัน และมีหน้าที่ร่วมกันป้องกันอนาคตที่ดี" -- ผู้เขียน
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ LTT โดยตรง ได้แก่
ผู้ที่เกี่ยวข้องในทางอ้อม กับกระบวนการ LTT ได้แก่
คนในแต่ละ Generation จะมีส่วนร่วมในกระบวนการ LTT ได้อย่างไร
"ธุระ และภารกิจด้านการปฏิวัติการศึกษาเป็นของทุกคน เพราะผลประทบทั้งดีร้าย เกิดขึ้นกับทุกคน มีบทเรียนแล้วจากอดีต เห็นปัญหาแล้วในปัจจุบัน และมีหน้าที่ร่วมกันป้องกันอนาคตที่ดี" -- ผู้เขียน
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ LTT โดยตรง ได้แก่
- นักเรียน (Student) >> ผู้เรียน (Learner)
- ผู้สอน (Teacher/Lecturer) >> ผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator/Mentor)
ผู้ที่เกี่ยวข้องในทางอ้อม กับกระบวนการ LTT ได้แก่
- Direct Suppporter >>
- ห้วหน้างานของครูและอาจารย์ที่จะเริมกระบวนการ LTT จะต้องปกป้องครูและอาจารย์ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง เป็น Mentor และ ผู้สนับสนุนด้านกำลังใจและกฎเกณฑ์ (Law and Regulatory changing) ในกระบวนการนี้
- พ่อ แม่ผู้ปกครอง และครอบครัว การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการ LTT เหมือนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงเรื่องทั่วไป ที่ต้องอาศัยความเข้าใจ ในด้านการศึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชั้นเด็กเล็ก - ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในความแตกต่าง เช่น ไม่ควรนำเอามาตรวัดทางสังคมแบบเดิม (ที่เห็นแล้วว่าไม่ได้ผล) มาวัดกับกระบวนการใหม่ พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องอำนวย Eco-System changing
- ผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษา ในภาครัฐ
- Indirect Supporter >>
- ผู้ร่วมอาชีพคุุณอาจารย์ ที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการ LTT
- ภาคธุรกิจ และภาคสังคมอื่น ๆ
- สื่อสารมวลชน
คนในแต่ละ Generation จะมีส่วนร่วมในกระบวนการ LTT ได้อย่างไร
- ฺBaby Boomer ที่ยังเป็นหลักยึดแก่สังคม และยังคงอยู่ในตำแหน่งที่มีความสามารถในการผลักดันแนวคิดใด ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ควรลงแรงให้เป็นผลงานชิ้นท้าย ๆ ในชีวิตของท่าน สำหรับ Baby Boomer ที่ไม่ได้ทำงาน ใช้ชีวิตในวัยเกษียณ ให้เป็นปู่ย่าตายาย ที่ส่งเสริมกระบวนการ LTT ในครอบครัวของท่าน ด้สนการ ตั้งคำถามแก่บุตรหลาน, แบ่งปันประสบการณ์ของท่าน พร้อมบริบทเงื่อนไขในยุคของท่าน, แนะนำให้เขาเข้าใจว่าความแตกต่างระหว่างปัจจัยในช่วงเวลาของท่าน กับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร, ยอมรับความแตกต่างของยุคสมัย ท่านเองก็สามารถปฏิบัติตัวเป็น LIVE LONG LEARNER ให้บุตรหลานเห็นเป็นตัวอย่าง
- Gen X
- ที่เป็นผู้บริหารองค์กร และบริหารหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ ท่านที่สามารถร่วมผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับการศึกษาได้ ท่านต้องสร้างพันธกิจทั้งในระดับส่วนตัว และองค์กรเพื่ออำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม เช่น
- Gen X หัวหน้าในหน่วยงานภาครัฐด้านการศึกษา การแก้ไข ลบล้างกฎหมาย และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่รั้งการเปลี่ยนแปลงการศึกษา คือภาระกิจอันสำคัญยิ่ง และสร้างทีมที่เข้าใจโลกปัจจุบัน ผสมผสานกับประสบการณ์ของท่าน เพื่อกำหนดมาตรฐานที่นำพาประเทศพัฒนาไปด้วยการศึกษา
