MonsoonSIM เป็นเครื่องมือ ซึ่งผมมักจะนำเสนอว่า "เครื่องมือ" จะมีพลังเมื่อ "ผู้ใช้" ใช้มันด้วย "ทักษะ" "ความรู้" "ประสบการณ์" ทว่าไม่มีใครเลยที่จะมีความพร้อมที่จะเปลี่ยน "เครื่องมือ" ให้เป็น Powerful Tool โดยใช้ทั้ง 3 ด้านอย่างเท่าเทียมกัน สำหรับท่าน CT นั้น ความรู้ในสาขาวิชาที่เป็นเฉพาะทางนั้น โดดเด่นกว่าผมมาก และยิ่งหากท่านได้นำเอามุมมของของ Integrated Knowlegde ไปผสมผสานให้กับนักเรียนนักศึกษาของท่านแล้วจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล ซ่งบทความนี้ผมคิดอยู่นานว่าควรจะเขียนหรือไม่ ทว่าหลังจากตรึกตรองอยู่นานว่าควรจะเขียนหัวข้อนี้เพื่อแบ่งปันประสบการณ์หรือไม่ ก็ได้คำตอบกับตัวเองว่า ควรจะเขียนเอาไว้ จากประสบการณ์อันี้มีข้อจำกัดของผู้เขียน เพราะผมเชื่อว่า มุมมองที่แตกต่างกันไป จะทำให้มองเห็นวิธีการที่แตกต่างในเรื่องเดียวกัน และเพื่อซักวันหนึ่งจะมีการแบ่งปันเกิดขึ้นใน Community เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
ในการนำเสนอในช่วงปีแรก ๆ ผมมักจะยกตัวอย่าง "พู่กันของแวนโก๊ะ" เพื่อให้เห็นว่า พู่กันเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนผู้วาด ก็ให้ผลแตกต่างกัน มันไม่ได้สำคัญเพียงด้านเดียว ที่ว่าพู่กันจะเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ มีข้อดี อย่างไร ทว่า ผู้ใช้ หรือผู้วาดที่เข้าใจ ข้อเสีย และข้อจำกัดของเครื่องมือ จะสามารถสร้างสรรค์ภาพได้เช่นเดียวกัน ในสไตล์ที่มีความงามแตกต่างกันไปจากแวนโก๊ะ เพราะว่าความงามของภาพไม่ได้มีวิะีเดียวในการตัดสิน
ในคลาส TTT; Train The Trainer นั้น ผมมักจะสร้างประสบการณ์ให้ท่าน โดยขอให้ท่านเริ่มต้นเหมือนนักศึกษาที่ไม่ความรู้ และเริ่มเรียนใหม่ ทว่ามักจะล้มเหลวในวิธีการนี้ เพราะว่า CT หลายท่าน ไม่เข้าใจในกระบวนการ (Unlearn - Learn และ Re-Learn) ซึ่งจักต้องปล่อยวาง แต่หากท่าน CT เปิดใด ท่านจะพบว่า อาจมีหลายวิธีเพื่อที่จะอธิบาย และเรียนรู้เรื่องเดิม ๆ ในมุมใหม่ ๆ ซึ่งไม่ต้องจำกัดกรอบ และวิธีของการเรียนรู้ตีความ ซึ่งเป็นหัวใจของการศึกษาสมัยใหม่ MonsoonSIM ในความเห็นของผมเป็นเครื่องมือที่ควรใช้ในวัตถุประสงค์เช่นนี้ คือ การสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยวิธีการหลากหลาย (Unearnability - Learnability - Relearnability --> Forming of Active Leaner and Experiential Learning)
อุปสรรคอย่างหนึ่งของการนำเครื่องมือไปใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการศึกษาไทย แบบไทยอนุรักษ์นิยม ที่มักจะถูกถามอยู่เป็นประจำเวลาไปนำเสนอ คือ มีเครื่องมือที่ตรงกับวิชาที่สอนมีหรือเปล่า ซึ่งสะท้อนแนวคิดเดิมของผู้สอน ซึ่งโดยส่วนตัวอาจจะไม่ถูกสมัยเท่าใดนักกับยุคนี้ ยุคที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อในการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จำนวนและโครงสร้างประชากรที่แตกต่างจากเดิมและส่งผลต่อการจัดการต่าง ๆ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยส่วนตัวนั้น พื้นฐานความรู้ในแต่ละสาขาเป็นความจำเป็นพื้นฐาน ทักษะที่หลากหลาย และมีความสำคัญยิ่งเมื่อ "บูรณาการ" (Integrated Knoledge and Skills) หลาย ๆ ศาสตร์ความรู้เข้าด้วยกันและใช้ในการทำงานหรือการประกอบการได้ ดงันั้น เพื่อปรับให้เข้ากับรูปแบบเดิมที่ยังคงอยู่ในสังคมไทยอย่างน้อยไปอีก 7-10 ปี (นับจาก 2561) จึงยังคงจะต้องนำเสนอบทความนี้ตามรูปแบบสาขาวิชาคลาสิคอยู่ จนกว่าจิตลักษณะของการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงไป ไล่หลังความเป็น "ตัวอย่าง" ที่เราคัดลอกมา ซึ่งตัวอย่างจะขยับห่างออกไปใน Paradigmship ใหม่ ในขณะที่การศึกษาไทยไล่หลังเป็นวังวนเช่นนี้ต่อไป จนกว่ากระบวนการ Education Transformation จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในแบบที่เหมาะสมกับสังคมวัฒณธรรมของไทย และอยู่รอดปลอดภัยในกระแสของสังคมโลก
หมายหตุ: ผู้เขียน มีความเชื่อมั่นใน Integrated Knowledge and Skills ทว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเขียนบทความนี้ในรายกลุ่มวิชา หรือสาขา เพราะว่าการศึกษาไทยอยู่ในโลกทัศน์ของอนุรักษ์นิยม และจะขอนำเสนอแนวคิดเรื่อง Integrated Knowledge and Skills ใบบทความถัดไป
