หมายเหตุประกอบบทความ
บทความที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจล้าสมัยแล้วจากเมื่อวันที่เริ่มเขียน
บทความที่เกี่ยวข้องนี้ เขียนในขณะที่ผู้เขียนยังด้อยประสบการณ์ ก่อนการพบความจริงที่ว่า ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพที่แท้จริงในการปฏิวัติการศึกษา
บทความชุดนี้ประกอบด้วย
EP 1 อรรถาธิบายเรื่อง LTT ส่วนสำคัญส่วนแรกในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย
EP 2 ขั้นตอนในกระบวนการ LTT องค์ประกอบที่จะทำให้ LTT เกิดได้ และส่งผลเป็นรูปธรรม
EP 3 LTT ความเรียบง่ายที่ครูอาจารย์มืออาชีพสามารถทำได้ ตัวอย่างของ LTT (Coming Soon)
EP 4 ผลที่จะเกิดจาก LTT เมื่อเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการ ผลลัพท์จะเปลี่ยน จากผู้สอนเป็นผู้อำนวยการความรู้ จากนักเรียนเป็นผู้เรียน
EP 5 กระบวนการที่ต้องเกิดควบคู่กับ LTT เพื่อสู่ CT และ ET อนาคตที่เลือนลางของการปฏิวัติการศึกษาไทย
การศึกษาเป็นไหมพรมที่ถูกแมวเล่น เด็กเล่น จนพันกันยุ่งเหยิง ทว่า เป็นไหมพรมที่ทิ้งก็ไม่ได้ จะตัดให้ขาดเป็นท่อน ๆ ก็ทำได้ยาก สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือ พยายามแกะไปทีละเงื่อนปม โดยอาศัยตความร่วมมือในสังคม เพราะว่า เป็น "ปมปัญหา" ใหญ่ ความคิดนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ความคิด ซึ่งเสนอเป็น "ทางเลือก" ผู้เขียนเกิดความเสียดาย ที่จะไม่ได้เผยแพร่แนวความคิดนี้ให้แพร่หลาย เพระาว่าแรงผลัดกันในใจที่เดือดร้อนกับ อนาคตของตัวเอง ที่เป็นส่วนหนึ่งของอนาคตประเทศ และผลของมันจะเกิดอย่างไรก็แล้วแต่คุณภาพของคนในประเทศ ที่เกิดจากการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของความเข้าใจ การมีเหตุผล ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทำให้สังคมอยู่รอดได้ และกระทบต่อผู้เขียนในวันที่ก้าวเข้าสู่วัยชราในอนาคต การแก้ปัญหาจากมุมมองนี้ เขียนไว้เพื่อให้ท่านได้ระลึกว่า หากไม่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเรื่องนี้จริงจัง ก็จะส่งผลต่ออนาคตของทุกท่านอยู่ดี ขอพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดใด ๆ เพื่อสังคมที่ดีขึ้นจากการศึกษา จงสถิตย์อยู่กับทุกท่านจากนีั้ และของให้พลังนั้น ส่งผลให้ "เกิดการลงมือพร้อม ๆ กันในหลาย ๆ ภาคส่วนต่อไป จนเกิดเป็นผลลัพท์ที่ดี" ท่านที่เห็นต่างก็เสนอแนวทางแก้นะคัรบ อย่าเสียเวลามาเถียงกันเลยว่าวิธีของใคร หลักการใดกว่ากัน เราเสียเวลามาแล้วสอง Generation ครับ
... เขียนแล้วก็ให้พรกับความปรารถนานี้ว่า "สมพรปาก"
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
- บทความนี้มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูอาจารย์ นักการศึกษา ผู้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการศึกษา เรียงตามลำดับกันมา แต่ผู้เขียน มุ่งเน้นให้ครูอาจาร์เป็นกบฎต่อระบบปัจจุบัน หากระบบปัจจุบันยังคงอยู่
- บทความนี้ไม่ได้เขียนโดยนักการศึกษา หรือนักวิชาการ หากมันมีความจำเป็นสำหรับผู้อ่านว่า คนที่จะพูดหรือเขียนเรื่องการปฎิวิตัการศึกษาต้องจำกัดอยู่กับคนที่อยู่ในวงการการศึกษา เป็นอาจารย์ เป็นผู้มีชือเสียงเท่านั้น ก็ขอให้ท่านได้ข้ามบทวามนี้ไปครับ
- บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ชวนกันเปลี่ยนแปลง โดยผู้เขียนแนะนำกระบวนการที่ง่าย และทำได้มากที่สุด คือ LTT; Learning and Teaching Transformation ซึ่งเป็นระดับแรกของกระบวนการทั้งหมดเท่านั้น ส่วน CT; Curriculum and Commons Edcuational Practice Transformation และ ET; Edcucation Transformation ตราบใดที่เรายังมีกระบวนการคิดแบบเดิม มีหน่วยงานเดิมที่ดูแลารศึกษา ผมคิดว่าเราอย่าไปฝากความหวังในกรับวนการอื่น ๆ
- บทความนี้ใช้ Framework จาก Digital Transformation ของ คุณดนัยรัตน์ ธนบดีธรรมจารี และได้ขออนุญาตไว้แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2560 ตั้งแต่ ใน version 1.0 จนถึง 1.7 นี้ ซึ่งผู้เขียน ทดท้อใจ และหยุดพัฒนาความคิดนี้มาแล้ว 3 ปี จากการที่ไม่เห็นว่า มีใครที่จะลงมือจริงจังในการแก้ปัญหานี้ เพราะว่า ปัญหาอืน ๆ ถูกจัดใก้มีความสำคัญในการลงมือ เห็นผล และประโยชน์เร็วว่าในเรื่องของการปฎิรูปการศึกษา อย่างไรก็ตามหากมีความผิดพลาดในบทความนี้ หรือ framework ถูกนำมาตีความใหม่ ความผิดพลาดบกพร่องนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ
- ผู้เขียนเขียนด้วยความหวัง กับสิ่งที่จะเกิดในทางที่ดีขึ้นกับการศึกษาของไทย เพราะถ้าสิ้นหวังแล้วคงไม่เสียเวลาใด ๆ ในบทความเหล่านี้
