หากท่านได้พลาด EP9 (K-Ex1) และ EP10 (K-Ex2) เพื่อความเข้าใจโปรดกลับไปอ่าน
C&D&I โมเดลกิมจิ สู่ส้มตำโมเดล
C&D หรือ Copy and Develop (เลียนแบบและพัฒนา) และ I หรือ Innovative คือ พลิกแพลงให้ดีกว่าเดิม เพิ่มลักษณะหรือคุณสมบัติให้เข้ากันกับสภาพสังคม คือ "หัวใจ" ของบทความนี้ ไทยเราแต่โบราณนั้นมีความสามารถในด้านในเลียนแบบและประยุกต์เป็นทุนเดิม เป็น Gene หลักของไทย ซึ่งเคยเพียงพอ ทว่า ในยุคปัจจุบันนั้น "ไทย" จะต้อง Innovate ซึ่ง "เรา" ไม่ใช่ชาติที่มีพื้นฐานแก่งการสร้างนวตกรรมที่ใช้เทคโนโลยี หรือ ความรู้อย่างสูง ผมจะต้องชวนให้เรา "ยอมรับ" ประเด็นนี้เสียก่อน ทว่า เรามีความสามารถในการ Innovate กระบวนการ หรือรายละเอียด ซึ่งตรงนี้เป็น "จุดแข็ง" ของเรา ในบทความชุด K-Experience EP นี้ ใช่ครับ ผมต้องการให้เรา ยึดเอา "เกาหลี" เป็นหนึ่งใน OPTION ในการเลือก COPY ความสำเร็จ และมา ปรับ เปลี่ยน เพิ่ม เสริม ให้เป็นแบบของเรา และเราจะต้องเลือก "ต้นแบบความสำเร็จ และบทเรียนที่ประเทศอื่นๆ ล้มเหลวมาแล้ว" มา C&D&I
เกาหลีอาจไม่ใช่มหาอำนาจด้าน Startup และจริง ๆ แล้วเกาหลีเพิ่งเริ่มกระบวนการ Startup ในปี 2013 เท่านั้น เกาหลียังไม่ประสบความสำเร็จใน Startup หากเทียบกับเวทีโลก ทว่าสิ่งที่ต้อง C&D&I คือ วิธีการสร้าง Ecosystem, การทำงานประสานกันของเกาหลี ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี อย่างไรก็ตาม นับถึงปัจจุบัน เกาหลีมี Unicorn ถึง 11 ตัว ในขณะที่ไทยนั้น ยังไม่เกิดเอมบริโอของม้านิลมังกรในเวที startup และ บทความนี้ก็เทียบไทยกับเกาหลี สิ่งที่ผู้เขียนแนะนำคือ "อะไรดีดีก็เก็บมา C&D&I อะไรไม่ดีก็โยนทิ้งไป"
ทบทวนความเข้าใจในสอง EP ก่อนหน้านี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่าน เข้าใจว่า "ความสำเร็จ" ของเกาหลีที่เราท่านเห็นในวันนี้ เกิดตจากหลายปัจจัย เกาหลีเป็นชาติแห่งนวตกรรมและการประดิษฐ์ต่าง ๆ มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเองมาตั้งแต่ 5,000 ปีก่อน สำหรับสาย K-Drama นั้น ไม่ว่าจะเป็นโกรกูริยอ, ภัคเจ, ชิลา ในช่วงเวลาที่ท่านดูซีรีย์เกาหลี เช่น จูมอง, ซอนด๊อก หรือแม้กระทั่งแดจังกึม ผมได้พาท่านไปเห็นของสวยงาม ซึ่งแสดงถึงเทคโนโลยี และความชำนาญของสกุลช่างเกาหลีในสมัยนั้น ซึ่งผมเรียกมันว่า Innovative & Adaptive Gene หรือ ยีนแห่งการปรับตัวและการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเกาหลี ผสมรวมเข้ากับปัจจัยอื่น ๆ หรือ Gene ตัวอื่น ๆ
ผมได้นำประวัติศาสตร์ในสมัยต่าง ๆ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ Hermit State ที่เกาหลีปิดตัวเองจากชาติอื่น ๆ สั่งสมความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี และมาถูก "บังคับ" เปิดสู่โลกจากการรุกรานของญี่ปุ่น ซึ่งระยะเวลานั้น กินเวลากว่า 1 ศตวรรษ ท่ามกลางความกดดัน ภาวะสงคราม บ้านเมืองถูกทำลายย่อยยับ ความเป็นอยู่แร้นแค้น ซึ่งเป็นการถือกำเนิดของ Patience Gene หรือ ยีนแห่งความอดทนอดกลั้น ที่จะเป็นแรงผลักดันในสมัยพัฒนาประเทศ ที่เริ่มตั้งแต่ 1950 เมื่อเกาหลีตั้งประเทศ และมีระบบการปกครอง และมาเริ่มจริงจังสมัย 1962 ในแผนพัฒนาห้าปี 7 ฉบับ รวม 35 ปี ที่พลิกพื้นเกาหลีจากประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่งเป็นประเทศที่มั่งคั่ง ได้รับการยอมรับเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในนาม ปาฎิหาริย์แห่งแม่น้ำฮาน หรือ Miracle of Han River ซึ่งในช่วง 35 ปีแห่งการพัฒนา จนถึงปัจจุบัน สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ National Dedication Gene หรือยีนแห่งการอุทิศตัวเองเพื่อการพัฒนาประเทศ
หากไม่มีส่วนผสมของ Gene ทั้ง 3 จากอดีต ร่วมกับ Gene ที่ถูกสร้างขึ้นจากระบบการศึกษาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 1950 ซึ่งก็คือ Creativity and Value Deliverable Gene หรือ ยีนแห่งความคิดสร้างสรรค์และการส่งต่อคุณค่า นั้น ก็จะไม่มีเกาหลีที่ขึ้นแท่นเป็นประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี มีเศรฐกิจที่มั่งคั้ง มี Per-Capita Income สูง และมีความกินดีอยู่ดีในภาพรวมที่เกาหลี เสนอออกมาซึ่งมาจากรากฐานของการสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ และก้าวเข้าสู่การพัฒนา Startup ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการที่ใช้แนวคิดใหม่ในการทำตลาด มีรูปแบบการบริหารแบบ SME และมีการจัดการแบบ Enterprise ในเกาหลี
ปรากฎการณ์เหล่านี้เป็น "ฐาน" เป็น "ทุน" ของเกาหลี ก่อนที่่จะเกิดเศรษฐกิจดิจิทัล หรือกลุ่มธุรกิจ StartUp และ จริง ๆ แล้ว ในประวัติศาสตร์หลังยุค Y2K นั้น แนวคิด StartUp ของเกาหลีก็ล้มเหลวเหมือนกัน เกาหลีก็ผ่านการทดลองผิดทดลองถูกเช่นกัน จนในรอบ 10 ปีหลังนี้ (2020 ถอยหลังกลับไป) เกาหลี หันมามายึดหลักของ Entrepreneurship ผสานกับ StartUp โดยเรียก Startup Business ที่หยั่งราก และอยู่รอดเป็น Entrepreneur
เหตุใดผมจึงต้อง "เน้น" ประเด็นเหล่านี้ เพราะว่า ในเนื้อหาช่วงต่อ ๆ ไปนั้น เราจะพบว่า Gene เหล่านี้ เป็นประโยชน์ และเป็น Gene ที่ไม่มีในประเทศไทย หรือ Gene ในการฉุดรั้งการพัฒนาประเทศของไทยนั้น Dominent (หรือเด่น) กว่า ทำให้เรายังไม่ประสบความสำเร็จ จนกว่า Dominent Gene ห่วย ๆ ของเราจะกลายพันธ์ไป
C&D หรือ Copy and Develop (เลียนแบบและพัฒนา) และ I หรือ Innovative คือ พลิกแพลงให้ดีกว่าเดิม เพิ่มลักษณะหรือคุณสมบัติให้เข้ากันกับสภาพสังคม คือ "หัวใจ" ของบทความนี้ ไทยเราแต่โบราณนั้นมีความสามารถในด้านในเลียนแบบและประยุกต์เป็นทุนเดิม เป็น Gene หลักของไทย ซึ่งเคยเพียงพอ ทว่า ในยุคปัจจุบันนั้น "ไทย" จะต้อง Innovate ซึ่ง "เรา" ไม่ใช่ชาติที่มีพื้นฐานแก่งการสร้างนวตกรรมที่ใช้เทคโนโลยี หรือ ความรู้อย่างสูง ผมจะต้องชวนให้เรา "ยอมรับ" ประเด็นนี้เสียก่อน ทว่า เรามีความสามารถในการ Innovate กระบวนการ หรือรายละเอียด ซึ่งตรงนี้เป็น "จุดแข็ง" ของเรา ในบทความชุด K-Experience EP นี้ ใช่ครับ ผมต้องการให้เรา ยึดเอา "เกาหลี" เป็นหนึ่งใน OPTION ในการเลือก COPY ความสำเร็จ และมา ปรับ เปลี่ยน เพิ่ม เสริม ให้เป็นแบบของเรา และเราจะต้องเลือก "ต้นแบบความสำเร็จ และบทเรียนที่ประเทศอื่นๆ ล้มเหลวมาแล้ว" มา C&D&I
เกาหลีอาจไม่ใช่มหาอำนาจด้าน Startup และจริง ๆ แล้วเกาหลีเพิ่งเริ่มกระบวนการ Startup ในปี 2013 เท่านั้น เกาหลียังไม่ประสบความสำเร็จใน Startup หากเทียบกับเวทีโลก ทว่าสิ่งที่ต้อง C&D&I คือ วิธีการสร้าง Ecosystem, การทำงานประสานกันของเกาหลี ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี อย่างไรก็ตาม นับถึงปัจจุบัน เกาหลีมี Unicorn ถึง 11 ตัว ในขณะที่ไทยนั้น ยังไม่เกิดเอมบริโอของม้านิลมังกรในเวที startup และ บทความนี้ก็เทียบไทยกับเกาหลี สิ่งที่ผู้เขียนแนะนำคือ "อะไรดีดีก็เก็บมา C&D&I อะไรไม่ดีก็โยนทิ้งไป"
ทบทวนความเข้าใจในสอง EP ก่อนหน้านี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่าน เข้าใจว่า "ความสำเร็จ" ของเกาหลีที่เราท่านเห็นในวันนี้ เกิดตจากหลายปัจจัย เกาหลีเป็นชาติแห่งนวตกรรมและการประดิษฐ์ต่าง ๆ มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเองมาตั้งแต่ 5,000 ปีก่อน สำหรับสาย K-Drama นั้น ไม่ว่าจะเป็นโกรกูริยอ, ภัคเจ, ชิลา ในช่วงเวลาที่ท่านดูซีรีย์เกาหลี เช่น จูมอง, ซอนด๊อก หรือแม้กระทั่งแดจังกึม ผมได้พาท่านไปเห็นของสวยงาม ซึ่งแสดงถึงเทคโนโลยี และความชำนาญของสกุลช่างเกาหลีในสมัยนั้น ซึ่งผมเรียกมันว่า Innovative & Adaptive Gene หรือ ยีนแห่งการปรับตัวและการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเกาหลี ผสมรวมเข้ากับปัจจัยอื่น ๆ หรือ Gene ตัวอื่น ๆ
ผมได้นำประวัติศาสตร์ในสมัยต่าง ๆ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ Hermit State ที่เกาหลีปิดตัวเองจากชาติอื่น ๆ สั่งสมความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี และมาถูก "บังคับ" เปิดสู่โลกจากการรุกรานของญี่ปุ่น ซึ่งระยะเวลานั้น กินเวลากว่า 1 ศตวรรษ ท่ามกลางความกดดัน ภาวะสงคราม บ้านเมืองถูกทำลายย่อยยับ ความเป็นอยู่แร้นแค้น ซึ่งเป็นการถือกำเนิดของ Patience Gene หรือ ยีนแห่งความอดทนอดกลั้น ที่จะเป็นแรงผลักดันในสมัยพัฒนาประเทศ ที่เริ่มตั้งแต่ 1950 เมื่อเกาหลีตั้งประเทศ และมีระบบการปกครอง และมาเริ่มจริงจังสมัย 1962 ในแผนพัฒนาห้าปี 7 ฉบับ รวม 35 ปี ที่พลิกพื้นเกาหลีจากประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่งเป็นประเทศที่มั่งคั่ง ได้รับการยอมรับเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในนาม ปาฎิหาริย์แห่งแม่น้ำฮาน หรือ Miracle of Han River ซึ่งในช่วง 35 ปีแห่งการพัฒนา จนถึงปัจจุบัน สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ National Dedication Gene หรือยีนแห่งการอุทิศตัวเองเพื่อการพัฒนาประเทศ
หากไม่มีส่วนผสมของ Gene ทั้ง 3 จากอดีต ร่วมกับ Gene ที่ถูกสร้างขึ้นจากระบบการศึกษาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 1950 ซึ่งก็คือ Creativity and Value Deliverable Gene หรือ ยีนแห่งความคิดสร้างสรรค์และการส่งต่อคุณค่า นั้น ก็จะไม่มีเกาหลีที่ขึ้นแท่นเป็นประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี มีเศรฐกิจที่มั่งคั้ง มี Per-Capita Income สูง และมีความกินดีอยู่ดีในภาพรวมที่เกาหลี เสนอออกมาซึ่งมาจากรากฐานของการสร้างสังคมอุดมนักประกอบการ และก้าวเข้าสู่การพัฒนา Startup ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการที่ใช้แนวคิดใหม่ในการทำตลาด มีรูปแบบการบริหารแบบ SME และมีการจัดการแบบ Enterprise ในเกาหลี
ปรากฎการณ์เหล่านี้เป็น "ฐาน" เป็น "ทุน" ของเกาหลี ก่อนที่่จะเกิดเศรษฐกิจดิจิทัล หรือกลุ่มธุรกิจ StartUp และ จริง ๆ แล้ว ในประวัติศาสตร์หลังยุค Y2K นั้น แนวคิด StartUp ของเกาหลีก็ล้มเหลวเหมือนกัน เกาหลีก็ผ่านการทดลองผิดทดลองถูกเช่นกัน จนในรอบ 10 ปีหลังนี้ (2020 ถอยหลังกลับไป) เกาหลี หันมามายึดหลักของ Entrepreneurship ผสานกับ StartUp โดยเรียก Startup Business ที่หยั่งราก และอยู่รอดเป็น Entrepreneur
เหตุใดผมจึงต้อง "เน้น" ประเด็นเหล่านี้ เพราะว่า ในเนื้อหาช่วงต่อ ๆ ไปนั้น เราจะพบว่า Gene เหล่านี้ เป็นประโยชน์ และเป็น Gene ที่ไม่มีในประเทศไทย หรือ Gene ในการฉุดรั้งการพัฒนาประเทศของไทยนั้น Dominent (หรือเด่น) กว่า ทำให้เรายังไม่ประสบความสำเร็จ จนกว่า Dominent Gene ห่วย ๆ ของเราจะกลายพันธ์ไป
เกาหลีนำเอา surplus ในทางธุรกิจ ลงไปที่การพัฒนา 2 ด้านหลัก ด้านแรก คือการพัฒนาคนและการศึกษา ด้านที่สองคือ การส่งเสริม R&D ในประเทศ ซึ่งระยะแรกนั้น ทำในกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมกับสถาบันการศึกษา หลังจากที่อัตราการเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา และทำให้เกิดนักวิจัยที่ Commercialize ได้ (แตกต่างจากทไทยที่วิจัยทิ้งขว้าง ไม่สามารถ Commercialize ได้ ซึ่งเป็นความสูญเปล่า) โดยหลังจากปี 1996 นั้น เกาหลีเป็นมหาอำนาจด้าน R&D ของโลก และผลของการพัฒนา R&D นั้น ผลลัพท์เห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน
เกิดอะไรขึ้นในช่วงกึ่งก่อนยุค K-Startup และ K-Entrepreneur
หลังจากสิ้นสุดแผนพัฒนา(เศรษฐกิจและสังคม) ฉบับที่ 7 เมื่อปี 1996 เกาหลีนั้นมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น มีความมั่นคงด้านการเงินการคลังของประเทศมากขึ้น ทว่าในยุคสมัยนั้น ยังไม่ได้เกิดสิ่งที่เรียกว่าแนวคิด startup จนกว่าจะราวปี 2010 เป็นต้นมาในเอเซีย เมื่อโลกได้เกิดการวิวัฒน์ด้านเทคโนโลยี และแนวคิดแบบโตไว โตทันใจ ทว่าเมื่อสังคมใด ๆ มี "ทรัพยากร" พรั่งพร้อมแล้ว ย่อมเติบโตได้ไม่ยากในเวลาอันรวดเร็ว
คนมักเทียบเคียงและเชื่อว่า Startup นั้น คือ การเกิดขึ้นของ Tech-Business ในความหมายเมื่อครั้งเริ่มต้น หรือก็คือ ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีด้านอิเล็คทรอนิก ซึ่งย้อนไปได้ตั้งแต่ คริสตวรรรษที่ 1970 ในยุคของการเกิดขึ้นของ Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา และความหมายนี้ ยังคงยึดโยงมาจนถึงปัจจุบัน ที่มักให้คำนิยามว่า ธุรกิจที่เกิดมาแบบ Solo Entrepreneur ขยายเติบโต (Scale up) ได้รวดเร็ว ใช้เทคโนโลยีเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ยุคเริ่มต้นนี้มักเกี่ยวพันกับตำนานของคน เช่น เดฟ ฮิวเลลต์ จอห์นแพ็คการ์ด, บิลเกตต์ แห่งไมโครซอฟต์ ในระยะต่อมา จนกระทั่งความหมายของมันถูกเพิ่มเติมเมื่อมีผู้สำเร็จในธุรกิจรายใหม่ ๆ ด้วยแนวคิดใด ๆ เมื่อถึงสมัยของ Steve Job แห่ง Apple ที่เน้นการผลิตสินค้าบนแนวคิดที่แตกต่างจากวิธีคิดแบบเดิม หรือการเกิดขึ้นของ New Business ในยุคที่โลกและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีประสิทธิภาพ และราคาเข้าถึงได้ ธุรกิจที่เป็น platform บนโลกอินเทอร์เนตเกิด Business Model ที่แตกต่างจากเดิม เช่น การเกิดขึ้นของ Facebook, Amazon, Alibaba, Twitter, Uber, AirBnb ฯลฯ ซึ่งเติมเต็มนิยามของ Startup ให้เป็น่นที่เราท่านเข้าใจ คือ Tech-Startup ตราบจนกระทั่ง เทคโนโลนีเข้าไปผสานรวมตัวกับอุตสาหกรรมเดิม ๆ เช่น Fin-Tech, Health Teach, Agricultral-Tech, Edu-Tech เราเรียกยุคนี้ว่า dot com business ซึ่งเริ่มต้นในปี 2000 เป็นต้นมา และขยายอาณาเขตข้ามทวีปมายังเอเซีย รวมไปถึงดึงเม็ดเงินมหาศาลไปจากเอเซีย และทำให้เอเซียต้องเคลื่อนไหวพัฒนา dot com business ของตัวเอง และเกาหลีก็พร้อมทันที (เช่นเดียวกับ จีน, ไต้หวัน, สิงคโปร์) ส่วนอีกกลุ่มคือ สายที่ไม่พร้อมหรอก แต่ต้องกระโจนลงไป เช่น ไทย
Startup ได้นำกระบวนการเดิม มาสร้าง Process Innovation คือ ลดทอน ตัดเติม แต่งแต้ม พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานใหม่ ๆ ให้กับโลกธุรกิจ ซึ่งล่วนแล้วมีรากฐานมาจาก "วิธีการ" "แนวคิด" ของเดิม (ทั้งนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน) อาทิ ปรับการบวนการให้สั้นกระชับ เพราะว่า เปลี่ยน Measurement ให้ใจกว้างมากขึ้น แนวคิดและวิธีการอย่าง Startup นี้ ผสมผสาน รวม (Integrated) หลายเรื่องเข้าด้วยกัน ซึงไม่ใช่จารีตประเพณีของธุรกิจเดิม ที่แยกส่วนกัน (จากการพัฒนาศาสตร์ใด ๆ ให้ลึก In-depth และแยกส่วนความรู้ Silo-base learning ที่ทำซ้ำกันมาหลายร้อยปี) ตัวอย่างแนวคิด และวิธีการรุ่นใหม่ ที่ควรต้องเช้าใจที่มา ปรับกับความคลาสสิคของวิธีการเดิม เช่น (ย้ำอีกรอบว่าเป็นเพียงความเห็นของผู้เขียน มิเช่นนั้น สายคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยรู้รากเหง้าของสรรพวิชา จะมาแหกอกผู้เขียนได้)
ช่วง 1996 - 2000 ก่อนการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์ Startup ที่อาจจะเรียกได้ว่า แนวคิดเรื่องการทำธุรกิจ ค่อย ๆ ทยอยเปลี่ยนไปตามลำดับ จากหลายปัจจัย ที่เกิดขึ้น หากจะว่าด้วยการวิเคราะห์สาย Classic เช่น PESTLE (ซึ่งบางคนค่อนขอดว่าล้าสมัย สู้แนวคิดแบบใหม่ไม่ได้ สำหรับผู้เขียนนั้น เปิดรับ "เครื่องมือ" ที่หลากหลาย เพราะแต่ละเครื่องมือสร้างมาด้วยเป้าหมายเฉพาะ และไม่สนับสนุนการ "ดูถูกดูแคลน" ความรู้ใด ๆ) เช่น T+P หรือ TechnoPolitic ได้เปลี่ยนไป ตั้งแต่ จีนเปิดประเทศ เกาหลีตั้งหลักมั่นในการส่งออก Semi Condcutor ทำให้ "ภูมิเทคโนโลยีสารสนเทศ" ของโลกเปลี่ยนแปลงไป และต้องไม่ลืมว่า เมื่อ E; Economy of Scale มีผลต่อ Margin Knowledge และ Know-How ต่าง ๆ ก็หลั่งไหล เกิดเป็นการสั่งสมความรู้ การประยุกต์ การเลียนแบบและการพัฒนา เทคโลโลยีภิวัตน์ Technolozation ก็ทำให้เอเซีย เปลี่ยนจากผู้บริโภคเทคโนโลยี เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีเสียเอง ผู้เล่นด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม เช่น ไต้หวัน และญี่ปุ่น ก็ต้องปรับตัว กลายเป็นความตื่นตูม (ตื่นเทคโนโลยี เลียนแบบการสมัยของการตื่นทอง) ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ในปี 2008 เป็นอีกจุดสำคัญ เมื่อเกิดวิกฤตการเงิน วิกฤตซับไพร์มขึ้น ในสหรัฐอเมริกาละยุโรป ท่ามกลางวิกฤตนี้ เอเซียที่มีการสะสมทรัพยากรไว้มากมาย ได้ถือโอกาสในการเข้าซื้อหุ้น รวมไปถึงเป็นเข้าควบรวมกิจการต่าง ๆ เช่น Lenovo สัญชาติจีนนั้น ได้ซื้อ Business Unit จาก IBM ในส่วนของ PC และ Notebook ซึ่งฐานการผลิตเกือบทั้งหมดอยู่ในจีนแล้วในขณะนั้น เป็นต้น
หลังจากสิ้นสุดแผนพัฒนา(เศรษฐกิจและสังคม) ฉบับที่ 7 เมื่อปี 1996 เกาหลีนั้นมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น มีความมั่นคงด้านการเงินการคลังของประเทศมากขึ้น ทว่าในยุคสมัยนั้น ยังไม่ได้เกิดสิ่งที่เรียกว่าแนวคิด startup จนกว่าจะราวปี 2010 เป็นต้นมาในเอเซีย เมื่อโลกได้เกิดการวิวัฒน์ด้านเทคโนโลยี และแนวคิดแบบโตไว โตทันใจ ทว่าเมื่อสังคมใด ๆ มี "ทรัพยากร" พรั่งพร้อมแล้ว ย่อมเติบโตได้ไม่ยากในเวลาอันรวดเร็ว
คนมักเทียบเคียงและเชื่อว่า Startup นั้น คือ การเกิดขึ้นของ Tech-Business ในความหมายเมื่อครั้งเริ่มต้น หรือก็คือ ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีด้านอิเล็คทรอนิก ซึ่งย้อนไปได้ตั้งแต่ คริสตวรรรษที่ 1970 ในยุคของการเกิดขึ้นของ Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา และความหมายนี้ ยังคงยึดโยงมาจนถึงปัจจุบัน ที่มักให้คำนิยามว่า ธุรกิจที่เกิดมาแบบ Solo Entrepreneur ขยายเติบโต (Scale up) ได้รวดเร็ว ใช้เทคโนโลยีเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ยุคเริ่มต้นนี้มักเกี่ยวพันกับตำนานของคน เช่น เดฟ ฮิวเลลต์ จอห์นแพ็คการ์ด, บิลเกตต์ แห่งไมโครซอฟต์ ในระยะต่อมา จนกระทั่งความหมายของมันถูกเพิ่มเติมเมื่อมีผู้สำเร็จในธุรกิจรายใหม่ ๆ ด้วยแนวคิดใด ๆ เมื่อถึงสมัยของ Steve Job แห่ง Apple ที่เน้นการผลิตสินค้าบนแนวคิดที่แตกต่างจากวิธีคิดแบบเดิม หรือการเกิดขึ้นของ New Business ในยุคที่โลกและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีประสิทธิภาพ และราคาเข้าถึงได้ ธุรกิจที่เป็น platform บนโลกอินเทอร์เนตเกิด Business Model ที่แตกต่างจากเดิม เช่น การเกิดขึ้นของ Facebook, Amazon, Alibaba, Twitter, Uber, AirBnb ฯลฯ ซึ่งเติมเต็มนิยามของ Startup ให้เป็น่นที่เราท่านเข้าใจ คือ Tech-Startup ตราบจนกระทั่ง เทคโนโลนีเข้าไปผสานรวมตัวกับอุตสาหกรรมเดิม ๆ เช่น Fin-Tech, Health Teach, Agricultral-Tech, Edu-Tech เราเรียกยุคนี้ว่า dot com business ซึ่งเริ่มต้นในปี 2000 เป็นต้นมา และขยายอาณาเขตข้ามทวีปมายังเอเซีย รวมไปถึงดึงเม็ดเงินมหาศาลไปจากเอเซีย และทำให้เอเซียต้องเคลื่อนไหวพัฒนา dot com business ของตัวเอง และเกาหลีก็พร้อมทันที (เช่นเดียวกับ จีน, ไต้หวัน, สิงคโปร์) ส่วนอีกกลุ่มคือ สายที่ไม่พร้อมหรอก แต่ต้องกระโจนลงไป เช่น ไทย
Startup ได้นำกระบวนการเดิม มาสร้าง Process Innovation คือ ลดทอน ตัดเติม แต่งแต้ม พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานใหม่ ๆ ให้กับโลกธุรกิจ ซึ่งล่วนแล้วมีรากฐานมาจาก "วิธีการ" "แนวคิด" ของเดิม (ทั้งนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน) อาทิ ปรับการบวนการให้สั้นกระชับ เพราะว่า เปลี่ยน Measurement ให้ใจกว้างมากขึ้น แนวคิดและวิธีการอย่าง Startup นี้ ผสมผสาน รวม (Integrated) หลายเรื่องเข้าด้วยกัน ซึงไม่ใช่จารีตประเพณีของธุรกิจเดิม ที่แยกส่วนกัน (จากการพัฒนาศาสตร์ใด ๆ ให้ลึก In-depth และแยกส่วนความรู้ Silo-base learning ที่ทำซ้ำกันมาหลายร้อยปี) ตัวอย่างแนวคิด และวิธีการรุ่นใหม่ ที่ควรต้องเช้าใจที่มา ปรับกับความคลาสสิคของวิธีการเดิม เช่น (ย้ำอีกรอบว่าเป็นเพียงความเห็นของผู้เขียน มิเช่นนั้น สายคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยรู้รากเหง้าของสรรพวิชา จะมาแหกอกผู้เขียนได้)
- Agile & Sprint ที่เกิดจากข้อจำกัดของการพัฒนา Software ในช่วง 1990 เป็นต้นมา ผสมกับหลักของ Project Management ผสมความคิดเรื่อง Marketing และใส่แนวคิดเรื่อง Human Capital Management ที่ถูกปรับเข้ากับช่วงวัยของผู้ใช้งาน และ Time-To-Market ที่ต้องไว้กว่าคูแข่ เข้าไปรวม ๆ กัน พูดง่าย ๆ ว่า
- การเกิดขึ้นของวงจร Lean Startup (Build Measure Learn) ซึงเป็นลูกผสมของความคลาสสิคแบบ Deming Cycle, Performanace Management เป็นต้น
- MVP; Minimal Variable Products ซึ่งวางบนหลักการของการนำส่งสินค่า ผลิตภัณฑ์ มี Feature เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้งาน และมีต้นทุนที่ทำให้ผู้ผลิตและผู้ซื้อนำ Demand และ Supply มาเจอกันได้
ช่วง 1996 - 2000 ก่อนการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์ Startup ที่อาจจะเรียกได้ว่า แนวคิดเรื่องการทำธุรกิจ ค่อย ๆ ทยอยเปลี่ยนไปตามลำดับ จากหลายปัจจัย ที่เกิดขึ้น หากจะว่าด้วยการวิเคราะห์สาย Classic เช่น PESTLE (ซึ่งบางคนค่อนขอดว่าล้าสมัย สู้แนวคิดแบบใหม่ไม่ได้ สำหรับผู้เขียนนั้น เปิดรับ "เครื่องมือ" ที่หลากหลาย เพราะแต่ละเครื่องมือสร้างมาด้วยเป้าหมายเฉพาะ และไม่สนับสนุนการ "ดูถูกดูแคลน" ความรู้ใด ๆ) เช่น T+P หรือ TechnoPolitic ได้เปลี่ยนไป ตั้งแต่ จีนเปิดประเทศ เกาหลีตั้งหลักมั่นในการส่งออก Semi Condcutor ทำให้ "ภูมิเทคโนโลยีสารสนเทศ" ของโลกเปลี่ยนแปลงไป และต้องไม่ลืมว่า เมื่อ E; Economy of Scale มีผลต่อ Margin Knowledge และ Know-How ต่าง ๆ ก็หลั่งไหล เกิดเป็นการสั่งสมความรู้ การประยุกต์ การเลียนแบบและการพัฒนา เทคโลโลยีภิวัตน์ Technolozation ก็ทำให้เอเซีย เปลี่ยนจากผู้บริโภคเทคโนโลยี เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีเสียเอง ผู้เล่นด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม เช่น ไต้หวัน และญี่ปุ่น ก็ต้องปรับตัว กลายเป็นความตื่นตูม (ตื่นเทคโนโลยี เลียนแบบการสมัยของการตื่นทอง) ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
- 1996 เกาหลีจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า SMBA ซึ่งเข้ามาเริ่มดูแลกิจการ SME อย่างเป็นรูปธรรม (ซึ่งหน่วยงานนี้จะเติบโตไปเป็น Ministry of SMEs and Stratups ในปี 2017) หลังจากที่บริษัทขนาดใหญ่ของเกาหลีมีความมั่นคง และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจเกาหลีแล้ว พร้อมด้วยฐานกำลังในการเติบโตด้าน RnD (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mss.go.kr/site/eng/01/20105000000002019110657.jsp# )
- 1997 คือปีที่ Huawei สยายปีกด้วยการนำส่งเทคโนโลยีด้านการสื่อสารออกมาในตลาดโลก (หลังจากก่อนเมื่อ 1987) และในปัจจุบันถือครองเทคโนโลยี 5G ซึ่งต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งจากสหรัฐอเมริกา และยุโรป (เช่น Cisco, Nortel, Ericsson)
- 1999 คือปีที่ Alibaba ก่อตั้งขึ้น และเข้าสู่วงการ dot com market ที่มีอิทธิพลระดับโลกในปี 2003 มีมูลค่า และส่วนแบ่งการตลาดใน e-market place ระดับรอง เมื่อเทียบกับคู่แข่ง (เช่น ebay, amazon)
- ในช่วงนี้ Brand ด้านเทคโนโลยีในเอเซียเกิดขึ้นมากมาย จากการพัฒนาด้าน R&D หรือจะเกิดจาก C&D ก็ไม่ผิด ซึ่งจะเป็นฐานให้ธุรกิจดทคโนโลยีในเอเซียแข็งแกร่งขึ้น เช่น HTC ของไต้หวัน ในเกาหลีเอา Samsung และ LG ซึ่งมีฐานจากการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำในการผลิคสินค้าเทคโนโลยี ป้อนสู่ตลาดโลก โดยเริ่มจากการผลิตชิ้นส่วน เช่น RAM (หน่วยความจำ), จอประเภทต่าง ๆ ซึ่งในช่วงปี 2000-2010 นั้น Samsung พัฒนาการผลิตจนขึ้นเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก
ในปี 2008 เป็นอีกจุดสำคัญ เมื่อเกิดวิกฤตการเงิน วิกฤตซับไพร์มขึ้น ในสหรัฐอเมริกาละยุโรป ท่ามกลางวิกฤตนี้ เอเซียที่มีการสะสมทรัพยากรไว้มากมาย ได้ถือโอกาสในการเข้าซื้อหุ้น รวมไปถึงเป็นเข้าควบรวมกิจการต่าง ๆ เช่น Lenovo สัญชาติจีนนั้น ได้ซื้อ Business Unit จาก IBM ในส่วนของ PC และ Notebook ซึ่งฐานการผลิตเกือบทั้งหมดอยู่ในจีนแล้วในขณะนั้น เป็นต้น
- 2012 Operation of Meister High Schools ที่มุ่งเน้นการพัฒนา "คน" ที่จะเป็น "ฐาน" และ "ทุน" ในการพัฒณาด้านเทคโนโลยีลงไปในระดับมัธยมศึกศ และอาชีวะศึกษา (อ่านเพิ่มเติมที่ The Future of Vocational Education and Training in a Changing World และ High School Vocational Education Advancement Measure)
- 2013 Samsung ก้าวขึ้นเป็นผู้ที่มีส่วนแบ่งการตลาดใน Smart Phone สำเร็จ (รวมไปถึง smart phone จากค่ายต่าง ๆ ในเอเซีย) ทำให้ทั่วโลกการเข้าถึงเทคโนโลยีได้ในราคาที่ถูกลง และการเติบโตขึ้นของตลาด Mobile device และในช่วงปี 2013 นี้เอง เกิดหน่วยงานที่เป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนา startup ของเกาหลีด้วย ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป
ในช่วงหลังปี 2008 เป็นต้นมา เมื่อกระแสของธุรกิจเกิดใหม่ ที่เรียกว่า "Startup" พัดโหมจากโลกตะวันตก มายังโลกตะวันออก พร้อมด้วยความสำเร็จที่เป็นตัวอย่าง ในขณะนั้นประเทศต่าง ๆ เริ่มพูดถึงรูปแบบของการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล (ซึ่งการเติบโตของ Internet, 4G, AI, Big Data, E-Commerce เกิดขึ้นเป็นกระแสต่อเนื่อง) เกาหลีเป็นประเทศแรก ๆ ในเอเซียที่กระโจนเข้าสู่กระแสธารของ Startup หลังจากศึกษา วางแผนการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1996 และเกาหลีก็พร้อมที่จะเดินหน้าใน Startup อย่างจริงจัง โดยอาศัยฐานจากการศึกษาที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และภาคธุรกิจเป็นพี่เลี้ยงทำงานร่วมกันอย่างเป็นกระบวนการ (ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่ไทยแตตกต่างจากเกาหลี) และยังรวมไปถึง เกาหลีใช้ Dedication, Deliverable จากคนรุ่น ปลาย BB และ ต้น Gen-X อย่างเต็มกำลัง และได้รับความร่วมมือจากกำลังแห่งยีนนี้ไปทุกภาคส่วนเสียด้วย (ซึ่งจุดนี้ก็แตกต่างจากไทย เพราะว่าไทยไม่มียีนตัวนี้ที่แข็งแกร่งพอ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า เราไม่มี Patience Gene จาประวัติศาสตร์และความทารุณแบบเกาหลี เรามีแต่ ยีนแห่งความแตกแยก ยีนแห่งการเล่นพรรคพวก) ผมแนะนำให้ท่านไปดูภาพประธานหลักในตอนต้นของบทความนี้ประกอบ เกาหลีรวมทุกเฟืองที่สัมพันธ์กันใน Vision หลัก และให้กำเนิด Misssion ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ่ค่อยๆ สร้างส่วนประกอบที่รวมกันเป็นนิเวศน์แห่งการเติบโตอย่างชัดเจน
2013 ปีที่เกาหลี Kickoff ประมวลวิถี Startup และ Entrepreneur ในปี 2013 และหลังจากนั้น เกิดหน่วยงานที่ขึ้นมาสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลในเกาหลี ภายใต้หลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงศึกษาธิการ (MOE) จะเป็นฐานของการพัฒนาคน และบุคคลากรทางการศึกษา กำหนดนโยบายการศึกษาให้สอดคล้องกับ Policy ของกระทรวงหลักอื่น ๆ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และการสารสนเทศ (MSIT; Ministry of Science and ICT) กำหนดนโบบายในการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยี, กระทรวงเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจ starup (MSS; Ministry of SMEs and StartUps) ทำหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการ ทั้ง 3 กระทรวงหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่นั้น ทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ มีหน่วยงานที่เรียกว่า Agency มากมาย Agency ต่าง ๆ นั้นทำงานร่วมกันในระหว่างหน่วยงานของรัฐกันเอง และ หน่วยงานเอกชนต่าง ๆ แบ่ง Segment และ ความรับผิดชอบตาม ระยะการ Incubate Startup ฺBusiness และ Entrepreneur (เรื่องแบบนี้ให้เลียนแบบ) |
ตัวอย่างของ Mission ของกระทรรวงเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ MSS ของเกาหลี (ซึ่งมีการประมาณการเป้าหมายชัดเจนในแต่ละกลุ่มที่จะส่งเสริม ดั่งภาพด้านบน และมีการสร้าง Agency เพื่อดูแลในแต่ละกลุ่ม)
ตัวอย่างนโยบายของ MSIT (Ministry of Science and ICT) ของเกาหลี คลิกที่นี่
หนึ่งในนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเกาหลี (MOE) ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสร้าง Startup และ Entrepreneur
- Promoting Business Growth We recognize that growth of Enterprises is directly related to national economy's growth. Thus, MSS implements various policies aimed at promoting the growth of Enterprises at all stages of development - from start-ups to SMEs, from SMEs to global enterprises or Hidden Champions.
- Fostering Business Start-ups Technology and knowledge-based start-ups can bring innovation and energy to the entire business ecosystem. For this purpose, MSS strives to foster new ideas to turn into new businesses. Furthermore, MSS also creates a smooth business-funding cycle, which facilitates investment, collection and reinvestment.
- Supporting Micro Enterprises In order to strengthen competitiveness of micro enterprises which work as an important foundation of domestic economy, MSS takes policy measures that enable successful start-up, adoption of cooperation models, healthy growth, and successful turnaround.
ตัวอย่างนโยบายของ MSIT (Ministry of Science and ICT) ของเกาหลี คลิกที่นี่
หนึ่งในนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเกาหลี (MOE) ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสร้าง Startup และ Entrepreneur
- Support for University Students' Start-ups and Employment In recent years, diverse programs that support start-ups of university students have been on the rise since a high unemployment rate of young adults/youth became an serious issue. Therefore, the Ministry of Education plans to develop and implement a customized curriculum through the collaboration of universities and industrial sectors and extend the number of students in "majors geared toward social demand" that helps graduated students to find jobs for 15,000 students by 2017. Moreover, outstanding start-up clubs will be supported to launch a company.
Korea Startup EcoSystem (เอกสารอ่านเพิ่มเติม) การสร้าง และการประสาน Startup Ecosystem นั้นมีความน่าสนใจ (และเป็นแนวทางที่ควรคัดลอก และพยายามสร้างให้เกิดในประเทศไทย) ในมุมมองนี้ขอนำเสนอด้วย 4 stages ของการสร้าง และพัฒนา Startup และผู้ประกอบการโดยใช้ Methodology ของ MonsoonSIM Thailand Seeding เพาะเมล็ดพันธ์ุ เกาหลีโดดเด่นมากในการเพาะเมล็ดพันธ์ หน่วยงานด้านการศึกษา, สถาบันการศึกษา เกาหลีมีหน่วยงานที่ส่งเสริม Startup มากมาย และเริ่มปฏิรูปการศึกษาเพื่อผลิต "ทุนมนุษย์" ตั้งแต่การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา เกาหลีมี Co-Working space และ Incubating Center หรือผมขอเรียกว่า "เรือนเพาะชำ" ทั้งในส่วนของรัฐ, เอกชน, รัฐร่วมมือกับเอกชน คุณจะพบว่ามี Co-Working Space พร้อมบริการในส่วนอื่น ๆ อยู่ใน Eco-system ของเกาหลี (ผมขอเรียกว่า เอมบริโอ และไซโกทของม้าแกลบ) Grounding ลงตลาดให้หยั่งราก เมื่อได้ "ต้นกล้า" ด้าน Startup แล้ว เกาหลีมีกระบวนการ "อนุบาล" เหล่า startup เพื่อให้หยัั่งรากได้ และเกาหลีมีกระบวนการที่จะเลี้ยงดูต้นกล้าเหล่านี้จาก "ผู้อภิบาล" ซึ่งจากตัวอย่างที่เห็น ผู้อภิบาลเหล่านี้ประจำการ ณ "เรือนเพาะชำ" เสียด้วย ตัวอย่างเช่น K-ICT ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือน และ "สะดุด" กับ "วิธีการ" จึงเป็นที่มาของการศึกษาเรื่อง Dedication and Devliverble Gene .ในบทความที่แล้วและพบว่า เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่อนาคต startup ของเกาหลี กำลังจะแบ่งบาน หลังจากทัพแรกที่มั่นคงนำโดยกลุ่มอุตสาหกรรมและบริษัทยักษ์ใหญ่ของเกาหลีไปก่อนหน้านี้แล้ว (ลูกม้าแกลบ) สองกระบวนการนี้ เกี่ยวข้องกับ Incubator และ Accelerator ซึ่งเกาหลีมีหน่วยงานที่ "ลงทะเบียน" มีเป้าหมาย มีการสนับสนุนชัดเจนจากทั้ง รัฐบาล และภาคธุรกิจ และส่งต่อไปยัง กระบวนการถัดไปจนครบ บางหน่วยงานของเกาหลีทำหน้าที่ ในส่วนของ Seeding และ Grounding บางหน่วยงาน และส่งต่อไปยัง Growing และ Expanding บางส่วนทำหน้าที่คล่อมครอลคลุมไปยัง Growing ด้วยตัวเอง หรือประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ ฺGrowing ดูแลบำรุงให้เติบใหญ่ เมื่อ startup หยั่งรากแข็งแรงแล้ว เกิด Prototype ที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ (เช่น Design Thinking, Startup Way) จนมั่นใจได้ว่า จะสามารถสร้างเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ ในเชิง Commercial ได้จริง และจะสามารถ Scale UP ได้ ก็ถึงกระบวนการที่จะส่งมอบ "ม้าแกลบ" ให้เป็น "ม้าแกร่ง" ต่อไป ตั้งแต่ขั้นตอน Grounding นั้น จะเริ่มมี VC; Venture Capital และ Angels เข้ามาร่วม เป็น "แมวมองและนางฟ้าเพื่อพัฒนาม้าแกลบให้เป็นม้าแกร่ง" และบางครั้งแยกไปบำรุงบำเรอให้เติบโตในแบบของตัวเอง Expanding ใส่ปุ๋ยเร่งให้โต การใส่ปุ๋ยเร่งให้โตของเกาหลี มี 2 ลักษณะ ได้แก่
|
ประสบการณ์ และเรื่องบอกเล่าจากการเยี่ยมชม 2 หน่วยงานด้าน Startup ของเกาหลี และ 1 Unicorn
ผู้เขียนได้รับประสบการณ์จากการเดินทางในเกาหลี และมีโอกาสเยี่ยมชมหลายหน่วยงานของเกาหลี ซึ่ง 3 หน่วยงานนั้น ประกอบด้วย ตัวอย่งาที่ดีที่ควรนะจต้องเข้าใจ และนำมา "ปรับ" ใช้กับ Startup และ Entreperneur ของไทย ทั้ง 3 หน่วยงานนั้น ได้แก่ K-ICT, TIPS ซึ่งเป็น Governmen Agency และ Yanolja 1 ใน 10 Korean Unicorn
ผู้เขียนได้รับประสบการณ์จากการเดินทางในเกาหลี และมีโอกาสเยี่ยมชมหลายหน่วยงานของเกาหลี ซึ่ง 3 หน่วยงานนั้น ประกอบด้วย ตัวอย่งาที่ดีที่ควรนะจต้องเข้าใจ และนำมา "ปรับ" ใช้กับ Startup และ Entreperneur ของไทย ทั้ง 3 หน่วยงานนั้น ได้แก่ K-ICT, TIPS ซึ่งเป็น Governmen Agency และ Yanolja 1 ใน 10 Korean Unicorn
K-ICT
|
TIPS KOREA TIPS เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้น ในราวปี 2013 เป็นอีกหนึ่ง Government Agency ที่เชื่อมโยง Tech Startup เข้ากับ TIPS Partner (Investor) ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งทุนของ Startup และ Government ที่ร่วมลงทุนให้เกิด Startup Entrepreneur โดยจะให้ทุนในการทำ RnD 10% เพื่อให้เกิดการพัฒนาในเกาหลี โดย TIPS ทำหน้าที่เป็นผู้ Verified Startup, Angels Investment เพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีในการสร้าง K-Startup โดย TIPS ให้บริการตั้งแต่ Co-Working Space, Mentoring, Training และ Consultative Services โดยเมื่อ Startup ที่ผ่านโครงการของ TIPS นั้น จะต้องจ่าย 10% คืนกลับมาเพื่อสร้าง Startup รายต่อไป เมื่อสามารถประกอบการสำเร็จ รูปแบบการสนับสนุนของ TIPS ผ่านโครงการ 2-3 ปี ในอาณาบริเวณของ TIPS ที่ เรียกว่า TIPS TOWN ในปัจจุบัน ประกอบด้วย ตั้งแต่ปี 2013 TIPS มีผลงานดังนี้ กระบวนการของ TIPS โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.jointips.or.kr/support_en.php
สถิติที่น่าสนใจที่ได้รับฟังจากการเยี่ยมชม TIPS คือ
|
YANOLJA
Yanolja (ยา-โนล-จา) เป็น Trevel Tech ระดับ (Super Duper) Unicorn ของเกาหลี ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2005 เป็น Startup ที่มีโซลูชั่นเริ่มแรกเป็นระบบจองห้องพัก และขยายธุรกิจมาเป็นให้บริการระบบบริหารโรงแรม และเพิ่มเป็นการออกแบบ เปลี่ยนให้อาคารเก่า หรือ แผนการสร้างและตกแต่งโรงแรม, พัฒนาระบบ IT และบริการเชิง Digital กับโรงแรม และ ขยายไปถึง ให้บริการช่วยทำตลาด, การจัดการ Amenity ในห้องพัก ครอบคลุมจนครบวงจร Yanolja มี Academy ของตัวเอง เพื่อที่จะอบรมบุคลากรด้าน Hotel Hospitality Service เป็น Tech Entrepreneur ที่ให้บริการvย่างครบวงจร สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจธุรกิจโรงแรม ทว่าไม่ได้มี Business Model เช่นปัจจุบันมาแต่เริ่มแรก อาศัยการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก และเพิ่มส่วนต่อขยายทางธุรกิจออกไป รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ สร้างโอกาสให้กับตนเอง และขยายไปจนครอบคลุมช่วงหนึ่งของโซ่อุปทาน ผู้เขียนแนะนำให้โหลด Slide Introduction ที่ได้ post ลิ้งก์ไว้ให้แล้วที่หัวข้อเรื่องนี้ประกอบ เพื่อที่ท่านจะได้เข้าใจ Yanolja มากขึ้น |
สิ่งที่น่าสนใจที่ไทย ควร C&D&I จาก Korean Startup
ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ว่าผมถือหางเกาหลีเมื่อเขาสำเร็จแล้ว ทว่า ในปี 2005-2013 นั้น เป็นช่วง Vebture Bubble Crisis อัรเกิดจากเศรษฐกิจโลก และ การลงทุนที่ไม่มี Return เช่นเดียวกับไทยในช่วงเวลานี้และก่อนหน้านี้ ในกิจการ startup ทว่า เกาหลีเรียนรู้จากความผิดพลาดและแก้ไข ถ้าผมจะ refer ถึง Dedication and Deliverable Gene ว่าเป็น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คงไม่ผิด เพราะว่า ไทยไม่มียีนตัวนี้ เมือใดที่เรา "ร่วมกัน" สร้าง "ระบบ" "ส่งไม่ต่อเนื่อง" เมื่อนั้น เราอาจจะมี "ผลลัพท์" ที่เกิดขึ้น ที่มี "จำนวน" และ "อานุภาพ" เพียงพอในเศรษฐกิจโลกสมัยใหม่ ถ้า "ไทย" จะ Copy ขอให้ Copy วิธีการ และนำมาปรับปรุง Develop ให้เหมาะกับเรา และ Innovate ให้เป็น Thai Style แต่อย่าเอาค่านิยมแบบเดิมของไทยมาเป็นต้นทุนก็พอ ขออนุญาตจบ EP3 ใน K-Experience แต่เพียงเท่านี้ครับ
- เกาหลีสร้าง "วัฎจักร" ใน "Ecosystem" ของการเกิดขึ้น อยู่รอด เติบโต และ "ยั่งยืน" โดย วัฎจักรนี้ ทำต่อเนื่องทั้งในระดับหน่วยงาน และระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ กัน เพื่อส่งออกไปยัง Global Economy สำหรับประเทศไทยนั้น แต่ละหน่วยงานไม่เชื่อมโยงถึงกัน ไม่มีตัวกลาง ในส่วนราชการเห็นเป็น Event เมื่อถ่ายภาพเสร็จก็จบกันไปได้ใช้งยประมาณ ในส่วนภาคเอกชน ก็เริ่มโครงการเหล่านี้ด้วยเจตนาที่จะ M&A หรือ Merging and Acqusitiion ในภายหลัง ไม่ได้คิดว่าจะส่งเสริมให้เกิดอย่างจริงจัง เมื่อไม่เกิด ROI ก็ยกเลิกกันไป
- ในขั้นตอนแรกสุด มีการเตรียมการเพาะเมล็ดพันธ์ ที่สมบูรณ์จากการปฏิรูปการศึกษา ปรับกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร การ reskills upskills บุคคลากรด้านการศึกษา เพื่อสร้าง "คน" ให้เป็น "ทุน" ในการพัฒนา ในประเทศไทยนั้น ไม่มีกระบวนการ Retire Education Service (ให้แย่กว่านั้น ไม่คิดว่า Education as a Services ด้วยซ้ำไป) ไม่มองเห็นผู้เรียน ครอบครัว สังคม องค์กรเป็น "ลูกค้า" เพราะว่าไม่ได้ผังว่าลูกค้าต้องการอะไร เพียงแต่ จะต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่เขาผลิต และเลวร้ายยิ่งนัก คือ การไม่ Unlearn Relearn ไม่ Upskills Reskill บุคคลากรทางการศึกษาเลย และ ที่แย่ที่สุด คือ กระทรวงทั้ง 2 กระทรวง ไม่มีโครงการแบบนี้จริงจัง การออกคูปองให้บุคคลากรไปเลือกเรียน ก็เป็นการลูบหน้าปะจมูก คนทีมาขายคอร์สและขายคลาส ก็ไม่ได้มีมาตรฐาน เป็นแบบนี้จนลุกลามเป็นมะเร็งในสังคมไทย นี่คือตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง
- เกาหลีมี "คน" หลายรุ่น ร่วมในกระบวนการ "สร้างคน" โดยตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ กระบวนการ Mentor ของ K-ICT และ TIPS ที่ คนรุ่น Gen ฺฺBB X และผู้เชี่ยวชาญกระโจนเข้ามาสู่กระบยวนการ Incubator อย่างจริงจัง ในเมืองไทยนั้น นับตัวได้ หรือ เรียกให้ถูกต้องคือ นับตัวแทบไม่ได้ ที่จะมีคนที่มีความเชี่ยวชาญลงแรง ลงเวลา เพื่อ "อุทิศ" ตัวต่อกระบวนการสร้างคนนี้ ส่วนมาก มีชื่อมาเอี่ยวในโครงการเบื้องต้น มาพูด 1-2 ชั่วโมง ไม่แม้แต่จะเอาใจใส่ในกระวนการ Mentoring ด้วยซ้ำ
- เกาหลีมี "องค์กร" ที่ทำงานร่วมกันเป็น "ระบบ" เพื่อเป้าหมายเดียวกัน มีเป้าหมายชัดเจน คือ การ Go Global เมื่อ Vision รวมของชาติร่วมกันชัดเจน (ซึ่งไทยไม่มี) ทำให้ Mission ของแต่ละฝ่าย ทำให้เป้นไปตาม Mission นั้น เป็น "กระบวนการ" เป็น "รูปธรรม" มีองคาพยพเพียบพร้อม มีเครื่องมือ และทรัพยากรพร้อมเพรียง ที่เกิดจาก องค์กรทั้งรัฐ เอกชยน ภาคการศึกษา ทำรวมกัน ซึ่งของไทยนั้น สะเปะสะปะ ทุกคนเอาตามมาตรฐานจขั้นต่ำ เพื่อให้รอดพ้น KPI ไม่สนใจ Vision ที่วางไว้อย่างลวก ๆ
- เกาหลีมีการเติมทรัพยากรส่วนที่ขาดในกระบวนการสร้าง K-Startup ให้เป็น K-Entrepreneur เช่น การเติมทักษะที่ขาดจากกระบวนการ Training ที่เข้มข้นจริงจัง มีกระบวนการสร้างและแบ่งปันประสบการณ์จาก Mentoring และ Incubating System ชัดเจนจากตัวจริง (ส่วนบ้านเรานั้น เอาพี่สอนน้อง ส่วนมืออาชีพมาเมื่อว่าง) มีการให้ทุน ร่วมทุน มีการเพิ่มส่วนที่ขาดเช่น การให้คำปรึกษาเรื่อง กฎหมาย, สิทธิบัตร, การทำตลาด, ที่ปรึกษาด้านการลงทุน (ในบ้านเรานั้น ต้องวิ่งหากันเอง หากจะอยู่รอด)
ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ว่าผมถือหางเกาหลีเมื่อเขาสำเร็จแล้ว ทว่า ในปี 2005-2013 นั้น เป็นช่วง Vebture Bubble Crisis อัรเกิดจากเศรษฐกิจโลก และ การลงทุนที่ไม่มี Return เช่นเดียวกับไทยในช่วงเวลานี้และก่อนหน้านี้ ในกิจการ startup ทว่า เกาหลีเรียนรู้จากความผิดพลาดและแก้ไข ถ้าผมจะ refer ถึง Dedication and Deliverable Gene ว่าเป็น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คงไม่ผิด เพราะว่า ไทยไม่มียีนตัวนี้ เมือใดที่เรา "ร่วมกัน" สร้าง "ระบบ" "ส่งไม่ต่อเนื่อง" เมื่อนั้น เราอาจจะมี "ผลลัพท์" ที่เกิดขึ้น ที่มี "จำนวน" และ "อานุภาพ" เพียงพอในเศรษฐกิจโลกสมัยใหม่ ถ้า "ไทย" จะ Copy ขอให้ Copy วิธีการ และนำมาปรับปรุง Develop ให้เหมาะกับเรา และ Innovate ให้เป็น Thai Style แต่อย่าเอาค่านิยมแบบเดิมของไทยมาเป็นต้นทุนก็พอ ขออนุญาตจบ EP3 ใน K-Experience แต่เพียงเท่านี้ครับ