ตอนที่ 3: รายละเอียดทักษะแห่งการประกอบการที่พึงมี
หมายเหตุ: บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ เป็นบทความเพื่อการแบ่งปันมุมมองต่อปัญหาของประเทศไทยในวิธีการมองแบบหนึ่งเท่านั้น ซึ่งใน EP ที่ 3 จะนำเสนอ Set of Skills แบบทั่วไปสำหรับทักษะแห่งการประกอบการ โดยเน้นที่ผู้ประกอบการในช่วงเวลาปัจจุบัน (2019) บนปัจจัยแวดล้อมด้านเทคโนโลยี สภาพสังคม ค่านิยม ที่ร่วมสมัยกับช่วงเวลาที่เขียน บทความจะมีความล้าสมัยเมื่อปัจจัยต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป
โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
Related Content:
EP 1 นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
EP 2 ประเภททักษะแห่งการประกอบการ (ในทัศนะของผู้เขียน)
EP 3 ทักษะแห่งการประกอบการที่พึงมี
EP 4 Entreprenuerial Mideset กระบวนคิดและลงมือทำของผู้ประกอบการ
EP 5 ความเข้าใจผิดในการประกอบการในสังคมไทย ช่วยกันเปลี่ยน ช่วยกันปรับ เพื่อประเทศแห่งการประกอบการ
EP 6 มาร่วมสร้าง Eco-System ของสังคมอุดมนักประกอบการ
EP 7 มาเป็น Charles Xavier ให้กับสังคมอุดมนักประกอบการกัน
EP 8 ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร เมื่อเราสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ
หมายเหตุ: บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ เป็นบทความเพื่อการแบ่งปันมุมมองต่อปัญหาของประเทศไทยในวิธีการมองแบบหนึ่งเท่านั้น ซึ่งใน EP ที่ 3 จะนำเสนอ Set of Skills แบบทั่วไปสำหรับทักษะแห่งการประกอบการ โดยเน้นที่ผู้ประกอบการในช่วงเวลาปัจจุบัน (2019) บนปัจจัยแวดล้อมด้านเทคโนโลยี สภาพสังคม ค่านิยม ที่ร่วมสมัยกับช่วงเวลาที่เขียน บทความจะมีความล้าสมัยเมื่อปัจจัยต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป
โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง
Related Content:
EP 1 นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
EP 2 ประเภททักษะแห่งการประกอบการ (ในทัศนะของผู้เขียน)
EP 3 ทักษะแห่งการประกอบการที่พึงมี
EP 4 Entreprenuerial Mideset กระบวนคิดและลงมือทำของผู้ประกอบการ
EP 5 ความเข้าใจผิดในการประกอบการในสังคมไทย ช่วยกันเปลี่ยน ช่วยกันปรับ เพื่อประเทศแห่งการประกอบการ
EP 6 มาร่วมสร้าง Eco-System ของสังคมอุดมนักประกอบการ
EP 7 มาเป็น Charles Xavier ให้กับสังคมอุดมนักประกอบการกัน
EP 8 ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร เมื่อเราสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ
ใน 2 EP ที่ผ่านมาได้เริ่มต้นเรื่องของนิยามของ Entreprenuerial Skills และประเภท (ตามความเห็นของผู้เขียน) สำหรับท่านที่ผ่านมาเจอ EP3 ท่านสามารถดู Link ของ 2 ตอนแรกได้ที่ด้านบนของบทความนี้ครับ และใน EP นี้ จะลงรายละเอียดว่า Entrepernuerial Skills นั้น ตามความเห็นของผู้เขียนน่าจะประกอบด้วยรายละเอียดอะไรบ้าง
ENTERPRENUERIAL SKILLS SET
Integrated Soft Skills Set & Hard Skills Set
Integrated Soft Skills Set & Hard Skills Set
SOFT SKILLS SET
INTEGRATED PERSONAL & INTER-PERSONAL SKILLS
|
HARD SKILLS SET (Knowledge SET)
INTEGRAED ART & SCIENCE
|
ทักษะแห่งประกอบการ เป็นกลุ่มทักษะที่ประกอบด้วยทักหลายชนิดเข้าร่วมกัน โดยมีความจำเป็นจะต้องมีส่วนของ Soft Skills Set และ Hard Skills Set ที่เหมาะสมกับโจทย์ในแต่ละเรือง และตามปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เป็นสำคัญ ผู้ที่มีทักษะแห่งการประกอบการนี้ จะสามารถสร้างส่วนผสมทางทักษะแห่งการประกอบการ (Entreprenuerial Skills MIX) โดยเลือกใช้, ให้นำ้หนักเปลี่ยนไปตามโจทย์ใหม่ ๆ เสมอ นั่นคือ "หัวใจสำคัญ" หลังจากนี้ผู้เขียนจะพาเข้าสู่รายละเอียดของทักษะเหล่านี้
ENTREPRENUERIAL SKILLS SET สำหรับการสร้างให้เกิด อยู่ให้รอด เติบโตให้เป็น และก้าวไปสู่ความยั่งยืน
คลิกที่นี่ เพื่อMindmap การแบ่งประเภท Entreprenuerial Skills ที่ใช้ในบทความนี้ (PDF)
เนื่องจากเพื่อให้ mindmap ไม่ทับซ้อนกัน โปรดพิจาราลูกศรที่เชื่อมโยงไปมาระหว่างกลุ่ม
เนื่องจากเพื่อให้ mindmap ไม่ทับซ้อนกัน โปรดพิจาราลูกศรที่เชื่อมโยงไปมาระหว่างกลุ่ม
- สิ่งแรกที่จะต้องแจ้งแก่ผู้อ่านไว้ก่อน คือ "อย่าแปล" ประเภทและชื่อของ Skills เพราะว่า การแปลเป็นไทยแล้วไม่สามารถสื่อความได้ และต้องแปลจากไทยเป็นไทยอีกอาจไม่จำเป็น ดังนั้นผู้เขียนจึงขอทับศัพท์คำเหล่านี้ด้วยความจำเป็น
- Soft skills set นี้ มีจำนวนของทักษะที่ค่อนข้างมาก เพราะว่า เรื่องใด ๆ ที่นอกขอบเขตของ Knowledge ซึ่งเรียนไม่ได้ สอนให้เกิดไม่ได้ บังคับให้เกิดไม่ได้ ผู้จะได้ทักษะนี้จำเป็นจะต้องพัฒนาด้วยตัวเอง ผ่านประสบการณ์ และการทดลอง ฝึกฝน จึงได้ทักษะที่เพิ่มพูนขึ้น เมื่อมีแล้วทักษะนั้นไม่หาย แต่ความชำนาญอาจพร่องไปตามกาลเวลา แต่ไม่มีการสูญหายของ Soft Skills สิ่งเหล่านี้คือนิยามของ Soft skills ในบทความนี้
- Soft Skills Set จะมีการจัดกลุ่มในหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่า จะเอาไปใช้ในการอธิบายในเรื่องอะไร ซึ่งในแต่ละบทความนั้สน จะมีการจัดประเภทที่แตกต่างกัน ทว่า สาระสำคัญของแต่ละ Soft Skills จะมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งหากท่านจะสร้าง Soft Skills Set ที่เหมาะกับงาน หรือปัญหาของท่านขึ้นมาเอง ก็สามารถทำได้ ในบทความนี้จะใช้เป็นกลุ่ม Soft Skills เพื่อการประกอบการในศคตวรรษที่ 21 ซึ่งเมื่อเขียนเสร็จจะมีความล้าสมัยเช่นความรู้อื่น ๆ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่แวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- ผุ้เขียนเลือกที่จะ "โยนทิ้ง" การแบ่ง Skills ตามอายุของ "ความนิยม" "Set ความรู้ Hard Skills" เนื่องจากไม่มีประโยชน์ในการอธิบาย Soft Skills หากแต่จะมีประโยชน์ในการอธิบายเรื่อง Fundmenatal Hard Skills
- Entreprenuerial Hard Skills Set จะกล่าวไว้เพียง Common Entreprenuerial Hard Skills กับ New Skills เท่านั้น ส่วนความพิสดารที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Innovation ในเชิงสินค้า และสินค้าเพื่อการบริการใหม่หรือบริการที่ดีขึ้นกว่าเดิมนั้น ควรไปศึกษากับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
ENTREPRENUERIAL SKILLS SET จะแบ่งออกเป็น 4 stage ได้แก่ สร้างกิจและธุรกิจให้เกิด, เลี้ยงดูให้อยู่รอด, เติบโตให้เป็นและเข็งแรง, ยืนอยู่ด้วยความยั่งยืน ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน โดยจะมีทักษะที่คาบเกี่ยวใช้ข้ามกันระหว่าง stage และหรือใช้น้ำหนักแตกต่างกันในแต่ละช่วงของธุรกิจ ด้วยความตั้งใจของผู้เขียนคือ ต้องการให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หรือผู้ประกอบการเดิมสามารถที่จะเติมเต็มทักษะตามที่เห็นว่าจำเป็นกับธุรกิจและปัญหาของท่าน และเลือกผสมผสานกัน เนื่องจากในบางธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องมี 4 stages เช่น ในปัจจุบัน ธุรกิจรุ่นใหม่อาจไม่ได้เล็งเห็นถึงความยั่งยืน เนื่องจากเป้าหมายคือ การขายกิจการในขณะที่ยังอยู่ในขาขึ้น เพื่อความต้องการด้านตัวเลข หรือเป็นค่านิยมของยุคสมัยที่แตกต่างกันไปตามเจนเนอเรชั่น หรือ ในบางกรณี จะพบว่าต้องการขนาดที่จำกัด แต่มีความยั่งยืน แสดงว่า stage ของความเติบโต อาจจะไม่มี เช่นผู้ประกอบการสาย Indy เป็นต้น
STAGE 1: Entreprenuerial Skills สำหรับระยะเริ่มต้นกิจงานและธุรกิจ (Build New Business/Project)
เนื้อหาใน stage นี้ จะเหมาะกับ กลุ่มที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจใหม่เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มนักศึกษาที่จะเริ่มธุรกิจทั้งในลักษณะของ Start Up (IDE; Innovation Driven Enterprise) และ SME ในรูปแบบเดิม ๆ เป็นสำคัญ โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ตอน คือ Common Entreprenuerial Hard Skills และ Soft Skills โดย Stage นี้ผู้เขียนนำประสบการณ์จากการเฝ่าดูการแข่งขัน Start Up และ Business Plan ที่เป็นที่นิยมในวงการอุดมศึกษาไทยในช่วง 2017-2018 และค้นพบปัญหาหลายด้านที่ไม่ถูกยกขึ้นมาพูด และยังคงย้ำว่า เนื้อหาในบทความนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ (ด่าได้แต่อย่าแรง)
COMMON ENTREPRENUERIAL SKILLS
(ฐานที่มั่นคง จะช่วยให้ผิดพลาดยากขึ้น ล้มและลุกเร็วขึ้น เมื่อโอกาสใสจะเดินและวิ่งได้เร็วขึ้น)
(ผู้เขียนถึงสถาบันศึกษาระดับปริญญาตรี และ ปวส. สถาบันการศึกษาไม่ว่าสายวิชาใด ๆ ควรมั่นใจว่าได้ส่งมอบ และผังทักษะเหล่านี้ให้กับนักศึกษาก่อนจบการศึกษา)
สาเหตุที่เกิดทีหัวข้อนี้ในบทความ และเป็นจุดเริ่มต้นของการมี 4 ระยะในการทำธุรกิจ ซึ่งจากเดิมตั้งใจจะมีเพียง 3 ระยะเท่านั้น เกิดมากจาก บรรดาการแข่งขัน Thailand Start up ทั้งหลาย รวมไปถึง Business Plan และ Marketing Plan ที่ผู้เขียนบทความรู้สึก "ไม่ฟิน" สาเหตุเป็นเพราะว่า การแข่งขันนั้น อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่งในการเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษา และเยาวชนได้ดี ทว่าการมุ่งเน้นใช้แต่เครื่องมือเฉพาะหรือแนวคิดในบางเรื่อง โดยขาดพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้ประกอบการมันทำให้ขาดโอกาสไป เช่น วิธีการอย่าง Start Up นั้นดี ทว่าเมื่อเป็นในรูปแบบของการแข่งขันแล้ว กระบวนการถูกย่นย่อให้สั้นลง วิธีการที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับการประกอบการ เมื่อผสมผสานกับความขาดประสบการณ์ของเยาวขนที่เช้าร่วมการแข่งขันจึงน่าเสียดายที่มัน "ไม่สุด" ในทรรศนะส่วนตัวของผู้เขียน
ในส่วนของ Hard Skills นั้น หมายถึง "ชุดความรู้" ที่สามารถเรียนและเพิ่มพูนได้ หากแต่ต้องอาศัยการเห็นจริงจากประสบการณ์ Hard Skills นั้นจึงสำแดงฤาธานุภาพได้ ที่กล่างเช่นนี้เพราะว่าการมี Hard Skills อย่างเดียว และต้องไปรอเห็น "ภาพสมมติ" เกิดขึ้นจากประสบการณ์เมื่อลงมือทำงานจริง ๆ นั้น กว่าที่เยาวชนจะมีโอกาสได้พบพานประสบการณ์ที่มาปรับให้ภาพสมมติเป็นภาพจริงนั้น อาจจะต้องใช้เวลาในหน่วยหลายสิบปี กว่าจะเข้าใจจริง ๆ ว่า ทฤษฎีความรู้แบบ Hard Skills นั้นทำงานอย่างไร และอาจจะต้องใช้ ประสบการณ์ ที่ถูกเคี่ยวกรำ จนเกิดเป็น Soft Skills ในการเลือกใช้ Hard Skills ได้อย่างถูกทฤษฎี ถูกเวลา ถูกสถานการณ์ และเป็นไปตามปัจจัยแวดล้อมต่อไป ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกพอสมควรในเรื่องนี้
ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึง Specific Hard Skills ที่นักประกอบการพึงมี เพราะว่ามีความหลากหลายสูง ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ แต่ทว่าจะพูดไปถึง Common Hard Skills ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการที่นักประกอบการควรมีเป็นพื้นฐาน และฝากไปถึงคณาจารย์ในทุกสาขาวิชาในประเทศไทยว่า สิ่งนี้จำเป็นจะต้องถูกบรรจุในหลักสูตรให้มากเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้นักศึกษาหัวสี่เหลี่ยมมีขอบรอบเป็นแบบจิ๊กซอว์เพื่อ plug in ให้เกิดการบูรณาการระหว่าง ความจงใจที่จะสร้างนักวิชาการในขณะที่ตลาดและสังคมต้องการนักประกอบการ โดย Common Hard Skills ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนั้น เป็นวิชาในกลุ่ม Applied Science ซึ่งจะเป็นฐานในการเอาไปผสมรวมเข้ากับ Soft Skills ต่อไป
กลุ่ม Hard Skills พื้นฐานด้านการวัดผลลัพท์ของกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจ
พื้นฐานสำคัญหนึ่งของคนไทย คือ เป็นคนที่ชอบลงมือทำ ทำโดยไม่วางแผน หรือคำนึงถึงผลกระทบ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะใช้เวลาในการถกเกียง มากกว่าการวิเคราะห์แก้ไข และที่สำคัญคือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ลงมือทำไม่สามารถวัดผลได้ กิจกรรมที่วัดผลไม่ได้ เป็นกิจกรรมที่จะพัฒนาปรับปรุงได้ยาก Hard Skills ที่เป็นพื้นฐานของการประกอบการที่จำเป็นจะต้องมี (รู้ในระดับ What, Why, How เบื้องต้นพอใช้เป็นปฐม เพราะหากรู้มากเกินไป หรือที่ผู้เขียนเรียกว่า "สายวิชาเกิน" ความรู้ที่มากเกินไปสร้างความกังวล จนทำให้เกิดข้อจำกัดในการคิดสร้างสรรค์ธุรกิจ และเป็นการคุมกำเนิดการประกอบการ (ความลึกล้ำของเคล็ดวิชาต่าง ๆ ในสาย Hard Skills อาจจะเหมาะกับการประกอบการแบบ Large Enterprise สำหรับ Micro, Small ซึ่งเป็นขนาดของการประกอบในในชั้นนี้ ไม่มความจำเป็น) Hard Skills Set ที่ควรมีเบื้องต้น ได้แก่
กลุ่ม Hard Skills พื้นฐานด้านการเข้าใจสังคมและการทำตลาด
กลุ่ม Soft Skills พื้นฐานในการประกอบการ
คำแนะนำสำหรับเยาวชน หรือ คนที่ทำงานในองค์กร และคิดว่า การประกอบการคือ การทำธุรกิจของตัวเอง (จะกล่างถึงประเด็นนยี้ในหัวข้อถัด ๆ ไป เพราะว่าการประกอบการนั้น มิได้หมายถึง การทำธุรกิจเท่านั้น ทว่าการทำงานทั่วไป ก็ถือเป็นการประกอบการเช่นกัน) สำหรับเยาวชนให้พาตัวเองไปรู้ กล่างคือ หาความรู้เสริมใน เรื่องที่ยังไม่เข้าใจ หลังจากนั้น มีโอกาสให้พาตัวเองทดลอง การศึกษาในระบบ 4 ปี อาจจะไม่ได้ทำให้ท่านมีทักษะจำเป็นเหล่านี้ทั้งหมด แต่ท่านอยู่ในยุคสมัยที่ความรู้หาได้ง่าย เพียงใส่ใจและใส่เวลา สำหรับท่านที่ทำงานในองค์กรและจะผันตัวมาสร้างธุรกิจ หากท่านมาจากองค์กรขนาดเล็ก ให้ท่านมองเจ้าของธุรกิจ และเรียนรู้จุดแข็งจุดอ่อนเพื่อเลือกใช้ และเลือกเติมสิ่งที่ท่านขาด หากท่านมีประสบการณ์ทำงานในองค์กรนาดใหญ่ ท่านจะมองเห็นมิติของการประกอบการที่มีมาตรฐานแต่มากด้วยกระบวนการและขั้นตอน ท่านจะได้รู้ที่จะตัดให้สั้นย่อ และมีหลักในการประเมิน
หากจะต้องรอให้มีทักษะพื้นฐานครบ แบบหลักการเดียวกับการนับหน่วยกิจในระบบการศึกษา เกรงว่า ท่านจะไม่ได้ก้าวสู่โลกของการประกอบการเลย เพราะว่า เป็นการยากยิ่งที่จะมีทักษะพื้นฐานเหล่านี้ในระดับใช้งานได้หากท่านเป็นนักเรียนนักศึกษา หรือหากเป็นวัยทำงาน ที่เนื้องานของท่านไม่ได้สร้างประสบการณ์เลย (ไม่ควรนับอายุนะครับ) ยิ่งจะต้องรอสิ่งที่ท่านเรียกว่า "ความพร้อม = ความกลัว" นั่นเอง นักประกอบการที่ดี คือ การลงมือทำ และเรียนรู้ควบคู่กันไป ผิดพลาดแล้วเรียนรู้ ทำได้ผลเก็บไว้ใช้เมื่อปัจจัยแวดล้อมมีความใกล้เคียงกัน ในภาษานักบริหารหรู แต่ฟุ่มเฟือยจะใช้คำว่า "กลยุทธ์" นักประกอบการเบื้องต้น เพียงรู้วิธีการ และทำได้ ก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องรู้ชื่อวิชาหรือทฤษฎี
เนื้อหาใน stage นี้ จะเหมาะกับ กลุ่มที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจใหม่เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มนักศึกษาที่จะเริ่มธุรกิจทั้งในลักษณะของ Start Up (IDE; Innovation Driven Enterprise) และ SME ในรูปแบบเดิม ๆ เป็นสำคัญ โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ตอน คือ Common Entreprenuerial Hard Skills และ Soft Skills โดย Stage นี้ผู้เขียนนำประสบการณ์จากการเฝ่าดูการแข่งขัน Start Up และ Business Plan ที่เป็นที่นิยมในวงการอุดมศึกษาไทยในช่วง 2017-2018 และค้นพบปัญหาหลายด้านที่ไม่ถูกยกขึ้นมาพูด และยังคงย้ำว่า เนื้อหาในบทความนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ (ด่าได้แต่อย่าแรง)
COMMON ENTREPRENUERIAL SKILLS
(ฐานที่มั่นคง จะช่วยให้ผิดพลาดยากขึ้น ล้มและลุกเร็วขึ้น เมื่อโอกาสใสจะเดินและวิ่งได้เร็วขึ้น)
(ผู้เขียนถึงสถาบันศึกษาระดับปริญญาตรี และ ปวส. สถาบันการศึกษาไม่ว่าสายวิชาใด ๆ ควรมั่นใจว่าได้ส่งมอบ และผังทักษะเหล่านี้ให้กับนักศึกษาก่อนจบการศึกษา)
สาเหตุที่เกิดทีหัวข้อนี้ในบทความ และเป็นจุดเริ่มต้นของการมี 4 ระยะในการทำธุรกิจ ซึ่งจากเดิมตั้งใจจะมีเพียง 3 ระยะเท่านั้น เกิดมากจาก บรรดาการแข่งขัน Thailand Start up ทั้งหลาย รวมไปถึง Business Plan และ Marketing Plan ที่ผู้เขียนบทความรู้สึก "ไม่ฟิน" สาเหตุเป็นเพราะว่า การแข่งขันนั้น อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่งในการเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษา และเยาวชนได้ดี ทว่าการมุ่งเน้นใช้แต่เครื่องมือเฉพาะหรือแนวคิดในบางเรื่อง โดยขาดพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้ประกอบการมันทำให้ขาดโอกาสไป เช่น วิธีการอย่าง Start Up นั้นดี ทว่าเมื่อเป็นในรูปแบบของการแข่งขันแล้ว กระบวนการถูกย่นย่อให้สั้นลง วิธีการที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับการประกอบการ เมื่อผสมผสานกับความขาดประสบการณ์ของเยาวขนที่เช้าร่วมการแข่งขันจึงน่าเสียดายที่มัน "ไม่สุด" ในทรรศนะส่วนตัวของผู้เขียน
ในส่วนของ Hard Skills นั้น หมายถึง "ชุดความรู้" ที่สามารถเรียนและเพิ่มพูนได้ หากแต่ต้องอาศัยการเห็นจริงจากประสบการณ์ Hard Skills นั้นจึงสำแดงฤาธานุภาพได้ ที่กล่างเช่นนี้เพราะว่าการมี Hard Skills อย่างเดียว และต้องไปรอเห็น "ภาพสมมติ" เกิดขึ้นจากประสบการณ์เมื่อลงมือทำงานจริง ๆ นั้น กว่าที่เยาวชนจะมีโอกาสได้พบพานประสบการณ์ที่มาปรับให้ภาพสมมติเป็นภาพจริงนั้น อาจจะต้องใช้เวลาในหน่วยหลายสิบปี กว่าจะเข้าใจจริง ๆ ว่า ทฤษฎีความรู้แบบ Hard Skills นั้นทำงานอย่างไร และอาจจะต้องใช้ ประสบการณ์ ที่ถูกเคี่ยวกรำ จนเกิดเป็น Soft Skills ในการเลือกใช้ Hard Skills ได้อย่างถูกทฤษฎี ถูกเวลา ถูกสถานการณ์ และเป็นไปตามปัจจัยแวดล้อมต่อไป ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกพอสมควรในเรื่องนี้
ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึง Specific Hard Skills ที่นักประกอบการพึงมี เพราะว่ามีความหลากหลายสูง ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ แต่ทว่าจะพูดไปถึง Common Hard Skills ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการที่นักประกอบการควรมีเป็นพื้นฐาน และฝากไปถึงคณาจารย์ในทุกสาขาวิชาในประเทศไทยว่า สิ่งนี้จำเป็นจะต้องถูกบรรจุในหลักสูตรให้มากเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้นักศึกษาหัวสี่เหลี่ยมมีขอบรอบเป็นแบบจิ๊กซอว์เพื่อ plug in ให้เกิดการบูรณาการระหว่าง ความจงใจที่จะสร้างนักวิชาการในขณะที่ตลาดและสังคมต้องการนักประกอบการ โดย Common Hard Skills ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนั้น เป็นวิชาในกลุ่ม Applied Science ซึ่งจะเป็นฐานในการเอาไปผสมรวมเข้ากับ Soft Skills ต่อไป