- ความทันสมัยของบทความ โปรดพิจารณาการเปลี่ยนแปลงเมื่อท่านอ่านบทความนี้ บทความนี้ถูกเขียนในช่วง 2562 โดยแนวคิด จากปี 2560
บทความที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจล้าสมัยแล้วจากเมื่อวันที่เริ่มเขียน
บทความที่เกี่ยวข้องนี้ เขียนในขณะที่ผู้เขียนยังด้อยประสบการณ์ ก่อนการพบความจริงที่ว่า ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพที่แท้จริงในการปฏิวัติการศึกษา
- เหตุใดจึงเลือก Digital Transformation มาเป็นแนวคิดในการทำ Education Transformation ใน MonsoonSIM Seminar 2017
- Thai Style จะต้องไม่จบลงที่ Thailand Only !!! แต่มี Only Thailand ที่ทำได้
- Link เพื่อไปยังงานสัมมนาในปี 2017 https://www.monsoonsimthailand.com/summay-and-download.html
บทความชุดนี้ประกอบด้วย
EP 1 อรรถาธิบายเรื่อง LTT ส่วนสำคัญส่วนแรกในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย
EP 2 ขั้นตอนในกระบวนการ LTT องค์ประกอบที่จะทำให้ LTT เกิดได้ และส่งผลเป็นรูปธรรม
EP 3 LTT ความเรียบง่ายที่ครูอาจารย์มืออาชีพสามารถทำได้ ตัวอย่างของ LTT (Coming Soon)
EP 4 ผลที่จะเกิดจาก LTT เมื่อเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการ ผลลัพท์จะเปลี่ยน จากผู้สอนเป็นผู้อำนวยการความรู้ จากนักเรียนเป็นผู้เรียน
EP 5 กระบวนการที่ต้องเกิดควบคู่กับ LTT เพื่อสู่ CT และ ET อนาคตที่เลือนลางของการปฏิวัติการศึกษาไทย
การศึกษาเป็นไหมพรมที่ถูกแมวเล่น เด็กเล่น จนพันกันยุ่งเหยิง ทว่า เป็นไหมพรมที่ทิ้งก็ไม่ได้ จะตัดให้ขาดเป็นท่อน ๆ ก็ทำได้ยาก สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือ พยายามแกะไปทีละเงื่อนปม โดยอาศัยตความร่วมมือในสังคม เพราะว่า เป็น "ปมปัญหา" ใหญ่ ความคิดนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ความคิด ซึ่งเสนอเป็น "ทางเลือก" ผู้เขียนเกิดความเสียดาย ที่จะไม่ได้เผยแพร่แนวความคิดนี้ให้แพร่หลาย เพระาว่าแรงผลัดกันในใจที่เดือดร้อนกับ อนาคตของตัวเอง ที่เป็นส่วนหนึ่งของอนาคตประเทศ และผลของมันจะเกิดอย่างไรก็แล้วแต่คุณภาพของคนในประเทศ ที่เกิดจากการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของความเข้าใจ การมีเหตุผล ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทำให้สังคมอยู่รอดได้ และกระทบต่อผู้เขียนในวันที่ก้าวเข้าสู่วัยชราในอนาคต การแก้ปัญหาจากมุมมองนี้ เขียนไว้เพื่อให้ท่านได้ระลึกว่า หากไม่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเรื่องนี้จริงจัง ก็จะส่งผลต่ออนาคตของทุกท่านอยู่ดี ขอพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดใด ๆ เพื่อสังคมที่ดีขึ้นจากการศึกษา จงสถิตย์อยู่กับทุกท่านจากนีั้ และของให้พลังนั้น ส่งผลให้ "เกิดการลงมือพร้อม ๆ กันในหลาย ๆ ภาคส่วนต่อไป จนเกิดเป็นผลลัพท์ที่ดี" ท่านที่เห็นต่างก็เสนอแนวทางแก้นะคัรบ อย่าเสียเวลามาเถียงกันเลยว่าวิธีของใคร หลักการใดกว่ากัน เราเสียเวลามาแล้วสอง Generation ครับ
... เขียนแล้วก็ให้พรกับความปรารถนานี้ว่า "สมพรปาก"
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
EP 2 ขั้นตอนในกระบวนการ LTT องค์ประกอบที่จะทำให้ LTT เกิดได้ และส่งผลเป็นรูปธรรม
LTT; Learning and Teaching Transformation คือ กระบวนการเปลี่ยน แนวคิด วิธีการปฏิบัติ ในการเรียน และการสอน เมื่อแนวคิด และวิธีการเปลี่ยนแปลงไป เราจะได้ผลลัพท์ใหม่ในการเปลี่ยนเสมอ และแน่นอนว่า การทดลองมีความจำเป็นในการลองของใหม่ และความผิดพลาดเป็นการเรียนรู้ในกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งจะเป็นการเกิดขึ้นของวิธีการใหม่ที่ดีกว่าเสมอ
กระบวนการ LTT จะเกี่ยวข้องโดยตรงดับคนสองกลุ่ม คือ นักเรียน และ ครูอาจารย์ ซึ่งเป็น "คำเรียกขาน" และ "สถานภาพ" ที่ถูกเรียกก่อนกระบวนการ LTT ระหว่างกระบวนการ LTT และจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการ LTT สถานภาพ และคำเรียกขาน จะเปลี่ยนไปด้วยตามลำดับขั้นตอน และชื่อของวิธีการเรียนรู้ >> เรียนเพื่อเข้าใจและใช้งาน ชื่อของกระบวนการสอน เป็น แนะนำ เพิ่มมุมมอง ให้เข้าใจและสร้างกระบวนการคิดได้ (โปรดดูแผนภาพด้านบนประกอบ)
แนวคิด วิธีการ สถานนะ และ คำเรียกขานที่เปลี่ยนแปลงของการบวนการเรียน (Learning Transformation)
แนวคิด วิธีการ สถานนะ และ คำเรียกขานที่เปลี่ยนแปลงของการบวนการเรียน (Learning Transformation)
หัวข้อ |
ก่อนกระบวนการ Transform |
ระหว่าง และหลังกระบวนการ Transform |
แนวคิด |
|
|
วิธีการ |
|
|
ปัญหาที่เกิดขึ้น และประโยชน์สำหรับนักเรียน >> ผู้เรียน |
ปัญหาที่เกิดขึ้น
|
ประโยชน์ที่เกิดขึ้น
|
คำเรียกขานและ สถานะ |
