การเรียนการสอนที่เน้นการท่องจำ และไม่มีโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เป็นการเรียนการสอนที่ล้าสมัย และไม่เกิดประโยชน์กับผู้เรียน อาจเป็นการลงทุนที่มี ROI ต่ำหากผู้ปกครอง และนักศึกษาต้องตระหนัก การเรียนในสาขาวิชาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนซึ่งไม่ควรใช้รูึปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยอาชีวะในประเทศไทย
วิชาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนกำลังเป็นต้องการในตลาด และเป็นยุทธศาสตร์หลักของประเทศไทย ที่ได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางคมนาคมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับนโยบายของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นโครงการระเบียงเศรษฐกิจ East-West หรือ North-South Corridor โครงการ EEC ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทั้งนี้ยังไม่รวมยุทธศาสตร์ระดับโลกเช่น One Belt One Road ของประเทศจีนซึ่งไทยอยู่ในแผน ประกอบกับการลงทุนด้านสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นรถไฟรางคู่, มอเตอร์เวย์, รถไฟความเร็วสูง ประกอบกับการที่ไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบทั้งการเกษตร (นโยบายครัวของโลก) หรือเป็นแหล่งผลคิ part ด้านอุตสาหกรรม รวมไปถึงการเติบโตของเวียตนาม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
ความต้องการของผู้จบการศึกษาด้านโลจิสติกส์ซัพพลายเชนมีความต้องการเพิ่มขึ้น และต้องการบัณฑิตที่มีความเข้าใจเรื่องของ Supply Chain Management กระบวนการ Logistics ตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งนอกจากจะมีความเข้าใจในวิชาพื้นฐานแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการทำงาน และมีประสบการณ์ที่พร้อม แต่ปรากฎว่าสาขาวิชาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในวิธีการศึกษาน้อยมาก และบัณฑิตมีความไม่พร้อม ขาดความรู้ที่จำเป็นเช่น พื้นฐานทางธุรกิจ, การวัดผลทางธุรกิจ, การจัดการที่เกี่ยวข้องในแต่ละข้อโซ่ในห่วงโซ่อุปทาน, ทักษะการวิเคราะห์และคิดคำนวน, ทักศะการวางแผนและตีความโดยใช้มูล (Data Driven Decision) ประกอบกับความเ้ขาใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเช่น ERP; Enterprise Resources Planning และการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัด และยังไม่รวมความต้องการในจิตลักษณะและมีความคิดอย่างผู้ประกอบการ ทว่าในปัจจุบันถึงแม้นจะมีความพยายามจากภาคเอกชน ที่ผลักดันไปยังสถาบันการศึกษาให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางหลักสูตร และเสริมสมรรถนะให้กับนักศึกษา มีโครงการมาตรฐานวิชาชีพด้านโลจิตติกส์ที่ร่วมกันสร้างให้เกิดมาตรฐาน แต่สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเป็นเพียง "นโยบาย" และ "วิสัยทัศน์และเป้าหมาย" ที่ขาดพันธกิจที่เหมาะสม ภาคการศึกษาของไทยส่วนมาก ปรับเปลี่ยนหน้ากาก สร้างภาพลักษณ์จากกระบวนการ Marketing ทว่าการเปลี่ยนแปลงในเชิงการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
กลุ่มปัญหาของการศึกษาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนยังเกิดซ้ำไปมา อาทิ
