Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • V10 Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
        • Configurations drill down
        • Configulations Design
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • COMPETITION >
      • TH Business Data Analytics & Data Visualization
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2022
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Thais Teen Entrepreneurial Project
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM TH SEMINAR >
      • 2023 Education Transformation in Business Data Analytics
      • 2020 K-Practice
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Clip to Lecturer
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
    • MonsoonSIMTG x Alliances >
      • WoW Academy Thailand 2021!!! >
        • WoW Academy Workshop
      • Entrepreneurial Series by BDT and Gamification
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

เข้าใจเรื่อง Value Chain โดยใช้ MonsoonSIM อธิบาย

5/14/2020

0 Comments

 
Picture
http://people.tamu.edu/~v-buenger/466/Value_Chain.pdf

0 Comments

หลักการคำนวน Average OPEX per Unit และแนวคิดการจัดการ OPEX ใน MonsoonSIM

5/13/2020

0 Comments

 
0 Comments

วิธีคำนวนต้นทุน (Costing) ของสินค้า

5/13/2020

0 Comments

 
วิธีการคำนวนต้นทุนของสินค้ามีหลากหลายวิธี ที่นิยมกัน และเป็นการคิดต้นทุนได้แก่ 
  • FIFO
  • LIFO
  • Weighted Average

ต้นทุนสินค้า จะเกิดกับกระบวนการ Procurement การบริหารสินค้าคงคลัง โดยต้นทุนทินค้าอาจจะแปรผันไปได้จากหลายปัจจัย หลักการง่าย ๆ คือ การพยายามให้ต้นทุนสินค้าต่ำที่สุด และยังคงคุณภาพของสินค้าไว้ เพื่อประโยชน์ด้านการขายและการรักษาฐานลูกค้าที่เกิดจากการซื้อซ้ำ 

ต้นทุนที่เกิดจากกระบวนการผลิต มีความซับซ้อนจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ต้นทุนแปรผันของวัตถุดิบตามสภาพตลาดและฤดูกาล, ต้นทุนที่เกิดจากจำนวนสินค้าที่ผลิตได้, ต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาดในการผลิต, ต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาดในการซ่อมบำรุง ที่ทำให้จำนวนแปรผกผันกับต้นทุน 

0 Comments

หลักเกณฑ์ในการช่วยตัดสินใจสไตล์ MonsoonSIM

5/13/2020

0 Comments

 
หลักเกณฑ์ในการช่วยตัดสินใจสไตล์ MonsoonSIM
  • ใช้หลัก PROs vs CONs หรือข้อดีข้อเสียเปรียบเที่ยบกัน 
  • การใช้ข้อดีข้อเสียมาด้วย CONDITIONs หรือเงื่อนไข หากท่านทำตามเงื่อนไขนั้นไม่ได้ ในขณะที่ตัดสินใจ สิ่งนั้นไม่ควรเรียนกว่าข้อดี จะได้ไม่เอนเอียงเพราะว่ามี "ธง" (ความลำเอียง) ในใจ 
  • เปรียบเทียบโดยใช้ ข้อมูลระดับสาระสนเทศ (infomation) ไม่ใช่นระดับ Data (applued หลักของ Information Sciences มาประกอบ)
  • นำไปสนธิในการตัดสินใจกับ LIMITATIONs หรือข้อจำกัดที่ท่านหรือองค์กรมี 
  • พิจารณาไปตามนี้ อาจจะทำให้ท่านมองเห็นแผนการจัดการธุรกิจ ในขั้นตอนการสร้าง Model เมื่อเริ่มต้น หรือ ในกระบวนการพัฒนา Business Plan

นำเอาหลักการนี้ไปปรับใช้ในการตัดสินใจ 
#ความรู้ต้องแบ่งปัน #ทำเรื่องยากให้ง่าย 

0 Comments

พื้นฐานความเข้าใจเรื่องธุรกิจแบบ MonsoonSIMTH

5/11/2020

0 Comments

 
0 Comments

แนวคิดเรื่องการสร้างแผนงาน แผนธุรกิจ เชิงกลยุทธ์

5/10/2020

0 Comments

 
บทเล่าย่อ (ไม่ใช่บทคัดย่อ)
  • ทำเรื่องธรรมดา ให้เป็นระบบ จัดกระบวนความคิด ก็เป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ 
  • เป้าหมาย ต้อง "ชัดเจน" "มีเกณฑ์วัดผลได้" "มีกรอบเวลา"
  • วิธีการ นั้นจะมีทางเลือกให้ปรับเปลี่ยนได้จาก Chances/Risks คือ โอกาสและความเสี่ยง และ ทรัพยากรที่จำกัดแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ /บริษัท/ หน่วยงาน
  • ในแผนใหญ่ เป้าหมายใหญ่ อาจถูกซอยให้เป็นแผนย่อย ๆ และมีเกณฑ์ที่ชดเจนในการเปลี่ยนไปยังแผนต่อไป