ในการนำเสนอในช่วงปีแรก ๆ ผมมักจะยกตัวอย่าง "พู่กันของแวนโก๊ะ" เพื่อให้เห็นว่า พู่กันเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนผู้วาด ก็ให้ผลแตกต่างกัน มันไม่ได้สำคัญเพียงด้านเดียว ที่ว่าพู่กันจะเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ มีข้อดี อย่างไร ทว่า ผู้ใช้ หรือผู้วาดที่เข้าใจ ข้อเสีย และข้อจำกัดของเครื่องมือ จะสามารถสร้างสรรค์ภาพได้เช่นเดียวกัน ในสไตล์ที่มีความงามแตกต่างกันไปจากแวนโก๊ะ เพราะว่าความงามของภาพไม่ได้มีวิะีเดียวในการตัดสิน
ในคลาส TTT; Train The Trainer นั้น ผมมักจะสร้างประสบการณ์ให้ท่าน โดยขอให้ท่านเริ่มต้นเหมือนนักศึกษาที่ไม่ความรู้ และเริ่มเรียนใหม่ ทว่ามักจะล้มเหลวในวิธีการนี้ เพราะว่า CT หลายท่าน ไม่เข้าใจในกระบวนการ (Unlearn - Learn และ Re-Learn) ซึ่งจักต้องปล่อยวาง แต่หากท่าน CT เปิดใด ท่านจะพบว่า อาจมีหลายวิธีเพื่อที่จะอธิบาย และเรียนรู้เรื่องเดิม ๆ ในมุมใหม่ ๆ ซึ่งไม่ต้องจำกัดกรอบ และวิธีของการเรียนรู้ตีความ ซึ่งเป็นหัวใจของการศึกษาสมัยใหม่ MonsoonSIM ในความเห็นของผมเป็นเครื่องมือที่ควรใช้ในวัตถุประสงค์เช่นนี้ คือ การสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยวิธีการหลากหลาย (Unearnability - Learnability - Relearnability --> Forming of Active Leaner and Experiential Learning)
อุปสรรคอย่างหนึ่งของการนำเครื่องมือไปใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการศึกษาไทย แบบไทยอนุรักษ์นิยม ที่มักจะถูกถามอยู่เป็นประจำเวลาไปนำเสนอ คือ มีเครื่องมือที่ตรงกับวิชาที่สอนมีหรือเปล่า ซึ่งสะท้อนแนวคิดเดิมของผู้สอน ซึ่งโดยส่วนตัวอาจจะไม่ถูกสมัยเท่าใดนักกับยุคนี้ ยุคที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อในการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จำนวนและโครงสร้างประชากรที่แตกต่างจากเดิมและส่งผลต่อการจัดการต่าง ๆ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยส่วนตัวนั้น พื้นฐานความรู้ในแต่ละสาขาเป็นความจำเป็นพื้นฐาน ทักษะที่หลากหลาย และมีความสำคัญยิ่งเมื่อ "บูรณาการ" (Integrated Knoledge and Skills) หลาย ๆ ศาสตร์ความรู้เข้าด้วยกันและใช้ในการทำงานหรือการประกอบการได้ ดงันั้น เพื่อปรับให้เข้ากับรูปแบบเดิมที่ยังคงอยู่ในสังคมไทยอย่างน้อยไปอีก 7-10 ปี (นับจาก 2561) จึงยังคงจะต้องนำเสนอบทความนี้ตามรูปแบบสาขาวิชาคลาสิคอยู่ จนกว่าจิตลักษณะของการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงไป ไล่หลังความเป็น "ตัวอย่าง" ที่เราคัดลอกมา ซึ่งตัวอย่างจะขยับห่างออกไปใน Paradigmship ใหม่ ในขณะที่การศึกษาไทยไล่หลังเป็นวังวนเช่นนี้ต่อไป จนกว่ากระบวนการ Education Transformation จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในแบบที่เหมาะสมกับสังคมวัฒณธรรมของไทย และอยู่รอดปลอดภัยในกระแสของสังคมโลก
หมายหตุ: ผู้เขียน มีความเชื่อมั่นใน Integrated Knowledge and Skills ทว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเขียนบทความนี้ในรายกลุ่มวิชา หรือสาขา เพราะว่าการศึกษาไทยอยู่ในโลกทัศน์ของอนุรักษ์นิยม และจะขอนำเสนอแนวคิดเรื่อง Integrated Knowledge and Skills ใบบทความถัดไป
สาขาวิชาบัญชี, การเงิน กับการบริหารธุรกิจ
ดาวโหลด ตัวอย่างของการใช้ MonsoonSIM ในสาขาวิชาบัญชี ที่ Daekin University โดย Dr.Edwin Lim
FIN หรือ Finance and Accouting เป็นโมดูลหลักของ MonsoonSIM ซึ่งหากท่านจะใช้เป็นเครื่องมือในการสอนเรื่องบัญชีสำหรับธุรกิจ และการเงินสำหรับธุรกิจนั้น สามารถที่จะครอลคลุมในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านบัญชีได้ดังนี้
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า ในโลกธุรกิจ และการทำงานในปัจจุบัน ความรู้ด้านบัญชีในแบบเดิมที่เรียนสอนกันในรั้วสถาบันการศึกษา ต่อให้จะมีมาตรฐานวิชาชีพบัญชีเข้ามาครอบเป็นกรอบ รูปแบบของการจัดการบัญชีจะเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น การที่ท่านติดอาวุธด้านความเข้าใจธุรกิจ และกระบวนการทางธุรกิจ จะช่วยให้การเติบโตในสายอาชีพที่นักศึกษาบัญชีนิยมกัน เช่น CPA, Auditing และ Consulting หรือ Accounting Information System, Accounting Analyst โดย MonsoonSIM จะเป็นพื้นฐานของความเข้าใจ และยังช่วยสร้างให้เกิดความเช้าใจในด้าน Business Process อื่น ๆ
