เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างการใช้การบ้านเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ในกิจกรรม TH ERM Challenge#1
ในหัวข้อนี้จะนำเอาประสบการณ์มาแบงปัน สำหรับการใช้การบ้านเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ในกิจกรรม TH ERM Challenge ตอนที่ 2 โดย เป็นตัวอย่างจากการแข่งขันในปี 2018 ที่ผ่านมา ด้วยความประสงค์ที่จะทดลองหัวข้อใหม่ให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงของ Function ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ใน MonsoonSIM ที่มีการพัฒนา เพิ่ม Feature เพิ่มขึ้นนั้น ทำใหเป็นต้นทุนในการสร้างการบ้านในการแข่งขันนี้ โดยการบ้านในปีนี้มีโอกาสทำได้เพียง 4 ตัวอย่าง ด้วยเวลาที่จำกัด และการเปลี่ยนแปลงภาคการศึกษา และการเปลี่ยนแปลงเรื่องของระยะเวลาในการจัดการแข่งขัน และวันหยุดต่าง ๆ มากมาย ที่เป็นอุปสรรค
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อเปลี่ยนรูแบบการสอนไป ระหว่างปี 2016, 2017 และในปี 2018 นี้คือ engagement ของนักศึกษารุ่น Gen-Z ที่แตกต่างกันกับ Gen-Y มากมาย ทั้ง ๆ ที่อายุห่างกันเพียง 1-2 ปี โดยเฉลี่ยเท่านั้น รวมไปถึงนักศึกษษในรุ่นนี้เป็นรุ่นที่เปลี่ยนแปลงหลักสูตรจากชั้นประถม มัธยม และวิธีการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยด้วย อย่างไรก็ตามหัวข้อในวันนี้เป็นเรื่องของประสบการณ์ที่เกิดจากการทดลองให้การบ้าน โดยการบ้านทั้ง 4 ตัวอย่าง ได้แก่ BI; Business Intelligent, Decision Making Flow Chart, Retails Strategies และ 8 Wastes of LEAN ซึ่งท่านจะสามารถดูตัวอย่างการบ้านได้จากไฟล์ที่เปิดให้ดาวโหลดเพื่อการศึกษาร่วมกัน
การบ้านส่วนใหญ่ในการแข่งขัน เป็นการบ้านปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาตีความโจทย์ ทว่า จะกำหนดรูปแบบของการส่งการบ้าน ในบางครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนวิธีารสร้างสื่อ เช่น บางครั้งจะให้ส่งเป็น PPT File (Presentation Slide) บางครั้งให้ส่งเป็นข้อเขียน หรือรูปแบบบทความ บางครั้งให้ส่งเป็นผังภาพ และในหลายครั้งไม่กำหนด format เพื่อให้นักศึกษาเลือก format ที่เหมาะสม้ยตนเอง เป็นการฝึกฝนวิธีการนำเสนอ หรือการสื่อสารความคิดให้ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งท่าน CT ผู้อ่านบทความนี้ และต่อเนื่องจากหลายตัวอย่างในการแข่งขัน ในหลาย ๆ ปี จะได้ไม่เกิดความสับสน บ่อยครั้งที่พบว่า นักศึกษาบางกลุ่ม สอบถามมาเพื่อเริ่ม scope ปัญหา และขอบเขต ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ท่าจะทราบว่า แต่ละทีมมีพัฒนาการ และความแข็งแกร่งในเรื่องใดบ้าง
ในหัวข้อนี้จะนำเอาประสบการณ์มาแบงปัน สำหรับการใช้การบ้านเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ในกิจกรรม TH ERM Challenge ตอนที่ 2 โดย เป็นตัวอย่างจากการแข่งขันในปี 2018 ที่ผ่านมา ด้วยความประสงค์ที่จะทดลองหัวข้อใหม่ให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงของ Function ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ใน MonsoonSIM ที่มีการพัฒนา เพิ่ม Feature เพิ่มขึ้นนั้น ทำใหเป็นต้นทุนในการสร้างการบ้านในการแข่งขันนี้ โดยการบ้านในปีนี้มีโอกาสทำได้เพียง 4 ตัวอย่าง ด้วยเวลาที่จำกัด และการเปลี่ยนแปลงภาคการศึกษา และการเปลี่ยนแปลงเรื่องของระยะเวลาในการจัดการแข่งขัน และวันหยุดต่าง ๆ มากมาย ที่เป็นอุปสรรค
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อเปลี่ยนรูแบบการสอนไป ระหว่างปี 2016, 2017 และในปี 2018 นี้คือ engagement ของนักศึกษารุ่น Gen-Z ที่แตกต่างกันกับ Gen-Y มากมาย ทั้ง ๆ ที่อายุห่างกันเพียง 1-2 ปี โดยเฉลี่ยเท่านั้น รวมไปถึงนักศึกษษในรุ่นนี้เป็นรุ่นที่เปลี่ยนแปลงหลักสูตรจากชั้นประถม มัธยม และวิธีการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยด้วย อย่างไรก็ตามหัวข้อในวันนี้เป็นเรื่องของประสบการณ์ที่เกิดจากการทดลองให้การบ้าน โดยการบ้านทั้ง 4 ตัวอย่าง ได้แก่ BI; Business Intelligent, Decision Making Flow Chart, Retails Strategies และ 8 Wastes of LEAN ซึ่งท่านจะสามารถดูตัวอย่างการบ้านได้จากไฟล์ที่เปิดให้ดาวโหลดเพื่อการศึกษาร่วมกัน
การบ้านส่วนใหญ่ในการแข่งขัน เป็นการบ้านปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาตีความโจทย์ ทว่า จะกำหนดรูปแบบของการส่งการบ้าน ในบางครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนวิธีารสร้างสื่อ เช่น บางครั้งจะให้ส่งเป็น PPT File (Presentation Slide) บางครั้งให้ส่งเป็นข้อเขียน หรือรูปแบบบทความ บางครั้งให้ส่งเป็นผังภาพ และในหลายครั้งไม่กำหนด format เพื่อให้นักศึกษาเลือก format ที่เหมาะสม้ยตนเอง เป็นการฝึกฝนวิธีการนำเสนอ หรือการสื่อสารความคิดให้ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งท่าน CT ผู้อ่านบทความนี้ และต่อเนื่องจากหลายตัวอย่างในการแข่งขัน ในหลาย ๆ ปี จะได้ไม่เกิดความสับสน บ่อยครั้งที่พบว่า นักศึกษาบางกลุ่ม สอบถามมาเพื่อเริ่ม scope ปัญหา และขอบเขต ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ท่าจะทราบว่า แต่ละทีมมีพัฒนาการ และความแข็งแกร่งในเรื่องใดบ้าง
TH ERM Challenge 2018 HW#1: Business Intelligent
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างการบ้านได้ที่นี่ Download Zip file (6.39 Mb)
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างการบ้านได้ที่นี่ Download Zip file (6.39 Mb)
โจทย์: ให้นักศึกษาตั้งคำถามที่เกี่ยวกับการวัดผลโดยการใช้ BI มา 3 ข้อ
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
ใน MonsoonSIM ตั้งแต่ version 5.2 เป็นต้นมา ได้เพิ่ม feature ที่เรียกว่า Business Intelligent (BI) เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน มาเทียบกับเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลง ตามแกนของเวลา และกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงการใช้ข้อมูล และการวิเคราะห์ผลลัพท์ แนวโน้ม ที่เกิดจากการตัดสินใจ
ทว่าพบว่านักศึกษาไทยส่วนมาก ไม่มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล และมักจะมีคำถามว่า ควรจะวิเคราะห์ข้อมูลอะไร เพื่อวัตถุประสงค์ใด เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ และไม่ได้ถูกสร้างให้ใช้ข้อมูล จึงได้นำเอาแบบฝึกหัดนี้มาเป็นแบบฝึกหัดเพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองในการใช้ BI มาเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์
วิธีการ:
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
ใน MonsoonSIM ตั้งแต่ version 5.2 เป็นต้นมา ได้เพิ่ม feature ที่เรียกว่า Business Intelligent (BI) เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน มาเทียบกับเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลง ตามแกนของเวลา และกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงการใช้ข้อมูล และการวิเคราะห์ผลลัพท์ แนวโน้ม ที่เกิดจากการตัดสินใจ
ทว่าพบว่านักศึกษาไทยส่วนมาก ไม่มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล และมักจะมีคำถามว่า ควรจะวิเคราะห์ข้อมูลอะไร เพื่อวัตถุประสงค์ใด เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ และไม่ได้ถูกสร้างให้ใช้ข้อมูล จึงได้นำเอาแบบฝึกหัดนี้มาเป็นแบบฝึกหัดเพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองในการใช้ BI มาเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์
วิธีการ:
- แนะนำวิธีการใช้ BI เบื้องต้น ให้กับนักศึกษา
- ทดลองตั้งตัวอย่างคำถาม และลองให้นักศึกษาได้ทดลองพิจารณาเลือกข้อมูลในแกนต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกัน และอธิบาย
- ให้นักศึกษาได้ทดลองเปิด BI ขึ้นมาอีกหนึ่งวินโดว์ เพื่อจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล เทียบกับการตัดสินใจในงานที่ได้รับมอบหมายในระหว่างเล่นเกม
- ได้ให้แบบฝึกหัดนี้เป็นการบ้าน เพื่อการฝึกฝน ในการดคงข้อมูลแบบ offline มาศึกษา และสร้างเป็นรายงาน อธิบาย
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
- นักศึกษา ไมมีประสบการณ์ หรือไม่ทราบว่า จะวัดผลไปเพื่อประโยชน์ใด ๆ บ้าง ซึ่งสิ่งนี้ไม่สามารถสอนให้จดจำได้ และนี่เป็นจุดอ่อนของนักศึกษาไทย หากท่า CT มีเวลา ควรจัดให้เกิด session ในการอธิบาย เพื่อตรวจสอบ และใช้โอกาสในการสอนเรื่องการใช้ข้อมูลในการวิคราะห์ และการตัดสินใจ
- พบว่านักศึกษาเฉพาะที่ทำการบ้านส่งในตัวอย่าง ยังมีความสับสนในการใช้ข้อมูล และคำอธิบายไม่เป็นไปตามข้อมูลที่แสดงไว้ แต่มักจะนำสมมติฐานหรรือตามความคิดของตน ซึ่งการทำแบบนี้ทำให้ท่านสามารถตรวจสอบวิธีการคิดได้ด้วย
- นักศึกษาบางท่านก็มีทักษะในการใช้เครื่องมือได้ดี เนื่องจากมีพื้นฐานและประสบการณ์ด้านธุรกิจ หรือการใช้ข้อมลมาบ้าง เพื่อเติมเต็มช่องว่าง เนื่องจากในสภาพปัจจุบันควร IT IS IM และเรื่องการบริหารธุรกิจ การจัดการเป็นเรื่องเดียวกัน
TH ERM Challenge 2018 HW#2: Decision Making Flowchart
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างการบ้านได้ที่นี่ Download Zip file (4.90 Mb)
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างการบ้านได้ที่นี่ Download Zip file (4.90 Mb)
โจทย์: ให้นักศึกษาเขียน Decicion Making Flow Chart ที่แสดงขั้นตอนการตัดสินใจ และแผนการดำเนินงาน
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
วิธีการ:
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
- การเข้าใจเรื่อง Business Process และการตัดสินใจ จะต้องเชื่อมโยงปัจจัยจากงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนักศึกษาไทย และการเรียนการสอนเรื่องของ BP ในปัจจุบันเป็นปัญหา เนื่องจากนักศึกษาไม่มีประสบการณ์และไม่ทราบกระบวนการ และยังมี Silo-Based Learning ซึ่งทำให้การเข้าใจเรื่องกระบวนการทำได้ยาก อีกทั้ง กระบวนการนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจประโยชน์ของการตัดสินใจทางธุรกิจเป็นสำคัญ
- การบ้านนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างวิธีคิดให้เป็นระบบ ผ่าน Flow chart ภายใต้หัวข้อ Decision Making Flow Chart ซึ่ง จะสามารถพัฒนาไปเป็นเรื่องของ Programming ในการเขียน Software หรือ มองเห็นความเชื่อมโยงกับงานอื่น ๆ ได้
วิธีการ:
- ให้นักศึกษานำเอากระบวนการตัดสินใจที่เกิดขึ้นใน Game MonsoonSIM มาสร้างเป็น decision making flow chart
- CT ให้คำแนะนำหลังจากเห็น Flow ที่ส่งมา เพื่อให้นักศึกษาปรับแก้ไข หรืออธิบายขั้นตอนกระบวนการ ซึ่งหากมีกระบวนการหรือขั้นตอน ในส่วนจอง BPI; Business Process Improvement จะได้ให้เห็นวิธีคิด การตั้งคำถาม ในกระบวนการเหล่านี้
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
- นักศึกษาส่วนมากที่ส่งการบ้าน มีความไม่เข้าใจเรื่อง Tool เป็นอันดับแรก ไม่เข้าใจเรื่องของ Flow chart และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มที่ แต่นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์หลังจากได้ทดลองเขียน flow
- พบว่า การเข้าใจกระบวนการการทำงาน บางกลุ่มทำได้ดี โดยเชื่อมโยงการตัดสินใจกับแผนกอื่น ๆ หรืองานอื่น ๆ ได้ ในขณะที่ส่วนมากไม่เข้าใจกระบวนการนี้ ซึ่งอาจจะต้องรอให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์ครบทั้ง 12 โมดูลก่อน เพื่อให้เห็นภาพ หรือ อาจจะต้องปรับให้มีการเขียนใน Supply Chain ที่ไม่ซับซ้อนเสียก่อน หลังจากนั้น ให้เอา flow chart มาเขียนเพื่มเมื่อเพิ่มความซับซ้อนใน game ควบคู่กัน การจะทำแบบฝึกหัดนี้ได้จะต้องอาศัยระยะเวลา ซึ่ง คลาส 1 ครั้ง แบบรวบรัดใน TH ERM Challenge Conceptual Class ไม่ใช่ approcahing ที่ดี ทว่า นักศึกษาที่มีประสบการณ์หลายครั้ง สามารถทำได้ดี
TH ERM Challenge 2018 HW#3: Retails Strategies
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างการบ้านได้ที่นี่ Download Zip file (6.79 Mb)
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างการบ้านได้ที่นี่ Download Zip file (6.79 Mb)
โจทย์: ให้นักศึกษาศึกษา รวบรวม นำเอากลยุทธ์ด้านการค้าปลีกมานำเสนอในรูปแบบของข้อเขียน
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
วิธีการ:
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
- เพื่อทดสอบความสามารถในการเขียนเพื่อสื่อสารของนักศึกษา จึงให้ส่งการบ้านในรูปแบบของข้อเขียน
- เพื่อให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยง ทฤษฎี ที่เรียนหรือค้นคว้ามา ไปสู่การนำเอา ทฤษฎีมาผสมผสาน ให้เห็นข้อจำกัด ในแผนกลยุทธ์ด้านค้าปลีก เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ได้
วิธีการ:
- ให้นักศึกษาไปหากลยุทธ์ด้านการค้าปลีก แล้วให้เลือกกลยุทธ์ที่สามารถใช้งานได้ในสถานการณ์ใน MonsoonSIM เป็นตัวตั้ง และอธิบายว่า พวกเขานั้น พบข้อจำกัด ปัญหาใด และจะสามารถที่จะใช้วิธีการใด ในการแก้ไขปัญหา
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
- การวิเคราะห์ ปัญหา และการเข้าใจปัญหา ยังเป็นส่วนที่มีความผิดพลาดมากทีสุดในทุกกลุ่ม ซึ่งผู้ให้การบ้าน ประสงค์ที่จะให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงข้อมูล จาก MonsoonSIM ซึ่ง Closed Environment ไว้ เป็นตัวโจทย์ในการอธิบาย
- คำอธิบายในบางเรื่อง ยังไม่สามารถอธิบายวิธีคิดได้
- นักศึกษามีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในนิยามของ "กลยุทธ์"
- CT อาจจะต้องให้การบ้านเพิ่มเติม เป็นการ assign อุตสาหกรรมใด ๆ เพื่อเป็นโจทย์ ให้นักศึกษาเชื่อมโยงกระบวนการ ทฤษฎี และวิธีในการสร้างกลยุทธ์ได้ต่อไป
TH ERM Challenge 2018 HW#4: Waste (If not LEAN)
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างการบ้านได้ที่นี่ Download Zip File (8.23 Mb)
ท่านสามารถดาวโหลดตัวอย่างการบ้านได้ที่นี่ Download Zip File (8.23 Mb)
โจทย์: ให้นักศึกษานำกิจกรรม ที่มีใน MonsoonSIM หรือ กิจกรรมในโลกจริง ที่เกี่ยวกับกระบวนการ LEAN Management มาแสดง 3 ตัวอย่าง โดยสามารถบอกวิธีการ สาเหตุ ผลลัพท์ ของการจัดการลีนได้
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
วิธีการ:
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
แนวคิดและวัตถุประสงค์:
- ต้องการให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ในการลด Waste ต่างๆ จากกระบวนการได้อย่างไร ในแง่มุมใดบ้าง เพื่อเพิ่มทักษะการคิดถึงวิธีการ สาเหตุ ผลลัพท์
- ประสงค์ให้สามารถสร้างวิธีการทำงาน ภายใต้ Lean Concept ใน MonsoonSIM และในการทำงานในอนาคตได้
วิธีการ:
- ให้นักศึกษา หาประโยชน์ของ LEAN มาแสดง จาก กระบวนการต่าง ๆ 3 ตัวอย่าง
ผลลัพท์ และการถอดบทเรียน:
- เนื่องจากในปี 2018 นี้ มีเวลาจำกัด และตรงกับช่วงสอบของนักศึกษา คุณภาพของการบ้านอาจจะไม่ดีเพียงพอ หรืออยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับบางทีม บ้างก็สรุปแนวคิดของ Lean มาในการบ้าน ซึ่งอย่างน้อยก็มองเห็นประโยชน์ในชั้นต้น
- เมื่อนำเอา Decisioin Making Process มาผสมผสานเข้าไป นักศึกษาจะได้รับแนวคิดในการตัดสินใจเพื่อให้เกิด Lean Management
- หากมีเวลาเพิ่มเติม ท่าน CT ควรจัดสรรเวลาให้มีการคำนวน waste ที่เกิดขึ้น หรือมูลค่าของ Gain หากแผนการจัดการ Lean ได้ผล ออกมาเป็นตัวเลขเพื่อให้เกิดความเป็นรูปธรรม