Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • V10 Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • 2023 Trial Subscription Program
    • COMPETITION >
      • TH Business Data Analytics & Data Visualization
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2022
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2023
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM TH SEMINAR >
      • 2023 Education Transformation in Business Data Analytics
      • 2020 K-Practice
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Clip to Lecturer
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

MonsoonSIM เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจ Business Processes พื้นฐานไปสู่ความเข้าใจ ERP

6/7/2021

0 Comments

 
Picture
Credit Photo: https://toperppartners.com/blog/erp-implementation-process/
ERP หรือ ระบบบริหารจัดการ Enterprise Resouces Planning หรือชุด Software ที่ทำงานประสานกัน มีอายุกว่า 40 ปี แล้วหากนับจากปัจจุบัน (2564) เป็นระบบที่พัฒนา เติบโต และใช้งานกันอย่างแพร่หลายในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นในเยอรมันที่เป็นแหล่งกำเนิดของ SAP ERP ในสหรัฐอเมริกา เช่น Oracle และ Microsoft ซึ่ง big name เหล่านี้มีส่วนแบ่งทางการตลาด ERP เป็นอันดับต้น ๆ ทั้งนี้ยังไม่รวมจำนวน In-house ERP ต่าง ๆ ที่มีจำนวนมากมาย  และยิ่งในปัจจุบัน ที่ Internet Connection รวดเร็วขึ้น มีการบริการ Cloud Computing ซึ่งทำให้ ระบบ ERP ที่เคยอยู่บน Data Center หรือบน Server ขนาดใหญ่ สามารถให้บริการบนระบบ Cloud และเริ่มเป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถเริ่มต้นใช้งานได้รวดเร็ว มีต้นทุนด้าน Infrastructure ที่ลดลงมาก รวมไปถึงมีผู้ให้บริการด้าน ERP รายน้อยใหญ่เกิดขึ้นจำนวนมาก และบริการด้าน ERP เองก็มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เกิดเป็นชุดบริการด้าน Software เฉพาะรายอุตสาหกรรม  

ERP เริ่มเป็นที่นิยมในเฉพาะภาคของธุรกิจ Enterprise และหน่วยงานขนาดใหญ่ 
หรือแม้แต่ภาครัฐเริ่มเข้าสู่กระบวนการ Digitalization ซึ่งระบบบริการ และข้อมูลต่าง ๆ ก็อยู่บนฐานของชุด Software ERP และเมื่อบริการต่าง ๆ มีต้นทุนน้อยลงธุรกิจในระกับ Medium Size ก็เป็นกลุ่มธุรกิจต่อไป และในโลกของ ERP เองก็มีชุด software ขนาดเล็กสำหรับ Medium to Small size เกิดขึ้น เท่ากับว่าการใช้ ERP เมื่อเทียบกับ 40-20 ปีก่อน มีการเติบโตขึ้นมาก ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน และในประเทศไทยเองก็ไปในทอศทางเดียวกัน 

บุคลากรที่มีความเข้าใจเรื่อง ERP เพื่อการใช้งาน หรือสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากส่วนงานต่าง ๆ ของ ERP เพื่อประโยชน์ทางด้านธุรกิจมีความต้องการมากขึ้น ทั้งนี้ยัไงม่รวมด้าน Technical ที่เป็นที่ต้องการมากแต่ยังขาดแคลน ภาคการศึกษาต่างพยายามผลิตบัณฑิตเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาด ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นทั้งแหล่งงานและแหล่งผลิตบุคคลากรในสาย ERP Technical, ERP Business นั่นยังไม่รวมความสามารถด้านการประเมินสถิติ การเขียน Coding ต่าง ๆ ซึ่งอินเดียมีความเชี่ยวชาญด้านนี้สูงมาก   

ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยเปิดสอนในสาขาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซี่งแบ่งสายการผลิตบัณฑิตเป็นด้าน Infrastructure ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น Network Storage, Server และ Security System กับสายด้าน Software หรือนิยมเรียกว่าสาย Application เช่น Coding ในภาษาต่าง ๆ รวมไปถึงมีบ้างที่เปิดสอนในสาขาวิชา ERP  ทว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขา ERP โดยเฉพาะนั้นมีน้อยมาก  ในอดีตมีการพยายามสร้าง Academy ในมหาวิทยาลัยเพื่อต้องการสร้างตลาด และบุคลากรเพื่อป้อนภาคอุตสาหกรรม และบริการ ในยุค 10-15 ปีก่อน มีการผลักดันจาก ERP Vendor และ IT Vendor ลงไปยังมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการเติบโตนี้ ซึ่งสามารถผลิตบุคลากรด้าน IT ออกมายังตลาดได้ แต่ยังเกิดปัญหาสำหรับด้าน ERP ซึ่งต้องใช้ความเข้าใจด้านธุรกิจประกอบ และมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน IT ในประเทศไทยนั้นมีปัญหาในการผลิตนักศึกษา IT ที่มี Competency ด้านธุรกิจร่วมด้วย

การเรียนการสอน ERP ในสถาบันการศึกษาของไทยมักมีปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
  • วิสัยทัศน์ในการผลิตบัณฑิตที่่มี Multiple Competency and Skill เป็นเพียงนโยบายชูโรง โดยพันธกิจตั้งไว้หลวม ๆ ส่วนกระบวนการดำเนินการนั้นไม่เป็นไปตามพันธกิจ เพราะว่าปัญหาเรื่องทรัพยากรในชั้นเรียน ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากรมีไม่เพียงพอ 
  • ขาดเครื่องมือในการเรียนการสอน ซึ่งในอดีตนั้น Server, Storage รวมไปถึง License ด้านการศึกษามีต้นทุนสูงมาก ทำให้โอกาสที่จะเกิดการเรียนการสอนในเชิง Hands-on มีน้อยมาก  ในช่วง 10-15 ปีก่อน การเกิดขึ้นของ Academy ในความร่วมมือของ IT และ ERP Vendors เกิดขึ้นบ้าง แต่มีจุดประสงค์ในการทำตลาดในกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อการใช้งานภายใน ส่วนในการศึกษาจริง ๆ นั้น มักติดปัญหาเรื่องจำนวนสิทธิการเข้าใช้ ในยุคต่อมา มีการบริหาร Dedicated Server ทั้งแบบถูกต้อง และผิดกฎหมาย ผ่านระบบออนไลน์บ้าง แต่สำหรับภาคการศึกษาของไทยถือเป็นต้นทุนที่สูง โอกาสของนักศึกษาไทยจึงมีน้อยมากที่จะเกิดประสบการณ์ตรงจาก Hands on ในปัจจุบันระบบมีระบบของ e-academy เช่น SAP e-Academy ทว่า ต้นทุนต่อ Users ก็ยังอยู่ในหลักที่การศึกษาไทยตีความว่าสูง 
  • การสนับสนุนและการวัดผลของธุรกิจการศึกษา เนื่องจากการศึกษา IT และ ERP มีต้นทุนสูง และในปัจจุบันอาจมีจำนวนผู้เรียนในสาย ERP ไม่มาก และไปเติบโตในสาย Application หรือ Game และ Entertainment แทน เมื่อเกิดความไม่คุ้มค่าในการลงทุน ทำให้มหาวิทยาลัยเลือกที่จะมีสาขาวิชาที่สอนนี้เพื่อประดับหลักสูตร แต่การส่งเสริมมีน้อยมาก และเมื่อผลิตน้อย เหลือรอดน้อย ออกไปสู่ตลาดแรงงานก็น้อยเช่นกัน (ซึ่งแตกต่างจากสถานการณ์ของเพื่อนบ้านเช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่การผลิตบัณฑิตในสาขานี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจำนวนและคุณภาพ)
  • ปัญหาด้านความรู้พื้นฐานซึ่งแบ่งออกเป็น 
    • ​ความรู้ที่ควรมีประกอบกันคือ ความรู้ด้าน Infrastructure และความรู้ด้าน ERP Application ซึ่งต้องประสานกัน ซึ่งภาค IT ส่วนมากเรียนแยกส่วนกัน หรือมีเพียงวิชาประเภทให้ข้อมูล ในชีิวิตการทำงานจริง Consultant ในไทย ก็เป็นตัวกลางระหว่าง Vendors ด้าน Infrastructure และ ERP App  ในการ implement ร่วมกัน ทว่าในยุค Cloud ปัญหานี้อาจลดน้อยลงแล้ว และอาจไม่เป็นนัยยะสำคัญ
    • ความรู้เรื่องกระบวนการทางธุรกิจในอุตสาหกรรม และธุรกิจที่มีการบริการที่แตกต่างกัน นับเป็นปัญหามากที่สุดในการเรียนการสอนเรื่องนี้ ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องจนกระทั่งในปัจจุบันก็ยังไม่ได้แก้ไข  ในมหาวิทยาลัย วิชาสาย IT กับ สายธุรกิจ เรียนแยกและไม่บูรณาการร่วมกัน วิชาที่ต้องอาศัยทั้งสองด้านประสานกันอย่าง ERP จึงมีข้อจำกัดในชั้นเรียน 
    • บุคลากรในด้านการศึกษาสาขานี้ อาจมีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมไม่เพียงพอ
    • รูปแบบการเรียนการสอนที่สอนให้ "จำ" เพื่อ "สอบให้ผ่าน" ไม่ได้สอนให้ "ทำเพื่อไปใช้งานได้จริง" ทั้งที่เกิดในสาขาด้านนี้ และสาขาวิชาอื่น ๆ 
    • ข้อจำกัดเรื่องภาษาอังกฤษ เนื่องจากคู่มือและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ 
    • ข้อจำกัดด้าน Coding และ Logical ที่เรียงร้อยไปกับ Business Processes ที่นักศึกษาด้าน IT มีหน่วยกิตด้านการเรียนธุรกิตน้อยมาก และ วิชาเหล่านั้นไม่ระบุประโยชน์ว่จะไปผนวกกับวิชาหลักด้าน IT อย่างไร เพราะว่าการเรียนการสอนของไทยเป็น Silo Base Learning แต่โฆษณาว่าเป็น Integreated Knowledge 