- Gen X หัวหน้าหน่วยงาน เจ้าของะธรกิจในภาคเอกชน ท่านต้องเปลี่ยนแปลงการรับคนเข้าทำงาน เพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากผู้ผลตินักศึกษา, ท่านต้องใช้เทคโนโลยีมาแทนกำลังคนที่ขาดแคลน เพื่อให้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงการผลิตนักศึกษาจากสถานบันการศึกษาเป็นต้น
- ที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ทั้ง ทรัพย์สิน, ความรู้ความสามารถ, เวลา และสายสัมพันธ์ ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษา หรือ สนับสนุนคนที่ประสงค์จะลงแรก แต่ขาดทรัพยากร
- ที่เป็นผู้บริหารองค์กร และบริหารหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ ท่านที่สามารถร่วมผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับการศึกษาได้ ท่านต้องสร้างพันธกิจทั้งในระดับส่วนตัว และองค์กรเพื่ออำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม เช่น
- Gen Y
- ท่านยังอยู่ในวัยทำงาน และอยู่ในกระแสของการเปลี่ยนแปลง ท่านเป็น Generation ที่เห็นทั้งโลกเก่า โลกใหม่ บนพื้นฐานการศึกษาเดิมที่ส่วนมากเป็นปัญหา ท่านจะต้องช่วยให้ความเห็น และหาทางแก้ ท่านเป็น Generation ที่มีพลัง และความสามารถ มากกว่า Gen X และท่านเริ่มเป็นพ่อแม่ของคน Generation Post Gen Z ท่านสร้างมาตรฐานของ LTT ในครอบครัวด้วยวิธีการใหม่ เทคโนโลยีใหม่ บนความปรารถนาที่ดีต่อบุตรหลานเช่นเดิม
- ท่านต้องเป็นตัวอย่างของความเจ็บปวดในการศึกษาไทย และผลักดันให้ใช้วิธีการที่ร่วมสมัย ล้ำสมัย ที่พบในช่วงเวลาปัจจุบันนี้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หาก Generation ของท่านเพิกเฉย ต่อกระบวนการปฏิวัตการศึกษาในวิธีการใด ๆ สังคมก็จะเสียโอกาสในช่วงที่ สภาวะการตื่นรู้ปัญหาด้านการศึกษามาถึงขัดสุด ในยุค Disruptive นี้
- Gen Z และ Post Gen Z
- น้อง ๆ หลานๆ ลูก ๆ อยู่ในยุคที่กำลังต่อสู้กันเพื่อการเปลี่ยนแปลง บนเครื่องมือ หรือวิธีการที่ผู้ใหญ่ในสมัยนี้เลือกใช้ ซึ่งผู้เขียน (พี่) ก็ไม่สามารถจะรู้แจ้งได้ว่าจะเกิดผลอย่างไร ผู้เขียน (พี่) จะขอให้ น้อง ๆ หลา่น ๆ ลูก ๆ เปลี่ยนตัวเองเป็น Learner ให้ได้ ต่อให้ระบบจะเปลี่ยนหรือไม่ โรงเรียน และวิธีการสอนจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หลักสูตรและแนวคิดจะเปลี่่ยนแปลงหรือไม่ ก็ตาม สิ่งที่น้อง ๆ หลาน ๆ ลูก ๆ เปลี่ยนได้แน่นอน คือ เปลี่ยนให้ตัวเองเป็น ผู้เรียน ที่สามารถเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้จาก การอ่าน การสิบค้น เลือกเชื่อด้วยหลักเหตุผล เป็นสำคัญ ปัจจัยนอกตัวเรา เรานั้นควบคุมให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ที่เปลี่ยนได้คือเปลี่ยนแปลงจากตัวเราเอง (เชื่อพี่)
ควรเริ่มต้นกระบวนการ LTT เมื่อใด
กระบวนการ LTT อาศัยความพร้อมในหลายลักษณะ การจะเริ่มต้นเมื่อใด ผู้เขียนให้ความเห็นในเรื่องนี้ไว้ดังนี้
สำหรับครู อาจารย์ มืออาชีพ ที่ประสงค์จะ Transform เป็น Facilitator
สำหรับนักเรียน ที่ประสงค์จะเปลี่ยนตัวเองเป็น ผู้เรียน Learner
สำหรับสังคมอื่น ๆ และ Stakeholders
กระบวนการ LTT อาศัยความพร้อมในหลายลักษณะ การจะเริ่มต้นเมื่อใด ผู้เขียนให้ความเห็นในเรื่องนี้ไว้ดังนี้
สำหรับครู อาจารย์ มืออาชีพ ที่ประสงค์จะ Transform เป็น Facilitator
