หมายเหตุ: ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ไม่ได้ใช้ภาษเขียนอย่างถูกต้อง ปนภาษาพูดเพื่ออรรถรสในการอ่าน และ เหมาะสำหรับคนเปิดใจเท่านั้น
Entrepreneur มีความหมายอย่างแคบ และเป็นคำแปลใหม่จากต้นกำเนิดว่า "ผู้ประกอบการ" ส่วนความหมายอย่างกว้างและดั้งเดิม คือ "นักแแก้ปัญหา" "นักบริหารจัดการตามความประสงค์" ในความหมายของผู้เขียน คือ นักแก้ปัญหาบน "ทรัพยากรที่จำกัด" ให้ได้ตามเป้าประสงค์ ซึ่ง preneur ที่เป็น Suffix ในบทความนี้แปลอย่างหลังสุด
ในยุคของ Covid-19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยทำให้ "ภาพ" ของการเปลี่ยนแปลงที่ "ประเทศไทย" และ "คนไทย" (และโลก) ต้องเจอในอนาคตนั้นเร็วขึ้น โควิดเสมือนเป็นยานอวกาศ USS Discovery ในซีรีย์และภาพยนต์ Sci-Fi Startrek (ซึ่งโดยส่วนตัวตอนนี้ดีที่สุด) ที่ผ่านการบิดเบี้ยวของหลุมดำจากสสารแดง ซึ่งหมายถึงโควิดในขณะนี้ พา USS Discovery ไปในอนาคตไกลกว่า 900 ปี ในอนาคต เท่ากับว่า Covid-19 ช่วยให้เรา "วาร์ป" ตัวเองไปเจอสถานการณ์ของอนาคตได้เร็วขึ้น สิ่งที่ลูกเรือทำ คือ "การพยายามปรับตัว" (Change, Transform, Evolve) ให้เข้ากับโลกอนาคต ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไป การใช้ชีวิตเปลี่ยนไป เหตุเพราะ "ข้อจำกัด" เกิดขึ้น ซึ่งในเรื่องคือ การเกิดขึ้นของวันวอดวาย ที่ทำให้เครื่องยนต์วาร์ปทั้งจักรวาลระเบิดจากปฏิกิริยาที่ไดลิเทียม ซึ่งคือพลังงานหลักในการเดินทางเร็วเหนือแสงนั้นทำไม่ได้ การระเบิดในวันวอดวายทำให้ เชื้อเพลิงไดลิเทียมซึ่งเป็นพลังงานถูกเผาผลาญไปจน แทบไม่เหลือ ทำให้การวาร์ปทำไม่ได้ในเรื่อง
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับหัวข้อที่ ตอนแรกผมอยากใช้ชื่อหัวข้อว่า ถึงเวลาใส่ Suffix preneurs ในกมลสันดานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในไทย แต่ก็ตัดใจทำให้โลกมีสีพาสเทล เป็นชื่อหัวข้อปัจจุบัน คือ ถึงเวลาที่จะต้องมีนามสกุล preneur ต่อท้ายสำหรับประเทศไทย เพื่อให้บทความล้อไปกับ "วิธีคิดและค่านิยม" ของไทย หรือแปลว่า อยากได้อยากมี แต่รอคนอื่นมาทำให้ รอให้มันเกิดเอง
Preneur เป็น Suffix ที่เป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส (กระมัง) แปลว่า "Taker" (หรือ Take as responsbler แปลโดยผู้เขียน) เราไม่ค่อยรู้จักคำนี้แบบโดด ๆ เราจะรู้จักกันในคำว่า "Entrepreneur(s)" หรือ นักประกอบการ (ประวัติของคำนี้ เชิญอ่านที่นี่) เมื่อคำสองคำมาสนธิกัน เกิดเป็นความหมายที่รู้จักกันดีในการมีทักษะแห่งการประกอบการ ซึ่งได้แก่ การเอาชนะอุปสรรคและปัญหา, การจัดการบริหารทรัพยากร เพื่อบรรลุเป้าหมาย, ความสามารถในการใช้ Integrated Skills และ Knowledge เป็นส่วนผสมที่่ลงตัวในการแก้ไขปัญหา, การใช้ Idea มาแปลงเป็น Asset เป็นต้น (ความหมายมีอีกร้อยกระบุงโกย)
โดยประสบการณ์ส่วนตัว พบว่า ทักษะที่มีคุณลักษณะ preneur ต่อ่ท้าย จนเรียกว่า "นามสกุล" เป็นสิ่งหายากในทุกวงการในประเทศไทย ยกเว้น Adaptive SME ของไทย ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก แต่สร้างมูลค่ามากในกับเศรษฐกิจ สิ่งที่พูดไปก็เหมือน "ถากถาง" ประเทศตัวเอง คือ เราอยู่ใน Comfort Zone จนเรามีนามสกุลที่กลายเป็นนามสกุลพื้นถิ่น อาทิ "Let it be" "Wait and See" "Hope Well" "Others will do" "Not my respond" "Everything is mistake except myself" "Patient" "Not do only argue and critic" (ขออภัยที่ไม่สามารถ list ทั้งหมื่นตระกูลอันน่าเศร้าในที่นี้ได้) นามสกุลแบบนี้ ผสมข้ามพันธุ์กันไปมา จนเป็น DNA ของประเทศไทย และ คนไทย
ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ กับภารกิจคลุมถุงชนจับแต่งกับ preneur ตบจูบแบบพิศาล อัครเสรณี
ภาคการศึกษา กับการทุบหัวแล้วลากเข้าถ้ำ เพื่อให้สมยอมเป็น preneur แล้วรอความหวังในนักการศึกษารุ่นต่อไป
ภาคธุรกิจกับยุทธวิธีร้อยแปดตั้งแต่ภารกิจแม่สื่อถึง Blind date จนกว่าจะได้เสียเกี่ยวดองกับ preneur