ปัญหาด้านอื่น ๆ 
  • ​ความเข้าใจของพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งรู้จักสาขาวิชานี้ และอาชีพเหล่านี้น้อยมาก ประกอบกับเทรนด์ของนักศึกษาไทย ในปัจจุบันที่มีสัดส่วนของผู้เรียนที่อยากเรียนเรื่องที่ซับซ้อน และใช้ความมานะน้อยลงทำให้สาขาวิชาเหล่านี้มีผู้สมัครเข้าเรียนจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ และที่จบออกมาเป็นบัณฑิตทำงานตรงสายอาชีพก็น้อยลงไปอีกขั้น ส่วนบัณฑิตที่ยังทำงานตรงสายก็ขาดความรู้และประสบการณ์ที่พร้อมจะทำงาน ทั้ง ๆ ที่บุคลากรในสาย ERP นี้เป็นที่ต้องการจำนวนมาก และมีค่าตอบแทนสูง
  • การสนับสนุนของ Vendors และภาครัฐมีกระท่อนกระแท่นในรูปแบบของโครงการระยะสั้น เช่น การเกิดขึ้นของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC ซึ่งมีเม็ดเงินงบประมาณ ลงมายังภาคการศึกษาเป็นระยะสั้น ๆ และเมื่อเจอกับอุปสรรคภายในภาคการศึกษาก็มันจะยุติโครงการไป เป็นต้น