กลุ่ม Hard Skills พื้นฐานด้านการวัดผลลัพท์ของกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจ
พื้นฐานสำคัญหนึ่งของคนไทย คือ เป็นคนที่ชอบลงมือทำ ทำโดยไม่วางแผน หรือคำนึงถึงผลกระทบ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะใช้เวลาในการถกเกียง มากกว่าการวิเคราะห์แก้ไข และที่สำคัญคือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ลงมือทำไม่สามารถวัดผลได้ กิจกรรมที่วัดผลไม่ได้ เป็นกิจกรรมที่จะพัฒนาปรับปรุงได้ยาก Hard Skills ที่เป็นพื้นฐานของการประกอบการที่จำเป็นจะต้องมี (รู้ในระดับ What, Why, How เบื้องต้นพอใช้เป็นปฐม เพราะหากรู้มากเกินไป หรือที่ผู้เขียนเรียกว่า "สายวิชาเกิน" ความรู้ที่มากเกินไปสร้างความกังวล จนทำให้เกิดข้อจำกัดในการคิดสร้างสรรค์ธุรกิจ และเป็นการคุมกำเนิดการประกอบการ (ความลึกล้ำของเคล็ดวิชาต่าง ๆ ในสาย Hard Skills อาจจะเหมาะกับการประกอบการแบบ Large Enterprise สำหรับ Micro, Small ซึ่งเป็นขนาดของการประกอบในในชั้นนี้ ไม่มความจำเป็น) Hard Skills Set ที่ควรมีเบื้องต้น ได้แก่
- คณิตศาสตร์เบื้องต้น เช่น การเข้าสัดส่วน, การคำนวนแบบใช้ Percentage, บัญญัติไตรยางค์ เป็นต้น
- คณิตศาสตร์เพื่อธุรกิจเบื้องต้น เช่น การคำนวนต้นทุน, กำไรขั้นต้น, กำไรสุทธิ, การคำนวนเรื่อง Return on Investment ฯลฯ
- การบริหารธุรกิจ และการจัดการเบื้องต้น เช่น
- การจัดทำบัญชี และการวิเคราะห์บัญชีเบื้องต้น, รูปแบบของบัญชีประเภทต่าง ๆ เพื่อการประกอบการ, กำดำเนินการด้านบัญชี และเอกสารที่เกี่ยวกับภาษีประเภทต่าง ๆ ของธุรกิจ เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ
- การเงินพื้นฐาน เช่น ที่มาของแหล่งเงินทุน, ต้นทุนทางการเงินประเภทต่าง ๆ, สัดส่วนทางการเงินที่ใช้ประเมินคุณภาพของการประกอบการเบื้องต้น
- กระบวนการทางธุรกิจ และกระบวนการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน ขั้นตอนและ Lead Time ของงานต่าง ๆ, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการติดต่อ
- Basic IT, IS & Digital (IT & Digital Literacy)
- การเลือกใช้เครื่องมือด้าน IT
- Hardware เช่น การเลือก Hardware ที่เหมาะสมกับงาน, Network พื้นฐาน และการจัดการ Hardware เบื้องต้นด้วยตนเอง
- Software เพื่อการประกอบกิจการเบื้องต้น เช่น กลุ่มที่เป็น Spread sheet ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการคำนวน (และต่อยอดทักษะนี้เพิ่มขึ้นต่อไป)
- IT Security เบื้องต้น
- พื้นฐานด้านการใช้ข้อมูล เช่น การเลือกใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประกอบการวิเคราะห์ ผสมกับหลักการวัดผลในการประกอบการ
- ความสามารถในการสร้างรูปแบบข้อมูลเพื่อการสื่อสารที่เกิดประโยชน์, การนำเสนอแผนเพื่อการเพิ่ม stakeholders ในอนาคต
- การใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ + "สัญชาติญาน" หากคุณเป็น Natural Entreprenuer
- ความรู้และทักษะการใช้ Social Media และสื่อออนไลน์ ผสมผสานกับออฟไลน์
- พื้นฐานและหลักการทำตลาดแบบ e-Marketing ด้วยตนเอง
- Computer Graphic และการสร้าง Digital Media เบื้องต้นด้วยตนเอง
- การเลือกใช้เครื่องมือด้าน IT
กลุ่ม Hard Skills พื้นฐานด้านการเข้าใจสังคมและการทำตลาด
- การทำตลาด และการสื่อสารทางการตลาด
- สามารถเข้าใจ และเข้าใจกลไกการใช้ 4Ps / 7Ps Marekting Mix ได้อย่างผสมผสาน (กลยุทธ์พื้นฐานในการทำตลาด)
- สามารถเข้าใจ "โอกาส" และ "อุปสรรค" "จุดเด่น" และ "ความเสี่ยง" ได้ (ให้ผสม SWOT, TOWS และ Five Force เข้าด้วยกันสำหรับสายมากวิชา)
- รัฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์, กฎหมายเบื้องและสิ่งแวดล้อม ต้นสำหรับการประกอบการ (บางส่วนจาก PESTLE)
กลุ่ม Soft Skills พื้นฐานในการประกอบการ
- การระบุปัญหา การยืนยันสภาวะปัญหา และการวิเคราะห์ปัญหา (สำหรับคนไทยนั้น มักไปเริ่มต้นที่ โซลุชั่นในการแก้ปัญหา ด้วย สินค้าหรือบริการเสมอ)
- การแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือนวตกรรมด้านกระบวนการ (สำหรับคนไทยนั้น มักใช้กระบวนการทำซ้ำ เปลี่ยนหน้ากากใหม่)
- PROJECT MANAGEMENT ในการประกอบการขนาดเล็ก หลักของ Agile สามารถปรับใช้ได้ (สำหรับท่านที่ยังเป็นรุ่นพื้นฐาน ยังไม่ต้องสนใจว่า Agile คืออะไร ให้จำว่า ย่อยให้เล็ก ชนะให้ไว เพิ่มกำลังใจ แล้วก้าวต่อไป)
- Decision Making with multiple factors
- การสื่อสาร = การขาย = การนำเสนอ (ในจริตแบบปัจจุบัน จตะใช้คำว่า นำเสนอคุณค่าให้แก่ลูกค้า)
- ทักษะของการสื่อสารพื้นฐานที่สำคัญ ฟัง, พูดและถาม, อ่าน และ เขียน อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางการตลาด คือ "บอกให้กลุ่มเป้าหมายดำเนินการตามที่ต้องการได้"
- การสื่อสารด้วยสติ และมธุรสวาจา
- ศิลปะในการนำเสนอด้าน Non Verbal Language เช่น การใช้ภาพถ่าย, ดนตรี, การใช้กลิ่น และรูปรสสัมผัสอื่น ๆ
- การสร้างมนุษย์สัมพันธ์และองค์กรสัมพันธ์ ด้วย People Skills ขั้นพื้นฐาน ในสมัยผู้เขียนเป็นนักเรียน คุณพ่อจะยื่นหนังสือของ เดล คาร์เนกี้ ให้ ชื่อว่า วิธีชนะมิตร และจูงใจคน
- การ Simulate สถานการณ์ และการรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้พื้นฐานความรู้ และประสบการณ์ผสมผสานกัน
- คุณธรรม และศีลธรรมในการเป็นนักประกอบการที่ดี
- การให้กำลังใจ และสร้าง Self Motivation แก่ตัวเอง และขยับขยายไปยังทีมในอนาคต
- การผสมผสาน และความยืดหยุ่น
คำแนะนำสำหรับเยาวชน หรือ คนที่ทำงานในองค์กร และคิดว่า การประกอบการคือ การทำธุรกิจของตัวเอง (จะกล่างถึงประเด็นนยี้ในหัวข้อถัด ๆ ไป เพราะว่าการประกอบการนั้น มิได้หมายถึง การทำธุรกิจเท่านั้น ทว่าการทำงานทั่วไป ก็ถือเป็นการประกอบการเช่นกัน) สำหรับเยาวชนให้พาตัวเองไปรู้ กล่างคือ หาความรู้เสริมใน เรื่องที่ยังไม่เข้าใจ หลังจากนั้น มีโอกาสให้พาตัวเองทดลอง การศึกษาในระบบ 4 ปี อาจจะไม่ได้ทำให้ท่านมีทักษะจำเป็นเหล่านี้ทั้งหมด แต่ท่านอยู่ในยุคสมัยที่ความรู้หาได้ง่าย เพียงใส่ใจและใส่เวลา สำหรับท่านที่ทำงานในองค์กรและจะผันตัวมาสร้างธุรกิจ หากท่านมาจากองค์กรขนาดเล็ก ให้ท่านมองเจ้าของธุรกิจ และเรียนรู้จุดแข็งจุดอ่อนเพื่อเลือกใช้ และเลือกเติมสิ่งที่ท่านขาด หากท่านมีประสบการณ์ทำงานในองค์กรนาดใหญ่ ท่านจะมองเห็นมิติของการประกอบการที่มีมาตรฐานแต่มากด้วยกระบวนการและขั้นตอน ท่านจะได้รู้ที่จะตัดให้สั้นย่อ และมีหลักในการประเมิน
หากจะต้องรอให้มีทักษะพื้นฐานครบ แบบหลักการเดียวกับการนับหน่วยกิจในระบบการศึกษา เกรงว่า ท่านจะไม่ได้ก้าวสู่โลกของการประกอบการเลย เพราะว่า เป็นการยากยิ่งที่จะมีทักษะพื้นฐานเหล่านี้ในระดับใช้งานได้หากท่านเป็นนักเรียนนักศึกษา หรือหากเป็นวัยทำงาน ที่เนื้องานของท่านไม่ได้สร้างประสบการณ์เลย (ไม่ควรนับอายุนะครับ) ยิ่งจะต้องรอสิ่งที่ท่านเรียกว่า "ความพร้อม = ความกลัว" นั่นเอง นักประกอบการที่ดี คือ การลงมือทำ และเรียนรู้ควบคู่กันไป ผิดพลาดแล้วเรียนรู้ ทำได้ผลเก็บไว้ใช้เมื่อปัจจัยแวดล้อมมีความใกล้เคียงกัน ในภาษานักบริหารหรู แต่ฟุ่มเฟือยจะใช้คำว่า "กลยุทธ์" นักประกอบการเบื้องต้น เพียงรู้วิธีการ และทำได้ ก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องรู้ชื่อวิชาหรือทฤษฎี
สิ่งที่สำคัญยิ่งของ Common Entreprenuerial Skills คือ ส่วนผสม "แกงโฮะที่อูมามิ" ซึ่งเกิดจาก
- ความสามารถในการ (1) เลือก (2) ผสม (3) ดัดแปลง (4) ใช้ (5) วัดผลและ (6) พัฒนา ไปกับปัจจัยเหล่านี้
- (7) ความรู้ (Hard Skills) + (8)การวิจัยสภาพปัญหา + (9) ความจำเป็นหรือผลตอบแทนางธุรกิจ /สังคม + (10)เทคโนโลยี และนวตกรรม + (11) สภาพปัจจัยของสังคมและมนุษย์(ในฐานะตลาด) + (12) ข้อจำกัดด้านทรัพยากร เช่นเวลา, เงินทุน, คน ฯลฯ
- เพื่อ (13) เป้าประสงค์ทางธุรกิจ
เครื่องมือเบื้องต้น:
1) Entreprenuerial Canvas จากกิจกรรม MonsoonSIM Entreprenuerial Boot Camp คลิกที่นี่เพื่อดาวโหลด
2) Project Management Canvas คลิกทีนี่เพื่อดาวโหลด
1) Entreprenuerial Canvas จากกิจกรรม MonsoonSIM Entreprenuerial Boot Camp คลิกที่นี่เพื่อดาวโหลด
2) Project Management Canvas คลิกทีนี่เพื่อดาวโหลด
STAGE 2: Entreprenuerial Skills สำหรับระยะการเลี้ยงธุรกิจ หรือประกอบการให้อยู่รอด
ในขั้นตอนนี้จะวางอยู่บน 2 กรณี เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการสร้างธุรกิจใหม่ หรือ Project ใหม่ หรือ สำหรับกิจการใด ๆ ที่ดำเนินมาได้ระยะหนึ่งแล้วพบกับผลกระทบของกระบวนการ Disruptive และต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ซึ่งต้องแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบอีกเช่นเคยว่า บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ และมีความทันสมัยเฉพาะในช่วงเวลาที่ถูกเขียนขึ้น เนื่องจากโลกในยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างราวเร็ว