ประเทศไทยต้องปรับกระบวนท่า ผมใช้สัญลักษณ์เชิงล้อเลียนเพื่อสื่อว่า ให้ทำอย่างไรก็ได้ ที่จะผัง Preneurs ลงไปในระดับของ Mindset, Skills ในความหมายอย่างกว้างก็ดี อย่างแคบก็ได้ เราต้องการการเปลี่ยนแปลงแบบ "พลิกโฉม" ในทุกวงการ ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็น คลุมถุงชน, ตบจูบขืนใจ, ทุบหัวลากเข้าปล้ำ, ฺblindate ด้วยความรักให้เกิด love at first site หรือวิธีใด ๆ ก็ทำไปเถอะครับ ไม่ต้องเชื่อหรือยยึดวิธีการหยิบแกมหยอดที่ผู้เขียนเสนอ แค่ลองทำให้เกิดผลก็พอ
รู้อะไรไม่เท่ารู้งี้ เป็นจังซี้ทุกทีสำหรับคนไทย
แผนที่สุดพิเศษ หากไม่ลงมือทำ ก็ไม่มีผลใด ๆ ตามมา
ต้องเลิกชื่นชมรายงานความสำเร็จที่มะโน
#พี่แว่นหน้าตาดี
Entrepreneur มีความหมายอย่างแคบ และเป็นคำแปลใหม่จากต้นกำเนิดว่า "ผู้ประกอบการ" ส่วนความหมายอย่างกว้างและดั้งเดิม คือ "นักแแก้ปัญหา" "นักบริหารจัดการตามความประสงค์" ในความหมายของผู้เขียน คือ นักแก้ปัญหาบน "ทรัพยากรที่จำกัด" ให้ได้ตามเป้าประสงค์ ซึ่ง preneur ที่เป็น Suffix ในบทความนี้แปลอย่างหลังสุด
ในยุคของ Covid-19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยทำให้ "ภาพ" ของการเปลี่ยนแปลงที่ "ประเทศไทย" และ "คนไทย" (และโลก) ต้องเจอในอนาคตนั้นเร็วขึ้น โควิดเสมือนเป็นยานอวกาศ USS Discovery ในซีรีย์และภาพยนต์ Sci-Fi Startrek (ซึ่งโดยส่วนตัวตอนนี้ดีที่สุด) ที่ผ่านการบิดเบี้ยวของหลุมดำจากสสารแดง ซึ่งหมายถึงโควิดในขณะนี้ พา USS Discovery ไปในอนาคตไกลกว่า 900 ปี ในอนาคต เท่ากับว่า Covid-19 ช่วยให้เรา "วาร์ป" ตัวเองไปเจอสถานการณ์ของอนาคตได้เร็วขึ้น สิ่งที่ลูกเรือทำ คือ "การพยายามปรับตัว" (Change, Transform, Evolve) ให้เข้ากับโลกอนาคต ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไป การใช้ชีวิตเปลี่ยนไป เหตุเพราะ "ข้อจำกัด" เกิดขึ้น ซึ่งในเรื่องคือ การเกิดขึ้นของวันวอดวาย ที่ทำให้เครื่องยนต์วาร์ปทั้งจักรวาลระเบิดจากปฏิกิริยาที่ไดลิเทียม ซึ่งคือพลังงานหลักในการเดินทางเร็วเหนือแสงนั้นทำไม่ได้ การระเบิดในวันวอดวายทำให้ เชื้อเพลิงไดลิเทียมซึ่งเป็นพลังงานถูกเผาผลาญไปจน แทบไม่เหลือ ทำให้การวาร์ปทำไม่ได้ในเรื่อง
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับหัวข้อที่ ตอนแรกผมอยากใช้ชื่อหัวข้อว่า ถึงเวลาใส่ Suffix preneurs ในกมลสันดานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในไทย แต่ก็ตัดใจทำให้โลกมีสีพาสเทล เป็นชื่อหัวข้อปัจจุบัน คือ ถึงเวลาที่จะต้องมีนามสกุล preneur ต่อท้ายสำหรับประเทศไทย เพื่อให้บทความล้อไปกับ "วิธีคิดและค่านิยม" ของไทย หรือแปลว่า อยากได้อยากมี แต่รอคนอื่นมาทำให้ รอให้มันเกิดเอง
Preneur เป็น Suffix ที่เป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส (กระมัง) แปลว่า "Taker" (หรือ Take as responsbler แปลโดยผู้เขียน) เราไม่ค่อยรู้จักคำนี้แบบโดด ๆ เราจะรู้จักกันในคำว่า "Entrepreneur(s)" หรือ นักประกอบการ (ประวัติของคำนี้ เชิญอ่านที่นี่) เมื่อคำสองคำมาสนธิกัน เกิดเป็นความหมายที่รู้จักกันดีในการมีทักษะแห่งการประกอบการ ซึ่งได้แก่ การเอาชนะอุปสรรคและปัญหา, การจัดการบริหารทรัพยากร เพื่อบรรลุเป้าหมาย, ความสามารถในการใช้ Integrated Skills และ Knowledge เป็นส่วนผสมที่่ลงตัวในการแก้ไขปัญหา, การใช้ Idea มาแปลงเป็น Asset เป็นต้น (ความหมายมีอีกร้อยกระบุงโกย)
โดยประสบการณ์ส่วนตัว พบว่า ทักษะที่มีคุณลักษณะ preneur ต่อ่ท้าย จนเรียกว่า "นามสกุล" เป็นสิ่งหายากในทุกวงการในประเทศไทย ยกเว้น Adaptive SME ของไทย ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก แต่สร้างมูลค่ามากในกับเศรษฐกิจ สิ่งที่พูดไปก็เหมือน "ถากถาง" ประเทศตัวเอง คือ เราอยู่ใน Comfort Zone จนเรามีนามสกุลที่กลายเป็นนามสกุลพื้นถิ่น อาทิ "Let it be" "Wait and See" "Hope Well" "Others will do" "Not my respond" "Everything is mistake except myself" "Patient" "Not do only argue and critic" (ขออภัยที่ไม่สามารถ list ทั้งหมื่นตระกูลอันน่าเศร้าในที่นี้ได้) นามสกุลแบบนี้ ผสมข้ามพันธุ์กันไปมา จนเป็น DNA ของประเทศไทย และ คนไทย
ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ กับภารกิจคลุมถุงชนจับแต่งกับ preneur ตบจูบแบบพิศาล อัครเสรณี
- ในวงการภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ เรามีวิสัยทัศน์อันงดงาม นักการเมือง "ขายฝัน" ตลอด แต่ไม่เคยทำได้ แต่ถ้ากลุ่มนี้จะทำอะไร จะเริ่มจากแนวคิดที่ไม่มี preneurs ต่อท้ายเลย เพราะว่า ดูราวกับมีทรัพยากรไม่จำกัด มีเวลาอันรื่นรมย์ไปเรื่อย ๆ มีความสำเร็จทางกระดาษและรายงาน เราได้ยินวลี เช้าฟาดผัดฟักเย็นฟากฟักผัด ไม่สิ!! ต้องเป็น "เช้าชามเย็นชาม" มาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย (จนหอยเท่าฝาตีน) ทุกวันนี้ เรามีพนักงานราชการ หรือ ข้าราชการ ที่ส่วนมากมีหน้าที่ไม่กี่อย่าง แต่มีจำนวนมากแทบจะเท่างานในกระบวนการที่ต้องทำ เขาเหล่านี้ทำเป็นอยู่สองสามอย่างในงาน เขาทำมากกว่านั้นไม่ได้ ให้เรียนเพิ่มอบรมทั่วประเทศ เสียงบประมาณมากมาย จนสร้าง Toll Way ไปดาวอังคารได้แล้ว เขาก็กลับมาทำเหมือนเดิม ทำเท่าเดิม ในทักษะที่ไม่พัฒนา แต่อายุงานเพิ่มขึ้น ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นนิดหน่อยพอให้ไม่น่าเกียจ แต่เงินตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นแบบอัลกอรึทึ่ม ความสำเร็จในงาน เป็น Linear โตน้อย ๆ แบบเป็นพิธี ผมเคยมีประสบการณ์ไปที่หน่วยงานราชการ เพื่อไปรับเช็คในงานที่ส่งมอบแล้ว แต่ไม่ได้รับหนังสือหัก ณ ที่จ่าย เพราะว่า เจ้าหน้าที่คนที่ทำได้ ไม่มาทำงาน และไม่มีใครอีกเลยในห้องนั้นกว่า 10 ชีวิต ที่ทำงานนี้ได้ ซึ่งการออกเอกสารภาษีหัก ณ ที่จ่าย ควรเป็นทักษะ ความรู้พื้นฐานของแผนกการเงินและบัญชีในความทึกทักเอาของผม แต่โชคดีเหลือเกินที่ ร้อยละ 5-7 ของลูกจ้างภาครัฐ ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ มีการแต่งงานกับ preneurs ซึ่งเมื่อเขาเหล่านั้นแต่งงานกับ preneur แล้ว เขาเหล่านั้นจะเป็นกลายสภาพเป็นวรรณจัณฑาลในหน่วยงานกลายเป็นของแปลกทันที โดน Gossip เมื่อทำงานเต็มความสามารถ ถึงแม้นว่าราชการรัฐวิสาหกิจจะแทบไม่ปรับตัวเลย นั่นก็เพราะงานส่วนที่ยังดำเนินการได้ อาศัยกฎหมาย กฎเกณฑ์ มา "บังคับ" มีความก้าวหน้า จากการวัดผลแบบที่ไม่มีใครใครโลกรับได้ มาเป็นแรงผลักดัน และเกิดจากดทคโนโลยีที่ outsource เข้าไป ในราคามูลค่ามากกว่าราคาตลาดหลายร้อยเท่า
- Governpreneur, State Enterprise-preneur คือ นามสกุลที่ควรตบแต่ง ผ่านการคลุมถุงชน หรือใช้ตบจูบแบบพิศาลอัครเสรณี ผมเสนอวิะีนี้เลย เพราะว่าการสมัครใจเปลี่ยนแปลงในองค์กรภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจจะใช้การไม่ได้กับวัฒนธรรมองค์กร และค่านิยมในสังคมการทำงาน ที่หยั่งรากลึกจนเป็นโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกา (เกินเยียวยาในวันที่เขียนบทความนี้)
- การจับคลุมถุงชน คือ ขืนใจให้แต่ง และได้เสียเป็น preneur เป็นวิธีการที่ดีวิธีแรก เพราะว่า การคลุมถุงชนนั้น อยู่ ๆ ไปก็จะรักกันเองแบบในนิยาย (กระมัง) ซึ่งหากเจ้าบ่าวเจ้าสาวไม่เต็มใจ ก็ให้หนีออกไปจากระบบไป ไปตามหากรักแท้ที่อื่น ซึ่งอาจจะดีกับครอบครัวที่จะไม่ต้องอยู่เพราะว่าไม่รักกันก็ได้ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่เคยถูกใช้ในประวัติศาสตร์และใช้ได้ดีกับการเปลี่ยนแปลงแนวอนุรักษ์นิยม ตัวอย่างเช่น การจับไล่สอบเปรียญธรรมในรัชกาลที่ 4 เพื่อจุดประสงค์ในการจัดระเบียบพระศาสนาในอดีต เป็นต้น (อีกตัวอย่างเป็นตัวอย่างที่เกิดในเกาหลี จะเล่าให้ฟังในหัวข้อต่อไป)
- ใช้ตบจูบโซลูชั่น ในระดับซาดิสม์เหมือนละครจำเลยรัก ตอนที่พระเอกจับนางเอกไปทรมาน คือ ให้งานที่ทำ และมี "เกณฑ์วัดผล" ที่เอื้อให้เกิด "การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญตามเป้าหมาย" แลพะ "มองลงไปที่กระบวนการในการทำให้เกิดสัมฤทธิผล" (ที่กลุ่มนี้ทำไม่ได้หรอก) ในกรณีที่ถ้าไม่ได้ในสิ่งที่คาดหวัง ก็ตบ เอาแส้เฟาดเทียนรน เอ้ย หมายถึง "ให้มีผลต่อการอาชีพ และการงาน" (เรียกว่า ทำลาย Comfort Zone ที่กัดกินประเทศนี้จากการไม่มีประสิทธิภาพ) ในกรณีที่งานประสบผล (จริง มากกว่าประสบผลสำเร็จบนกระดาษมากกว่าที่ทำกันจนชิน) เป็นไปตามเป้าหมายภายใต้เวลาที่กำหนด และใช้ "ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย และไม่ฉ้อโกง" ก็ควรให้ "รางวัล" (ปัจจุบันรางวัลไม่ทำอะไรก็ได้มา หรือได้มาจากเกณฑ์วัดผลที่ตั้งแบบไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ) เป็นจูบเหมือนในตอนท้ายที่พระเอกรักสรญาจนหัวปักหัวปำ แผนและ execution plan ที่ได้ให้ใช้วิธีการวัดผล ลดกระบวนการทางธุรกิจ ทำขั้นตอนให้ LEAN "แบบภาคเอกชน" เพื่อกระชับปรับเปลี่ยนระเบียบวิธีปฏิบัติราชการที่ล้าสมัยเสีย
