Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • V10 Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • COMPETITION >
      • TH Business Data Analytics & Data Visualization
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2022
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Thais Teen Entrepreneurial Project
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM TH SEMINAR >
      • 2023 Education Transformation in Business Data Analytics
      • 2020 K-Practice
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Clip to Lecturer
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
    • MonsoonSIMTG x Alliances >
      • WoW Academy Thailand 2021!!! >
        • WoW Academy Workshop
      • Entrepreneurial Series by BDT and Gamification
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเวลาใน Conceptual Class TH ERM Challenge 2016-2018

8/11/2018

0 Comments

 
Picture
ไฟล์ตัวอย่างของการวางแผนในเรื่องของเนื้อหาต่อจำนวนครั้งที่พบนักศึกษา จากประเทศอินโดนีเซีย (2016 ใน version 4.2)
Sample of content vs meet time
File Size: 44 kb
File Type: xlsx
Download File


ปัญหาคลาสสิคสำหรับ CT ทีมักจะพบเจอเสมอ เกี่ยวกับการจัดการเวลาใน MonsoonSIM ได้แก่ 
      1) ควรใช้เวลากี่วินาที : 1 Virtual day จึงจะเหมาะสม
      2) ควรจะใช้เวลากี่ Virtual days ดี จึงจะเหมาะสม 
      3) ควรจะให้นักศึกษาใช้ MonsoonSIM กี่ครั้ง จึงจะเหมาะสม 

จึงขออนุญาตแบ่งปันประสบการณ์ และแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของเวลา
(ประสบการณ์จาก Conceptual Class ใน TH ERM Challenge 2016-2018 ที่มักเป็นคลาส 1 วัน ซึ่งท่านอาจารย์ CT ที่สอนในหลักสูตรประจำ อาจจะนำไปปรับใช้ได้ครับ) ไว้ดังนี้

ควรใช้เวลากี่วินาที : 1 Virtual day เท่าใดจึงจะเหมาะสม ??
      จำนวนวินาทีที่ท่านสามารถตั้งค่าได้ใน MonsoonSIM ต่อ 1 Virtual day มีระยะเวลาตั้งแต่ 15-90 วินาที ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผมรันคลาสนี้มา มีดังต่อไปนี้

TH ERM Challenge 2016@ 45 Seconds per day
     ในปี 2016 ผมมีความคิดที่ได้รับจากผู้ผลิตว่า ควรให้เกิดประสบการณ์อย่างน้อยขั้นต่ำที่ 200 Virtual days เนื่องจากมีประสบการณ์ในการใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือยังมีน้อยอยู่มากในฐานะ CT มือใหม่ จากคลาสที่ได้ไป observe ที่ประเทศสิงคโปร์ และประเทศฟิลิปปินส์ ได้เห็น CT ในขณะนั้น คือ Abdy Taminsyah และ Alex Ong  ใช้ระยะเวลาต่อวันที่ 45 วินาที และเมื่อประกอบกับ จำนวนเวลาที่มีใน Conceptual Class ในขณะนั้น เนืองจากในปีแรกของ TH ERM Challenge 2018 ใช้วิธีที่เรียกว่า "สอนทุกอย่าง" จึงใช้เวลาในการบรรยายประมาณ 30% ของเวลาที่มี และที่เหลือ 70% ใช้ไปกับการให้นักศึกษาได้ทดลอง MonsoonSIM แบบ Classic Opening Module คือ เปิดไล่ไปตาม Roadmap ที่ท่านเห็นในปัจจุบัน โดยเริ่มต้นจาก 3 โมดูล ไปจนถึง 12 โมดูล ด้วยเวลา 45 วินาที ต่อ Virtual Day ใน Conceptual Class ปี 2016 MonsoonSIM Version 3.08 ยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "Advance Feature" ดังเช่นปัจจุบัน