ปัญหาบางเรื่องก็มิอาจแก้ไขได้ เพราะว่าเป็นเรื่องของกระบวนการภายใน, ค่านิยม และปัจจัยอื่น ๆ แต่สำหรับปัญหาเรื่องการเรียนการสอนส่วนหนึ่ง เช่น ความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจ ความเข้าใจพื้นฐานทางธุรกิจ ซึ่งมีความสำคัญมากในการเรียนการสอนเรื่อง ERP นั้น MonsoonSIM เป็นต้วเลือกที่ดี ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ช่วยสร้างความเข้าในด้านธุรกิจ และกระบวนการทางธุรกิจซึ่งทำให้นักศึกษาด้าน IT เติมช่องวางที่ขาดไปได้ในระยะเวลาอันสั้น
Picture
Picture
MonsoonSIM สร้างความเข้าใจในเรื่องธุรกิจ และกระบวนการทางธุรกิจได้อย่างไร
  • ​MonsoonSIM จำลองสถานการณ์ทางธุรกิจและให้ผู้เรียนได้ทำวางแผนและดำเนินกิจกรรม โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ (เช่น ข้อมูลของ Demand Forecast, จำนวนและความหนาแน่นประชากร, Margin ของสินค้าค้าต่าง ๆ ฯลฯ) เมื่อได้ทำกิจกรรมใด ๆ ผ่านระยะเวลาจะเกิดผลลัพท์ และระบบจะแสดงผลลัพท์ที่เกิดขึ้น เมื่อ mapping ระหว่างกิจกรรมที่ทำ และผลลัพท์ที่เกิดขึ้น กับข้อมูลที่เป็นเหตุ ก็จะสร้างความเข้าใจในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ตามประเภท, จำนวน และขอบเขตของกิจกรรม (และความเข้าใจนี้จะช่วยให้เข้าใจพื้นฐานของ Data Analytics เพิ่มขึ้นด้วย)
  • MonsoonSIM สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของกิจการ และความสั้นยาวของโซ่อุปทานได้  รวมไปถึงเพิ่มข้อกำหนดต่าง ๆ  ที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์หลายครั้ง และแตกต่างรูปแบบของกิจการ และความสั้นยาวของโซ่อุปทานที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ในกระบวนการทางธุรกิจ (Business Processes) ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจว่าในแต่ละประเภทของธุรกิจมีกระบวนการที่แตกต่างกันไป และเมื่อเกิดความเข้าใจมากขึ้นในกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นมาตรฐาน หรือ กระบวนการทางธุรกิจที่เกินความจำเป็น ทำให้การแข่งขันลดลงและไม่เกิดประสิทธิภาพ สิ่งที่ได้คือ ผู้เรียนจะสรรหาวิธีหรือกระบวนการทำงาน ทั้งภายใน MonsoonSIM และ กระบวนการทำงานระหว่างสมาชิกในทีม ซึ่งเป็นบทเรียนเกี่ยวกับ Busuness Processes Management และ Business Processes Improvement 
  • MonsoonSIM สามารถกำหนดค่า Configsurations ได้ ซึ่งทำให้ สามารถปรับเปลี่ยนโอกาสต่าง ๆ ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์จะต้องเลือก Business Model ที่ตัวเองและทีมเห็นว่าสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ หรือ เลือกจากความชำนาญ หรือ ข้อจำกัดต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยสอนเรื่อง Strategic Thinking และนำไปปรับใช้ในการวางแผนธุรกิจได้ 

กระบวนการที่เกิดขึ้นจาก Simulation ที่หลากหลายรูปแบบ จะเป็นพื้นฐานที่ดีเรื่องกระบวนการทางธุรกิจ แบบเป็นขั้นตอน เป็นระบบ และจะช่วยอย่างยิ่งในการวางแผนเพื่อใช้ระบบ ERP ต่อไป ซึ่งการเข้าใจกระบวนการทางธุรกิจนี้ จำเป็นอย่างยิ่งต่อการ implement และการใช้งาน ERP รวมไปถึงการสร้าง Processes เฉพาะของแต่ละงานแต่ละธุรกิจ 

ต้องไม่ลืมว่า MonsoonSIM ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี ประสบการณ์ ความเข้าใจจะแปรผันไปตาม scenario ที่แตกต่างกัน, กระบวนการสอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในแต่ละรูปแบบธุรกิจ ซึ่งเกิดโดยตรงจาก facilitator หรือ สมาชิกในกลุ่มด้วยกันเอง และอาจเกิดจากการศึกษาจากคู่แข่ง นอกจากการเรียนรู้โดยใช้ Simulation แล้ว กระบวนการเสริมการเรียนรู้ เช่น bridging ประสบการณ์ข้ามไปมาระหว่าง Simulation กับประสบการณ์ในโลกทำงานจริง จะช่วยเพิ่มความเข้าใจของผู้เรียน และเมื่อผู้เรียนสามารถสร้างระบบวิธีคิดที่เป็นขั้นตอน ประสานกับความรู้จักจ้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัดของชุดทฤษฎีต่างๆ ย่อมสร้างนักวางแผนและนักปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ได้