Passive Student หมายถึง นักเรียนเชิงรอรับ (ผู้เขียนคิดว่าไม่จำเป็นต้องอธิบายมาก เนื่องจาก เราต่างโตมาในสภาวะแบบนี้ และปรากฎการณ์นี้ในโรงเรียนสามัญทั่วไป และพฤติกรรมการเรียนแบบนี้ ก็สืบทอดต่อมาในระดับการเรียนที่สูงขึ้น) วิธีการเลี้ยงดูบัตรหลาน ในยุคปัจจุบัน เป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อให้มีจำนวน Passive student ในสังคมไทย ความรักบุตรหลานจะต้องไม่ทำร้ายกระบวนการเรียนรู้เบื้องต้น ความรับผิดชอบเบื้องต้น ตรรกะเบื้องต้น
|
|
สำหรับ Learning Transformation แล้ว การเปลี่ยนแปลงสถานะควรแปรเปลี่ยนไปตามช่วงวัย หรือ ผสมสลับกันไปในบางวิชา และทักษะ ทีต้องการรูปแบบของการเรียนต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่า สายวิชาหรือปลายทางของคาบเรียน และวิชานั้น ๆ ต้องการอะไร เช่น หากเป็นลักษณะของคาบเรียนที่ฝึกฝนตามกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือเปลี่ยนแปลงได้น้อย การสอนในรูปแบบเดิมก็มีความเหมาะสม และหรือในตาบหรือวิชาเรียนที่ต้องการสร้างกระบวนการคิด การใช้รูปแบบของ Hybrid/Active Learner มีความจำเป็นมากกว่า ไม่ว่าวิธีการกับวัตถุประสงค์จะแตกต่างกันหรือไม่ ทว่า "แนวคิด" และ "วัตถุประสงค์" ปลายทางจำเป็นจะต้องคงไว้ที่การพัฒนาตัวนักเรียน >> ผู้เรียน
กระบวนการ Learning Transformation จะต้องใช้ควบคู่กันไปกับ Teaching Transformation และจะต้องมีองค์ประกบต่าง ๆ ด้าน Eco-Logistic system ดำเนินควบคู่กันไปด้วย ในตารางต่อไปจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง Teaching Transformation
กระบวนการ Learning Transformation จะต้องใช้ควบคู่กันไปกับ Teaching Transformation และจะต้องมีองค์ประกบต่าง ๆ ด้าน Eco-Logistic system ดำเนินควบคู่กันไปด้วย ในตารางต่อไปจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง Teaching Transformation
หัวข้อ |
ก่อนกระบวนการ Transform |
ระหว่าง และหลังกระบวนการ Transform |
แนวคิด |
|
|
วิธีการ |
|
|
ปัญหาที่เกิดขึ้น และประโยชน์สำหรับผู้สอน >> ผู้อำนวยการความรู้ |
ปัญหาที่เกิดขึ้น
|
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
|
คำเรียกขานและ สถานะ |
Teacher ผู้เขียนขอแปลเป็นไทยว่า "ผู้สอน"
|
|
ขั้นตอนในกระบวนการ LTT (กับสถานการณ์ในประเทศไทย 2019)
กระบวนการ LTT นั้น หากจะเกิดกับนักศึกษาไทย ในระยะแรกน่าจะยาก เนืองจากว่า ระบบการศึกษาได้ทำลายคุณค่าของการเรียนรู้ จากเดิมที่ในวัยอนุบาล เด็กไทยเป็นเด็กช่างอยากรู้อยากถาม ทว่าส่วนมากอยู่ในระบบการศึกษาที่มีสัดส่วน ผู้สอน : ผู้เรียน ห่างกันมาก ด้วยจำนวน ภาระ ความเครียด ก็ได้ทำลายจินตนาการ ความอยากรู้อยากเห็น เมื่ออยู่ในชั้นที่โตขึ้น และโดยระบบการสอนแบบเดิม ที่บ้า "ความเก่งด้านวิชาการ" และ กดความสามารถและทักษะอื่น ๆ ให้หมดสิ้นไป ที่ปฏิบัติกันมากว่า 40 ปี (เฉพาะช่วยชีวิตของผู้เขียนที่มีประสบการณ์นี้) ยิ่งโตเด็กและเยาวชนไทยยิ่างห่างไกลความเป็นปัจเจกบุคคล ถูกระบบหลอมรวมให้เป็นสินค้าโหล ๆ ที่ผลิตซ้ำออกมาจากเครื่องจักรที่เรียกว่าระบบการศึกษา ซึ่งในประเทศต่าง ๆ เขาได้ปรับตัวเปลี่ยนหนีไปมาก ทว่า ระบบการศึกษาของไทยยิ่งปรับบิ่งทำให้ระบบนี้แข็งแกร่งขึ้นไปอีก
กระบวนการ LTT ในช่วง 2019 นี้ เป็นต้นไป คงจะต้องเริ่มจากกลุ่ม "Avengers ของสายอาจารย์มืออาชีพ" กล่าวคือ คณูอาจารย์มืออาชีพจะเป็นกลุ่มแรก ในการรับเอา LTT ไปใช้ และเมื่อผลของ LTT เริ่มขึ้น จะขยายวงไปยังผู้เรียน, ครูอาจาร์นท่านอื่น ๆ ที่มักเป็นผู้รอการเปลี่ยนแปลง, ครอบครัว, สถาบันการศึกษา, สังคม และระบบ (ให้ดูข้อความในส่วนกลางของแผนภาพด้านบน โดย กระบวนการนำ LTT ไปใช้ ในสังคมไทยอาจจะมีลักษณะพิเศษ เพราะว่า การเปลี่ยนแปลงใ ๆ กับ การศึกษาในประเทศไทย จำเป็นต้องใช้ "วิธีการพิเศษ" เสมอ ๆ โดยขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
องค์ประกอบที่ทำให้กระบวนการ LTT เกิดขึ้นได้จริง และการเชื่อมโยงระหว่าง LTT ของฝ่ายสอน (Teaching Side) และ ฝ่ายเรียน (Learning Side)
การเปลี่ยนแปลงสถานะของฝ่ายเรียน และฝ่ายสอน จะต้องควบคู่กันไปในทงทฤษฎี ทว่าในทางปฏิบัตินั้นอาจมีอัตราเร่งไม่เท่ากัน ทว่าทั้ง 2 กระบวนการการเปลี่ยนแปลงต้องเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน คือ มุ่งไปยังปลายทางที่ ผู้สอน สามารถใช้สถานะ Teacher, Hybird Teacher+Facilitator, Facilitator ได้เหมาะสม ตามสภาพของผู้เรียน และผู้เรียน พัฒนาเป็น Active Student, Learner, Active Learner, Live Long Learner ได้
Factor #1 สังคมไทยต้องเปลี่ยนวิธีคิดเมื่อนักเรียนเป็นผู้เรียน
