ใน Software ที่ชื่อ MRP; Material Requement Planning ซึ่งเป็นหนึ่งในโมดูลของ MonsoonSIM นั้น ระบบ MRP จะคำนวนปริมาณสินค้าที่ต้องการ หักลบจาก supply (Available inventory) เพื่อแนะนำปริมาณที่ควรจัดซื้อ และระบบ MRP จะสร้าง PO โดยนำปริมาณที่คำนวนได้ ออก PO ให้กับ Preferred vendor ที่ผูกไว้ในระบบ เพื่อลด Operational Lead Time ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยกระบวนการ Procurement ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในธุรกิจที่มีสินค้า , มีสาขา และมี vendor จำนวนมาก
ใบสั่งซื้อ คือ เอกสารยืนยันคำสั่งซื้อที่ออกโดยฝ่ายจัดซื้อของบริษัท ส่งให้กับผู้ขาย (Vendor/Supplier) เพื่อยืนยันการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งอนุโลมเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการค้า ใน PO จะระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เช่น ราคา, จำนวน, วันที่สั่ง, เงื่อนไขต่างๆ (สำหรับในเกมจะพบว่าทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้าเราจะต้องเข้าไปกดยืนยันใบ PO เพื่อการสั่งซื้อสินค้าด้วย หรือในระบบ ERP ใน PO ที่มีปริมาณเงินไม่มากสามารถตั้งให้ผ่านกระบวนยืนยันได้ ทำให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้นในการจัดซื้อ ใน MSIM เรียกว่า Approval Process Control)
ใน Software ที่ชื่อ MRP; Material Requement Planning ซึ่งเป็นหนึ่งในโมดูลของ MonsoonSIM นั้น ระบบ MRP จะคำนวนปริมาณสินค้าที่ต้องการ หักลบจาก supply (Available inventory) เพื่อแนะนำปริมาณที่ควรจัดซื้อ และระบบ MRP จะสร้าง PO โดยนำปริมาณที่คำนวนได้ ออก PO ให้กับ Preferred vendor ที่ผูกไว้ในระบบ เพื่อลด Operational Lead Time ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยกระบวนการ Procurement ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในธุรกิจที่มีสินค้า , มีสาขา และมี vendor จำนวนมาก
0 Comments
การใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ในหัวข้อนี้จะเป็นการพิจารณาถึงประสิทธิภาพในการจัดการพื้นที่ โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการสินค้าคงคลังให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ โดยเป็นการพยายามจัดสรรไม่ให้พื้นที่ร้านมีสินค้าน้อยหรือมากเกินไป อัตราใช้พื้นที่ที่มาก รวมไปถึงปริมาณสินค้าคงคลังที่อยู่ในมือเพื่อการขาย/วัตถุดิบที่ป้อนเครื่องจักรได้อย่างต่อเนื่องสะท้อนถึงความคุ้มค่าในการลงทุนเช่าพื้นที่ ในทางกลับกันหากมีการ Utilize ต่ำ เรียกว่า Waste
ราคาขายสินค้าปลีก การตั้งราคามีผลต่อปริมาณสินค้าที่ขายได้, Margin และรวมไปถึงความสามารถในการทำกำไรด้วย
ใน MonsoonSIM มีรายงานบันทึกการเปลี่ยนแปลง "ราคาขาย" ซึ่งสามารถดูได้จาก Microchart หรือ ในส่วนของ Retails Sales and Price การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า มีปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในหลายปัจจัย เช่น
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงราคาใด ๆ จะต้องตรวจสอบ Profit Margin เสมอ ซึ่งใน MonsoonSIM ท่านสามารถใช้ BI ใน Data Explorer เพื่อตรวจสอบวัดผลการเปลี่ยนแปลงไปควบคู่กัน ทั้งนี้ หากท่านสามารถระบุวัตถุประสงค์ได้อย่างชัดเจน ก่อนใช้กลไกด้านราคา ถือได้ว่าท่านเปลี่ยนแปลงราคาได้อย่างมีเหตุผล จำนวนสินค้าที่คงเหลืออยู่ที่ร้านค้า หรือในคลังสินค้า ณ พื้นที่ใด ๆ อัตราการลดลงของสินค้าที่น้อยลง ทำให้ Unit Remain ยังคงสูง นั่นหมายถึงท่านกำลังมีปัญหาสินค้าไม่สามารถขายได้ ควรพิจารณาแก้ไขปัญหา
จำนวนสินค้าที่ขายได้ ณ ระดับราคาหนึ่ง จำนวนที่ขายได้อาจเพิ่มขึ้นเมื่อมีการลดราคาขายสินค้า หรือ ขายได้ลดลง เมื่อคู่แข่งทำตลาดโดยใช้กลไกด้านราคา (Price) และการประชาสัมพันธ์ (Promotion) หรือ ใช้ Marketing Mix อื่น ๆ ควบคู่กัน การเพิ่มขึ้น Unit Sold อาจหมายถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการทำตลาดได้ผล หรือ อาจเกิดจากคู่แข่งไม่มีความสามารถในการจัดหาสินค้าได้ ใน MonsoonSIM ผู้เรียนสามารถเรียกดูรายงานยอดขายได้ จาก Microchart ใน Retail KPI Box การ monitor ดู Unit Sold จะมีประโยชน์ดังนี้
ในโลกธุรกิจจริง ท่านสามารถหาข้อมูล Unit Sold ได้จากรายงานการขาย และยังมีประโยชน์กับการตรวจสอบ เช่น การนับสต๊อกด้วย การสั่งซื้อสินค้าในปริมาณมากเพื่อให้ได้ส่วนลด แต่ให้ VENDOR ทยอยส่งเป็นรอบๆ เช่น สั่งซื้อสินค้า 50,000 ชิ้นเพื่อรับส่วนลด แต่กำหนดให้ส่งเป็น 5 ครั้ง ครั้งละ 20% ในทุกๆ 5 วัน ซึ่งเมื่อสินค้ามาส่งตามข้อตกลงถึงจะทำการตัดเงินไป วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องมีสินค้าคงคลังมากและสภาพคล่องทางการเงินก็จะยังสูงด้วย
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://blog.procurify.com/2017/02/24/everything-need-know-blanket-purchase-orders/ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องประเภทของการจัดซื้อและผลลัพท์ที่แตกต่างกันได้ที่ https://www.monsoonsimthailand.com/35883635360636343617358836343651359236513609-monsoonsim/-monsoonsim8386184 การจัดส่งทันที หมายถึง หลังจากมีการยืนยันคำสั่งซื้อ (Approved PO) แล้ว VENDOR นั้นจะทำการส่งสินค้าให้ตาม LEAD TIME ที่แจ้งไว้
วิธีการจัดซื้อแบบนี้เป็นวิธีการตามการจัดซื้อทั่วไป ใน MonsoonSIM เป็นการจัดซื้อแบบมาตรฐาน หาก Facilitator ไม่ได้เพิ่มเติมแนวคิดในการจัดซื้อประเภทอื่น ๆ ให้กับผู้เรียน โดยจะมีทางเลือก default เป็น Cash หรือ การชำระเงินเป็นเงินสดทั้นยทีหลังจากที่สินค้าส่งถึงคลังสินค้าปลายทาง หรือ มีรุปแบบการชำระเงินเป็นแบบ Credit ซึ่งจะตัดชำระเงินตามกำหนดระยะเวลาที่ vendors กำหนดเอาไว้ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องประเภทของการจัดซื้อและผลลัพท์ที่แตกต่างกันได้ที่ https://www.monsoonsimthailand.com/35883635360636343617358836343651359236513609-monsoonsim/-monsoonsim8386184 คู่ค้าที่ขายสินค้าให้เรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน การบริหารข้อมูล และความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันจะเกิดประโยชน์ในเชิงประสิทธิภาพ, ต้นทุน ร่วมกัน
ในที่นี้เป็นความหมายอย่างง่าย และใช้คำที่ตรงกันข้ามกัน เพื่อความเข้าใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
Over Supply (อุปทานส่วนเกิน) หรือเรียกว่า Surplus หมายถึง มีความสามารถในการตอบรับความต้องการมากกว่าความต้องการ ทำให้สินค้ามีมากกว่าความต้องการ ทำให้สินค้าเหลือ คงค้าง และจะต้องหาทางระบายสินค้าที่เกินความต้องการออกไป ผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การนำไปขายในตลาดอื่นๆ, การนำมาแปรรูปหรือผ่านกระบวนการให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น เพื่อนำกลับไปขายในตลาดใหม่, หรือ การลดราคา หรือการใช้ Sales Promotion เพื่อขจัดสินค้าที่เกินความต้องการ ปัญหาของ Over Supply ใน MonsoonSIM อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
Under Supply (อุปทานส่วนขาด) หรือ ที่มักเรียกว่า Shortage คือ ปริมาณสินค้าที่เกิดจากกระบวนการ Procure นั้นน้อยกว่าความต้องการจริงของตลาด ทำให้ขาดโอกาส และอาจสูญเสียลูกค้าไปยังคู่แข่งที่มีกระบวนการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพมากกว่า แนวทางการแก้ไขปัญหา อาจทำได้หลายวิธี เช่น หาสินค้าที่มีคุณภาพเดียวกันจากแหล่งอื่น ๆ มาเติมในคลังสินค้า, การใช้กลไกราคาเพื่อชะลอการลดลงของสินค้าคงคลังที่ยังเหลืออยู่, การใช้หลักการของ Safety Stock, การนำเสนอสินค้าทดแทนอื่น ๆ ให้กับผู้บริโภค เป็นต้น |
MonsoonSIM
|