2) เกิดประสบการณ์บนระบบ ERP จำลองใน MonsoonSIM
Picture
http://infocus-in.com/sap-ecc/
Picture
http://www.similantechnology.com/erp.html
MonsoonSIM ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรก จนถึงเวอร์ชั่นที่ 4 ได้รับการออกแบบเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจระบบ ERP ซึ่ง MonsoonSIM นั้นได้จำลองกระบวนการ ERP จาก SAP ERP (ซึ่งมีรูปแบบกระบวนการไม่แตกต่างจาก ERP ของค่ายอื่น ๆ ซึ่งจะแตกต่างที่ กระบวนการย่อย, จุดเด่นในแต่ละโมดูล เท่านั้น) MonsoonSIM ได้จำลอง Dashboard เพื่อสะท้อนให้ผู้เรียนที่ไม่มีประสบการณ์ด้าน ERP ได้เห็นถึงการเลือกสรรข้อมูลที่มีความจำเป็นจากระบบฐานข้อมูลในแต่ละงาน ขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยง หรือแสดงผลประกอบการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลร่วมกัน  ทั้งยังมีรูปแบบของรายงาน (report) ในแต่ละงาน หรือแต่ละฝ่าย รวมไปถึงกระบวนการตรวจสอบต่าง ๆ ที่ระบบ ERP สร้างขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการทำงาน และหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น 

ขอยกตัวอย่างจาก SAP ERP ในบาง Modules ซึ่งเป็นที่นิยม เนื่องจาก MonsoonSIM พัฒนาบน Terms ของ SAP ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ERP ที่ให้บริการในตลาด และมีส่วนของ Market Share มากที่สุดตัวหนึ่งใน ERP ซึ่งมีในตลาด 

MonsoonSIM จำลอง Services ในงานต่างๆ เช่น งานจัดซื้อ  ซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลร่วมกัน เช่น ข้อมูลด้าน Demand และ Forecast จากทีมขาย จาก SD; Distribution (ตลาด) เพื่อวางแผนการจัดการผลิต (PP; production Planning) และเชื่อมโยงกับอำนานการตัดสินใจ หรือสภาพตล่องทางการเงิน ที่เกียวข้องกับ FI; Finaicial and Accounting ซึ่งจะเห็นได้ว่างานหนึ่งงานในกระบวนการทางธุรกิจนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วน กว่าที่จะจบกระบวนการในแต่ละงาน 

ข้อดีของการศึกษาระบบของธุรกิจ, กระบวนการต่าง ๆ ทางธุรกิจ ร่วมกับ ERP Concepts จะช่วยสร้างกระบวนการทำงานเป็นระบบ (Systematic) และรวมไปถึง การกำหนดคุณภาพ เกณฑ์ชี้วัด ในแต่ละงานออกมาเป็นรายงานต่าง ๆ ซึ่งเกิดความชัดเจนและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนมากกว่าการเรียนแบบท่องจำ 

เมื่อผู้เรียนเข้าใจกระบวนการทำงานทางธุรกิจ เกณฑ์ชี้วัดต่าง ๆ  ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และ คน ฝ่าย หรือแผนกที่จะต้องทำงานร่วมกัน จากการเรียนการสอนที่สอนให้แยกส่วนกัน รูปแบบและวิธีการเรียนจะช่วยสร้างความเข้าใจในเรื่องของ Work Process และ Collaborative เป็นประสบการณ์ติดตัวผู้เรียนออกไป และสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกันมากขึ้นด้วย 
3) โอกาสในการเรียนรู้เรื่องการวัดผลในแง่มุมต่าง ๆ และต่อยอดไปยัง Data Analytics
Picture
ในระหว่างประสบการณ์ MonsoonSIM การวัดผลเป็นสิ่งที่ช่วยให้ ประเมินคุณภาพในการตัดสินใจของงานที่ได้กระทำลงไป ใน MonsoonSIM มีชุดข้อมูลและการวัดผลหลากหลายตัว ทั้งในระดับ คุณภาพของการตัดสินใจในแต่ละเรื่อง, การประเมินวัดผลร่วมกันในหลาย ๆ งาน ซึ่งในระหว่าง workshop ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ชุดของการวัดผลในแบบต่าง ๆ จาก facilitator รวมไปถึง ชุดข้อมูลที่ใช้วัดผลงานที่ตนได้ตัดสินใจในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการที่ผู้เรียนเข้าใจชุดการวัดผลที่หลากหลายจะช่วยให้สามารถเข้าใจปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับแตกต่างกัน  ใน MonsoonSIM มี Business Intelligent Service ที่ผู้เรียนที่ยังไม่มีประสบการณ์จะได้ทดลองนำข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มาศึกษาร่วมกัน และนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจุดประสงค์ของข้อมูลใน ERP ที่ต้องการการตีความ และกำหนดกิจกรรม น้ำหนัก และ priority ในการกิจกรรม เพื่อให้เกิดผลลัพท์ที่ดีกับองค์กร