- สำหรับสายโลกสวยที่บอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดเป็นผลทางบวก ควรมาจากความสมัครใจ แนะนำให้กลับไปในโลกนิยาย เพราะว่าที่นั่นเป็นทุ่งลาเวนเดอร์ที่คุณใฝ่หา เพราะว่า การไม่บังคับใรนกลุ่มนี้ จะไม่เกิดผลใด ๆ
ภาคการศึกษา กับการทุบหัวแล้วลากเข้าถ้ำ เพื่อให้สมยอมเป็น preneur แล้วรอความหวังในนักการศึกษารุ่นต่อไป
- ในภาคการศึกษาน่ารันทดใจ เหมือนเอาฉากเดิม ที่ตัวร้ายแกล้งทำดีเพื่อเอาใจพระเอก วนซ้ำจนเราเดาทิศทางได้ว่าละครไทยจะเป็นอย่างไรมาตลอด 40 ปี (เท่าที่ผมนับจากอายุตัวเอง) การศึกษามีหลายระดับ ในระดับนโยบายเปลี่ยนแปลง "หัว" และ "นโยบาย" ตามใจพรรคการเมือง เพราะว่าเป้นกระทรวงที่มีงบประมาณมากที่สุดในประเทศไทย นั่นเป็นระดับนโยบาย หนึ่งในมายาคติ คือ "เก่งและดี" ในยุคที่ "ปากกัดตีนถีบบนโลก Disruptive" และมีที่ปรึกษาเป็น "นักวิชาการ" ที่เชื่อว่า ต้องปั้นนักวิชาการในการศึกษาไทย โดยลืมไปว่า เยาวชนมีความหลากหลาย เรายังไม่เห็นนโยบายที่ยอมรับความหลากหลาย และมีวิธีการวัดผลที่แตกต่างกันไป "การศึกษาของเรายังเป็นโรงงานผลิตของโหล" มีบ้างที่เริ่มเปลี่ยนแปลง แต่เปลี่ยนจริงจัง แบบ คุณไม่หลอกดาวนั้นยังหาไม่ได้
- นโยบายด้านการศึกษาเกิดจาก "ด๊อก"เตอร์ มากมายมารวมตัวกัน ตัดสินเลือกคุณลักษณะที่พวกเขาต้องการ สร้างความชอบธรรม โดยเอาตำแหน่งและผลงานทางวิชาเกิน(การ) มาวัดกัน เขาจะบอกว่า เยาวชนต้องเป็นคนดีมีศีลธรรม แต่ด๊อกเตอร์ผู้มีอำนาจบริหารล้วนกลายพันธ์เป็นนักการเมืองในวงการศึกษา ตีกินในวงการบริหารการศึกษาของแต่ละสถาบัน ที่โลกมายาบอกว่าเล่นการเมืองรุนแรงกว่าในสนามเลือกตั้งเสียอีกมันย้อยแย้ง เพราะว่า EGO มาพร้อมกับ คำนำหน้า และคนที่เห็นด้วยกับฉัน คือ คนที่
- ในระดับมหาวิทยาลัย เป้าหมายที่เลี่ยงบาลีจาก "เก่งและดี" ถูกเปลี่ยนเป็น "จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภ่าพ" มันมีความน่าสนใจ เพราะว่ามีเพียงไม่กี่คณะ หรือวิทยาลัยที่เวลาดู "วิสัยทัศน์" กับ "พันธกิจ" กับ วิธีการที่เปลี่ยน Raw Material เป็น Goods นั้น ไม่สอดคล้องกัน ภาพลักษณ์ในวิสัยทัศน์มีไว้อวดอ้าง พันธกิจมีไว้เขียนของบประมาณ ส่วน Actual Action นั้น ขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่มี "จิตใจ" "Passion" "ความรับผิดชอบในหน้าที่หลักในฐานะครู" ซึ่งของแบบนี้ในแต่ละบุคคลากรมีไม่เท่ากัน ซึ่งส่วนมากทำเพียงพอผ่าน means ในการประเมิน
- ในสถาบันการศึกษานับเฉพาะ Higher Education ที่มีมาตรฐานวิชาการมากมาย มีกูรู้มากมาย จนหากคุณหยิบถั้วเขียวมาหนึ่งกำแล้วปากไป ถั่วเขียวเกือบทุกเม็ดจะต้องโดน ตำแหน่งทางวิชาการ ดีกรีทางการศึกษา ทั้งสิ้น บางสถาบันมีทุกศาสตร์ แม้กระทั่งศาสตร์ที่ไม่ควรจะมี หรือเชี่ยวชาญ ทุกสถาบันควรมีการจัดการยอดเยี่ยมเป็นตัวอย่างทางอุดมคติเพื่อให้เป็นเสาแห่งปัญญาของสังคม ทว่า ทุกสถาบันอุดมศึกษาศึกษาของไทยสอบตกด้านการจัดการทุกที่ แล้ว "สรรพวิชาเหล่านั้นที่ควรเป็นสุดยอดในการจัดการต่าง ๆ" พบว่า "โทษฟ้า โทษลม โทษคน โทษระบบ" เป็นคำอธิบายเสมอ การจัดการในหน่วยงานภายในเละเทะไม่เป็นท่า
- สถาบันการศึกษาอุดมศึกษาแทบทั้งหมด พบว่าไม่สามารถจัดการกลไกในการให้บริการแก่ "ลูกค้า" ได้ เพราะว่าไม่เคยฟังลูกต้าเลย เพระาว่าการศึกษาไทย ครูอาจารย์เป็นใหญ่ ไม่เคยเป็น Mentor, Facilitator สถาบันการศึกษาไม่ทำอะไรที่สอดคล้องกับความต้องการของ "ตลาด" เพราะว่า ผลิตของที่ตนเองอยากทำ หรือเชียวชาญ ตลาดไม่มีทางเลือกอื่น (มีบ้างที่ตลาดบางทีจึงเปลี่ยนเป็นผู้ผลิตเสียงเอง บางทีพยายาม OEM ร่วมกัน ซึ่งโครงการเหล่านี้ Fail) สถาบันการศึกษาอุดมศึกษาในไทยโดยภาพรวมผลิตคนที่ ไม่สามารถเปลี่ยนความรู้เป็น Action ออกมา แถมด้วยทักษะลูบหน้าปะจมูก ทักษะที่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ แต่เกรดงดงาม ฯลฯ เป็นภาระขององค์กรเอกชนและรัฐที่ต้อง "อบรม" กันใหม่ และเสียเวลาเฉลี่ย 4 ปีในชีวิตคนคนหนึ่ง เสียเม็ดเงินมหาศาล สิ่งที่เขาทำ คือ มาตรฐานทางวิชาเกินที่สูงขึ้น โดยเน้นการพัฒนาบุคคลากร แล้ว "ไหว้เจ้า" (ฝากความหวังไว้) ขอให้บุคลากรเหล่านั้นมา "โปรดสัตว์" ด้วยการนำเอา เวลาและทรัพยากรที่ทุ่มไปในงานวิจัยเหล่านั้น กลับมา "IMPLEMENT ใน ชั้นเรียน" (บ้างก็ยังดี) การพัฒนาคนมีเป้าหมายที่สวยหรู แต่หาก Emphatize แล้ว Vision โดยสุจริตของสถาบัน กับ Side-Vision คือ จำนวนของงานวิจัยมีบทความทางวิชาการตีพิมพ์เท่ห์ ๆ อย่างน้อย 1-2 งานต่อปี เหมาจำนวนเป็นเข่งรวมกันกับ และ จำนวนตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อเข้าเกณฑ์และได้ STANDARD มา Side-Vision อาจมีอิทธิพลมากกว่า Vision ที่ประกาศไว้ คือการพัฒนาคน เพื่อให้คนพัฒนาสังคมและประเทศ ทว่า Standard เหล่านั้น มีอานิสงค์น้อยมากที่วนกลับมาสู่เยาวชน ในความเป็นจริง เยาวชนที่เก่ง คือ เยาวชนที่ดิ้นรนศึกษาด้วยตัวเองส่วนใหญ่ มิได้เกิดจาก "ห้องสี่เหลี่ยมของคนหัวสี่เหลี่ยม" ในหลายปีที่ผ่านมาเรามีสถาบันการศึกษาดาหน้ากันออกมา Transform ด้วย Propaganda ใหม่ ไส้ในเดิม ๆ หลักสูตรฉูดฉาดเต็มไปด้วย Buzz Word แค่ว่า อาจารย์ใช้สไดลฺ์เปลี่ยน Font ใหม่ เนื้อหาเดิม เพิ่มเติมไม่ให้ตกเทรน สอนแบบเดิม วิธีวัดผลเดิม ๆ ทั้งหมดรวมตัวกันในเครือสถาบันการศึกษา ชื่อ "คุณหลอกดาว"
- Educatorpreneur คือ สิ่งที่ต้องทุบหัวลากเข้าถ้ำ จับผสมพันธ์ุแต่งงานโดยพฤตินัยกับ preneur ยิ่งนานไวรัสยิ่งทำร้ายปอดและระบบหายใจทั้งหมด ใช้การทุบหัวลากเข้าปล้ำเป็นวัคซีนแก้โรคร้ายกัน เป็นภารกิจที่ต้องทำ รอผู้มีอำนาจตัดสินใจ เพื่อสร้าง specie ย่อยต่าง ๆ
- Teacherpreneur, Lecturerpreneur อาจารย์ที่สร้างสรรค์มองประโยชน์ของนักศึกษา สรรหาวิธี กลยุทธ์ กระบวนการในการสร้างคนให้ประเทศ ไม่ใช่ คนที่แปล text มาสอน หรือ จำอาจารย์ของอาจารย์ ที่จำอาจารย์ของอาจารย์มาสอนอีกที เป็น Stage แรกในการ Trandform การศึกษาในไทย บุคคลากรสายสอนมีภาระงานวิจัย ถ้าไม่ทำวิจัยก็จะไม่มีโอกาสได้สอน เพราะว่า "ต้นสังกัด" วัดผลให้ค่านำหนักมากกับงานวิจัย ซึ่งไม่ใช่่หน้าที่หลักใช่หรือเปล่า ความเชื่อที่ว่าอาจารย์ที่ทำวิจัย จะสอนหนังสือได้ดีขึ้น วัดผลอย่างไร วัดผลจากอะไร วัดผลเป็นไปตามเป้าประสงค์ของการเป็น "สถาบันให้การศึกษา" หรือ เป็นที่รวมกันของนักพัฒนาตนเอง เพื่อไปหากินข้างนอก "สถาบันให้่การศึกษา"
- Facitatorpreneur ในการ Transform ศึกษา ตัวบุคคลากรสำคัญระดับ Playmaker, Change Agent นั้น ต้องเป็น Teacherpreneur, Lecturerpreneur ในระยะแรก และเปลี่ยนสแปลงตัวเองเป็น Facitatorpreneur คือ ผู้มอบ ผู้กรุยทาง เพื่อสร้างความรู้และประสบการณ์ โดยเลือกมอบอาวุธทางปัญญา และฝึกสอนให้ใช้อาวุธเป็น ไม่สอนเฉพาะในเรื่องที่ตัวเองชอบ หรือคลั่งไคล้ลุ่มหลง ตรงจริต โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อสังคม ผมยกตัวอย่างเสมอเวลาที่ได้รับเชิญไปพูดในเรื่อง Education Transformation ในการเป็น Facilitator นั้น คือ เจ้าพนักงานส่งอาวุธ ที่เมื่อพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายในอดีตออกศึก พนักงานท่านนี้มีหน้าที่ดูลักษณะของเกมศึก ว่าข้าศึกเข้ามาในลักษระใด ระยะห่าง และยุทธวิธี เพื่อส่งอาวุธที่มีหลากหลายชนิดที่พร้อมบนสัปคับชนหลังช้าง ซึ่งแน่นอนว่า แต่ละชนิดมีของสำรองไว้เสมอ นั่นหมายถึง เมื่อใดจะต้องใช้ ชุดอาวุธทางปัญญาใดในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นบทบาทของ Facilitatorpreneur ที่เยาวชนจะเลือกอาวุธที่เหมาะสมในสงครามของชีวิต
- Resercherpreneur ในแวดวงธุรกิจ RnD เป็นแกนหลักของการก้าวกระโดดของภาคเอกชน สาาหตุที่ก้าวกระโดดเพราะว่า งานวิจัยเหล่านั้น Commercialize (สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ) และ Socialize (สร้างคุณค่าให้สังคม) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือประสานประโยชน์รวมกัน ทว่างานวิจัยในภาคการศึกษา และรวมถึงในภาครัฐ ซึ่งใช้งบประมาณเท่าไหร่ ผมไม่มีตัวเลข ทว่า มีจำนวนน้อยมากที่สามารถ Commericialize และ Socialize ได้จริง เพราะว่างานวิจัยในภาคการศึกษา คือ จำนวนที่ต้องทำตามระเบียบเพื่อประโยชน์ซึ่งไม่ตรงปก ประโยชน์ในการวิจัย เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวตกรรมใหม่ ๆ ทว่าผู้วิจัยสในภาคการศึกษาจบบทบาทตรงที่วิจัยเมื่อผ่านเกณฑ์ตามจำนวน และตีพิมพ์ในวารสารที่มีเกรดให้เลือกมากมาย และ "สิ้นสุด" ทางของงานวิจัยนั้น เพื่อ "ขึ้นหิ้ง" และไม่นำมาใช้ ทำไมภาคการศึกษาไทยต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ให้กลับไปอ่านเนื้อหาด้านบนอีกรอบได้ครับ
