MonsoonSIM อาจไม่ใช่เครื่องมือหลักสำหรับการเรียนการสอนในสาขาวิชาบัญชี ทว่า MonsoonSIM เป็นเครื่องมือเสริมที่ดี ที่จะสร้างประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับกิจกรรมทางธุรกิจ เพื่อให้เรียนรู้ด้านบัญชี และด้านอื่น ๆ ที่สาขาบัญชีควรทราบอย่างบูรณาการ เป็นการเสริมสมรรถนะให้นักศึกษาสาขาบัญชีให้เกิดมุมมองเชื่อมโยงบัญชีกับด้านการบริหารจัดการ, ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ด้านการใช้ข้อมูลเพื่อเสริมด้านการตรวจสอบ และเพื่อประกอบการตัดสินในเชิงธุรกิจ ซึ่งนักศึกษาบัญชีเองอาจมีความสามารถในการประติดประต่อความรู้กับกิจกรรมเข้าด้วยกันได้ไม่ดีพอ MonsoonSIM จึงทำหน้าที่ในส่วนนี้
บัญชี เป็นหนึ่งในวิชาที่เข้าใจได้ยาก และจะต้องใช้ประสบการณ์เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ และมีรายละเอียดในด้านต่าง ๆ มาก ในอดีตถึงกับมีคำกล่าวทำนองว่าเรียนบัญชีไม่มีทางตกงาน เพราะว่าเป็นสาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการของตลาด ทว่ามีกฎระเบียบ และกฎหมายรองรับในการทำธุรกิจ มีหน้าที่ควมรับผิดชขอบทางกฎหมาย เช่น การนำส่งงบประเภทต่าง ๆ งานภาษีอากร. งานตรวจสอบภายใน, งานผู้สอบบัญชี ฯลฯ เป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญในโลกธุรกิจ
การเรียนการสอนวิชาบัญชีในปัจจุบันมีความท้าทายหลายประการ เช่น
การศึกษาด้านบัญชีปรับตัวเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย หลักการทางบัญชีซึ่งเป็นหัวใจสำคัญยังคงอยู่ แต่มีการปรับเปลี่ยนรายวิชา และรูปแบบการเรียนการสอนมากขึ้น และความต้องการของตลาดนั้น ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา โดยนักบัญชีในปัจจุบันจะต้องมี Competency มากกว่าด้านบัญชี การปรับตัวนี้เกิดขึ้นในบางสถาบันการศึกษา ขึ้นอยู่กับ Vision ของสถาบันการศึกษาในสาขาบัญชีที่แตกต่างกันไป เริ่มมีการนำเอาสารสนเทศด้านบัญชีมาเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตสาขาบัญชีมานานแล้ว ซึ่งอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมบัญชี ทว่าความเปลี่ยนแปลงในโลกต้องการ Integrated Knowledge, Skill และมี Competency ด้านต่าง ๆ สถาบันการศึกษาทางบัญชีจะปรับตัวทันหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับการเปิดใจกว้างของทีมบริหาร กับการรับรู้การเปลี่ยนแปลง เพราะในบางสถาบันการศึกษาก็ยังคงอยู่ในโซนอนุรักษ์นิยม บางสถาบันการศึกษาปรับตัวอย่างรวดเร็วแต่ก็ยังช้ากว่าความต้องการของโลกธุรกิจ ทั้งนี้ไม่นับรวมการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานทางบัญชีที่เกิดขึ้นจนภาคการศึกษา และมืออาชีพทางบัญชีก็ตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน
อัตราการทำงานในด้านบัญชี เริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ยุคปลาย Gen Y เป็นต้นมา สถาบันการศึกษามักพบว่าเมื่อเมื่อราว 20-30 ปีก่อน บัณฑิตด้านบัญชีทำงานตรงกับสายวิชาชีพที่เรียนกว่าร้อยละ 90 ทว่าตัวเลขนี้ลดลงมาเรือย ๆ จนปัจจุบันการเรียนในสาขาวิชาชีพทางบัญชี และจบไปทำงานตรงสายวิชาชีพ มีสัดส่วนไม่มาก และบัณฑิตรุ่นใหม่ ๆ มีแนวโน้มจะทำงานด้านอื่น ๆ เช่น เป็นผู้ประกอบการ startup หรือทำงานสายอื่น ๆ และศึกษาต่อในสาขาวิชาอื่น ๆ มากขึ้น
จากการสัมภาษณ์บัณฑิตสาขาบัญชี พบว่าเวลามากของการเรียนหมดไปกับมาตรฐานทางบัญชี ซึ่งมีเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โอกาสในการ Hands-on หรือเพิ่มความเข้าใจทางบัญชี กับกิจกรรมทางธุรกิจมีไม่มากพอ, มี assignment จำนวนมาก ทำให้โอกาสในการไปเรียนรู้สาขาวิชาอื่น ๆ น้อยลง และทำให้หมดพลังงานในการไปร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ที่สนใจ บัณฑิตส่วนมากยังคงเริ่มต้นการทำงานด้วยด้านที่เกี่ยวกับบัญชีส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ไม่ได้มี competency อื่น ๆ และ เพื่อเป็นการสะสมจำนวนชั่วโมง เพื่อการเตรียมสอบ CPA ไว้เป็นทางเลือกในชีวิต การเรียนบัญชีช่วยสร้าง Logical Thinking ซึ่งเป็นข้อดีของสาขาวิชานี้ และได้กระบวนการ measurement ทางบัญชี ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์ค่อนข้างมาก และไปต่อยอดได้หากจะทำธุรกิจเอง ส่วนการเรียนการสอนนั้น เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะทางเสียมาก อาจารย์ผู้สอนก็จะมีความเชี่ยวชาญไปในแต่ละเรื่อง ในบางวิชาใช้อาจารย์หลายท่านในการสอนซึ่งไม่ได้เชื่อมโยงกันเป็นเนื้อเดียว ในบางวิชาเช่น สถิติทางธุรกิจนั้น เป็นพื้นฐานทางสถิติและการใช้สูตรคำนวน ทว่าการตีความข้อมูลทางสถิติมีน้อยจะไม่สามารถเข้าใจได้ และไม่มีภาษาอังกฤษเพื่อการบัญชีโดยเฉพาะ เมื่อต้องไปทำงานในบริษัทต่างชาติ ทำให้เกิดช่องว่างเกิดขึ้น เป็นต้น
ปัจจุบัน Demand ความต้องการนักบัญชียังคงสูง ทว่า Supply ในตลาดแรงงานลดลงเรื่อย ๆ จากหลายปัจจัย จนเกิดเป็นปัญหาขาดแคลนนักบัญชี ซึ่งปัญหานี้สอดคล้องกันกับสาขาวิชาที่เรียนยาก และใช้ความพยายามในการศึกษาสูง ก็มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ทว่าในทางกลับกัน สาขาวิชาบัญชีในกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำยังคงมีอัตราการแข่งขันที่สูง ทั้งในภาคปรกติ และภาคพิเศษ (ภาคเปย๋) ส่วนหนึ่งอาจมาจากอิทธิพลของยุคที่เปลี่ยนผ่านระหว่าง ความคิดของพ่อแม่ Gen X ต้นและกลางที่ยังมีผลต่อการเลือกคณะในการศึกษาต่อในโลกทัศน์ที่ว่าวิชาชีพบัญชีนั้นมีความปลอดภัย และมีรายได้สูงก็เป็นได้ ในปัจจุบันแนวคิดเรื่อง security ในการทำงานด้านบัญชี ได้รับการท้าทายจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning ประกอบกับรูปแบบของธุรกิจกำลังเปลี่ยนแปลงไป เป็น Digitalize มากขึ้น ซึ่งนับเป็นการท้าทาย
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านบัญชี ทั้งในส่วนที่เป็นคณะหลัก หรือ สาขาวิชาในคณะบริหารธุรกิจ อาจจะต้องตัดสินใจปรับเปลี่ยน Vision และ Mission ในการสร้างบัณฑิต อย่างไรเป็นเรื่องน่าสนใจ ซึ่งไม่มีคำตอบชัดเจนว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าในอนาคตสาขาวิชาบัญชีที่ไม่โดดเด่นและปรับตัวช้าอาจจะต้องปิดภาควิชาหรือคณะลง กลุ่มสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับกลางถึงสูงซึ่งเปลี่ยนจากการผลิตนักบัญชีโดยตรงเป็นที่ปรึกษาที่ใช้ทักษะความรู้ด้านบัญชี และงานด้าน Auditing อาจะจะยังคงอยู่ต่อไปได้ เพราะยังมีความต้องการคน แทน AI และ ML อย่างน้อยไปอีก 10-15 ปี ในประเทศไทย (จากปี 2564) เป็นต้น ทางเลือกของสาขาวิชาบัญชีในอนาคตอาจมีทางเลือกดังต่อไปนี้
การเรียนการสอนวิชาบัญชีในปัจจุบันมีความท้าทายหลายประการ เช่น
- ความท้าทายที่เกิดจาก Generation ใหม่ ตั้งแต่นักศึกษารุ่น Millenium เป็นต้นมา ที่เติบโตมาในความเร่งรีบและรวดเร็ว ซึ่งอาจจะขัดกันกับความถูกต้อง รอบคอบ ใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบมาก และมีความละเอียด ซึ่งเป็นธรรมชาติของการทำงานสายบัญขี
- เทคโนโลยีด้านสารสนเทศที่พัฒนารวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อโลกของบัญชี ซึ่งเทคโนโลยีถูกลง เข้าถึงได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น จนเป็นคำถามที่ท้าทายว่าการเรียนการสอบบัญชีจะปรับตัวได้อย่างไร ในโลกที่เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์บนโลกดิจิตอลอาจงานพื้นฐานเกี่ยวกับบัญชี
- โลกธุรกิจที่แข่งขันรวดเร็ว เกิดโมเดลใหม่ ๆ ซึ่งก้าวล่วงหน้าระเบียบด้านบัญชีเสมอ
- มาตรการของรัฐ ที่มีแนวโน้มจำใช้ระบบบัญชีที่เชื่อมโยงกันในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งทำให้งาน routineในการทำบัญชีน้อยลง
การศึกษาด้านบัญชีปรับตัวเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย หลักการทางบัญชีซึ่งเป็นหัวใจสำคัญยังคงอยู่ แต่มีการปรับเปลี่ยนรายวิชา และรูปแบบการเรียนการสอนมากขึ้น และความต้องการของตลาดนั้น ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา โดยนักบัญชีในปัจจุบันจะต้องมี Competency มากกว่าด้านบัญชี การปรับตัวนี้เกิดขึ้นในบางสถาบันการศึกษา ขึ้นอยู่กับ Vision ของสถาบันการศึกษาในสาขาบัญชีที่แตกต่างกันไป เริ่มมีการนำเอาสารสนเทศด้านบัญชีมาเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตสาขาบัญชีมานานแล้ว ซึ่งอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมบัญชี ทว่าความเปลี่ยนแปลงในโลกต้องการ Integrated Knowledge, Skill และมี Competency ด้านต่าง ๆ สถาบันการศึกษาทางบัญชีจะปรับตัวทันหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับการเปิดใจกว้างของทีมบริหาร กับการรับรู้การเปลี่ยนแปลง เพราะในบางสถาบันการศึกษาก็ยังคงอยู่ในโซนอนุรักษ์นิยม บางสถาบันการศึกษาปรับตัวอย่างรวดเร็วแต่ก็ยังช้ากว่าความต้องการของโลกธุรกิจ ทั้งนี้ไม่นับรวมการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานทางบัญชีที่เกิดขึ้นจนภาคการศึกษา และมืออาชีพทางบัญชีก็ตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน
อัตราการทำงานในด้านบัญชี เริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ยุคปลาย Gen Y เป็นต้นมา สถาบันการศึกษามักพบว่าเมื่อเมื่อราว 20-30 ปีก่อน บัณฑิตด้านบัญชีทำงานตรงกับสายวิชาชีพที่เรียนกว่าร้อยละ 90 ทว่าตัวเลขนี้ลดลงมาเรือย ๆ จนปัจจุบันการเรียนในสาขาวิชาชีพทางบัญชี และจบไปทำงานตรงสายวิชาชีพ มีสัดส่วนไม่มาก และบัณฑิตรุ่นใหม่ ๆ มีแนวโน้มจะทำงานด้านอื่น ๆ เช่น เป็นผู้ประกอบการ startup หรือทำงานสายอื่น ๆ และศึกษาต่อในสาขาวิชาอื่น ๆ มากขึ้น
จากการสัมภาษณ์บัณฑิตสาขาบัญชี พบว่าเวลามากของการเรียนหมดไปกับมาตรฐานทางบัญชี ซึ่งมีเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โอกาสในการ Hands-on หรือเพิ่มความเข้าใจทางบัญชี กับกิจกรรมทางธุรกิจมีไม่มากพอ, มี assignment จำนวนมาก ทำให้โอกาสในการไปเรียนรู้สาขาวิชาอื่น ๆ น้อยลง และทำให้หมดพลังงานในการไปร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ที่สนใจ บัณฑิตส่วนมากยังคงเริ่มต้นการทำงานด้วยด้านที่เกี่ยวกับบัญชีส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ไม่ได้มี competency อื่น ๆ และ เพื่อเป็นการสะสมจำนวนชั่วโมง เพื่อการเตรียมสอบ CPA ไว้เป็นทางเลือกในชีวิต การเรียนบัญชีช่วยสร้าง Logical Thinking ซึ่งเป็นข้อดีของสาขาวิชานี้ และได้กระบวนการ measurement ทางบัญชี ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์ค่อนข้างมาก และไปต่อยอดได้หากจะทำธุรกิจเอง ส่วนการเรียนการสอนนั้น เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะทางเสียมาก อาจารย์ผู้สอนก็จะมีความเชี่ยวชาญไปในแต่ละเรื่อง ในบางวิชาใช้อาจารย์หลายท่านในการสอนซึ่งไม่ได้เชื่อมโยงกันเป็นเนื้อเดียว ในบางวิชาเช่น สถิติทางธุรกิจนั้น เป็นพื้นฐานทางสถิติและการใช้สูตรคำนวน ทว่าการตีความข้อมูลทางสถิติมีน้อยจะไม่สามารถเข้าใจได้ และไม่มีภาษาอังกฤษเพื่อการบัญชีโดยเฉพาะ เมื่อต้องไปทำงานในบริษัทต่างชาติ ทำให้เกิดช่องว่างเกิดขึ้น เป็นต้น
ปัจจุบัน Demand ความต้องการนักบัญชียังคงสูง ทว่า Supply ในตลาดแรงงานลดลงเรื่อย ๆ จากหลายปัจจัย จนเกิดเป็นปัญหาขาดแคลนนักบัญชี ซึ่งปัญหานี้สอดคล้องกันกับสาขาวิชาที่เรียนยาก และใช้ความพยายามในการศึกษาสูง ก็มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ทว่าในทางกลับกัน สาขาวิชาบัญชีในกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำยังคงมีอัตราการแข่งขันที่สูง ทั้งในภาคปรกติ และภาคพิเศษ (ภาคเปย๋) ส่วนหนึ่งอาจมาจากอิทธิพลของยุคที่เปลี่ยนผ่านระหว่าง ความคิดของพ่อแม่ Gen X ต้นและกลางที่ยังมีผลต่อการเลือกคณะในการศึกษาต่อในโลกทัศน์ที่ว่าวิชาชีพบัญชีนั้นมีความปลอดภัย และมีรายได้สูงก็เป็นได้ ในปัจจุบันแนวคิดเรื่อง security ในการทำงานด้านบัญชี ได้รับการท้าทายจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning ประกอบกับรูปแบบของธุรกิจกำลังเปลี่ยนแปลงไป เป็น Digitalize มากขึ้น ซึ่งนับเป็นการท้าทาย
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านบัญชี ทั้งในส่วนที่เป็นคณะหลัก หรือ สาขาวิชาในคณะบริหารธุรกิจ อาจจะต้องตัดสินใจปรับเปลี่ยน Vision และ Mission ในการสร้างบัณฑิต อย่างไรเป็นเรื่องน่าสนใจ ซึ่งไม่มีคำตอบชัดเจนว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าในอนาคตสาขาวิชาบัญชีที่ไม่โดดเด่นและปรับตัวช้าอาจจะต้องปิดภาควิชาหรือคณะลง กลุ่มสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับกลางถึงสูงซึ่งเปลี่ยนจากการผลิตนักบัญชีโดยตรงเป็นที่ปรึกษาที่ใช้ทักษะความรู้ด้านบัญชี และงานด้าน Auditing อาจะจะยังคงอยู่ต่อไปได้ เพราะยังมีความต้องการคน แทน AI และ ML อย่างน้อยไปอีก 10-15 ปี ในประเทศไทย (จากปี 2564) เป็นต้น ทางเลือกของสาขาวิชาบัญชีในอนาคตอาจมีทางเลือกดังต่อไปนี้
- ผลิตบัณฑิตที่ยังเน้น competency ทางบัญชีอย่างเดียว ทว่าจะต้องเพิ่มความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี และเน้นสายวิเคราะห์ ตรวจสอบ วางแผนขั้นสูง (สังเกตุได้จากการมีวิชาใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา เช่น การวิเคราะห์บัญชีเชิงลึก (Accounting Data Analytics) หรือ โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานบัญชี (Software Package for Accounting; ซึ่งขออย่าให้เป็นการสอนใช้งาน Software ใด ๆ ตัวหนึ่งที่นักศึกษาปรับใช้งานไม่ได้) เป็นต้น
- ผลิตบัณฑิตด้านบัญชีที่มีมากกว่าหนึ่ง competency เพื่อให้โอกาสกับนักศึกษาได้มีทางเลือกด้านอาชีพโดยมีทักษะที่หลากหลาย หรือ การเพิ่มวิชาที่ Integrated กับบัญชีอย่างเป็นรูปธรรม
- เพิ่มสัดส่วนของ Hands-on ในวิชาที่เป็นการวิเคราะห์ หรือ Accouting Information System มากขึ้น
- หรือทางเลือกอื่น ๆ
หน้าที่และบทบาทของ MonsoonSIM กับสาขาวิชาบัญชี จากการสัมภาษณ์นักศึกษา และบัณฑิตทางบัญชีที่มีประสบการณ์จาก MonsoonSIM
ต่อคำถามที่ว่า ควรนำ MonsoonSIM ไปแทรก หรือมีประสบการณ์ในชั้นเรียนใด คำตอบที่ได้ คือ หากมีโอกาสตั้งแต่ ปี 2 น่าจะเกิดประโยชน์กับการเรียนรู้วิชาหฟลัก และวิชาประกอบต่าง ๆ และเข้าใจมากขึ้น Integrated และเชื่อมโยงได้ง่ายขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับบัณฑิตด้านบัญชี จะเห็นได้ว่าประโยชย์ของ MonsoonSIM อาจไม่เกิดขึ้นโดยตรงกับสาขาบัญชี (เช่น ใช้สอนในมาตรฐานบัญชี หรือบัญชีชั้นสูง) แต่ให้ประโยชน์อื่นๆ และที่สำคัญคือ โอกาสในการมีประสบการณ์ที่นักศึกษาหาได้ยากจากการเรียนในห้องเรียน
ในส่วนของหลักสูตรทางบัญชีทั่วไป มักมีโครงสร้างไม่แตกต่างกัน คือ วิชาหลักทางบัญชี และวิชาพื้นฐานอื่น ๆ (เช่น กลุ่มวิชาการเงิน, กลุ่มวิชาการจัดการ ปละกลุ่มวิชาการตลาด) ซึ่งวิชาเหล่านี้อาจใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือพื้นฐานได้ ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น ดีกว่าการเรียนแบบฟังบรรยายอย่างเดียว
จากประสบการณ์ในฐาน Facilitator คิดว่าวิชาหลักด้านบัญชี และความเข้าใจด้านบัญชี และวิชาอื่น ๆ ที่มักเป็นตัวเลือกในการเรียนบัญชีในหลักสูตรที่มีความใกล้เคียงกันในแต่ละสถาบัน อาจใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือเสริมได้ ดังนี้
- MonsoonSIM เป็นตัวเชื่อมวิชาทางบัญชี กับวิชาอื่น ๆ ที่เป็นส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ทำให้เข้าใจวิชาอื่น ๆ ที่อยู่ในหลักสูตรได้เพิ่มขึ้น เช่น หลักการตลาด, การจัดการการผลิต, การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ, การวางแผนการผลิต และการควบคุมการผลิต ฯลฯ ทำให้เกิดความเข้าใจว่าประโยชน์ของวิชาต่าง ๆ ที่อยู่ในหลักสูตร ว่าบัญชีจะมีบทบาทอย่างไรกับงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ
- ได้ประสบการณ์ในการวิเคราะห์ทางบัญชีการเงินมากขึ้น เพราะเข้าใจที่มาของ record ต่าง ๆ กิจกรรมใน MonsoonSIM มีตัวเลข Record ที่เกิดจากกิจกรรม ทำให้เกิดความเข้าใจในพื้นฐานบัญชีเพิ่มมากขึ้น
- ประสบการณ์พื้นฐานที่เกี่ยวกับวิชา AIS; Accountiong Information System ได้ทดลองวิเคราะห์ข้อมูลที่รู้ที่มาเพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ ก่อนไปยังตัวอย่งาที่ยากขึ้น ซับซ้อนในการเรียนวิชานี้
- MonsoonSIM ทำให้เข้าใจธุรกิจมากขึ้น และมีโอกาสในการที่จะผันตัวเองไปทำงานในด้านอื่น ๆ จากประสบการณ์จำลอง เข้าใจว่าแต่ละงานทำอย่างไรในพื้นฐาน เป็น backup ให้ชีวิต หากไม่ทำงานสายบัญชีโดยตรงหรือสายที่เกี่ยวข้อง
ต่อคำถามที่ว่า ควรนำ MonsoonSIM ไปแทรก หรือมีประสบการณ์ในชั้นเรียนใด คำตอบที่ได้ คือ หากมีโอกาสตั้งแต่ ปี 2 น่าจะเกิดประโยชน์กับการเรียนรู้วิชาหฟลัก และวิชาประกอบต่าง ๆ และเข้าใจมากขึ้น Integrated และเชื่อมโยงได้ง่ายขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับบัณฑิตด้านบัญชี จะเห็นได้ว่าประโยชย์ของ MonsoonSIM อาจไม่เกิดขึ้นโดยตรงกับสาขาบัญชี (เช่น ใช้สอนในมาตรฐานบัญชี หรือบัญชีชั้นสูง) แต่ให้ประโยชน์อื่นๆ และที่สำคัญคือ โอกาสในการมีประสบการณ์ที่นักศึกษาหาได้ยากจากการเรียนในห้องเรียน
ในส่วนของหลักสูตรทางบัญชีทั่วไป มักมีโครงสร้างไม่แตกต่างกัน คือ วิชาหลักทางบัญชี และวิชาพื้นฐานอื่น ๆ (เช่น กลุ่มวิชาการเงิน, กลุ่มวิชาการจัดการ ปละกลุ่มวิชาการตลาด) ซึ่งวิชาเหล่านี้อาจใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือพื้นฐานได้ ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น ดีกว่าการเรียนแบบฟังบรรยายอย่างเดียว
จากประสบการณ์ในฐาน Facilitator คิดว่าวิชาหลักด้านบัญชี และความเข้าใจด้านบัญชี และวิชาอื่น ๆ ที่มักเป็นตัวเลือกในการเรียนบัญชีในหลักสูตรที่มีความใกล้เคียงกันในแต่ละสถาบัน อาจใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือเสริมได้ ดังนี้
ชื่อวิชา |
การเติมประสบการณ์ในชิชาดังกล่าวด้วย MonsoonSIM |
หลักการบัญชีเบื้องต้น |
MonsoonSIM มีเครื่องมือที่ช่วย้ตืมเต็มหลักการบัญชี เช่น สมการบัญชี; คำนิยามเบื้องต้นทางบัญชี, รายการบัญชี (Debit/Credit), หมวดบัญชี เช่น สินทรัพย์, หนี้สิน, ส่วนของผู้ถือหุ้น, รายได้, รายจ่าย หรือบัญชีต่าง ๆ (ซึ่ง MonsoonSIM ร่วมกับ School of Accounting, Daekin University ในการพัฒนา concepts ต่าง ๆ ใน MonsoonSIM) เช่น Balance Sheet, Trail Balance, Profit and Loss, Cash Flow |
ระบบสารสนเทศทางบัญชี |
MonsoonSIM มุมมองเรื่องระบบสารสนเทศ และระบบการจัดการ ERP ซึ่ง Accounting เป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้ และยังเพิ่มมุมมองเกี่ยวกับระบบสาสนเทศเพื่อการบริหารด้านอื่น ๆ ให้นักศึกษาบัญชีด้วย |
หลักการบัญชีต้นทุน |
ใน MonsoonSIM มีต้นทุนประเภทต่าง ๆ เช่น COGS, OPEX, Financial Cost เป็นต้น และกิจกรรมที่เป็นตัวแปรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้นทุน และมีกราฟต่าง ๆ ที่เพิ่มความเข้าใจ และให้นักศึกษาเห็นผลลัพท์จากการบริหารที่ผิดพลาด หรือมีประสิทธิภาพซึ่งสะท้อนต่อต้นทุนในกิจการ |
การบัญชีบริหาร |
MonsoonSIM เป็นเครื่องมือที่ดีในการใช้ปประกอบกับวิชานี้ สร้างประสบการณ์ในการบริหารผ่าน Simulation และมีรายงานทางการเงินของส่วนงานต่าง ๆ เพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และการตัดสินใจ |
การตรวจสอบและควบคุมระบบสารสนเทศทางบัญชี, การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน |
MonsoonSIM นอกจากจะมีรุปแบบบัญชีต่าง ๆ แล้ว ยังจำลองระบบ ERP ซึ่งสามารถ Tracking สืบค้น activity ต่าง ๆ ย้อนหลังได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือเบื้องต้นให้นักศึกษาสามารถเข้าใจ และเรียนวิชานี้ได้เกิดควาามเข้าใจมากขึ้น และมีประสบการณ์จาก Simulation |
การจัดการเชิงกลยุทธฺ, การจัดการผลิต, หลักการตลาด |
วิชาเหล่านี้มักเป็นวิชาเฉพาะบังคับ ซึ่ง MonsoonSIM ให้ประสบการณ์กับนักศึกษาได้ และ เชื่อมโยงกับมิติทางบัญชีได้ |
การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี |
MonsoonSIM เป็นเครื่องมือในวิชานี้ได้ ในระดับพื้นฐานของปริญญาตรี เรื่องจากมีช้อมูลต่าง ๆ รายงานทางการเงิน และยังมี Business Intellgent พื้นฐาน เพื่อสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาด้วย |
วิชาเฉพาะเลือกในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลายวิชายังคงใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือเสริมได้ดี (และดีกว่าการสอนแบบบรรยายแน่นอน) เช่น Business Finacing, Human Resource Management, Entrepreneurship, Introduction to e-Commerce, Operationg Planning and Control, Supply Chain Management, Purchasing, Markrting Management, Marketing and Decision Meeting, Logistics Management เป็นต้น
บทความนี้คงทำให้ท่านผู้สอนในสาขาวิชาบัญชีได้เห็นเครื่องมือที่ช่วยสร้าง และเพิ่ม ความเข้าใจและประสบการณ์ให้กับนักศึกษา ผ่าน MonsoonSIM Business Simulation และ Gamification และประโยชน์จะเกิดกับนักศึกษาสาขาบัญชี สร้างความแตกต่างด้วยการเรียนการสอนทางเลือกให้กับสถาบันของท่าน
บทความนี้คงทำให้ท่านผู้สอนในสาขาวิชาบัญชีได้เห็นเครื่องมือที่ช่วยสร้าง และเพิ่ม ความเข้าใจและประสบการณ์ให้กับนักศึกษา ผ่าน MonsoonSIM Business Simulation และ Gamification และประโยชน์จะเกิดกับนักศึกษาสาขาบัญชี สร้างความแตกต่างด้วยการเรียนการสอนทางเลือกให้กับสถาบันของท่าน