#แบ่งปัน #เรียนรู้เข้าใจ 
0 Comments

ระบบจัดซื้อจัดหา ใน MonsoonSIM  วิธีการ และผลลัพท์ที่แตกต่างกันไป

4/22/2019

0 Comments

 
Picture
ภาพจาก: https://www.esi-africa.com/industry-sectors/business-and-markets/find-your-way-around-procurement/
   การจัดซื้อจัดหา (หรือ ในภาษาไทย แปลว่า จัดซื้อจัดจ้าง) นั้น ตรงกับ หลักการที่ภาษาอังกฤษใช้ตำว่า "Procurement" โดยีรากศัพท์มาจาก Pro+Cure แปลว่า "ทำให้มีพอใช้" โดยได้นำเอาคำแปลจาก Merriam-Webster มาประกอบด้านล่างนี้ 
Picture
      ในทางการค้าขาย Procurement คือ การจัดซื้อ จัดหา (และจัดจ้าง) เพื่อให้มี "สิ่งของ, สินค้า, วัตถุดิบ" ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ กัน ​หากมองในมิติอื่น ๆ เช่น เราสามารถ Procure หรือกันเงิน (ซึ่งใช้ศัพท์ว่า Accru) น่าจะถูกต้องกว่า แต่ให้ความหมายเดียวกัน เช่น Accru หรือกันเงินไว้ใช้ในกิจกรรมใด ๆ  เป็นต้น 
      ในกระบวนการ Logistics & Supply Chain  ทางธุรกิจในความหมายที่ลึกลงไปนั้น กระบวนการ Procurement นั้น เป็น "กลไก" สำคัญยิ่งในการประกอบธุรกิจ ในฐานะ Support Activities ในการดำเนินธุรกิจใน Value Chain 
Picture
ภาพจาก: https://www.ceoblog.co/what-is-value-chain/
     กระบวนการจัดซื้อนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญ หากธุรกิจ และหรือกระทั่งในเกมธุรกิจจำลองอย่าง MonsoonSIM ถือเป็นส่วนบริการที่สำคัญ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับรายได้, รายจ่าย, สินค้าคงคลัง, เงินสดในมือ ฯลฯ  โดจจะมีขั้นตอน และกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ ดังแผนภาพด้านล่างนี้ 
Picture
ภาพจาก: http://sap-gallery.blogspot.com/2011/10/sap-procurement-process-flow.html
Picture
ภาพจาก https://www.prosofterp.com/en/Article/Detail/29366/Vendor-and-Procurement
Picture
ขั้นตอนทั่วไปของกระบวนการจัดซื้อจัดหา ที่นักศึกษาควรทราบ

1) ตรวจสอบจำนวนของความต้องการ ​  
  • ขั้นตอนนี้ หากใช้ระบบ MRP; Material Require Planning มาช่วย จะช่วยลดเวลาในการคำนวน ในกรณีที่มีสินค้ามากชนิดที่แตกต่างกัน (SKU) และหรือ มีจำนวนสาขาจำนวนมาก 
  • กระบวนการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งใน Opearational Lead Time  หากไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วย จะทำให้ Lead Time เพิ่มขึ้น หรือ เกิดความผิดพลาดได้ 

2) ​สร้างคำสั่งขอซื้อ ซึ่งเป็นเอกสารภายใน ไปยังผู้เกี่ยวข้องซึ่งโดยมากจะเป็นแผนกจัดซื้อ (ในองค์กรจนาดเล็ก แผนกจัดซื้อ การบัญชี และการเงิน มักทำหน้าที่โดนเจ้าของกิจการ)
  • ในกระบวนการนี้จะมี ขั้นตอนย่อย เช่น การตรวจสอบราคา, กระบวนการ RFQ (Request for Quotation) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งใน Opearational Lead Time ที่ผู้ดูแลกระบวนการจัดซื้อต้องเช้าใจ
  • ในบริษัทที่มีขนาดย่อม กระบวนการที่มีเอกสารภายในเป็นคำสั่งขอซื้ออาจจะไม่พบ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นจะต้องทำให้เกิด Process ส่วนเกิน และมีจำนวนบุคลากรจำกัด

​3) การยืนยันคำสั่งซื้อ (PO; Purchasing Order) เป็นเอกสารไปยังคู่ค้า (Vendor)
  • ใน PO โดยทั่วไป จะมีรายละเอียด สำคัญ ๆ เช่น 
    • หมายเลข PO และ หมายเลขเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    • รายละเอียดเกี่ยวกัล Vendor เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ในกรณีที่มีคู่ค้าจำนวนมาก มักจะมี Vendor ID ซึ่งบอกประเภท, ตำแหน่ง ฯลฯ ใน Code นั้นๆ 
      • Vendor ที่มีการซื้อขายกันประจำ หรือ Vendor ทีมีความน่าเชื่อถือ หรือ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละเรื่อง มักจะถูกจัดอยู่ภายใต้ระบบ PREFER VENDOR
      • ในระบบ MRP เมื่อทราบจำนวนของสินค้าที่ต้องการแล้ว ระบบ MRP จะสร้างเอกสารการยืนยันคำสั่งซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้มีอำนาจลงนาม และเมื่อลงนามหรือยืนยันด้วยระบบวิธีการใด ๆ แล้ว โดยมากคำสั่งซื้อนั้น จะถูกส่งไปยัง Prefer Vendor เพื่อลดขั้นตอน หรือ Lead Time ให้สั่นลง
    • มีรายละเอียดสินค้า พร้อมราคา, จำนวน, ยอดรวม, ภาษี ฯลฯ
    • กำหนดระยะเวลาที่ต้องการสินค้า และเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขการชำระเงิน, การวางมัดจำ ฯลฯ
    • รายชื่อผู้ดำเนินการออกใบยืนยันคำสั่งซื้อ และ ในบางกรณี จะระบุชื่อผู้ทำคำร้องในการขอซื้อ 
  • เมื่อคู่ค้าได้รับการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร คู่ค้าก็จำดำเนินการผลิต หรือ นำสินค้าในคลังมานำส่ง ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่า Vendor Delivery Lead Time 
    • ในประเทศไทย หากมีการตกลงกันแบบลายลักษณ์อักษร ในรูปแบบใด ๆ ก็จะถือว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย มีผลทางกฎหมาย นักศึกษาควรคำนึงถึงหลักฐานนี้ เพื่อประโยชน์ทางการค้าในอนาคต ซึ่งพบมากว่า บางครั้ง ใช้คำสัญญาปากเปล่า ซึ่งไม่สามารถเอาผิดกันทางกฎหมายได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐาน 

4) เมื่อคู่ค้าได้รับ Approved PO แล้ว ก็จะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า และนำส่งให้กับคู่ค้าตามที่สัญญากันไว้ ต่อไป 
  • คู่ค้า มักจะมีระบบสำคัญระบบหนึ่ง เพื่อสะดวกในการประเมินต่อกัน หรือช่วยในการตัดสินใจ ที่เรียกว่า SRM; Supplier Relationship Management ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติม และนักศึกษาควรทำความเข้าใจเพื่อต่อภาพของระบบ Logistics & Supply Chain ให้ครบวงจร

