หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ผู้เขียนเขียนจากประสบการณ์ 9 ปีกับ MonsoonSIM ในประเทศไทย (และในต่างประเทศ) บทความนี้มีความประสงค์ให้เเกิดความเข้าใจการใช้เครื่องมือเดียวกัน ในน้ำหนักและบริบทที่แตกต่างกัน และไม่ยี่หระที่จะขอเปรียบเทียบประสบการณ์ทั้งร้ายดีในวงการศึกษาไทยกับสิ่งที่เห็นในประเทศเพื่อนบ้าน บนทุ่งลาเวนเดอร์แทรกดงหมามุ่ยของการศึกษาไทย ในรูปแบบบันทึกความทรงจำที่ส่งมอบแก่สังคมของผู้เขียน จึงใช้ภาษาสบายๆ และโวหารสไตล์ผู้เขียน ถ้าขัดใจผู้อ่านตั้งแต่วรรคนี้ ขอแนะนำให้ปิด blog นี้ทิ้งครับ
ปีนี้ (2023) เป็นปีที่ 9 ที่ผมรู้จัก MonsoonSIM จากการไปเป็นล่ามแปล และผู้ช่วยสอนที่ไม่ได้วางแผนไว้แต่แรกใน Training หนึ่งที่รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย ผ่าน ERP Vendors เจ้าใหญ่เจ้าหนึ่งในประเทศไทย ด้วยความรู้งูๆ ปลา ๆ เกี่ยวกับธุรกิจ กับภาษาอังกฤษธุรกิจที่กระท่อนกระแท่น ที่หากแปลตามที่ facilitator พูดผู้ฟังจะยังทำหน้าสงสัย จึงหันไปแจ้งกับ facilitator ว่าไม่ต้องตกใจ หากการแปลจะยาวกว่าจำนวนประโยคที่คุณพูดออกมาในบางกรณี เพราะว่าจะต้องอธิบายบางเรื่องเพิ่มเติมลงไปให้ผู้ร่วมการอบรมแบบ Workshop ในวันนั้นเข้าใจมากขึ้น ในใจคิดว่ามาแปลใน Workshop ให้พี่สาวที่เป็นทั้งพี่และลูกค้าตามที่ขอให้มาช่วย เพราะว่าในขณะนั้นผมทำอาชีพอื่น ๆ อยู่ ท้ายสุดจากก็จับพลัดจับผลูพาตัวเองไป Train The Trainer ที่ประเทศสิงคโปร์ ด้วยเงินของตัวเอง ไม่ได้คิดอะไร คิดว่าไป Brushup ความรูัทางธุรกิจที่ตัวเองนั้นพร่อง ไม่เข้าใจในหลายเรื่องที่เป็นพื้นฐาน
เวลาที่ผมเห็นผู้เข้าร่วม Workshop ตั้งแต่ นักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน ไม่เข้าใจอะไรผมจึงเข้าใจ เพราะว่าตัวเองเคยยืนอยู่ในจุดนั้น และด้วยความที่เป็นคนหัวไม่ดี จึงพยายามหาวิะีที่ตัวเองจะเข้าใจให้มากขึ้น ง่ายขึ้น และถ่ายทอดด้วยภาษาง่าย ๆ จนในปีแรก ๆ นั้น ถูกอาจารย์หลายมหาวิทยาลัยส่ายหน้า บอกว่านี่มันไม่ใช่วิชาการ แต่เอาเป็นว่าผู้เข้าร่วมเข้าใจและมีประสบการณ์ที่ดีก็บรรลุเป้าหมาย ส่วนคนที่ส่ายหน้ากับผม กลายเป็นคนที่ผมมักส่ายหน้ากลับในความไม่เข้าใจ "ลูกค้า" ของตนเอง และพยายาม "ขายสินค้า" ที่ตัวเองอยากขาย ซึ่งการศึกษาแบบนี้ก็ผิดหลัก modern management ตั้งแต่แรกแล้ว
หลายปีผ่านไป ผมทั้งดีใจ ที่มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยยอมรับ และได้พบเจออาจารย์ที่เป็น "ครูมืออาชีพ" ที่มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดกับนักศึกษา แต่ความดีใจนั้น ก็ถูกลบด้วย ความเสียใจ หดหู่ใจ กับ "ครูโดยอาชีพ" และ "ระบบการศึกษา" ที่ผมเรียกว่า "ทุ่งลาเวนเดอร์แทรกดงหมามุ่ย" ที่มีความฝัน และมีความคันที่เป็นพิษ กลายเป็น "ทุ่งหมามุ่ยที่แทรกลาเวนเดอร์" ในความจริง (ปล. ลาเวนเดอร์ไม่ใช่ของพื้นถิ่น ประเทศไทยนิยมของนอก ลาเวนเดอร์เป็นนัยยะประหวัดแปลว่าความฝันในโลกสวย ส่วนหมามุ่ย อุปมาดั่งของจริงท้องถิ่น) เอาเป็นว่าไม่พูดความขมขื่น และตัวอย่างประสบการณ์ที่ได้เจอมาในรอบ 8 ปี ที่เริ่มทำตลาดในประเทศไทย (ผมเริ่มนำ MonsoonSIM มาทำตลาดหลังจากรู้จักมันแล้วหนึ่งปีให้หลัง) มาเข้าประเด็นกันเลย!!
เวลาที่ผมเห็นผู้เข้าร่วม Workshop ตั้งแต่ นักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน ไม่เข้าใจอะไรผมจึงเข้าใจ เพราะว่าตัวเองเคยยืนอยู่ในจุดนั้น และด้วยความที่เป็นคนหัวไม่ดี จึงพยายามหาวิะีที่ตัวเองจะเข้าใจให้มากขึ้น ง่ายขึ้น และถ่ายทอดด้วยภาษาง่าย ๆ จนในปีแรก ๆ นั้น ถูกอาจารย์หลายมหาวิทยาลัยส่ายหน้า บอกว่านี่มันไม่ใช่วิชาการ แต่เอาเป็นว่าผู้เข้าร่วมเข้าใจและมีประสบการณ์ที่ดีก็บรรลุเป้าหมาย ส่วนคนที่ส่ายหน้ากับผม กลายเป็นคนที่ผมมักส่ายหน้ากลับในความไม่เข้าใจ "ลูกค้า" ของตนเอง และพยายาม "ขายสินค้า" ที่ตัวเองอยากขาย ซึ่งการศึกษาแบบนี้ก็ผิดหลัก modern management ตั้งแต่แรกแล้ว
หลายปีผ่านไป ผมทั้งดีใจ ที่มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยยอมรับ และได้พบเจออาจารย์ที่เป็น "ครูมืออาชีพ" ที่มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดกับนักศึกษา แต่ความดีใจนั้น ก็ถูกลบด้วย ความเสียใจ หดหู่ใจ กับ "ครูโดยอาชีพ" และ "ระบบการศึกษา" ที่ผมเรียกว่า "ทุ่งลาเวนเดอร์แทรกดงหมามุ่ย" ที่มีความฝัน และมีความคันที่เป็นพิษ กลายเป็น "ทุ่งหมามุ่ยที่แทรกลาเวนเดอร์" ในความจริง (ปล. ลาเวนเดอร์ไม่ใช่ของพื้นถิ่น ประเทศไทยนิยมของนอก ลาเวนเดอร์เป็นนัยยะประหวัดแปลว่าความฝันในโลกสวย ส่วนหมามุ่ย อุปมาดั่งของจริงท้องถิ่น) เอาเป็นว่าไม่พูดความขมขื่น และตัวอย่างประสบการณ์ที่ได้เจอมาในรอบ 8 ปี ที่เริ่มทำตลาดในประเทศไทย (ผมเริ่มนำ MonsoonSIM มาทำตลาดหลังจากรู้จักมันแล้วหนึ่งปีให้หลัง) มาเข้าประเด็นกันเลย!!