LTT อุปมาเหมือนไก่กับไข่ อะไรจะเกิดก่อนกัน การเกิดขึ้นที่ฝ่ายใดก่อนไม่สำคัญ ทว่า ขอให้เกิดขึ้นที่ใครก่อนก็ได้ ทว่า อย่างที่เราท่านทราบกันอยู่ ถ้า LTT เกิดขึ้นที่ฝ่ายผู้เรียน สังคมไทยต้องปรับตัวให้ได้โดยยังคงรูปแบบของระบบสังคม เด็กที่ถาม คิดต่าง ไม่ใช่เด็กก้าวร้าว เด็กที่กล้าทดลองแตกต่าง ไม่ใช่ เด็กบ้า สังคมจำเป็น เพราะว่า เมื่อนักเรียนเป็นผู้เรียนแล้ว สิ่งที่เขาจะเชิญมากที่สุด คือ สังคมที่แวดล้อมตัวเขา
เมื่อ "เขา" ยังเล็ก เมื่อ "เขา" พูดได้ และเริ่มสื่อสารได้ "เขา" จะถาม "เรา" จะชื่นชมว่า "เขา" เป็นเด็ก เก่ง ฉลาด เมื่อถึงวัยที่ "เขา" ถามทุกเรื่องที่อยู่รอบตัว ทำไม "เรา" จึงเริ่มแสดงความรำคาญ เมื่อ "เขา" โตขึ้นมา ถามเพื่อหาคำตอบ เติมภาพในการเรียนรู้ "เรา" กลับไม่ชอบการถามของ "เขา" อีกต่อไป เมื่อเขาเริ่มโต มีความคิดเป็นของตนเอง ความคิดความเห็นของ "เขา" ที่แตกต่างจาก "เรา" หรือ ถูกตีความว่าเป็นการท้าทายผู้สอน ผู้ใหญ่ "เรา" ปฎิบัติต่อ "เขา" จนเขาไม่อยากถามอะไร ไม่อยากจะแสดงความเห็นอะไร จนกระทั่งวันหนึ่งที่ "เรา" ต้องการให้ "เขา"ถาม หรือแสดงความเห็น "เขา"กลับถามไม่เป็นอีกแล้ว "เขา" ประหยัดความเห็นด้วยและความเห็นต่าง เช่น นักศึกษาระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน หรือ เหล่าคนทำงานในองค์กรที่ไม่กล้ามีคำถาม และไม่กล้ามีความเห็นต่าง "เรา" จะต้องเปลี่ยนก่อน และ "เขา" จะเปลี่ยนตาม
Factor #2 พ่อแม่ ผู้ปกครองและครอบครัวของผู้เรียนรุ่นเยาว์ต้องเปิดกว้าง
โลกที่คนรุ่นพ่อแม่รู้จักได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ความเข้าใจในสังคมบริบทใหม่ ถึงแม้นว่าพ่อแม่จะยังร่วมสมัยก็ตาม ในกระบวนการ LTT นี้ การเปิดใจกว้างยอมรับวิธีการใหม่ เพื่อผลลัพท์ใหม่ อาจจะใช้เวลา และผิดไปจาก "ค่านิยมเดิม" พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครอบครัว ในกระบวนการ LTT ที่เริ่มต้นในสถาบันการศึกษาที่ลูกหลานของท่านเพิ่มกระบวนการนี้ จะต้องไม่นำโลกทัศน์เดิมมาครอบวิธีการใหม่ การเปลี่ยนแปลง "นักเรียน" ที่อาจจะมีมาตรวัดของการท่องจำ คำนวน หรือมีความเก่งเชิงวิชาการแบบเดียวในระบบเดิมที่พ่อแม่ ผู้ปกครองเติบโตมา จะเปลี่ยนไป เป็นการยอมรับ "ความหลายหลายทางทักษะ ทั้ง Hard และ Soft Skills" ความเก่งจะมีหลากหลายมุมมอง การเปิดใจกว้างจะให้กำลังใจทั้งผู้เรียน และผู้สอนในกระบวนการ LTT
โลกในอนาคตที่เมื่อลูกหลานของท่านจบการศึกษาในระบบทั่วไป ที่อาจจะเป็นพิธีกรรม หรือ ทางเลือกที่ไม่เลือกไม่ได้นั้นจะมีความหลากหลายทางอาชีพ และวิธีการเลี้ยงชีพ ที่แตกต่างไปจากมุมมองที่คนรุ่นพ่อแม่ ผู้ปกครองคุ้นชิน และผลของ LTT จะทำให้ลูกหลานของท่านเป็น Learner ซึ่งเขาจะสามารถปรับตัวไปได้ สิ่งที่ความรักความหวังดีจะต้องช่วยสนับสนุนคือ มุมมองทีต่างไป ดังนี้
Factor #3 ผู้มีอำนาจในการศึกษา ให้อิสระในการทดลอง และต้องมี KPI ที่เหมาะสมกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง
สิ่งที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง คือ ความกลัวในสิ่งลวง เช่น กลัวไม่ได้ชื่อเสียง, กลัวเสียชื่อ, กลัวเสียอันดับของสถาบันจากการจัดอันดับหลอก ๆ สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือ การอยู่แบบเดิมและลืมไปว่า ความกลัวที่แท้จริง คือ ผู้เรียนขาดความสามารถในการใช้ชีวิตด้วยวิชาและทักษะที่ควรส่งเสริมให้มีขึ้นใระบบการศึกษา และการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้บริหารการศึกษา ผู้มีอำนาจในกาวางนโยบาย ต้องรับทราบแล้วว่า ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา กรอบ และวิธีปฏิบัติ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ วิธีคิด ที่ถูกทำซ้ำมา "ไม่ได้ผล"
ผู้ใหญ่ด้านการศึกษาระดับเล็กที่สุด คือ หัวหน้าของครูและอาจารย์ที่จะเข้าสู่กระบวนการ LTT ต้องอำนวยกระบวนการนี้ให้เกิดขึ้น รักษาการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงมีอานุภาพทางร้ายในระหว่างการเริ่มต้นกระบวนการ ท่านต้องให้ไฟเขียว รักษาไฟเขียวของครูและอาจารย์ผู้ทดลองวิธีการทางเลือก เก็บไฟเหลืองไว้ เพราะว่า การทดลองนี้อาจะเห็นผลในชั่วโมง ในรายสัปดาห์ รายเดือน รายภาคการศึกษา รายปี จนกวา่จะถึงวันที่ ดอกไม้ผลิดอกบาน และเห็นผลอันฉ่ำหวาน ให้เก็บไฟเหลือง ไม่ใช้ไฟแดง แล้วเลี้ยงไฟเขียว ให้นานที่สุด LTT เป็นของดี แต่ไม่ใช่ของวิเศษ ที่จะเสกให้เกิดผลลัพท์ได้ในระบะเวลาอันสั้น บางที่คณุอาจารย์เหล่านี้จะพร้อม ทว่า ผู้เรียนส่วนมากยังมีสถานะเป็นนักเรียน และคุ้นเคยกับ "จารีตแย่ ๆ ของการศึกษาไทย" ท่านเข้าใจและเลี้ยงไฟเขียวไว้ สิ่งนี้จะงอกงามแน่นอนแต่ต้องใช้เวลา