       ใน MonsoonSIM มีทางเลือกในการจัดซื้อ โดยมี 3 ทางเลือก ณ ขณะนี้ ใน Version 7.x (เมษายน 2562)
  • Immediate Delivery
  • Future Delivery​
  • Blanket Purchase 
      ซึ่งทั้งสามวิธีจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด โดยนักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจว่า แต่ละวิธีนั้น มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และจะใช้วิธีการใด เพื่อวัตถุประสงค์ และข้อจำกัดใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพื่อจะได้เลือกปรับใช้งานในสถานการณ์จริงต่อไปในอนาคต
       สิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของ MonsoonSIM คือ จะต้องำกระวนการ หรือวิธีการที่แตกต่างกันนี้ ไปเชื่อมโยงกับงานอื่น ๆ เพื่อให้เห็นมิติที่หลากหลายมากขึ้น เช่น มิติด้านการเงิน, การจัดการพื้นที่ เป็นต้น

Immediate Delivery
  • หลังจากคำยืนยันการคำสั่งซื้อ (Approved PO) ส่งไปยัง Supplier แล้ว Supplier จะส่งสินค้าให้ท่าน ตาม Lead Time ที่แจ้งไว้ 
  • ความล่าช้า อาจะเกิดขึ้นได้ เมื่อ Supplier มีความสามารถจำกัด ในชีวิตจริง ไม่มีใครเวลาทำการค้า บอกว่า ตนเองนั้นจะผิดสัญญา ซึ่งเป็นภาพสะท้อนในเกม นักศึกษาอาจจะพบว่า Vendor ไม่สามารถส่งสินค้า ตาม Lead Time ที่ได้สัญญาว่า  ท่านจะต้องบริหารจัดการอย่างไร ต้องทดลองในเกม
  • ในกรณี การจ่ายเงินแบบเงินสด (Cash) เมื่อสินค้าส่งถึงปลายทางแล้ว ระบบจะตัดเงินในวันต่อไป 
    • การบันทึกบัญชีทั่วไป หรือ การบันทึกบัญชีอัตโนมัติ
  • ในกรณี มีแผนการชำระเป็นเครดิต (Credit Term) เมื่อสินค้าส่งถึงปลายทางแล้ว ระบบจะตัดเงินเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้
    • ​บัญชีค้างจ่ายนี้ จะอยู่ในส่วนของ Account Payable 
Future Delivery
  • การกำหนดให้ Supplier ส่งสินค้าล่วงหน้า 
  • ขั้นตอนยังคงจะต้องมีการยืนยันคำสั่งซื้อ ทว่า แทนที่จะกำหนดให้ส่งในวันถัเไปตามปรกติ แต่ในระบบสามารถกำหนดวันส่งสินค้าล่วงหน้าได้  5 วันขึ้นเพื่อ 
  • วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้ในการสั่งสิ้นค้า เมื่อ Demand Forecast เกิดขึ้นแบบไม่ปรกติ เพื่อให้เสริมกับระบบการจัดซื้อแบบทั่วไป 
  • การนัดหมายล่วงหน้านี้ ในโลกธุรกิจจริง ก็เป็นแนวคิด ที่ช่วยให้ Supplier มีเวลาในการจัดสรรทรัพยากร ล่วงหน้า ซึ่งลดความผิดพลาดและโอกาสในการที่ร้านค้าจะไม่มีสินค้าจำหน่ายได้ ทว่าผู้จัดซื้อจำเป็นจะต้องประมาณการล่วงหน้าไว้ก่อนเช่นกัน​
Blanket Purchase Order; BPO
  • กล่าวให้เข้าใจง่าย คือ การซ้อมสินค้าในปริมาณมาก และให้ Supplier ทยอยส่งเป็นรอบ ๆ  เช่น ซื้อสินค้า 50,000 ทว่ากำหนดให้ส่ง แบ่งออกเป็น 5 ครั้ง ครั้งละ 20% ทุก 5 วัน เมื่อ Approve PO แล้ว ในวันที่ 7 
    • ครั้งที่ 1 ใน​วันที่ 12 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (20%/100%
    • ครั้งที่ 2 ใน​วันที่ 17 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (40%/100%)
    • ครั้งที่ 3 ใน​วันที่ 22 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (60%/100%)
    • ครั้งที่ 4 ใน​วันที่ 27 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (80%/100%)
    • ครั้งที่ 5 ใน​วันที่ 32 จะมีสินค้าไปส่ง 10,000 กล่อง (100%/100%)
  • ข้อดีคือ ได้รับส่วนลด ตามที่ต้องการ ในส่วนของ Bulk Discount และ เมื่อสินค้าส่งมาถึง จะถูกตัดเงินออกไป เป็นจำนวน ครั้ง ตาม สัดส่วนที่สินค้าที่ได้รับมา วิธีแบบนี้ ช่วยให้มีสินค้าทยอยส่งมาเรื่อย ๆ และ ยังคงมีสภาพคล่องทางการเงินสูงอยู่มาก เพราะว่าไม่ได้ตัดเงินออกในครั้งเดียว ครั้งละมาก ๆ จำนวน​
    Picture
    https://www.indiamart.com/proddetail/business-process-outsourcing-bpo-7791837012.html