นอกจากนี้แล้ว MonsoonSIM ยังให้ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องระบบ ERP โดยเป็น Partner กับ SAP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ERP ระดับโลก และทำให้ การเรียนการสอนใน SAP Module FI, CO เปลี่ยนจากผู้ใช้ (User) เป็นผู้ที่มีความสามารถเข้าใจระบบของ ERP และธุรกิจใจภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น
- การบันทึกบัญชี ตามมาตรฐาน GAAP (พร้อมความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางธุรกิจซึ่งเป็นที่มาของข้อมูลด้านบัญชี)
- บัญชีเงินสด
- บัญชีในรูปแบบเครดิต (ค้างรับ ค้างจ่าย) และรูปแบบเงินสดผสมเครดิต
- รูปแบบของบัญชี และงบการเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งบกำไรขาดทุน, งบทดลองจ่าย, งบการเงิน ฯลฯ
- กระแสเงินสด, สภาพคล่องทางการเงิน
- การวิเคราะห์งบการเงิน ที่เกิดจากการบันทึกบัญชี
- ต้นทุนทางการเงิน จาก อัตราแลกเปลี่ยน และ อัตราดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงิน
- การวางแผนการใช้เงิน เพื่อให้เหมาะสมกับกับกิจกรรม และเพื่อประโยชน์สูงสุดของกิจการ
- Managerial Accounting
- การสารสนเทศทางด้านบัญชี
- ฯลฯ
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า ในโลกธุรกิจ และการทำงานในปัจจุบัน ความรู้ด้านบัญชีในแบบเดิมที่เรียนสอนกันในรั้วสถาบันการศึกษา ต่อให้จะมีมาตรฐานวิชาชีพบัญชีเข้ามาครอบเป็นกรอบ รูปแบบของการจัดการบัญชีจะเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น การที่ท่านติดอาวุธด้านความเข้าใจธุรกิจ และกระบวนการทางธุรกิจ จะช่วยให้การเติบโตในสายอาชีพที่นักศึกษาบัญชีนิยมกัน เช่น CPA, Auditing และ Consulting หรือ Accounting Information System, Accounting Analyst โดย MonsoonSIM จะเป็นพื้นฐานของความเข้าใจ และยังช่วยสร้างให้เกิดความเช้าใจในด้าน Business Process อื่น ๆ
นอกจากนี้แล้ว MonsoonSIM ยังให้ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องระบบ ERP โดยเป็น Partner กับ SAP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ERP ระดับโลก และทำให้ การเรียนการสอนใน SAP Module FI, CO เปลี่ยนจากผู้ใช้ (User) เป็นผู้ที่มีความสามารถเข้าใจระบบของ ERP และธุรกิจใจภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น
สาขาวิชาการจัดการกับการบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาการจัดการเพื่อธุรกิจมีหลายศาสตร์ และแตกออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการทั่วไป, การจัดการการผลิต, การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน, การจัดการทรัพยากรหรือทุนมนุษย์, การจัดการอุตสาหกรรม ฯลฯ ซึ่งใน MonsoonSIM นั้น มีส่วนคาบเกี่ยวกับการจัดการเหล่านี้ผ่านโมดูลต่าง ๆ เช่น PMN (Procurement), FCS (Forecast), PRD (Production), MNT (Maintenance), MRP (Material Requirement), SRV (Service Management) และยังมีตลาดทั้งในรูปแบบค้าปลีก (Retails), B2B และในแผนของผู้ผลิตจะมี Marketing Place ซึ่งเป็นลักษณะของ e-Commerce เพิ่มเข้าในในช่วงปลายปี 2018 ถึงต้นปี 2019 ด้วย
แล้ว MonsoonSIM จะเป็นเครื่องมือในการสอนในวิชาเหล่านี้ได้อย่างไร โดยเบื้องตค้น จะเน้นถึงความเข้าใจเรื่อง Business Process Management ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งแน่นอนว่า เป็น Simulation ที่ให้ท่านเลือกความสั้นยาว แลความซับซ้อนของแต่ละ Process ได้ แตกต่างจาก Simulation อื่น ๆ ในตลาด ซึ่งความสามารถในการเข้าใจการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพ จะสร้างให้เกิดภาพของ Processs Management Strategy ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันในหลายฝ่าย และใช้ข้อมูลหลายตัวประกอบการตัดสินใจ ซึ่งเรื่องแบบนี้ ไม่วสามารถสอนด้วยการ lecture หรือการพาไป field trip ในระยะสั้น