ความคิดเห็นส่วนตัวสำหรับ 45 วินาที 
  • 45 วินาที ถือเป็นเวลาที่มีความเหมาะสมในขณะนั้น ซึ่งมีปเป้าหมายที่ 200 Virtual Days ในครั้งแรก ที่ 12 โมดูลพื้นฐาน (หากเปรียบเทียบกับในปัจจุบัน ที่ปี 2018 ถือว่าเป็นเวลาที่สั้นเกินไป เนื่องจากผมได้เปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน และประกอบด้วยปัจจัยด้าน Advance Feature ที่มากขึ้น)
  • 45 วินาที : วัน มีประสิทธิภาพโดย เกิดจากการ Demo ให้เห็น Effect ในแต่ละงานที่เกิดขั้น อธิบายรายละเอียดทุกอย่างประกอบ ซึ่งใช้เวาในส่วนนี้ถึง 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมด ก่อนที่จะเข้าสู่เกมที่ให้นักศึกษาสร้างประสบการณ์เอง
  • ข้อดี
    • นักศึกษาจะมีความกระตือรือล้นมาก เนื่องจากถูกบังคับจากกรอบของเวลา (Time Forcement) ทว่าจะต้องแลกด้วยความเหนื่อยล้าในการคิด ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับนักศึกษาทุกคน
    • นักศึกษาเห็นผลที่เกิดขึ้นเร็ว ซึ่งจากลสำรวจในหลาย ๆ ปี นักศึกษาในสาขา บริหารธุรกิจ, การจัดการ ชอบความเร็วระดับนี้มากกว่า ที่ใช้เวลามากกว่านี้ (ุ60 วินาที) ทว่าสำหรับนักศึกษาในสายที่ชอบคำนวน เช่น บัญชี วิศวกรรมศาสตร์ จะชอบระยะเวลาที่ 60 วินาทีมากกว่า
    • ในการร้างประสบการณ์เรื่อง Business Process พื้นฐาน 45 วินาที ทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ 60 วินาที 
  • ข้อเสีย  ที่พบเห็นได้แก่
    • ด้วยเวลาที่สัั้น การคำนวนในระหว่างเกมจะน้อยลง แต่ได้ความตื่นเต้น และความตื่ตัวในชั้นเรียน 
 
การทดลองเพิ่มวินาที : Virtual day เมื่อมีความซับซ้อนมากขึ้น 
       ผมได้ทดลอง โดยใช้ 45 วินาทีต่อวัน เป็นพื้นฐานในปี 2016 และในปี 2017 ได้เปลี่ยนวิธี เนื่องจากเปลี่ยนรูปแบบการทำ Conceptual Class เป็น สอน 50% และค้นคว้าเอง 50% โดยในปี 2017 เริ่มต้น 3 โมดูลพื้นฐาน (FIN,PMN และ RTL) โดยใช้ 45 วินาทีเช่นเดิม ทว่า ทยอยเพิ่มให้ 5 วินาที เมื่อเปิดชุดของโมดูลเพิ่ม เช่น เมื่อเปิด MKT ก็จะเพิ่มเวลา +5 วินาทีเป็น 50 วินาที และเมื่อเพิ่มโมดูลต่าง ๆ ก็จะเพิ่มเวลาให้เป็นขั้นบันได เพราะว่าต้องการให้นักศึกษาได้มีเวลาเพิ่มในการคำนวน

ความคิดเห็นส่วนตัวสำหรับวิธีนี้
  • การเพิ่มเวลาให้อีก 5 วินาที แทบจะไม่มีผลเท่าไหร่ในกระบวนการคิดคำนวนของนักศึกษา ซึ่งทำให้วิธีการนี้แทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเลยสำหรับ Conceptual Class ในปี 2017 จึงได้เปลี่ยนรูปแบบจากการพิ่มโมดูละ 5 วินาที เป็นการหยุดเกมบ่อยขึ้น และให้โอกาสในการคำนวน และวางแผยเพิ่มเติม และต้องเสริมหลักการคิดคำนวนในบางเรื่องให้นักศึกษาผสมกันไป
  • การเพิ่มเวลาแบบนี้ จะมีผลก็ต่อเมื่อ จำนวนโมดูลเปิดเกินกว่า 8-9 โมดูลขึ้นไป ซึ่งเมื่อถึงจำนวนโมดูลดังกล่าว อาจจะมีจำนวนวินาทีต่อวันที่ยาวไป นักศึกษาจะไม่กระตือรื้อล้น

ทดลองที่ 60 วินาที : Virtual Day 
  • ในปี 2018  ได้ปรับวิธีการใช้เวลาในโมดูลพื้นฐานเบื่องต้น เป็น 60 วินาที ตั้งแต่ช่วงแรก สลับกับการ reset ในวันที่ 18 ซึ่งเป็น  Trail Period และเพิ่ม tasks หรือ factors ลงไปแทนในเวลาเท่าเดิม ค้นพบว่าวิธีารนี้ได้ผลมากกว่า โดย ใช้วิธีดังนี้ 
    • เปิดทุกโมดูลในครั้งแรก และรันแบบไม่ brief อะไรเลย จนครบ 18 วัน, Discuss และ Reset เน้นตอบคำถามทุกข้อ และตอนละเอียดมากขึ้นใน  Basic Module ชุดต่อไปที่จะเปิด
    • Reset Day 0 ลดโมดูลเหลือ Basic FIN, PMN  และ RTL เปิดโอกาสให้สนทนา และวางแผนก่อนเริ่มเกม ให้เกมหยุดที่ 18 วัน ประกาศผล เปิดโอกาสให้ Discuss 
    • Reset Day 0 อีกครั้ง เพิ่ม MKT และ FCS โดนให้วางแผนกันก่อนเริ่ม ในระหว่างที่นักศึกษาสนทนากัน เพิ่มจำนวน Vendors หรือ เปลี่ยนวิะีการใน กระบวนการ Procurement เพื่อเพิ่ม tasks หรือเปลี้ยนปัจจัย โดยยังคง 60 วินาทีเช่นเดิม 
    • ทำซ้ำกระบวนการนี้ ทว่า ไม่ reset Day 0 จนถึง WHS และ B2B 
​
ความเห็นส่วนตัวสำหรับวิธีนี้
  • Time forcement กับจำนวน task ที่เพิ่มขึ้น ทำให้นักศึกษาถูกบังคับให้คิดกว้าง และลึกขึ้นกว่าเดิม โดยอาศัยการทำ Group discussion เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม CT จะต้อง Lead กระบวนการนี้เพราะว่านักศึกษาไทยยังไม่คุ้นเคยกับการเรียนแบบนี้
  • โดยส่วนตัวพบว่าเป็นวิธีการที่ได้ผล ทว่าสิ่งนี้ การทดลองนี้เกิดใน คอร์สระยะสั้น ท่าน CT จะต้องลองกระบวนการอื่น ๆ และจะเป็นประโยชน์หากท่านแบ่งปันวิธีการ และ Environment พื้นฐานในคลาสระหว่างกัน 
Picture
ควรใช้กี่ Virtual Days จึงจะเหมาะสม ??
   ใน MonsoonSIM จะสมารถตั้งค่า Virtual Day ได้โดยที่จำนวนวันเสมือน (Virtual Day; VD) สูงสุดที่ทำได้จะแตกต่างกันไปตามประเภทองการ Subscription (Academic 365 Vds, Premier 250 VDs, Standard 200 VDs และ Basic 150 VDs) ทว่าจากประสบการณ์ของผมนั้น ระยะเวลาความยาวนานของ Virtual Day นั้น ไม่ได้เป็นตัวแปรสำคัญในความเห็นส่วนตัว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
  • ความยาวนาน ที่ไม่ได้สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างไม่ก่อให้เกิดประโยชน์  ลองคิดดูว่า หาก CT ไม่ได้เปลี่ยน Configurations ที่หลากหลายเพื่อให้เกิด  "ปัญหา" อันหลากหลายมิติใน Simulation การเล่นที ่ยาวนานขึ้น จะเป็นผลทางลบมากกว่า ด้วยวิธีคิดของเยาวชนทั่วไป (โดยเฉพาะเยาวชนของไทย) ท่าน CT จะต้องเป็นผู้ใช้งานเครื่องมือที่ Powerful 
  • MonsoonSIM ไม่มีข้อจำกัดในการสร้าง Game อยู่ที่ว่าท่านจะ Utilize ให้เิดประโยชน์อย่างไร เมื่อเทียบกับเวลาในชั้นเรียนที่ท่านมี หรือ เวลาที่เจียดมาในการทำกิจกรรมหนึ่ง ๆ ซึ่งมีข้อจำกัดมากอยู่แล้ว จำนวน Virtual Days จึงไม่เป็นประเด็นที่สำคัญ นั่นเพราะว่า ประสบการณ์ควรมีความต่อเนื่อง เพื่อให้ความเข้าใจที่ต่อเนื่อง การวางแผนที่สำคัญควรเป็นว่า จะเน้นประสบการณ์ใดในเวลาที่จำกัด จะเปลี่ยน Configurations อย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 