    จะตัดสินใจเลือก Supplier รายใด ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจ
      การจะใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินใจเลือก Vendor นั้น มีหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นข้อจำกัด และวัตถุประสงค์ นกอจากนั้น ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งในเกมอาจจะไม่สามารถจำลองมาได้ทั้งหมด 
    • ขึ้นอยู่กับข้อเสนอ ใครสามารถให้ส่วนลดได้มากที่สุด ซึ่งเลือกด้วยวิธีนี้ จะทำให้ได้เปรียบที่ต้นทุนสินค้า
    • หากสินค้าขาดแคลน ต้องการสินค่าเร็วที่สุด บางครั้ง อาจจะต้องเลือก Vendor ที่สามารถให้สินค้าได้ทันที ด้วยประโยชน์อื่น ๆ ทางการค้าขาย เลือกด้วยวิธีนี้ ทำให้ ไม่ขาดโอกาสทางการค้า
    • หากระแสเงินสดในมือมีน้อย อาจจะต้องเลือก vendor ที่สามารถให้ credit term ยาวนานที่สุด เลือกวิธีนี้ ช่วยให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน
        ในโลกธุรกิจจริง และหรือในการตัดสินใจในเกม แต่ละช่วงเวลาอาจจะตัดสินใจไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย หรือ บางทีม บางกิจการใช้กระบวนการบริหารจัดการเข้ามาแทนที่ เช่น Vendor Y ให้ส่วนลดมากที่สุด ทว่า ส่งของได้ล่าช้าดว่ารายอื่น ๆ 3 วัน ก็ต้องไปแก้ไขด้วยการ ปรับกระบวนการการสั่งสินค้าล่วงหน้าเพื่อชดเชย Lead Time ที่เสียไปจาก Vendor Delivery Lead Time ทว่าจำเป็นจะต้องมี ระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ
         ในโลกธุรกิจจริง ความสัมพันธ์กับ vendor อาจมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง, หรือ Vendor อาจจะพิจารณาพฤติกรรมการจ่ายเงิน หรือสภาพคล่อง และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางการค้าประกอบด้วยเช่นกัน
          กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจัดหา เป็นกิจกรรมสำคัญ ทว่า จะต้องประสานร่วมมือกับกิจกรรมอื่น ๆ ผู้ที่สามารถบริหารจัดการได้ในเชิงกลยุทธ์ จะได้เปรียบในหลายประการ อาทิ ต้นทุนในการประกอบการที่ต่ำกว่า, การบริหารสินค้าคงคลัง ให้เกิดมี Safty Stock เพื่อประโยชน์ทางการค้่า หรือ การจัดการจัดซื้อที่เชื่อมโยงกับสภาพคล้องทางการเงิน จะยิ่งเกิดประโยชน์ยิ่ง หรือ การใช้หลักการอื่น ๆ เช่น Supply on Demand เป็นต้น 
    0 Comments

    Safety Stock มัน Safety อย่างไร

    4/16/2019

    0 Comments

     
    Picture
         นักศึกษาไทย "ร้จัก" Safety Stock ในเชิง "นิยาม" ซึ่งผมแทบไม่เคยเห็นว่า ทีมไหนจะใช้ "หลักการ" นี้ ในการเล่นเกม อาจจะเป็นเพราะว่า เกมเร็วเกินไป, ปริมาณตัวเลขในเกมทำให้นักศึกษาไม่ได้มีเวลา เพราะว่า เมื่อขายได้ทีไร สินค้าจะหมดคลังทุกที หรือ พลาดอีกที พบว่ามีสินค้าในคลัสินค้ามาก จนทำให้เกิดปัญหาทางการเงินเสียแล้ว 
         ที่ว่า Safety มีอะไร Safety บ้าง ?? เป็นคำถามที่ผมเคยถามนักศึกษา แล้วพบว่า "คำตอบ" มีบนหลักนิยามเดียว คือ มีสินค้าพอเอาไว้ใช้งาน สำหรับการตอบคำถามในข้อสอบได้เท่านั้นเอง


    เริ่มต้นที่ Safety Stock จะคิดอย่างไร ก่อน ?
         ในการวางแผนว่า "เท่าใด" จึงเป็น Safety Stock นั้น จะคิดได้อย่างง่าย ๆ ขอยกตัวอย่างจากใน MonsoonSIM ซึงมีข้อมูลบอกไว้ใน Forecast (ในชีวิตจริง ใช้การคาดคะเน และทดลองจากยอดขายจริง และทำสถิติไว้ หรือ สามารถไปดูจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เคยผ่านมาได้ เช่น ยอดขายของปีก่อน ๆ ในช่วงเดียวกัน หรือ หากไม่มีบันทึกเอาไว้ สามารถที่จะดูได้จากบัญชีขาย แล้วแปลงกลับมาให้เป็นจำนวน) หรือ หากไม่แน่ใจว่า ยอดขายจะเปลี่ยนไปตาม ราคาและ Promotion ที่ใช้อย่างไร ก็ให้ดูยอดขายจริง ใน Unit Sold 
          เมื่อเราได้ข้อมูลส่วนนี้แล้ว คราวนี้ ก็จำเป็นจะต้องนำข้อมูลจากงานอื่น ๆ มา เช่น ข้อมูลจาก Procurement หรือจัดซื้อจัดหา ซึ่งมีที่มาของสินค้าได้หลายแหล่ง อาทิ จาก Vendors, จากการผลิต, จากการโยกย้ายสินค้าจากแหล่งอื่นๆ ฯลฯ  และสิ่งที่จำเป็นต้องทราบ เพื่อทำให้ Safety Stock เกิดขึ้นได้จริงๆ คือ LEAD TIME และ Cacacity ของแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อจะสามารถกำหนดได้ว่า จะมีจุดเติมเต็มสินค้า (Re-Oeder Point) เมื่อใด และปริมาณเท่าใด

    Picture
    สูตรของการคำนวน Re-Order Point
    Picture
       เมื่อได้ Safety Stock Level แล้ว เราก็มักจะได้ Re-Order Point หรือจุดเติมเต็มสินค้าไปด้วย  การรู้จำนวนยอดที่จะต้องใช้ต่อวัน หรือ ต่อดีลแบบถัวใน B2B จะทำให้เราสามารถบริการจัดการ Stock ของเราได้ดีขึ้น  คราวนี้ปัญหาต่อมา คือ จะมีช่วงที่ Demand สูงขึ้น (ใน MonsoonSIM คือ ช่วงวันหยุด ซึ่งลักษณะคล้าย ๆ กันกับชีวิตจริง) คนที่บริหารจัดการ stock อาจจะต้องใช้ทางเลือกพิเศษมาผสมผสาน ซึ่แล้วแต่เทคนิคของแต่ละบุคคล อาทิ บางคนแทนที่จะใช้ช่วงของวัน หรือกลุ่ม 2-3 วัน ก็อาจจะใช้สเกลที่ใหญ่ขึ้น เช่น อาทิตย์ หรือ 10 วัน (ทั้งนี้ จำเป้ฯจะต้องสอดคล้องกับ รอบการสั่งซื้อ ความสามารถของ vendors, ความสามารถทาง Logistics เช่น กระบวนการผลิต และการกระจายสินค้า) เรียกได้ว่า หากสามารถจัดการ TOTAL LEADTIME ได้ ก็จะไม่มีปัญหา และการจัดการ LEAD TIME นี้คือหัวใจของ Logistics & Supply Chain
        หากนักศึกษาเข้าใจ Lead Time ของกิจกรรมใด ๆ  ที่สอดคล้องกัน และมีความต่อเนืองกัน ประกอบกับจำนวน + การประมาณการ ระบบ Auto Replenishment ในโมดูล Logistics ที่ทำงานควบคู่กับ MRP ได้เมื่อใด จะเกิด Flow หรือ การไหลของขันตอนที่ต่อเนื่อง และสอดคล้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ ความต้องการ 
        หนึ่งในความซับซ้อน คือ "สิ่งกระทบ Demand" ซึ่งใน MonsoonSIM อาจจะมีเวลาที่สั้นเกินไปกว่าการที่จะคำนวนให้มีความคลาดเคลื่อนได้น้อย ทว่าในชีวิตจริงนั้น จะมีเวลาแในการคิดให้ละเอียดได้มาก มาถึงจุดนี้ นักศึกษาต้องเข้าใจถึง "สิ่งกระทบ Demand" เพราะว่า จะทำให้ ตัวเลขในสมการ ROP และ Safety Stock เปลี่ยนไป เช่น เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงแผนในการทำตลาด เช่น การปรับราคา, การใช้ Promotion หรือผลกระทบที่เกิดจากคู่แข่งทางการค้า สิ่งที่นักวางแผนที่ดีทำได้คือ แผนธุรกิจ ซึ่งกำหนดว่า บริษัทหรือกิจการ จะทำตลาดในสัดส่วนเท่าใดของตลาด (ศึกษาเพิ่มเรื่อง STP แล้วใส่ตัวเลขเข้าไป จะเห็นภาพชัดเจน) เนื่องจาก กิจการใด ๆ ย่อมมีข้อจำกัด ทั้งที่มาจากตัวเอง เช่น เงินทุน, จำนวนบุคลากร, จำนวนเครื่องจักร หรือ อาจจะมาจากผู้ร่วมค้า เช่น Vendors และภาพใหญ่กว่านั้น คือ ตลาดในระดับ มหภาค.
         ตัวอย่างเช่น เมื่อฝ่ายขาย ต้องการเปลี่ยนราคาขาย หรือใช้ Sale Promotion ในการทำ Pricing แน่นอนว่า เมื่อใดที่สินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ในตลาด มีราคาต่ำลง ผู้บริโภคก็มันจะให้ความสนใจ ระดับของ Safety Stock จะต้องเพิ่มขึ้น และ กระบวนการ Re-Order Point จะต้องเปลี่ยนไปในเชิง ความถี่ และปริมาณ เป็นต้น 

    Picture
    เมื่อกิจการมี Safety Stock ที่เหมาะสมแล้ว กิจการจะ Safe และ Save อะไรได้บ้าง ?
    • ระดับของ Safety Stock ระดับของสินค้า ที่ช่วยในช่วงความแปรผันของความต้องการทางการตลาด ทำให้ มีสินค้าไว้ขาย หรือ มีโอกาสขายได้มากขึ้นเมื่อมีความต้องการ 
    • Safety Stock ของวัตถุดิบ ช่วยให้เกิดการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุมต้นทุนของสินค้าได้อย่างดี และส่งผลให้ฝ่ายขายสามารถที่จะทำตลาดได้เมื่อต้องการ
    • Safety Stock จะช่วยทำให้ลูกค้า ไม่เปลี่ยยนใจจากการผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าขายเหมือนกัน เป็นการสร้าง CRM ได้ในลักษณะหนึ่ง หรือหากมองในเชิงของ Supplier Relationship Management นั้น คู่ค้าก็จะเลือกคู่ค้าที่สามารถสร้างธุรกิจร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อท่านต้องการความช่วยเหลือ คู่ค้าจะพิจารณาท่านก่อนเสมอ
    • ระดับของ Safety Stock จะบ่งบอกจึง "จำนวนของสินค้า"  หรือ "จำนวนของวัตถุดิบ" ซึ่งหากมีระดับสูง นั่นหมายถึง เงินสดในมือจะลดลง  การมี Safety Stock ในระดับที่เหามะสม จะทำให้สามารถควบคุม และคงสภาพคล่องทางการเงินได้ โดยค่อย ๆ ทยอยเพิ่มระดับ Safety Stock + ระดับของ Re-Order Point สภาพคล่องทางการเงินที่มี เป็นผลดีต่อธุรกิจ 
    • ระดับ Safety Stock ที่เหมาะสม
    0 Comments

    ทำไมเขาจึงบอกว่า Cash is King

    4/16/2019

    2 Comments

     
    Picture
    Picture
           ผมมักพูดเสมอ เพราะว่าถูกสอนให้เข้าใจว่า "เงินสดในมือ" หรือ "สิ่งแทนเงินสดที่แปรสภาพเป็นเงินได้ง่าย" คือ หัวใจของการทำธุรกิจ เมื่อตอนเด็ก ๆ ก็ยังเข้าใจเท่าไหร่นัก ว่าหมายความว่าอะไร จริงๆ ไม่ได้เข้าใจยาก เพราะว่า หากคุณมีเงินสดในมือ หมายถึง อำนาจการตัดสินใจนั่นเอง ผมจึงมักเริ่มคลาสด้วยการสมมติว่า วันนี้ได้เงินมาเท่าไหร่ และชวนนักศึกษาในคลาส คิดเลขตาม เช่น ได้เงินมา 300 บาท ซื้อกาแฟไป 55 บาท ทานข้าวเช้าไป 55 บาท มีเงินเหลือ อยู่ที่ 300 - 55 -55 = 190 บาท (ซึ่งนี่คือพื้นฐานของการทำบัญชี เมื่อทำบัญชี จึงรู้ว่า มีเงินเหลือเท่าไหร่ ผมมักจะพูดว่า ทำบัญชี จึงได้ การเงิน ทว่าสอนนักศึกษาแบบง่าย ๆ แบบนี้ อาจารย์ทางบัญชีไม่ปลื้ม และอาจารย์ทางการเงินไม่ชอบ
          ตอนนี้ผมเหลือเงิน 190 บาท แปลว่าอะไร แปลว่า หากผมจะไปดูหนัง ในราคาตั๋วหนัง 140 บาท ผมจะไม่สามารถทานอาหารใรนร้านอาหารในห้างได้ เพราะว่าจะเหลือเงิน 50 บาท ก็จะไม่พอ นี่แหละครับ เงินสดในมือ กำหนด การตัดสินใจ
           คราวนี้อะไร ของเทียบเท่า หรือมกล้เคียง ผมใช้คำว่า "สิ่งแทนเงินสดที่แปรสภาพเป็นเงินได้ง่าย" หรือ สินทรัพย์ที่แปรสภาพได้ง่าย (จะพูดแบบนี้อาจจะไม่ถูกต้องตามหนังสือทั้งหมด) คราวนี้ ในเกม MonsoonSIM คืออะไร พูดง่าย ๆ คือ "สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง" ที่เพียง นำมาขายเท่านั้น ก็จะได้ "เงินสด" กลับมา ได้ง่าย  เมื่อคราเข้าตาจนเวลาดู Observer ในเกม เพื่อตัดสินใจว่า จะ reset เกมหรือไม่ ผมจะเลือกดูว่า นักศึกษาทีมที่มีปัญหา นั้น มีปริมาณเงินสดเท่าไหร่ (=สภาพคล่องทางการเงิน) หากปริมาณเงินสดในมือมีน้อย ยังมีสินค้าคงคลังหรือไม่ ส่วนมากจพบว่า นักศึกษามักมีสินค้า "เหลือเฟือ" และมักจะขายไม่ได้ เหตุเพราะว่า หนีปัญหาในเกม คือ ขาดสินค้าไว้ขาย ก็เลยแก้ด้วยการซื้อเยอะ ๆ (ส่วนหนึ่่งก็คิดว่า ซื้อเยอะทำให้ต้นทุนลดลง แต่ลืมคิดไปว่า ถูกที่สินค้า แต่มาเพิ่มรายจ่ายที่ค่าจัดเก็บ เช่น ค่าเช่า, ค่าปรับพื้นที่ และ แถมยังทำให้ เงินสดในมือลดลง จนบางครั้งไม่พอใช่้ เสียอีก) 
           เป็นเรื่องปรกติ ที่เราจะแก้ปัญหาหนึ่ง แล้วเกิดปัญหาใหม่ ทว่า สิ่งสำคัญ คือ ระดับของเงินสด (Cash Liquidity) มีเพียงพอในการชำระค่า OPEX เพื่อยังสามารถดำเนินธุรกิจหรือไม่ หรือ ความสามารถในการเปลี่ยนสินค้าให้เป็นเงินสด ด้วยวิธีการต่าง ๆ Inventory Turn Over Ratio to CASH (ซึ่งโดยมาก พอถึงตาจน นักศึกษาก็จะขายสินค้าลดราคา เพื่อให้ขายได้ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า Margin อาจจะไม่พอรายจ่ายในการประกอบการ ทว่า ดีกว่าไม่มีเงินสดไว้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ) หากนักศึกษาเข้าใจสภาวะนี้ แล้วกลับไปมอง "ธุรกิจรอบตัว"  จะพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ในชีวิตจริง เราจะค้นพบว่า SME หรือเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก มันจะมีทางออกในหลาย ๆ วิธี เช่น OD; Over Draft (เงินเบิกเกินบัญชี ซึ่งพบในเกม MonsoonSIM), การกู้ยืมระยะสั้น (Short Loan ซึ่งพบใน MonsoonSIM) หรือวิธีการสุดคลาสสิค เช่น การแลกเช็คในหมู่เพื่อนฝูง หรือ การกินโต๊ะแชร์ของคุณพ่อคุณแม่ หรือ ร้ายไปกว่านั้น คือ การกู้ยืมนอกระบบ หรือ เงินกู้ที่มีดอกเบี้้ยสูงมาก ๆ ซึ่งทั้งหมดทำไปเพื่อ "คงสภาพเงินสดในมือเอาไว้"
          อธิบายแบบนี้ นักศึกษาน่าจะพอเข้าใจแล้วว่า CASH IS KING หมายถึงอะไร  ใน MonsoonSIM บางทีม บางคน บงาครั้งของประสบการณ์ พบว่า เพียงงจะใช้เงินนิดหน่อย ทำกิจกรรมง่าย ๆ นั้น ยังไม่สามารถที่จะทำได้ เพราะว่าเงินสดในมือมีไม่พอ ให้ลองมองกลับไปเห็นความจำเป็น ของธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องบ้าง ว่าธุรกิจที่ดำเนินในแต่ละวัน ยังคงมีค่าดำเนินการ (เหมือนกับที่มีใน MonsoonSIM) เช่น เงินเดือนพนักงาน, ค่าน้ำ, ค่าไฟ ฯลฯ ซึ่งบางครั้ง เจ้าของกิจการขนาดเล็กที่ขาดสภาพคล่อง ต้องไปหยิบยืมเงินมาจ่ายค่าดำเนินการเหล่านี้ ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ เช่น เพื่อยังคงการดำเนินธรกิจ, เพื่อยืดระยะเวลาของกิจการ และรอโอกาสที่จะปล่อยสินค้า ทั้งหมดนี้นักศึกษาผ่านปะสบการณ์จากเกมมาแล้วทั้งสิ้น 
         หากเพียงนักศึกษา เข้าใจ ประโยคสั้น ๆ มองจากประสบกาณ์ในเกม มองจากประสบกาณ์ในโลกจริงๆ ก็จะเห็นว่า เราจะต้อง เปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการในสภาพคล่องที่มีน้อยอย่างไร เช่น พยายามลดรายจ่าย โดยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นก่อน, ของที่มีต้องใช้ให้คุ้ม ซึ่งเป็นหลักในการบริหารจัดการทั่วไป ที่เรียกว่า Utilization, พยายามปรับปรุงประสิทธิภาพของงานต่าง ๆ Optimization แต่อนิจจานักศึกษาที่ "เล่นแต่เกม" ไม่ได้เช้าใจ concept และ convert ไปสู่ เรื่องจริงผ่านจอได้ ก็มักจะเห็นเป็นประจำ (ดูกราฟด้านบนประกอบ)
      เมื่อเห็นนักศึกษาเล่นเกมโดยแทบจะไม่สนใจ "Cash on Hand" ในครั้งแรก ๆ ผมพอจะเข้าใจว่า คงเป็นเช่นเดียวกับผมเมื่อตอนสมัยยังวัยรุ่น ทว่า แปลกที่นักศึกษามีพฤติกรรม การ "จ่าย" ออก แบบไม่ "คิด" ให้ดี หรือ หกกขั้น Advance มากขึ้น เมื่อเป็นระบบ Accrual หรือ มีระบบ Credit ที่ทำให้ Cash flow ไหลออกเร็ว ไหลเข้าช้า และไม่สามารถหน่วงเงินสดให้อยู่ในมือได้นาน (ทั้งหมดนี้ ใครที่ไม่ได้เล่นแค่เกม จะพบว่า ประสบการณ์เหล่านี้ พบจากเกมทั้งสิ้น) เป็นเหตุผลในการเข้าใจว่า Credit Term คืออะไร AP; Account Payable และ AR; Accpunt Receiveable เกี่ยวข้องอะไร และเปลี่ยน "ทฤษฎี" ที่คุณต่างเคยเรียนจาก การเงิน 101 ให้เห็นภาภาพชัดขึ้น สุดท้ายฝากภาพนี้ไว้ เป็นภาพที่ผมชอบ มรสุมสยามต้องเข้าใจ ภาพนี้ให่่องแท้มากขึ้นนะครับ
    Picture
    ขอขอบคุณภาพจาก http://christophersrevision.weebly.com/cash-flow.html 

    น้ำในแทงก์ คือ ส่วนต่างระหว่าง Flow in (ยอดขาย) และ Flow Out (ค่าใช้จ่าย)  ถ้าไหลออกมากกว่าไหลเข้า "ธุระ" จะ flush ไม่ลง  รูรั่วในที่นี้ คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เมื่อน้ำในแทงก์มีไม่พอ ก็ทำ ภารกิจไม่สำเร็จ หรือทำได้โดยไม่มีประสิทธิภาพ

    เข้าใจบ้าง อย่าเล่นแต่เกม


         ถ้าไม่ได้เอาแต่เล่นเกม คุณจะค้นพบว่า MonsoonSIM สอนคุณในหลากหลายมิติ และให้โอกาสคุณได้ทดลองเห็นผลลัพท์ ซึ่งคุณคงไม่อยากให้เกิดในโลกจริง ๆ ได้ ผมขอฝากนักศึกษาว่า "อย่าเล่นแต่เกม" ให้กลับมาทบทวนว่า เกมได้สอนอะไรคุณบ้าง และเกมนี้จะช่วยให้คุณโตไปมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างไร 
    2 Comments

    ว่าด้วยเรื่องพื้นที่ร้านค้า คลังสินค้า ค่าเช่า ค่าปรับ การจัดการพื้นที่ใน MonsoonSIM

    4/16/2019

    0 Comments

     
          ใน MonsoonSIM มีการจัดการพื้นที่ของร้านค้า และพื้นที่ของคลังสินค้า ซึ่งจะมีจำนวน และความจุต่อพืนที่ รวมไปถึงค่าเช่า และค่าปรับพื้นที่ แตกต่างกันออกไปตามแต่ละ Configurations
           โดยมีค่า Configurations มาตรฐาน ดังนี้ 
    • ในร้านค้าปลีก จะมีพื้นที่เริ่มต้น 100 ตร.ม.  โดยมีค่าเช่า ตร.ม. ละ 50 ต่อวัน และมีค่าปรับหกใช้พื้นที่เกิน ตร.ม. ละ 200 ต่อวัน (และจะปรับไปจนกว่าจะกลับสู่สภาวะปรกติ หรือ มีการเพิ่มพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนสินค้า) 
    • ในคลังสินค้า จะมีพื้นที่เริ่มต้น 1,000 ตร.ม. โดยมีค่าเช่า ตร.ม. ละ 20 ต่อวัน และมีค่าปรับหกใช้พื้นที่เกิน ตร.ม. ละ 100 ต่อวัน (ซึ่งในปัจจุบัน Version 7.x ยังเป็นพื้นที่ในส่วนของการตั้งเครื่องจักร, วัตถุดิบ และ สินค้าเมื่อผลิตเสร็จรวมกัน) 
    • ใน Configurations มาตรฐาน 1 ตร.ม. จะสามารถบรรจุสินค้าผลิตเสร็จแล้ว ได้ 300 กล่อง ซึ่งขนาดความจุ ต่อพื้นที่หรือปริมาตรการบรรจุต่อ ตร.ม.  อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ขั้นอยู่กับ Certified Trainer จะตั้งต่า
    • ในแต่ละพืนที่ หาก Certified Trainer ต้องการให้ประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป จะสามารถ ปรับให้มีพื้นที่เริ่มต้นในวันแรก, ค่าเช่า และค่าปรับพื้นที่ในกรณีใช้พื้นที่เกิน ให้แตกต่างกันได้ในแต่ละพื้นที่