จากประสบการณ์ของการนำ MonsoonSIM Simulation ไปแนะนำกับภาคการศึกษาในสายวิชาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน พบว่าสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้แบบ Integrated Knowledge and Skills ที่มีความจำเป็นอย่างมากในการทำงานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้แบบ Dynamic Simulation Base เพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้เชิงประจักษ์ (Experiential Learning) ให้กับผู้เรียน ยังคงพบว่า การศึกษาในสาขาวิชานี้ (รวมไปถึงสาขาวิชาอื่น ๆ) ที่ควรเพิ่มสัดส่วนของการ Hands-on ให้มากขึ้น ไม่เป็นที่เข้าใจในภาคการศึกษาของไทย
วิธีการเรียนวิชาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชยในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนมาบ้างแล้วจากอดีต แต่ยังคงใช้เครื่องมือจากยุค 20-30 ปีก่อน ในการศึกษาปัจจุบัน รวมไปถึงวิธีการสอนในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะเช่น
สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้การเติบโตด้านโลจิสติกส์ของไทยอาจไม่เป็นไปตามแผน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะต้องเกิดการ "บูรณาการ" และ "การเปลี่ยนแปลง" ที่ "แท้จริง" มากกว่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดูทันสมัยแต่ไส้ในยังเหมือนเดิม
การเปลี่ยนแปลงมีบ้างแล้วในบางสถาบัน เช่น การร่วมมือกับภาคเอกชนเป็นทวิภาคี ซึ่งมีกำหนดเวลาในช่วงสั้นๆ เป็นไปตามงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งบางแห่งไม่เกิดความต่อเนื่อง หรือเมื่อเปลี่ยนผู้บริหาร ทำให้ Connection เดิมที่มีเปลี่ยนแปลงไปเป็นต้น ในบางสถาบันการศึกษาเริ่มนำเอาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกไปเป็นทีมผู้สอน ทว่าความโชคร้าย คือ เกิดขึ้นกับระดับปริญญาโทเท่านั้น ส่วนปริญญาตรีมีโอกาสที่จะได้เข้าถึงหรือได้รับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ได้น้อยมาก และมีสัดส่วนด้านเวลาน้อยมากจนแทบไม่เกิดประโยชน์ หรือส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้ในการศึกษาด้านนี้
ข้อเสนอต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นทิศทางที่ควรดำเนินไปของการศึกษาในสาขาวิชานี้ เช่น
วิชาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนกำลังเป็นต้องการในตลาด และเป็นยุทธศาสตร์หลักของประเทศไทย ที่ได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางคมนาคมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับนโยบายของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นโครงการระเบียงเศรษฐกิจ East-West หรือ North-South Corridor โครงการ EEC ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทั้งนี้ยังไม่รวมยุทธศาสตร์ระดับโลกเช่น One Belt One Road ของประเทศจีนซึ่งไทยอยู่ในแผน ประกอบกับการลงทุนด้านสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นรถไฟรางคู่, มอเตอร์เวย์, รถไฟความเร็วสูง ประกอบกับการที่ไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบทั้งการเกษตร (นโยบายครัวของโลก) หรือเป็นแหล่งผลคิ part ด้านอุตสาหกรรม รวมไปถึงการเติบโตของเวียตนาม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
ความต้องการของผู้จบการศึกษาด้านโลจิสติกส์ซัพพลายเชนมีความต้องการเพิ่มขึ้น และต้องการบัณฑิตที่มีความเข้าใจเรื่องของ Supply Chain Management กระบวนการ Logistics ตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งนอกจากจะมีความเข้าใจในวิชาพื้นฐานแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการทำงาน และมีประสบการณ์ที่พร้อม แต่ปรากฎว่าสาขาวิชาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในวิธีการศึกษาน้อยมาก และบัณฑิตมีความไม่พร้อม ขาดความรู้ที่จำเป็นเช่น พื้นฐานทางธุรกิจ, การวัดผลทางธุรกิจ, การจัดการที่เกี่ยวข้องในแต่ละข้อโซ่ในห่วงโซ่อุปทาน, ทักษะการวิเคราะห์และคิดคำนวน, ทักศะการวางแผนและตีความโดยใช้มูล (Data Driven Decision) ประกอบกับความเ้ขาใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเช่น ERP; Enterprise Resources Planning และการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัด และยังไม่รวมความต้องการในจิตลักษณะและมีความคิดอย่างผู้ประกอบการ ทว่าในปัจจุบันถึงแม้นจะมีความพยายามจากภาคเอกชน ที่ผลักดันไปยังสถาบันการศึกษาให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางหลักสูตร และเสริมสมรรถนะให้กับนักศึกษา มีโครงการมาตรฐานวิชาชีพด้านโลจิตติกส์ที่ร่วมกันสร้างให้เกิดมาตรฐาน แต่สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเป็นเพียง "นโยบาย" และ "วิสัยทัศน์และเป้าหมาย" ที่ขาดพันธกิจที่เหมาะสม ภาคการศึกษาของไทยส่วนมาก ปรับเปลี่ยนหน้ากาก สร้างภาพลักษณ์จากกระบวนการ Marketing ทว่าการเปลี่ยนแปลงในเชิงการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
กลุ่มปัญหาของการศึกษาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนยังเกิดซ้ำไปมา อาทิ
- ผู้สอนหรือผู้ถ่ายทอดมีจำนวนน้อยมากที่มีประสบการณ์ทำงานในด้านนี้โดยตรง ส่วนมากอาศัยการศึกษาและการทำวิจัย ในฐานะที่ปรึกษาด้านวิชาการ และไม่ได้รับการ upskill/reskill ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและศาสตร์สมัยใหม่ ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรจากภาคเอกชนมีมากขึ้น ทว่าผู้สอนหรือผู้ถ่ายทอดวิชาเหล่านี้ไม่พร้อม และไม่อยากพัฒนาขีดความสามารถของตนเองด้วยปัจจัยหลายด้าน เช่น ขาดการส่งเสริมสนับสนุนจากต้นสังกัดในการลาเพื่อศึกษา หรือมีความร่วมมือกับภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- หลักสูตรการเรียนการสอนมีความล้าสมัย หากเทียบกับทักษะความรู้ที่ภาคเอกชนต้องการ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการสร้างวิชาใหม่ มีขั้นตอนด้านวิชาการที่ไม่มีใครอยากเสียเวลาลงไปแก้ไข่ ลงมือทำ
- นักศึกษาที่จบออกมาเป็นบัณฑิต (ทั้งในสาขาวิชาด้านนี้ หรือสาขาวิชาอื่นๆ) มีสภาวะพร่องความพร้อม ขาดทักษะ และมีความรู้กระท่อนกระแท่น ไม่พร้อมต่อการทำงาน ไม่เคยได้รับการฝึกฝนในทักษะที่ต้องการ หรือมีประสบการณ์ที่นอกเหนือจากห้องเรียนเพียงพอที่จะทำงานได้ทันที และเป็นภาระของภาคเอกชนที่จะต้องลงทุนในการอบรมเพิ่มเติม
- เครื่องมือในการสอนมีจำกัด ประกอบกับ Teaching and Learning Base ที่ใช้ในสาขาวิชาด้านนี้ก็ไม่พร้อม ส่วนมากยังคงสอนโดยใช้การบรรยาย, มีจำนวนสัดส่วนของการพาไปเห็น เพื่อสร้างประสบการณ์น้อย, มีจำนวนหน่วยกิตที่จะสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาไม่เพียงพอ เช่น สหกิจ หรือการฝึกงาน รวมไปถึงคุณภาพของการหาประสบการณ์จากสหกิจและการฝึกงานเองก็มีไม่มากเช่นกัน
จากประสบการณ์ของการนำ MonsoonSIM Simulation ไปแนะนำกับภาคการศึกษาในสายวิชาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน พบว่าสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้แบบ Integrated Knowledge and Skills ที่มีความจำเป็นอย่างมากในการทำงานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้แบบ Dynamic Simulation Base เพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้เชิงประจักษ์ (Experiential Learning) ให้กับผู้เรียน ยังคงพบว่า การศึกษาในสาขาวิชานี้ (รวมไปถึงสาขาวิชาอื่น ๆ) ที่ควรเพิ่มสัดส่วนของการ Hands-on ให้มากขึ้น ไม่เป็นที่เข้าใจในภาคการศึกษาของไทย
วิธีการเรียนวิชาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชยในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนมาบ้างแล้วจากอดีต แต่ยังคงใช้เครื่องมือจากยุค 20-30 ปีก่อน ในการศึกษาปัจจุบัน รวมไปถึงวิธีการสอนในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะเช่น
- ยังคงใช้ Static Tools เช่น Beer Game เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจ
- มีการสอนวิชาด้านสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์ แบบใช้การบรรยาย เนื่องจากไม่ลงทุนด้านเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับหลักสูตร หรือหากมีการนำเอาสารสนเทศในเชิงซอฟต์แวร์มาใช้ ก็จะขึ้นกับแบรนด์ใด ๆ และสอนเพื่อให้เป็น ผู้ใช้ (ยูส เซอร์ เซ่อ เซ่อ) ไม่ได้สอนหรือให้สามารถนำเอาหลักวิชาที่เกี่ยวข้องไปประยุกต์กับแพลทฟอร์มหรือซอฟต์แวร์ที่อาจจะแตกต่างกันไปเมื่อไปทำงานจริง
- วิชาพื้นฐานที่มีความเกี่ยวข้องและเป็นฐานในความคิด เป็นเพียงทางผ่านของหลักสูตร เช่น บัญขี, เศรษฐศาสตร์, การเงิน, ภาษีอากร, สถิติ, การตลาด, ภาษาอังกฤษ (ที่ยังสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยังไม่ได้ ไม่รวมไปถึง English for Logistics and Supply Chain ที่นับรายมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเฉพาะทางได้) ฯลฯ ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้งานความรู้พื้นฐานเหล่านี้ได้อย่างไม่ถนัด
- ข้อจำกัดในวิชาเฉพาะทางเช่น Procurement Management, Cost Management เป็นวิชาที่สอนเพื่อจำ ไม่ได้สอนเพื่อทำงานได้จริง
- วิชาที่ควรมี Hands-on และต้องมีประสบการณ์ตรงจึงจะเกิดความเข้าใจนั้น ถูกสอนด้วยการบรรยาย ทำให้ขาดประสบการณ์ตรง เช่น Warehouse Management, Demand and Inventory Planning
- วิชาที่ผู้สอนก็ไม่มีประสบการณ์ตรงในการทำงาน เช่น Information echnology System for Logistics and Supply Chain, International Logistics and Supply Chain Management เป็นต้น
- วิชาเฉพาะทางในบางสถาบันไม่มีผู้เชี่ยวชาญโดยตรง แต่ใช้สาขาวิชาที่ใกล้เคียงกันในการสอน เช่น Logistics Law อาจจะต้องใช้อาจารย์ด้านนิติศาสตร์สอนแทน, วิชาด้าน ERP ต้องไปพึ่งพาอาจารย์ด้าน IT ซึ่งไม่สามารถเน้นเรื่องเฉพาะทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนได้
- ความสามารถในการเข้าใจ Business Processes และ Cross Functional ในเชิงเหตุผลระหว่างโซ่อุปทาน
- การเรียนการสอนเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน Logistics & Supply Chain ที่ไม่มีข้อมูลจริง หรือมีข้อมูลจริงก็ไม่มีโอกาสได้ศึกษาอย่างใช้งานได้
สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้การเติบโตด้านโลจิสติกส์ของไทยอาจไม่เป็นไปตามแผน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะต้องเกิดการ "บูรณาการ" และ "การเปลี่ยนแปลง" ที่ "แท้จริง" มากกว่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดูทันสมัยแต่ไส้ในยังเหมือนเดิม
การเปลี่ยนแปลงมีบ้างแล้วในบางสถาบัน เช่น การร่วมมือกับภาคเอกชนเป็นทวิภาคี ซึ่งมีกำหนดเวลาในช่วงสั้นๆ เป็นไปตามงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งบางแห่งไม่เกิดความต่อเนื่อง หรือเมื่อเปลี่ยนผู้บริหาร ทำให้ Connection เดิมที่มีเปลี่ยนแปลงไปเป็นต้น ในบางสถาบันการศึกษาเริ่มนำเอาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกไปเป็นทีมผู้สอน ทว่าความโชคร้าย คือ เกิดขึ้นกับระดับปริญญาโทเท่านั้น ส่วนปริญญาตรีมีโอกาสที่จะได้เข้าถึงหรือได้รับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ได้น้อยมาก และมีสัดส่วนด้านเวลาน้อยมากจนแทบไม่เกิดประโยชน์ หรือส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้ในการศึกษาด้านนี้