  • ด้วยประสบการณ์ส่วนตัว ก่อนที่นักศึกษาต่อต่อ "จิ๊กซอว์" ในกระบวนความคิด และ Simulate ตัวเองเป็นภาพ และกระบวนการในระบบการประมวลผลของสมอง การที่ท่าน CT ทำให้จิ๊กซอว์แต่ชะชิ้น มีสี หรือลายอันโดดเด่น เพื่อจะต่อเป็นชุดภาพ (ความรู้ความเข้าใจ) ได้นั้น สำคัญกว่า ผมแนะนำให้ 1 ครั้ง เน้น ทีละประสบการณ์ และอาจจะจัดคลาสอีกครั้งเพื่อเชื่อมประสบการณ์ (จิ๊กซอว์) แต่ละชิ้นมาเข้าด้วยกัน 
​ ขอสรุปในหัวข้อนี้ว่า ความยาวนานของ Virtual Day จัะมีประโยชน์เมื่อ CT เปลี่ยนค่า Run-Time Parameter ระหว่างที่เล่น นั่นเป็นกรณีเดียวจากในหลาย ๆ ร้อยเกมที่ผมมีประสบการณ์มา  หากท่านทำให้สถานการณ์ Static ความยาวนานนี้เป็นดาบสองคม
ควรจะให้นักศึกษาใช้ MonsoonSIM กี่ครั้ง จึงจะเหมาะสม?
     ในหลายปีที่ผ่านมา คำถามนี้ถูกถามบ่อยครั้งในขณะที่นำ MonsoonSIM ไปเสนอตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ผมจะให้คำตอบว่า "ควรนิยามคำว่าเหมาะสมให้ได้ก่อน" ดังนั้น เวลาที่มีการทำ TTT; Traine The Trainer นั้น หากมีเวลา และ CT มีสมาธิเพียงพอ ผมจะไม่ละเลยที่จะชวนคุยในประเด็นนี้ สิ่งนี้คล้ายกับการวางหลักสูตร ว่าจะมีเนื้อหาอะไรบ้าง และในแต่ละวิชา จะใช้เวลาเท่าไหร่ ฉันใดก็ฉันนั้น โดยผมเสนอแนวคิดจากประสบการณ์การจัดการแข่งขันนะคัรบ ซึ่งอาจจะเป็นคนละ approaching กับท่าน CT ทั่วไป
Picture
Picture5 Basic Learning Step ที่ผู้เขียนแนะนำไว้ใน MonsoonSIM Lesson
  • จำนวนครั้งขั้นต่ำที่ควรจะมี คือ 3-4 meets (meets คือ จำนวนครั้งที่นักศึกษาจะได้ประสบการณ์) โดยขั้นต่ำนี้ถูกวางไว้เพื่อการสร้างการเชื่อมโยง, การคิดเชิงจรรกะ, การใช้ข้อมูลพื้นเป็นพื้นฐานการตัดสินใจ
    • ​ครั้งแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อ Familialization หรือความคุ้นเคยใน Interface สร้างความเชื่อมโยงอย่างง่ายในกลุ่มงานที่มี Process ไม่ซับซ้อน 
    • ครั้งที่สอง ถูกนำไปใช้ในการลองถูก หลังจากลองผิดมาแล้วในครั้งแรก รวมไปถึงเพิ่มความซ้อบซ้อนในงานเดิม หรือ ความเชื่อมโยงข้าม Process ที่ยาวขึ้น
    • ครั้งที่สาม จะถูกใช้ในกระบวนการประมวลภาพรวมเพื่อสร้างให้เกิดประสิทธิภาพใน Process เดิม แต่เปลี่ยน task ใหม่
     หลังจากนั้นแล้วต้องแล้วแต่ว่าท่าน CT จะวางแผนขยายประสบการณ์ เพื่อเพิมเติมชุดความรู้อื่น ๆ อย่างไร โดยที่ท่านควรวางไว้บนสมมตุิฐานที่ว่า "ไม่มีเครื่องมือวิเศษใด ทำให้เข้าใจทุกเรื่องทุกประสบการณ์ ในเวลาที่จำกัด" การวางแผนส่งไม้ต่อประสบการณ์ แบบการวิ่งผลัดโดยใช้เครื่องมือ ก็ควรเติบโตไปตามชั้นปี หรือ ความเข้มข้นของเนื้อหา แบบนี้ Tools จะ Powerful
    การควบรวม หรือ การแยก Learning step นั้น ขึ้นอยู่กับแผนของท่าน ซึ่งหมายถึงวัตถุประสงค์หลักที่พอเหมาะพอสมกับเวลา ซึ่งหากท่านเขียนวัตถุประสงค์ไว้ใหญ่โต มาก และซับซ้อน ก็จะพบปัญหาคือ พยายาครอบคลุมทั้งหมดในเวลาจำกัด การเรียนการสอนก็เป็นดั่งที่ท่านเห็นในหลักสูตรโบราณในมหาวิทยาลัย ที่ วัตถุประสงค์ใหญ่กว่าข้อจำกัดนั่นเอง


    สำหรับประสบการณ์ของผม จากรอบซ้อมมือในการแข่งขันนั้น ผมวางแผนดังนี้ครับ 
  • ใช้ Conceptual Class 1 ครั้ง ใน 1-2 วัน เพื่อ cover learning stage 1-2 
  • หลังจากนั้น จะใช้เพื่อการสร้างประสบการณ์ เป็นชุด ๆ ความรู้ไป เช่น 
    • ​Trading Supply Chain + Interediate Finance & Accouting
    • Lead time Optimization on Stock, Area, Customer with Financial Prospect
    • Low margin market and highly Operating expenses
    • Controlling on multiple factors and different measurement 
    • An influence of Supporting activities; HCM & Services Management
    • Problema Scrum 
         ในการแข่งขั้น 2016-2018 ด้วยข้อจำกัดด้านเวลาและเงื่อนไขอื่นๆ ผมจะใช้เวลา Ontop เรื่องเหล่านี้ให้นักศึกษา เพื่อสร้างกระบวนการ Process Management, Financial Management, Supply Chain Management, Human Capital Management ซึ่งในแต่ละตัวจะใช้การเปลี่ยนค่า Run-Time Parameter ระหว่างเกมไปเรื่อย ๆ 

        ขอสรุปให้ท่าน CT ได้เห็นว่า Time Forcement จะช่วยให้เกิด engagement หรือ ทำลาย Engagement ก็ได้ ด้วยเหตุนี้ CT จึงจำเป็น โดย CT ต้องมีความเชี่ยวชาญในการใช้ Observer ในการ Tracking และสร้าง Minor Win ให้นักศึกษาไปเรื่อย ๆ  จะเร็วจะช้านั้น ขึ้นกับวัตถุประสงค์ และ Class Logistics ซึ่งมีเพียง CT ที่เห็นสถานการณ์ในชั้นเรียนเท่านั้นจะตัดสินใจได้ แต่ให้ท่านได้เข้าใจ Concept ของ Time forcement 
       ในส่วนของจะสั้นจะยาว เพียงใด ได้ให้แนวคิดกับท่านไว้ว่า ขั้นอยู่กับประสบการณ์ที่นักศึกษาของท่านจะได้รับ การเปลี่ยนสถานการณ์ การ respond ของนักศึกษา คือ กระบวนการของการสร้างตรรกะ และเมื่อท่านได้ให้โอกาสหลาย ๆ ครั้ง ภาพเหล่านั้น จะชัดขึ้นเอง 
         ขอเป็นกำลังใจให้ท่าน CT มือใหม่ ทุกท่าน ขอให้ท่านเป็น "ศิลปิน" ที่เห็นองค์ประกอบของภาพ แล้ววาดเพิ่ม เปลี่ยนแสงและเงา กำหนดเส้นนำสายตา ไปตาม Class Composition เถิดครับ  

0 Comments



Leave a Reply.

Picture
Picture
Picture
Picture

MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand