หมายเหตุ:
1) บทความนี้ไม่ใช่บทความด้านวิชาการ
2) ใช้ approach ในเชิง "สังคมศาสตร์" และ "ประวัติศาสตร์" เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่า การผสมผสานแบบไทยนั้น "พิเศษ" เฉพาะทาง และเป็นส่วนหนึ่งของบทความเพื่อให้ท่านเข้าใจ กิจกรรม MonsoonSIM Seminar 2017 ใน Theme Thai-Style Education Transformation in Digital Era
3) โปรดอย่าแสดงความเห็ฯด้วยข้อความรุนแรง
เขียนไว้ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2560 (วิสาขบูชา)
1) บทความนี้ไม่ใช่บทความด้านวิชาการ
2) ใช้ approach ในเชิง "สังคมศาสตร์" และ "ประวัติศาสตร์" เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่า การผสมผสานแบบไทยนั้น "พิเศษ" เฉพาะทาง และเป็นส่วนหนึ่งของบทความเพื่อให้ท่านเข้าใจ กิจกรรม MonsoonSIM Seminar 2017 ใน Theme Thai-Style Education Transformation in Digital Era
3) โปรดอย่าแสดงความเห็ฯด้วยข้อความรุนแรง
เขียนไว้ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2560 (วิสาขบูชา)
การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในประเทศไทย ต้อง "อย่างไทย"
มีความพยายามในการเปลี่ยนแปลงในองค์กรทุกระดับในประเทศไทย ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ โดยมานั้น เอา "แนวคิด" จากแหล่งอื่น ๆ ที่มี "เจ้าภาพ" เชื่อว่าเป็นของดีมาเป็นหลักในการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงโดยมากนั้น ไม่ประสบผลสำเร็จเต็มที่ อาจเป็นเพราะสิ่งที่สำเร็จมาจากต้นแบบนั้นมีปัจจัยไม่เหมือนกันกับ "ปัจจัย" แวดล้อมในการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับ "คนไทย" มีตัวอย่างมากมายที่เมื่อ "เจ้าภาพ" หรือ "ต้นเรื่อง" เห็นว่าดีแล้วนำมาปรับใช้ และเมื่อการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นยังไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะว่า ไม่เข้าใจ "โจทย์" ก็มักจะมีของใหม่ แนวคิดใหม่ มาแทนที่ และลงท้ายด้วยผลลัพท์เดิม ๆ เสมอ
หลากหลายประเด็นเรื่อง ".............อย่างไทย"
ในประวัติศาสตร์ไทย ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบวัฒนธรรมเดิม และวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่มีแต่ "ไทย" เท่านั้น ที่มีอัตลักษณ์ในลักษณะนี้ สิ่งนี้ควรถูกมองเป็นความพิเศษในสังคมที่มีรากเหง้าและปัจจัยกำหนดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทว่า ในค่านิยมของคนไทยนั้น (รวมไปถึงเมืองอื่น ๆ ก็เป็นกัน แค่คนไทยเป็นมากกว่าที่อื่น) ไทยแท้ ไทยเดิม ที่มีบ่อเกิดมากจาก วัฒนธรรมสยามจริง ๆ นั้น "หาได้ยาก" แต่คนไทย (จะเรียกสยามก็ได้) แต่อดีต นั้น เราเป็นชาติที่ "รับเอาทุกอย่างมาดัดแปลงให้เหมาะกับเราเสมอ" และ สิ่งที่เป็นไทยแท้(ตามความเห็นของผู้เขียนซึ่งได้รับอิทธิพลจาก อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ ในฐานะนักเรีัยนประวัติศาสตร์) แน่ ๆ คือ เรามีค่านิยม "ชอบของนอก" ดังนั้นแล้ว สังคมเรียนรู้จากเรื่องนี้ จนหล่อหลอมมาเป็น "อย่างไทย" เช่น