- เริ่มต้นได้ทุกเมื่อ หากเห็นว่า เพียงการปรับรูปแบบ วิธี เรียนและสอน จะสร้างผลลัพท์ใหม่ได้
- เริ่มต้นเมื่อครูและอาจารย์ มีความพร้อมในการทดลองกระบวนการนี้ โดย พร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหา, พร้อมทั้งความเข้าใจ, หรืออาจได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าสายงาน ในกรณีเป็นคุณครูในประถมศึกษา และมัธยมศึกษา แต่สำหรับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ผู้เขียนเชือว่ท่านมี authority ท่านพร้อมเมื่อท่านพร้อม
สำหรับนักเรียน ที่ประสงค์จะเปลี่ยนตัวเองเป็น ผู้เรียน Learner
- เริ่มต้นได้ทุกเมื่อ โดยไม่จำเป็นต้องมีความพร้อม หรือเข้าใจว่า LTT ของผู้เรียนเป็นอย่างไร ให้คงความสงสัย อยากรู้อยากเห็น และตั้งคำถามในชั้นเรียนปรกติ หากนักเรียนเปลี่ยนแปลงบรรยากาศในชั้นเรียนแบบปรกติ จะเป็นการส่งพลังให้ครูอาจารย์ต้องเปลี่ยนตัวเองเช่นกัน
- เริ่มต้นจากการสนใจสิ่งรอบตัว และพยายามค้นคว้า หาเหตุผลเบื้องหลังของปรากฎการณ์ต่าง ๆ รอบตัว ตั้งแต่ ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ, สังคม, วัฒนธรรม, ธุรกิจ ฯลฯ ติดตามข่าวสาร สอบถามผู้ใหญ่ ตั้งข้อสงสัย และหาคำตอบ (ใช้หลักกาลามสูตรในทางพุทธศาสตนานำทาง)
สำหรับสังคมอื่น ๆ และ Stakeholders
- เริ่มต้นได้เมื่อท่านอดรนทนไม่ไหว อยากเห็นความก้าวหน้าของประเทศ, ความอยากกินดีอยู่ดีในอนาคตเมื่อท่านชราภาพ
- เริ่มต้นเมื่อท่านคิดว่าพร้อม โดยร่วมกับกระบวนการ LTT ด้วยตัวท่านเอง, ในครอบครัวหรือหน่วยงาน
ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อกระบวนการ LTT เกิดขึ้นในการศึกษา และในสังคมไทย
LTT เป็นกระบวนการทางเลือก และเป็นขั้นแรกที่จำเป็นใน Educational Transformation methodology ที่ใช้แนวคิดจาก Digital Transformation ในการพัฒนา ทว่าผู้เขียนเห็นว่า การในหน่วยใด ๆ ตั้งแต่ ระดับคุณอาจารย์ในรายบุคคล จนกระทั่งเป้นหน่วยใหญ่ขึ้นมาเช่น ชั้นเรียน โรงเรียน ภาควิชา สถาบันการศึกษา จะได้รับประโยชน์ หากเริ่มกระบวนการปรับวิธีการเรยนการสอนเพื่อเปลี่ยนผลลัพท์ด้านการศึกษาของเยาวชนไทยดังนี้
LTT เพียงขอให้ริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ผู้เขียน จึงใช้คำว่า "กบฎ" จากแนวทางปัจจุบัน เพราะว่าหากจะต้องรอให้เกิดกฎเกณฑ์ที่อำนวยในการศึกษา เกิดองค์กร และความร่วมมือในทุกฝ่าย จะไม่เกิดขึ้น มีผู้หวังดีในการศึกษาที่พัฒนา สร้งาสรรค์วิธีการ ที่เป็นภาพใหญ่ มากมายทว่า "การไม่ลงมือ" = "การปฏิเสธ" ดังนั้น LTT คือ จุดเริ่มต้นง่ายที่สุดของทุกคนในสังคมที่เดือดร้อนจากระบบการศึกษา รายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงตัวอย่าง จะได้แสดงไว้ในหัวจ้อต่อไป
LTT เป็นกระบวนการทางเลือก และเป็นขั้นแรกที่จำเป็นใน Educational Transformation methodology ที่ใช้แนวคิดจาก Digital Transformation ในการพัฒนา ทว่าผู้เขียนเห็นว่า การในหน่วยใด ๆ ตั้งแต่ ระดับคุณอาจารย์ในรายบุคคล จนกระทั่งเป้นหน่วยใหญ่ขึ้นมาเช่น ชั้นเรียน โรงเรียน ภาควิชา สถาบันการศึกษา จะได้รับประโยชน์ หากเริ่มกระบวนการปรับวิธีการเรยนการสอนเพื่อเปลี่ยนผลลัพท์ด้านการศึกษาของเยาวชนไทยดังนี้
- เยาวชนไทย จะสามารถได้รับการศึกษาที่ "ร่วมสมัย" กับการเลปี่ยนแปลงมากขึ้น ด้วย กระบวนการ เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอน จากเดิมที่สร้างให้นักเรียนเป็น Passive Student ที่รอรับความรู้ที่ครูอาจารย์จะมอบให้ เป็น Active Student ที่มีส่วนรว่มในการเรียนการสอน และในท้ายที่สุดก็จะพัฒนาเป็น Learner ที่สามารถที่จะใช้พื้นฐานต่าง ๆ ที่ได้รับการพัฒนาจากกระบวนการ LTT ไปสร้างความเรียนรู้ ความเข้าใจเพิ่มเติม และกลายเป็นผู้ที่เรียนรู้ตลอดชีวิตได้ต่อไป
- ครูอาจารย์ จะเปล่ยนรูปแบบ ค่านิยม และวิธีการ จากสอนสิ่งที่รู้และเชื่อมั่น เป็นการแนะนำศาสตร์ความรู้ ที่หลากหลาย เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา วิธีการนี้จะช่วยสร้างนักประกอบการ หรือ นักแก้ปัญหา ครูและอาจารย์ จะเลือกที่จะเป็นทั้งสถานะครูและอาจารย์ หรือเป็นผู้อำนวยการสอนบนศาสตร์ และวิธีการที่หลากหลาย (Facilitator) สร้างความภูมิใจในฐานะมืออาชีพ
- กระบวนการ LTT จะเป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลง Methodology ค่านิยม กระบวนการ Curriculum Transfomation ทำใหเกิดหลักสูตรในการพัฒนาเยาชน และมนุษย์ให้เหมาะสม เปลี่ยนแปลงให้ร่วมสมัย ทันสมัย และอาจจะสามารถไปได้ไกลกว่าใน Fully Education Transformation ที่ระบบการศึกษาไทยจะเปลี่ยน โครงสร้าง, ค่านิยม, วิธีการ, รูปแบบ เพื่อให้การศึกษาเป็นหลักให้แก่มนุษย์ ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ
LTT เพียงขอให้ริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ผู้เขียน จึงใช้คำว่า "กบฎ" จากแนวทางปัจจุบัน เพราะว่าหากจะต้องรอให้เกิดกฎเกณฑ์ที่อำนวยในการศึกษา เกิดองค์กร และความร่วมมือในทุกฝ่าย จะไม่เกิดขึ้น มีผู้หวังดีในการศึกษาที่พัฒนา สร้งาสรรค์วิธีการ ที่เป็นภาพใหญ่ มากมายทว่า "การไม่ลงมือ" = "การปฏิเสธ" ดังนั้น LTT คือ จุดเริ่มต้นง่ายที่สุดของทุกคนในสังคมที่เดือดร้อนจากระบบการศึกษา รายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงตัวอย่าง จะได้แสดงไว้ในหัวจ้อต่อไป
ขบวนการ LTT จะเริมต้นอย่างไร
สามารถติดตามได้ใน EP ต่อไป
สามารถติดตามได้ใน EP ต่อไป
ในท้าย EP แรกนี้ ผู้เขียนได้แสดงทรรศนะให้ท่านเกิดความเข้าใจถึงปัญหา พิสูจน์ปัญหาที่เราอยู่และคุ้นชิน จนอาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา หลังจากนั้น ได้ใช้ัตัวหนังสือ และรูปภาพประกอบ เพื่อให้ท่านเห็นภาพของ Total Educational Transformation ในความคิดของผู้เขียน ก่อนจะนำท่าเข้าสู่ความเข้าใจเรื่อง LTT จากการตอบคำถามพื้นฐาน 5W (Who What When Where Why) ในส่วนของ How จะอยู่ใน EP ถัดไป
ผู้เขียนยังคงย้ำกับท่านผู้ผ่านว่า LTT เป็นทางเลือก และทางปฏิบัติที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องรอปัจจัยอื่นๆ แต่ได้ผลมหาศาลเอนกอนันต์หาก LTT เกิดขึ้นได้ ส่วน CT และ ET นั้นอาจจะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเรา อย่างไรก็ตามสิ่งใดที่เกิดแล้วดี จะวิธีใดก็ได้ ขอเพียง "ต้องเริ่มทำ" และ LTT เนั้นทำง่าย มากบฎกับระบบการศึกษาันเถอะครับ
ผู้เขียนยังคงย้ำกับท่านผู้ผ่านว่า LTT เป็นทางเลือก และทางปฏิบัติที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องรอปัจจัยอื่นๆ แต่ได้ผลมหาศาลเอนกอนันต์หาก LTT เกิดขึ้นได้ ส่วน CT และ ET นั้นอาจจะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเรา อย่างไรก็ตามสิ่งใดที่เกิดแล้วดี จะวิธีใดก็ได้ ขอเพียง "ต้องเริ่มทำ" และ LTT เนั้นทำง่าย มากบฎกับระบบการศึกษาันเถอะครับ