เครื่องมือเดียวกัน อยู่ในมือผู้ใช้งานที่ต่างกัน ย่อมมีวิธีใช้ และให้ผลต่างกัน
ผมจำได้ว่า ผมมักใช้ตัวอย่างของพู่กันของ Vincent Vangoh กับภาพดอกทานตะวันเป็นตัวอย่างในปีแรก ๆ ผมจะขอให้ผู้ฟังเข้าใจว่า "พู่กัน" ในฐานะเครื่องมือในการวาดภาพนั้น หากคุณได้ "พู่กันของแวนโก๊ะของจริง" มาอยู่ในมือของคุณ คุณจะสามารถวาดภาพได้ดั่งที่แวนโก๊ะวาดได้หรือไม่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วม Workshop ได้แสดงความคิดเห็นกัน ทุกคน (อย่างเป็นเอกฉันท์) บอกว่าไม่สามารถทำได้ แต่อาจจะได้ภาพในรูปแบบอื่น ๆ เพราะว่ามีความเชี่ยวชาญ หรือมีวิธีปฏิบัติต่อการใช้พู่กันเดียวกันแตกต่างกัน ซึ่งผมไม่ได้ใช้ตัวอย่างนี้ในการอธิบาายเรื่องนี้มานานแล้วแต่มันเป็นข้อเท็จจริง เพราะเครื่องมือใด ๆ จะมีพลานุภาพเมื่ออยู่ในมือผู้ใช้งานเครื่องมือที่เข้าใจว่า จะใช้เครื่องมือนั้นไปสร้างสรรค์ผลลัพธ์อย่างใด (เป้าหมาย) รู้ว่าจะต้องใช้เครื่องมือแต่ละชนิดในกิจกรรมใด (วิธีการ) ซึ่งต้องใช้ความสามารถของผู้ใช้เครื่องมือประกอบกัน และรู้ว่าจะดัดแปลงเครื่องมือไปใช้อย่างใด (ทักษะ) รวมถึงมีเครื่องมือที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรม (ทรัพยากร) ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่แนวความคิดใหม่ เพียงแต่มาจัดสรรวิธีการเล่าเรื่องเสียใหม่
พู่กันตั้งแต่เบอร์ 00 ถึงเบอร์ใหญ่สุด (น่าจะเป็น 24) ถูกใช้ในลักษณะงานที่แตกต่างกันไป และยังมีประเภทของปลายแหลม ปลายตัด เพื่อให้ใช้งานได้ในหลากหลายลักษณะ และบางกรณีอาจจะทำงานแทนกันได้บ้างผ่านการดัดแปลง เช่น หากมีเฉพาะพู่กันเบอร์ใหญ่ และจะตั้องตัดเส้นที่มีขนาดเล็ก อาจมีการดัดแปลงตัดแต่งปลายขนของพู่กัน (ท่านเชื่อไหมว่า ในประเทศไทยบางคน จนถึงหลายตนไม่เข้าใจในประเด็นนี้ โดยเชื่อว่าจะต้องมีเครื่องมือเฉพาะทางจริงๆ คนที่ประยุกต์อะไรไม่เป็นเลยก็จะบอกปฏิเสธ; เล่าให้ฟังเฉย ๆ ไม่ได้สะท้อนว่าสิ่งนี้เป็นโศกนาฎกรรมในการศึกษาไทยที่เคยพบพานในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ไม่มีจริงจริ๊ง) บางกรณีอาจจะทำงานแทนกันไม่ได้ เช่น จะเอาพู่กันเบอร์ 00 ไประบายภาพที่มีขนาดใหญ่ คงทำไม่ได้
MonsoonSIM Business Simulation & Gamification ก็เป็น "เครื่องมือ" เฉกเช่นเดียวกับพู่กันของแวนโก๊ะ ที่มีหลายขนาด และรูปแบบให้เลือกทว่าผู้ใช้เองก็ต้องมีความเข้าใจในเครื่องมือ, จินตนาการ และความรู้ "ทางกว้างผสมทางลึก" และ MonsoonSIM ก็พบปัญหาจากทรรศนคติของผู้ที่ไม่เคยใช้เวลาทำความเข้าใจ มีและมี Fixed attitude (ซึ่งเป็น entry level ของ Mindset อีกที) มาลองดูกันว่่าตัวอย่างที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ที่ MonsoonSIM ถูกนำไปทดลอง และท้ายสุดเป็นการใช้งานจริงมีลักษณะอย่างใด และเราเรียนรู้อะไรบ้างจากความแตกต่างของระดับผู้ใช้ เป้าหมายและวิธีการที่แตกต่างกันไป (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ได้สะท้อนว่าวิธีคิดของคนไทยส่วนมากเป็น fixed attitude จริงจริ๊ง มีปัญหาเฉพาะในภาคการศึกษา และ HR ในประเทศสารขัณฑ์ที่ไม่มีอยู่จริงในโลกใบนี้)
MonsoonSIM Business Simulation & Gamification ก็เป็น "เครื่องมือ" เฉกเช่นเดียวกับพู่กันของแวนโก๊ะ ที่มีหลายขนาด และรูปแบบให้เลือกทว่าผู้ใช้เองก็ต้องมีความเข้าใจในเครื่องมือ, จินตนาการ และความรู้ "ทางกว้างผสมทางลึก" และ MonsoonSIM ก็พบปัญหาจากทรรศนคติของผู้ที่ไม่เคยใช้เวลาทำความเข้าใจ มีและมี Fixed attitude (ซึ่งเป็น entry level ของ Mindset อีกที) มาลองดูกันว่่าตัวอย่างที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ที่ MonsoonSIM ถูกนำไปทดลอง และท้ายสุดเป็นการใช้งานจริงมีลักษณะอย่างใด และเราเรียนรู้อะไรบ้างจากความแตกต่างของระดับผู้ใช้ เป้าหมายและวิธีการที่แตกต่างกันไป (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ได้สะท้อนว่าวิธีคิดของคนไทยส่วนมากเป็น fixed attitude จริงจริ๊ง มีปัญหาเฉพาะในภาคการศึกษา และ HR ในประเทศสารขัณฑ์ที่ไม่มีอยู่จริงในโลกใบนี้)
MonsoonSIM ในฐานะเครื่องมือกับช่วงวัยปฐมศึกษา และมัธยมศึกษา
(เรื่องที่อ่านประกอบ ทักษะแห่งการประกอบการ ทักษะที่ควรสร้างตั้งแต่เยาวรุ่น)
กลุ่มนักเรียนประถมศึกษาเป็นกลุ่มที่มีความท้าทาย การทดลองเกิดขึ้นเมื่อราว 6 ปีก่อน (2018) ในประเทศอินโดนีเซีย บนสมมติฐานที่ว่านักเรียนประถมศึกษาจะสามารถเข้าใจแนวคิดทางธุรกิจได้หรือไม่ ซึ่งผลลัพธ์ปรากฎว่า นักเรียนประถมศึกษา Grade 4 (ประถมศึกษาปีที่ 4) สามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องกำไรขาดทุนได้ไม่ยาก และมีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่เด็ก ๆ พบเจอในชีวิตประจำวัน โดยในชั้นเรียนเน้นความสนุกสนาน โดยใช้การแข่งขัน ผ่าน "เกม" และเรียนรู้ไปในเวลาเดียวกัน (Gamification) ในน้ำหนักที่มากกว่าด้าน Simulation และไม่ได้เน้น "หลักวิชา" เป็นหลัก การทดลองในช่วง 6 ปีก่อน ทำให้การใช้เครื่องมือ ที่ดัดแปลง ปรับเแปลี่ยน ตัดแต่งให้เหมาะสม จะช่วยทำให้เครื่องมือนำไปสู่ประสบการณ์และความรู้ได้ดี โดยใช้หลัก Play คือ เล่นให้สนุก และสอดแทรกการเรียนรู้ Learn มาเป็นหลักที่สำคัญ คือ หลักเพลิน (PLEARN; PLAY + LEARN)
MonsoonSIM เป็นเกมธุรกิจ จัดอยู่ในประเภทเกมเพื่อการเรียนรู้สำหรับช่วงวันประถมศึกษา ซึ่งความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เกมนี้ในการเรียนการสอนเป็นอุปสรรคของการทำ Education Transformation ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากเดิมในประเทศไทย (ผ่านมา 8 ปีแล้ว แนวคิดเรื่องเกมกับการเรียนรู้เปลี่ยนไปน้อยมาก จากผู้บริหาร Baby Boomer และ Gen X ที่ไม่ทันโลกของไทย)
(เรื่องที่อ่านประกอบ ทักษะแห่งการประกอบการ ทักษะที่ควรสร้างตั้งแต่เยาวรุ่น)