ข้อเสนอต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นทิศทางที่ควรดำเนินไปของการศึกษาในสาขาวิชานี้ เช่น
- การ upskill/reskill ผู้สอนในสาขาวิชานี้ ให้ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนมากขึ้น ที่จะถ่ายถอดการทำงาน, เทคโนโลยี เพื่อให้ผู้สอนเกิดประสบการณ์และสร้างผู้เรียนให้มีความพร้อมมากขึ้น โดยอาจได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐและภาคเอกชนในปฏิบัติการ National upskill/reskill ของบุคลากรทางการศึกษา
- หลักสูตร วิชา หน่วยกิต ต้องปรับเปลี่ยนให้เกิดสัดส่วนของ Hands-on หรือการเพิ่มประสบการณ์มากขึ้น เช่น การเพิ่มจำนวนการฝึกงานของนักศึกษาให้เพิ่มขึ้นจากเดิม 1 เทอมให้มากขึ้น และมีความถี่และโอกาสมากขึ้นตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เป็นต้นไป และต้องฝึกงานในประสบการณ์ที่แตกต่างกันมากกว่า 2 ประสบการณ์ขึ้นไป, การจัดการศึกษาดูงานที่มีคุณภาพ ไม่ใช่การทัศนศึกษาเพื่อสันทนาการ, อาจต้องปรับลดวิชาที่ไม่มีความจำเป็น เช่น General Education ที่ไม่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน ปรับให้เป็นวิชาที่สร้างประสบการณ์มากขึ้น หรือเพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ มากขึ้น
- มีเครื่องมือที่สอดคล้องและเฉพาะทางมากขึ้น เช่น ใช้ Simulation Base เพื่อสร้างประสบการณ์ และทำให้วิชาที่สอนแบบ static approching เป็น Dynamic Learning มากขึ้น หรือมีโอกาสให้นักศึกษาไ้ดเห็นประสบการณ์หรือมีโอกาส Hands on เช่น ซอฟต์แวร์ ERP เป็นต้น
- กลุ่มวิชาด้านภาษาอังกฤษ เป็นอังกฤษเฉพาะวิชาชีพมากขั้นและถูกสอนโดยบุคลากรที่มีความเข้าใจด้าน Logistics/Supply Chain หรือในวิชาเฉพาะด้านกฎหมายก็ใช้หลักการเดียวกัน
ใน version 9.0 (มิ.ย. 2564) MonsoonSIM ประกอบด้วย 13 โมดูล ซึ่งการเลือก activation กลุถ่ม Modules คือการสะท้อนธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทานที่แตกต่างกันไป ส่วนการ activation features ย่อย ๆ จะเป็นเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้เรียน โดบ 13 โมดูลประกอบด้วย;
1. การบริหารทรัยากรบุคคล (Human Resource)
2. การบริหารการจัดซื้อ (Procurement)
3. การบริหารส่วนผลิต (Production)
4. การซ่อมบำรุง (Maintenance)
5. การบริการลูกค้า และลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Service)
6. การบริหารค้าปลีก (Retail Sales)
7. การบริการค่าส่ง (Wholesales)
8. การวางแผนและการบริหารโลจิสติก และบริหารคลังสินค้า (Logistic & Warehouse)
9. การวางแผนงานเพื่อสนับสนุนการผลิต การขายสินค้า การบริหารสินค้าคงคลัง (Planning)
10. การบริหารด้านการเงิน และการบัญชี (Finance and Accunting)
11. การบริหารการตลาด (Marketing)
12. การใช้ Management Information Systems ในการช่วยบริหารธุรกิจ เช่น MRP & ERP
13. การบริหารและการจัดการ E-Commerce
1. การบริหารทรัยากรบุคคล (Human Resource)
2. การบริหารการจัดซื้อ (Procurement)
3. การบริหารส่วนผลิต (Production)
4. การซ่อมบำรุง (Maintenance)
5. การบริการลูกค้า และลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Service)
6. การบริหารค้าปลีก (Retail Sales)
7. การบริการค่าส่ง (Wholesales)
8. การวางแผนและการบริหารโลจิสติก และบริหารคลังสินค้า (Logistic & Warehouse)
9. การวางแผนงานเพื่อสนับสนุนการผลิต การขายสินค้า การบริหารสินค้าคงคลัง (Planning)
10. การบริหารด้านการเงิน และการบัญชี (Finance and Accunting)
11. การบริหารการตลาด (Marketing)
12. การใช้ Management Information Systems ในการช่วยบริหารธุรกิจ เช่น MRP & ERP
13. การบริหารและการจัดการ E-Commerce
MonsoonSIM ในฐานะ Simulation ที่เติมช่องวางในการเรียนรู้ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ทั้งนี้ MonsoonSIM อาจไม่ใช่เครื่องมือเฉพาะทางด้านโลจิตสิกส์และซัพพลายเชนโดยตรงกับวิชาเฉพาะ และอาจไม่มี Simulation ที่พร้อมหรือถูกออกแบบมาใช้ในวิชาหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ) ซึ่่งจะขอยกตัวอย่างประสบการณ์ที่ MonsoonSIM สามารถสร้างสถานการณ์และเป็นเครื่องมือช่วยให้นักศึกษาเข้าใจได้มากขึ้น จาก MonsoonSIM Version 9.0 (มิ.ย. 2564) ซึ่ง MonsoonSIM มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม concepts ด้านอื่นย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
โดยนำขอนำเอาเอาวิชาที่เปิดสอนด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ที่อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามสถาบันการศึกษา แต่มักจะมีโครงสร้างของวิชาคล้ายกัน มาเชื่อมโยงกับ MonsoonSIM Modules และ Features ต่างๆ)
โดยนำขอนำเอาเอาวิชาที่เปิดสอนด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ที่อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามสถาบันการศึกษา แต่มักจะมีโครงสร้างของวิชาคล้ายกัน มาเชื่อมโยงกับ MonsoonSIM Modules และ Features ต่างๆ)
ขอบเขต / ชื่อวิชาด้านโลจิสติกส์ซัพพลายเชน |
MonsoonSIM Modules/Features |
Organization and Modern Management |
สะท้อนด้วยการเปิดกลุ่มโมดูลที่หลากหลาย เพื่อสะท้อนองค์กรที่ต่างขนาดและมีความซับซ้อนต่างกัน |
Economics for Business |
ใน MonsoonSIM มีส่วนของ Demand Forecasting ในตลาด B2B, B2C, e-Commerce เพื่อให้ผู้เรียน Supply ผ่านกระกระบวนการจัดซื้อ และการผลิตสินค้า |
Principles of Marketing |
ใน MonsoonSIM สร้างประมีส่วนผสมทางการตลาด หลากหลายเพื่อให้การทำตลาดกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็น Price, Place, Promotion, Process, รวมไปถึงสถิติและผลลัพท์จากการประกอบการที่แสดงผลเป็น Physical Evidence ได้ |
Systematic Thinking and Analysis |
MonsoonSIM เน้นหลักการทำงานเป็น Logical มีกระบวนการทางธุรกิจมาตรฐาน ซึ่งจำลองระบบ ERP ของ SAP ตลอดจนมีข้อมูลแสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ |
Production and Operations Management |
Module Production ที่สามารถ configurations Production Bill of Material ได้ ปรับเปลี่ยนต้นทุนในการผลิตได้ สร้าง margin ให้แตกต่างได้ด้วยการกำหนดราคาจาก algorithm ของ MonsoonSIM วัดผลคุณภาพในการบริหารจัดการได้ จาก Business Intelligent |
Principles of Accounting, Business Finance and Taxation |
MonsoonSIM มีการบันทึกบัญชีอัตโนมัติ ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจทำกิจกรรม และสามารถเปรียบเทียบกับบัญชีในรูปแบบต่าง ๆ เช่น P/L, Balance Sheet, Trail Balance, Case Flow statement, มีข้อมูลด้านการเงิน ต่าง ๆ ซึ่ง MonsoonSIM ร่วมพัฒนาบางส่วนกับ Daekin University, Australia. ใน พฤศจิกายน 2564 CPA Integrated Report จะเป็น Concepts ใหม่ใน MonsoonSIM |
Business Statistics, Quantitative Analysis |
ใน MonsoonSIM มีข้อมูลหลากหลายประเภท ตามรูปแบบของการบวนการทางธุรกิจ ที่ทำให้เกิดสถิติ ต่าง ๆ มีการแสดงผลในรูปแบบตาราง และกราฟต่าง ๆ ให้ได้วิเคราะห์ ทั้งยังสามารถส่งออกข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการคำนวนนอก platform ได้ และนำข้อมูลใช้สร้าง Data Visualization เพื่อการวิเคราะห์ได้ |
Demand and Inventory Planning |
ใน MonsoonSIM มี Demand Forecast กำหนดขั้นต่ำของ Demand ในแต่ละตลาดได้, มี Concepts ของ ROP; Re-Order Point ที่ต้องเข้าใจเรื่องของ Saftety Stock, มีการวัดผลเรื่อง Inventory Turnover Ratio, Day Sales in Inventory และมุมมองต่าง ๆ เดี่ยวกับ Inventory Management |
Logistics Cost Management |
MonsoonSIM มี Concepts เรื่องต้นทุนหลากหลาย เช่น COGS, OPEX, Logistic Cost, Financial Cost, ปรับเปลี่ยน Location ได้, ปรับเปลี่ยนต้นทุนของการขนส่ง และ Delivery Lead Time ได้ |
Transportation Operation Management, Warehouse Management, Distribution and Distribution Center Management |
MonsoonSIM มี concepts ของการจัดการด้าน Logisctics, กระบวนการ Allocatation, Pack and Ship, อนุญาตให้มี Multiple Warehouse/Distribution Center ได้ |
Logistics Information Technology System |
MonsoonSIM พัฒนา Concepts จาก SAP ERP System ครอบคลุม Concepts เรื่อง FRM; SCM, MRP, HCM ซึ่งขยายขอบเขตความเข้าใจเรื่อง Information Technology System ได้เกินกว่าด้าน Logistics |
ทัั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างที่นำเอาบางส่วนของรายวิชาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมาเพื่อเทียบว่า MonsoonSIM สามารถเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนด้าน Logistics and Supply Chain ได้อย่างไร ท้ังนี้ประโยชน์จะเกิดกับผู้เรียน เช่น ทำให้การเรียนรู้เกิดความสนุกด้วย Gamification, เกิดประสบการณ์ได้จาก Simulation, เป็นนักคิด นักแก้ปัญหา และยังมีทักษะการทำงานเป็นทีม รู้พื้นฐานด้านธุรกิจ และมีประสบการณ์ด้าน Information System พื้นฐานติดตัวไปด้วย และยังพัฒนาต่อเนื่องตลอดเวลา ในสนนราคาที่สถาบันการศึกษาจับต้องได้ สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ไม่จำกัด free upgrade ตลอดอายุการใช้งาน และไม่ต้องบริหารจัดการ เนื่องจากอยู่่บนระบบ Cloud Server
MonsoonSIM ฺBusiness Simulation and Gamification จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ มากกว่าการเรียนการสอนในแบบเดิม เพื่อสร้างบัณฑิตสายโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่มีคุณภาพ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษา และลดต้นทุนของภาพเอกชนในการอบรมบัณฑิตให้พร้อมทำงานให้น้อยลง
Change the Way you Teach, Change the way you Learn ด้วย MonsoonSIM
MonsoonSIM ฺBusiness Simulation and Gamification จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ มากกว่าการเรียนการสอนในแบบเดิม เพื่อสร้างบัณฑิตสายโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่มีคุณภาพ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษา และลดต้นทุนของภาพเอกชนในการอบรมบัณฑิตให้พร้อมทำงานให้น้อยลง
Change the Way you Teach, Change the way you Learn ด้วย MonsoonSIM