Common Entreprenurial Skills จะต้องถูกนำมาเพิ่มน้ำหนักในบางตัว ใน stage นี้ และมีความจำเป็นจะต้องเพิ่ม Specific Hard and Soft Skills เข้าไปเพิ่มด้วย และอย่างที่ผู้เขียนเสนอไว้ Entreprenuerial Skills เป็นศิลปะในการเลือกผสมชุดแห่งทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งไม่มีสูตรลับ และสูตรตายตัว ในขั้นตอนนี้ เราจะต้องมาพิจารณาปัญหาที่พบ ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของการประกอบการในขั้นตอนนี้เสียก่อน สิ่งที่ผู้เขียนเห็นจากประสบการณ์จำลองใน Simulation Software ที่ผู้เขียนใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างประสบการณ์ (MonsoonSIM Simulation) ผู้เขียนพบว่า
หากความสำเร็จง่ายเหมือนกับที่มีการเอากรณีศึกษาของความสำเร็จมาแบ่งปันกัน และสร้างภาพมายาในกับเยาวชนแบบที่สังคมบ้ารวย บ้าความสำเร็จนี้ ยัดเยียดให้ เยาวชนที่จะเป็นนักประกอบการควรมองกลับไปว่า กว่ากรณีศึกษาเหล่านั้นจะมาถึงขั้นตอนที่พวกท่านด่วนสรุปว่า "สำเร็จ" แล้ว นั้น สำเร็จในบริบทแบบใด แต่ที่แน่ ๆ ธุรกิจหรือการประกอบการทั้งหมด จะต้องเริ่มจากการ ตั้งไข่ และอยู่ให้รอด ที่ผู้เขียนเรียกว่า Survival เสียก่อน และการประกอบการที่แท้จริงนั้น มิได้ง่ายเพียงคลิกเม้าส์ หรืออกไปนำเสนอแบบในชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ผู้ที่อยู่รอดหลังจากระยะลูกผีลูกคนในการเริ่มทำกิจการ หรืองานใด ๆ ย่อมผ่านอุปสรรคมากมาย ผ่านระยะที่ทรัพยากรที่มีจำกัด ได้ถูกเพิ่มพูนสะสมทรัพยากรในระยะที่เพียงพอเสียก่อนทั้งสิ้น ทรัพยากรเหล่านั้น เช่น เงินทุน, กำไรสุทธิ, ความเชี่ยวชาญ, วิธีรับมือกับปัญหาในกระบวนการต่าง ๆ ฯลฯ ดังนั้น ขอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่า Common Entreprenuerial Skills จะต้องได้รับการเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าธุรกิจขงท่านจะอยู่ใน stage ที่เหนือไปกว่านี้ คือ เติบโต และความยั่งยืน ทว่า SET ของ KEEN Common Entreprenuerial Skills (ทักศะที่สามารถใช้งานจนเกิดความชำนาญ) จะเป็นกลยุทธ์พื้นฐานของการเติบโต และความยั่งยืนต่อไป และเมื่อผู้ประกอบการและองค์กร สามารถที่จะ เพิ่ม Specific Skills ลงไปได้ จึงจะเริ่มเช้าสู่กระบวนการเติบโตได้ต่อไป ดังนั้นในบทความช่วงนี้จะกล่าวถึง KEEN Common Entreprenuerial Skills ที่อยู่ในระดับ Survival Stage เป็นสำคัญ โดยที่ไม่แยก Hard และ Soft Skills ออกจากกัน
Entreprenuerial Skills for Survival Stage
ในขั้นตอนการสร้างธุรกิจ หรือกิจ(งาน)ใด ๆ ความรู้ที่เป็น Common Entreprnuerial Skills เป็นพื้นฐาน ซึ่งใช้สำหรับกระบวนการวางแผน และประเมินเบื้องต้น ซึ่งในกระบวนการขั้นตอนดังกล่าวจะกินเวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น วัตถุประสงค์ (ซึ่งวัตถุประสงค์ในขั้นแรกสามารถ แบ่งให้เป็นหลายขั้นตอนตามชีดความสามารถ การวางแผนการใหญ่ล่วงหน้า หรีอ Think Big เป็นเรื่องที่ดี ทว่า อาจจะเ็นอุปสรรค ผู้เขียนจึงแนะนำเยาวชนหรือคนทีจะก้าวสู้โลกของการประกอบการว่า ขยับไปทีละขั้น ชนะไปทีละขั้นตอน อย่าโดดลงไปยังเป้าหมายปลายทางที่อาจจะต้องใช้ทรัพยากรเกินว่าการเริ่มต้นถพึงมี) ขนาดของกิจกรรมหรือกิจการ และทรัพยากรที่จะใช้ลงทุนในกิจการนี้ ฯลฯ และดังที่แนะนไปแล้วว่าในชั้นตอนเริ่มต้นกิจกรรมนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมี Common Entreprenuerial Skills แบบครบถ้วนทั้งหมด (แต่ควรมีทักษะละนิดละหน่อย ที่ผู้เขียนเรียกว่าทักษะเป็ด ซึ่งว่ายน้ำได้ บินพอได้) แต่ในระดับที่ความคิดที่ตัดสินใจจะลงมือกระทำแล้ว นั่นหมายถึง กำลังจะลงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในกิจกรรมนั้น ๆ จริง ๆ ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้ Survival ได้
การประกอบการธุรกิจในระยะนี้ อาจจะยังใช้การเน้นหนักไปในบางเรื่องบางมุม ก็ยังจะสามารถอยู่รอดได้ แต่ปัญหาของธุรกิจคือ การย่ำอยู่กับที่ ซึ่งผู้ประกอบการบางรายมีความพึงพอใจในระดับนี้ แต่หากจะก้าวไปสู่ระยะเติบโต มีความจำเป็นจำต้อง "บูรณาการ" คือ ผสมผสานรวมทักษะเหล่านี้และใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขั้นตอนนี้จะวางอยู่บน 2 กรณี เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการสร้างธุรกิจใหม่ หรือ Project ใหม่ หรือ สำหรับกิจการใด ๆ ที่ดำเนินมาได้ระยะหนึ่งแล้วพบกับผลกระทบของกระบวนการ Disruptive และต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ซึ่งต้องแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบอีกเช่นเคยว่า บทความนี้มิใช่บทความทางวิชาการ และมีความทันสมัยเฉพาะในช่วงเวลาที่ถูกเขียนขึ้น เนื่องจากโลกในยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างราวเร็ว
Common Entreprenurial Skills จะต้องถูกนำมาเพิ่มน้ำหนักในบางตัว ใน stage นี้ และมีความจำเป็นจะต้องเพิ่ม Specific Hard and Soft Skills เข้าไปเพิ่มด้วย และอย่างที่ผู้เขียนเสนอไว้ Entreprenuerial Skills เป็นศิลปะในการเลือกผสมชุดแห่งทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งไม่มีสูตรลับ และสูตรตายตัว ในขั้นตอนนี้ เราจะต้องมาพิจารณาปัญหาที่พบ ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของการประกอบการในขั้นตอนนี้เสียก่อน สิ่งที่ผู้เขียนเห็นจากประสบการณ์จำลองใน Simulation Software ที่ผู้เขียนใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างประสบการณ์ (MonsoonSIM Simulation) ผู้เขียนพบว่า
- กลุ่มแรก ได้แก่ เยาวชน และ first jobber ซึ่งเป็นกลุ่มแรกใน 2 กลุ่มตัวอย่างที่บทความนี้ narrow ลงไป มีแนวคิดเรื่อง "รวยเร็ว และรวยง่ายที่สุด" เนื่องจากในยุคปลาย Gen Y ต่อด้วย Gen Z (ประมาณปี พ.ศ. 2559-2562) เยาวชนในช่วงเวลานี้ ตั้งแต่ มัธยมปลาย - มหาวิทยาลัยปี 3 เติบโตมาในบริบททางสังคมที่แวดล้อมด้วยเทคโนโลยี และความรวดเร็ว เขาได้รับข้อมูลของมหาเศรษฐีรุ่นใหม่ที่เกิดจาก นวตกรรมและเทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งไม่แปลกในที่ว่า ค่านิยมเรื่องรวยเร็วและรวยง่าย เป็นของควบคู่กับเจนเนอเรชั่นนี้ กลุ่มนี้ยังรวมไปถึง นขณะที่ กลุ่มคนกลางยุค Y ต่อปลาย ที่พ้นสภาพ first jobber แล้ว และเริ่มเบื่อหน่ายงานในระบบ corporate แบบเดิมๆ ที่ปรับตัวช้า และไม่เข้ากับจริตของคนรุ่น Gen Y เราจะเห็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ ทั้งที่ออกมาทำธุรกิจเต็มตัว หรือ กลุ่มที่นำเวลาส่วนหนึ่งไปทำงานที่ 2 เช่น การค้าขายในรูปแบบ SME, การทำ E-Commerce ความเข้าใจในนฐานะ Technology User ผสมกับความปรารถนา (Passion) เป็นแรงหลักดันหลักในคนกลุ่มนี้
- กลุ่มที่สอง ได้แก่ คนกลุ่มปลายเจน X ถึงต้นและกลาง Gen Y ที่กลับมามองธุรกิจของครอบครัว และพยายามจะทำอะไรกับมัน เป็นกลุ่มย่อยแรก หรือ กลุ่มย่ิยที่สองคือ นำเอา Praticing จากงานที่ทำ และเห็นโอกาสมาสร้างเป็นธุรกิจของตัวเอง เพื่อหลีกหนีความเบื่อหน่าย และอยากเป็นเจ้าของกิจการเพื่อพ้นสภาพการทำงานรูทีนที่แสนจะน่าเบื่อในองค์กร หรือเชื่อเต็มเปี่ยมว่า ด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาระยะหนึ่ง ประกอบกับความรู้ในระดับ ปริญญาโท (ความรู้ในระดับปริญญาโท หรือ Hot Topic ในระดับการอบรมที่มีมากในตลาดเป็นที่นิยมของคนชุดนี้) เป็นแรงผลัดกันหลักในคนกลุ่มนีั้
หากความสำเร็จง่ายเหมือนกับที่มีการเอากรณีศึกษาของความสำเร็จมาแบ่งปันกัน และสร้างภาพมายาในกับเยาวชนแบบที่สังคมบ้ารวย บ้าความสำเร็จนี้ ยัดเยียดให้ เยาวชนที่จะเป็นนักประกอบการควรมองกลับไปว่า กว่ากรณีศึกษาเหล่านั้นจะมาถึงขั้นตอนที่พวกท่านด่วนสรุปว่า "สำเร็จ" แล้ว นั้น สำเร็จในบริบทแบบใด แต่ที่แน่ ๆ ธุรกิจหรือการประกอบการทั้งหมด จะต้องเริ่มจากการ ตั้งไข่ และอยู่ให้รอด ที่ผู้เขียนเรียกว่า Survival เสียก่อน และการประกอบการที่แท้จริงนั้น มิได้ง่ายเพียงคลิกเม้าส์ หรืออกไปนำเสนอแบบในชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ผู้ที่อยู่รอดหลังจากระยะลูกผีลูกคนในการเริ่มทำกิจการ หรืองานใด ๆ ย่อมผ่านอุปสรรคมากมาย ผ่านระยะที่ทรัพยากรที่มีจำกัด ได้ถูกเพิ่มพูนสะสมทรัพยากรในระยะที่เพียงพอเสียก่อนทั้งสิ้น ทรัพยากรเหล่านั้น เช่น เงินทุน, กำไรสุทธิ, ความเชี่ยวชาญ, วิธีรับมือกับปัญหาในกระบวนการต่าง ๆ ฯลฯ ดังนั้น ขอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่า Common Entreprenuerial Skills จะต้องได้รับการเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าธุรกิจขงท่านจะอยู่ใน stage ที่เหนือไปกว่านี้ คือ เติบโต และความยั่งยืน ทว่า SET ของ KEEN Common Entreprenuerial Skills (ทักศะที่สามารถใช้งานจนเกิดความชำนาญ) จะเป็นกลยุทธ์พื้นฐานของการเติบโต และความยั่งยืนต่อไป และเมื่อผู้ประกอบการและองค์กร สามารถที่จะ เพิ่ม Specific Skills ลงไปได้ จึงจะเริ่มเช้าสู่กระบวนการเติบโตได้ต่อไป ดังนั้นในบทความช่วงนี้จะกล่าวถึง KEEN Common Entreprenuerial Skills ที่อยู่ในระดับ Survival Stage เป็นสำคัญ โดยที่ไม่แยก Hard และ Soft Skills ออกจากกัน
Entreprenuerial Skills for Survival Stage
ในขั้นตอนการสร้างธุรกิจ หรือกิจ(งาน)ใด ๆ ความรู้ที่เป็น Common Entreprnuerial Skills เป็นพื้นฐาน ซึ่งใช้สำหรับกระบวนการวางแผน และประเมินเบื้องต้น ซึ่งในกระบวนการขั้นตอนดังกล่าวจะกินเวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น วัตถุประสงค์ (ซึ่งวัตถุประสงค์ในขั้นแรกสามารถ แบ่งให้เป็นหลายขั้นตอนตามชีดความสามารถ การวางแผนการใหญ่ล่วงหน้า หรีอ Think Big เป็นเรื่องที่ดี ทว่า อาจจะเ็นอุปสรรค ผู้เขียนจึงแนะนำเยาวชนหรือคนทีจะก้าวสู้โลกของการประกอบการว่า ขยับไปทีละขั้น ชนะไปทีละขั้นตอน อย่าโดดลงไปยังเป้าหมายปลายทางที่อาจจะต้องใช้ทรัพยากรเกินว่าการเริ่มต้นถพึงมี) ขนาดของกิจกรรมหรือกิจการ และทรัพยากรที่จะใช้ลงทุนในกิจการนี้ ฯลฯ และดังที่แนะนไปแล้วว่าในชั้นตอนเริ่มต้นกิจกรรมนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมี Common Entreprenuerial Skills แบบครบถ้วนทั้งหมด (แต่ควรมีทักษะละนิดละหน่อย ที่ผู้เขียนเรียกว่าทักษะเป็ด ซึ่งว่ายน้ำได้ บินพอได้) แต่ในระดับที่ความคิดที่ตัดสินใจจะลงมือกระทำแล้ว นั่นหมายถึง กำลังจะลงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในกิจกรรมนั้น ๆ จริง ๆ ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้ Survival ได้
- ความรู้ และความสามารถการเปลี่ยนความรู้เป็น Action
- เกี่ยวกับการสร้างรายได้ให้กับองค์กร Income, สภาพคล่องทางการเงิน และกำไรสุทธิ ที่สอดคล้องกับ (การอยู่รอด, การเติบโต) ของกิจการ เป็นหัวใจสำคัญของการประกอบการทางธุรกิจ, การยอมรับ และร่วมลงมือเป็นหัวใจของ Project ในการประกอบการ ซึ่งจะเน้นหนักในการประกอบการเชิงธุรกิจเป็นสำคัญ ส่่วนการประกอบการในลักษณะงานอื่น ๆ นั้น หากท่านเข้า "หัวใจ" ของแต่ละประเด็น ท่านก็จะปรับใช้กับรูปแบบต่างๆ ของการประกอบการได้ (ถือเสียว่าฝึก Soft Skilling)
- ความสามารถในการบรรลุแผนธุรกิจ หรือ ปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจ แผนธุรกิจที่ถูกวางไว้ในกระบวนการสร้าง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่อได้ลงมือปฎิบัติ และเห็นผลในช่วงต่าง ๆ และบ่อยครั้งที่แผนในอุดมคติ หรือถอดแบบจากระบบวิชาการ อาจใช้งานไม่ได้กับโลกแห่งความจริง
- ความสามารถในการหารายได้ เพื่อหล่อเลี้ยงธุรกิจ เนื่องจากการประกอบการที่เริ่มต้น หากเป็นรายเล็กมักอาศัยทุน เริ่มต้น และไมว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ (สินค้าและหรือบริการ) จะยังไม่สามารถขายได้ในตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของการประกอบการเชิงธุรกิจที่เริ่มต้นทั้งสิ้น (เรื่องนี้มักถูกขยายความว่ากฎเรื่อง 3 ปี หมายึง ธุรกิจที่อยู่รอดใน 3 ปีแรก จะมีโอกาสพ้นระยะ survival นี้ เพราะ ปีแรกมักจะหลอกตัวเองว่าเรายังใหม่ ปีที่สองจะใช้คำอธิบายว่าน่าจะเริ่มดีขึ้น และปีที่สามก็หมดทุนและขาดสภาพคล่องพอดี)
- ความสามารถในการคัดกรองส่วนของรายได้ที่เป็นตลาดจริงของการประกอบการ ธุรกิจ หรือโครงการใด ๆ ที่เริ่มต้นใหม่ มักเป็นที่สนใจ เป็นระยะตบตาผู้ประกอบการให้เพลิดเพลินไปกับ "กระแสอยากลองของใหม่" ทว่าเมื่อพ้นระยะนี้แล้ว จะเหลือแต่ รายได้จริงจากลูกค้าจริง ดังนั้นผู้ประกอบการควรมีความสามารถในการคัดกรอง เพราะรายได้ที่เกิดในช่วงแรกของกิจการอาจไม่ใช่รายได้แท้จริงเสมอไป และจะทำให้เกิดการบิดเบือนของแผนธุรกิจ และความ Bias ในฐานะผู้เสพติดความสำเร็จ
- ความสามารถในการเข้าใจตลาด ขยายตลาด และ ทำตลาด หากใช้ความคำสวยหรูในโลกปัจจุบัน (2019) จะอธิบายว่า บางครั้งลูกค้าที่เราเชือว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายอาจจะถูกบางส่วน และอาจจะมีลูกค้าอืน ๆ ที่นอกเหนือจากการคากการณเป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจสภาพการณ์ของตลาดที่แท้จริง ในกรณีที่มีความคลาดเคลื่อนในกลุ่มเป้าหมาย ก็ให้ปรับตัวให้ทัน เปลี่ยนวิธีการสื่อสาร วิธีการขาย ไปตาม Customer Juourney นั่นเอง แปลว่าภาษาบ้าน ๆ คือ อย่าหลอกตัวเอง และเปลี่ยนิวธีการหารายได้เสียให้ทันเกม
- ความสามารถในในการใช้เครื่องมือในโลกดิจิตอล ทักษะนี้ต้องผสมทั้ง Hard และ Soft Skills เรื่อง Digital Litearcy เพื่อให้ตรงกับยุคสมัย อย่างน้อยจะต้องรู้จักการ+สื่อสาร และการขายด้วยโลกดิจิทัลผ่าน Platform ต่าง ๆ รู้จักคาวมสามารถของเครื่องมือด้านดิจิทัล และความเสี่ยง เพื่อเลือกใช้อย่างเหมาะสม และจะต้องเน้นหนักที่ Organic Engagement เสียก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเข้าส่ระบบ Paid Engaagment ในโลกดิจิทัล
- เกี่ยวกับการบริการจัดการด้านเป็นฐานกำลังในการสร้างการจัดการธุรกิจ และองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การจัดการมีหลักสำคัญ เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันในทางธุรกิจ, เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการให้ลื่นไหล และสามารถจัดการต้นทุนได้อย่างเหมาะสมบนหลักของการจัดการทรัพยากร (Resources Management) ผู้เขียนได้แนะนำชุดของการจัดการแบบสากล ซึ่งอาจจะฟังแล้วดูไม่เข้ากันกับธุรกิจสร้างใหม่ขนาดเล็ก แต่สำหรับกลุ่มที่จะปรับธุรกิจเดิมนั้นมีประโยชน์ยิ่ง และเป็นประโยชน์สำหรับการเติบโตในระยะต่อไปของธุรกิจใหม่ จึงได้แนะนำไว้เป็น Set ตามรายละเอียดข้างล่างนี้
- FRM; Financial Resources Management เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจทุกระยะสามารถดำเนินการได้ โดยในระยะของ Survival นี้ ผู้ประกอบการชาวไทยมักมีปัญหา เช่น การไม่ทำบัญชี หรือการทำบัญชีหลายเล่ม ทำให้ไม่ทราบสถานะที่แท้จริงของการประกอบการ หรือการไม่หมั่นตรวจสุขภาพทางการเงินเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ที่แน่ ๆ คือ พยายามหลีกเลี่ยงเรื่องเรื่องของบัญชี และการเงิน โดยไม่พยายามทำความเข้าใจ
- OM; Operation Management การบริหารกระบวนการ ซึ่งผู้ประกอบการอาจนิ่งเฉย ทั้ง ๆ ที่การลงมาปรับปรุงกระบวนการในกาดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพ อาจหมายถึง ต้นทุนที่น้อยลง หรือ การสูญเสียเวลาที่น้อยลง และทำให้กระบวนการต่อไปทาง Supply Chain ไหลได้สะดวกขึ้น พอกล่าวถึงเรื่องนี้ผู้ประกอบการรายย่อย รายใหม่ จะส่ายหัว จะต้องลงทุนสูง ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไป นักประกอบการควรเริ่มจากกระบวนการ OM ที่ประหยัดและสามารถทำได้ด้วยการลงทุนน้อยที่สุดไว้ก่อน เพราะว่านี่คือระยะ Survival และโดยมาก ผู้ประกอบการที่ไม่มี Common Entreprenuerial Skills มักจะมีต้นทุนส่วนนี่มากในระยะแรก เนื่องจากไม่มีความชำนาญในบางเรื่อง และจำเป็นจะต้อง outsourcing หรือมีพนักงานจำนวนมากเพื่อให้ครอบคลุมงานที่ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้ ซึ่งมักเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพคล่องตามมา
- SCM; Supply Chain Management หากการประกอบการใด ๆ ที่มีความจำเป็นจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยของกิจกรรมทั้งภายนอก และภายในองค์กร ให้นำเอาหลักบริหารจัดการโซ่อุปทานมาปรับใช้ ซึ่งหัวใจของการบริหารจัดการนี้ คือ ลดรอยต่อระหว่างกระบวนการ ลดการรอคอยระหว่างกระบวนการ ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็น และใช้การวางแผนที่เกิดจากการคำนวนในวัตถุประสงค์เดียวกันร่วมกัน ในทางปฏิบัติอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากทั้งในหน่วนงานภายใน (ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ) และอาจจะยากกว่าสำหรับหน่วยงานภายนอก (ซึ่งไม่แน่เสมอไป) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และระบบทีมองค์กร ผู้ประกอบการรายย่อยและรายเล็ก ที่ไม่ได้วางกระบวนการที่เชื่อมโยงกัน หรือมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในองค์กรมักจะประสบปัญหานี้ ซึ่งวิธีแก้ไข คือ การลงไปดูรายละเอียดในแต่ละกระบวนการเพื่อหา จุดที่เกิดปัญหา และสาทางแก้ไข ด้วยความร่วมมือกันภายในองค์กร หรือ stakeholders อื่น ๆ ในสายโซ่อุปทาน
- HCM; Human Capital Management ผู้ประกอบการายย่อยและหรือหน้าใหม่ มักจะเริ่มจากจำนวนคนในทีมไม่มาก ในกรณีที่มีเงินทุนสำรองจำกัด หากอยู่ในสถานะเช่นนี้ นักประกอบการและต้องการอยู่ให้รอด จำเป็นจะต้อง หันหน้าเข้าชนกำแพงของ Competency ที่ตนเองไม่ถนัด เพื่อสร้างทักษะอื่น ๆ ตามข้อจำกัดทรัพยากร และเพื่อลดต้นทุนในการประกอบการให้ได้ ในกรณีที่มีจำนวนผู้ร่วมงานในทีม การฝึกฝน "ตัวตายตัวแทน" ในงานที่ทำให้มี Competency ที่ทำงานแทนกันได้ ทำให้ลดสภาวะความเครียม และยังเป็นการสร้างทีมให้แข็งแกร่ง เมื่อโอกาสในการเติบโตมาถึง เขาเหล่านี้จะสามารถไปสร้างทีมได้ต่อไป ส่วนรายละเอียดด้าน HCM ที่มากขึ้นและมีรายละเอียดมากขึ้น จะมีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจก้าวหน้าไปสู่ระยะถัดไป หรือในกรณีที่ธุรกิจเกิดปัญหาย่ำอยู่กับที่ เพียงไปรอด เพราะบุคคลที่เป็นแกนหลักเพียงจำนวนน้อย ยิ่งต้องพัฒนาทักษะด้านนี้ให้กับคนอื่นๆ รอบตัวด้วย
- CSRM; Customer and Stakeholders Relationship Management ผู้เขียนขอเปลี่ยน Terminology ของ S ซึ่งในระบบการจัดการแบบเดิม ใช้แทนคำว่า Supplier เป็น Stakeholder เพื่อขยายความให้กว้างขึ้น เพราะว่า "ความสัมพันธ์" เป็นเรื่องที่จะต้องดูแลจัดการ ในทุกระดับ โดยปรกติองค์กรจะมุ่งความสนใจไปที่ "ลูกค้า" เป็นหลัก เพราะว่าลึกค้าคือที่มาของรายได้ ทว่า ในการจัดการสมัยใหม่อาจจะต้องเพิ่มความสนใจไปยัง Stakeholder Relationship Managent ที่อยู่ในสายโซ่อุปทาน เพิ่มขึ้น ในธุรกิจที่เริ่มตั้งไข่ การจัดการ Stakeholder จะเป็นฐานหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อใจ ความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของ People Management ที่นักประกอบการควรให้ความสำคัญ และ จะยิ่งเพิ่มพูนความสัมพันธ์มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ในระยะต่อ ๆ ไป
- เกี่ยวกับการวัดผล Measurement and Matrix เท่าที่จำเป็นสำหรับ Survival Stage การวัดผลเป็นสิ่งที่มีความผิดพลาดจากมุมมองของผู้เขียน คนไทย ค่านิยมการทำงานแบบไทย และหมายรวมถึงเป็นประชากรหลักของผู้ประกอบการในไทยด้วยนั้น มักจะทำงานใด ๆ โดยไม่งัดผล หรือ ตกแต่งผลให้ออกมาสวยงามเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง ๆ เพราะคนไทยชอบความสำเร็จ และบางครั้งความสำเร็จปลอม ๆ ก็นำมาซึ่งปัญหาของการประกอบ การวัดผลนั้น มิได้มีจุดประสงค์เพื่อให้คุณให้โทษรายบุคคล หรือรายแผนก แต่ค่านิยมของคนไทยเป็นเช่นนี้ การวัดผลช่วยให้เห็นถึงคุณภาพของการดำเนินการ, ปัญหาต่าง ๆ ในระกว่างหารปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งนำมาซึ่งกการแก้ไขปัญหา และทุกกิจกรรมในทุกกระบวนการควรวัดผลได้ ทว่า สำหรับผู้ประกอบการในระยะอยู่ให้รอดนี้ ผู้เขียนขอเสนอการวัดผลง่าย ๆ
- ความสามารถในการวัดผลเพื่อทราบ "ต้นทุนในการประกอบการที่แท้จริง", "อัตรากำไรที่แท้จริง", "Cash flow ที่แท้จริง"
- ความสามารถในการวัดผลเพื่อทราบ "ปัญหา" และนำไปปรับปรุงกระบวนการในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการทางธุรกิจ และความสั่นยาวของโซ่อุปทานของการประกอบการเป็นสำคัญ เช่น การวัดประสิทธิภาพในงานต่าง ๆ เช่น งานจัดซื้อ, งานผลิต, งานขาย, งานบริการ เป็นต้น
- เกี่ยวกับความรู้รอบตัว และสิ่งแวดล้อมสำรับการประกอบการรอบตัว เพื่อประกอบการตัดสินใจ โบราณว่าเอาไว้ ด้วยภาษิตที่ว่า รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง, เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาคาม, พี่ลอดตาช้าง ห่างรอดตาเล็น ล้วนสอนให้เกิดการสังเกตุและเข้าใจ "บริบท" รอบตัว ผู้ประกอบการที่มีความเข้าใจ และสามารถปรับตัวได้ทัน มักจะเป็นผู้อยู่รอดเสมอ เพราะว่าผลจากการสังเกตุบริบทรอบตัว จะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจ
- Marketing Mix integrated with PESTEL (Political, Ecomony, Social, Technology, Environmental, Legal) = Change and Adaptive Ability ตัวอย่างเช่น Action ของผู้ประกอบการธุรกิจ กับ ค่านิยมหรืออารมณ์ของคนในสังคม ในกรณีเกิดข้อพิพาท หรือความผิดพลาด ถ้าไม่รู้อีร้าค่าอีรมณ์ ความพยายามทั้งหมดในการสร้างการประกอบการอาจพังได้ในระยะเวลาเพียงข้ามคืน ในโลกที่ทุกคนมีสื่อในมือ เป็นต้น
- เกี่ยวกับการสร้างรายได้ให้กับองค์กร Income, สภาพคล่องทางการเงิน และกำไรสุทธิ ที่สอดคล้องกับ (การอยู่รอด, การเติบโต) ของกิจการ เป็นหัวใจสำคัญของการประกอบการทางธุรกิจ, การยอมรับ และร่วมลงมือเป็นหัวใจของ Project ในการประกอบการ ซึ่งจะเน้นหนักในการประกอบการเชิงธุรกิจเป็นสำคัญ ส่่วนการประกอบการในลักษณะงานอื่น ๆ นั้น หากท่านเข้า "หัวใจ" ของแต่ละประเด็น ท่านก็จะปรับใช้กับรูปแบบต่างๆ ของการประกอบการได้ (ถือเสียว่าฝึก Soft Skilling)
การประกอบการธุรกิจในระยะนี้ อาจจะยังใช้การเน้นหนักไปในบางเรื่องบางมุม ก็ยังจะสามารถอยู่รอดได้ แต่ปัญหาของธุรกิจคือ การย่ำอยู่กับที่ ซึ่งผู้ประกอบการบางรายมีความพึงพอใจในระดับนี้ แต่หากจะก้าวไปสู่ระยะเติบโต มีความจำเป็นจำต้อง "บูรณาการ" คือ ผสมผสานรวมทักษะเหล่านี้และใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
STAGE 3: Entreprenuerial Skills สำหรับระยะเติบโต งอกงาม (Growing with Strenght)
ถ้าเปรียบระยะของการประกอบการ กับการเติบโตตามช่วงวัยของมนุษย์นั้น ผู้เขียนมีแนวคิดที่ว่าแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการและการเรียนรู้แตกต่างกัน เราจะเรียกว่า วัยใด ๆ อยู่รอด และจะเติบโตต่อไปนั้น จะต้องประเมินจากสภาพของแต่ละช่วง เช่น หากเป็นวัยเด็กเล็กเมื่อยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องบอกว่า เกิดมาแล้วไม่ตายจากโรคระบาด ไม่ขจาดสารอาหาร เช่นนี้เรียกว่า ระยะอยู่รอด ในสภาพการปัจจุบัน จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพชอบได้ มีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายและมีส่วนเกิน หรือ Susplus เป็นทุนในการดำเนินชีวิต แบบนี้เรียก อยู่รอด และพร้อมเติบโต
ระยะต่าง ๆ ในบทความนี้ (ไม่ว่าจะเป็น ตั้งไข่, อยู่ให้รอด, เติบโจให้เป็น, จนถึงอยู้ให้ยั่งยืน) ไม่ได้หมายถึง "ช่วงอายุของการประกอบการ" หรือ "เวลาที่ถูกใช้ไปในการประกอบการ" แต่หมายถึง "คุณภาพในการผ่านเกณฑ์ของแต่ระยะ" ของการประกอบการในแต่ละรอยต่อสำคัญ เช่น ในระยะที่ผู้เขียนเรียกว่า "ระยะเติบโต งอกงาม" นั้น หมายถึง ระยะที่การประกอบการสามารถสะสมทรัพยากร (เงินทุน, ความรู้และประสบการณ์, บุคคลากร, เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ, ขนาดของตลาดที่ครอบครอง ฯลฯ) ที่จำเป็น มี excess ของทรัพยากรบางตัวเพื่อก้าวต่อไปในเชิง "จำนวน" และ "ตุณภาพ" การประกอบการที่อยู่พ้นจากระยะ "รอด" (Survive) แล้ว ส่วนมากจะเดินเข้าสู่ระยะต่อไป (ตัวอย่าง อย่างง่าย เช่น เมื่อรถยนต์พ้นระยะออกตัวจากซอย และพบว่า ความเร็วได้ที่ ระยะห่างจากรถของเขา กับรถในเลขขวามือ มีเพียงพอ ก็จะเริ่มเคลื่อนตัวออกแะเร่งความเร็วขึ้น นั่นคือการเทียบเคียงของระยะนี้)
การเติบโตของการประกอบการมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้
Entreprenuerial Skills Set สำหรับระยะนี้ หมายถึง ความเชี่ยวชาญ และชำนาญ จากสองะยะที่ผ่านมาเป็นพื้นฐาน หากนักประกอบการมีความพร่องในทักษะจากสองระยะที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวที่จำเป็น จะพบปัญหาคือ เมื่อตัดสินใจจะไปต่อในระยะเติบโต จะ "สะดุด" และจะต้องวนกลบไปเพิ่มพื้นฐานทางทักษะเหล่านั้น ซึ่งทำให้บางการประกอบการเกิดสภาวะชะงักงันในระยะเติบโต หากจะยกตัวอย่าง จะพบว่า ในจังหวะเร่งเครื่องยนต์ ในจังหวะที่ระบบเกียร์เปลี่ยนไม่ทันหรือผิดจังหวะ ผลที่ได้รับ คือ "วืด" และอาจจะโดนคันหลังในเลนที่กำลังแซงนั้น ชนท้ายเอา ผมกำลังบอกว่าในระยะนี้เป็นระยะเสี่ยงภัย เพราะว่ามีโอกาสพลาดพลั้งสูง ผู้เขียนเจียนจากประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กแบบบ้าน ๆ และพอจะเคยมีประสบการ์ทำงานในองค์กรที่มีหลายขนาดมาบ้างในต่างอุตสาหกรรม จึงเขียนบทความใน่วนนี้ไว้แบบกลาง ๆ (เพื่อที่ว่าให้พวกใจแคบทั้งหลายที่ตั้งใจจะด่า จะได้ด่าได้แต่ไม่แรง เนื่องจากสังคมไทยรอผู้อื่นแบ่งปัน หรือทำให้ แต่พอมีคนมาแบ่งปันหรือทำอะไรให้ พอไม่ถูกจริตพื้นฐาน หรือความเชื่อก็มันจะก่นด่ามากกว่าจะช่วยพัฒนาและนำไปแบ่งปันต่อ) โดยทักษะแห่งการประกอบการในระยะเติบโตอย่างแข็งแรง มีดังนี้
ท่านผู้อ่านหลายท่าอาจจะอ่านมาถึงตรงจุดนี้ และตั้งข้อสังสัยว่า เหตุใดผู้เขียนไม่มีการ Name ชื่อ Skills อีก นั่นเป็นเพราะว่า Skill Name นั้น เป็นเรื่องพื้นฐานในการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาขึ้นในระยะต่าง ๆ ย่อมต้องการการเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญใน Skills ต่าง ๆ และรวมไปถึง การผสม skills เข้าด้วยกันเป็นสำคัญ ผู้เขียนจึงได้บอกเป้าหมาย แต่ไมม่ระบุวิธีการ ตามระยะการเติบโตขึ้น หากท่านผู้อ่านที่ไม่มีประสบการณ์ใด ๆ ได้สละเวลาอ่านมาถึงจุดนี้ แล้วแต่ไม่เข้าใจ คำแนะนำของผู้เขียนคือ กลับไปเพิ่มประสบการณ์ และ Common Entreprenuerial Skills ก่อน เป็นสำคัญ
ถ้าเปรียบระยะของการประกอบการ กับการเติบโตตามช่วงวัยของมนุษย์นั้น ผู้เขียนมีแนวคิดที่ว่าแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการและการเรียนรู้แตกต่างกัน เราจะเรียกว่า วัยใด ๆ อยู่รอด และจะเติบโตต่อไปนั้น จะต้องประเมินจากสภาพของแต่ละช่วง เช่น หากเป็นวัยเด็กเล็กเมื่อยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องบอกว่า เกิดมาแล้วไม่ตายจากโรคระบาด ไม่ขจาดสารอาหาร เช่นนี้เรียกว่า ระยะอยู่รอด ในสภาพการปัจจุบัน จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพชอบได้ มีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายและมีส่วนเกิน หรือ Susplus เป็นทุนในการดำเนินชีวิต แบบนี้เรียก อยู่รอด และพร้อมเติบโต
ระยะต่าง ๆ ในบทความนี้ (ไม่ว่าจะเป็น ตั้งไข่, อยู่ให้รอด, เติบโจให้เป็น, จนถึงอยู้ให้ยั่งยืน) ไม่ได้หมายถึง "ช่วงอายุของการประกอบการ" หรือ "เวลาที่ถูกใช้ไปในการประกอบการ" แต่หมายถึง "คุณภาพในการผ่านเกณฑ์ของแต่ระยะ" ของการประกอบการในแต่ละรอยต่อสำคัญ เช่น ในระยะที่ผู้เขียนเรียกว่า "ระยะเติบโต งอกงาม" นั้น หมายถึง ระยะที่การประกอบการสามารถสะสมทรัพยากร (เงินทุน, ความรู้และประสบการณ์, บุคคลากร, เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ, ขนาดของตลาดที่ครอบครอง ฯลฯ) ที่จำเป็น มี excess ของทรัพยากรบางตัวเพื่อก้าวต่อไปในเชิง "จำนวน" และ "ตุณภาพ" การประกอบการที่อยู่พ้นจากระยะ "รอด" (Survive) แล้ว ส่วนมากจะเดินเข้าสู่ระยะต่อไป (ตัวอย่าง อย่างง่าย เช่น เมื่อรถยนต์พ้นระยะออกตัวจากซอย และพบว่า ความเร็วได้ที่ ระยะห่างจากรถของเขา กับรถในเลขขวามือ มีเพียงพอ ก็จะเริ่มเคลื่อนตัวออกแะเร่งความเร็วขึ้น นั่นคือการเทียบเคียงของระยะนี้)
การเติบโตของการประกอบการมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้
- การเพิ่มขึ้นของผลประกอบการผ่านการสะสมทรัพยากร โดยใช้เวลา การประกอบการประเภทนี้พบมากในการประกอบการของคนรุ่น BB และ X ตอนต้นถึงตอนกลาง ซึ่งใช้ระยะเวลาในการสะสมทรัพยากรยาวนาน และเหตุผลของการเปลี่นรแปลงเกิดเพราะว่า มีเหตุภายนอกมากระทบ เช่น การเกิดขึ้นของคู่แข่ง หรือ เทคโนโลยีใหม่ ทำให้ความแน่นอนที่เคยมั่นใจเปลี่ยนเป็นความหวั่นไหวในอนาคตของการประกอบการ เในองค์กรขนาด Micro และ Small ส่วนมากจะมีทางเลือก คือ ยืนหยัดต่อไปแบบเดิมเพื่อเลี้ยงตัว (คือ ยืนสถานะระยะอยูให้รอด) โดยการพยายามเพิ่มยอดจำหน่ายเป็นหลัก ในขณะที่องค์กรขนาด Micro และ Small ที่อาจจะมีพื้นฐานที่ดี เช่น มีบุคลากรในรุ่นต่อไปพร้อมที่จะนำบริษัทเข้าส่ระยะเติบโตในโลกใหม่ เราจะเห็นการปรับตัวโดยใช้ฐานเดิมทีมีต่อยอดขึ้นไป และปรับปรุงกระบวนการด้วย Innovation แบบต่าง ๆ
- การบังคับให้โตด้วยการใส่สารเร่ง(ปุ๋ย) หรือ โดยนโยบายของฝ่ายบริการ การเติบโตในลักษณะนี้ มักเกิดกับองค์กรขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ (Medium and Large Enterprise) เป็นการเติบโตใน 2 ลักษณะ คือ
- การเพิ่มจำนวนในลักษณะใด ๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติของธุรกิจขนาดเล็ก ถึงกลาง ที่มักจะทำ เช่น การเพิ่มยอดขาย, เพิ่มประสิทธืภาพอย่างใด ๆ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เป็นสำคัญ องค์กรประเภทนี้ จะเน้นการอบรมบุคลากรในฝ่ายขายและการบริการ, เพิ่มจำนวน Point of Selling หรือ Service เป็นหลัก
- การเพิ่ม New Product หรือ New Service ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในกระแส Disruptive นี้ องค์กรขนาดใหญ่ที่ตลาดเดิม (Product หรือ Service) นั้นคงตัว หรือมีอัราการเติบโตต่อเนื่อง ทว่าผู้บริหารมีความประสงค์ที่จะนำ surplus ที่เกิดจากการสะสมให้ไปงอกเงยในธุรกิจใหม่ เช่น การเปลี่ยนตัวเองของกลุ่ม Telco และ Big Entreprise ในรูปแบบของ Venture Capital บ้างใช้การไปลงทุนในธุรกิจที่กำลังเติบโต และคาดว่ามีศักยภาพ เช่น การเข้าซื้อ Tech Startup เป็นต้น หรือ การเข้าถือหุ้นในการประกอบการที่ตนเองยังไม่คุ้นคยเพื่อการเตรียมทีม การถ่ายทอด knowhow เพื่อซักวันหนึ่งจะเข้าถือครองบริษัทเหล่านั้น, การเกิดขึ้นของฝ่าย New Buisness เช่น Innovation ต่าง ๆ ในองค์กรที่มีความมั่นสูง ซึ่งสะท้อนด้วยการอบรมบุคลากรด้วยแนวคิดใหม่ หรือวิธีการใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Fail Fast and Learn ในสาย Startup, Start up Methodology, Design Thinking จะพบมากในองค์กรยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย เช่น SCG, PTT เป็นต้น องค์กรในกลุ่มนี้ จะเน้นการลงทุนในการอบรมพัฒนา NEW SKILLS หรือ NEW METHODOLOGY โดยมักเลือกเอากลุ่ม Young Talent ในองค์กรขึ้นมา และ เน้นไปในการลงทุนด้าน R&D เป็นสำคัญ
Entreprenuerial Skills Set สำหรับระยะนี้ หมายถึง ความเชี่ยวชาญ และชำนาญ จากสองะยะที่ผ่านมาเป็นพื้นฐาน หากนักประกอบการมีความพร่องในทักษะจากสองระยะที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวที่จำเป็น จะพบปัญหาคือ เมื่อตัดสินใจจะไปต่อในระยะเติบโต จะ "สะดุด" และจะต้องวนกลบไปเพิ่มพื้นฐานทางทักษะเหล่านั้น ซึ่งทำให้บางการประกอบการเกิดสภาวะชะงักงันในระยะเติบโต หากจะยกตัวอย่าง จะพบว่า ในจังหวะเร่งเครื่องยนต์ ในจังหวะที่ระบบเกียร์เปลี่ยนไม่ทันหรือผิดจังหวะ ผลที่ได้รับ คือ "วืด" และอาจจะโดนคันหลังในเลนที่กำลังแซงนั้น ชนท้ายเอา ผมกำลังบอกว่าในระยะนี้เป็นระยะเสี่ยงภัย เพราะว่ามีโอกาสพลาดพลั้งสูง ผู้เขียนเจียนจากประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กแบบบ้าน ๆ และพอจะเคยมีประสบการ์ทำงานในองค์กรที่มีหลายขนาดมาบ้างในต่างอุตสาหกรรม จึงเขียนบทความใน่วนนี้ไว้แบบกลาง ๆ (เพื่อที่ว่าให้พวกใจแคบทั้งหลายที่ตั้งใจจะด่า จะได้ด่าได้แต่ไม่แรง เนื่องจากสังคมไทยรอผู้อื่นแบ่งปัน หรือทำให้ แต่พอมีคนมาแบ่งปันหรือทำอะไรให้ พอไม่ถูกจริตพื้นฐาน หรือความเชื่อก็มันจะก่นด่ามากกว่าจะช่วยพัฒนาและนำไปแบ่งปันต่อ) โดยทักษะแห่งการประกอบการในระยะเติบโตอย่างแข็งแรง มีดังนี้
- ความสามารถใน Specific Hard Skills ในขั้นเชี่ยวชาญ ซึ่งผู้เขียนจะไม่สามารถระบุให้ครบถ้วนในอุตสาหกรรมในปัจจุบัน รวมไปถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ในทุก ๆ วันได้ ทว่า ในโลกการประกอบการที่มาจากพื้นฐานความรู้ในศตวรรษที่ 18 และได้รับการเพิ่มพูนความซับซ้อน ขึ้นมาเรื่อย ๆ ตลอดสองศตวรรษที่ผ่านมานั้น การประกอบการที่จะเติบโตได้ต้องมี Specific Hard Skills ในเรื่องที่เกี่ยวข้องแบบในระดับชำนาญการเป็นฐานทั้งสิ้น สิ่งที่ Specific Hard Skills จะมอบให้ ผู้เขียนขอใชคำว่า Evolutionary Entreprenuership และ Innovation Driven Entreprenuership (แบบหลังขอยืม Concepts จาก MIT มาใช้)
- ความสามารถในการตรวจสอบและประเมินความพร้อมก่อนเริ่มกระบวนการเติบโต เป็นเรื่องที่สำคัญก่อนการก้าวไปยังระยะเติบโต โดยนักประกอบการจะต้องรู้ว่าส่วนประกอบใดที่เป็น Core Competency หลักขององค์กร และส่วนใดเป็นส่วนเติมเต็ม Subsidary Competency ซึ่งแต่ละองค์กรจะให้น้ำหนักไม่เท่ากัน โดยที่อาจจะไม่จำเป็นต้องมีศักยภาพในด้านต่าง ๆ เต็มร้อย เพราว่าคงจะไม่ได้เริ่มต้นกันพอดีหากจะต้องรอทุกตัวเต็มร้อย
- การตั้งเป้าประสงค์ Vision และกำหนดวิธีการ Mission and Methodology ซึ่งสามารถจัดหาเป้าประสงค์ในระยะนี้ได้ใหม่ อันที่จริงเป้าประสงค์ของการประกอบการควรปรับเปลี่ยนไปตามสถานกาณ์ และสภาพแวดล้อมของการประกอบการ ในระยะการเติบโต ควรตั้งเป้าประสงค์ที่สามารถวัดค่าได้ ตัวอย่าง เช่น เติบโตในด้านใด ด้วยสมมติฐานใด และ วัดผลอย่างไร (เป็นผู้นำด้านส่วนแบ่งทางการตลาดในภาคเหนือ ภายในระยะเวลา 1 ปี เป็นต้น) VISION ที่ดี จะเป็นเหมือนปลายทางของการประกอบการในแต่ละระยะ และหมายถึง Misssion ย่อย ๆ ที่จะประกอบกันเข้าเพื่อให้สามารถไปยัง VISION ที่ตั้งไว้ได้
- การแบ่งระยะของแขกออกเป็นระยะย่อย ๆ (Phasing) มีความจำเป็นทั้งในแงจิตวิทยาการเปลี่ยนแปลง และในการวัดผล และแก้ไขในกต่ละด้าน อย่าพยายามเริ่มจากขั้นตอนที่เกิดความขัดแย้งจากทีมและบุคคลากรผู้ปฏิบัติงาน ด้วยความรู้สึกยาก และสูญเสีย
- การใช้หลักการจดการ Quick Win หรือ Agile เข้ามาช่วย เป็นเรื่องที่ดี เพราะว่า ทีมจะเกิดกำลังใจ และสร้างการเรียนรู้ไปด้วยกัน ทว่า บางวิธี อาจจะไม่เหมาะสม เช่น Daily Scrum อาจจะไม่เหมาะกับจริตขององค์กรระดับเล็ก อาจจะต้องเอาหลักการที่ดีมาปรับบ้างเช่น Weekly Scrum แทน Daily Scrum เป็นต้น
- ความสามารถของเงินทุน และทรัพยากรด้านอื่น ๆ เช่น เครื่องมือที่จำเป็น ส่วนมากผู้เขียนไม่ค่อยห่วงทรัพยากรที่เป็นเงิน หรือสิ่งที่ใช้เงินแลกมาได้ ที่น่าสนใจคือ ทรัพยากรที่มีเงินก็ไม่แน่ใจว่าจะสามารถสร้างได้ รักษาได้ หรือไม่ เพราะว่าสถานประกออบการใด ๆ ที่จะไปสู่ระยะเติบโตนั้น มักจะมีชื่อเสียง และชื่อเสียงก็สามารถเปลี่ยนเป็นเงินกู้ได้ หรือ มีความพร้อมในการหาเงินทุน จากทุนของส่วนผู้ถือหุ้น หรือเจ้าของกิจการ การอยู่รอดแล้วสิ่งนี้คือสิ่งที่เป็นผลพลอยได้ที่ติดตามมา ทรัพยากรมนุษย์ (หรือจะเรียกทุนมนุษย์ ก็แล้วแต่สะดวกใจ) เพราะว่า Competency หากไม่มีคนเกงอาาจะใช้เงินจ้างมาได้ แต่ Loyalty และ Entrepenuerial Feeling นั้น มีเงินก็ทำไม่ได้
- ความรู้ และความสามารถในระดับทีม และระดับบุคคล และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเป็นอุปสรรคสำคัญเสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คุ้นชินของมนุษย์เป็นเรื่องที่จะโดนต่อต้านมากที่สุด จากประสบการณ์ของผู้เขียนบ่อยครั้งที่พบว่า การบังคับเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ไม่ได้ผล และเกิดสภาวะชะงักงัน เนื่องจากความไม่พร้อมของทีม และบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง
- ในระดับทีม ระยะเติบโตย่อมมีผลกระทบไปยังทุกทีมในองค์กร การสร้างให้ทีมส่วนใหญ่ที่เป็นทีมหลักในการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีมหมายถึงการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน สามารถที่จะประสาน ช่วยเหลือ แบ่งเบา ให้กำลังใจ และเรียนรู้ไปด้วยกัน หากสถานประกอบการใด ๆ ในระยะนี้ เคยมีทีมที่ดีในระยะสร้างให้รอด ก็อย่าวางใจไป เพราะว่าในองค์กรระดับเล็ก ๆ นั้น ส่วนมาก ทีม คือ ครอบครัวและเครือฐาติ หรือตัวเจ้าของเป็นคนลงมือเสียเอง ทว่าในองค์กรระดับกลางขึ้นไป แน่นอนว่าทีม อาจไม่ใช่คนที่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ แต่จะต้องสร้างให้เกิดลักษณะที่ดีของนักประกอบการ คือ เล็งเห็นเป้าหมายขององค์กร มีความเป็น Stakeholder
- ในระดับทีมนั้น จำเป็นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นในการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญยิ่งในระยะเติบโต Central Dashboard ง่าย ๆ ที่เกิดจากระบบ free share drive ที่มี security ระดับง่ายๆ ไปจนถึงโซลูชั่นราคาแพงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาขึ้น หรือลงทุน
- ในระดับบุคคล นั้นเป็นเรื่องยากที่สุด ที่จะทำให้ทุกคนในองค์กรอยู็ในระยะเติบโต และให้ความร่วมมือ ก่อนจะถึงการเปลี่ยนแปลง ผู้นำขององค์กร หรือ ผู้ประกอบการที่เป็นตัวหลัก จำเป็นจะต้องสร้างความเข้าใจ พัฒนากลุ่มคนที่เป็น Leader ของการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น และให้เขาเหล่านั้นเป็นสมาชิกของทีม
- หากทีม และบุคคล ขาดความรู้ และทักษะหลักที่จะนำไปไปสู่ความสำเร็จ จำเป็นจะต้องจัดหา จัดสร้าง และพัฒนาให้เกิดขึ้น ก่อน หรือควบคูไปในการเปลี่ยนแปลงแต่ละระยะ
- การเปลี่ยนแปลงสำคัญ แต่การรักษาทีม ให้กำลังใจควบคู่กันไปสำคัญกว่า ในวันที่การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ คุณอาจจะเดียวดาย และไปต่อในระยะ Sustain ไม่ได้
- วิธีการสุด Classic ให้หาอ่านและพยายามทำความเข้าใจง่าย ๆ 8 Steps of Change by Kotter
- ความรู้ และความสามารถในระดับทีม และระดับบุคคล และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเป็นอุปสรรคสำคัญเสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คุ้นชินของมนุษย์เป็นเรื่องที่จะโดนต่อต้านมากที่สุด จากประสบการณ์ของผู้เขียนบ่อยครั้งที่พบว่า การบังคับเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ไม่ได้ผล และเกิดสภาวะชะงักงัน เนื่องจากความไม่พร้อมของทีม และบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง
- ความสามารถในการจัดการ ในระดับ Project Management จะด้วยเหตุผลด้านความเสี่ยงการจัดการความเสี่ยง หรือ อิทธิพลของการจัดการแนวใหม่ เช่น LEAN หรือ การใชหลักการที่เป็นที่นิยม (ณ ปี 2019) เช่น Agile ที่มาจากโลกของสารสนเทศมาปรับใช้ สิ่งเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ Project Base และจึงค่อยผ่านการพัฒนา ให้เติบโตออกเป็น Business Unit ความรู้เรื่องการจัดการพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อให้ Project บรรลุวัตถุประสงค์ เป็นสิ่งที่จะต้องปลูกผัง ซึ่งในองค์กรขนาดเล็ก กลาง และองค์กรภาครัฐอาจจะไม่คุ้นชิน เช่น การทำรายงานความผิดพลาด บทเรียน และการป้องกัน ซึ่งไม่ใคร่ถูกจริตกับวิธีการอันเป็นค่านิยมของไทย ส่วนในองค์กรขนาดใหญ่ในภาคเอกชน นั้นก็ได้เอาวิธีการเหล่านี้ จาก Tech Startup หรือ บริษัทยักษ์ใหญ่มาปรับใช้
- การตั้งเป้าประสงค์ Vision และกำหนดวิธีการ Mission and Methodology ซึ่งสามารถจัดหาเป้าประสงค์ในระยะนี้ได้ใหม่ อันที่จริงเป้าประสงค์ของการประกอบการควรปรับเปลี่ยนไปตามสถานกาณ์ และสภาพแวดล้อมของการประกอบการ ในระยะการเติบโต ควรตั้งเป้าประสงค์ที่สามารถวัดค่าได้ ตัวอย่าง เช่น เติบโตในด้านใด ด้วยสมมติฐานใด และ วัดผลอย่างไร (เป็นผู้นำด้านส่วนแบ่งทางการตลาดในภาคเหนือ ภายในระยะเวลา 1 ปี เป็นต้น) VISION ที่ดี จะเป็นเหมือนปลายทางของการประกอบการในแต่ละระยะ และหมายถึง Misssion ย่อย ๆ ที่จะประกอบกันเข้าเพื่อให้สามารถไปยัง VISION ที่ตั้งไว้ได้
ท่านผู้อ่านหลายท่าอาจจะอ่านมาถึงตรงจุดนี้ และตั้งข้อสังสัยว่า เหตุใดผู้เขียนไม่มีการ Name ชื่อ Skills อีก นั่นเป็นเพราะว่า Skill Name นั้น เป็นเรื่องพื้นฐานในการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาขึ้นในระยะต่าง ๆ ย่อมต้องการการเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญใน Skills ต่าง ๆ และรวมไปถึง การผสม skills เข้าด้วยกันเป็นสำคัญ ผู้เขียนจึงได้บอกเป้าหมาย แต่ไมม่ระบุวิธีการ ตามระยะการเติบโตขึ้น หากท่านผู้อ่านที่ไม่มีประสบการณ์ใด ๆ ได้สละเวลาอ่านมาถึงจุดนี้ แล้วแต่ไม่เข้าใจ คำแนะนำของผู้เขียนคือ กลับไปเพิ่มประสบการณ์ และ Common Entreprenuerial Skills ก่อน เป็นสำคัญ
STAGE 4: Entreprenuerial Skills สำหรับระยะยั่งยืน (Sustainability Progress)
ระยะสุดท้ายซึ่งเป็นระยะที่ทุกฝ่ายถวิลหา แต่อาจไม่ครบ 5 วงล้อแห่ง Sustainable Entreprenuership ซึ่งต้องแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบว่า คน กับ องค์กร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความมต้องการส่วนบุคคล และโลกรอบข้างมีไม่เท่ากัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร เพราะว่าการประกอบการในขนาดใด ๆ ก็สามารถที่จะมาถึงระยะนี้ได้ แต่การตีความอาจมีความแตกต่างกันไป
ระยะสุดท้ายซึ่งเป็นระยะที่ทุกฝ่ายถวิลหา แต่อาจไม่ครบ 5 วงล้อแห่ง Sustainable Entreprenuership ซึ่งต้องแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบว่า คน กับ องค์กร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความมต้องการส่วนบุคคล และโลกรอบข้างมีไม่เท่ากัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร เพราะว่าการประกอบการในขนาดใด ๆ ก็สามารถที่จะมาถึงระยะนี้ได้ แต่การตีความอาจมีความแตกต่างกันไป
วงล้อทั้ง 5 ของ Sustainable Entreprenuership ประกอบด้วย
|
4 ปัจจัยหลักด้านบนเป็นความยังยืนที่ทุกองค์กรใฝหา ทว่า ในปัจจุบันและในอนาคต ความยั่งยืนอีก 2 ประเภทเป็นดัชนีชี้วัด ความยั่งยืนของการประกอบการในบุค ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไป เนื่องจาก Impact ของการประกอบการ ตั้งแต่บุคปฎิวัตอุตสาหกรรม จนกระมั่ง ในช่วงก่อน ค.ศ. 2000 การเติบโตของารประกอบการใด ๆ เน้นหลักการใช้ทรัพยากร และมีส่วนร่วมในการสร้างสภาพสังคมน้อย และสังคมในฐานะตลาดของการประกอบการ สิ่งแวดล้อมในฐานะแหล่งที่มาของทรัพยากร เกิดมีความสำคัญมากขึ้น
การประกอบการสมัยใหม่อยู่บนฐานของการแบ่งปันความร่วมมือ และการจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการบริหารความสัมพันธ์กับภาคสังคม ประกอบกับความยั่งยืนด้านตัวเลขในการประกอบการ ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เล็งเห็นว่า การประกอบของตนจะต้องเข้ามามองถึงประเด็นทั้งสองนี้ อาจะประสบปัญหาจากแนวคิดการบริโภครุ่นใหม่
- Social Sustainable เป็นแนวคิดที่ "ตลาด" ของการประกอบการเห็นคุณค่ามากขึ้น และค่านิยมของพลเมืองรุ่นใหม่ในสังคมต่าง ๆ มีผลต่อการตัดสินใจที่จะบริโภคหรือไม่ และตั้งแต่ที่ทุกคนมีสื่อในมือในโลกของสื่อออนไลน์ ความรวดเร็ว และฐานที่กว้างขวาง ทำให้การประกอบการที่มีความห่วงใยสังคม มีผลต่อจิตใจและความรู้สึกอันดีของสังคม กลับเติบโตมากขึ้น ส่วนการประการธุรกิจในแบบที่ไม่สนใจผลตอบรับทางสังคม หรือไม่สามารถดูและการจัดการความสัมพันธ์ของสินค้า/บริการ อาจจะถูกต่อต้านได้ เราจะเห็นได้จาก การเกิดขึ้นของรูปแบบ CSR; Corporate Social Responsibility ที่เป็นแนวโน้มมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา
- Enviroment Sustainable เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นพร้อมกับการที่ทัพยากรของโลกลดน้อยลง และส่งผลกระมบต่อความเป็นอยู่ของทั้งคน และสัตว์ มีผลกระทบต่อการเป็นอยู่โดยไม่เลือกฐานะและสถานที่ ในรอบสามสิบปีที่ผ่าน กระแสของการตื่นตัวเรื่องโลกร้อน, มลพิษทางอากาศ และทะเล ถูกสื่อสารออกไปได้อย่างง่ยดาย และกว้างขวาง เพราะปัญหาเหล่านี้เริ่มรุนแรงและเห็นผลกระทบใกล้ตัวขึ้นมาเรื่อย ๆ ผลิตภัณฑ์หรือบริการใด ๆ ที่มีผลกระมบต่อสิ่งแวดล้อม จะได้รับการต่อต้านจากสังคม และแน่นอนส่งผลประทบต่อการประกอบการ เช่น เราจะเห็นเรื่อง Carbon Foot Print ในอุตสาหกรรมบริการด้านต่าง ๆ, ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการ recycle เป็นต้น
การประกอบการสมัยใหม่อยู่บนฐานของการแบ่งปันความร่วมมือ และการจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการบริหารความสัมพันธ์กับภาคสังคม ประกอบกับความยั่งยืนด้านตัวเลขในการประกอบการ ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เล็งเห็นว่า การประกอบของตนจะต้องเข้ามามองถึงประเด็นทั้งสองนี้ อาจะประสบปัญหาจากแนวคิดการบริโภครุ่นใหม่
ทักษะแห่งการประกอบการที่ผู้เขียนนำเสนอในบทความนี้ มีการแบ่งประเภทที่แตกต่างจากทักษะที่แบ่งตาม Soft Skills ทั่ว ๆ ไป ด้วยความมุ่งหมายให้ ทักษะแห่งการประกอบการเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย โดยแยกตามระยะของการประกอบการ เฉกเช่นที่ผู้เขียนได้มีโอกาสแนะนำเยาวชนไทยในชั้นเรียน MonsoonSIM เสมอว่า ไม่มีความถูกต้องหรือผิดในกระบวนความคิด ยิ่งในการตัดสินใจที่วางบนสกุลวิชาด้านศิลปศาสตร์ มีแต่เพียงถูกใจ ถูกเวลา ถูกสถานการณ์หรือไม่หากจะหยิบใช้ และวลีติดปากของผู้เขียนที่ถ่ายทอดไปยังเยาวชนเหล่านั้น มาจากเพลงในยุค 2000 ที่ว่า "อะไรดีดีก็เก็บ อะไรไม่ดัก็โยนทิ้งไป" บทความที่ไม่ใช่บทความทางวิชาการนี้อาจไม่ได้ถูกต้องหากวัดด้วยดัชนีทางวิชาการ แต่คงจะมีข้อดีให้ได้เก็บไวประยุกต์ใช้สำหรับผู้ประกอบการสาย Practioner ส่วนสาย Academic นั้นให้ตกอยู่ในส่วนที่ควรทิ้งไป (เพราะว่าท่านไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของบทความนี้)