ๆ ได้ ทำให้การสอนเรื่องของ Business Process ซึ่งเป็นแกนหลักในการสอนวิชาการจัดการเป็นรูปธรรมมากขึ้น และแต่ในกระบวนการ หรืองานที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน จะยังต้องใช้การบริหารเชิงกลยุทธฺอีกมากในแต่ล่ะงาน ซึ่งทำให้การเรียนการสอนวิชากลยุทธ์ไม่ใช้การท่องจำทฤษฎีอีกต่อไป ซึ่งผู้สอนวิชากลยุทธ์ทางธุรกิจหากไม่เข้าใจประเด็นนี้ ท่านเพียงสอนให้นักศึกษาจดจำทฤษฎี และมโนภาพเอาในอากาศเท่านั้น การเรียนการสอนวิชากลยุทธ์จึงม่เกิดประสิทธืภาพเรพาะว่าไม่ได้ควบคู่ไปกับ Dynamic Problem ที่เกิดขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้ Simulation นั่นเอง
ในการเรียนการสอนเรื่องการจัดการนั้น ในโลกทัศน์เดิมคือ การลดต้นทุน (Cost Reduction) ซึ่งจะให้ภาพสอดคล้องและเกิดความเข้าใจเรื่อง Utilization และ Optimization ในแต่ละงาน หรือ ช่วงชอง SupplyChain นั้น สอนด้วยทฤษฎีจะไม่เกิดความเข้าใจ ใน MonsoonSIM การ Utilization และการ Optimization นั้น มีหลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็น
ในเชิง Concept ของการจัดการทั่วไป เช่น
การเปลี่ยนวิธีการสอนด้วย Simulation จะข่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ มากกว่าการสอนแบบ Silo-Based-Learning เพราะว่าการสอนเรื่องการบริหารจัดการ โดยที่ไม่มองในมุมมองอื่น ๆ ตัววัดอันหลากหลายที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกิดประโยชน์กับการศึกษาในเรื่องนี้ ขอย้ำให้เข้าใจอีกครั้งว่า เครื่องมือจะทรงพลัง นอกจากจะต้องอาศัยความเข้าใจในเครื่องมือแล้ว ซึ่งเครื่องมืออาจจะเป็นการสอนทางตรง ทว่า เครื่องมือ และชุดข้อมูลจะนำพาไปสู่การเรียนรู้เรื่องอื่นได้อีกมากมาย อาจจะไม่มีเครื่องมือใด ๆ ที่ใช้ฝึกสอนให้ตรงกับคามต้องการทั้ง 100 % ในแต่ละวิชา หากได้ในมุมมองเช่นนั้น ก็จะขาดส่วนที่เป็น Integrated Knowledge กับส่วนอื่น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าระบบการเรียนการสอนแบบปัจจุบันพุ่งเป้าไปที่มุมนั้นแล้ว การเสริมให้เกิด Integrated Knowledge จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเสริมเข้าไป และเกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา และบุคคลากรในองค์กร ในกรณีที่ใช้เป็นเครื่องมือในการอบรมภายในองค์กร
แล้ว MonsoonSIM จะเป็นเครื่องมือในการสอนในวิชาเหล่านี้ได้อย่างไร โดยเบื้องตค้น จะเน้นถึงความเข้าใจเรื่อง Business Process Management ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งแน่นอนว่า เป็น Simulation ที่ให้ท่านเลือกความสั้นยาว แลความซับซ้อนของแต่ละ Process ได้ แตกต่างจาก Simulation อื่น ๆ ในตลาด ซึ่งความสามารถในการเข้าใจการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพ จะสร้างให้เกิดภาพของ Processs Management Strategy ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันในหลายฝ่าย และใช้ข้อมูลหลายตัวประกอบการตัดสินใจ ซึ่งเรื่องแบบนี้ ไม่วสามารถสอนด้วยการ lecture หรือการพาไป field trip ในระยะสั้น ๆ ได้ ทำให้การสอนเรื่องของ Business Process ซึ่งเป็นแกนหลักในการสอนวิชาการจัดการเป็นรูปธรรมมากขึ้น และแต่ในกระบวนการ หรืองานที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน จะยังต้องใช้การบริหารเชิงกลยุทธฺอีกมากในแต่ล่ะงาน ซึ่งทำให้การเรียนการสอนวิชากลยุทธ์ไม่ใช้การท่องจำทฤษฎีอีกต่อไป ซึ่งผู้สอนวิชากลยุทธ์ทางธุรกิจหากไม่เข้าใจประเด็นนี้ ท่านเพียงสอนให้นักศึกษาจดจำทฤษฎี และมโนภาพเอาในอากาศเท่านั้น การเรียนการสอนวิชากลยุทธ์จึงม่เกิดประสิทธืภาพเรพาะว่าไม่ได้ควบคู่ไปกับ Dynamic Problem ที่เกิดขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้ Simulation นั่นเอง
ในการเรียนการสอนเรื่องการจัดการนั้น ในโลกทัศน์เดิมคือ การลดต้นทุน (Cost Reduction) ซึ่งจะให้ภาพสอดคล้องและเกิดความเข้าใจเรื่อง Utilization และ Optimization ในแต่ละงาน หรือ ช่วงชอง SupplyChain นั้น สอนด้วยทฤษฎีจะไม่เกิดความเข้าใจ ใน MonsoonSIM การ Utilization และการ Optimization นั้น มีหลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็น
- การบริหารพื้นที่ vs สินค้าคงคลัง (Supply Planninig) vs การบริหารการขาย
- การบริหารพื้นที่ vs สินคงคลัง vs ยอดขาย vs การผลิต หรือ outsource หรือวิธีการผสม
- การเพิ่มปัจจัยเรื่อง ต้นทุน, ต้นทุนแปรผัน, ประสิทธิภาพการทำงาน เข้าไปในเรื่องดังกล่าว เป็นต้น
ในเชิง Concept ของการจัดการทั่วไป เช่น
- การจัดการต้นทุน, สัดส่วนรายได้ และความสามารถของการทำกำไร (Profitability)(ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ Accouting, Finance, Procurement, Production และ Maintenance ซึ่งใน MonsoonSIM จะให้ concept เนื่องการจัดการต้นทุนหลายประเภท ได้แก่
- ต้นทุนของสินค้า (COGS) ซึ่งมีทั้งแบบซื้อสินค้าสำเร็จรูป, ซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้า และวิธีการผสม การเพิ่มตัวแปรของต้นทุนสินค้าจากอัตราแลกเปลี่ยน (FoRex)
- ต้นทุนด้านการประกอบการ (OPEX; Operationg Expenses) เช่น ต้นทุนค่าเช่า, ต้นทุนอันเกิดจากการบริหารงานผิดพลาด, ต้นทุนในการบริหารบุคคลากร เป็นต้น
- ต้นทุนด้านการเงิน
- การจัดการเรื่อง Lead Time ซึ่งใน MonsoonSIM นั้น มี Lead Time หลากหลาย ให้ได้สร้างประสบการณ์ในการบริหารจัดการในกระบวนการต่าง ๆ ในหลากหลายสาขาวิชาด้สนการจัดการ ไม่ว่าจะเป็น
- Operational Lead Time
- Decision Making Lead Time
- Procurement Lead Time
- Delivery Lead Time
- Production Lead Time
- Maintenanace Lead Time
- Service Lead Time
- Financial Lead Time
- การจัดการผลิต ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งมี concepts มากมาย ที่สามารถใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือเสริมได้ เพราะว่าการจัดการการผลิตนั้น ไม่ได้มีเพียงแง่มุมเดียว แต่เป็นส่วนสนับสนุนการทำธุรกิจ เช่น
- การคำนวนระดับสินค้าคงคลัง (Safety Stock) ให้เหมาะสมต่อแผนธุรกิจ กระแสเงินสด สภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งใน MonsoonSIM นั้น สามารถให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องของ Safty stock ในร้านค้าปลีกที่สอดคล้องกับแผนการตลาด และยอดขายในช่วงเวลาปรกติ ซึ่งทำงานควบคู่กับระบบ Auto replenishment ใน WHS, หรือ Safty stock ของวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ใน BOM ที่หลากหลาย, ระดับของ Saftey Stock ที่สนับสนุนตลาดที่หลากหลาย B2B+B2C เป็นต้น
- การจัดการการผลิต เช่น การจัดการเครื่องจักรในการผลิต การเลือกวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการ (Balace of Demand Planing and Supply Planning)
- การจัดการวางแผนการซ่อมบำรุง ให้สัมพันธ์กับ Safety Stock, Demand ของตลาด, Confirmed Sales Order ซึ่งให้ concept ทั้งแบบ Preventive และ Predictive Maintenance
- ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการการผลิต กับ แผนกอื่น ๆ ซึ่งเรื่องนี้นั้น สอนให้เกิดความเข้าใจได้ยาก สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีประสบการ์ทำงาน แต่หากได้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงดี และเิดความเข้าใจได้มากขึ้น เร็วขึ้น
- การจัดการด้าน Logistics และ Supply Chain ซึ่งใน MonsoonSIM นั้น สามารถสอนความเข้าใจพื้นฐานของการขนส่ง (ซึ่งเป็นความหมายอย่างแคบของ Logistics) ที่สัมพันธ์กับความต้องการสินค้า และระยะทาง สอนความเข้าใจเรื่องต้นทุนแปรผันที่เกิดจากการขนส่ง ในส่วนของ Logistics และ supply chain ในความหมายมุมกว้าง จะมีเนื้อหาครอบคลุมมากมาย ไม่วาจะเป็นการให้ความเข้าใจในเรื่องของ Demand และความพยายามของธุรกิจที่จะ Supply ผ่านกระบวนการและวิธีการที่แตกต่างกัน การวางแผน Pre-Mid-Post Sales ซึ่งครอบคลุมไปถึงงานบริการ และแน่นอน การวัดผลด้วยการเงินและการบัญชี
- การจัดการด้านทุนมนุษย์ (ทรัพยากรมนุษย์) ซึ่งใน MonsoonSIM มี concept ในส่วนของ Conventional HCM และ Strategic HCM ด้วยแนวคิดด้น Competency และ Personality (OCEAN FACTORS) ที่สอดคล้องกับการทำงาน ประสิทธิภาพผลของงานที่สัมพันธ์กันกับการบริหารบุคคลากร