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ที่ทำให้ท่านเห็นว่า ทุกเรื่องที่เราใช้ชีวิตเกี่ยวข้อง เรารู้รับทราบความเป็น "ไทย" นั้น แล้วเรายึดมั่นถือมั่น หรือบางพวกเกลียดการเป็นตัวเอง นั้น ล้วนแล้วแต่ "ผสมผสานเปลี่ยนแปลง" รับเอาสิ่งที่เหมาะสมมาปรับให้เป็น "อย่างไทย" เรื่องแบบนี้มีมานานเกือบ 700 ปี เรามีเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องเรียนรู้จากประวัติศาสตร์มากมาย ทว่า ทำไม ปัจจุบันนี้เราจะเปลี่ยนแปลงอะไร เราลืม "การผสมผสานเปลี่ยนแปลง" และกรุณาอย่าตีความและนิยามคำว่า "อย่างไทย" ในแง่ร้าย เพราะว่า "อย่างไทย" นั้นไม่เคยรับมาทั้งดุ้น เราเปลี่ยนแปลง ดัดแปลง จนเข้ากับ "ตัวเรา" มาแต่อดีต แต่ด้วยความที่ไม่เข้าใจ และเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นของเล่น เมื่อระยะเวลา และตัวเร่งทางสังคม มันทำให้การเปลี่ยนแปลงต้องรวดเร็วขึ้น และ "คนไทย" ที่กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่อยากเปลี่ยนแปลง และไม่ใคราจะลงมือลงแรงช่วยกัน จะใช้คำว่า "Thailand Only" ซึ่งหลังจากนี้ผมพยายามโน้มนำให้เชื่อว่า "Only Thailand" ต่างหาก ที่เราควรทำความเข้าใจ Only Thailand Way ที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลง และจะเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
ผมต้องการจะบอกว่า "อย่างไทย" เป็นการเข้าใจตัวเอง ก่อนที่จะเริ่มบริบทของการเปลี่ยนแปลง ปัญหาในเมืองไทยนั้นเปรียบเสมือนคุณโยนก้อนไหมพรมให้แมวไปฟัดเล่น แล้วพอคุณจะใช้ไหมพรมนั้น คุณจะพบว่า มันพันกันยุ่งเหยิง และท้ายสุด เราก็จะไม่แก้ไขในบริบทเดิม แล้วนิยามมันอย่งาไร้ความรับผิดชอบว่า Thailand Only
มีความพยายามในการเปลี่ยนแปลงในองค์กรทุกระดับในประเทศไทย ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ โดยมานั้น เอา "แนวคิด" จากแหล่งอื่น ๆ ที่มี "เจ้าภาพ" เชื่อว่าเป็นของดีมาเป็นหลักในการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงโดยมากนั้น ไม่ประสบผลสำเร็จเต็มที่ อาจเป็นเพราะสิ่งที่สำเร็จมาจากต้นแบบนั้นมีปัจจัยไม่เหมือนกันกับ "ปัจจัย" แวดล้อมในการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับ "คนไทย" มีตัวอย่างมากมายที่เมื่อ "เจ้าภาพ" หรือ "ต้นเรื่อง" เห็นว่าดีแล้วนำมาปรับใช้ และเมื่อการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นยังไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะว่า ไม่เข้าใจ "โจทย์" ก็มักจะมีของใหม่ แนวคิดใหม่ มาแทนที่ และลงท้ายด้วยผลลัพท์เดิม ๆ เสมอ
หลากหลายประเด็นเรื่อง ".............อย่างไทย"
ในประวัติศาสตร์ไทย ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบวัฒนธรรมเดิม และวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่มีแต่ "ไทย" เท่านั้น ที่มีอัตลักษณ์ในลักษณะนี้ สิ่งนี้ควรถูกมองเป็นความพิเศษในสังคมที่มีรากเหง้าและปัจจัยกำหนดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทว่า ในค่านิยมของคนไทยนั้น (รวมไปถึงเมืองอื่น ๆ ก็เป็นกัน แค่คนไทยเป็นมากกว่าที่อื่น) ไทยแท้ ไทยเดิม ที่มีบ่อเกิดมากจาก วัฒนธรรมสยามจริง ๆ นั้น "หาได้ยาก" แต่คนไทย (จะเรียกสยามก็ได้) แต่อดีต นั้น เราเป็นชาติที่ "รับเอาทุกอย่างมาดัดแปลงให้เหมาะกับเราเสมอ" และ สิ่งที่เป็นไทยแท้(ตามความเห็นของผู้เขียนซึ่งได้รับอิทธิพลจาก อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ ในฐานะนักเรีัยนประวัติศาสตร์) แน่ ๆ คือ เรามีค่านิยม "ชอบของนอก" ดังนั้นแล้ว สังคมเรียนรู้จากเรื่องนี้ จนหล่อหลอมมาเป็น "อย่างไทย" เช่น
- "สถาปัตยกรรม" อย่างไทย ที่นำเอาความงามจากปรางค์ในเมืองพระนคร ซึ่งหากอ้างประวัติศาสตร์ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง และอยุธยาขึ้นมามีอำนาจแทน มรดกที่ได้พบในงานสถาปัตยกรรม เป็นปรางค์เรือนยอดที่ถอดแบบมาจากปราสาทเขมร จำลองแนวคิดจักรวาลวิทยามาในงานสถาปัตยกรรมอย่างไทย เวลาท่านเดินทางไปชม "มรดกโลก" ในนามที่พระนครศรีอยุธยา จะพบหมู่ปรางค์ที่โดดนเด่นสวยงามเช่น ที่วัดไชยวัฒนาราม ที่ช่างไทยถอดแบบมา แล้ว "ผสมผสานเปลี่ยนแปลง" ให้เป็นสถาปัตยกรรมอย่างไทยที่สูงโปร่งขึ้น และกลายเป็น "เอกลักษณ์ไทย"
- "ประติมากรรม" อย่างไทย ที่เมื่อศาสนาพุทธเดินทางผ่านกาลเวลา ความรุ่งเรืองความร่ำรวยความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ศิลปะในรูปแบบงานสถาปัตยกรรมก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน คัมภีร์มหาปุริสสลักษณะ 32 ประการ และความงามพุทธศิลป์จากอินเดียนสกุลช่างต่าง ๆ ถูก "ผสมผสานเปลี่ยนแปลง" และปรับเข้ากับความงานในลักษณะ "พื้นถิ่น" ด้วยการตีความในเส้นสายไทย จนเป็น พระพุทธรูปที่เป็น "เอกลักษณ์อย่างไทย" ตั้งแต่ สกุลช่างสมัยอยุธยาเป็นต้นมา
- "ภาษา" อย่างไทย ที่แปลง "เทวนาครี" เป็นอักษรไทย รับเอาวัฒนธรรมด้านภาษา จากทั้ง จีน ขอม บาลี สันสกฤต รวมไปถึงคำฝรั่ง เข้ามาด้วย เราจึงเป็นภษาที่มีเอกลักษณ์ ในการผันเสียงแบบจีน มีฐานเสียงแบบบาลี สันสกฤต มีความหมายมากมาย จนเป็นภาษาที่ "ร่ำรวยสวยงาม" เป็นเพียงภาษาเดียวในโลกที่ คำหนนึ่งคำมีทั้งสระบน สระล่าง เป็นภาษาเฉพาะชนชั้น และนี่ก็เป็น "เอกลักษณ์" ที่เกิดจากการ "ผสมผสานเปลี่ยนแปลง"
- "ความอร่อย" อย่างไทย ที่เริ่มมีบันทึกทางประวัติศาสตร์จากสมัยกลางอยุธยาจนถึง ดังที่ทราบเรื่อง มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ มารี กีมาร์ (Marie Guimar) หรือ เมื่อคนไทยเรียกอะไรไม่ได้ ก็ปรับให้เป็นไทยเสีย จึงเป็น "ท้าวทองกีบม้า" ที่เอาขนมโปรตุเกส ที่ใช้ แป้ง ไข่แดง น้ำตาล เข้ามา และแม่ครัวไทย ก็ปรับให้ใส่มะพร้าว ถั่ว ซึ่งเป็นของพื้นถิ่น รวมกับ ความหลากหลายด้านรสหวาน จากตาลโตนด ตาลมะพร้าว ตาลอ้อย กะทิ ฯลฯ จนถูกเรียกว่า "ขนมไทย" ยังไม่รวม "มัสมั่นแกงแก้วตา" "ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ" "หมี่กรอบ" ฯลฯ ซึ่งท่านจะพบว่าเราใส่ "ภูมิปัญญาพื้นถิ่น" "ผสมหสานเปลี่ยนแปลง" จนเป็นอาหารที่มี "เอกลักษณ์" อย่างไทย
- "ความศรัทธา" อย่างไทย เช่น ในพระพุทธศาสนาที่ไทยเรียน "ลังกาวงศ์" แต่ที่ลังกา เรียกของเราว่า "สยามวงศ์" หรือ ในความเชื่อปัจจุบันในวัดไทยที่เป็นเถรวาท จะพบความศรัทธาที่หลากหลาย ทั้งมหายาน ฮินดู ปะปนผสมกัน เราเชื่อเรื่องบุญที่เกิดจากการ "ทุ่มเงิน" มากกว่า "การปฏิบัติ" สิ่งเหล่านี้จะดีหรือไม่ดี นั้น ก็ถือเป็นการ "ผสมผสานเปลี่ยนแปลง"
- "ไพเราะ" อย่างไทย เรามีท่วงทำนองที่เป็นของไทยแท้ แต่ต้องตั้งชื่อเป็นทำนองจากต่างถิ่น เช่น เพลงไทยเดิมทั้งหลายที่ชื่อขึ้นต้นว่า "ลาว" ใช่ครับ ลาวดวงเดือน ลาวดำเนินดง ฯลฯ แต่สิ่งนี้มีความแปลกแตกต่าง เพราะว่า บางเรื่องเราก็เป็น Original หรือ "ต้นตำรับ" ทว่า น่าเสียดายที่เรานิยม "ของนอก" ไปจนเราต้องละทิ้งความเป็นต้นฉบับของเราไปซะ ท่านจะไม่พบชื่อเพลงไทยเดิมที่ใช้ชื่อว่าไทย สยาม ฯลฯ (หรือพบได้ยากมาก)
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ที่ทำให้ท่านเห็นว่า ทุกเรื่องที่เราใช้ชีวิตเกี่ยวข้อง เรารู้รับทราบความเป็น "ไทย" นั้น แล้วเรายึดมั่นถือมั่น หรือบางพวกเกลียดการเป็นตัวเอง นั้น ล้วนแล้วแต่ "ผสมผสานเปลี่ยนแปลง" รับเอาสิ่งที่เหมาะสมมาปรับให้เป็น "อย่างไทย" เรื่องแบบนี้มีมานานเกือบ 700 ปี เรามีเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องเรียนรู้จากประวัติศาสตร์มากมาย ทว่า ทำไม ปัจจุบันนี้เราจะเปลี่ยนแปลงอะไร เราลืม "การผสมผสานเปลี่ยนแปลง" และกรุณาอย่าตีความและนิยามคำว่า "อย่างไทย" ในแง่ร้าย เพราะว่า "อย่างไทย" นั้นไม่เคยรับมาทั้งดุ้น เราเปลี่ยนแปลง ดัดแปลง จนเข้ากับ "ตัวเรา" มาแต่อดีต แต่ด้วยความที่ไม่เข้าใจ และเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นของเล่น เมื่อระยะเวลา และตัวเร่งทางสังคม มันทำให้การเปลี่ยนแปลงต้องรวดเร็วขึ้น และ "คนไทย" ที่กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่อยากเปลี่ยนแปลง และไม่ใคราจะลงมือลงแรงช่วยกัน จะใช้คำว่า "Thailand Only" ซึ่งหลังจากนี้ผมพยายามโน้มนำให้เชื่อว่า "Only Thailand" ต่างหาก ที่เราควรทำความเข้าใจ Only Thailand Way ที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลง และจะเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
ผมต้องการจะบอกว่า "อย่างไทย" เป็นการเข้าใจตัวเอง ก่อนที่จะเริ่มบริบทของการเปลี่ยนแปลง ปัญหาในเมืองไทยนั้นเปรียบเสมือนคุณโยนก้อนไหมพรมให้แมวไปฟัดเล่น แล้วพอคุณจะใช้ไหมพรมนั้น คุณจะพบว่า มันพันกันยุ่งเหยิง และท้ายสุด เราก็จะไม่แก้ไขในบริบทเดิม แล้วนิยามมันอย่งาไร้ความรับผิดชอบว่า Thailand Only
8 Steps Process of Change Management เป็นผลงานเขียนของ John Kotter ในหนังสือเรื่อง Leading Change (1966) และเป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่า ทรงอานุภาพในการทางธุรกิจ จาก Time Magazine ในปี 2011 https://en.wikipedia.org/wiki/John_Kotter สิ่งนี้ยกเป็นตัวอย่างวิธีการเปลี่ยนแปลงที่ฝรั่งคิดฝรั่งใช้ ซึ่งเป็นแบบแผนที่ดี ส่วนแนวคิดของ Kotler นั้น ใช้ได้ในสังคมไทย และการเปลี่ยนแปลงอย่างไทยหรือไม่นั้น แน่นอน คงจะต้อง "ผสมผสานเปลี่ยนแปลง" ด้วยกลวิธีแบบไทย ใแต่ละองค์กร สังคม กลุ่มความสนใจที่แตกต่างกันไป
Universal Rule of changing สำหรับจัดการ "อย่างไทย"
เรากลัวว่าถ้าเรา "แบ่งปัน" เราจะหมดหมัดเด็ดที่รัั่งเราไว้กับงานที่เลี้ยงตัวตนและครอบครัว กลายเป็นเราไร้คุณค่า สิ่งที่เราลืม และมันน่ากลัวที่สุดคือ "เราไม่เป็นเจ้าข้าวเข้าของความสำเร็จของประเทศและสังคมนี้ร่วมกัน"
จะเริ่มการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เริ่มที่ "คน" ซึ่งผมเห็นด้วยกับ Kottler ใน Stage 1: Create Condition for Change แต่ในเมืองไทยนั้น เมื่อเข้าสู่ Stage 2: Introduce new practice นี้จะต้องใส่ความเป็น "อย่างไทย" ลงไปให้มาก และต้องเพิ่มเติมคำว่า "์New benefits" ทั้งในระดับส่วนตัว ส่วนงาน ส่วนองค์กร และส่วนประเทศลงไป ส่วนในประเทศไทยนั้น Stage 3: Maintain the Momentum นั้น คงต้องเติมการ "ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จบนค่านิยมไทย" ลงไปประกอบ และทำแบบนี้ในทุก "Quick Win"
"อย่างไทย" นี้จึงบอกที่ถึงแรงบันดาลใจของผู้จัด ที่จะเป็นแนวร่วมในการเปลี่ยนแปลงอันยาก เหมือนก้อนไหมพรมที่พันกัน มันอาจจะอยาก แต่เรามีไหมพรมก้อนเดียว อย่างไรทุกคนก็ต้องร่วมด้วยช่วยแก้
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
11.5.2017
- การเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องเริ่มจาก "แนวคิดใหม่" "ทำวิธีใหม่" "วิธีวัดผลแบบใหม่" "วิธีให้คุณค่าและคำชื่นชนแบบใหม่" ที่สอดคล้องกัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นได้จากวิธีเดิม (เราจะไป ๔.๐ ไม่ได้แน่นอน ถ้าเราทำวิธีเดิม)
- คนส่วนมาก "กลัว" และ "ไม่อยาก" เปลี่ยนแปลง เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงส่วนมากในประสบการณ์ชีวิตของเขา และการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา เป็นเรื่องที่กระทบ "ความสงบสุข" "ความคุ้นเคย" ที่ทำกันเป็นประจำ และ ไม่รู้สึกว่า "จะต้องเปลี่ยนแปลง" คนที่จะลุกขึ้นมาเป็นเจ้าภาพในการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องเข้าใจว่า สิ่งนี้คือสาเหตุของความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงองค์กร หรือเรื่องใด ๆ ที่มี "คน" เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งบางครั้ง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย คิดว่า จะเอา "ระบบ" มาครอบ "คน" ซึ่งความอ่อนแออในวิธีการแบบนี้เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา ท้ายที่สุดถ้า "คน" ไม่เปลี่ยนวิธี หรืออย่างน้อย "ปรับทัศนคติ" ให้เห็นว่าต้องเปลี่ยนแปลง สิ่งนี้จะไม่เกิด ในสังคมไทยเรามีความกลัวในการเปลี่ยนแปลงหลายมิติที่เกิดจากคนและสิ่งแวดล้อมตัวเขา เช่น
- กลัวงานที่มากขึ้น กลัวทำงานไม่เหมือนเดิม
- กลัวที่จะต้องเปลี่ยนแปลงจากความคุ้นเคย ไปเรียนรู้สิ่งใหม่
- กลัวผลตอบแทนที่เท่าเดิมจากงานที่เพิ่มขึ้น
เรากลัวว่าถ้าเรา "แบ่งปัน" เราจะหมดหมัดเด็ดที่รัั่งเราไว้กับงานที่เลี้ยงตัวตนและครอบครัว กลายเป็นเราไร้คุณค่า สิ่งที่เราลืม และมันน่ากลัวที่สุดคือ "เราไม่เป็นเจ้าข้าวเข้าของความสำเร็จของประเทศและสังคมนี้ร่วมกัน"
จะเริ่มการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เริ่มที่ "คน" ซึ่งผมเห็นด้วยกับ Kottler ใน Stage 1: Create Condition for Change แต่ในเมืองไทยนั้น เมื่อเข้าสู่ Stage 2: Introduce new practice นี้จะต้องใส่ความเป็น "อย่างไทย" ลงไปให้มาก และต้องเพิ่มเติมคำว่า "์New benefits" ทั้งในระดับส่วนตัว ส่วนงาน ส่วนองค์กร และส่วนประเทศลงไป ส่วนในประเทศไทยนั้น Stage 3: Maintain the Momentum นั้น คงต้องเติมการ "ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จบนค่านิยมไทย" ลงไปประกอบ และทำแบบนี้ในทุก "Quick Win"
- การตีเหล็กเมื่อร้อน อย่าทิ้งระยะเวลาหากกระแสของการเปลี่ยนแปลงกำลังระอุ ผมเห็นว่าตอนนี้ถึงแม้นว่าพวกเราจะแทบไม่มีใครเชื่อว่า Thailand 4.0 จะทำได้จริง แต่อย่างน้อย ความรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงจากภาคสังคมเริ่มมีมากขึ้น เราแค่ไม่รู้ทิศทาง และห่วง KPI เดิมเยอะไปเสียหน่อย ถ้าหมดช่วงความกระสันต์อยากเปลี่ยนแปลงนี้แล้ว อาจจะต้องรอฤดูกาลใหม่ บน "ชื่อใหม่" แบบที่ประเทศไทยนิยมเปลี่ยนชือ Theme เอา ตอนนี้ใครๆ ก็พูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา อย่าเอาเวลาไปหาว่า "ใคร" หรือ "อะไร" เป็นแพะ ลืมเรื่องเก่าไปบ้าง แล้วเริ่มต้นที่ การเปลี่ยนแปลงสร้างได้ โดยตั้งจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีกลไกขับเคลื่อนที่ชัดเขน มีส่วนเกี่ยวข้องที่ชัดเจน มีรูปแบบที่มั่นคง และพร้อมให้ เกิด "อย่างใครอย่างมัน แต่อย่างไทย" ให้ไปปรับใช้ในบริบท และสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ซึ่ง นี่เป็นหัวใจของการทำ Transformation ในหลักการของสากล และ Digital Transformation ก็เช่นกัน แต่ผนึกเอา "ดิจิตอล" มาร่วมผลักดันให้การเปลี่ยนถ่ายเร็วขึ้น วัดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น รู้ปัญหาเร็วขึ้น ก่อนที่ความรู้สึกในการเปลี่ยนแปลงจะหมดลงในองค์กร (และสังคม) ในเชิง Education Transformaion ก็เช่นกัน
"อย่างไทย" นี้จึงบอกที่ถึงแรงบันดาลใจของผู้จัด ที่จะเป็นแนวร่วมในการเปลี่ยนแปลงอันยาก เหมือนก้อนไหมพรมที่พันกัน มันอาจจะอยาก แต่เรามีไหมพรมก้อนเดียว อย่างไรทุกคนก็ต้องร่วมด้วยช่วยแก้
ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
11.5.2017