กลุ่มนักเรียนประถมศึกษาเป็นกลุ่มที่มีความท้าทาย การทดลองเกิดขึ้นเมื่อราว 6 ปีก่อน (2018) ในประเทศอินโดนีเซีย บนสมมติฐานที่ว่านักเรียนประถมศึกษาจะสามารถเข้าใจแนวคิดทางธุรกิจได้หรือไม่ ซึ่งผลลัพธ์ปรากฎว่า นักเรียนประถมศึกษา Grade 4 (ประถมศึกษาปีที่ 4) สามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องกำไรขาดทุนได้ไม่ยาก และมีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่เด็ก ๆ พบเจอในชีวิตประจำวัน โดยในชั้นเรียนเน้นความสนุกสนาน โดยใช้การแข่งขัน ผ่าน "เกม" และเรียนรู้ไปในเวลาเดียวกัน (Gamification) ในน้ำหนักที่มากกว่าด้าน Simulation และไม่ได้เน้น "หลักวิชา" เป็นหลัก การทดลองในช่วง 6 ปีก่อน ทำให้การใช้เครื่องมือ ที่ดัดแปลง ปรับเแปลี่ยน ตัดแต่งให้เหมาะสม จะช่วยทำให้เครื่องมือนำไปสู่ประสบการณ์และความรู้ได้ดี โดยใช้หลัก Play คือ เล่นให้สนุก และสอดแทรกการเรียนรู้ Learn มาเป็นหลักที่สำคัญ คือ หลักเพลิน (PLEARN; PLAY + LEARN)
MonsoonSIM เป็นเกมธุรกิจ จัดอยู่ในประเภทเกมเพื่อการเรียนรู้สำหรับช่วงวันประถมศึกษา ซึ่งความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เกมนี้ในการเรียนการสอนเป็นอุปสรรคของการทำ Education Transformation ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากเดิมในประเทศไทย (ผ่านมา 8 ปีแล้ว แนวคิดเรื่องเกมกับการเรียนรู้เปลี่ยนไปน้อยมาก จากผู้บริหาร Baby Boomer และ Gen X ที่ไม่ทันโลกของไทย)
หัวข้อ |
รายละเอียด (นักเรียนชั้นประถมศึกษา) (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และอาชีวะศึกษา) |
เป้าหมาย และประโยชน์ |
ประถมศึกษา
|
รูปแบบ/น้ำหนัก |
ประถมศึกษา
ทั้งสองรูปแบบ ครูจะต้องเปลี่ยนสถานเป็น Facilitator และเพื่อนกับนักเรียนในวัยประถมศึกษานี้ หากครูไม่ได้เปลี่ยน "วิธีการ" ไม่ได้สร้าง "บรรยากาศ" ที่เหมาะสม จะเป็นเครื่องมือที่ดีอย่างไรก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ และหลีกเลี่ยงการตัดสินแบบผิดถูกขาวดำ แบบที่ชอบใช้กันในชั้นเรียนในประเทศไทย |
หลักการ |
|
ตัวอย่างที่น่าสนใจจากประเทศอินโดนีเซีย คือ การนำ Business Game ไปใช้ในกลุ่มโรงเรียนเอกชนในเครือ Penabur ซึ่งมีโรงเรียนในเครือกว่า 40 แห่งในประเทศอินโดนีเซีย และกำลังขยายไปยังกลุ่มโรงเรียนในเครือ Ciputra โดยเน้นการใช้ธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน (ซื้อมาขายไป; Trading) เป็นหลัก โดยเลือกใช้กับกลุ่ม Grade 5-6 เป็นสำคัญ และเติบโตในด้านความซับซ้อน โดยเพิ่มเงื่อนไขใน MonsoonSIM ผ่าน Configuration ย่อยในกลุ่ม Module 4-5 โมดูลแรก และพัฒนาเป็นการแข่งขันภายในโรงเรียนในสัปดาห์ส่งเสริมนักประกอบการ
ในประเทศไทย ผู้เขียนเคยพยายามสร้างชั้นเรียนทดลองกับโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง โดยได้นำเสนอหลักการตัวอย่างของประเทศอินโดนีเซีย นำไปสู่การทดลองกับคุณครูในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์, สังคมศึกษา, การงานอาชีพและเทคโนโลยี แล้วได้รับบทสรุปว่า เป็นเกมที่ดี ทว่าเป็นเกมที่ยากเกินไปสำหรับเด็กไทย ด้วยปัญหาด้านภาษา (ซึ่งต่อให้มี interface ภาษาไทยใน MonsoonSIM กว่า90% ให้บริการ ณ วันทดลอง) และครูผู้สอนในหลายกลุ่มสาระรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถอธิบายให้นักเรียนของตนเข้าใจได้ ทำให้เกมนี้ไม่เหมาะกับเยาวชนไทยซึ่งตัดสินโดยกลุ่มคุณครู และทำให้โครงการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาเป็นอันจะต้องยุติไป
สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษานั้น ฮ่องกง เขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศจีน เป็นตัวอย่างของประเทศที่เน้นทำตลาดในระดับมัธยมศึกษา ผู้เขียนได้คุยกับผู้ทำตลาดในฮ่องกง ได้รับ feedback ว่า Concept ทางธุรกิจและการจัดการพื้นฐานที่อยู่ใน MonsoonSIM สำหรับ Professor ในเขตปกครองที่มีพื้นฐานการศึกษาที่ดี เป็นเมืองแห่งศูนย์กลางธุรกิจ อุตสาหกรรม และโลจิสติกส์ระดับโลกมองว่า ไม่เพียงพอสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของเขา แต่จากประสบการณ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันนานาชาติ พอว่าในเชิงทฤษฎีฮ่องกงมีความก้าวหน้าอย่างมากแต่ฮ่องกง เมื่อพิจารณาจากการนำเสนอของทีมนักศึกษาฮ่องกงเห็นความแตกต่างชัดเจนกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ การประยุกต์ใช้นั้นนักศึกษาชาวอาเซียนทำได้ดีกว่าในภาพรวม (ความเห็นส่วนตัว) อย่างไรก็ตาม MonsoonSIM ในฮ่องกงจึงเปลี่ยนแนวทางไปเน้นที่กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาและได้รับการต้อนรับอย่างดีในกลุ่มมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แตกต่างกันไปในด้านทุนของระบบการศึกษา วิธีคิด และแนวทางการจัดการเรียนการสอน
ผู้เขียนขอถอดบทเรียนจากทัศนคติส่วนตัว สำหรับนักเรียนกลุ่มประถมศึกษาพบว่าเยาวชนในเกณฑ์อายุเดียวกันของอินโดนีเซียได้รับโอกาสที่ดีกว่านักเรียนชาวไทย สะท้อนถึงวิธีการเรียนการสอนของเราที่เน้นแบบสอน (Teaching Based Learning) ไม่เน้นการทดลอง ไม่เน้นการแลกเปลี่ยน ไม่เน้นการใช้วิธีการที่หลากหลาย น่าจะเป็นอุปสรรคและปัญหาของการพัฒนาเยาวชนต่อไป แต่ภาคการศึกษากลับสื่อสารกับสังคมว่า ได้พยายามใช้วิธีการที่หลากหลายในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความพึงพอใจกับสังคม และผู้ปกครอง ในขณะที่กลับพวว่าเด็กและเยาวชนสมัยนี้เรียนในเรื่องที่มีความยากเกินกว่าวัย และเน้นการท่องจำ วัดผลด้วยการตอบคำถามทำข้อสอบในตัวชีวัดด้านวิชาการอย่างเดียว สำหรับกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาเนื่องจากยังไม่เคยมีการทดลองในประเทศไทย จึงยากที่จะสรุป ทว่าในระดับมัธยมศึกษาของไทยในกลุ่มโรงเรียนชั้นนำ ด้านการเปลี่ยนแปลง พบว่ามีการจัดสร้างห้องเรียนแนวผู้ประกอบการมากขึ้นจากหนึ่งห้อง และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กระจายกันออกไปในกลุ่มโรงเรียนที่มีความพร้อมของแนวคิดในการปฏิวัติการเรียนการสอน ซึ่งเป็นนิมิตรหมายที่ดีกว่า แดนสนธยาในระดับประถมศึกษา และอุดมศึกษา
สำหรับโรงเรียนในกลุ่มมัธยมศึกษาในประเทศไทยที่มีความสนใจร่วมกันทดลอง ทักษะของนักประกอบการในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาที่จะให้ความร่วมมือ เพื่อทดลองและเกิดประโยชน์กับนักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนมีพื้นฐานด้านการประกอบการ โดยมีอาจารย์และผู้บริหารที่เปิดใจกว้างในการยอมรับวิธีการเรียนการสอน และร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกันกับ MonsoonSIM ก็สามารถติดต่อกลับมายัง MonsoonSIM ประเทศไทยได้ และอาจจะสร้างแต้มต่อด้วยการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจการเรียนในสาขาวิชาอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นก่อนที่จะต้องตัดสินใจในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
ในประเทศไทย ผู้เขียนเคยพยายามสร้างชั้นเรียนทดลองกับโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง โดยได้นำเสนอหลักการตัวอย่างของประเทศอินโดนีเซีย นำไปสู่การทดลองกับคุณครูในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์, สังคมศึกษา, การงานอาชีพและเทคโนโลยี แล้วได้รับบทสรุปว่า เป็นเกมที่ดี ทว่าเป็นเกมที่ยากเกินไปสำหรับเด็กไทย ด้วยปัญหาด้านภาษา (ซึ่งต่อให้มี interface ภาษาไทยใน MonsoonSIM กว่า90% ให้บริการ ณ วันทดลอง) และครูผู้สอนในหลายกลุ่มสาระรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถอธิบายให้นักเรียนของตนเข้าใจได้ ทำให้เกมนี้ไม่เหมาะกับเยาวชนไทยซึ่งตัดสินโดยกลุ่มคุณครู และทำให้โครงการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาเป็นอันจะต้องยุติไป
สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษานั้น ฮ่องกง เขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศจีน เป็นตัวอย่างของประเทศที่เน้นทำตลาดในระดับมัธยมศึกษา ผู้เขียนได้คุยกับผู้ทำตลาดในฮ่องกง ได้รับ feedback ว่า Concept ทางธุรกิจและการจัดการพื้นฐานที่อยู่ใน MonsoonSIM สำหรับ Professor ในเขตปกครองที่มีพื้นฐานการศึกษาที่ดี เป็นเมืองแห่งศูนย์กลางธุรกิจ อุตสาหกรรม และโลจิสติกส์ระดับโลกมองว่า ไม่เพียงพอสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของเขา แต่จากประสบการณ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันนานาชาติ พอว่าในเชิงทฤษฎีฮ่องกงมีความก้าวหน้าอย่างมากแต่ฮ่องกง เมื่อพิจารณาจากการนำเสนอของทีมนักศึกษาฮ่องกงเห็นความแตกต่างชัดเจนกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ การประยุกต์ใช้นั้นนักศึกษาชาวอาเซียนทำได้ดีกว่าในภาพรวม (ความเห็นส่วนตัว) อย่างไรก็ตาม MonsoonSIM ในฮ่องกงจึงเปลี่ยนแนวทางไปเน้นที่กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาและได้รับการต้อนรับอย่างดีในกลุ่มมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แตกต่างกันไปในด้านทุนของระบบการศึกษา วิธีคิด และแนวทางการจัดการเรียนการสอน
ผู้เขียนขอถอดบทเรียนจากทัศนคติส่วนตัว สำหรับนักเรียนกลุ่มประถมศึกษาพบว่าเยาวชนในเกณฑ์อายุเดียวกันของอินโดนีเซียได้รับโอกาสที่ดีกว่านักเรียนชาวไทย สะท้อนถึงวิธีการเรียนการสอนของเราที่เน้นแบบสอน (Teaching Based Learning) ไม่เน้นการทดลอง ไม่เน้นการแลกเปลี่ยน ไม่เน้นการใช้วิธีการที่หลากหลาย น่าจะเป็นอุปสรรคและปัญหาของการพัฒนาเยาวชนต่อไป แต่ภาคการศึกษากลับสื่อสารกับสังคมว่า ได้พยายามใช้วิธีการที่หลากหลายในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความพึงพอใจกับสังคม และผู้ปกครอง ในขณะที่กลับพวว่าเด็กและเยาวชนสมัยนี้เรียนในเรื่องที่มีความยากเกินกว่าวัย และเน้นการท่องจำ วัดผลด้วยการตอบคำถามทำข้อสอบในตัวชีวัดด้านวิชาการอย่างเดียว สำหรับกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาเนื่องจากยังไม่เคยมีการทดลองในประเทศไทย จึงยากที่จะสรุป ทว่าในระดับมัธยมศึกษาของไทยในกลุ่มโรงเรียนชั้นนำ ด้านการเปลี่ยนแปลง พบว่ามีการจัดสร้างห้องเรียนแนวผู้ประกอบการมากขึ้นจากหนึ่งห้อง และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กระจายกันออกไปในกลุ่มโรงเรียนที่มีความพร้อมของแนวคิดในการปฏิวัติการเรียนการสอน ซึ่งเป็นนิมิตรหมายที่ดีกว่า แดนสนธยาในระดับประถมศึกษา และอุดมศึกษา
สำหรับโรงเรียนในกลุ่มมัธยมศึกษาในประเทศไทยที่มีความสนใจร่วมกันทดลอง ทักษะของนักประกอบการในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาที่จะให้ความร่วมมือ เพื่อทดลองและเกิดประโยชน์กับนักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนมีพื้นฐานด้านการประกอบการ โดยมีอาจารย์และผู้บริหารที่เปิดใจกว้างในการยอมรับวิธีการเรียนการสอน และร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกันกับ MonsoonSIM ก็สามารถติดต่อกลับมายัง MonsoonSIM ประเทศไทยได้ และอาจจะสร้างแต้มต่อด้วยการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจการเรียนในสาขาวิชาอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นก่อนที่จะต้องตัดสินใจในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
MonsoonSIM ในฐานะเครื่องมือกับช่วงวัยมหาวิทยาลัย
บทความที่เกี่ยวข้อง การใช้ Simulation รวมพลัง Gamification สร้างการเรียนการสอนในยุค Disruptive
ในบรรดากลุ่มช่วงวัยทั้งหมด MonsoonSIM มีฐานของผู้ใช้งานในกลุ่มของนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดหากเทียบกับทุกกลุ่มช่วงวัย โดยจุดเริ่มต้นของ MonsoonSIM ในราวปี 2013 นั้น คือ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ให้ความเข้าใจเรื่อง ERP; Enterprise Resources Planning ก่อนที่ผู้ผลิตจะต่อยอดแนวคิดเพื่อให้ครอบคลุมการเรียนรู้ทางด้านธุรกิจและการจัดการ เรื่องของ Data Analytics ในภายหลังจนในปัจจุบันสามารถ (2023) มีแนวคิดครอบคลุมจำนวนมากในหลากหลายสาขาวิชา ผ่านการบูรณาการ 13 โมดูลทางธุรกิจที่เลือกเปิดใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายได้ในหลายความสนใจ และ MonsoonSIM เองก็ยังพัฒนาต่อเนื่องเฉลี่ยปีละหนึ่งเวอร์ชั่น ด้วยจำนวน concepts ที่ครอบคลุมมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่าน Facilitator จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้, ฮ่องกง, ออสเตรเลีย, สหรัฐอเมริกา ฯลฯ โดยเปิดรับความเห็นต่าง ๆ ในการพัฒนา รวมไปถึงร่วมมือในรูปแบบของงานวิจัยและ MOU กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ด้วย
กลุ่มประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นของ MonsoonSIM คือ ประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย ตามด้วยสิงคโปร์, ฟิลิปปินส์และประเทศไทยในเวลาใกล้เคียงกัน หลังจากผู้เขียนได้รับการ Train The Trainer (ซึ่งอาจารย์ผู้ประสงค์ใช้งานจะได้รับการอบรมนี้ bunddled ในการ subscription ครั้งแรก และสามารถขอความร่วมมือโดยช่วยออกค่าใช้จ่ายในครั้งต่อ ๆ ไปร่วมกันกับ MonsoonSIM ในประเทศไทย ได้ในความต้องการในการเพิ่มปริมาณ facilitator ในสถาบันการศึกษาในปีถัด ๆ ไป) ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปร่วมกิจกรรมการแข่งขันที่จัดเป็นครั้งแรกของ MonsoonSIM ในประเทศสิงคโปร์ในปี 2015 ที่ Singapore University of Social Sciences (ชื่อเดิมคือ SIM Global University) และได้มีโอกาสเดินทางไปยังชั้นเรียนในประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ก่อนที่จะตัดสินใจกลับมาเริ่มนำเอา MonsoonSIM มาทำตลาดในประเทศไทยในปี 2016 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ณ วันที่เขียนบทความ
บทความที่เกี่ยวข้อง การใช้ Simulation รวมพลัง Gamification สร้างการเรียนการสอนในยุค Disruptive
ในบรรดากลุ่มช่วงวัยทั้งหมด MonsoonSIM มีฐานของผู้ใช้งานในกลุ่มของนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดหากเทียบกับทุกกลุ่มช่วงวัย โดยจุดเริ่มต้นของ MonsoonSIM ในราวปี 2013 นั้น คือ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ให้ความเข้าใจเรื่อง ERP; Enterprise Resources Planning ก่อนที่ผู้ผลิตจะต่อยอดแนวคิดเพื่อให้ครอบคลุมการเรียนรู้ทางด้านธุรกิจและการจัดการ เรื่องของ Data Analytics ในภายหลังจนในปัจจุบันสามารถ (2023) มีแนวคิดครอบคลุมจำนวนมากในหลากหลายสาขาวิชา ผ่านการบูรณาการ 13 โมดูลทางธุรกิจที่เลือกเปิดใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายได้ในหลายความสนใจ และ MonsoonSIM เองก็ยังพัฒนาต่อเนื่องเฉลี่ยปีละหนึ่งเวอร์ชั่น ด้วยจำนวน concepts ที่ครอบคลุมมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่าน Facilitator จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้, ฮ่องกง, ออสเตรเลีย, สหรัฐอเมริกา ฯลฯ โดยเปิดรับความเห็นต่าง ๆ ในการพัฒนา รวมไปถึงร่วมมือในรูปแบบของงานวิจัยและ MOU กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ด้วย
กลุ่มประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นของ MonsoonSIM คือ ประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย ตามด้วยสิงคโปร์, ฟิลิปปินส์และประเทศไทยในเวลาใกล้เคียงกัน หลังจากผู้เขียนได้รับการ Train The Trainer (ซึ่งอาจารย์ผู้ประสงค์ใช้งานจะได้รับการอบรมนี้ bunddled ในการ subscription ครั้งแรก และสามารถขอความร่วมมือโดยช่วยออกค่าใช้จ่ายในครั้งต่อ ๆ ไปร่วมกันกับ MonsoonSIM ในประเทศไทย ได้ในความต้องการในการเพิ่มปริมาณ facilitator ในสถาบันการศึกษาในปีถัด ๆ ไป) ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปร่วมกิจกรรมการแข่งขันที่จัดเป็นครั้งแรกของ MonsoonSIM ในประเทศสิงคโปร์ในปี 2015 ที่ Singapore University of Social Sciences (ชื่อเดิมคือ SIM Global University) และได้มีโอกาสเดินทางไปยังชั้นเรียนในประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ก่อนที่จะตัดสินใจกลับมาเริ่มนำเอา MonsoonSIM มาทำตลาดในประเทศไทยในปี 2016 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ณ วันที่เขียนบทความ
หัวข้อ |
รายละเอียด ของกลุ่มวัยอุดมศึกษา |
เป้าหมาย และประโยชน์ |
เป้าหมายสำคัญของการเรียนรู้ด้วย MonsoonSIM เพื่อที่จะให้เกิดประสบการณ์จากแบบจำลองสถานการณ์; Simulation เพราะว่าโอกาสที่จะมีประสบการณ์ทางตรงอย่างรอบด้านนั้น "จำกัด" "ไม่มีโอกาส" หรือ "ไม่เกิดประสบการณ์ตรงจากการฝึกงานและสหกิจที่เพียงพอ" และเพื่อให้ "ความรู้" ประกอบร่างเข้ากับ "ประสบการณ์" และเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงาน การคาดการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น และใช้ประสบการณ์ในการลองผิดลองถูกจาก Simulation GAME นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางอ้อมในความเข้าใจเรื่องการบูรณาการหลายศาสตร์ และหลายกระบวนการที่เชื่อมโยงกันในการทำงานจริงให้ทราบถึงผลกระทบที่มีต่อกัน |
รูปแบบ/น้ำหนัก |
|
หลักการ |
สำหรับวัยอุดมศึกษานี้ จะใช้หลักการ PLERN (เพลิน); Play and Learn สำหรับประสบการณ์ในครั้งแรก ๆ ผสมผสานกับหลักการ PLYNC(พริ้ง); Play and Sync เพื่อต่อยอดการเรียนเพื่อรู้ และเชื่อมโยงประสบการณ์ในเกมไปสู่การเชื่อมโยงกับความรู้เฉพาะเรื่องตามบทเรียน และความรู้ในเชิงบูรณาการที่้เกี่ยวข้องกัน |
จากการที่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์, เข้าประชุมในกิจกรรมประจำปี, มีประสบการณ์เห็นแผนการเรียนการสอนที่แต่ละประเทศนำเอา MonsoonSIM ไปใช้งาน ผู้เขียนได้มองเห็นประเด็นที่น่าสนใจ
ความน่าสนใจหากจะมีการเปรียบเทียบจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนพบว่า ในประเทศไทยความสนใจในการสร้างพื้นฐาน และประสบการณ์ให้กับนักศึกษาถูกให้ความสำคัญทว่าไม่เน้นการสร้างให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ การศึกษาในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับระดับความซับซ้อน และระดับความยากของเนื้อหาในหลักสูตร แบบที่ชอบเรียกกันว่า "กลยุทธ์" ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นความซับซ้อนและความยากเหล่านั้นอยู่ในรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อการท่องจำ ความสามารถในการพลิกแพลง เลือกใช้ทฤษฎีอาจไม่ตรงกับปัญหาเท่าใดนัก และมีรูปแบบของการแก้ปัญหาจากการทำซ้ำตัวอย่างที่ศึกษามา หรือได้รับฟังมาจากสื่อต่าง ๆ เท่านั้น ในขณะที่ต่างประเทศเน้นการสร้างพื้นฐานที่ใช้งานได้ แล้วจึงพัฒนาในเชิงกลยุทธ์ สถาบันการศึกษาในเมืองนอกมีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน และการใช้เครื่องมืออย่าง MonsoonSIM ในลักษณะพื้นฐาน ในขณะที่ประเทศไทยมีความต้องการเชิงลึก ซึ่งความเห็นนี้เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น
กลับมาพิจารณาถึงการใช้ MonsoonSIM ในประเทศไทยมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป บางมหาวิทยาลัยสามารถเพิ่มจำนวนการใช้ และใช้กับระดับการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้ง ปริญญาโท ปริญญาโท และปริญญาเอก บางมหาวิทยาลัยมีการจัดการแข่งขันและกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเนื่องมาหลายปี บางมหาวิทยาลัยต้องสิ้นสุดการใช้งานเนื่องจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบเกษียณอายุ และอาจารย์รุ่นใหม่ไม่ประสงค์ที่จะรับหน้าที่ต่อไป ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเช่น ภาควิชาที่เปิดสอน และพัฒนาบัณฑิตด้าน ERP เป็นต้น บางมหาวิทลัยติดปัญหาในเรื่องงบประมาณ ที่ไม่ได้สูงเลยหากเทียบกับรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ ของคณะและอาจารย์ ที่ลงทุนไปโดยมิได้ประโยชน์กลับมาที่นักศึกษา เป็นต้น บางมหาวิทยาลัยมีการ Subscription แต่ไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากเป็นนโยบายจากผู้บริหาร เมื่ออบรม Train The Trainer จบลงไม่มีการใช้งานในการเรียนการสอน เพราะว่าไม่มีผู้รับผิดชอบ และไม่มีอาจารย์ใด ๆ ในสังคมการศึกษาจะอยากรับภาระเพิ่มเติมจากงานสอนเดิมที่มี และมีความพยายามน้อยลงไปทุกที เหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การเข้าใจถึง Interdisciplinary ยังน้อยไปในประเทศไทย การพยายามสร้างทักษะที่จำเป็นมีน้อยในทางปฏิบัติ และสิ่งนี้จะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต และมองเห็นได้จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนใช้เครืองมือเดียวกันในภาคการอบรมในหัวข้อต่อไป
สำหรับ MonsoonSIM Thailand ยังคงให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสมาชิก ที่มุ่งมั่นพัฒนานักศึกษา โดยให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร้องขอ หรือร่วมกันพัฒนาโดยเสมอมา สำหรับการบริการในเชิงวิชาการนั้น ปัจจุบันไม่ได้ทำกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีการสานต่อ หรือไม่มีความพยายามที่จะนำ MonsoonSIM ไปใช้งานตามปณิธานของการนำเอา MonsoonSIM เข้ามาในประเทศไทยของผู้เขียน มีหลายคณะสาขาวิชาขอรับความร่วมมือเพื่อบรรลุตัวชี้วัดของตนเป็นครั้งคราว และไม่ได้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งในการพัฒนานักศึกษา และด้านเศรษฐศาสตร์
- UTM; University of Tecnology Malaysia เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการผลิตบัณฑิตสายเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ คล้ายกับมหาวิทยาลัยกลุ่มเทคโนโลยีในประเทศไทย ที่ UTM นั้น นำร่องด้วยการใช้ MonsoonSIM ในคณะสาย IT ด้วยเหตุผลเริ่มต้นในการหาเครื่องมือมาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจระบบ ERP; Enterprise Resources Planning ในปีแรก ๆ หลังจากนั้น UTM ก็เบนเข็มความสนใจมาเพื่อสร้างเสริมความร้ความเข้าใจ และทักษะด้านธุรกิจและการบริหารจัดการที่เป็นจุดอ่อนของนักศึกษาสายเทคโนโลยี จนปัจจุบันมีการจัดการแข่งขันภายใน เปิดโอกาสให้นักศึกษาในหลากหลายสาขาวิชาด้านเทคโนโลยี เข้าร่วมการแข่งขัน และเน้นการสร้าง Entrepresneuship ควบคู่กับความรู้ด้าน Technology เป็น Technopreneurship ในขณะที่ประเทศสารขัณฑ์ลูบหน้าปะจมูกด้วยการ ที่ขออนุญาตไม่อภิปราย UTM ทำซ้ำจนเกิดความเข้าใจ ส่วนไทยแลนด์นั้นทำเป็นงานอีเว้นท์เสมอ (บทความที่เกี่ยวข้อง: MonsoonSIM เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจ Business Processes พื้นฐานไปสู่ความเข้าใจ ERP)
- Melbourn University หลังจากที่นำเอา MonsoonSIM ไปใช้ และพบว่ามีประโยชน์ในการสอนเรื่อง Data Analytics โดยทำให้เข้าใจที่มาของข้อมูลทางธุรกิจ จึงหันมาพัฒนาแนวคิดเรื่องการนำส่งข้อมูลออกแบบการดาวโหลด CSV และพัฒนาต่อไปเป็นการนำส่งข้อมูลผ่าน SQL Agent ร่วมกับ MonsoonSIM จนเป็น Feature Data Analytics และ Live Access ใน version 9.0 เพื่อให้ประสบการณ์ด้าน Data Analytics เพิ่มเติม ซึ่งทำให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์ที่ชัดเจน เชื่อมโยงข้อมูลกับกิจกรรมทางธุรกิจ และตัวชี้วัดได้ ปัจจุบัน MonsoonSIM Thailand ได้ร่วมกับ MonsoonSIM พัฒนาขนิดและความหลากหลายของข้อมูลเพื่อส่งเสริมให้มีการเรียนการสอน Data Analytics และสร้างทักษะด้าน Data ให้เป็นทักษะพื้นฐานของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกของ MonsoonSIM ในประเทศไทย
- Deakin University นำเอา MonsoonSIM ไปใช้ในสาขาวิชาด้านบัญชี เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานทางบัญชี และเป็นเครื่องมือเสริมในการทำความเข้าใจ ธุรกิจที่บัญชีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และในปัจจุบันมีวิชาที่ใช้ MonsoonSIM ร่วมกับ Simulation อื่น ๆ เกินกว่า 65% ของเวลา ผ่านกิจกรรมรายวิชาที่ออกแบบมาเพื่อการเพิ่มประสบการณ์ให้กับนักศึกษา และ Deakin University ยังร่วมพัฒนาด้านการให้คำแนะนำ และพัฒนาร่วมกันในโมดูลด้าบัญชีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี แนวคิดเรื่องภาษี แนวคิดเรื่อง Integrated Report ฯลฯ ในขณะที่ประเทศไทย สาขาวิชาบัญชีส่วนมากปฏิเสธการใช้งาน โดยให้เหตุผลว่าไม่ใช่โปรแกรมเฉพาะทางที่ส่งเสริมการเรียนการสอนบัญชี ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายใน mindset ของอาจารย์ผู้สอนและผู้บริหารสาขาวิชาบัญชีในประเทศไทยที่ขัดกับแนวโน้มด้านบัญชีอัตโนมัติ และ software จำนวนมากมายในโลกธุรกิจที่ไม่ใช่ Typical Accounting อีกแล้ว ทั้ง ๆ ที่หลังจากมีการรับรองว่า MonsoonSIM เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนด้านบัญชีที่ดีโดย AAA; American Accounting Association จนทำให้มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ในสาขาวิชาบัญชี นำ MonsoonSIM ไปใช้เพื่อสร้างประสบการณ์พื้นฐานให้นักศึกษา เช่น Pennsylvania State University และ Michigan State University เป็นต้น (บทความที่เกี่ยวข้อง: การใช้ MonsoonSIM ในการสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาด้านบัญชี และ MonsoonSIM เครื่องมือที่ผสมผสานการเรียนบัญชีกับมุมมองทางธุรกิจ สร้างวิธีเรียนบัญชีรูปแบบใหม่)
- ตัวอย่างที่ควรจะเกิดขึ้นในสายวิชาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ทว่าไม่มีความต่อเนื่อง ซึ่ง MonsoonSIM เป็น Logistics Supply Chain ที่มีตัวแปรให้ทำความเข้าใจได้กว้างขวาง และหลากหลายที่ร่วมกันสร้างประสบการณ์ด้าน Logistics ที่หลากหลาย รวมไปถึงความสั้นยาวในกระบวนการภายใน Value Chain และกระบวนการภายนอก SupplyChain ได้เป็นอย่างนี้ น่าเสียดายที่ประเทศไทย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์กลับใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนด้านนี้น้อยเกินไป และยังไม่มีความพร้อมในการเป็นมหาวิทยาลัยของไทยที่จะร่วมพัฒนา Feature ที่เกี่ยวข้องกับ MonsoonSIM เช่นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในต่างประเทศ ( update ณ กุมภาพันธ์ 2566) (บทความที่เกี่ยวข้อง: MonsoonSIM Business Simulation เครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนในสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน)
- มีบทความและงานวิจัยจำนวนหลายเรื่องที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ทำ โดยใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือในการทำวิจัยด้านการศึกษา ซึ่งท่านสามารถที่จะดูรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น
- Designing Hybrid and Online Capstone Experiences for Accounting Students. Published in the Australasian Society for Computers in Learning in Tertiary Education; By Christine Contessotto, Edwin KiaYang Lim, Harsh Suri, Deakin University
- Business Analytics, MonsoonSIM. A book written by Dr. Violeta Cvetkoska, an Associate Professor of the courses Operational Research, and Fundamentals of Business Analytics, and Head of the EUi at Ss. Cyril and Methodius University in Skopje, Faculty of Economics – Skopje.
- Using Experiential Learning Theory to Improve Teaching and Learning in Higher Education. Published in the European Journal of Social Sciences Education and Research; By Dr Leong and Dr Ma, SUSS; Singapore University of Social Sciences
- Factors Influencing Use of MonsoonSIM Business Simulation by UTM Undergraduate Students
International Journal of Learning and Development; By Shafudin Mohd Yatim, Chin Fei Goh, Raihanatul Zahirah Mohamad - Business Simulation, Student Competency, And Learning Outcomes
Authors : Christiana F. Dharmastuti, Syarief Darmoyo, R. A. Gunawan, M. N. Duka, University Atma Jaya - Impact of MonsoonSIM on UTM Students
Authors : Dr. Mohamad Shah Kassim, En. Shafudin Mohd Yatim, Dr. Zulkifli Khair, Universiti Teknologi Malaysia - Radical and disruptive innovation in higher education
Authors : Dr. Mohamad Shah Kassim, En. Shafudin Mohd Yatim, Dr. Zulkifli Khair, Universiti Teknologi Malaysia - 21st Century Skills Development Through Business Simulation Games
Authors : Ziehanie Shafiai, Politeknik Ungku Omar, Malaysia
ความน่าสนใจหากจะมีการเปรียบเทียบจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนพบว่า ในประเทศไทยความสนใจในการสร้างพื้นฐาน และประสบการณ์ให้กับนักศึกษาถูกให้ความสำคัญทว่าไม่เน้นการสร้างให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ การศึกษาในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับระดับความซับซ้อน และระดับความยากของเนื้อหาในหลักสูตร แบบที่ชอบเรียกกันว่า "กลยุทธ์" ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นความซับซ้อนและความยากเหล่านั้นอยู่ในรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อการท่องจำ ความสามารถในการพลิกแพลง เลือกใช้ทฤษฎีอาจไม่ตรงกับปัญหาเท่าใดนัก และมีรูปแบบของการแก้ปัญหาจากการทำซ้ำตัวอย่างที่ศึกษามา หรือได้รับฟังมาจากสื่อต่าง ๆ เท่านั้น ในขณะที่ต่างประเทศเน้นการสร้างพื้นฐานที่ใช้งานได้ แล้วจึงพัฒนาในเชิงกลยุทธ์ สถาบันการศึกษาในเมืองนอกมีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน และการใช้เครื่องมืออย่าง MonsoonSIM ในลักษณะพื้นฐาน ในขณะที่ประเทศไทยมีความต้องการเชิงลึก ซึ่งความเห็นนี้เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น
กลับมาพิจารณาถึงการใช้ MonsoonSIM ในประเทศไทยมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป บางมหาวิทยาลัยสามารถเพิ่มจำนวนการใช้ และใช้กับระดับการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้ง ปริญญาโท ปริญญาโท และปริญญาเอก บางมหาวิทยาลัยมีการจัดการแข่งขันและกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเนื่องมาหลายปี บางมหาวิทยาลัยต้องสิ้นสุดการใช้งานเนื่องจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบเกษียณอายุ และอาจารย์รุ่นใหม่ไม่ประสงค์ที่จะรับหน้าที่ต่อไป ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเช่น ภาควิชาที่เปิดสอน และพัฒนาบัณฑิตด้าน ERP เป็นต้น บางมหาวิทลัยติดปัญหาในเรื่องงบประมาณ ที่ไม่ได้สูงเลยหากเทียบกับรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ ของคณะและอาจารย์ ที่ลงทุนไปโดยมิได้ประโยชน์กลับมาที่นักศึกษา เป็นต้น บางมหาวิทยาลัยมีการ Subscription แต่ไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากเป็นนโยบายจากผู้บริหาร เมื่ออบรม Train The Trainer จบลงไม่มีการใช้งานในการเรียนการสอน เพราะว่าไม่มีผู้รับผิดชอบ และไม่มีอาจารย์ใด ๆ ในสังคมการศึกษาจะอยากรับภาระเพิ่มเติมจากงานสอนเดิมที่มี และมีความพยายามน้อยลงไปทุกที เหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การเข้าใจถึง Interdisciplinary ยังน้อยไปในประเทศไทย การพยายามสร้างทักษะที่จำเป็นมีน้อยในทางปฏิบัติ และสิ่งนี้จะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต และมองเห็นได้จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนใช้เครืองมือเดียวกันในภาคการอบรมในหัวข้อต่อไป
สำหรับ MonsoonSIM Thailand ยังคงให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสมาชิก ที่มุ่งมั่นพัฒนานักศึกษา โดยให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร้องขอ หรือร่วมกันพัฒนาโดยเสมอมา สำหรับการบริการในเชิงวิชาการนั้น ปัจจุบันไม่ได้ทำกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีการสานต่อ หรือไม่มีความพยายามที่จะนำ MonsoonSIM ไปใช้งานตามปณิธานของการนำเอา MonsoonSIM เข้ามาในประเทศไทยของผู้เขียน มีหลายคณะสาขาวิชาขอรับความร่วมมือเพื่อบรรลุตัวชี้วัดของตนเป็นครั้งคราว และไม่ได้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งในการพัฒนานักศึกษา และด้านเศรษฐศาสตร์
MonsoonSIM ในฐานะเครื่องมือกับช่วงวัยทำงาน
บทความอ่านประกอบเกี่ยวกับช่วงวัยทำงาน
1) Decoding MonsoonSIM Corporate Training Survey
2) Competency Assessment using MonsoonSIM as Tools
3) 6 เหตุผลจาก Jack Welch อดีต CEO ของ GE; General Electric ที่บอกว่า MonsoonSIM เป็นเครื่องมือที่ดี ในการให้การอบรมในองค์กร
4) MonsoonSIM Simulation Based Training การพัฒนาบุคลากรให้เก่งคน เก่งงาน และคิดแบบผู้ประกอบการ
5) ให้ MonsoonSIM Business Team Building เป็นทางเลือกสำหรับการสร้างทีมธุรกิจให้องค์กรของคุณ
MonsoonSIM ประเทศไทยได้ทดลองนำเอา MonsoonSIM ไปใช้ในการให้การอบรมกับบุคลากรในบริษัทต่าง ๆ โดยในปี 2016 นั้น มีจุดประสงค์เพื่อตอบแทนที่ภาคเอกชนร่วมเป็นผู้สนับสนุนการเดินทางไปแข่งขันของนักศึกษาไทย ณ ประเทศสิงคโปร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการอบรมที่ใช้ MonsoonSIM กับกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นยุคก่อนที่แนวคิดการ Upskill/Reskill ในปัจจุบันจะเป็นที่ตื่นตัวในประเทศไทย
กลุ่มตัวอย่างของปัญหาจากทีม HR ขององค์กรต่าง ๆ ที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับ MonsoonSIM Thailand และ Agency ด้านการอบรมที่ MonsoonSIM Thailand เป็นพันธมิตรด้วย มีหลากหลายปัญหาตามแต่ละกลุ่มวัย, ประสบการณ์, รูปแบบและขนาดขององค์กรที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ในตารางประกอบด้านล่างนี้
บทความอ่านประกอบเกี่ยวกับช่วงวัยทำงาน
1) Decoding MonsoonSIM Corporate Training Survey
2) Competency Assessment using MonsoonSIM as Tools
3) 6 เหตุผลจาก Jack Welch อดีต CEO ของ GE; General Electric ที่บอกว่า MonsoonSIM เป็นเครื่องมือที่ดี ในการให้การอบรมในองค์กร
4) MonsoonSIM Simulation Based Training การพัฒนาบุคลากรให้เก่งคน เก่งงาน และคิดแบบผู้ประกอบการ
5) ให้ MonsoonSIM Business Team Building เป็นทางเลือกสำหรับการสร้างทีมธุรกิจให้องค์กรของคุณ
MonsoonSIM ประเทศไทยได้ทดลองนำเอา MonsoonSIM ไปใช้ในการให้การอบรมกับบุคลากรในบริษัทต่าง ๆ โดยในปี 2016 นั้น มีจุดประสงค์เพื่อตอบแทนที่ภาคเอกชนร่วมเป็นผู้สนับสนุนการเดินทางไปแข่งขันของนักศึกษาไทย ณ ประเทศสิงคโปร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการอบรมที่ใช้ MonsoonSIM กับกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นยุคก่อนที่แนวคิดการ Upskill/Reskill ในปัจจุบันจะเป็นที่ตื่นตัวในประเทศไทย
กลุ่มตัวอย่างของปัญหาจากทีม HR ขององค์กรต่าง ๆ ที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับ MonsoonSIM Thailand และ Agency ด้านการอบรมที่ MonsoonSIM Thailand เป็นพันธมิตรด้วย มีหลากหลายปัญหาตามแต่ละกลุ่มวัย, ประสบการณ์, รูปแบบและขนาดขององค์กรที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ในตารางประกอบด้านล่างนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด ของกลุ่มวัยทำงาน |
เป้าหมาย และประโยชน์ |
เป้าหมายหลักคือ การใช้ประสบการณ์ใน MonsoonSIM เพื่อไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อการคิดแบบเป็นระบบ และเป็น Cross Functional รวมถึงการสร้างทักษะแบบนักประกอบการ (Entrepreneurship/Intrapreneurship) ที่มองทั้งภาพรวมและภาพลึก ซึ่งพบว่าเป็นทักษะการทำงานที่องค์กรส่วนใหญ่ต้องการ เป้าหมา่ยของการอบรมวัยทำงานอาจมีความละเอียดแตกต่างกันไปตามประสบการณ์การทำงานดังนี้
|
รูปแบบ/น้ำหนัก |
|
หลักการ |
สำหรับวัยทำงาน จะเน้นการใช้หลักการ PLYNC(พริ้ง); Play and Sync เพื่อต่อยอดการเรียนเพื่อรู้ และเกิดประสบการณ์ไปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ Workshop ที่ได้วางแผนไว้ อย่างไรก็ตามจะต้องเน้นกิจกรรมที่สร้างบรรยากาศและความสนุกสนานไปด้วย ซึ่ง Facilitator มีความจำเป็นจะต้องออกแบบกิจกรรม บรรยากาศให้สอดคล้องกัน |
MonsoonSIM เป็นเครื่องมือที่หากเข้าใจวิธีใช้งาน ก็จะทำให้พู่กันธรรมดาสร้างสรรค์ภาพวาดที่สวยงามได้ และเป็นเครื่องมือที่ใช้เวลาอันสั้นในการเรียนรู้เรื่องรวาจำนวนมากมาย จามแต่เวลา กิจกรรม ภูมิหลังของผู้เข้าร่วม Workshop ในช่วงวัยต่าง ๆ ผู้เขียนจึงได้ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เห็นว่า การปรับใช้ในแต่ละช่วงวัยนั้น มีวัตถุประสงค์ รูปแบบ น้ำหนัก วิธีการ ที่แตกต่างกันไป โดยจะใช้ระยะเวลา กระบวนการที่แตกต่างกันไป MonsoonSIM ประเทศไทยยินดีให้ความร่วมมือในการเป็นที่ปรึกษา และทดลองกับสถาบันการศึกษา และองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับคนไทย ได้มองรอบ มองลึก เก่งคน เก่งงาน เก่งวิชาการ เก่งการปฏิบัติ เก่งแก้ปัญหา คิดอาวุธทางปัญญาให้กับ "สังคมอุดมนักประกอบการ" ที่เป็นความฝันของผู้เขียนต่อไป