    Process
        MonsoonSIM จะอนุญาตให้ผู้ใช้งาน สามารถปรับขนาดพื้นที่ได้ โดยจะเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดย "คำขอในการปรับพื้นที่" จะถูกพิจารณาในรูปแบบของ Purchasing Requisition (PR) และจะต้องการการยืนยันเพื่ออนุมัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานทั่วไป ทำให้ PR กลายสภายเป็น Purchasing Order (PO) หากไม่ติดปัญหาในเรื่องสภาพคลองทางการเงิน พื้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปใน MonsoonSIM ในวันรุ่งึ้น จนกว่าจะมีการเปลียนแปลง
    • ใน Version 7.x สำหรัลผู้ใช้งานที่มีประสบการณ์ สามารถที่จะตั้ง การ Bypass ขั้นตอนการอนุมัติได้ ใน FIN >> Process Control หาก CT อนุญาตให้เข้าถึง Feature นี้ 
    • ในชีวิตจริงนั้น การปรับพื้นที่แบบในเกม อาจจะทำไม่ได้ ซึ่งจะต้องใช้ระบบของ Distribution Center, ใช้การเช่าพื้นที่เพิ่ม มาในการแก้ปัญหา หรือ อาจใช้การบริหารจำนวนสินค้าคงคลัง ให้สอดคล้องกับปริมาณสินค้า และใช้ระบบ Logistics หรือการยนส่ง เพื่อจัดการปัญหานี้ ซึ่งในเกม จะทำงานควบคู่กับ MRP, Safety Stock และ Auto Replenishment หรือ ใช้กระบวนการจัดส่งสินค้า แบบ BPO; Blanket Purchase Order หรือ Future Delivery ในการแก้ปัญหาแทน 

    และตั้งแต่ใน Version 7.x เป็นต้นมา มีการเพิ่ม function ในการจัดการ ต้นทุนค่าเช่าเพิ่มเข้าไป 2  ลักษณะดังนี้ 
    Picture
    ประเภทแรก คือ สัญญาการเช่าพื้นที่ (ดูภาพบนประกอบ)
             โดยใน MonsoonSIM มีลักษณะการเช่าพื้นที่ แบบต่าง ๆ 2 แบบ คือ 
              1) Daily Contract หรือ สัญญาแบบรายวัน ซึ่งจะไม่ได้รับส่วนลด  ทว่ามีข้อดีคือ สามารถปรับพื้นที่ขึ้นลง ได้ในวันถัดไป ง่ายต่อการบริการพื้นที่ 
              2) สัญญาเช่า ในแบบช่วงระยะเวลา ซึ่งจะมีทางเลือกคือ 7 และ 30 วัน ซึ่งจะได้รับส่วนลดแตกต่างกันไป โดยมีข้อจำกัด คือ ในระหว่างสัญญาเช่า ตังแต่วันแรกที่สัญญามีผล (PO ถูก Approved) จนถึงวันสุดท้ายของสัญญา จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพื้นที่เช่าได้ และ จะ Auto-renew ให้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเรื่องค่าเช่า 
             จะเกิดอพะไรขั้น หากท่านเปลี่ยนแปลงสัญญาช่า สัญญาเช่าที่ Approved แล้ว จะมีผลเมื่อสัญญาเดิมสิ้นสุดลง  เช่น ในวันที่ 8 สัญญาเช่า ระยะ 7 วัน จะหมดลง ทว่าในวันที่ 6 ท่านได้ ยืนยันสัญญาเช่าใหม่ 30 วัน สัญญาเช่า 30 วัน ก็จะมีผลในวันที่ 9 ของเกมนับไปอีก 30 วัน โดย PO เมื่อ Approved แล้วจะเรียงคิว transaction และมีผลต่อเกม
              อย่างไรก็ตาม การได้รับค่าเช่าที่ลดลง หมายถึงต้นทุนการประกอบการจะลดลงไปด้วย ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจ การบริหารจัดการสินค้าคงคลังในแต่ละพื้นที่ ควรใช้แนวคิด Safety Stock ส่วนจะเลือกวิธีการให้นั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการ เช่น จะใช้ Auto-Replenishment (ROP) หรือ จะใช้ BPO หรือ Suture Delivery หรือ การสั่งตรงสลับกับโปรแกรมเดิม นั้น แล้วแต่ผู้เล่น

    Picture
      


    ประเภทที่สอง คือ การแปรผันของค่าเช่า 
              ใน concept นี้ เพือให้ผู้ใช้ได้มีการวางแผน เพื่อการจัดการ "ค่าเช่า" คือเป็น หนึ่งใน Operating Expenses (OPEX) 
    0 Comments
    <<Previous

      ชุดความรู้จาก MSIM

      ผู้ใช้ MonsoonSIM สามารถที่จะฝากคำถามไว้ใน FB ของ MonsoonSIM TH แล้วคำถามของท่านเกี่ยวกับ MSIM จะได้รับคำตอบ โดยจะตอบจากพื้นฐานในเกมไปสู่การปรับใช้งาน หรือความเข้าใจในเชิงทฤษฎี

      และเนื้อหาในทุกเรื่องจะนำไปสู่การปฎิบัติ หรือ ตัวอย่างจากเคสที่เกิดขึ้นจริงในโลกธุรกิจ 

    Picture
    Picture
    Picture
    Picture

    MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
    more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

    MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand