คลิกที่นี่เพื่ออ่าน
EP 9 (K-Experience Chapter 1) บทเรียนจากแดนกิมจิ สู่เมืองส้มตำ ว่าด้วยการเดินทางจาก Start up สู่ Entrepreneurship : The Birth of K-Gene
EP 9 (K-Experience Chapter 1) บทเรียนจากแดนกิมจิ สู่เมืองส้มตำ ว่าด้วยการเดินทางจาก Start up สู่ Entrepreneurship : The Birth of K-Gene
The Miracle of Han River มหกรรมสร้างชาติเพื่อเป็นสมาชิกอันโดดเด่นบนโลก
ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของโลกในยุคปัจจุบัน ที่อาจจะว่าด้วยเศรษฐกิจโลกยุคหลังวิกฤตซับไพร์ม (หลังปี 1980) เป็นต้นมน หากไม่กล่าวถึง The Miracale of Han River ของเกาหลีแล้วน่าจะผิดพลาด (ทว่าในระบบการศึกษาของไทยแบบ Higher Education พูดน้อยมากครับในเรื่องนี้) เพราะว่าเกาหลี (ซึ่งในที่นี้หมายถึงเกาหลีใต้) เปลี่ยนแปลงตัวเองจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเองจากประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่งหลังสงคตรามโลกครั้งที่ 2 เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ TOP 13 ของโลกในการจัดอันดับขององค์กรสหประชาชาติ
โดยส่วนตัวผมไม่ชอบคำว่า "ปาฎิหาริย์" ที่แปลตามพจนานุกรมว่า สิ่งน่าอัศจรรย์ ความน่าอัศจรรย์ ใน sense ที่ว่า มนุษย์สามัญทำไม่ได้ The Miracle of Han River (แม่น้ำฮาน เป็นแม่น้ำสายหลักของกาหลี) เป็นการเลียนแบบมาจาก The Miracle of Rine ที่เยอรมันตะวันตกขณะนั้นพลิกฟื้นตัวเองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความเหมือนกันของสองมิราเดิ่ล นี้ คือ การได้รับเงินทุนในการฟื้นฟู ที่แตกต่างกันคือ ที่แม่น้ำฮานนั้น แลกมาด้วยทรัพยากร สิทธิประโยชน์ มากมายที่ต้องมอบให้แก่เจ้าของเงิน หรือนายหน้าแบบสหรัฐอเมริกา
ปฐมบทของ The Miracle of Han River
โดยส่วนตัวนั้น The Miracla of Han River ของเกาหลีใต้ เกิดจากปรากฎการณ์การเกรงกลัวอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนจากประวัติศาสตร์ที่เส้นขนาน ที่ 38 เริ่มต้น ณ ปันมุนจอม มีความกว้างราว 4 กิโลเมตร ยาวจากแผ่นดินฝั่งหนึ่งไปจนสิ้นแผ่นดินอีกฝั่งของคาบสมุทรเกาหลี ปัจจุบันพื้นที่นี้ถูกเรียกว่า DMZ; DeMilitarized Zone) ที่เรียกว่า "สงครามเย็น" รวมกับประวัติศาสตร์สมัยที่ญี่ปุ่นเข้ามามีอิธิพลเหนือคาบสมุทรเกาหลีตั้งแต่ปลายคริสตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ซึ่งในบทที่แล้วผมเรียกว่า Patenece Gene หรือ ยีนแห่งความอดทนอดกลั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนเกาหลี
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ และเป็นคำถาม คือ หากคนเกาหลีไม่ได้รับแรงกดดันในช่วงเวลาตั้งแต่ ญี่ปุ่นเข้ามามีอำนาจ จนถึงนำพาเกาหลีไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 และตามด้วยสงครามเกาหลีนั้น จะเกิดแรงผลักดันเช่นที่เกิดขึ้นหรือไม่ ความแร้นแค้นที่ต้องถูกกดขี่ข่มเหงจากคนรุ่นนี้ ทำให้ คนที่ร่วมสมัยในระยะเวลานั้น จนกระทั่ง Generation Baby Boomer ของเกาหลี ที่เห็นความทุกข์ระทม จะสร้างให้มี Dedecation Gene หรือยีนแห่งความอุทิศตนเพื่อชาติในเวลาต่อมาหรือไม่ เป็นคำถามที่น่าสนใจ ผมทำได้เะียงเทียบคียงกับประวัติศาสตร์ของไทยเท่านั้นซึ่งพบว่า เราอาจมี Gene ทั้ง 2 ตัวนี้ (Patience and Dedication Gene) เป็น "ยีนด้อย" ที่รอเพียงเวลาผลิบานในบางกลุ่มชนของสังคมไทย ผลของมันเป็นที่รู้กันในปัจจุบัน ทั้ง ๆ ทีเรามี "ทุน" ทางสังคมและเศรษฐกิจสูงกว่าเกาหลี
แรงผลักดันในสังคมเกาหลีเป็นปัจจัยหนึ่ง และความแร้นแค้นทางเศรษฐกิจของเกาหลีโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลก และสงครามเกาหลีอีกปัจจัยหนึ่ง เป็นแรงผลักและแรงดันให้เมื่อเกาหลีแข็งแกร่งและเมื่อถึงวันผลิบานจึงสะพรั่งไปด้วยดอกไม้ที่สวยงาม
ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของโลกในยุคปัจจุบัน ที่อาจจะว่าด้วยเศรษฐกิจโลกยุคหลังวิกฤตซับไพร์ม (หลังปี 1980) เป็นต้นมน หากไม่กล่าวถึง The Miracale of Han River ของเกาหลีแล้วน่าจะผิดพลาด (ทว่าในระบบการศึกษาของไทยแบบ Higher Education พูดน้อยมากครับในเรื่องนี้) เพราะว่าเกาหลี (ซึ่งในที่นี้หมายถึงเกาหลีใต้) เปลี่ยนแปลงตัวเองจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเองจากประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่งหลังสงคตรามโลกครั้งที่ 2 เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ TOP 13 ของโลกในการจัดอันดับขององค์กรสหประชาชาติ
โดยส่วนตัวผมไม่ชอบคำว่า "ปาฎิหาริย์" ที่แปลตามพจนานุกรมว่า สิ่งน่าอัศจรรย์ ความน่าอัศจรรย์ ใน sense ที่ว่า มนุษย์สามัญทำไม่ได้ The Miracle of Han River (แม่น้ำฮาน เป็นแม่น้ำสายหลักของกาหลี) เป็นการเลียนแบบมาจาก The Miracle of Rine ที่เยอรมันตะวันตกขณะนั้นพลิกฟื้นตัวเองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความเหมือนกันของสองมิราเดิ่ล นี้ คือ การได้รับเงินทุนในการฟื้นฟู ที่แตกต่างกันคือ ที่แม่น้ำฮานนั้น แลกมาด้วยทรัพยากร สิทธิประโยชน์ มากมายที่ต้องมอบให้แก่เจ้าของเงิน หรือนายหน้าแบบสหรัฐอเมริกา
ปฐมบทของ The Miracle of Han River
โดยส่วนตัวนั้น The Miracla of Han River ของเกาหลีใต้ เกิดจากปรากฎการณ์การเกรงกลัวอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนจากประวัติศาสตร์ที่เส้นขนาน ที่ 38 เริ่มต้น ณ ปันมุนจอม มีความกว้างราว 4 กิโลเมตร ยาวจากแผ่นดินฝั่งหนึ่งไปจนสิ้นแผ่นดินอีกฝั่งของคาบสมุทรเกาหลี ปัจจุบันพื้นที่นี้ถูกเรียกว่า DMZ; DeMilitarized Zone) ที่เรียกว่า "สงครามเย็น" รวมกับประวัติศาสตร์สมัยที่ญี่ปุ่นเข้ามามีอิธิพลเหนือคาบสมุทรเกาหลีตั้งแต่ปลายคริสตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ซึ่งในบทที่แล้วผมเรียกว่า Patenece Gene หรือ ยีนแห่งความอดทนอดกลั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนเกาหลี
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ และเป็นคำถาม คือ หากคนเกาหลีไม่ได้รับแรงกดดันในช่วงเวลาตั้งแต่ ญี่ปุ่นเข้ามามีอำนาจ จนถึงนำพาเกาหลีไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 และตามด้วยสงครามเกาหลีนั้น จะเกิดแรงผลักดันเช่นที่เกิดขึ้นหรือไม่ ความแร้นแค้นที่ต้องถูกกดขี่ข่มเหงจากคนรุ่นนี้ ทำให้ คนที่ร่วมสมัยในระยะเวลานั้น จนกระทั่ง Generation Baby Boomer ของเกาหลี ที่เห็นความทุกข์ระทม จะสร้างให้มี Dedecation Gene หรือยีนแห่งความอุทิศตนเพื่อชาติในเวลาต่อมาหรือไม่ เป็นคำถามที่น่าสนใจ ผมทำได้เะียงเทียบคียงกับประวัติศาสตร์ของไทยเท่านั้นซึ่งพบว่า เราอาจมี Gene ทั้ง 2 ตัวนี้ (Patience and Dedication Gene) เป็น "ยีนด้อย" ที่รอเพียงเวลาผลิบานในบางกลุ่มชนของสังคมไทย ผลของมันเป็นที่รู้กันในปัจจุบัน ทั้ง ๆ ทีเรามี "ทุน" ทางสังคมและเศรษฐกิจสูงกว่าเกาหลี
แรงผลักดันในสังคมเกาหลีเป็นปัจจัยหนึ่ง และความแร้นแค้นทางเศรษฐกิจของเกาหลีโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลก และสงครามเกาหลีอีกปัจจัยหนึ่ง เป็นแรงผลักและแรงดันให้เมื่อเกาหลีแข็งแกร่งและเมื่อถึงวันผลิบานจึงสะพรั่งไปด้วยดอกไม้ที่สวยงาม
ภาพฤดูกาลทั้ง 4 ในเขตอบอุ่นของโลก แทนช่วงระยะเวลาทางประวัติศาสตร์ของเกาหลี ที่ผมวางแผนไว้จะนำเสนอไว้ในงานสัมมนา K-Practice ทว่าโควิดได้พราก event นี้ไป ในแต่ละช่วงในประวัติศาสตร์เกาหลี มีช่วงระยะเวลาย่อย ๆ ในระยะเวลาในแต่ละช่วง สะท้อนวัฎจักรของการเปลี่ยนแปลง ทว่า บางช่วงในประวัติศาสตร์เกาหลีนั้น อาจมีฤดูใบไม่ร่วง และฤดูหนาวที่ยาวนานกว่าประวัติศาสตร์ของชาติอื่น ๆ ทั้งหมดนี้ ผมเรียกรวมมันว่า K-Drama ในการสร้างชาติและกระบวนการ ผู้ประกอบการภิวัฒน์ของเกาหลี
เมื่อเกาหลีเริ่มตั้งต้นนับ "หนึ่ง" (ซึ่งเรียกว่าติดลบจะดีกว่า)
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังไม่ทันได้ตั้งตัว สงครามเกาหลีเกิดขึ้นแทบจะทันที โดยไม่มีเวลาให้เกาหลีได้พัก หรือฟื้นตัวจากสงครามเท่าใดนัก หลังจากสงครามที่สงครามเกาหลีสิ้นสุดลงนั่นแหละครับ อาจจะถือว่า เกาหลีใต้ได้เริ่มต้นนับหนึ่งอีกครั้ง ทว่าบ้านเมือง สังคม พังพินาศ ประเทศเกาหลีถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน เกาหลีใต้ถูกแทรกแซงจากนานาประเทศ (ซึ่งไม่รู้จะใช้คำว่าอารยประเทศดีไหม) และองค์กรระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลก ในขณะนั้น รายได่ต่อหัวประชากรอยู่ในอัตราต่ำกว่า 100 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ท่ามกลางช่วงเวลานั้น เกาหลีใต้มีผู้นำชื่อว่า ประธานาธิปดีปักจุงฮี (ตรงกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ของไทย) ซึ่งแน่นอนว่า เบื้องหลังของ "เรา" และ "เขา" นั้น มีสหรัฐอเมริกา ที่ก้าวมาเป็นมหาอำนาจ โดยในยุคสมัยนั้นใช้รูปแบบ Labor Intensive ในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งภายหลังให้เรียกว่าประเทศกำลังพัฒนา หรือ Developing Country ในเวลาต่อมา (จุดต่างหนึ่งที่สำคัญ คือ เกาหลีหนีจากอุตสาหกรรมที่ใช้ Labor Intensive ไปใช้เทคโนโลยี และก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมหนัก ในขณะที่ไทยนั้น ใช้ Labor Intensive มาจนถึงปัจจุบัน(2563))
แนวทางการพัฒนาห้าปี ที่ต้นแบบเกิดจาก USSR ตั้งแต่ 1928 นั้นถูกใช้ในประเทศเกาหลี, ไทย และประเทศต่าง ๆ อีกมาก การเกิดขึ้นของแผนพัฒนาห้าปีของไทยและเกาหลี เกิดขึ้นในปีที่ไล่เลี่ยกัน คือ ในราว ค.ศ. 1961 (2504) ซึ่งของไทยเรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 โดยมุ่งสร้างให้ประเทศทั้ง 2 เดินแนวทางที่วางไว้ โดยเริ่มต้นพัฒนา Infrastructure เป็นสำคัญ (ทว่าเกาหลีเริ่มใส่แผนการพัฒนาคนในฉบับต่อมาเร็วกว่าไทยมา และทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม) ที่เสียหายไปในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเกาหลี (ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมมีการเว้นช่วงตั้งแต่ 1945 หลังจากจบสงครามโลกนั้น แนะนำให้ไปศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นจะดีกว่า เพราะว่าเป็นหนังดราม่าเรื่องยาวที่พระเอกขี่อินทรีย์เล่นบทแทรกแซงแต่ไม่สำเร็จทั้ง 2 ประเทศ (รวมไปถึงเวียตนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปินนส์ ในภูมิภาคเดียวกันกับไทย แต่สำหรับไทยนั้น มีอิทธิพลมากหน่อยจนเป็นปัญหาต่อเนืองให้ไทยมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ลงรายละเอียดนี้ ผู้นำของประเทศทั้ง 2 ในเวลาต่อมา ได้รับการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นช่วงเลาที่ใช้ในการช่วงชิงอำนาจทางการเมือง การสร้างฐานอำนาจใน 2 ประเทศจากการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา) เท่ากับว่า ต้นทศวรรษที่ 1970 นั้น คือ "ช่วงเวลาแห่งการนับหนึ่ง" ในประวัติศาสตร๋สมัยใหม่ของเกาหลี และอนุโลมให้เรียกว่า ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทยเช่นกัน
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังไม่ทันได้ตั้งตัว สงครามเกาหลีเกิดขึ้นแทบจะทันที โดยไม่มีเวลาให้เกาหลีได้พัก หรือฟื้นตัวจากสงครามเท่าใดนัก หลังจากสงครามที่สงครามเกาหลีสิ้นสุดลงนั่นแหละครับ อาจจะถือว่า เกาหลีใต้ได้เริ่มต้นนับหนึ่งอีกครั้ง ทว่าบ้านเมือง สังคม พังพินาศ ประเทศเกาหลีถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน เกาหลีใต้ถูกแทรกแซงจากนานาประเทศ (ซึ่งไม่รู้จะใช้คำว่าอารยประเทศดีไหม) และองค์กรระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลก ในขณะนั้น รายได่ต่อหัวประชากรอยู่ในอัตราต่ำกว่า 100 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ท่ามกลางช่วงเวลานั้น เกาหลีใต้มีผู้นำชื่อว่า ประธานาธิปดีปักจุงฮี (ตรงกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ของไทย) ซึ่งแน่นอนว่า เบื้องหลังของ "เรา" และ "เขา" นั้น มีสหรัฐอเมริกา ที่ก้าวมาเป็นมหาอำนาจ โดยในยุคสมัยนั้นใช้รูปแบบ Labor Intensive ในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งภายหลังให้เรียกว่าประเทศกำลังพัฒนา หรือ Developing Country ในเวลาต่อมา (จุดต่างหนึ่งที่สำคัญ คือ เกาหลีหนีจากอุตสาหกรรมที่ใช้ Labor Intensive ไปใช้เทคโนโลยี และก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมหนัก ในขณะที่ไทยนั้น ใช้ Labor Intensive มาจนถึงปัจจุบัน(2563))
แนวทางการพัฒนาห้าปี ที่ต้นแบบเกิดจาก USSR ตั้งแต่ 1928 นั้นถูกใช้ในประเทศเกาหลี, ไทย และประเทศต่าง ๆ อีกมาก การเกิดขึ้นของแผนพัฒนาห้าปีของไทยและเกาหลี เกิดขึ้นในปีที่ไล่เลี่ยกัน คือ ในราว ค.ศ. 1961 (2504) ซึ่งของไทยเรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 โดยมุ่งสร้างให้ประเทศทั้ง 2 เดินแนวทางที่วางไว้ โดยเริ่มต้นพัฒนา Infrastructure เป็นสำคัญ (ทว่าเกาหลีเริ่มใส่แผนการพัฒนาคนในฉบับต่อมาเร็วกว่าไทยมา และทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม) ที่เสียหายไปในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเกาหลี (ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมมีการเว้นช่วงตั้งแต่ 1945 หลังจากจบสงครามโลกนั้น แนะนำให้ไปศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นจะดีกว่า เพราะว่าเป็นหนังดราม่าเรื่องยาวที่พระเอกขี่อินทรีย์เล่นบทแทรกแซงแต่ไม่สำเร็จทั้ง 2 ประเทศ (รวมไปถึงเวียตนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปินนส์ ในภูมิภาคเดียวกันกับไทย แต่สำหรับไทยนั้น มีอิทธิพลมากหน่อยจนเป็นปัญหาต่อเนืองให้ไทยมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ลงรายละเอียดนี้ ผู้นำของประเทศทั้ง 2 ในเวลาต่อมา ได้รับการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นช่วงเลาที่ใช้ในการช่วงชิงอำนาจทางการเมือง การสร้างฐานอำนาจใน 2 ประเทศจากการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา) เท่ากับว่า ต้นทศวรรษที่ 1970 นั้น คือ "ช่วงเวลาแห่งการนับหนึ่ง" ในประวัติศาสตร๋สมัยใหม่ของเกาหลี และอนุโลมให้เรียกว่า ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทยเช่นกัน
แผนพัฒนาห้าปีของเกาหลี ผสมแผนปฏิวัติการศึกษา
ปี 1962 หลังจากที่ขั้วอำนาจทางการเมืองตกลงสู่มือของประธานาธิปดีปักจงฮี ก็ยังเกิดเป็นแผนพัฒนาห้าปีของเกาหลี ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเกาหลีจากประเทศยากจน พังพินาศจากสสงคราม เป็นประเทศที่เริ่มลืมตาอ้าปากได้ และพัฒนาจนเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน (ซึ่งแผนพัฒนาแรกของไทยและเกาหลีนั้น คลอดตามกันมาแทบจะเรียกว่า "ฝาแฝด" แต่เป็น Unidentical Twin จึงทำให้แตกต่างกันจากระบบการเมืองที่เกาหลีมั่นคงกว่าไทย ส่วนไทยนั้น สารวนกับรัฐประหาร และปัญหาทางการเมืองตั้งแต่ 2504 - 2558 และระบบสังคมภายในที่เขานั้น บ่มเพาะ Dedication Gene ในขณะที่บ้านเราเป็น Hate and Discrimanate Gene) -- รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่ Korea Five-Year Plans และ http://countrystudies.us/south-korea/47.htm ซึ่งผู้เขียนสรุปไว้คร่าว ๆ โดยแปลจากบทความนี้ + หลาย ๆ บทความ (อ่านเพิ่มเติม Development in the Republic of Korea, Twenty five years of hard work https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000138390)
ก่อนเริ่มต้นแผนพัฒนาห้าปี เกาหลีได้เริ่มต้นนโยบายการศึกษาฟรีสำหรับคนเกาหลี โดยนโยบายเรียนปฐมศึกษาฟรีเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1959 และขยายไปยังชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ปี 1985 และเพิ่มไปยังมัธยมศึกษาตอนปลาย เกาหลีประสบความสำเร็จในแผนนี้ ในปี 2017 ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา ที่เริ่มต้นตั้งแต่ ปลายคริสตศตวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา พ่อแม่ผู้ปกครองในช่วง 1950 ซึ่งผ่านพ้นสงครามเกาหลี ยังคงยากจน และอยู่ในอุตสาหกรรมการเกษตร ขายที่นา และวัวซึ่งใช้เป็นแรงงานเพื่อสนับสนุนให้บุตรหลานได้เข้าถึงการศึกษา เรียกกันในภาษาเกาหลีว่า ตึกวัว คือ หากอยากได้การศึกษา ยาวนานและดีเพียงไร ขึ้นอยู่กับจำนวนวัวที่ขายไป หากเป็นประเทศไทย คือ "การขายนาส่งคนมาเรียนเพื่อให้ได้ควายกลับไป"
ปี 1962 หลังจากที่ขั้วอำนาจทางการเมืองตกลงสู่มือของประธานาธิปดีปักจงฮี ก็ยังเกิดเป็นแผนพัฒนาห้าปีของเกาหลี ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเกาหลีจากประเทศยากจน พังพินาศจากสสงคราม เป็นประเทศที่เริ่มลืมตาอ้าปากได้ และพัฒนาจนเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน (ซึ่งแผนพัฒนาแรกของไทยและเกาหลีนั้น คลอดตามกันมาแทบจะเรียกว่า "ฝาแฝด" แต่เป็น Unidentical Twin จึงทำให้แตกต่างกันจากระบบการเมืองที่เกาหลีมั่นคงกว่าไทย ส่วนไทยนั้น สารวนกับรัฐประหาร และปัญหาทางการเมืองตั้งแต่ 2504 - 2558 และระบบสังคมภายในที่เขานั้น บ่มเพาะ Dedication Gene ในขณะที่บ้านเราเป็น Hate and Discrimanate Gene) -- รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่ Korea Five-Year Plans และ http://countrystudies.us/south-korea/47.htm ซึ่งผู้เขียนสรุปไว้คร่าว ๆ โดยแปลจากบทความนี้ + หลาย ๆ บทความ (อ่านเพิ่มเติม Development in the Republic of Korea, Twenty five years of hard work https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000138390)
ก่อนเริ่มต้นแผนพัฒนาห้าปี เกาหลีได้เริ่มต้นนโยบายการศึกษาฟรีสำหรับคนเกาหลี โดยนโยบายเรียนปฐมศึกษาฟรีเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1959 และขยายไปยังชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ปี 1985 และเพิ่มไปยังมัธยมศึกษาตอนปลาย เกาหลีประสบความสำเร็จในแผนนี้ ในปี 2017 ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา ที่เริ่มต้นตั้งแต่ ปลายคริสตศตวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา พ่อแม่ผู้ปกครองในช่วง 1950 ซึ่งผ่านพ้นสงครามเกาหลี ยังคงยากจน และอยู่ในอุตสาหกรรมการเกษตร ขายที่นา และวัวซึ่งใช้เป็นแรงงานเพื่อสนับสนุนให้บุตรหลานได้เข้าถึงการศึกษา เรียกกันในภาษาเกาหลีว่า ตึกวัว คือ หากอยากได้การศึกษา ยาวนานและดีเพียงไร ขึ้นอยู่กับจำนวนวัวที่ขายไป หากเป็นประเทศไทย คือ "การขายนาส่งคนมาเรียนเพื่อให้ได้ควายกลับไป"
- ช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 1950 - 1970 ในช่วงที่เกาหลีกำลังปฏิรุปหลังสงคราม เกาหลีมีนโยบายการศึกษาเป็นช่วงเวลา (เข้ากะการศึกษา) เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังใช้แรงงาน เมื่อว่างก็จะมีโอกาสเข้าเรียนในช่วงเวลาแตกต่างกัน เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ และทำให้เกาหลีตั้งต้นแผนพัฒนาโดยคนในประเทศมีความพร้อมด้านการศึกษาเป็นทุน โดยรัฐให้การสนับสนุนเพื่อให้ต้นทุนของประชาชนลดต่ำลง เพื่อเพิ่มแรงจูงใจด้านการศึกษา
- กองทุนหนังสือเพื่อสนับสนุนการศึกษาจาก UNESCO ในช่วงปี 1950-1953 มีส่วนช่วยให้การศึกษาของเกาหลีสามารถเกิดขึ้นได้ ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจฝืดเคืองหลังสงครามเกาหลี
- การเกิดขึ้นของ PTA; Parent Teacher Association เพื่อลดปัญหาด้านต้นทุนทางการศึกษา และช่วยให้คนเข้าสู่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น
- แผนฉบับที่ 1 (1962-1966) เน้นโครงสร้างด้าน Infrastrauture เช่น นโยลายไฟฟ้าที่เสถียรตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านโครงการเพิ่มโรงไฟฟ้าและถ่านหิน, เน้นเรื่องการเกษตรกรรม ทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น เพราะว่าในขณะนั้นยังม่สามารถสร้างอุตสาหกรรมหนักได้มาก และทยอยเพิ่มดทคโนโลยีลงไปในอุตสาหกรรม, เน้นการผลิตเพื่อการส่งออก, เพิ่มการลงทุนในการพัฒนาภาคการศึกษาของเกาหลี และเริ่มลงทุนในด้านวิทยาศาสตร์ นวตกรรม และเทคโนโลยี เกิดเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มบริษัทที่ภายหลังเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจเกาหลี เช่น กลุ่ม Hyundai, Samsung ในช่งวระยะเวลานี้ สิ้นสุดแผนแรกนั้นเกาหลีมีเศรษฐกิจโตขึ้น 7.8%
- แผนฉบับที่ 2 (1967-1971) ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี, อุตสาหกรรมไฮเทค (ซึ่งทำให้ เกาหลีเป็นผู้ส่งออก Semi Conduter รายใหญ่ของโลกในปัจจุบัน), ลงทุนในอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็กกล้า, การผลิตเครื่องจักร, เคมีภัณฑ์ และปิโตรเคมี ทั้งหมดนี้ เริ่มเห็นการแทนที่แรงงานคนด้วยเทคโนโลยีเป็นรูปธรรม สิ้นสุดแผนที่สองนี้ เกาหลีใต้ขยับตัวเองเป็นประเทศอุตสาหกรรมหนัก มีการเติบโตของเมืองต่าง ๆ การสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมโยงเมืองต่าง ๆ เป็นเครือข่าย และมี GNP เป็น 2 เท่าจากแผนห้าปีแรก
- โครงการ Kuro Industrial Park และการเกิดขึ้นของรัฐวิิสาหกิจ Chaebol เกิดขึ้นในแผนพัฒนาฉบับที่ 2 นี้ และเป็นรากฐานในการผลิตรถยนต์ในเกาหลีต่อมา
- 1970 เกิดโครงการทางด่วนเชื่อมโซล และปูซาน โดยกลุ่ม Hyundai (อีกนัยยะหนึ่ง คือ การสร้างถนน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์)
- สิ่งที่น่าสนใจคือ การปฎิวัติด้านสังคมอันเกิดจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในเกาหลีใต้ เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐและคนเกาหลีในการทำงานฟื้นฟูร่วมกันเกิดเป็นโครงการที่รัฐส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองต่าง ๆ ทั่วเกาหลีใต้ เป็นการเริ่มกระจายการพัฒนาไปยังพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ในเกาหลี
- แผนฉบับที่ 3 (1972-1976) แผนเน้นไปที่อุตสาหกรรมหนักเต็มรุปแบบ Heavy Chemical Industrialization Plan (HCI Plan) ซึ่งเรียกว่า HCI ประกอบไปด้วยอุตสากหรรมเชิงกลยุทธ์ทั้ง 5 ตัวได้แก่ อิเล็คทรอนิกส์, การต่อเรือ, เครื่องจักร, ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมโลหะที่ไม่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเติบโตไปพร้อม ๆ กับสงครามเย็น (ผู้แปล) โดยอุตสาหกรรมด้านโลหะเหล่านี้มีผู้ซื้อและผู้สนับสนุนหลักคืสหรัฐอเมริกา ซึ่งเริ่มสนับสนุนให้มีกองทัพเพื่อการปกป้องตัวเองขึ้นในเกาหลี และเหตุปัจจัยนี้ ทำให้การส่งออกโลหะผสมเหล่านี้ของเกาหลีเติบโตขึ้นมากในช่วงนี้ ทั้งนี้รวมไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพรหมแดนระหว่างเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ จึงเกิดเป็นโครงการกระจายแหล่งอุตสาหกรรมให้ไกลจากพรมแดนออกไป เป็นการเริ่มพัฒนาหัวเมืองอื่น ๆ ในเกาหลีใต้ ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองรองขึ้นมากมาย
- 1975 รถยนต์คันแรกอันเกิดจากวิศวกรเกาหลีทั้งคัน จาก Hyundai เกิดขึ้น ในชื่อรุ่นว่า Pony
- แผนฉบับที่ 4 (1977-1981) GNP per Capita เพิ่มขึ้นเป็น 1000 เหรียญสหรัฐ และรากฐานนี้ทำให้ เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 4 อุตสาหกรรมหนักและปิโตรเคมี เติบโตถึง 51.8% ในปี 1981 การส่งออกเพิ่มเป็น 45.3% ถึงแ้ว่าจะเกิดปัญหาวิกฤตการเงินทั่วโลกขึ้นก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมของเกาหลี เติบโต และเริ่มเป็นผู้ส่งออกรายต้น ๆ ของโลก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 1970 ความต้องการของการใช้พลังงาน, อุปสงค์ของสิ้นส่วนอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า สะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจเกาหลีได้เป็นอย่างดี
- 1979 ประธารนาธิปดีปักจุงฮี ผู้เริ่มแผนพัฒนาห้าปีของเกาหลรถูกลอบสังหาร ในวันที่ 26 ตุลาคม 1979 ทว่าไม่ได้ส่งผลประทบต่อการพัฒนาของเกาหลี เพราะว่า 3 แผนพัฒนาในระยะเวลา 15-17 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเกาหลีไว้อย่างดีแล้ว และแผนพัฒนาห้าปี ยังคงดำเนินต่อไป ในประธานาธิปดีลำดับต่อ ๆ มา
- 1979 จากการสำรวจพบว่ามีการใช้งานทีวีในเกาหลี 6 ล้านเครื่อง โดยมีสัดส่วนในทุก ๆ 5 ครอบครัว จะมีทีวี 1 เครื่อง ซึ่งเติบโตอย่างมากจากการสำรวจในปี 1969 ซึ่งมีทีวีใช้งานเพียง 200,000 เครื่อง และแนวโน้มการเติบโตนี้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในแผนฉบับที่ 5 ต่อไป
- 1980 มีอัตราการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา 27.2% และเมื่อปี 2012 มีอัตราเข้าสู่อุดมศึกษา 72%
- 1980 เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองภายใน Gwangju Democratication Movement เป็นครั้งแรกที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจเกาหลีติดลบ
- แผนฉบับที่ 5 (1982-1986) การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจเกาหลี หลังจากที่อุตสาหกรรมหนักนั้นเข้มแข็งและเติบโต เกาหลีมุ่งหน้าสู่อุตสาหกรรรมที่เน้นการใช้เทคโนโลยี ทำให้เกาหลีเริ่มต้นยุคของการเป็นผู้นำด้านการผลิตเทคโนโลยีตั้งแต่แผนฉบับที่ 5 นี้เป็นต้นมา ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดในโลกขณะนั้น (ุยุคนี้เป็นยุคที่เศรษบกิจโลกขยายตัวหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก เช่น เงินเฟ้อ และวิกฤตน้ำมัน) สิ้นสุดแผนนี้ GDP ของเกาหลี เติบโตขึ้น 11.2% และมี Per Capita Income ที่ 2,896 เหรียญสหรัฐ
- บริษัทชั้นนำด้านอุตสาหกรรมหลักเดิม เช่น LG (ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1958) และ Samsung ได้เริ่มพัฒนาสายการผลิตสินค้าเทคโนโลยี เช่น ตู้เย็น, ทีวี, วิทยุ, เครื่องเล่นคลาสเซ็ท และอุตสาหกรรมด้าน Semi Condutor (ซึ่งในปัจจุบัน เกาหลีเป็นผู้ส่งออก Semi Condutor รายใหญ่ของโลก) และเริ่มส่งออกไปตีตลาดโลก ซึ่งในกลยุทธ์ด้านราคาที่ถูกกว่าสินค้าแบรนด์ชั้นนำของญี่ปุ่นในขณะนั้น
- แผนฉบับที่ 6 (1987-1991) เป็นแผนฉบับแรกที่เพิ่มการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เข้าไว้ในแผนเดียวกัน โดยนโยบายสะท้อนให้เห็นว่าเกาหลีกำลังโหยหาความสำเร็จ โดยแผนทางด้านเศรษฐกิจเน้นไปในด้านการเปิดเสรีการค้าในการนำเข้า และ เปลี่ยนข้อจำกัดต่าง ๆ ในด้านกระบวนการของรัฐให้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นการนำเอาทุนสะสมไปลงทุนในธุรกิจใหม่ โดยมุ่งส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งไม่เคยได้รับการสนับสนุนมาก่อน รวมไปถึงเน้นการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกระดับของการประกอบการ เป็นการวางรากฐานบริษัทรุ่นใหม่ของเกาหลี ซึ่งพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นรากฐานของ Digital & Cultural Economy ในช่วงปี 2000 เป็นต้นไป ในด้านสังคม เริ่มโครงการพัฒนาคน โดยอาศัยการฝึกอบรมด้านต่าง ๆ และรัฐเริ่มนำเงินมาอัดฉีดในการพัฒนาคน โดยร่วมกับภาคการศึกษาเป็นช่วงที่มีการนำเอาเงิน surplus จากทางเศรษฐกิจ ไหลเข้าสู่การพัฒนาคนอย่างจริงจัง
- 1988 เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
- 1990 อัตราการการเข้าศึกษาต่อของเยาวชนเกาหลีในระดับมาหวิทยาลัยสู่งถึง 86%
- 1990 3.4% ของ GDP นำไปลงทุนด้านการศึกษา เริ่มกระกวนการ Re-skill บุคคลากรภาคการศึกษาทั่วประเทศ (บุคคลากรที่เคยสอนในสาขาวิชาที่ไม่ได้มความต้องการของตลาด เข้าโครงการ Reskill เพื่อสร้างบุคคลากรให้สามารถสอนได้ในสาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการของตลาด)
- ภาคธุรกิจชั้นนำของเกาหลี เช่น Samsung, Hyundai, LG, etc. ริเริ่มโครงการ re-training of excellent graduates เพื่อพัฒนาคนเป็นตัวอย่างแก่ภาคการศึกษา และเริ่มพัฒนา College ของตัวเอง หรือพัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษา
- 1995 การศึกษาเกาหลีวางแผนพัฒนาอย่างเป็น "ระบบ" ตั้งแต่การออกแบบระบบการศึกษา, คอร์ส, นโยบาย การศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาอุดมศึกษา ต่อเนื่องกันเป็น "ระบบ" และได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจของเกาหลี รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา
- 1995 Korean Education Tax เพื่อนำเงินมาสนับสนุนภาคการศึกษาอย่างจริงจัง
- แผนฉบับที่ 7 (1992-1996) แผนพัฒนาห้าปีนี้ เป็นแผนฉบับสุดท้าย และส่งให้เกาหลีก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้ว แผนนี้มุ่งกระจายความเจริญไปยังอีกเมืองทั้ง 7 เมืองทั่วเกาหลีใต้ เพื่อสร้างให้เป็นแหล่งพัฒนาด้านเทคโนโลยี และมีการวางแผนระยะยาวในการพัฒนาเมืองทั้งหมดของเกาหลีเป็นยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาทั่วทั้งเกาหลีไปพร้อมกัน โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมรูแบบที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น ไมโครอิเล็กทรอนิกส์, เคมีระดับนาโน, วิศวกรรมชีวภาพ และธุรกิจอวกาศ ทั้งนี้ รากฐานของบริษัทรุ่นใหม่ของเกาหลีที่เกิดจากแผนพัฒนาฉบับที่ 6 ก็เริ่มผลิดอกออกผล และเกาหลีเข้าสู่การนำเอาวัฒนธรรมมาเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกไป เป็นภาคธุรกิจใหม่ ตัั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไป
- 1993 เกาหลีจัดงาน Workd Expo ที่เมืองแดจอน
หลังแผนพัฒนาฉบับที่ 7 สิ้นสุดลง เกาหลีมุ่งเข้าสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยมีรายได้ต่อหัวประชากรที่ 13,574 เหรียญดอลล่าสหรัฐ มี GDP รวม 617,960 ล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ เปิดตัวเองสู่ความเป็นสากล 2002 เกาหนีใต้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกร่วมกับญี่ปุ่น ทวา่อยา่มองแต่ภาพสวยงาม หลังากปี 1979 เป็นต้นมาเกาหลีเข้าสู่วังวนด้านความขัดแย้งทางการเมือง การคอรับชั่น ไม่แตกต่างจากไทย ทว่าเกาหลีมีความมั่นคงทางภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และมีภาคสังคม และประชากรที่มีคุณภาพ มีนโยบายการพัฒนาคน และระบบการศึกษาที่แตกตางจากไทยมาก ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมากมาย แผนพัฒนาตั้งแต่ฉบับแรก - ฉบับที่ 7 จนถึงปัจจุบันได้สร้าง Dedication Gene ใน "ทุกระดับขององค์กร" ได้เกิดหน่วยงานต่าง ๆ มากมายในเกาหลี ที่เข้ามาสร้างเสริมกระบวนการสร้างผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ดังที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งจะมีรายละเอียดใน EP ต่อไป และท้ายสุดเกิดเป็น Creativity and Deliverable Gene ในปัจจุบัน
- 1999 เกาหลีผ่านกฎหมาย LifeLong Education Act ส่งเสริมการเรียนร้ตลอดชีวิตเป็นนโยบายของชาติ โดยการเรียนรู้ตลอดชีวิตนี้เติบโตขึ้นทุกปี ในปี 2008 มัอัตรา 29.4% และ เพิ่มเป็น 35.6% ในปี 2012
- เกาหลีสร้างความเท่าเทียมกันในการศึกษาแก่กลุ่มคนพิเศษที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้พิการ, กลุ่มที่เป็น Multi-Cutural Families และกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาตามแบบปรกติได้
- ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 (ปี 2000 เป็นต้นมา) เกาหลีส่งออกสินค้าด้านวัฒนธรรม เช่น ละครเกาหลี, ดนตรีแนว K-Pop ออกไปทั่วโลก, การท่องเที่ยว อาหาร และยังรวมไปถึงสินค้าด้านความสวยงาม เสื้อผ้า เครื่องประดับที่มาจากกระแสความนิยมในเกาหลี
- ในปี 2012 อัตราส่วนของครู มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาโทถึง 30.8% ของครูทั้งประเทศ
- 2015 เกาหลีลงทุนในงบประมาณ 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในด้านการศึกษา เพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่าจากปี 1990 ที่เริ่มต้นพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง (ที่มา https://asiasociety.org/global-cities-education-network/south-korean-education-reforms)
- 2013 เกาหลีติดอันดับ 18 ของประเทศที่การศึกษาดีที่สุดในโลก
- 2015 เริ่มหลักสูตรพัฒนาการศึกษาระยะที่ 7 โดยใช้หลักสูตร Globalized Economy
- 2018 เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว ที่ Pyeongchang
- 2001 เกาหลีออกนโยบาย Plan to Improve Educational Conditions โดยกำหนดสัดส่วนจำนวนนักเรียนตอชั้นเรียน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- 2001 นโยบายการศึกษาที่ให้อำนาจในการตัดสินใจพัฒนาการศึกษาของสถาบันการศึกษามากขึ้น เพิ่มความคล่องตัวและโอกาสในการพัฒนาการศึกษา ตัวอย่างในที่นี้ เกาหลีมีหลักสูตรผู้ประกอบการ ซึ่งมีการพัฒนาหลักสูตร ทว่าโรงเรียนมีทางเลือกในการเลือกสรรหลักสูตรที่คิดว่าดีที่สุดแล้วนำมาพัฒนาเป็นของตัวเอง
- ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน และภาคการศึกษาเติบโตขึ้น และเป็นนโยบายร่วมกันที่ภาคเอกชน จะให้ความร่วมมือ และเพิ่มสัดส่วนของเงินลงทุนในภาคการศึกษาให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาบุคคลากรในภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจของเกาหลี ความร่วมมือนี้ส่งต่อไปยังการพัฒนาหลักสูตรที่เกิดจากความร่วมมือกัน ทำให้หลักสูตรมีความทันสมัย ตรงกับความต้องการของตลาด และบุคคลากรในภาคการศึกษาได้รับการ reskills upskills อย่างต่อเนื่อง
- หลักสูตรของเกาหลี ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมเดิม เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ การบูรณาการณความรู้ และความหลากหลายในวัฒนธรรมของสังคมโลกเข้าไปในหลักสูตร
เกาหลีสร้างแผนพัฒนาการศึกษา เป็นระยะต่อเนื่องกับช่วงวัย ส่งไม่้ต่อกันเป็นระบบชัดเจน สอดคล้องกับแผนพัฒนา โดย
- 1948-1960 มุ่งพัฒนาระดับประถมศึกษาของประเทศ และเมื่อเยาวชนเกาหลีในระยะเวลานั้น เติบโตขึ้น แผนพัฒนาก็ต่อเนื่องเพื่อรับเยาวชนในรุ่นนี้ให้เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศต่อไป
- 1960-1980 เน้นการพัฒนาโรงเรียนมันธยม และอาชีวะศึกษาของประเทศ เยาวชนรุ่นนี้ได้รับการพัฒนาสส่งออกไปยังภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม สอดคล่องกับแผนพัฒนาประเทศ
- 1981-1997 เน้นการพัฒนาระดับอุดมศึกษา และการศึกษาสำหรับมวลชน เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาประเทศทางเทคโนโลยี
- 1998 ถึงปัจจุบัน เน้นการศึกษาเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่พึ่งพาคงามคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี เริ่มกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ระหว่างปี 1962 - 1996 รวมระยะเวลา 35 ปี จึงถูกขนานนามจากโลกว่า เป็น Miracle of Han River ซึ่ง ทำให้ ประชากรกินดีอยู่ดี จาก Per Capita 74 เหรียญสหรัฐ เป็น 13,574 เหรียญสหรัฐ และในปี 2018 มี Per Capita Income ที่ 33,320 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี รวมไปถึงได้แทรกนโยบายการพัฒนาการศึกษาที่เป็นหัวใจ และเป็น "ทุน" ในการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ปั 1950 เป็นต้นมา และผมได้นำท่านท่องย้อนกาลเวลาไปยังช่วงที่ผมเรียกว่า "มหกรรมสร้างชาติให้เป็นสมาชิกอันโดดเด่นของโลก" และไม่ได้มุ่งหวังให้ประเทศไทย ฟื้นฝอยหาตะเข็บ หรือ พยายามหาแพะ แบบที่เราชอบบทำ สิ่งที่เราควรเห็นและได้รับบทเรียนจากเกาหลี คือ วิธีคิด การลงมือปฎิบัติ ความร่วมมือร่วมใจกันของคนเกาหลี ที่เราต้อง C&D&I คือ Copy, Develop และ Innovate มา transform ประเทศของเราต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_South_Korea
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_South_Korea
คลิกที่นี่เพื่ออ่าน EP 11 (K-Experience Chapter 3) บทเรียนจากแดนกิมจิ สู่เมืองส้มตำ ว่าด้วยการเดินทางจาก Start up สู่ Entrepreneurship:
C&D&I โมเดลกิมจิ สู่ส้มตำโมเดล
C&D&I โมเดลกิมจิ สู่ส้มตำโมเดล