การเปิดโอกาสให้ผู้สอนที่้เป็นมืออาชีพ ซึ่งคลุกคลีกับผู้เรียน เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการ จะเป็นทางออกให้ผู้สอนออกพ้นจากกรอบเดิม ๆ ที่คนสอนไม่ได้วางไว้ คนวางกฎเกณฑ์ไว่ไม่เคยสอน ไม่เคยเห็น "ความจริง" ในชั้นเรียน นี่เป็นปัจจัยที่ต้อง TOP DOWN จากคนมีอำนาจ และจะต้องอำนวยให้เกิดบรรยากาศเหล่านี้ ต้องปกป้องขุนพลของการเปลี่ยนแปลงในช่วง Transform
อนิจจา ที่ความกลัวในสิ่งลวง จะมีผลมากกว่า ความกลัวที่แม่จริง ผมจึงย้ำว่า ครูอาจารย์ที่เป็นมืออาชีพ ที่เข้าใจเป้าหมาย และความความอันแท้จริง ไม่ต้องรอ "นโยบาย" แตลงมือได้เลย ในชั้นเรียนของท่าน ทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ พ่อแม่ผู้ปกครองเห็นประโยชน์จากขบวนการ LTT
ขออัญเชิญบทพระบรมราโชวาทของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๙ มาแก่ท่านผู้นำด้านการศึกษา "ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้" ท่านต้องให้โอกาสครูและอาจารย์ดีดี ครูอาจารย์มืออาชีพได้ทำงาน
Factor #4 มือไม่พายอย่าเอาเท้าราน้ำ
ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง จะมีคน 3-4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง, ผู้ที่อยากเปลี่ยนแต่กลัวการเปลี่ยนแปลงในสาเหตุต่างๆ, ผู้ที่อยากได้ผลลัพท์ของการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่อยากลงมือทำเอง และ ผู้ที่พร้อมจะทำทุกวิธีที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปยังแนวทางที่ดีขึ้นได้ ซึ่งจากประเภทที่หนึ่งถึงสี่ เรามักจะพบว่าในสังคมไทย กลุ่มแรกจะมีจำนวนประชากรมากที่สุดเสมอ และกลุ่มสุดท้ายมันจะมีจำนวนนับหัวได้ในองค์กรใด ๆ ก็ตาม
ปัญหาที่มักพบมากในสังคมไทย คือ การละเลย เพิกเฉย และไม่ให้ความร่วมมือในกระบวนการเปลี่ยนแปลง เราเป็นสังคมที่มี "ความเห็น" "ความปรารถนา" มากกว่า "ความพยายามลงมือทำเสมอ" ดังนั้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ใน LTT หรือเรื่องอื่น ๆ ในสังคมไทย หากไม่รวมมือ อย่างน้อยต้อง ไม่เอา "เท้าราน้ำ" เพื่อให้เรือที่ต้องออกแรงพายเคลื่อนที่ไปได้ การจะขอให้คนในสังคมมีสปริตถ้าไม่ช่วยพาย ให้โดดลงจากเรือ ก็มิใชพฤติกรรม และสันดานของคนไทยเสียด้วย เพราะว่าเขาจะอาศัยอยู่บนเรือนี้ เผื่อว่า เรือจะไปถึงฝั่ง หรือ เขาคิดว่าในกรณีที่ร้ายที่สุด เขาจะ "สละเรือ" ในวันที่คิดว่าเรือกำลังจะจม เราเปลี่ยนสันดานประจำชาติแบบที่ที่หยั่งรากไม่ได้ เราเพียงต้องเข้าใจมัน
การเอาเท้าราน้ำ ได้แก่ การไม่ให้กำลังใจ, การค่อนแคะ, การทำตัวเป็นอุปสรรคโดยใช้หน้าที่การงาน และตำแหน่งขวางทางการเปลี่ยนแปลง, การแบ่งพรรคแย่งพวกแล้วเอากำลังของการเปลี่ยงแปลงจาก คนในกลุ่ม 2 และ 3 ออกไป เป็นต้น ดังนั้นถ้ามือไม่พาย ไม่สละเรือเพื่อให้เรือเบาขึ้น เพื่อรอว่าเผื่อไปถึงจะได้อาศัยเรียวแรงของคนที่ลงมือทำ และจับผลัดจับผลูเป็นฝ่ายสำเร็จไปด้วยนั้น ก็ทำได้โดย "ไม่เอาเท้าราน้ำ"
Factor #5 ครูอาจารย์มืออาชีพให้เอาจิตใจของท่านนำไป แล้วเอาพลังความคิดตามไป
ครูอาจารย์ "มืออาชีพ" จะเป็นกลุ่มคนกลุ่มที่ 4 เสมอ ส่วนคนที่อาศัยชื่อของอาชีพให้คนเขาเรียกเพื่อรับความนับถือ จะเป็นกลุ่ม 1,2,3 ครูอละอาจารย์มืออาชีพมีความหนักแน่นเป็นทุนเดิม เพราะว่า หวังประโยชน์ของนักเรียนนักศึกษาเป็นหลักอยู่แล้ว ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง LTT เช่นกัน หากท่านไม่เร่ิมทำ แล้วใครจะทำ ไอ้แมงมุมสไปเดอร์แมนในจักรวาลมาร์เวล บอกว่า "พลังที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ(และหน้าที่)อันใหญ่ยิ่ง" ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องน้ำอะไรอีก เมื่อท่านอ่านมาถึงประโยคนี้ ท่านจงหาคนในประเภทเดียวกัน สร้างสิ่งที่เมืองนอกเรียกว่า PLC; Professional Learning Commnuity แล้วสร้างสรรค์วิธีการเรียนการสอนเพื่อเปลี่ยนโฉมประเทศของเรา
กระบวนการ LTT ในช่วง 2019 นี้ เป็นต้นไป คงจะต้องเริ่มจากกลุ่ม "Avengers ของสายอาจารย์มืออาชีพ" กล่าวคือ คณูอาจารย์มืออาชีพจะเป็นกลุ่มแรก ในการรับเอา LTT ไปใช้ และเมื่อผลของ LTT เริ่มขึ้น จะขยายวงไปยังผู้เรียน, ครูอาจาร์นท่านอื่น ๆ ที่มักเป็นผู้รอการเปลี่ยนแปลง, ครอบครัว, สถาบันการศึกษา, สังคม และระบบ (ให้ดูข้อความในส่วนกลางของแผนภาพด้านบน โดย กระบวนการนำ LTT ไปใช้ ในสังคมไทยอาจจะมีลักษณะพิเศษ เพราะว่า การเปลี่ยนแปลงใ ๆ กับ การศึกษาในประเทศไทย จำเป็นต้องใช้ "วิธีการพิเศษ" เสมอ ๆ โดยขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
- ขั้นที่ 1: สร้างความตระหนักรู้ในการเปลี่ยนแปลง และผลของการเปลี่ยนแปลง ทำให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน (จริงๆ แล้ว ในขั้นตอนนี้ไม่มีอะไรใหม่ ให้ผู้สนใจทั่วไป ดู 8 step of changing แล้วนำ concepts มาปรับกับขั้นตอนนี้ )
- อุปสรรคของขั้นตอนนี้ คือ
- จำนวน และความพร้อมเพรียง ครูอาจารย์ที่เป็นมืออาชีพสาย Avengers จงจะมีจำนวนน้อยราย แต่จะมีความประสงค์พิเศษซึ่งเป็นต้นทุนของการเปลี่ยนแปลงที่ดี คือ ความตั้งใจที่ประโยชน์ของผู้เรียนเป็นหลัก และจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมเพรียงกัน เพราะว่าครูและอาจารย์มืออาชีพมักอยู่ในระบบสังคมไทย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมีความหมายเชิงลบ
- ปัญหาใหญ่สุด คือ นโยบายที่เปิดกว้างในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถ้าจะต้องรอผู้บริหารการศึกษาที่มีหัวคร่ำครึ และไม่อยูในระบวนทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่เร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงเชิง mindset ของผู้บริหาร
- ผู้เขียนจึงตั้งชื่อหัวข้อว่า "เป็นกบฎกันเถอะ" เพราะว่า หากไม่เกิดการทดลอง methodology ใหม่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
- อุปสรรคของขั้นตอนนี้ คือ
- ในขั้นตอนที่ 2-4 นั้น ท่านจะเห็นว่าผู้เขียน ใช้ข้อความว่า "บังคับเปลี่ยน" ในกรณีที่ ไม่เกิดอาสาสมัครในกลุ่มครูและอาจารย์ ทว่า ผู้บริหารสถาบันการศึกษาเห็นด้วยในกระบวนการทดลอง ก็ให้ใช้ KPI ขององค์กรโน้มนำไป จึงเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งนี้ดูจะเป็นวิธีที่เป็นไปได้กับสังคมไทย
- ขั้นที่ 2 คือ ภาวนา ให้มีกลุ่มผู้สอน คือ กลุ่ม คณูอาจารย์มืออาชีพสนใจในกระบวนการ LTT
- ขั้นที่ 3-4 คือ เริ่มต้นกระบวนการ LTT ในชั้นเรียนของตน
- อุปสรรคในขั้นตอน 2-4 คือ การลงมือทำจริง และการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารสถาบันการศึกษา รวมไปถึง ค่านิยมแบบไทย ๆ ที่ทำลายทุกความปรารถนาดีในการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมไทย LTT จะเกิดได้ กับครูอาจารย์มืออาชีพที่มีจิตในมั่นคง ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผมพบเจอครูอาจารย์กลุ่มนี้ ผมเชื่อว่า ท่านแข็งแกร่ง ที่เหลือ คือ คำแนะนำ วิธีการ การแนะแนว และการแนะนำ ซึ่งจะพบได้ใน EP ต่อไป
- ขั้นตอนที่ 5 LTT เป็นที่ยอมรับและเป็นของสามัญในภาคการศึกษา โดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน LTT หากผ่านขั้นตอนที่ 1-4 มาแล้ว ด้วยความตั้งใจของครูอาจารย์มืออาชีพ ผสมกับ ผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่เข้าใจ ครอบครัวของผู้รียนที่สนับสนุน ขั้นตอนที่ 5 เป็นเรื่องไม่ยาก เพราะว่า เมื่อมีต้นแบบ และต้นแบบประสบความสำเร็จจะมีกลุ่มคนที่สงสัยนตอนแรก และติดตามมาเป็นเรื่องปรกติของพฤติกรรมในสังคมมไทย
- ขั้นตอนที่ 6 การตอบรับ LTT ของทั้งภาคการศึกษาไทยในทุกระดับ และพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับกาลปัจจัย สร้างความั่งยืนของวิธี LTT
องค์ประกอบที่ทำให้กระบวนการ LTT เกิดขึ้นได้จริง และการเชื่อมโยงระหว่าง LTT ของฝ่ายสอน (Teaching Side) และ ฝ่ายเรียน (Learning Side)
การเปลี่ยนแปลงสถานะของฝ่ายเรียน และฝ่ายสอน จะต้องควบคู่กันไปในทงทฤษฎี ทว่าในทางปฏิบัตินั้นอาจมีอัตราเร่งไม่เท่ากัน ทว่าทั้ง 2 กระบวนการการเปลี่ยนแปลงต้องเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน คือ มุ่งไปยังปลายทางที่ ผู้สอน สามารถใช้สถานะ Teacher, Hybird Teacher+Facilitator, Facilitator ได้เหมาะสม ตามสภาพของผู้เรียน และผู้เรียน พัฒนาเป็น Active Student, Learner, Active Learner, Live Long Learner ได้
Factor #1 สังคมไทยต้องเปลี่ยนวิธีคิดเมื่อนักเรียนเป็นผู้เรียน
LTT อุปมาเหมือนไก่กับไข่ อะไรจะเกิดก่อนกัน การเกิดขึ้นที่ฝ่ายใดก่อนไม่สำคัญ ทว่า ขอให้เกิดขึ้นที่ใครก่อนก็ได้ ทว่า อย่างที่เราท่านทราบกันอยู่ ถ้า LTT เกิดขึ้นที่ฝ่ายผู้เรียน สังคมไทยต้องปรับตัวให้ได้โดยยังคงรูปแบบของระบบสังคม เด็กที่ถาม คิดต่าง ไม่ใช่เด็กก้าวร้าว เด็กที่กล้าทดลองแตกต่าง ไม่ใช่ เด็กบ้า สังคมจำเป็น เพราะว่า เมื่อนักเรียนเป็นผู้เรียนแล้ว สิ่งที่เขาจะเชิญมากที่สุด คือ สังคมที่แวดล้อมตัวเขา
เมื่อ "เขา" ยังเล็ก เมื่อ "เขา" พูดได้ และเริ่มสื่อสารได้ "เขา" จะถาม "เรา" จะชื่นชมว่า "เขา" เป็นเด็ก เก่ง ฉลาด เมื่อถึงวัยที่ "เขา" ถามทุกเรื่องที่อยู่รอบตัว ทำไม "เรา" จึงเริ่มแสดงความรำคาญ เมื่อ "เขา" โตขึ้นมา ถามเพื่อหาคำตอบ เติมภาพในการเรียนรู้ "เรา" กลับไม่ชอบการถามของ "เขา" อีกต่อไป เมื่อเขาเริ่มโต มีความคิดเป็นของตนเอง ความคิดความเห็นของ "เขา" ที่แตกต่างจาก "เรา" หรือ ถูกตีความว่าเป็นการท้าทายผู้สอน ผู้ใหญ่ "เรา" ปฎิบัติต่อ "เขา" จนเขาไม่อยากถามอะไร ไม่อยากจะแสดงความเห็นอะไร จนกระทั่งวันหนึ่งที่ "เรา" ต้องการให้ "เขา"ถาม หรือแสดงความเห็น "เขา"กลับถามไม่เป็นอีกแล้ว "เขา" ประหยัดความเห็นด้วยและความเห็นต่าง เช่น นักศึกษาระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน หรือ เหล่าคนทำงานในองค์กรที่ไม่กล้ามีคำถาม และไม่กล้ามีความเห็นต่าง "เรา" จะต้องเปลี่ยนก่อน และ "เขา" จะเปลี่ยนตาม
- เรา = พ่อแม่ ปู่ยาตายาย ครูอาจารย์ ผู้บังคับบัญชา
- เขา = ลูก หลาน นักเรียน นักศึกษา
Factor #2 พ่อแม่ ผู้ปกครองและครอบครัวของผู้เรียนรุ่นเยาว์ต้องเปิดกว้าง
โลกที่คนรุ่นพ่อแม่รู้จักได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ความเข้าใจในสังคมบริบทใหม่ ถึงแม้นว่าพ่อแม่จะยังร่วมสมัยก็ตาม ในกระบวนการ LTT นี้ การเปิดใจกว้างยอมรับวิธีการใหม่ เพื่อผลลัพท์ใหม่ อาจจะใช้เวลา และผิดไปจาก "ค่านิยมเดิม" พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครอบครัว ในกระบวนการ LTT ที่เริ่มต้นในสถาบันการศึกษาที่ลูกหลานของท่านเพิ่มกระบวนการนี้ จะต้องไม่นำโลกทัศน์เดิมมาครอบวิธีการใหม่ การเปลี่ยนแปลง "นักเรียน" ที่อาจจะมีมาตรวัดของการท่องจำ คำนวน หรือมีความเก่งเชิงวิชาการแบบเดียวในระบบเดิมที่พ่อแม่ ผู้ปกครองเติบโตมา จะเปลี่ยนไป เป็นการยอมรับ "ความหลายหลายทางทักษะ ทั้ง Hard และ Soft Skills" ความเก่งจะมีหลากหลายมุมมอง การเปิดใจกว้างจะให้กำลังใจทั้งผู้เรียน และผู้สอนในกระบวนการ LTT
โลกในอนาคตที่เมื่อลูกหลานของท่านจบการศึกษาในระบบทั่วไป ที่อาจจะเป็นพิธีกรรม หรือ ทางเลือกที่ไม่เลือกไม่ได้นั้นจะมีความหลากหลายทางอาชีพ และวิธีการเลี้ยงชีพ ที่แตกต่างไปจากมุมมองที่คนรุ่นพ่อแม่ ผู้ปกครองคุ้นชิน และผลของ LTT จะทำให้ลูกหลานของท่านเป็น Learner ซึ่งเขาจะสามารถปรับตัวไปได้ สิ่งที่ความรักความหวังดีจะต้องช่วยสนับสนุนคือ มุมมองทีต่างไป ดังนี้
- มาตรฐานความเก่งจะแตกต่างกันจากโลกทัศน์เดิม (ฺBeyond IQ จะมี XQ มากมาย เช่น EQ, DQ, AQ, MQ)
- อาชีพจะหลายหลาย และอาชีพจะเปลี่ยนไปตาม XQ
- การเรียนรู้จะเป็นการเรียนนอกห้องเรียน นอกตำรา นอกเวลา แบบที่คุ้นเคย หากผู้สอนเลือกวิธีการที่ท่านไม่คุ้นเคยต้องเปิดใจยอมรับ
- ท่านสนับสนุนผู้เรียนได้ ด้วยการใส่ใจ ไม่ใช่ เอาใจ, ตามใจ หรือ วัดผลที่ผลลลัพม์ที่เป็นเชิงบวกเสมอ ความผิดพลาดสอนให้ท่านมีประสบการณ์อย่างไร ลูกหลานของท่านก็จะเติบโตได้จากความผิดพลาด ให้รักบุตรหลานอย่างไม่ครอบงำ และ ไม่ครอบคลุม
- ท่านต้องสนับสนุนครูอาจารย์วิธีใหม่ ไม่ใช่เอาของไปฝากเพื่อให้ดูแลลูกหลานแบบเดิม ๆ กับครูอาจารย์แบบไหนก็ได้ ท่านเปลี่ยนเป็นชื่นชมครูอาจารย์ในกระบวนการ LTT เขาเหล่านั้นจะได้มีกำลังใจ และเป็นตัวอย่างของครูอาจารย์คนอื่นๆ ที่กล้า ๆ กลัว ๆ
Factor #3 ผู้มีอำนาจในการศึกษา ให้อิสระในการทดลอง และต้องมี KPI ที่เหมาะสมกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง
สิ่งที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง คือ ความกลัวในสิ่งลวง เช่น กลัวไม่ได้ชื่อเสียง, กลัวเสียชื่อ, กลัวเสียอันดับของสถาบันจากการจัดอันดับหลอก ๆ สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือ การอยู่แบบเดิมและลืมไปว่า ความกลัวที่แท้จริง คือ ผู้เรียนขาดความสามารถในการใช้ชีวิตด้วยวิชาและทักษะที่ควรส่งเสริมให้มีขึ้นใระบบการศึกษา และการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้บริหารการศึกษา ผู้มีอำนาจในกาวางนโยบาย ต้องรับทราบแล้วว่า ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา กรอบ และวิธีปฏิบัติ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ วิธีคิด ที่ถูกทำซ้ำมา "ไม่ได้ผล"
ผู้ใหญ่ด้านการศึกษาระดับเล็กที่สุด คือ หัวหน้าของครูและอาจารย์ที่จะเข้าสู่กระบวนการ LTT ต้องอำนวยกระบวนการนี้ให้เกิดขึ้น รักษาการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงมีอานุภาพทางร้ายในระหว่างการเริ่มต้นกระบวนการ ท่านต้องให้ไฟเขียว รักษาไฟเขียวของครูและอาจารย์ผู้ทดลองวิธีการทางเลือก เก็บไฟเหลืองไว้ เพราะว่า การทดลองนี้อาจะเห็นผลในชั่วโมง ในรายสัปดาห์ รายเดือน รายภาคการศึกษา รายปี จนกวา่จะถึงวันที่ ดอกไม้ผลิดอกบาน และเห็นผลอันฉ่ำหวาน ให้เก็บไฟเหลือง ไม่ใช้ไฟแดง แล้วเลี้ยงไฟเขียว ให้นานที่สุด LTT เป็นของดี แต่ไม่ใช่ของวิเศษ ที่จะเสกให้เกิดผลลัพท์ได้ในระบะเวลาอันสั้น บางที่คณุอาจารย์เหล่านี้จะพร้อม ทว่า ผู้เรียนส่วนมากยังมีสถานะเป็นนักเรียน และคุ้นเคยกับ "จารีตแย่ ๆ ของการศึกษาไทย" ท่านเข้าใจและเลี้ยงไฟเขียวไว้ สิ่งนี้จะงอกงามแน่นอนแต่ต้องใช้เวลา
การเปิดโอกาสให้ผู้สอนที่้เป็นมืออาชีพ ซึ่งคลุกคลีกับผู้เรียน เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการ จะเป็นทางออกให้ผู้สอนออกพ้นจากกรอบเดิม ๆ ที่คนสอนไม่ได้วางไว้ คนวางกฎเกณฑ์ไว่ไม่เคยสอน ไม่เคยเห็น "ความจริง" ในชั้นเรียน นี่เป็นปัจจัยที่ต้อง TOP DOWN จากคนมีอำนาจ และจะต้องอำนวยให้เกิดบรรยากาศเหล่านี้ ต้องปกป้องขุนพลของการเปลี่ยนแปลงในช่วง Transform
อนิจจา ที่ความกลัวในสิ่งลวง จะมีผลมากกว่า ความกลัวที่แม่จริง ผมจึงย้ำว่า ครูอาจารย์ที่เป็นมืออาชีพ ที่เข้าใจเป้าหมาย และความความอันแท้จริง ไม่ต้องรอ "นโยบาย" แตลงมือได้เลย ในชั้นเรียนของท่าน ทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ พ่อแม่ผู้ปกครองเห็นประโยชน์จากขบวนการ LTT
ขออัญเชิญบทพระบรมราโชวาทของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๙ มาแก่ท่านผู้นำด้านการศึกษา "ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้" ท่านต้องให้โอกาสครูและอาจารย์ดีดี ครูอาจารย์มืออาชีพได้ทำงาน
Factor #4 มือไม่พายอย่าเอาเท้าราน้ำ
ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง จะมีคน 3-4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง, ผู้ที่อยากเปลี่ยนแต่กลัวการเปลี่ยนแปลงในสาเหตุต่างๆ, ผู้ที่อยากได้ผลลัพท์ของการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่อยากลงมือทำเอง และ ผู้ที่พร้อมจะทำทุกวิธีที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปยังแนวทางที่ดีขึ้นได้ ซึ่งจากประเภทที่หนึ่งถึงสี่ เรามักจะพบว่าในสังคมไทย กลุ่มแรกจะมีจำนวนประชากรมากที่สุดเสมอ และกลุ่มสุดท้ายมันจะมีจำนวนนับหัวได้ในองค์กรใด ๆ ก็ตาม
ปัญหาที่มักพบมากในสังคมไทย คือ การละเลย เพิกเฉย และไม่ให้ความร่วมมือในกระบวนการเปลี่ยนแปลง เราเป็นสังคมที่มี "ความเห็น" "ความปรารถนา" มากกว่า "ความพยายามลงมือทำเสมอ" ดังนั้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ใน LTT หรือเรื่องอื่น ๆ ในสังคมไทย หากไม่รวมมือ อย่างน้อยต้อง ไม่เอา "เท้าราน้ำ" เพื่อให้เรือที่ต้องออกแรงพายเคลื่อนที่ไปได้ การจะขอให้คนในสังคมมีสปริตถ้าไม่ช่วยพาย ให้โดดลงจากเรือ ก็มิใชพฤติกรรม และสันดานของคนไทยเสียด้วย เพราะว่าเขาจะอาศัยอยู่บนเรือนี้ เผื่อว่า เรือจะไปถึงฝั่ง หรือ เขาคิดว่าในกรณีที่ร้ายที่สุด เขาจะ "สละเรือ" ในวันที่คิดว่าเรือกำลังจะจม เราเปลี่ยนสันดานประจำชาติแบบที่ที่หยั่งรากไม่ได้ เราเพียงต้องเข้าใจมัน
การเอาเท้าราน้ำ ได้แก่ การไม่ให้กำลังใจ, การค่อนแคะ, การทำตัวเป็นอุปสรรคโดยใช้หน้าที่การงาน และตำแหน่งขวางทางการเปลี่ยนแปลง, การแบ่งพรรคแย่งพวกแล้วเอากำลังของการเปลี่ยงแปลงจาก คนในกลุ่ม 2 และ 3 ออกไป เป็นต้น ดังนั้นถ้ามือไม่พาย ไม่สละเรือเพื่อให้เรือเบาขึ้น เพื่อรอว่าเผื่อไปถึงจะได้อาศัยเรียวแรงของคนที่ลงมือทำ และจับผลัดจับผลูเป็นฝ่ายสำเร็จไปด้วยนั้น ก็ทำได้โดย "ไม่เอาเท้าราน้ำ"
Factor #5 ครูอาจารย์มืออาชีพให้เอาจิตใจของท่านนำไป แล้วเอาพลังความคิดตามไป
ครูอาจารย์ "มืออาชีพ" จะเป็นกลุ่มคนกลุ่มที่ 4 เสมอ ส่วนคนที่อาศัยชื่อของอาชีพให้คนเขาเรียกเพื่อรับความนับถือ จะเป็นกลุ่ม 1,2,3 ครูอละอาจารย์มืออาชีพมีความหนักแน่นเป็นทุนเดิม เพราะว่า หวังประโยชน์ของนักเรียนนักศึกษาเป็นหลักอยู่แล้ว ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง LTT เช่นกัน หากท่านไม่เร่ิมทำ แล้วใครจะทำ ไอ้แมงมุมสไปเดอร์แมนในจักรวาลมาร์เวล บอกว่า "พลังที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ(และหน้าที่)อันใหญ่ยิ่ง" ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องน้ำอะไรอีก เมื่อท่านอ่านมาถึงประโยคนี้ ท่านจงหาคนในประเภทเดียวกัน สร้างสิ่งที่เมืองนอกเรียกว่า PLC; Professional Learning Commnuity แล้วสร้างสรรค์วิธีการเรียนการสอนเพื่อเปลี่ยนโฉมประเทศของเรา
การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เริ่มต้นที่ "ลงมือทำ" เป็นสำคัญ เนิ่มต้นคิดให้ฟุ้งเฟ้อใคร ๆ ก็ทำได้ และคนในสังคมส่วนมากหยุดที่ความคิดเท่านั้น และใช้ "วาทกรรม" ทำแทนการลงมือจริง เราเห็นเช่นนี้แล้วในสังคมจนเป็นของคุ้นชิน ใน EP ต่อไป ผู้เขียนจะเสนอวิธี LTT ต่อไป LTT คือความเรียบง่าย และใครๆ ก็ทำได้ และความเรียบง่ายจะเปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือที่ทรงพลานุภาพ ที่เริ่มต้นได้ในชั้นเรียนของท่านเอง (เป็นกบฎกันเถอะ)