- Specialize Young Entrepreneurs เป็นผลผลิตของภาคการศึกษาที่จะเปลี่ยนแปลงไทย โดยประสบการณ์ส่วนตัวในภาคการศึกษา ที่พบพานคณบดี อาจารย์หัวหน้าสาขาวิชา ผู้อำนวยการโครงการ จากการพูดคุยมาบ้าง ซึ่งบางครั้งก็ตกใจว่า ท่านเหล่านีอาจะจับสลากได้ตำแหน่งมา เช่น มีความเข้าใจที่ว่า Entrepreneurs คือ หน้าที่ของคณะสายบริหารธุรกิจ บางมหาวิทยาลัยแยกวิทยาลัยการประกอบออกจาคณะบริหารธุรกิจอีกที เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่ Entrepreeurial Skills ควรเป็น ทักษะพื้นฐานที่สถาบันการศึกษาทุกศาสตร์ต้องพยายามสร้าง Entrepreneurial Mindset คือจิตลักษณะที่ควรจะปลูกผัง แล้วให้เด็กที่พร้อมเป็น Entrepreneur เป็น Entrepreneurs และสายที่เป็น Officer เป็น Intrepreneurs ขององค์กรที่จะไปทำงาน ผู้เขียนนิยมให้ ใช้ "ความรู้เฉพาะทางของแต่ละสาขา" ผสมรวมกับ "preneur" ให้เป็น Puupy Love ตั้งแต่วัยเยาว์ และเมื่อจบเขาจะมีนามสกุล preneur ห้อยท้ายวิชาเฉพาะ และสร้างประโยชน์ที่แตกต่าง มากกว่าเดิม เช่น เราจะมี Veteropreneur, Engineerpreneur, Sociopreneur, Politicalopreneur, Dentisopreneur etc อีกมากมาย ที่สร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ มีพื้นฐานการแก้ปัญหา มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของสังคมที่มี action ที่ valid วัดผลได้
- วิธีการทุบหัวลากเข้าปล้ำ (ถ้า) คือ วิธีที่ ประเทศที่มีประวัติศาสตร์แห่งความยากจนเหมือนไทย แต่วันนี้เขียนประวัติศาสตร์ใหม่เป็นประเทศแห่งความร่ำรวยแล้ว (เรื่องนี้ไปอ่าน EP9 EP10 EP11 ในซี่รี่ย์แชร์ประสบการณ์ได้ครับ) เช่น เกาหลีใต้นั้น เขอเจอปัญหานี้เมื่อ 25-30 ปีก่อน เขาใช้วิธี "ทุบหัว" ด้วยการให้ ครูอาจารย์ทั้งประเทศที่ไม่มี skills หรือ ความรู้ ที่เหมาะกับการพัฒนาประเทศ อยู่ในวิชาที่ไม่สนับสนุนการเติบโต "ลากเข้าถ้ำให้ปล้ำกับเรื่องใหม่" ด้วยการทำโครงการ National Reskills & Upskills ครูอาจารย์ทั้งหมด ผลที่ได้ไม่พูดเยอะนะเจ็บคอ คือ ครูอาจารย์ที่ผ่านการ Reskills และ Upskills นั้น มีความพร้อม และไม่ได้สูญเสียอาชีพ ประเทศได้ประโยชน์ตามที่ท่านเห็น ส่วนกลุ่มที่ไม่พร้อมเลย ก็ได้บอกลาจากอาชีพและความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงนี้
- เหตุใดจึงแนะนำวิธีนี้กับการศึกษาไทย เพราะว่า ภาคการศึกษาไทยอยู่ใน Red Zone หากท่านไปอ่าน EP9 EP10 EP11 ท่านจะเห็นว่า "จุดร่วม" ในประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมคล้ายกันระหว่างไทยกับเกาหลี ทว่า กล้าหาญพอหรือเปล่าที่จะลงมือ บางทีสังคมไทยต้องเจ็บปวดบ้างเพื่อเติบโต
- การสร้าง Entrepreneurial ในสถาบันการศึกษาหลายแห่งในต่างประเทศนั้นจริงจัง กว่าการแข่งขัน startup ของไทย ที่แข่งจบแล้วจบกัน ราวกับทุกฝ่ายต่างแยกย้ายหมือนดูภาพยนต์จบหนึ่งเรื่องและโรงถูกเปิดไฟ บรรยากาศร่วม เช่น เคยหัวเราะ รู้สึกดราม่า ไปด้วยกันของคนในโรงพภาพยนต์ขณะชมภาพยนต์ฉายหมดไปทันใด
- ทุกคณะและวิทยาลัยอยู่ภายใต้ Entrepreneurial Skills อ่านไม่ผิดนะครับ ทุกคณะและสาขาวิชา นักศึกษาจะเรียนในสาขาวิชาใด ๆ ซึ่งถือเป็น Hard Skills (Knowledge) หลัก เขาจะได้รับการฟูมฟักเอา Entrepreneurial Skills และเพื่อน ๆ ของทักษะที่เกี่ยวข้อง คณะและสาขาวิชาจะส่งเสริมอย่างจริงจัง สร้าง Eco-systems ต่าง ๆ เพื่อที่นักศึกษาของเขา จะได้รับโอกาส และประสบการณ์ โดยมีอัตราของการเกิดขึ้นของ Entrepreneurs จริง ในรูปแบบของนิติบุคคลในรั้วมหาวิทยาลัยในปีท้าย ๆ ซึ่งเปอร์เซ็นต์ของความสำเร็จในรุ่นแรกมีน้อยมาก คือ น้อยกว่า 1% ของจำนวนนักศึกษา ทว่าอัตราความสำเร็จเพิ่มขึ้นทุกปี พร้อมกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยด้วย เขายอมรับอัตราของความสำเร็จ เรียนรู้และปรับตัว โดยยืนบนหลักความจริง ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยของไทย จะรีบหมกเม็ดโครงการนี้ หรือ ตกแต่งตัวเลขความสำเร็จให้เว่อร์วัง
- ในประเทศเกาหลี มหาวิทยาลัย โรงเรียน เพิ่ม แทรกสอด หลักสูตรของ Entrepreneurs รวมเข้ากับการให้ความร่วมมือของภาครัฐ และเอกชน ต่อเนื่องกันเป็นระบบ เมื่ออยู่ในมหาวิทยาลัย เหล่า Startup และ Young-Entrepreneurs เหล่านี้ ได้รับการดูแล มีพี่เลี้ยงจริงๆ มีกลุ่มทุนรอสนับสนุนจริง ๆ ที่พร้อมจะให้โอกาสและไปดูแลให้เติบโตแข็งแรง โดยมีการวิจัยหลักสูตร Entrepreneurs และใช้งานจริง เช่นโครงการของ Dongkuk University ที่ผู้เขียนไปพบเห็นมาจากการไปดูงานและไปศึกษาเรื่อง Startup เพิ่มเติม และมีโครงการอย่าง K-ICT Born to Global ที่ชัดเจนในแนวทางของการสร้างคน หรือยังมี Agency ที่เกิดจากการรวมพลังของทุกฝ่ายอย่าง TIPS KOREA ท่านไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเอกสาร EP9 10 และ 11 ใน K-Experience Series เพิ่มเติมได้
- ประเทศไทยไม่มีการรวมตัวอย่างเป็นระบบ เพราะว่า เราไม่บูรณาการอะไร ทุกฝ่ายมีธงของตัวเอง มีตัวเลขที่ต้องปั้น กระจายทรัพยากรที่ควรฝนึกกำลังกันออกไป ภาครัฐก็เปลี่ยนนโยบายเหมือนกระดาษชำระเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่ทำเรื่องเดียวกัน แต่ไม่เชื่อมโยง เพราะว่า การมีหน่วยงานมาก หมายถึงงบประมาณที่รั่วไหลได้ง่ายกว่าในโครงการที่วัดความสำเร็จบนรายงานตัวเลขมะโน เราจึงยังไม่มีไซโกตของม้านิลมังกรสายพันธุ์พื้นเมืองไทยล้วนเลยในโลกจริง ที่มีแล้วยกยอปอปั้นว่าเป็นยูนิคอร์น นั้นเป็นม้าพันธุ์นอกผสมพันธุ์ไทย ไม่มีพันธุ์พื้นเมืองล้วน ๆ แบบที่ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมี เพราะว่าวิธีของเราลูบหน้าปะจมูกทั้งกระบวนการ
ภาคธุรกิจกับยุทธวิธีร้อยแปดตั้งแต่ภารกิจแม่สื่อถึง Blind date จนกว่าจะได้เสียเกี่ยวดองกับ preneur
- (บางส่วนของ) ธุรกิจขนาดใหญ่ อยู่รอด มีทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นมากมาย สะสมและเพิ่ม Knowledge Know-how ให้กับพนักงาน ผู้บริหารมี Know-Why ชัดเจน ปัญหาคือ การเพิ่มขนาดของอาณาจักรทางธุรกิจออกไปในกระแสธารของ Economy Disruptive ทำให้ยักษ์ใหญ่ต้องเปลี่ยนตัวเองมากกว่าเดิม ด้วความพยายามแตกไปโตในตลาดใหม่ ๆ โอกาสใหม่ ๆ โดยใช้ทรัพยากรที่มีมากคุือ ทุนที่เป็นเม็ดเงินไปต่อยอด ทว่าองค์กรยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ที่ระบบ และการทำซ้ำในกระบวนการเสถียรจาก Merket Share ที่มีมากมาย ทำให้ DNA ขององค์กรใหญ่ฝังลงไปในระดับโครโมโซม เปลี่ยนแปลงได้ยาก
- (ส่วนมากของ) ธุรกิจขนาดกลาง ค่อนไปใหญ่ พยายามสร้าง DNA ใหม่ของตัวเอง ด้วยความพยายามเอาโครโมโซมของตัวเอง ปะด้วยโครโมโซมจากองค์กรใหญ่ Cut Paste กันไปมา ทว่าไม่ได้เก็บยีนเด่น Dominent Gene มา แต่เอา Recessive Gene แฝงมาด้วย เป็นตัวอ่อนที่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ คือ มีดนวนโยบายแบบ Large Enterprise บางทีไม่มี Knowledge ที่จำเป็น และส่วนมากมีความ sensitive ในการลงทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นสายพันธ์ที่เป็นหมันเพราะโครงการพับไปเมื่อจบระยะแรกเกือบทั้งหมด
- Intrapreneur คือ ความพยายามสร้างให้บุคลากรในระบบ มีแนวทักษะแห่งการประกอบการ เปลี่ยนจากลูกจ้างเป็น ลูกจ้างมืออาชีพ และจะต้องเปลี่ยนเป็น นักประกอบการขององค์กร ซึ่งการพยายามพัฒนา Mid Level Management ในรอบ 10 ปีที่่ผ่านมา โดยมากไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้า เพราว่า DNA ขององค์กร ยังไม่มีโอกาส Mutant หรือกลายพันธุ์ ส่วน High Level Management บริษัทขนาดใหญ่บางส่วนเปลี่ยนจากยุคที่รุ่งเรื่อง เป็นโครงสร้างกึ่งรัฐในหน้ากากเอกชน แนวความคิดของการได้รับผลประโยชน์มากกว่าการส้รางประโยชน์ หรือสิทธิ์ที่พึงได้รับในตำแหน่งบริหารที่สูงขึ้น เป็นยีนส์ที่เกิดการกลายพันธุ์ที่ไม่พึงประสงค์ การสร้างนักประกอบการภายใน หรือที่ต้องการให้ มีส่วนรวมเสมือนเป็นเจ้าของ หุ้นส่วนของบริษัท ถูกธรรมเนียมให้ทำเนียนแบบไทย สิ่งหนึ่งที่น่ตกในคือ ระบบต่าง ๆ ถูกสร้างให้เสถียรมากจนยากจะเปลี่ยนแปลง การมี mamagement level เยอะ ทำให้การตัดสินใจกลับล่าช้า และขัดผลประโยชน์ไปมาระหว่างทีมด้วยกันเอง วิธีแบบนี้สะท้อนราวกับ ผู้บริหารพยายามเป็นแม่สื่อให้แต่งงานกับคนไม่รู้จัก และที่สำคัญคือ ไม่ click กัน
- Transformer-prenuers หรือ Chage Agent เป็นสิ่งที่องค์กรกำลังหา ทว่า เจอปัญหา Conflict of Mindset ของโลกเดิม โลกเก่า โลกทัศน์ใหม่ และโลกอนาคต องค์กรสองระดับนี้ ใช้ความอุตสาหะในการเปลี่ยนคนเดิมในองค์กร ด้วย set ความรู้ และโปรแกรมใหม่ ผ่านการอบรม ใน theme ร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็น Startup Approach ที่ Trainer ส่วนมากไม่เคยทำงานในองค์กรใหญ่ และอาจยังไม่เคยทำอะไรสำเร็จจริง ๆ ด้วยซ้ำไปในฐานะ Startup บ้างก็พยายามสร้าง Innovate Team ทั้งหมดเอาวิธีการสมัยใหม่ที่ตนเชื่อ เช่่น Agile, Digital Tranformation, Design Thinking และอีกมากมาย ใส่เข้าไปใน "วัฒนธรรมเดิม" โดยไม่เปลี่ยน "โครงสร้าง หรือ สร้างวัฒนธรรมใหม่" ที่อาจจะเรียกว่า Innovative process ในองค์กร พอเฟืองจะหมุน (ถ้ามันจะหมุนนะครับ) มันก็ไปเจอเฟืองเดิมที่ไม่เข้ากัน หมุนต่อไปไม่ได้ วนกันเช่นนี้ต่อไป วิธีแบบนี้ คือ Blindate ในความหมายที่ว่า คนที่มา date นั้น Blind หนทาง เส้นทาง กรรมวิธี มา date กับ Know-how ที่ไม่มีวันทำสำเร็จในจารีตเดิมขององค์กร
- Preneur Revolution, Deconstruction หรือ การปรับองค์กรแบบยกเครื่องนั้นอาจเป็นทางเลือก เช่น การแตกลูกออกมาโดยแม่ไม่ครอบงำ แม่เป็นผู้ลงทุนที่หวังผลการตอบแทน เปลี่ยน Role จากแม่เป็น Stakeholders อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การพยายามดัน Intraprenuer ในสิ่งแวดล้อมเดิม การหย่าร่างจากระบบเดิมเป็นคำตอบ หากองค์กรขนาดให่ตัดสินใจ จะดีกว่าการปล่อยคนเก่งให้หนีตามคนอื่นไปเป็น preneur และกลับมาเป็นคู่แข่งขององค์กร
- (ส่วนใหญ่ของ) ธุรกิจขนาดเล็ก แบบ Conservative Practice และยังลุ่มหลงกับเศรษฐกิจที่เคยโต และความสำเร็จเก่า ๆ เชื่อว่า ยังทำแบบเดิมได้ เปลี่ยนนิด ๆ หน่อย ๆ ในวันที่โลกเปลี่ยนเร็วกว่าที่เคยเข้าใจได้มานานแล้ว ธุรกิจขนาดเล็กและไมโครในไทย มีการปรับตัวเร็ว แต่ไม่เสถียร อยากได้แต่ไม่อยากลงทุน ภาพฝันจะใหญ่กว่าแรงที่ออกจริงเสมอ ๆ เน้นการพึ่งพา External Factors มาก
- กลุ่มนี้เพียง Enchance เพิ่มพลังของการเป็น Entrepreneurs ที่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้สมดั่ง preneur ที่ทุกคนเชื่อว่า "เป็น" แต่ บาง ability ถูก Disable ไป การลดการพึ่งพากลไกอื่น ๆ ลง เปลี่ยนเป็นใช้พลังของตนเองในการแก้ปัญหา และ เปลี่ยนจากการ "โทษปัจจัยทุกตัวบนโลก ยกเว้นโทษตัวเอง" จะทำให้ SME รายกลางค่อนลงมาเล็กของไทยแข็งแกร่งขึ้น โดยรัฐ และผู้เกี่ยวข้องต้องสนับสนุน "เฉพาะราย" ไม่ใช่ "ทุกราย" โดยให้ การสนับสนุนพิเศษสำหรับ รายที่มีแผนธุรกิจที่ใช้งานได้จริง เปิดตลาดให้ในแบบความร่วมมือ "ทวิภาคี" รัฐต้องเลิกการ "ให้เปล่า" เพราะ "สูญเปล่า" นักประกอบการที่ดี คือ นักประกอบการที่แก้ไขปัญหา พร้อมลงทุน พร้อมรับความเสี่ยง อาจจะพร่องทรัพยากรบางตัว เช่น Technology Knowledge know-how ซึ่งเมื่อ ทรัพยากรที่ขาด มาจากการ "ลงทุนของ SME" ในแบบใด ๆ ก็ตามที่ไม่ "ฟรี" เมื่อนั้น ล้อของเศรษฐกิจก็ไม่หมุนล้อฟรี
ประเทศไทยต้องปรับกระบวนท่า ผมใช้สัญลักษณ์เชิงล้อเลียนเพื่อสื่อว่า ให้ทำอย่างไรก็ได้ ที่จะผัง Preneurs ลงไปในระดับของ Mindset, Skills ในความหมายอย่างกว้างก็ดี อย่างแคบก็ได้ เราต้องการการเปลี่ยนแปลงแบบ "พลิกโฉม" ในทุกวงการ ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็น คลุมถุงชน, ตบจูบขืนใจ, ทุบหัวลากเข้าปล้ำ, ฺblindate ด้วยความรักให้เกิด love at first site หรือวิธีใด ๆ ก็ทำไปเถอะครับ ไม่ต้องเชื่อหรือยยึดวิธีการหยิบแกมหยอดที่ผู้เขียนเสนอ แค่ลองทำให้เกิดผลก็พอ
รู้อะไรไม่เท่ารู้งี้ เป็นจังซี้ทุกทีสำหรับคนไทย
แผนที่สุดพิเศษ หากไม่ลงมือทำ ก็ไม่มีผลใด ๆ ตามมา
ต้องเลิกชื่นชมรายงานความสำเร็จที่มะโน
#พี่แว่นหน้าตาดี