การเปลี่ยนวิธีการสอนด้วย Simulation จะข่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ มากกว่าการสอนแบบ Silo-Based-Learning เพราะว่าการสอนเรื่องการบริหารจัดการ โดยที่ไม่มองในมุมมองอื่น ๆ ตัววัดอันหลากหลายที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกิดประโยชน์กับการศึกษาในเรื่องนี้ ขอย้ำให้เข้าใจอีกครั้งว่า เครื่องมือจะทรงพลัง นอกจากจะต้องอาศัยความเข้าใจในเครื่องมือแล้ว ซึ่งเครื่องมืออาจจะเป็นการสอนทางตรง ทว่า เครื่องมือ และชุดข้อมูลจะนำพาไปสู่การเรียนรู้เรื่องอื่นได้อีกมากมาย อาจจะไม่มีเครื่องมือใด ๆ ที่ใช้ฝึกสอนให้ตรงกับคามต้องการทั้ง 100 % ในแต่ละวิชา หากได้ในมุมมองเช่นนั้น ก็จะขาดส่วนที่เป็น Integrated Knowledge กับส่วนอื่น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าระบบการเรียนการสอนแบบปัจจุบันพุ่งเป้าไปที่มุมนั้นแล้ว การเสริมให้เกิด Integrated Knowledge จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเสริมเข้าไป และเกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา และบุคคลากรในองค์กร ในกรณีที่ใช้เป็นเครื่องมือในการอบรมภายในองค์กร
สาขาวิชาด้าน Information Technology และ Infomation Science (System), Information Management
ดเด่นของ MonsoonSIM อย่างหนึ่ง นอกจากจะเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ Integrated Knowledge and Skills แล้ว MonsoonSIM เป็น Business Partner ของ SAP ซึ่งเป็นผู้นำด้าน Business Solution เฉพาะในส่วนของ ERP (Enterprise Resources Planing) นั้นมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 25.8% (Gartner 2015) ซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดา Competitor ในโซลูขั่นเดียวกัน เป็นรองจาก 51.7% ซึ่งเกิดจากผลรวมของ 57 Software Company โดย SAP Education ไว้วางใจให้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจเรื่อง Basic Business Processes
MonsoonSIM เป็น Simulation Platform ที่จำลองระบบ ERP เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจ (ฺBusiness Processes) แล้วสามารถสร้างความเข้าใจเพื่อเป็นเครื่องมือเสริมทาง IT, IS, I-M; Information Management แล้วเกี่ยวข้องอะไรกับ IT IS IM
สำหรับผม ในฐานะผู้เขียนก็ได้ลองพลิกแพลงใช้งาน โดยเอาหลักการของโลกธุรกิจ กับโลก IT และ Digital มาผสมกัน หรือ รวมไปถึงการได้สนทนากับ CT บางท่าน ที่ทำให้เห็นว่าในสาย IT, IS, IM นั้นเขาใช้ MonsoonSIM เพื่อสร้างประสบการณ์อย่างไรบ้าง เช่น ตัวอย่าง Clip ด้านล่างที่มาจาก Universita Cipuatra ประเทศอินโดนีเซีย, University Tankul Abdul Raman จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า นักศึกษา IT ได้ประโยชร์จากการใช้ MonsoonSIM อย่างไร เช่น การเข้าใจธุรกิจที่มากขึ้น, สามารถต่อยอดและเรียนเรื่องซับซ้อนในระบบ ERP ได้ง่ายขึ้น
MonsoonSIM เป็น Simulation Platform ที่จำลองระบบ ERP เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจ (ฺBusiness Processes) แล้วสามารถสร้างความเข้าใจเพื่อเป็นเครื่องมือเสริมทาง IT, IS, I-M; Information Management แล้วเกี่ยวข้องอะไรกับ IT IS IM
- เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจเรื่อง ERP และความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น MRP, ROP ระบบต่่าง ๆ
- รู้ว่า ข้อมูล เกิดจากกิจกรรมใด ในงานส่วนใด เพื่อให้เข้าใจกระบวนการ หน้าที่ ซึ่งจำเป้นต่อการใช้งาน และเป็นผู้วางแผนระบบ ERP, เห็น Dashboard และการออกแบบ
- ให้เห็น "บริการ" ที่เกิดขึ้น และสามารถเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การใช้ Technology มาประกอบกันเพื่อให้เกิดบริการต่าง ๆ ทำให้เข้าใจระบบต่าง ๆ มากขึ้น, เชื่อมโยงด้วยข้อมูล เพื่อการตัดสินใจ ผ่านรูปบแบบของข้อมูล สถิติ เป็นพื้นฐานในเรื่องของ Business Data Analytric เชื่อมโยงโลกของ Infomation กับธุรกิจสำหรับนกศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ และความเข้าใจ
- เห็นรูปแบบของรายงานในประเภทต่าง ๆ กราฟ
- มี Function BI; Business Intellegent ให้ใช้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องการใช้ข้อมูล
สำหรับผม ในฐานะผู้เขียนก็ได้ลองพลิกแพลงใช้งาน โดยเอาหลักการของโลกธุรกิจ กับโลก IT และ Digital มาผสมกัน หรือ รวมไปถึงการได้สนทนากับ CT บางท่าน ที่ทำให้เห็นว่าในสาย IT, IS, IM นั้นเขาใช้ MonsoonSIM เพื่อสร้างประสบการณ์อย่างไรบ้าง เช่น ตัวอย่าง Clip ด้านล่างที่มาจาก Universita Cipuatra ประเทศอินโดนีเซีย, University Tankul Abdul Raman จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า นักศึกษา IT ได้ประโยชร์จากการใช้ MonsoonSIM อย่างไร เช่น การเข้าใจธุรกิจที่มากขึ้น, สามารถต่อยอดและเรียนเรื่องซับซ้อนในระบบ ERP ได้ง่ายขึ้น
| |
หนึ่งในการทดลองส่วนตัวของผม เช่น
- การให้นักศึกษาเขียน Decision Making process โดยใช้ Flow chart แล้ว convert สิ่งนี้ให้กลายเป็นการเขียน Code เพื่อสร้าง alrogithm
- ผมนำเอารายชื่อ Module ของ SAP ERP แล้วให้นักศึกษาที่มีประสบการณ์ MonsoonSIM ลองอธิบาย และค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อเปิดประตูบานแรกในความเข้าใจเรื่อง MonsoonSIM
- มีสถาบันหนึ่งในประเทศไทย สอนด้าน IT หลังจากที่นักศึกษาเห็น Service และรูปแบบรายงานต่าง ๆ อาจารย์ได้ให้การบ้านกลับไปเขียน ผังของ IT หรือ การออกแบบ Database เพื่อให้ได้ Services ในลักษณะนี้ว่าจะมีหน้าตาออกมาอย่างไร
ทุกสาขาวิชาภายใต้แนวคิด Entreprenuership
Entreprenuership เป็นคำดั้งเดิมในภาษาฝรั่งเศษ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีความหมายถึง ผู้ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหา หรือในภาษาอังกฤษยุคแรก แปลว่า ผู้เผชิญกับปัญหา และในภายหลังจึงมีความหมายในเชิงธุรกิจแบบที่เข้าใจกันในปัจจุบันว่า การประกอบการ หรือ ผู้ประกอบการในฐานะของบุคคล
มีความผิดพลาดในจิลักษณะ หรือ Mindset ของการศึกษาไทยว่า Entreprenuership จะต้องเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ หรือ เป็นหน้าที่บทบาทของสาขาวิชาบริหารธุรกิจเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่จะต้องเปลี่ยนแปลงกันขนานใหญ่ ในการศึกษาของตะวันตก ที่การศึกษาไทยมักเดินตาม หรือในโลกที่เข้าสู่สังคมแบบใหม่แล้วนั้น Entreprenuership เป็นร่มใหญ่ที่ครอบทุกสาขาวิชา ผู้เขียนได้เข้าร่วมการสัมมนาที่จัดโดย GEN; Global Entreprenuership Network ซึ่งได้นำเอาโครงสร้าง และ practice ของ QUT; Queenlans University of Technology ในการสร้าง Entreprenuerial โดยให้สาขาวิชาต่าง ๆ อยู่ภายใต้การประกอบการ ทำให้นักศึกษาของ QUT สามารถที่จะมีทางเลือกได้ว่า เมื่อจบการศึกษาจะเป็นผู้ประกอบการหรือไม่ หรือจะเป็นพนักงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมด ก็ต้องมีความเข้าใจ มีทักษะ มีจิตลักษณะของการประกอบการทั้งสิ้น
มีความผิดพลาดในจิลักษณะ หรือ Mindset ของการศึกษาไทยว่า Entreprenuership จะต้องเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ หรือ เป็นหน้าที่บทบาทของสาขาวิชาบริหารธุรกิจเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่จะต้องเปลี่ยนแปลงกันขนานใหญ่ ในการศึกษาของตะวันตก ที่การศึกษาไทยมักเดินตาม หรือในโลกที่เข้าสู่สังคมแบบใหม่แล้วนั้น Entreprenuership เป็นร่มใหญ่ที่ครอบทุกสาขาวิชา ผู้เขียนได้เข้าร่วมการสัมมนาที่จัดโดย GEN; Global Entreprenuership Network ซึ่งได้นำเอาโครงสร้าง และ practice ของ QUT; Queenlans University of Technology ในการสร้าง Entreprenuerial โดยให้สาขาวิชาต่าง ๆ อยู่ภายใต้การประกอบการ ทำให้นักศึกษาของ QUT สามารถที่จะมีทางเลือกได้ว่า เมื่อจบการศึกษาจะเป็นผู้ประกอบการหรือไม่ หรือจะเป็นพนักงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมด ก็ต้องมีความเข้าใจ มีทักษะ มีจิตลักษณะของการประกอบการทั้งสิ้น
การสร้าง Entreprenuership ในสถาบันการศึกษา (ยึดตาม practice ของ QUT) เขาบอกไว้ ณ ปี 2018 ว่า จะต้องมี Mindset, Skillset, Knowledge Set, Ecosystem, Mำntoring and Incubating ซึ่ง MonsoonSIM จะทำหน้าที่เป็น Toolset ซึ่งทำให้เห็นมุมมองทางธุรกิจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อยอดต่อไป โดยทำหน้าที่เป็นส่วนของ Seeding และ Grounding ได้ที เพาะว่า นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ผ่าน Simulation ในแต่ละสถานการณ์จำลองใน MonsoonSIM สามารถเปลี่ยน Configurations เพื่อสร้างปัญหาที่หลากหลาย และแม้แต่กระทั่งผู้ใช้เองก็พัฒนาวิะีแก้ปัญหา เปลี่ยนเป็นกลยุทธ์ ก็จะทำให้ Scenario ใน MonsoonSIM เปลี่ยนแปลงและมีข้อจำกัด เพื่อให้หาปัญหาจากข้อมูลต่าง ๆ และแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญในเป็นผู้ประกอบการ
ทักษะที่ได้รับจาก MonsoonSIM
ผมหลีกเลี่ยงที่จะเขียนว่า โดยส่วนตัวนั้น นักศึกษาจะได้ทักษะใดจาก MonsoonSIM จึงขอนำเอาความเห็นจากแหล่งอื่นมาเสนอจะดีกว่า ใน 10 Top Skills ที่จำเป็นในปี 2020 โดย Workd Economic Forum ในความเห็นของ Dr.Edward Lim แห่ง Accounting School, Daekin University ประเทศออสเตรเลีย ได้เสนอในงานสัมมนาของ MonsoonSIM Regional ERP Competition 2018 ว่ามีถึง 6 ทักษะที่สามารถเสริมสร้าง ให้เกิดได้จาก MonsoonSIM
ทักษะเหล่านี้เป็นทักษะที่สามารถใช้ MonsoonSIM และ Eco-System ของ Simulation และ Gamification โน้มนำให้เกิดการทำซ้ำ ฝึกตีความ ลงมือเห็นผล เป็นวงรอบซ้ำไปมาจนเกิดเป็นทักษะ โดยส่วนตัวของผมนั้น ทักษะสอนไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถสร้างได้จากการเรียนแบบเดิม ทว่า การใช้ MonsoonSIM จะช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างทักษะให้เกิดขึ้นจากองค์ประกอบเหล่านี้
- Complex Problem Solving ซึ่งอาศัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกอบการผ่าน Simulation ที่จะนักศึกษาจะต้องค้นพบปัญหา ก่อนที่จะคิดถึงวิะีการในการแก้ปัญหา และใน MonsoonSIM ปัญหาส่วนใหญ่จะสามารถแก้ได้มากกว่าหนึ่งวิธี โดยบางปัญหาที่เกิดขึ้น นั้นมีความซับซ้อนซึ่งจะต้องวิเคราะห์สาเหตุต่าง ๆ และลงมือแก้ไขได้ใน MonsoonSIM
- Critical Thinking ผ่าน Time Forcement หรือข้อจำกัดด้านเวลา รวมไปถึงปัญหาต่าง ๆ จากการทำงานในความซับซ้อน ที่อาจจะเกิดความผิดพลาดจากการตัดสินใจ Human Error ซึ่งนักศึกษาจะต้องแก้ไขให้ได้อย่างรวดเร็ว
- People Management ซึ่งใน MonsoonSIM นั้น จะต้องบริหารทั้ง Virtual Staff และยังจะต้องบริหารทีม ทั้งในส่วนของการรักษา Competency และคัดสรรบุคคลให้มีบุคคลอกภาพที่ตรงกับงาน เพื่อให้สมาชิกทุกคนในทีมสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้
- Co-Ordinate with Others เป็นทักษะที่เด่นชัดจากการได้ทำงานร่วมกันใน Mission เดียวกัน ในที่นี้คือ การตั้งเกณฑ์การตัดสินใน KPI mี่หลากหลาย เพื่อให้ทีมนักึกษาได้ประสานควา่มคิด ผ่านการทำ Brainstrom การสื่อสารภายใน ซึ่งแน่นอนได้ Soft skills อื่น ๆ เพิ่มเติมในกระบวนการเหล่านี้ด้วย
- Judgement and Decision Making กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ ใน MonsoonSIM และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเสียด้วย ทัั้งนี้ปัจจัยต่าง ๆ ในเกมจะเปลี่ยนแปลงโดยผลที่เกิดขึ้นจากการการบวนการ Internal decision ภายในทีมของนักศึกษา ผลที่เกิดจาก External Factors จากทั้งคู่แข่ง ค่าอัลกอรึทึ่มต่าง ๆ ทำให้ ทักษะนี้เป็นทักษะที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
- Cognitive Flexibility การปรับใช้องค์ความรู้ หรือการตีความทฤษฎี่ต่าง ๆ ในระหว่างที่ปัจจัยในเกมเปลี่ยนแปลงไป จะต้องใช้หลากหลายความรู้ในการตัดสินใจเรื่องหนึ่ง ๆ และต้องรู้ว่าเมื่อใด เวลาใดจะเปลี่ยนวิธีการตัดสินใจ และเปลี่ยนชุดความรู้เมื่อปัญหาเปลี่ยนไป
ทักษะเหล่านี้เป็นทักษะที่สามารถใช้ MonsoonSIM และ Eco-System ของ Simulation และ Gamification โน้มนำให้เกิดการทำซ้ำ ฝึกตีความ ลงมือเห็นผล เป็นวงรอบซ้ำไปมาจนเกิดเป็นทักษะ โดยส่วนตัวของผมนั้น ทักษะสอนไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถสร้างได้จากการเรียนแบบเดิม ทว่า การใช้ MonsoonSIM จะช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างทักษะให้เกิดขึ้นจากองค์ประกอบเหล่านี้
และนี่คือประสบการณ์ที่มาแบ่งปันให้กับท่านได้เห็นว่า MonsoonSIM จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ เพิ่มพูนความรู้ เชื่อมโยงชุดความรู้ และก่อให้เกิดทักษะได้อย่างไร