ข้อมูลที่มี record จำนวนมากมาย ในหลายรูปแบบนั้น จะเป็น "ทุน" ในการ "ต่อยอด" เรียนรู้ ทั้งในแง่ของ การรับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น (Descriptive Analytics), การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น การยืนยันสถานะของปัญหาจากข้อมูล (Diagnostic Analytics), การคาดการแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น และผลลัพท์ที่เป็นคุณและโทษต่อกิจการ (Predictive Analyticss) ซึ่งทำมาซึ่งวิธีการป้องกันปัญหา หรือ การเร่งปฏฺิกิริยาของผลลัพท์เชิงบวกให้ทวีคูณในทางธุรกิจ (Presctriptive) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นจุดมุ่งหมายหลักของการที่องค์กรต้องการจาก ERP และบุคลากรที่มีความเข้าใจในธุรกิจ (ในปัจจุบันถูกเรียกว่า Data Driven Decision) และความเข้าใจที่มีข้อมูลกำกับ จะช่วยให้องค์กรเดินไปในทิศทางที่มีมาตรฐานในการตัดสินใจ เกิดความชัดเจนเมื่อเกิดข้อโต้แย้งระหว่างกันในอง๕ืกร และระบบ ERP เองก็ช่วยให้ "ระบบ" ถูกใช้มากกว่า "ความเชื่อ" ในระดับบุคคล

การเรียนรู้ที่ดี คือ การเรียนที่รู้ และมีโอกาสลงมือทำผิดพลาด และเมื่อหาทางที่จะไม่ผิดในเรื่องเดิมอีก จะเกิดเป็นความเข้าใจ เกิดเป็นรูปแบบ ซึ่งเป็น Best Practice ในแต่ละปัญหา ในแต่ละเรื่อง และในแต่ละโอกาส การเรียนเรื่อง ERP ที่ใช้ความรู้หลายชุด ทักษะหลายด้าน ไม่ควรถูกเรียนแบบขาดโอกาสทดลอง และเรียนด้วยประสบการณ์ และเมื่อสร้างผู้เรียนที่วิเคราะห์ปัญหาได้ หาทางเข้าใจเรื่องที่ซับซ้อนจนเกิดเป็นประบวนการคิดได้อย่างเป็นระบบ จะไม่มีข้อครหาที่ว่าเขาจะเปลี่ยนประสบการณ์ในโลก Simulation อย่าง MonsoonSIM ไปใช้ใน ERP และในงานจริง ๆ ได้หรือไม่ เพียงต้องให้เวลา และประสบการณ์ทำงานร่วมกัน การเรียนเรื่อง ERP จึงควรมีเครื่องมือสร้างประสบการณ์เช่น MonsoonSIM ที่เชื่อม IT และ Business เข้าด้วยกัน เชื่อมกิจกรรมกับ Data เข้าด้วยกัน เรียงร้อยกระบวนการทำงานให้ผู้เรียนได้เข้าใจ ซึ่งนั้นเป็นหน้าที่ของ MonsoonSIM สำหรับปัญหาเรื่องการเรียน ERP และ Business Processes   ส่วนปัญหาด้าน Technnical นั้น ก็จะมี Simulation ในแต่ละเรื่องในโลก ERP เช่น ERPSIM ที่ทำให้ปัญหาด้านเทคนิคหมดไป จึงได้เขียนบทความนี้เพื่อความกระจ่างสำหรับปัญหาที่ได้รับการถามบ่อย ๆ ครับ 

เพราะประสบการณ์ คือ โรงเรียนที่ดี และประสบการณ์ ERP การบริหารธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลที่จับต้องได้ยาก มี MonsoonSIM เป็นเครื่องมือที่ให้ประสบการณ์

0 Comments

Your comment will be posted after it is approved.


Leave a Reply.

Picture
Picture
Picture
Picture

MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand