Thailand MonsoonSIM Content by P3Y Academy
MonsoonSIMTH
  • THAILAND MonsoonSIM
    • TH MonsoonSIM Product & Service >
      • MonsoonSIM Users/Customers ในประเทศไทย >
        • ความเห็นของนักศึกษาที่ได้ใช้ MonsoonSIM
    • ข่าวสาร TH MonsoonSIM
    • TH Monsooner Library >
      • V10 Learner Guide >
        • Newly User Guide
        • Finance Measurement BI & Analytics Guide >
          • MSIM x Data Analytics >
            • Download
        • Sales and Marketing Guide
        • Management Guide
      • ชุดความรู้จาก MonsoonSIM >
        • MSIM DAILY WORD with COSCI SWU >
          • MSIMTH COSCI SWU Dailyword
      • V9 MSIM QuickGuide >
        • V9 USER MANUAL & Content
    • TH Facilitator Library >
      • Facilitator Quick Guide V9
      • CT Manual and Tools V9
      • CT Clips Manual V9 >
        • Basic Game setup, Tools and Tips
  • SPECIAL ACTIVITIES
    • 2023 Trial Subscription Program
    • COMPETITION >
      • TH Business Data Analytics & Data Visualization
      • TH ERM LEAGUE >
        • TH ERM LEAGUE 2021 >
          • Candidate THERML 2021
        • TH ERM LEAGUE 2020 >
          • English Presentation Clip
          • MSIM TH LEAGUE 2020
        • TH ERM Challenge 2019 >
          • ผลงานรอบ English Presentation Clip
          • การโต้วาที ใน Semi-Final
        • TH ERM Challenge 2018 >
          • Judges of TH ERM Challenge 2018
          • ผลงานรอบ English Presentation
          • ผลงานรอบนำเสนอ SME CASE
          • FAQ About TH ERM Challenge 2018
          • Download
        • TH ERM Challenge ๒๐๑๗ >
          • คำปรารภจากใจผู้จัดการแข่งขัน
          • ผู้สนับสนุนการแข่งขัน
          • กรรมการรับเชิญของการแข่งขัน TH ERM Challenge ๒๐๑๗
        • TH ERM Challenge 2016 >
          • ประสบการณ์ของ TH Monsooner รุ่น 1
      • MERMC >
        • MERMC 2022
        • MERMC 2020
        • MERMC 2019
        • MERMC 2018
        • MERMC 2017 >
          • Competition Quick Information
          • Judges of MERPC
          • Update News about MERPC 2017
        • MERMC 2016
    • MonsoonSIM Freshman >
      • MSIM Freshman 2021
      • MSIM Freshman 2020
    • Donation Workshop >
      • Donation Workshop 2023
      • Donation Workshop 2021 >
        • Q4 2021 Donation Workshop
        • Q3 2021 Donation Workshop
        • Q2 2021 Donation Workshop
        • Q1 2021 Donation Workshop
      • Donation Workshop 2020 >
        • Q4 2020 Donation Workshop
        • Q3 2020 Donation Workshop
        • Q2 2020 Donation Workshop
        • Q1 2020 Donation Workshop
    • MSIM TH SEMINAR >
      • 2023 Education Transformation in Business Data Analytics
      • 2020 K-Practice
      • 2016 Series
      • 2017 Series >
        • Related Topic to Seminar Theme
        • Summay and Download
      • League of TH Education Transfornation >
        • Round Table for TH Education Transformation
        • Clip to Lecturer
    • MSIM CONFERENCE >
      • MSIM CONFERENCE 2019
      • MSIM CONFERENCE 2020
  • Sharing Index
    • BLOG
    • Article by MonsoonSIM TH
  • Contact us

MonsoonSIM เครื่องมือสร้างการเรียนรู้เชิงประจักษ์ในหลากกลุ่มวัย บนหลายความต้องการ

2/17/2023

0 Comments

 
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ผู้เขียนเขียนจากประสบการณ์ 9 ปีกับ MonsoonSIM ในประเทศไทย (และในต่างประเทศ) บทความนี้มีความประสงค์ให้เเกิดความเข้าใจการใช้เครื่องมือเดียวกัน ในน้ำหนักและบริบทที่แตกต่างกัน และไม่ยี่หระที่จะขอเปรียบเทียบประสบการณ์ทั้งร้ายดีในวงการศึกษาไทยกับสิ่งที่เห็นในประเทศเพื่อนบ้าน บนทุ่งลาเวนเดอร์แทรกดงหมามุ่ยของการศึกษาไทย ในรูปแบบบันทึกความทรงจำที่ส่งมอบแก่สังคมของผู้เขียน จึงใช้ภาษาสบายๆ และโวหารสไตล์ผู้เขียน ถ้าขัดใจผู้อ่านตั้งแต่วรรคนี้ ขอแนะนำให้ปิด blog นี้ทิ้งครับ
Picture
      ปีนี้ (2023) เป็นปีที่ 9 ที่ผมรู้จัก MonsoonSIM จากการไปเป็นล่ามแปล และผู้ช่วยสอนที่ไม่ได้วางแผนไว้แต่แรกใน Training หนึ่งที่รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย ผ่าน ERP Vendors เจ้าใหญ่เจ้าหนึ่งในประเทศไทย ด้วยความรู้งูๆ ปลา ๆ เกี่ยวกับธุรกิจ กับภาษาอังกฤษธุรกิจที่กระท่อนกระแท่น ที่หากแปลตามที่ facilitator พูดผู้ฟังจะยังทำหน้าสงสัย จึงหันไปแจ้งกับ facilitator ว่าไม่ต้องตกใจ หากการแปลจะยาวกว่าจำนวนประโยคที่คุณพูดออกมาในบางกรณี เพราะว่าจะต้องอธิบายบางเรื่องเพิ่มเติมลงไปให้ผู้ร่วมการอบรมแบบ Workshop ในวันนั้นเข้าใจมากขึ้น ในใจคิดว่ามาแปลใน Workshop ให้พี่สาวที่เป็นทั้งพี่และลูกค้าตามที่ขอให้มาช่วย เพราะว่าในขณะนั้นผมทำอาชีพอื่น ๆ อยู่  ท้ายสุดจากก็จับพลัดจับผลูพาตัวเองไป Train The Trainer ที่ประเทศสิงคโปร์ ด้วยเงินของตัวเอง ไม่ได้คิดอะไร คิดว่าไป Brushup ความรูัทางธุรกิจที่ตัวเองนั้นพร่อง ไม่เข้าใจในหลายเรื่องที่เป็นพื้นฐาน   
       เวลาที่ผมเห็นผู้เข้าร่วม Workshop ตั้งแต่ นักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน ไม่เข้าใจอะไรผมจึงเข้าใจ เพราะว่าตัวเองเคยยืนอยู่ในจุดนั้น และด้วยความที่เป็นคนหัวไม่ดี จึงพยายามหาวิะีที่ตัวเองจะเข้าใจให้มากขึ้น ง่ายขึ้น และถ่ายทอดด้วยภาษาง่าย ๆ จนในปีแรก ๆ นั้น ถูกอาจารย์หลายมหาวิทยาลัยส่ายหน้า บอกว่านี่มันไม่ใช่วิชาการ แต่เอาเป็นว่าผู้เข้าร่วมเข้าใจและมีประสบการณ์ที่ดีก็บรรลุเป้าหมาย ส่วนคนที่ส่ายหน้ากับผม กลายเป็นคนที่ผมมักส่ายหน้ากลับในความไม่เข้าใจ "ลูกค้า" ของตนเอง และพยายาม "ขายสินค้า" ที่ตัวเองอยากขาย ซึ่งการศึกษาแบบนี้ก็ผิดหลัก modern management ตั้งแต่แรกแล้ว 
       หลายปีผ่านไป ผมทั้งดีใจ ที่มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยยอมรับ และได้พบเจออาจารย์ที่เป็น "ครูมืออาชีพ" ที่มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดกับนักศึกษา แต่ความดีใจนั้น ก็ถูกลบด้วย ความเสียใจ หดหู่ใจ กับ "ครูโดยอาชีพ" และ "ระบบการศึกษา" ที่ผมเรียกว่า "ทุ่งลาเวนเดอร์แทรกดงหมามุ่ย" ที่มีความฝัน และมีความคันที่เป็นพิษ กลายเป็น "ทุ่งหมามุ่ยที่แทรกลาเวนเดอร์" ในความจริง (ปล. ลาเวนเดอร์ไม่ใช่ของพื้นถิ่น ประเทศไทยนิยมของนอก ลาเวนเดอร์เป็นนัยยะประหวัดแปลว่าความฝันในโลกสวย ส่วนหมามุ่ย อุปมาดั่งของจริงท้องถิ่น)  เอาเป็นว่าไม่พูดความขมขื่น และตัวอย่างประสบการณ์ที่ได้เจอมาในรอบ 8 ปี ที่เริ่มทำตลาดในประเทศไทย (ผมเริ่มนำ MonsoonSIM มาทำตลาดหลังจากรู้จักมันแล้วหนึ่งปีให้หลัง) มาเข้าประเด็นกันเลย!!

เครื่องมือเดียวกัน อยู่ในมือผู้ใช้งานที่ต่างกัน ย่อมมีวิธีใช้ และให้ผลต่างกัน
Picture
       ผมจำได้ว่า ผมมักใช้ตัวอย่างของพู่กันของ Vincent Vangoh กับภาพดอกทานตะวันเป็นตัวอย่างในปีแรก ๆ ผมจะขอให้ผู้ฟังเข้าใจว่า "พู่กัน" ในฐานะเครื่องมือในการวาดภาพนั้น หากคุณได้ "พู่กันของแวนโก๊ะของจริง" มาอยู่ในมือของคุณ คุณจะสามารถวาดภาพได้ดั่งที่แวนโก๊ะวาดได้หรือไม่  เพื่อให้ผู้เข้าร่วม Workshop ได้แสดงความคิดเห็นกัน ทุกคน (อย่างเป็นเอกฉันท์) บอกว่าไม่สามารถทำได้ แต่อาจจะได้ภาพในรูปแบบอื่น ๆ เพราะว่ามีความเชี่ยวชาญ หรือมีวิธีปฏิบัติต่อการใช้พู่กันเดียวกันแตกต่างกัน  ซึ่งผมไม่ได้ใช้ตัวอย่างนี้ในการอธิบาายเรื่องนี้มานานแล้วแต่มันเป็นข้อเท็จจริง เพราะเครื่องมือใด ๆ จะมีพลานุภาพเมื่ออยู่ในมือผู้ใช้งานเครื่องมือที่เข้าใจว่า จะใช้เครื่องมือนั้นไปสร้างสรรค์ผลลัพธ์อย่างใด (เป้าหมาย) รู้ว่าจะต้องใช้เครื่องมือแต่ละชนิดในกิจกรรมใด (วิธีการ) ซึ่งต้องใช้ความสามารถของผู้ใช้เครื่องมือประกอบกัน และรู้ว่าจะดัดแปลงเครื่องมือไปใช้อย่างใด (ทักษะ)  รวมถึงมีเครื่องมือที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรม (ทรัพยากร) ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่แนวความคิดใหม่ เพียงแต่มาจัดสรรวิธีการเล่าเรื่องเสียใหม่

พู่กันตั้งแต่เบอร์ 00 ถึงเบอร์ใหญ่สุด (น่าจะเป็น 24) ถูกใช้ในลักษณะงานที่แตกต่างกันไป และยังมีประเภทของปลายแหลม ปลายตัด เพื่อให้ใช้งานได้ในหลากหลายลักษณะ และบางกรณีอาจจะทำงานแทนกันได้บ้างผ่านการดัดแปลง  เช่น หากมีเฉพาะพู่กันเบอร์ใหญ่ และจะตั้องตัดเส้นที่มีขนาดเล็ก อาจมีการดัดแปลงตัดแต่งปลายขนของพู่กัน (ท่านเชื่อไหมว่า ในประเทศไทยบางคน จนถึงหลายตนไม่เข้าใจในประเด็นนี้ โดยเชื่อว่าจะต้องมีเครื่องมือเฉพาะทางจริงๆ คนที่ประยุกต์อะไรไม่เป็นเลยก็จะบอกปฏิเสธ; เล่าให้ฟังเฉย ๆ ไม่ได้สะท้อนว่าสิ่งนี้เป็นโศกนาฎกรรมในการศึกษาไทยที่เคยพบพานในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ไม่มีจริงจริ๊ง)  บางกรณีอาจจะทำงานแทนกันไม่ได้ เช่น จะเอาพู่กันเบอร์ 00 ไประบายภาพที่มีขนาดใหญ่ คงทำไม่ได้ 
       MonsoonSIM Business Simulation & Gamification ก็เป็น "เครื่องมือ" เฉกเช่นเดียวกับพู่กันของแวนโก๊ะ ที่มีหลายขนาด และรูปแบบให้เลือกทว่าผู้ใช้เองก็ต้องมีความเข้าใจในเครื่องมือ, จินตนาการ และความรู้ "ทางกว้างผสมทางลึก" และ MonsoonSIM ก็พบปัญหาจากทรรศนคติของผู้ที่ไม่เคยใช้เวลาทำความเข้าใจ มีและมี Fixed attitude (ซึ่งเป็น entry level ของ Mindset อีกที) มาลองดูกันว่่าตัวอย่างที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ที่ MonsoonSIM ถูกนำไปทดลอง และท้ายสุดเป็นการใช้งานจริงมีลักษณะอย่างใด และเราเรียนรู้อะไรบ้างจากความแตกต่างของระดับผู้ใช้ เป้าหมายและวิธีการที่แตกต่างกันไป (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ได้สะท้อนว่าวิธีคิดของคนไทยส่วนมากเป็น fixed attitude จริงจริ๊ง มีปัญหาเฉพาะในภาคการศึกษา และ HR ในประเทศสารขัณฑ์ที่ไม่มีอยู่จริงในโลกใบนี้)

Picture
ภาพแสดงความแตกต่างของวัตถุประสงค์ วิธีการ รูปแบบ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย โดยใช้เครื่องมือเดียวกัน คือ MonsoonSIM แต่ปรับเปลี่ยน จำนวนโมดูล ค่า configurations เพื่อสร้างสภานการณ์แที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับ การปรับเปลี่ยนรูปแบบ ขนาด วิธีการของ "พู่กัน" ให้เข้ากับลักษณะของภาพที่ต้องการ
 MonsoonSIM ในฐานะเครื่องมือกับช่วงวัยปฐมศึกษา และมัธยมศึกษา
(เรื่องที่อ่านประกอ
บ ทักษะแห่งการประกอบการ ทักษะที่ควรสร้างตั้งแต่เยาวรุ่น)
       กลุ่มนักเรียนประถมศึกษาเป็นกลุ่มที่มีความท้าทาย การทดลองเกิดขึ้นเมื่อราว 6 ปีก่อน (2018) ในประเทศอินโดนีเซีย บนสมมติฐานที่ว่านักเรียนประถมศึกษาจะสามารถเข้าใจแนวคิดทางธุรกิจได้หรือไม่ ซึ่งผลลัพธ์ปรากฎว่า นักเรียนประถมศึกษา Grade 4 (ประถมศึกษาปีที่ 4) สามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องกำไรขาดทุนได้ไม่ยาก และมีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่เด็ก ๆ พบเจอในชีวิตประจำวัน โดยในชั้นเรียนเน้นความสนุกสนาน โดยใช้การแข่งขัน ผ่าน "เกม" และเรียนรู้ไปในเวลาเดียวกัน (Gamification) ในน้ำหนักที่มากกว่าด้าน Simulation และไม่ได้เน้น "หลักวิชา" เป็นหลัก การทดลองในช่วง 6 ปีก่อน ทำให้การใช้เครื่องมือ ที่ดัดแปลง ปรับเแปลี่ยน ตัดแต่งให้เหมาะสม จะช่วยทำให้เครื่องมือนำไปสู่ประสบการณ์และความรู้ได้ดี โดยใช้หลัก Play คือ เล่นให้สนุก และสอดแทรกการเรียนรู้ Learn มาเป็นหลักที่สำคัญ คือ หลักเพลิน (PLEARN; PLAY + LEARN) ​
           MonsoonSIM เป็นเกมธุรกิจ จัดอยู่ในประเภทเกมเพื่อการเรียนรู้สำหรับช่วงวันประถมศึกษา ซึ่งความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เกมนี้ในการเรียนการสอนเป็นอุปสรรคของการทำ Education Transformation ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากเดิมในประเทศไทย (ผ่านมา 8 ปีแล้ว แนวคิดเรื่องเกมกับการเรียนรู้เปลี่ยนไปน้อยมาก จากผู้บริหาร Baby Boomer และ Gen X ที่ไม่ทันโลกของไทย)
หัวข้อ
รายละเอียด (นักเรียนชั้นประถมศึกษา) (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และอาชีวะศึกษา)
เป้าหมาย และประโยชน์
ประถมศึกษา
  • นำประสบการณ์และการเรียนรู้จาก MonsoonSIM ในฐานะ "้เกม" ช่วยให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพิ่มเติมมากขึ้น 
  • เปิดและเกิดประสบการณ์เพื่้อสร้างนักบริหาร นักวางแผน นักประกอบการ ตั้งแต่รุ่นเยาว์ สร้างแรงบันดาลใจ โดยฝังทักษะของการคิดที่เป็นระบบ ในเชิงตรรกะ เหตุและผล 
มัธยมศึกษา/อาชีวะศึกษา
  • สร้างความเข้าใจในสายอาชีพด้านธุรกิจ เพื่อให้ตนเองมีประสบกาณณ์และมีความเข้าใจในการเลือกเรียนต่อในระดับต่อไปอย่างเหมาะสม 
  • พัฒนาทักษะแห่งการประกอบการให้เป็นรูปธรรม โดยจะเป็นทักษะที่ติดตัวไปยังอนาคตไม่ว่าจะทำงานในสายวิชาใด ๆ ก็จะมองเห็นองคืรวมของผลประกอบการ ผลกระทบ เหตุและผล กำหนดวิะีการโดยอาศัยพื้นฐานจาก "เกม" ได้ 
​รูปแบบ/น้ำหนัก
ประถมศึกษา
  • ใช้รูปแบบ More Fun to Learn คือ เอาความสนุกจาก "เกม" นำ และเพิ่ม "การเรียนรู้" เพิ่มเติมเมื่อจบเกม โดยอาศัยการตั้งคำถาม หรือชวนให้สงสัย โดยอาศัยผลของเกมเป็นตัวนำความสนใจ ให้สะท้อนประสบการณ์ที่เห็นในชีวิตประจำวันมาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในเกม หรือในเกมออกสู่ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เชื่อมโนงความสนุกสู่ความรู้ โดยให้น้ำหนัก "ความสนุก" นำ หรือ มากกว่า "สาระการเรียนรู้"
​มัธยมศึกษา/อาชีวะศึกษา
  • ใช้รูปแบบของ More Fun to Learn นำในหนึ่งถึงสองครั้งแรก และเพิ่มรูปแบบของ More Learn with Fun คือ เรียนรู้แต่ต้องสนุกไปพร้อมกัน โดยในระดับที่โตขึ้น  facilitator ต้องคำถามเพิ่มการถามตอบเชิงเหตุและผล มากขึ้นเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น B (ผล) --> A (เหตุ) แล้ว C (If) จะเกิดผลลัพธ์เช่น B เหมือนกันหรือไม่ เป็นต้น เริ่มให้คิดเป็นกระบวนการบนความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เครียด และเน้นความสนุกไปด้วย 

ทั้งสองรูปแบบ ครูจะต้องเปลี่ยนสถานเป็น Facilitator และเพื่อนกับนักเรียนในวัยประถมศึกษานี้ หากครูไม่ได้เปลี่ยน "วิธีการ" ไม่ได้สร้าง "บรรยากาศ" ที่เหมาะสม จะเป็นเครื่องมือที่ดีอย่างไรก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ และหลีกเลี่ยงการตัดสินแบบผิดถูกขาวดำ แบบที่ชอบใช้กันในชั้นเรียนในประเทศไทย
หลักการ
  • นำเอาหลักการของ Game และ Gamification นั้น ตรงกับลักษณะนิสัยทั่วไปของคน โดยเฉพาะคนไทย ด้วยความต้องการที่อยากจะชนะเพื่อนร่วมเกม และชนะตัวเอง ให้ใช้หลักการนี้เป็นแรงจูงในในการเรียนรู้ผ่านเกม​
  • หลักเพลิน (PLEARN; PLAY + LEARN) เป็นหลักการที่เหมาะสมกับช่วงวัยนี้ อย่าสร้างให้การเรียนรู้ของเด็กน่าเบื่อ ไม่ท้าทาย และไม่ "เพลิน" และทำให้กลายเป็น "ตราบาป" ในการเรียนรู้
       ตัวอย่างที่น่าสนใจจากประเทศอินโดนีเซีย คือ การนำ Business Game ไปใช้ในกลุ่มโรงเรียนเอกชนในเครือ Penabur ซึ่งมีโรงเรียนในเครือกว่า 40 แห่งในประเทศอินโดนีเซีย และกำลังขยายไปยังกลุ่มโรงเรียนในเครือ Ciputra โดยเน้นการใช้ธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน (ซื้อมาขายไป; Trading) เป็นหลัก โดยเลือกใช้กับกลุ่ม Grade 5-6 เป็นสำคัญ และเติบโตในด้านความซับซ้อน โดยเพิ่มเงื่อนไขใน MonsoonSIM ผ่าน Configuration ย่อยในกลุ่ม Module 4-5 โมดูลแรก และพัฒนาเป็นการแข่งขันภายในโรงเรียนในสัปดาห์ส่งเสริมนักประกอบการ
        ในประเทศไทย ผู้เขียนเคยพยายามสร้างชั้นเรียนทดลองกับโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง โดยได้นำเสนอหลักการตัวอย่างของประเทศอินโดนีเซีย นำไปสู่การทดลองกับคุณครูในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์, สังคมศึกษา, การงานอาชีพและเทคโนโลยี แล้วได้รับบทสรุปว่า เป็นเกมที่ดี ทว่าเป็นเกมที่ยากเกินไปสำหรับเด็กไทย ด้วยปัญหาด้านภาษา (ซึ่งต่อให้มี interface ภาษาไทยใน MonsoonSIM กว่า90% ให้บริการ ณ วันทดลอง) และครูผู้สอนในหลายกลุ่มสาระรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถอธิบายให้นักเรียนของตนเข้าใจได้ ทำให้เกมนี้ไม่เหมาะกับเยาวชนไทยซึ่งตัดสินโดยกลุ่มคุณครู และทำให้โครงการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาเป็นอันจะต้องยุติไป 
         สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษานั้น ฮ่องกง เขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศจีน เป็นตัวอย่างของประเทศที่เน้นทำตลาดในระดับมัธยมศึกษา ผู้เขียนได้คุยกับผู้ทำตลาดในฮ่องกง ได้รับ feedback ว่า  Concept ทางธุรกิจและการจัดการพื้นฐานที่อยู่ใน MonsoonSIM สำหรับ Professor ในเขตปกครองที่มีพื้นฐานการศึกษาที่ดี เป็นเมืองแห่งศูนย์กลางธุรกิจ อุตสาหกรรม และโลจิสติกส์ระดับโลกมองว่า ไม่เพียงพอสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของเขา แต่จากประสบการณ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันนานาชาติ พอว่าในเชิงทฤษฎีฮ่องกงมีความก้าวหน้าอย่างมากแต่ฮ่องกง เมื่อพิจารณาจากการนำเสนอของทีมนักศึกษาฮ่องกงเห็นความแตกต่างชัดเจนกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ การประยุกต์ใช้นั้นนักศึกษาชาวอาเซียนทำได้ดีกว่าในภาพรวม (ความเห็นส่วนตัว) อย่างไรก็ตาม MonsoonSIM ในฮ่องกงจึงเปลี่ยนแนวทางไปเน้นที่กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาและได้รับการต้อนรับอย่างดีในกลุ่มมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แตกต่างกันไปในด้านทุนของระบบการศึกษา วิธีคิด และแนวทางการจัดการเรียนการสอน
          ผู้เขียนขอถอดบทเรียนจากทัศนคติส่วนตัว สำหรับนักเรียนกลุ่มประถมศึกษาพบว่าเยาวชนในเกณฑ์อายุเดียวกันของอินโดนีเซียได้รับโอกาสที่ดีกว่านักเรียนชาวไทย สะท้อนถึงวิธีการเรียนการสอนของเราที่เน้นแบบสอน (Teaching Based Learning) ไม่เน้นการทดลอง ไม่เน้นการแลกเปลี่ยน ไม่เน้นการใช้วิธีการที่หลากหลาย น่าจะเป็นอุปสรรคและปัญหาของการพัฒนาเยาวชนต่อไป แต่ภาคการศึกษากลับสื่อสารกับสังคมว่า ได้พยายามใช้วิธีการที่หลากหลายในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความพึงพอใจกับสังคม และผู้ปกครอง ในขณะที่กลับพวว่าเด็กและเยาวชนสมัยนี้เรียนในเรื่องที่มีความยากเกินกว่าวัย และเน้นการท่องจำ วัดผลด้วยการตอบคำถามทำข้อสอบในตัวชีวัดด้านวิชาการอย่างเดียว สำหรับกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาเนื่องจากยังไม่เคยมีการทดลองในประเทศไทย จึงยากที่จะสรุป ทว่าในระดับมัธยมศึกษาของไทยในกลุ่มโรงเรียนชั้นนำ ด้านการเปลี่ยนแปลง พบว่ามีการจัดสร้างห้องเรียนแนวผู้ประกอบการมากขึ้นจากหนึ่งห้อง และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กระจายกันออกไปในกลุ่มโรงเรียนที่มีความพร้อมของแนวคิดในการปฏิวัติการเรียนการสอน ซึ่งเป็นนิมิตรหมายที่ดีกว่า แดนสนธยาในระดับประถมศึกษา และอุดมศึกษา
         สำหรับโรงเรียนในกลุ่มมัธยมศึกษาในประเทศไทยที่มีความสนใจร่วมกันทดลอง ทักษะของนักประกอบการในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาที่จะให้ความร่วมมือ เพื่อทดลองและเกิดประโยชน์กับนักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนมีพื้นฐานด้านการประกอบการ โดยมีอาจารย์และผู้บริหารที่เปิดใจกว้างในการยอมรับวิธีการเรียนการสอน และร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกันกับ MonsoonSIM ก็สามารถติดต่อกลับมายัง MonsoonSIM ประเทศไทยได้ และอาจจะสร้างแต้มต่อด้วยการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจการเรียนในสาขาวิชาอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นก่อนที่จะต้องตัดสินใจในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
MonsoonSIM ในฐานะเครื่องมือกับช่วงวัยมหาวิทยาลัย
บทความที่เกี่ยวข้อง 
การใช้ Simulation รวมพลัง Gamification สร้างการเรียนการสอนในยุค Disruptive
        ในบรรดากลุ่มช่วงวัยทั้งหมด MonsoonSIM มีฐานของผู้ใช้งานในกลุ่มของนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดหากเทียบกับทุกกลุ่มช่วงวัย โดยจุดเริ่มต้นของ MonsoonSIM ในราวปี 2013 นั้น คือ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ให้ความเข้าใจเรื่อง ERP; Enterprise Resources Planning ก่อนที่ผู้ผลิตจะต่อยอดแนวคิดเพื่อให้ครอบคลุมการเรียนรู้ทางด้านธุรกิจและการจัดการ เรื่องของ Data Analytics ในภายหลังจนในปัจจุบันสามารถ (2023) มีแนวคิดครอบคลุมจำนวนมากในหลากหลายสาขาวิชา ผ่านการบูรณาการ 13 โมดูลทางธุรกิจที่เลือกเปิดใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายได้ในหลายความสนใจ และ MonsoonSIM เองก็ยังพัฒนาต่อเนื่องเฉลี่ยปีละหนึ่งเวอร์ชั่น ด้วยจำนวน concepts ที่ครอบคลุมมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่าน Facilitator จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้, ฮ่องกง, ออสเตรเลีย, สหรัฐอเมริกา ฯลฯ โดยเปิดรับความเห็นต่าง ๆ ในการพัฒนา รวมไปถึงร่วมมือในรูปแบบของงานวิจัยและ MOU กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ด้วย
        กลุ่มประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นของ MonsoonSIM คือ ประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย ตามด้วยสิงคโปร์, ฟิลิปปินส์และประเทศไทยในเวลาใกล้เคียงกัน  หลังจากผู้เขียนได้รับการ Train The Trainer (ซึ่งอาจารย์ผู้ประสงค์ใช้งานจะได้รับการอบรมนี้ bunddled ในการ subscription ครั้งแรก และสามารถขอความร่วมมือโดยช่วยออกค่าใช้จ่ายในครั้งต่อ ๆ ไปร่วมกันกับ MonsoonSIM ในประเทศไทย ได้ในความต้องการในการเพิ่มปริมาณ facilitator ในสถาบันการศึกษาในปีถัด ๆ ไป) ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปร่วมกิจกรรมการแข่งขันที่จัดเป็นครั้งแรกของ MonsoonSIM ในประเทศสิงคโปร์ในปี 2015 ที่  Singapore University of Social Sciences (ชื่อเดิมคือ SIM Global University) และได้มีโอกาสเดินทางไปยังชั้นเรียนในประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ก่อนที่จะตัดสินใจกลับมาเริ่มนำเอา MonsoonSIM มาทำตลาดในประเทศไทยในปี 2016 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ณ วันที่เขียนบทความ  
หัวข้อ
รายละเอียด ของกลุ่มวัยอุดมศึกษา​
เป้าหมาย และประโยชน์
​เป้าหมายสำคัญของการเรียนรู้ด้วย MonsoonSIM เพื่อที่จะให้เกิดประสบการณ์จากแบบจำลองสถานการณ์; Simulation เพราะว่าโอกาสที่จะมีประสบการณ์ทางตรงอย่างรอบด้านนั้น "จำกัด" "ไม่มีโอกาส" หรือ "ไม่เกิดประสบการณ์ตรงจากการฝึกงานและสหกิจที่เพียงพอ" และเพื่อให้ "ความรู้" ประกอบร่างเข้ากับ "ประสบการณ์" และเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงาน การคาดการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น และใช้ประสบการณ์ในการลองผิดลองถูกจาก Simulation GAME นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางอ้อมในความเข้าใจเรื่องการบูรณาการหลายศาสตร์ และหลายกระบวนการที่เชื่อมโยงกันในการทำงานจริงให้ทราบถึงผลกระทบที่มีต่อกัน
​รูปแบบ/น้ำหนัก
  • ​ใช้รูปแบบของ More on learn with fun เป็นรูปแบบหลัก ผสมผสานกับ More on PLYNC to fill the gap 
  • ใช้สัดส่วนน้ำหนักของ Gamification มากกว่า Simulation ในครั้งแรก  และเปลี่ยนสัดส่วนเป็น Gamification ใกล้เคียงกับ Simulation ในตอนกลาง และเพิ่มเป็น Simulation มากกว่า Gamification ในตอนท้าย
  • ใช้ประกอบกับการเรียนในชั้นเรียนวิชาปรกติ และเพิ่มแนวคิดได้จาก การส่งไม้ต่อไปยังวิชาต่อไป 
  • ใช้ Club Game สร้างกิจกรรมนอกเหนือเวลาเรียน โดยจูงใจด้วยคะแนน หรือแรงจูงใจอื่น ๆ 
  • ใช้กิจกรรมการแข่งขันภายในสถาบันการศึกษา หรือร่วมการแข่งขันในระดับประเทศ และนานาชาติตามลำดับ
  • กดที่นี่เพื่อตัวอย่าง มคอ.3 ในวิชาที่ร่างโดยใช้ MonsoonSIM พัฒนาเป็นวิชาเฉพาะ
หลักการ
สำหรับวัยอุดมศึกษานี้ จะใช้หลักการ PLERN (เพลิน); Play and Learn สำหรับประสบการณ์ในครั้งแรก ๆ  ผสมผสานกับหลักการ PLYNC(พริ้ง); Play and Sync เพื่อต่อยอดการเรียนเพื่อรู้ และเชื่อมโยงประสบการณ์ในเกมไปสู่การเชื่อมโยงกับความรู้เฉพาะเรื่องตามบทเรียน และความรู้ในเชิงบูรณาการที่้เกี่ยวข้องกัน
        จากการที่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์, เข้าประชุมในกิจกรรมประจำปี, มีประสบการณ์เห็นแผนการเรียนการสอนที่แต่ละประเทศนำเอา MonsoonSIM ไปใช้งาน ผู้เขียนได้มองเห็นประเด็นที่น่าสนใจ 
  • UTM; University of Tecnology Malaysia เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการผลิตบัณฑิตสายเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ คล้ายกับมหาวิทยาลัยกลุ่มเทคโนโลยีในประเทศไทย ที่ UTM นั้น นำร่องด้วยการใช้ MonsoonSIM ในคณะสาย IT ด้วยเหตุผลเริ่มต้นในการหาเครื่องมือมาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจระบบ ERP; Enterprise Resources Planning ในปีแรก ๆ หลังจากนั้น UTM ก็เบนเข็มความสนใจมาเพื่อสร้างเสริมความร้ความเข้าใจ และทักษะด้านธุรกิจและการบริหารจัดการที่เป็นจุดอ่อนของนักศึกษาสายเทคโนโลยี จนปัจจุบันมีการจัดการแข่งขันภายใน เปิดโอกาสให้นักศึกษาในหลากหลายสาขาวิชาด้านเทคโนโลยี เข้าร่วมการแข่งขัน และเน้นการสร้าง Entrepresneuship ควบคู่กับความรู้ด้าน Technology เป็น Technopreneurship  ในขณะที่ประเทศสารขัณฑ์ลูบหน้าปะจมูกด้วยการ ที่ขออนุญาตไม่อภิปราย UTM ทำซ้ำจนเกิดความเข้าใจ ส่วนไทยแลนด์นั้นทำเป็นงานอีเว้นท์เสมอ (บทความที่เกี่ยวข้อง: MonsoonSIM เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจ Business Processes พื้นฐานไปสู่ความเข้าใจ ERP)
  • Melbourn University หลังจากที่นำเอา MonsoonSIM ไปใช้ และพบว่ามีประโยชน์ในการสอนเรื่อง Data Analytics โดยทำให้เข้าใจที่มาของข้อมูลทางธุรกิจ จึงหันมาพัฒนาแนวคิดเรื่องการนำส่งข้อมูลออกแบบการดาวโหลด CSV และพัฒนาต่อไปเป็นการนำส่งข้อมูลผ่าน SQL Agent ร่วมกับ MonsoonSIM  จนเป็น Feature Data Analytics และ Live Access ใน version 9.0 เพื่อให้ประสบการณ์ด้าน Data Analytics เพิ่มเติม ซึ่งทำให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์ที่ชัดเจน เชื่อมโยงข้อมูลกับกิจกรรมทางธุรกิจ และตัวชี้วัดได้ ปัจจุบัน MonsoonSIM Thailand ได้ร่วมกับ MonsoonSIM พัฒนาขนิดและความหลากหลายของข้อมูลเพื่อส่งเสริมให้มีการเรียนการสอน Data Analytics และสร้างทักษะด้าน Data ให้เป็นทักษะพื้นฐานของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกของ MonsoonSIM ในประเทศไทย 
  • Deakin University   นำเอา MonsoonSIM ไปใช้ในสาขาวิชาด้านบัญชี เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานทางบัญชี และเป็นเครื่องมือเสริมในการทำความเข้าใจ ธุรกิจที่บัญชีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และในปัจจุบันมีวิชาที่ใช้ MonsoonSIM ร่วมกับ Simulation อื่น ๆ เกินกว่า 65% ของเวลา ผ่านกิจกรรมรายวิชาที่ออกแบบมาเพื่อการเพิ่มประสบการณ์ให้กับนักศึกษา และ Deakin University ยังร่วมพัฒนาด้านการให้คำแนะนำ และพัฒนาร่วมกันในโมดูลด้าบัญชีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี แนวคิดเรื่องภาษี แนวคิดเรื่อง Integrated Report ฯลฯ ในขณะที่ประเทศไทย สาขาวิชาบัญชีส่วนมากปฏิเสธการใช้งาน โดยให้เหตุผลว่าไม่ใช่โปรแกรมเฉพาะทางที่ส่งเสริมการเรียนการสอนบัญชี ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายใน mindset ของอาจารย์ผู้สอนและผู้บริหารสาขาวิชาบัญชีในประเทศไทยที่ขัดกับแนวโน้มด้านบัญชีอัตโนมัติ และ software จำนวนมากมายในโลกธุรกิจที่ไม่ใช่ Typical Accounting อีกแล้ว ทั้ง ๆ ที่หลังจากมีการรับรองว่า MonsoonSIM เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนด้านบัญชีที่ดีโดย AAA; American Accounting Association จนทำให้มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ในสาขาวิชาบัญชี นำ MonsoonSIM ไปใช้เพื่อสร้างประสบการณ์พื้นฐานให้นักศึกษา เช่น Pennsylvania State University และ Michigan State University เป็นต้น (บทความที่เกี่ยวข้อง: การใช้ MonsoonSIM ในการสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาด้านบัญชี และ MonsoonSIM เครื่องมือที่ผสมผสานการเรียนบัญชีกับมุมมองทางธุรกิจ สร้างวิธีเรียนบัญชีรูปแบบใหม่)
  • ตัวอย่างที่ควรจะเกิดขึ้นในสายวิชาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ทว่าไม่มีความต่อเนื่อง ซึ่ง MonsoonSIM เป็น Logistics Supply Chain ที่มีตัวแปรให้ทำความเข้าใจได้กว้างขวาง และหลากหลายที่ร่วมกันสร้างประสบการณ์ด้าน Logistics ที่หลากหลาย รวมไปถึงความสั้นยาวในกระบวนการภายใน Value Chain  และกระบวนการภายนอก SupplyChain ได้เป็นอย่างนี้ น่าเสียดายที่ประเทศไทย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์กลับใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนด้านนี้น้อยเกินไป และยังไม่มีความพร้อมในการเป็นมหาวิทยาลัยของไทยที่จะร่วมพัฒนา Feature ที่เกี่ยวข้องกับ MonsoonSIM เช่นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในต่างประเทศ ( update ณ กุมภาพันธ์ 2566) (บทความที่เกี่ยวข้อง: MonsoonSIM Business Simulation เครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนในสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน)
  • มีบทความและงานวิจัยจำนวนหลายเรื่องที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ทำ โดยใช้ MonsoonSIM เป็นเครื่องมือในการทำวิจัยด้านการศึกษา ซึ่งท่านสามารถที่จะดูรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น 
    • ​Designing Hybrid and Online Capstone Experiences for Accounting Students. Published in the Australasian Society for Computers in Learning in Tertiary Education; By Christine Contessotto, Edwin KiaYang Lim, Harsh Suri, Deakin University
    • Business Analytics, MonsoonSIM. A book written by Dr. Violeta Cvetkoska, an Associate Professor of the courses Operational Research, and Fundamentals of Business Analytics, and Head of the EUi at Ss. Cyril and Methodius University in Skopje, Faculty of Economics – Skopje.
    • Using Experiential Learning Theory to Improve Teaching and Learning in Higher Education. Published in the European Journal of Social Sciences Education and Research; By Dr Leong and Dr Ma, SUSS; Singapore University of Social Sciences
    • Factors Influencing Use of MonsoonSIM Business Simulation by UTM Undergraduate Students
      International Journal of Learning and Development; By Shafudin Mohd Yatim, Chin Fei Goh, Raihanatul Zahirah Mohamad
    • Business Simulation, Student Competency, And Learning Outcomes
      Authors : Christiana F. Dharmastuti, Syarief Darmoyo, R. A. Gunawan, M. N. Duka, University Atma Jaya
    • Impact of MonsoonSIM on UTM Students
      Authors : Dr. Mohamad Shah Kassim, En. Shafudin Mohd Yatim, Dr. Zulkifli Khair, Universiti Teknologi Malaysia
    • Radical and disruptive innovation in higher education
      Authors : Dr. Mohamad Shah Kassim, En. Shafudin Mohd Yatim, Dr. Zulkifli Khair, Universiti Teknologi Malaysia
    • 21st Century Skills Development Through Business Simulation Games
      Authors : Ziehanie Shafiai, Politeknik Ungku Omar, Malaysia
         
    ความน่าสนใจหากจะมีการเปรียบเทียบจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนพบว่า ในประเทศไทยความสนใจในการสร้างพื้นฐาน และประสบการณ์ให้กับนักศึกษาถูกให้ความสำคัญทว่าไม่เน้นการสร้างให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ การศึกษาในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับระดับความซับซ้อน และระดับความยากของเนื้อหาในหลักสูตร แบบที่ชอบเรียกกันว่า "กลยุทธ์" ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นความซับซ้อนและความยากเหล่านั้นอยู่ในรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อการท่องจำ ความสามารถในการพลิกแพลง เลือกใช้ทฤษฎีอาจไม่ตรงกับปัญหาเท่าใดนัก และมีรูปแบบของการแก้ปัญหาจากการทำซ้ำตัวอย่างที่ศึกษามา หรือได้รับฟังมาจากสื่อต่าง ๆ เท่านั้น ในขณะที่ต่างประเทศเน้นการสร้างพื้นฐานที่ใช้งานได้ แล้วจึงพัฒนาในเชิงกลยุทธ์ สถาบันการศึกษาในเมืองนอกมีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน และการใช้เครื่องมืออย่าง MonsoonSIM ในลักษณะพื้นฐาน ในขณะที่ประเทศไทยมีความต้องการเชิงลึก  ซึ่งความเห็นนี้เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น 
       กลับมาพิจารณาถึงการใช้ MonsoonSIM ในประเทศไทยมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป บางมหาวิทยาลัยสามารถเพิ่มจำนวนการใช้ และใช้กับระดับการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้ง ปริญญาโท ปริญญาโท และปริญญาเอก บางมหาวิทยาลัยมีการจัดการแข่งขันและกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเนื่องมาหลายปี บางมหาวิทยาลัยต้องสิ้นสุดการใช้งานเนื่องจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบเกษียณอายุ และอาจารย์รุ่นใหม่ไม่ประสงค์ที่จะรับหน้าที่ต่อไป ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเช่น ภาควิชาที่เปิดสอน และพัฒนาบัณฑิตด้าน ERP เป็นต้น บางมหาวิทลัยติดปัญหาในเรื่องงบประมาณ ที่ไม่ได้สูงเลยหากเทียบกับรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ ของคณะและอาจารย์ ที่ลงทุนไปโดยมิได้ประโยชน์กลับมาที่นักศึกษา เป็นต้น บางมหาวิทยาลัยมีการ Subscription แต่ไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากเป็นนโยบายจากผู้บริหาร เมื่ออบรม Train The Trainer จบลงไม่มีการใช้งานในการเรียนการสอน เพราะว่าไม่มีผู้รับผิดชอบ และไม่มีอาจารย์ใด ๆ ในสังคมการศึกษาจะอยากรับภาระเพิ่มเติมจากงานสอนเดิมที่มี และมีความพยายามน้อยลงไปทุกที เหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การเข้าใจถึง Interdisciplinary ยังน้อยไปในประเทศไทย การพยายามสร้างทักษะที่จำเป็นมีน้อยในทางปฏิบัติ และสิ่งนี้จะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต และมองเห็นได้จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนใช้เครืองมือเดียวกันในภาคการอบรมในหัวข้อต่อไป
         สำหรับ MonsoonSIM Thailand ยังคงให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสมาชิก ที่มุ่งมั่นพัฒนานักศึกษา โดยให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร้องขอ หรือร่วมกันพัฒนาโดยเสมอมา สำหรับการบริการในเชิงวิชาการนั้น ปัจจุบันไม่ได้ทำกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีการสานต่อ หรือไม่มีความพยายามที่จะนำ MonsoonSIM ไปใช้งานตามปณิธานของการนำเอา MonsoonSIM เข้ามาในประเทศไทยของผู้เขียน มีหลายคณะสาขาวิชาขอรับความร่วมมือเพื่อบรรลุตัวชี้วัดของตนเป็นครั้งคราว และไม่ได้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งในการพัฒนานักศึกษา และด้านเศรษฐศาสตร์
MonsoonSIM ในฐานะเครื่องมือกับช่วงวัยทำงาน
บทความอ่านประกอบเกี่ยวกับช่วงวัยทำงาน
     1) Decoding MonsoonSIM Corporate Training Survey 
     2) Competency Assessment using MonsoonSIM as Tools
     3) 
6 เหตุผลจาก Jack Welch อดีต CEO ของ GE; General Electric ที่บอกว่า MonsoonSIM เป็นเครื่องมือที่ดี ในการให้การอบรมในองค์กร
     4) MonsoonSIM Simulation Based Training การพัฒนาบุคลากรให้เก่งคน เก่งงาน และคิดแบบผู้ประกอบการ
     5) ให้ MonsoonSIM Business Team Building เป็นทางเลือกสำหรับการสร้างทีมธุรกิจให้องค์กรของคุณ

     MonsoonSIM ประเทศไทยได้ทดลองนำเอา MonsoonSIM ไปใช้ในการให้การอบรมกับบุคลากรในบริษัทต่าง ๆ โดยในปี 2016 นั้น มีจุดประสงค์เพื่อตอบแทนที่ภาคเอกชนร่วมเป็นผู้สนับสนุนการเดินทางไปแข่งขันของนักศึกษาไทย ณ ประเทศสิงคโปร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการอบรมที่ใช้ MonsoonSIM กับกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นยุคก่อนที่แนวคิดการ Upskill/Reskill ในปัจจุบันจะเป็นที่ตื่นตัวในประเทศไทย 
         กลุ่มตัวอย่างของปัญหาจากทีม HR ขององค์กรต่าง ๆ ที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับ MonsoonSIM Thailand และ Agency ด้านการอบรมที่ MonsoonSIM Thailand เป็นพันธมิตรด้วย มีหลากหลายปัญหาตามแต่ละกลุ่มวัย, ประสบการณ์, รูปแบบและขนาดขององค์กรที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ในตารางประกอบด้านล่างนี้ 
​หัวข้อ
​รายละเอียด ของกลุ่มวัยทำงาน
เป้าหมาย และประโยชน์
เป้าหมายหลักคือ การใช้ประสบการณ์ใน MonsoonSIM เพื่อไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อการคิดแบบเป็นระบบ และเป็น Cross Functional รวมถึงการสร้างทักษะแบบนักประกอบการ (Entrepreneurship/Intrapreneurship) ที่มองทั้งภาพรวมและภาพลึก ซึ่งพบว่าเป็นทักษะการทำงานที่องค์กรส่วนใหญ่ต้องการ
เป้าหมา่ยของการอบรมวัยทำงานอาจมีความละเอียดแตกต่างกันไปตามประสบการณ์การทำงานดังนี้ 
  • กลุ่ม First Jobber และกลุ่ม Operation มีจุดประสงค์เพื่อใช้ประกอบ OJT; On the Job Training เพื่อให้เข้าใจกระบวนการธุรกิจที่เป็นมาตรฐาน และเกิดความเข้าใจ และมีความมั่นใจมากขึ้นในการทำงาน เนื่องจากขาดประสบการณ์ทำงาน และในรั้วมหาวิทยาลัยก็ไม่เคยมีประสบการณ์ในการ Collaborate สิ่งที่เรียนกับการทำงานจริง​ และการฝึกงาน และสหกิจในประเทศไทยไม่ได้เติมเต็มช่องว่างนี้ให้กับบัณฑิตจบใหม่ 
  • กลุ่ม First-Time Manager, ผู้บริการส่วนงาน และผู้บริหารระดับกลาง มีเป้าหมายเพื่อให้รู้รอบ รู้ผลกระทบระหว่างงานในกระบวนการทางธุรกิจที่สิบเนื่องกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ Cross Functional ในงาน และเข้าใจการมีสว่นได้ส่วนเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่บรรลุและไม่บรรลุตัวชี้วัด และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาในแต่ละงานเพื่อให้สามารถแก้ไข และกระกระทบที่จะมีไปยังกระบวนการต่อไป และสืบเนื่องต่อปัญหาในภาพรวมของบริษัท ซึ่งปัญหาการทำงานเฉพาะด้านในงานใด ๆ ที่เรียกว่า Silo Cultural เป็นปัญหาทั่วไปที่พบได้ทั่วไปในองค์กรในประเทศไทย การลดผลกระทบนี้นั้นจะช่วยให้กลุ่ม First Time Manager ผู้บริการส่วนงาน และผู้บริหารระดับกลางได้มองเห็นแล้วเข้าใจ "องค์ประกอบในภาพรวม" และมีประสบการณ์ที่นอกเหนือจากงานของตนผ่าน Simulation เพื่อไป SYNC กับประสบการณ์ และปัญหาในงานที่บริหารอยู่ เป็นการสร้างนักบริหารและนักจัดการปัญหาที่เป็นรูปธรรมให้กับองค์กร
  • กลุ่ม Management Trainee, กลุ่ม Talent ที่สร้างเพื่อรองรับการเติบโต หรือรองรับการเกษียณขององค์กร กลุ่มผู้บริหารระดับกลางที่จะเป็นทีมอนาคตขององค์กรต่อไป จะมีปัญหาหลัก ๆ คือ การคิดในกรอบวิธีเดิม ๆ เพราะว่าเข้าใจสิ่งแวดล้อมและมีความสัมพันธ์หลายระดับกับบุคลากรในองค์กร ซึ่งการจะปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) จะต้องอาศัยความเข้าใจ และทักษะหลายด้าน อาทิ กระบวนการและการปรับปรุงกระกวนการภายใน, แนวคิดเรื่อง Intrapreneurship หรือนักประกอบการภายในองค์กร ที่จะคิดแบบผู้ประกอบการ หรือ จะ split ไปสร้าง Business Unit ใหม่ด้วยสินค้าและบริการใหม่ด้านนวัตกรรม 
  • กลุ่มผู้บริหารระดับสูง มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการองค์กรอย่างดีเยียมย  MonsoonSIM จึงถูกใช้เพื่อจุดประสงค์หลักในการสร้างสถานการณ์ให้ทีมของผู้บริหาร (Business Team Building) และใช้ในการเป็นเครื่องมือในการฝึกฝน กระบวนการ Coaching และ Mentoring ของผู้บริหารระดับสูงในองค์กร และยังได้ประโยชน์ในการเข้าใจศักยภาพของบุคลากรในทีมของตนเอง เพื่อการพัฒนาทีมเพื่อองค์กรที่พัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
  • กลุ่มบุคลากรที่ทำงานด้าน Business Data Analytics
​​รูปแบบ/น้ำหนัก
  • น้ำหนักในการใช้งาน เน้นที่ด้าน  Simulation ในน้ำหนักที่มากกว่า Gamification โดยจำลองสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนในกระบวนการ และมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป
  • ใช้ในรูปแบบของ Workshop เพื่อการ Reskill/Upskill เพื่อประโยชน์ในการปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ ในระยะเวลา 1-2 วันเบื้องต้น และบูรณาการร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ เช่น MonsoonSIM TH Project Management Canvas เพื่อช่วยให้ความเข้าใจเรื่องการจัดการโครงการ, MonsooonSIM TH Poly Canvae ที่ผสมเอา BMC + Lean Canvas เข้าด้วยกัน ในการทำ Business Healt Check หรือสร้าง Business Model แบบใหม่ในสาย Lean Startup, MonsoonSIM TH Triangle of Management สำหรับ Vision & Mission Setting ที่มีแผนและกระบวนการ รวมไปถึงผสานงานกับหลักวชิชาอื่น ๆ โดยเฉพาะที่ผ่านการออกแบบร่วมกันกับ Facilitator ของ MonsoonSIM Thaialnd เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นหลักสูตรที่มีความยาวเพิ่มขึ้นอีก 1-2 วัน 
  • ใช้ MonsoonSIM ในการพัฒนาโครงการ Data Analytics และ Dashboard ของโครงการ ซึ่งควบรวมกับ Data Visulization ผ่าน Platform ต่าง ๆ (เพิ่มอีก 1-2 วัน) หรือ สร้างความเข้าใจในระบบ ERP ก่อนที่จะเริ่มลงทุนใช้ระบบ ERP เป็นต้น 
  • ใช้เป็นเครื่องมือในการทำ Competency Assessment เพื่อวัดระดับศักยภาพด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการขั้นพื้นฐาน ให้เกิดความเข้าใจในตัวบุคลากร และวางผแนในการพัฒนาที่เป็นระบบ ลดความซ้ำซ้อน และเกิดผลเป็นรูปธรรม 
  • ใช้เป็นเครื่องมือในการทำ Business Teambuilding แทนการทำกิจกรรมในลักษณะอื่น ๆ ที่อาจไม่ส่งผลด้านธุรกิจที่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ผ่านความสนุก และสร้างการทำงานร่วมกันในภาษาด้านธุรกิจ (กิจกรรมนี้ เน้น Gamification มากกว่า Simulation)
​หลักการ
สำหรับวัยทำงาน จะเน้นการใช้หลักการ PLYNC(พริ้ง); Play and Sync เพื่อต่อยอดการเรียนเพื่อรู้ และเกิดประสบการณ์ไปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ Workshop ที่ได้วางแผนไว้ อย่างไรก็ตามจะต้องเน้นกิจกรรมที่สร้างบรรยากาศและความสนุกสนานไปด้วย ซึ่ง Facilitator มีความจำเป็นจะต้องออกแบบกิจกรรม บรรยากาศให้สอดคล้องกัน 
         MonsoonSIM เป็นเครื่องมือที่หากเข้าใจวิธีใช้งาน ก็จะทำให้พู่กันธรรมดาสร้างสรรค์ภาพวาดที่สวยงามได้ และเป็นเครื่องมือที่ใช้เวลาอันสั้นในการเรียนรู้เรื่องรวาจำนวนมากมาย จามแต่เวลา กิจกรรม ภูมิหลังของผู้เข้าร่วม Workshop ในช่วงวัยต่าง ๆ ผู้เขียนจึงได้ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เห็นว่า การปรับใช้ในแต่ละช่วงวัยนั้น มีวัตถุประสงค์ รูปแบบ น้ำหนัก วิธีการ ที่แตกต่างกันไป โดยจะใช้ระยะเวลา กระบวนการที่แตกต่างกันไป  MonsoonSIM ประเทศไทยยินดีให้ความร่วมมือในการเป็นที่ปรึกษา และทดลองกับสถาบันการศึกษา และองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับคนไทย ได้มองรอบ มองลึก เก่งคน เก่งงาน เก่งวิชาการ เก่งการปฏิบัติ เก่งแก้ปัญหา คิดอาวุธทางปัญญาให้กับ "สังคมอุดมนักประกอบการ" ที่เป็นความฝันของผู้เขียนต่อไป 
0 Comments

Competency Assessment using MonsoonSIM as Tools

10/20/2022

5 Comments

 
การใช้ MonsoonSIM Business Simulation  เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินศักยภาพ และทัศนคติในการทำงานของบุคลากรในฐานะ “ทุน/ทรัพยากร” อันมีความสำคัญยิ่งขององค์กรเพื่อนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อองค์กรที่มีความสามารถในการแข่งขัน

โดย ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง, MonsoonSIM Facilitator of P3Y MonsoonSIM Thailand
, paramintara@zonixservices.com
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการใช้ MonsoonSIM Business Simulation  เป็นเครื่องมือในการประเมินศักยภาพของบุคลากร และร่วมกับกระบวนการประเมินอื่น ๆ เพื่อความเข้าใจที่ลึกขึ้น และเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาบุคลากรเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างองค์กรที่เข้มแข็ง ในด้านพื้นฐานความรู้และทักษะทางธุรกิจ การบริหารจัดการเพื่อสร้างความเติบโตทางธุรกิจ ณ บริบทของเดือนกันยายน 2565 โดยใช้การรวบรวมจากการเก็บสถิติเกี่ยวกับสมรรถนะความรู้และทักษะพื้นฐานในช่วงการระบาดของโควิด-19 ร่วมกับการเก็บสถิติ และประสบการณ์จากการร่วมทำ Competency Assessment ในช่วงมิถุนายน - กันยายน 2565 โดยมีขอบเขตสำหรับองค์กรที่มีการบริหารงานแบบของไทยและไม่ใช่บริษัทข้ามชาติ บทความนี้เป็นบทความอันดับที่สอง ในชุดบทความการใช้ Business Simulation ในภาคองค์กร (สามารอ่านบทความแรกเรื่อง Decoding MonsoonSIM in Corporate Training Surbey)

ผู้เขียนพยายามไม่ใช้คำว่า "สมรรถนะ" ในช่วงเริ่มต้น เพราะว่าโดยส่วนตัวไม่ชอบคำนี้ ผู้เขียนใช้คำว่า "ศัยกภาพ" ในความเหมายเดียวกัน บทความมีการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษตลอดบทความ เนื่องจากสื่อความหมายได้ตรงกว่าคำแปลในภาษาไทย  ซึ่งอาจจะขัดใจหลายท่าน และขออภัยมาณ ทีนี้ด้วย

บทความมีความยาว 35 หน้า เป็นการถอดประสบการณ์ของผู้เขียน ท่านที่สนใจสามารถดาวโหลดไฟล์ด้านล่างนี้ 
ขออภัยในความผิดพลาดในเชิงภาษา ต่าง ๆ และอาจเกิดความไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากใช้เวลาว่างในการเขียนบทความนี้
ความทันสมัยของบทความครอบคลุมในช่วงตุลาคม 2022 หากท่านได้อ่านบทความนี้ในอนาคต อาจเป็นความล้าสมัย ซึ่งแปลว่าสังคมไทยได้พัฒนาไปจากจุดที่บทความระบุไว้ แต่หากยังมีความร่วมสมัยในอนาคต แปลว่าเราอาจไม่ได้พัฒนาให้เท่ากับอัตราเร่งของโลก

competency_assessment_with_monsoonsim_simulation.pdf
File Size: 2590 kb
File Type: pdf
Download File

5 Comments

Decode ถอดบทเรียนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาวิธีการเรียนการสอน จาก KU Integrative Project 2022

6/23/2022

3 Comments

 
ku_integrative_2022_decode_by_p3y.pdf
File Size: 2908 kb
File Type: pdf
Download File

คำนำ
​(โปรดดาวโหลดบทความเต็มได้ที่ Link ด้านบน) 
    บทความนี้ไม่ใชบทความวิชาการ เพียงการถอดบทเรียนจากความตั้งใจที่จะหากิจกรรมที่เชื่อมโยงไปจากประสบการณ์พื้นฐานที่ได้รับจาก MonsoonSIM ของนิสิตนักศึกษา โดยนำเอา Canvas ที่ใช้ในการทำความเข้าใจ Business Model ได้แก่ BMC และ LEAN มาเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้โดยการประสานประสบการณ์ (Co-Experiences Leaning;ผู้เขียน) โดยมีการจัดกิจกรรมประกอบในโครงการ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกของ MonsoonSIM ในประเทศไทยแห่งหนึ่ง ซึ่งเห็นตรงกับกับอาจารย์ Facilitator ว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมา ที่ประเทศไทยเข้าสู่กระแสของ Startup Business เพื่อสร้าง New S Curve ให้กับประเทศนั้น การสร้างแผนธุรกิจมักเกิดจากแนวคิดที่ไม่ได้ใช้ข้อมูลจริง หรือไม่มีผลต่อการศึกษาตามเป้าหมายที่วางไว้ และแนวคิดเหล่านั้นมีปัญหาที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง ในการเขียนแผนธุรกิจของนิสิตนักศึกษามักสอนในชั้นเรียน หรือในกิจกรรม Startup ต่าง ๆ นั้น พบว่าแนวคิดไม่มีความเข้าใจทางธุรกิจและการจัดการรองรับแนวคิดเหล่านั้นที่เพียงพอ จึงเป็นสมมติฐานในการนำเอาพื้นฐานความรู้จาก Simulation มาลองผสานกับการเขียนแผนธุรกิจ หรือศึกษาแผนธุรกิจเพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษา ซึ่งผู้เขียนได้ทดลองแนวคิดนี้ใน Workshop สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นนักวิจัย และผู้ประกอบการแล้วได้ผลที่ดี ทว่าสิ่งที่นักศึกษาทั่วไปจะแตกต่างจากผู้ใหญ่ คือ ประสบการณ์ในการเข้าใจธุรกิจ, การตีความข้อมูล, Soft Skills ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการสร้างแผนธุรกิจ/แผนการตลาด ทว่าเป็นการเริ่มต้นให้เห็นว่าการประสานประสบการณ์เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และทำให้เกิดแผนที่สะท้อนความจริง และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการก็ได้รับประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง 
    ในกิจกรรมนี้ผู้เขียนได้เชิญชวนหน่วยงานด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกมาร่วม เพื่อนำงานวิจัยที่มีร่วมมือกับผู้ประกอบการมาใช้เป็นกรณีศึกษาในการเขียนแผนธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสำคัญหนึ่งคือ แผนธุรกิจเกิดจากแนวคิดในการสร้างผลิตภัณฑ์ ซึ่งลดปัญหาการพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปส่วนหนึ่ง และเป้าหมายที่มีความสำคัญ คือ โอกาสที่จะให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะที่การศึกษาในระบบให้ไม่ได้  และประสบการณ์ในการทำงานที่ผลงานการศึกษาของเขาถูกนำไปพิจารณาเพื่อสร้างเป็นธุรกิจจริง และโอกาสที่จะได้ข้อมูลจากนักวิจัย และผู้ประกอบการ เป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในห้องเรียนปรกติ 
บทความนี้เขียนถอดประสบการณ์ในฐานะผู้เล่าเรื่อง ซึ่งภาษาอาจไม่ใช่ภาษาที่สละสลวย เป็นภาษาเขียนที่งดงาม หวังว่าจะเป็นประสบการณ์ที่นำไปเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนในความฝันเรื่อง LTT; Learning and Teaching Transformation ซึ่งเป็นชั้นแรกที่ทรงพลานุภาพใน Education Reformation  (การปฏิวัติการศึกษาที่การปฏิรูปไม่เพียงพอ) ท้ายสุดนี้ ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมทุกคนที่เป็นแหล่งประสบการณ์ ได้แก่ อาจารย์ ดร.เอกอนงค์ ตั้งฤกษ์วราสกุล กำลังสำคัญของโครงการนี้, นิสิตทุกคน ที่มาร่วมโครงการที่ไม่มีเกรด ไม่เป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียน ไม่ใช่การแข่งขัน ไม่มีเงินรางวัล มีเพียงอาหารว่าง อาหารเที่ยง เครื่องดื่ม (ตามอัตภาพของโครงการ) ขอบคุณที่น้อง ๆ ไม่ทิ้งกัน และสู้จนจบ, คุณสิทธิศักดิ์ ห่านนิมิตรกุลชัย เพื่อนที่ฟังแนวคิดแล้วไปประสานงานต่อจนเป็นโครงการนี้ และกรรมการทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือ และสะท้อนความเห็นตรงไปตรงมากับนักศึกษา อาจารย์ และโครงการ ความเห็นในบทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวในฐานะผู้จัดทำโครงการ, ผู้ประสานงาน  Mentor ของนิสิต และผู้ร่วมสมทบทุนในโครงการนี้

​
3 Comments

ทักษะแห่งการประกอบการ ทักษะที่ควรสร้างตั้งแต่เยาวรุ่น

4/5/2022

2 Comments

 
Picture
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ใช่บทความวิชาการ  ที่มาของบทความนี้ เกิดจากการดูรายการหนึ่งในโทรทัศน์และเห็นถึงมูลนิธิหนึ่งเพื่อการศึกษาและผู้เขียนกำลังเขียนอีกบทความหนึ่งเรื่อง อย่าให้การศึกษาไทยเป็นยาคุมกำเนิดของสังคมนักประกอบการในไทย และเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องจึงเขียนแยกเป็นอีกบทความเพื่อประกอบกัน ทั้งนี้ได้ขอข้อมูลจากเครือข่ายของ MonsoonSIM ในประเทศอินโดนีเซียมาเเพื่อให้เห็นว่า การส่งเสริมการศึกษาเรื่องการประกอบการของประเทศไทยต่างจากอินโดนีเซียเพื่อนบ้านอย่างไร
ทักษะแห่งการประกอบการ ทักษะที่ควรสร้างตั้งแต่เยาวรุ่น กรณีศึกษาจากประเทศอินโดนีเซียเพื่อการพัฒนาการศึกษาในประเทศไทย
     ผู้เขียนเคยได้ยินการปัญหาในการศึกษาของไทย สัมผัส และได้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินการศึกษาของไทยมามากในรอบหลายปี และเห็นว่า "ปัญหามีอยู่จริง" ในหลายบริบท รวมไปถึงเห็นการสาละวนกับการพยายามหา "แพะ" มากกว่า "หาเหตุ" เพื่อแก้ไข และในรอบหลายปีนี้ก็เข้าไปพัวพันกับการศึกษา และได้ทดลองสมมติฐานหลายเรื่อง และได้คำตอบในหลายลักษณะ เห็นนโยบายการศึกษาจของไทย งบประมาณที่ใช้ กับการผลลัพท์ที่ได้แล้วก็ "หนักใจ" 
       การศึกษาของไทยถูกนำไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยใช้ข้อมูลจาก OECD งานวิจัยจากสถาบันอื่น ๆ มากมาย ได้เห็นสถิติที่การศึกษาของไทยทำได้ และการจัดอันดับ (ที่สถาบันการศึกษาของไทย เลือกเอามาเฉพาะตัวที่คะแนนดี มา propaganda โดยไม่ได้บอกว่า ลำดับที่ภูมิใจนั้นลงในหมวดการวัดผลแบบใด และใช้อะไรในการวัดผล) เราต้องยอมรับว่าการจัดอันดับเหล่านั้นมีทั้งดี และไม่ดี มีเกณฑ์ชี้วัดที่แตกต่างกันไป เพื่อระบุความน่าเชื่อถือของการจัดอันดับเหล่านั้น ทว่าจะจัดอันดับอย่างไร ในสถาบันใด ในระดับใด ตั้งแต่ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ไทยที่ติดอันดับประเทศที่ใช้งบประมาณในการศึกษาเป็นอัตราสูงสุดในระดับต้น ๆ ของโลกและภูมิภาค (อ่านเพิ่ม1, อ่านเพิ่ม2) แต่ไม่ติดอันดับของการจัดอันดับใด ๆ เลยในระดับ Top แบบที่ใช้งบประมาณ (อ่านเพิ่ม1, อ่านเพิ่ม2) ท่ามกลามมาตรฐานทางการศึกษามากมายที่ เราเปลี่ยนตัวมาตรฐานใช้ไปเรื่อย ๆ และเอาชนะทุกมาตรฐานทางกระดาษและรายงานเสมอ 
       การศึกษาของไทย ถูกนำไปเรียบเทียบกับประเทศในโลกพัฒนาแล้วไม่ได้ เช่น สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง หรือ ความบ้าคลั่งใน Finnish Education เป็นช่วง ๆ  ของผู้มีอำนาจในการวางนโยบายการศึกษาของไทย และประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใด้ ซึ่งไม่ควรเปรียบเทียบกับประเทศเหล่านี้ เพราะว่า "ห่างช้้นกันเกินไปและมีปัจจัยที่แตกต่างกันมาก เช่น ในฟินแลนด์ มีจำนวนนักเรียน : ครู ในหลักที่สร้างคุณภาพได้ มีรูปแบบ และวิธีคิดทางการศึกษา ที่แตกต่างกันมาก การจะเอาไทยไปเทียบกับฟินแลนด์คงทำได้ยากมาก หรือในความพร้อมของบุคลากรก็แตกต่างกันมาก ทั้งในเชิงคุณภาพ, ค่าตอบแทน, การยอมรับจากสังคมในฐานะอาชีพ ก็แตกต่างอย่างมาก ทั้งนี้ค่านิยมที่กำหนดแนวคิด และสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาแตกต่างกันในทางประวัติศาสตร์ด้วย  ทว่าในบทความนี้ขอนำเอา "ตัวอย่าง" จากประเทศอินโดนีเซีย มาใช้เป็นตัวอย่างในมุมใดมุมหนึ่งให้กับประเทศไทย เพราะว่าไทยและอินโดนีเซ๊ย มีความคล้ายคลึงกันในหลากองค์ประกอบ เช่น การใช้ภาษาถิ่นเป็นหลัก เป็นภาษาราชการ (ฺBahasa และ ไทย) ภูมิภาค วัฒนธรรมบ้างอย่างที่พอจะคล้ายกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่าง ซึ่งคู่เทียบนี้ดูจะสมน้ำสมเนื้อไปกว่าการเทียบไทยกับประเทศต่าง ๆ ขั้นต้น 
         ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะ "การสร้าง Entrepreneurship ในการศึกษาของไทย และอินโดนีเซีย" ซึ่งผู้เขียนใช้การสัมภาษณ์ พูดคุย กับคนอินโดนีเซียในหลากหลายโอกาส และเห็นความพยายาม และความจำเป็นในการสร้าง Entrepreneurship การยอมรับ และรูปแบบวิธีการที่แตกต่างจาก "สิ่งที่(ผู้เขียน)เจ็บและชินไปเอง" กับประสบการณ์ในแวดวงการศึกษาในประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายด้วยการนำตัวอย่างที่ดีของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในประเทศของเขา มาให้เป็นตัวอย่างให้กับการศึกษาของไทย ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเห็นถึงความสำคัญของการสร้างนักประกอบการในระดับการศึกษาในชั้นประถมและมัธยมศึกษาของไทย 
       ประเทศไทยกลัดกระดุมของการสร้างนักประกอบการผิดในเม็ดแรก คือ การศึกษาในช่วงเยาวรุ่น (ประถมศึกษาตอนปลาย - มัธยมศึกษาตอนปลาย) และการกลัดกระดุมที่ผิดพลาดนี้ส่งผลต่อกระดุมเม็ดต่อไป ซึ่งผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ของไทย ด้วยความหวังว่าจะมีการเริ่มต้นกลัดกระดุมนักประกอบการเม็ดแรกอย่างเหมาะสมในประเทศไทยเร็ว ๆ นี้ (โอมเพี้ยง)
Picture
ความเข้าใจพื้นฐานก่อนไปประเด็นถัดไป
     นักประกอบการ หมายถึง นักแก้ปัญหา นักเผชิญปัญหา ที่มีความสามารถในการ ยืนยันปัญหา, วิเคราะห์สาเหตุโดยใช้ข้อมูลเป็นสำคัญ (และอาจประกอบด้วยสัญชาติฐาน และหรือประสบการณ์ประกอบกัน), ลงมือแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อคลี่คลายปัญหา ทั้งนี้ยังรวมไปถึง ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือสร้างวิธีการใหม่ (นวัตกรรม) ในการจัดการปัญหาเดิมให้ดีขึ้น เร็วขึ้น ประหยัดทรัพยากรมากขึ้น และในภายหลังจึงเป็นปัญหาที่พบในภาคธุรกิจ หรือวงจรทางธุรกิจ และเป็นที่มาของคำว่า "ผู้ประกอบการ" ที่มีความหมายจำเพาะมากขึ้น
โปรดอ่านประกอบ: 
นิยามของ Entreprenuer กับความหมายที่เพิ่มพูนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
      ความเข้าใจในนิยามนักประกอบการในบทความนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับระดับของเยาวรุ่น (ประถมศึกษาตอนปลาย - มัธยมศึกษาตอนปลาย) นั้นมีระดับของการคิดแบบเป็นระบบ เป็นตรรกกะเพื่อการแก้ปัญหา และนำไปปรับใช้กับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และรวมไปถึงพื้นฐานในการทำธุรกิจ หรือกิจกรรมที่มีเป้าหมายของกิจกรรม โดยมีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย วิธีการ กระบวนการ ที่สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เป็นนักแก้ปัญหาบนโลกจริง ไม่ใช่แก้ปัญหาบนโลกตจินตนาการ 
      โดยเยาวชนไทยที่เป็นนักประกอบการ จะสามารถสร้างการตัดสินใจที่เป็นเหตุผล และคำนึงถึงวิธีการที่ถูกต้อง คาดเดาผลประกทบที่เกิดจากการตัดสินใจของตัวเขาเอง และ "วางแผน" ให้ตัวเอง เมื่อต้องเลือกเส้นทางการศึกษา หรือเส้นทางการใช้ชีวิต และเมื่อจบการศึกษาเขาสามารถสร้างอาชีพที่เลี้ยงชีพได้โดยสุจริตโดยใช้วิชาที่ตนเองเลือกเรียนประกอบกันให้เป็นวิธีเฉพาะสำหรับตัวเขาเอง ทั้งในรูปแบบของผู้ประกอบการ หรือ นักประกอบการที่เป็นสมาชิกในองค์กรใด ๆ ของสังคมต่อไป
​
Picture
เริ่มต้นที่การปรับเปลี่ยน Mindset  
      ผู้เขียนเคยได้รับคำถามว่า ทำไมต้องสร้างเยาวชนนักประกอบการ จากคณู อาจารย์ และผู้บริหารสถาบันการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทย ซึ่งในทรรศนะของผู้เขียนนั้น ควรเริ่มต้นคำถามใหม่ว่า เหตุใดจึงไม่คิดว่าการสร้างเยาวชนให้เป็นนักประกอบการ และมีทักษะพื้นฐานในการเป็นนักประกอบการจึงไม่จำเป็นในทรรศนะของผู้ถามมากกว่า
        ผู้เขียนมิบังอาจบอกว่าผู้ถามคนนั้นไม่มีความเข้าใจ "ประโยชน์" ของการสร้างเยาวชนให้เป็นนักประกอบการ และเป็นที่มาของความสำคัญลำดับแรกว่า ไทยต้องยอมรับ และเริ่มปรับ Mindset และกำหนดเป้าหมายในเรื่องการสร้างเยาวชนนักประกอบการเสียใหม่


การปรับเปลี่ยน Mindset และวิธีคิดเกี่ยวกับนักประกอบการในสังคมไทย (เฉพาะด้านการศึกษา)
​ 
Clip ที่ MonsoonSIM Academy Indonesia  ทดลองนำเอา Platform MonsoonSIM ไปทดลองเป็นโครงการแรกในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย ในราวปี 2018 ซึ่งเป็นโครงการเริ่มต้นแรกในการนำ Simulation ไปใช้ในการสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียนด้านการประกอบการเป็นครั้งแรก ๆ 
สำหรับประเทศไทย MonsoonSIM Thailand มีความพยายามที่จะสร้างัชั้นเรียนทดลองกับโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการศึกษาร่วมกับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทว่าหลังจากได้ทดลองกับครูซึ่งเป็นแกนนำ ได้รับคำตอบว่า ครูมีความไม่พร้อมที่จะนำเอาความรู้ด้านการประกอบการแม้จะเป็นพื้นฐานไปใช้ และติดปัญหาเรื่อง Interface ซึ่งในขณะนั้นมีเฉพาะภาษาอังกฤษ (ในปัจจุบันมีภาษา available มากกว่า 5 ภาษาใน MonsoonSIM Platform) ของตัวครูเอง ซึ่งทำให้สะท้อนเกี่ยวกับปัญหาของการศึกษา และแนวคิดในการศึกษาของไทยได้เป็นอย่างดี 
      ใน Clip ด้านบนนั้น ผู้รัน workshop เน้นที่ "ความสนุก" เป็นสำคัญ โดยใช้หลักการของ Gamification และการสร้างเรียนรู้เชิงประจักษ์ (Experiential Learning) ให้กับผู้เรียน มิได้เน้น "ความลึกในเชิงความรู้" แบบที่โรงเรียนในไทยในชั้นเรียนทดลอง "มองหา" และตัวครูที่ร่วมกันให้คำแนะนำกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นี้ร่วมกับ Facilitator ก็ร่วมประสบการณ์ในการถามและตอบให้กับนักเรียนร่วมกัน  ตรงนี้คือความแตกต่างที่เกิดขึ้นและเห็นชัดเจนในวิธีการที่ใช้ในชั้นเรียนระหว่าง แนวคิดแบบอินโดนีเซีย และแบบไทย ถึงปรัชญาในการสร้างความรู้ และการเปิดกว้างในการศึกษา อินโดนนีเซียเน้นประสบการณ์จากการเล่น ส่วนไทยนั้นมุ่งหาแต่ ความรู้ ไม่ได้เน้นความสนุกเพื่อให้สอดคล้องกับวัยเท่าไหร่ ตรงนี้เป็นจุดที่แตกต่างกันในประสบการณ์แบบไทยและอินโดนีเซีย โดยมองจากกิจกรรมในคลิป และประสบการณ์ที่ได้เห็นในชั้นเรียนทดลองของไทย (ไทยทดลองในชั้นเรียน ประถมศึกษาปีที่ 6)
     วิธีการเล่นและเรียนไปด้วยบนความสนุกนี้ คือ Play and Learn ซึ่งสนธิเป็นภาษาไทยได้ว่า เพลิน; PLEARN ซึ่งในชั้นเรียนแบบฟินแลนด์นั้น และชั้นเรียนอื่น ๆ เขาเลือกใช้วิธีนี้ในปฐมวัย ซึ่งแตกต่างกันกับชั้นเรียนประถมศึกษาในไทย ที่ผู้เขียนเคยเห็นการบ้านหรือข้อสอบที่ถามชื่อของกลุ่มเมฆที่มีแนวโน้มว่าฝนจะตก มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอะไร ซึ่งต้องถามว่ามันจำเป็นหรือไม่ เพราะว่าความรู้ที่ไม่จำเป็นมักเป็นวิชาเกิน สำหรับเด็กประถมต้นหรือปลาย เรียนรู้ก่อนที่จะจัดการตัวเองว่าฝนจะตกควรทำอย่างไรน่าจะดีกว่า นี่เป็นตัวอย่างของการศึกษาที่ผู็เขียนเรียกว่า "ผิดปรกติ" ในประเทศไทย ซึ่งเผอิญว่าอยู่ในหลักสูตร STEM ศึกษาของไทย ซึ่งมีปลายทางเพื่อสร้างผู้เรียนที่มีความเป็นเหตุผล ทว่าวิธีการไม่ได้สอดคล้องกัน  ในขณะที่ชั้นเรียนแบบประเทศอื่น ๆ นั้น เน้นการสร้างประสบการณ์ตรง และมาเชื่อมโยงกับหลบักวิชาการ และใช้หลักเหตุและผลกับช่วงปฐมวัยนี้
     กิจกรรมสนับสนุนหลังจากชั้นเรียนนี้ในอินโดนีเซีย คือ การพูดคุยถึงปัญหาที่พบในชั้นเรียน และอธิบายด้วยประสบการณ์ของนักเรียนที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน และหลังจากกิจกรรมนี้ ยังมีกิจกรรมเสริมทักษะ โดยสร้างประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ใน MonsoonSIM Game  โดยนักเรียนได้ทดลองทำธุรกิจจริง ๆ จากเงินต้นทุนที่พ่อแม่ร่วมกันลงขัน มีการพยายามสร้าง Marketing Promotion และ Sales Promotion นักเรียนได้เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องของการจัดการ inventory ความสอดคล้องกันของราคาขาย กำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิ หลังกิจกรรมซึ่งเป็น Leraning by Doing ที่สร้าง Direct Experiences ให้กับผู้เรียนรุ่นเยาว์ในประเทศอินโดนีเซีย 
      หันหลับมามองในประเทศไทย ผู้เขียนนำเอาประสบการณ์ที่ได้รับจากการถ่ายทอดจากผู้ผลิตมาเล่าให้ชั้นเรียนทดลองฟัง และชวนให้ "ทำซ้ำ" กิจกรรมแบบ อินโดนีเซีย ซึ่งพบ "ข้อจำกัด" มากมาย เช่น ใครจะเป็นคนลงทุน, สินค้าที่เหลือจะทำอย่างไร, ต้องทำเป็นโครงการขออนุมัติ ฯลฯ ซึ่งท้ายที่สุดนอกจากจะไม่เกิดประสบการณ์ต่อยอดจากกิจกรรมแล้ว ระบบ mentoring ในชั้นเรียนของไทย ก็ทำได้อย่าง "น่าผิดหวัง" เพราะครูไทยในชั้นเรียนทดลองนั้น เน้นเพียง "ความถูกผิด" ตามทฤษฎีที่ตนเชื่อ (ไม่รับการเอาความเห็น ความเชื่อส่วนตัว เช่นด้านการเมืองใส่ลงไปในชั้นเรียนแบบไม่กลั่นกรอง ซึ่งพบมากในชั้นเรียนสมัยนี้ หรือ การให้แต่เหตุผลที่ชอบธรรมของฝ่ายใด และสอนให้เชื่อโดยไม่ตรวจสอบ หรือตั้งคำถาม เป็นต้น) จนอาจไม่เข้าใจว่า การเรียนแบบทดลองนั้น หรือการเรียนโดยทั่วไป "การทำผิด" และ "การหาเหตุแห่งความผิดเพื่อเรียนรู้" สำคัญกว่าการ "จำให้ได้ว่าครูสอนอะไร" ซึ่งระบบการ Coaching การสอนของไทยน่าจะเป็นปัญหาเช่นกัน และการยอมรับเฉพาะ "ความถูกต้อง" แบบของไทยนั้น น่ากลัวที่ทำให้คนไทยไม่กล้าทำผิด และไม่ได้ "เรียนรู้" อะไรเลย นอกจากการ "จดจำ" ซึ่งเป็นปัญหายาวต่อเนื่องไปจนระดับมัธยมศึกษา, อุดมศึกษา และการทำงานหลังจากเรียนจบของไทย
       ท้ายสุดกิจกรรมทดลองนี้ไปต่อไม่ได้ หลังจากที่ครูกลุ่มทดลองจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ลงความเห็นว่า ไม่พร้อมในการจัดการชั้นเรียนแม้กระทั่งจะเป็นชั้นเรียนทดลองกับนักเรียน รวมไปถึง Interface ที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือแม้กระท้่งแปลเป็นไทยแล้วก็ตามที ยากเกินกว่าที่จะใช้ในโรงเรียนของตน ซึ่งหากท่านดูใน clip ท่านก็จะพบว่า ชั้นเรียนของผู้เรียนเกรด 4-5 ในประเทศอินโดนีเซียสามารถไปต่อได้ ซึ่งทำให้เราต้องกลับมามองว่าเกิดอะไรขึ้นในระบบความคิดและการศึกษาของไทยในชุดความคิดของผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษา เช่น ผู้เรียนไม่มีความพร้อม (หรือผู้สอนไม่พร้อม?), ความรู้เหล่านี้ยังไม่จำเป็นกับระดับของผู้เรียน (ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและเป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียน ซึ่งทำให้ชื่อกลุ่มเมฆที่ฝนกำลังจะตกชื่ออะไรมีคุณค่าเพิ่มขึ้น??), ภาษาอังกฤษทำให้เป็นอุปสรรค (ซึ่งก็จริงบางส่วน ทว่ามันสะท้อนให้เห็นวิธีการจัดการชั้นเรียน กับหลักสูตรของไทย ควรเปลี่ยนเอาภาษาอังกฤษพื้นฐานใน Simulation ปรับเป็นการสอนภาษาร่วมกันได้ แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ได้รับการพิจารณา, สำหรับชั้นเรียนประถมในหลักสูตรภาษาไทยผู้เขียนพอเข้าใจใน barrier นี้ ทว่าผู้เขียนก็มีประสบการณ์กับปัญหานี้ในชั้นเรียนระดับอุดมศึกษาของไทย ซึงน่าวิตกในสภาวะที่เราจะต้องผลิตคนเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ) 
       การเปลี่ยนแปลงวิธีการศึกษาของไทยต้องเริ่มจาก "วิธีคิด" "จิตลักษณะ" ที่ภาษาอังกฤษ่ใช้คำว่า Mindset เสียก่อน และนี่เป็นตัวอย่าง Mindset ที่ต้องได้รับการท้าทายในการศึกษาของประเทศไทย ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน และจะถูกตีประเด็นให้ "ดราม่า" จากนักการศึกษาของไทย ซึ่งผู้เขียนไม่ขอตัดง้างกับเจ้าทฤษฎีและสำนักวิทยาเกินเหล่านั้น ผู้เขียนขอเริ่มต้นที่คำถามชวนให้คิดเป็นกระบวนการและเป็นเหตุผล (อาจผสมอารมณ์และความรู้ึกหดหู่จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่มีต่อการศึกษาไทยบ้างระคนกันไป)

การปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อการสร้างนักประกอบการรุ่นเยาว์ในสังคมไทย 
​       สำหรับผู้เขียนแล้ว Mind คือ จิต และวิธีคิด Set คือ การจัดตั้ง และกำหนด Mindset แปลว่าการจัดตั้งและกำหนดกรอบของวิธีคิดของจิต ซึ่งสะสมจากประสบการณ์, ความรู้และแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อเจ้าของจิตนั้นจนกลายเป็นทัศนคติ ซึ่งสร้างให้เกิดการตอบสนองต่อเรื่องใด ๆ ตามกรอบและแนวทางที่จิตกำหนดวิธีคิดเอาไว้ (ปรมินทร์ เยาว์ยืนยง;2022) ซึ่งตัวกรอบวิะีคิดนี่เองที่ทำให้กิจกรรม และรูปแบบของกิจกรรมถูกกำหนดซึ่งสร้างทั้งผลดีและผลร้าย เช่น การทัศนคติวางบนศีลธรรมและธรรมเนียมการปฏิบัติที่ถูกต้องมีแบบแผน วิธีคิดนั้นจะมีสถานะเป็น ปรกติวิสัยของสังคม ทว่าหากทัศนคตินั้นไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม ในอัตราที่มีความเร็วและความสำคัญเท่าเทียมกัน ทัศนคติที่มาจาก Mindset ประเภทนี้อาจเป็นตัวที่ฉุดรั้งให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ยาก และอาจเป็นยาคุมกำเนิดโดยธรรมชาติของนวัตกรรมและความก้าวหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอุดมนักประกอบการของไทย 

General Mindset ของการศึกษาไทย ว่าด้วย "เด็กดีและเด็กเก่ง"  ความอันตรายเงียบของแนวคิดการศึกษาไทย
         ผู้เขียนเคยจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับ Education Transformation (Ref กำหนดการ, บทความที่เกี่ยวข้อง1, 
บทความที่เกี่ยวข้อง2, Clips) และในกิจกรรมเสริม ที่มีอาจารย์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมใน Workshop ซึ่งเริ่มต้นด้วยการวางเป้าหมายของการปฏิรูปวิธีการศึกษาพบว่า General Mindset ที่อาจารย์ส่วนใหญ่ระบุคือ "เก่งและดี" โดยส่วนตัว ผู้เขียนเห็นว่า Mindset นี้เป็นโทษกับการศึกษาไทยเสียมากกว่า ไม่ใช่ในมุมของจุดหมายปลายทาง ทว่าในมุมที่ "เก่งและดี" ไม่มีนิยามที่ชัดเจน ไม่สามารถกำหนดพันธกิจที่ชัดเจนได้ว่าจะไปสู่เป้าหมายอย่างไร และมีรายละเอียดแบบใดสำหรับ "ความเก่ง" ที่ไม่ถูกนิยาม หรือ ความเก่งใน Mindset และค่านิยมแบบไทย ๆ ซึ่งผลักคนส่วนใหญ่ออกไป และสนับสนุนเพียงยอดปิรามิดของ "ความเก่ง" ไม่กี่แบบที่สังคมไทยยอมรับ หากอยากเปลี่ยนการศึกษาไทยต้อง "ยกเลิก" Mindset "เก่งและดีที่คลุมเครือ" นี้ออกไปให้ได้ก่อน 
            ความเก่ง ใน Mindset อย่างไทย มาจากอดีตที่การเข้าถึงการศึกษาจำกัดเฉพาสะในบางกลุ่ม ซึ่งเป็นรากเหง้าว่า คนที่เก่ง คือ "คนที่มีการศึกษาดีในระบบ" และหรือ "มีตัวชี้วัดทางการศึกษาในระบบที่ดี เช่น เกรดดี มีปริญญาบัตร หรือได้รับการรับรองจากสถาบันการศึกษาเท่านั้น" ซึ่ง mindset นี้มีอายุเก่าแก่ และอาจจะถูกต้องกับรุ่น ก่อน boomer และ boomer เท่านั้น แต่ Mindset ความเก่งใน "ลักษณะนี้" มีปัญหา เพราะว่า ความเก่งมีหลากหลายมิติ และชี้วัดได้หลากหลาย และ mindset แบบนี้นำไปสู่ "ความวิบัติในตรรกะของสังคมไทย" เป็นลำดับต่อไป กลายเป็น ความเก่งที่นอกเหนือจากเกณฑ์วัดผลของการศึกษาในระบบไม่ถูกนับรวม และความเก่งถูกเอาไปเทียบกับคุณสรรพของคำว่า "ฉลาด" จนแยกแยะไม่ออกจากกันเมื่อกล่าวถึงรวม ๆ ถ้าสังคมเปลียน Mindset และ นิยามจองคำว่า "เก่ง" และยอมรับความเก่งในรูแบบอื่น ๆ รูปแบบการส่งเสริมทักษะที่หลากหลาย ความเก่งที่หลายหลากจะงอกงามขึ้นในระบบสังคมไทย และพลิกโฉมประเทศไทยได้เร็วและ "ความเหลื่อมล้ำ" ทางการศึกษา ที่ชอบพูดกันจะได้หายไปด้วย 
           ทางออกของ General Mindset ของการศึกษาไทย ที่ควรเป็น การศึกษาที่สร้างเยาวชนที่หาเลี้ยงชีพชอบ ดูแลตัวเองและครอบครัวได้, เยาวชนที่เป็นนักคิดอย่างสร้างสรรค์ และเป็นนักลงมือปฏิบัติ, เยาวชนที่มีทักษะแห่งการประกอบการ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก, เยาวชนที่รู้ปรับตัวตามสถานะบนหลักศีลธรรมอันดี ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ผู้เขียนมีความเห็นกว่า ดีกว่า "เก่งและดี" หรือ "ดีและเก่ง" ซึ่งในภายหลังเรามีการสลับเอา "ดีนำหน้าเก่ง"
           Mindset นั้นเป็นแนวคิดที่อยู่ควบคู่กับ Vision และกำหนด Mission (พันธกิจ) ซึ่งจะแยกออก หรือรวมเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดวิสัยทัศน์ก็ได้ และไม่มี Mindset หรือ Vision ที่เหมาะสมกับทุกกลุ่มปัญหาของการศึกษาในประเทศไทย และช่วงวัย ทว่า General Mindset แบบเดิม ๆ นั้นโดยทัศะนะของผู้เขียนนั้นควรได้รับการพิจารณา 


กรณีแรก: Mindset ที่ว่า ทักษะแห่งการประกอบการเป็นเรื่องของธุรกิจ และไม่เกี่ยวกับการศึกษาในระดับปฐมศึกษา และมัธยมศึกษา และเชื่อกันว่าทักษะและความรู้นี้ต้องไปเรียนในชั้นอุดมศึกษา
     Mindset นี้มีอิทธิพลมากในการศึกษาแบบเดิมของประเทศไทย ที่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าในกรอบความคิดเรื่องนี้แตกต่างจากการศึกษาไทยมา (แนะนำให้ search หา keyword เช่น Entrepreneuship Education, Entrepreneurs+Vocational หรือ Entrepreneurs + Pre Graduate, Youth Entrepreneruship เป็นต้น) ซึ่งจะพบว่า ในประเทศอื่น ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องการสร้าง "นักประกอบการ" ในบริบทที่ต่างจากประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาว่าเหตุใดการศึกษาของไทยจึงไม่สนใจบรรจุสิ่งนี้ในหลักสูตร ทั้ง ๆ ที่ Entrepreneurships skills นั้น เป็นพื้นฐานสำคัญ 
       หนึ่งใน Mindset หรือ กรอบวิธีคิดหนึ่งยังไม่พบในประเทศไทย หรือพบได้น้อยในประเทศไทย คือ ความคิดที่ว่าความรู้ป และทักษะในการประกอบการนั้นเป็นความรู้ที่ไม่ต้องบรรจุอย่างมีนัยยัสำคัญในหลักสูตร และ ความรู้ในเชิงวิชาการเพื่อการศึกษาต่อมีความจำเป็นมากกว่าทักษะและความรู้ที่เป็นแกนกลางนี้  ซึ่งเมื่อมีกรอบความคิดเช่นนี้แล้วทำให้ ไม่มีการบรรจุแนวคิดในการประกอบการ มีวิชาในลักษณะนี้ในหลักสูตร หรือมีน้อย และไม่มีน้ำหนักในการสร้างทักษะนี้ เห็นได้จาก การจัดให้มี หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย (ดูภาพกระกอบด้านล่าง)

Download ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560; 4 กรกฎาคม 2561) จาก http://academic.obec.go.th/​
หากจะเทียบเคียงกับสิ่งที่เรียกว่า หลักสูตรสร้างนักประกอบการแบบตรง ๆ เท่าที่หลักสูตครการศึกษาเยาวชนของไทยจะมึ ใกล้เคียงที่สุด คือ หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีชือเหมือนกับ Career and Technoogy ในหลุกสูตรของสหรัฐอเมริกา และมีไส้ในคล้าย ๆ กัน อย่างที่เรียกว่า พี่น้องที่คลานตามกันมา ทว่าแตกต่างกันที่วิธีเลี้ยงดู (วิธีการให้การศึกษา และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน) สิ่งที่สะท้อนกรอบแนวคิดของกลุ่มสาระนี้ อยู่ในเอกสารที่เผยแพร่ ซึ่งมีความน่าสนใจ 
Picture
ภาพจากเอกสารที่เป็น reference ที่ให้ดาวโหลดด้านบน
ผู้เขียนมองเห็นกรอบความคิดที่ ณ ปัจจุบัน ต้องเรียนแจ้งว่า "เป็นข้อเสีย" มากกว่าข้อดี (ลองอ่านบทความส่วนล่างประกอบทีหลัง เพื่อเห็นความแตกต่างของการวางหลักสูตรของไทยกับประเทศอื่นๆ) ซึ่งเป็นทรรศนะส่วนตัวของผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนมองไม่เห็นว่า หากดูจากแนวโน้มที่ประเทศต่าง ๆ กำลังพัฒนา Youth Entrepreneurship แล้ว ประเทศเราห่างไกล  เรามีนโยบายที่เป็นมายาคติที่ดีเสมอ เช่น "มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อ "การดำรงชีวิต" รู้เท่าทันการเปลียนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับกับการดำรงชีวิต การอาชีพ และเทคโนโลยี มา "ประยุกต์" ใช้ ในการทำงานอย่างมี "ความคิดสร้างสรรค์" และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียงและมีความสุข"  ผู้เขียนรู้สึกเหมือนฝันที่กำลังเดินในทุ่งลาเวนเดอร์ ปัญหาจากการ "ฝันใหญ่ ฝันหวาน" นั้นเมื่อเป็น "ความฝัน" นั้นมันจะไม่ชัดเจน และเมื่อตื่นมาเราจะ "ลืมที่ฝัน" หรือ "จำลายละเอียดได้ลาง" และ "ฝันมักแฟนตาซี" เสมอ  
        
หาก "ข้อความ" เป็น "เป้าหมาย" ของกลุ่มสาระการอาชีพ เป้าหมายควรเป็น
  • ไม่ใช่ "การดำรงชีวิต" แต่มีความจำเป็นต่อการทำงานในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (Corporate Entrepreneurship) หรือสร้างธุรกิจใหม่ หรือต่อยอดธุรกิจเดิมให้ก้าวหน้าและยั่งยืน (Entrepreneurship)
  • "ประยุกต์" และ "ความคิดสร้างสรรค์" เป็นคำวิเศษของการศึกษาไทยเสมอทว่า การวัดผลและการปฏิบัตินั้นไม่ได้ถูกวางแผนให้เกิดขึ้นเลย 

ที่น่าสนใจมากอีก คือ เรียนรู้อะไรในการงานอาชีพเทคโนโลยี ซึ่ง มีคำว่า "มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ"  ซึ่งอะไรคือ องค์รวม, เมื่ออ่านไปไม่พบว่า จะสร้างทักษะใดในการทำงาน และ มีเป้าหมายเพียงให้เห็นแนวทาง เพื่อไปศึกษาต่อ ไม่เห็น "การลงมือเพื่อความเข้าใจ" และโรงเรียนเองก็มีความสามารถน้อยมากในการสร้างกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งจะอธิบายต่อไป  ในสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 สาระในกลุ่มนี้ และเอา Layer ของมาตรฐานในเอกสารในซ้อนไว้ในร Bullet ย่อย ได้แก่
  • การดำรงชีวิตและครอบครัว (ซึ่งน่าจะอยู้่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมากกว่าในทรรศนะของของผู้เขียน ซึ่งควรตัดออก)
    • มาตรฐาน ง.1.1 ​เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว (ซึ่งทักษะเหล่านี้ควรระบุใน 3 สาระที่เหี่ยวข้อง แต่ไม่มีการระบุชักเจนในมาตรฐานของสาระนั้น ซึ่งน่าจะเป็นการเขียนแบบกลอนพาไปมากกว่าระบุความชัดเจน และที่น่าแปลกใจ ที่ลงท้ายด้วย เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว แทนที่จะเป็น เพื่อการทำงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หรือทำอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ) 
  • การออกแบบและเทคโนโลยี (ซึ่งเป็นประโยชน์ ทว่าเมื่ออ่านดูไส้ใน ไม่พบวิธีการ ตัววัดผล เครื่องมือ ฯลฯ)
    • มาตรฐาน ง.2.1 ​เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการของเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน ("ตามอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ? เป็นประเด็นที่น่าสนใจใจว่าจะตามอย่างไรดีให้สร้างสรรค์ รวมไปไปเลือกใช้อย่งสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ซึ่งเห็นควรบรรจุไว้ และเช่นเดิม ไม่พบวิธีการ ตัวชีวัด เครื่องมือ ฯลฯ)
    • ​มาตรฐาน ง.3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม 
  • การอาชีพ (ซึ่งตรงกับชื่อกลุ่มสาระ) โดย เน้น "ทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพ" (แต่ไม่ระบุว่าทักษะใดบ้างที่ต้องสร้างเสริม) เห็นความสำคัญของจริยธรรมและเจคคติที่ดีต่ออาชีพ ใช้เทคโนโลยีเหมาะสม เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริต และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ (ซึ่งมีแต่แนวทางในอาชีพเดิม ไม่ครอบคลุมอาชีพใหม่หรือไม่ หรือ หากเห็นแนวทางแล้ว มีกิจกรรมใดเพื่อสานต่อพันธกิจนี้ ซึ่งไม่ได้เขียนไว้)
    • ​มาตรฐาน ง.4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจคคติที่ดีต่ออาชีพ (ในความเห็นส่วนตัว มาตรฐานของสาระการอาชีพที่ควรโดดเด่น และชัดเจน ว่าเป้าหมายของการมีสาระการอาชีพคืออะไร ทว่าทำบรรยายในเอกสารนั้น สวนทางกัน กลับไปให้มาตรฐานในสาระการดำรงชีวิตและครอบครัว ที่มีรายละเอียดมาก และให้อนุมานมาครอบคลุมอีก 3 สาระที่เหลือ นี่คือความผิดพลาดในการออกแบบของกลุ่มวิชานี้)


ใน Bullet ย่อย คือ มาตรฐานที่หลักสูตรต้องการ ซึ่ง "จะสร้างอย่างไร" นั้นน่ากลัวใจ สิ่งที่เขียนในมาตรฐานและหลักสูตรเป็นทุ่งลาเวนเดอร์ในสภาพแวดล้อมแบบร้อนชื้นของไทย ซึ่งลาเวนเดอร์ไม่สามารถเติบโตได้ตามต้องการ 

อันดับต่อไปจะชวนดูส่วนของ "คุณภาพผู้เรียน" ซึ่งเขียนไว้อย่างกว้าง ๆ 4 ระดับ คือ เมื่อจบชั้น ประถมศึกษา 3, ประถมศึกษา 6, มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยสรุปเป็นตารางดังนี้ (ทังนี้ตัวเอกสารไม่ได้ระบุไว้ใน 4 สาระ ชัดเจจน ทว่า จากรูปแบบของเอกสาร ซึ่งควรต้องเรียงลำดับตามรูปแบบของเอกสารที่ดี จึงจัดกลุ่มในตารางตามลำดับข้องข้อความตาม Bullet ในเอกสารของทางราชการ) 
เมื่อจบ
การดำรงชีวิตและครอบครัว
การออกแบบและเทคโนโลยี
เทคโนโลยีสารสนเทศ
​และการสื่อสาร
การอาชีพ
ป.3
  • เข้าใจวิธีการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และส่วนร่วม
  • ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือถูกต้องตรงลักษณะงาน
  • มีทักษะกระบวนการทำงาน
  • มีลักษณะนิสัยกระตือรือร้น ตรงเวลา ประหยัด ปลอดภัย สะอาด รอบคอบ
  • มีจิตสำนึกในการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม
  • เข้าใจประโยชน์ของสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
  • มีความคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
  • มีทักษะในการสร้างของเล่น ของใช้อย่างง่าย โดยใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
  • เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างถูกวิธี เลือกใช้สิ่งของเครืองใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์
  • จัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ
  • เข้าใจและมีทักษะการค้นข้อมูลอย่างมีขั้นตอน
  • การนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ
  • วิธีดูแลรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ไม่ระบุ - เพราะว่ามีเพียง 3 bullet ย่อยในเอกสาร
ป.6
  • เข้าใจการการทำงานและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอน
  • มีทักษะการทำงานร่วมกัน
  • ทำงานอย่างเป็นระบบและมีความคิดสร้างสรรค์
  • มีลักษณะนิสัยการทำงานที่ขยัน อดทน รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีมารยาท 
  • มีจิตสำนึกในการใช้น้ำ ไฟฟ้าอย่างประหยัดและคุ้มค่า
  • เข้าใจความหมาย วิวัฒนาการของเทคโนโลยี และส่วนประกอบของเทคโนโลยี
  • มีความคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างหลากหลาย
  • นำความรู้และทักษะการสร้างชิ้นงานไปประยุกต์ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามความสนใจอย่างปลอดภัย โดยใช้ประบวนการเทคโนโลยี
  • เลือกใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ต่อชีวิต สังคม และมีการจัดการเทคเทคโนโลยีด้วยการแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่
  • เข้าใจหลักการแก้ปัญหาเบื้องต้น ​
  • มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล เห็บรักษาข้อมูล 
  • สร้างภาพกราฟฟิก สร้างงานเอกสาร
  • นำเสนอข้อมูลและสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึกและรับผิดชอบ
  • รู้ และเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพ รวมทั้งมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมสัมพันธ์กับอาชีพ
ม.3
  • เข้าใจกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน
  • มีทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา และทักษะการจัดการ
  • มีลักษณะนิสัยการทำงานที่เสียสละ มีคุณธรรม 
  • ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและถูกต้อง
  • มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดคุ้มค่า
  • เข้าใจกระบวนการเทคโนโลยี และระดับของเทคโนโลยี
  • มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
  • สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนเทคโนโลยีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  • เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม
  • มีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากร หรือ เลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบกบัสิ่งแวดล้อม
  • เข้าใจหลักการเบื่องต้นของการสื่อสารข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลักการและวิธีแก้ปัญหา หรือทำโครงงานด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • มีทักษะการค้นหาข้อมูล และการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรมและจริยะธรรม
  • การใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา สร้างชิ้นงานหรือโครงงานจากจินตนาการ และใข้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน
  • เข้าใจแนวทางการเลือกอาชีพ การมีเจตคตดีที่ดี และเห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพ
  • วิธีการหางานทำ คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการมีงานทำ
  • วิเคราหะ์แนวทางสู่อาชีพ 
  • มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ และประสบการณ์ต่ออาชีพที่สนใจ
  • การประเมินทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ ความถนัด และความสนใจ
ม.6
  • เข้าใจวิธีการทำงานเพื่อดำรงชีวิต 
  • สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
  • มีทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา และทักษะการแสวางหาความรู้ 
  • ทำงานอย่างมีคุณธรรม 
  • มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
  • เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ๆ 
  • วิเคราหะ์ระบบเทคโนโลยี
  • มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
  • สร้างและพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ หรือนำเสนอผลงาน
  • วิเคราะห์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ต่อ ชีวิต าังคม สิ่งแวดล้อม 
  • มีการจัดการเทคโนโลยีด้วยวิธีการของเทคโนโลยีสะอาด
  • เข้าใจองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 
  • องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง
  • มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหา เขียนโปรแกรมภาษา พัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
  • ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ติดต่อสื่อสาร และค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต
  • ใช้คอมพิวเตอร์ในการรประมวลผลข้อมูลใหเ้เป็นสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
  • ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนองาน และใช้คอมพิวเตอร์สร้างชิ้นงานหรือโครงงาน
  • เข้าใจแนวทงเข้าสู่อาชีพ การเลือก และใช้้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพ
  • มีประสบการณ์ในอาชีพที่ถนัดและสนใจ 
  • มีคุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ
ผู้เขียนมีเห็นภาพสะท้อนในวิธีคิดของหลักสูตรเยาวชนของไทย ที่ยังไม่มีหลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างสภาวะผู้ประกอบการโดยตรง ซึ่งต้องออกตัวก่อนว่าผู้เขียนทรรศนะคติที่ติดลบกับการศึกษาไทย ทั้งในเชิงนโยบาย วิธีการ  เกณ์การวัดผล ตลอดจนการมีส่วนร่วมและจิตลักษณะของผู้มีส่วนได้เสียในสังคมเกี่ยวกับการศึกษา ผู้เขียนต้องการสะท้อนให้เห็นว่า กรอบวิธีคิดของการศึกษาไทยไม่ร่วมสมัยกับการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสังคมโลก การที่เราบอกกันว่าขีดความสามารถของคนไทยโดยภาพรวมจะลดน้อยลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ นั้น ส่วนหนึ่งที่มองเห็นจากกแกนกลางของหลักสูตร ซึ่งจริง ๆ แล้วแกนกลางต้องการให้ผู้สอน (ครูอาจารย์) ไปปรับแต่ง แต่ดูจากบริบทต่าง ๆ แล้ว แกนกลางที่ไม่ชัดเจนแบบนี้ทำให้ประเทศซึ่งถ้าไม่ผลักดันไม่สั่ง Top-Down หรือบางครั้งสั่งแล้วก็ทำไม่ได้แบบไทยนั้นต้องประสบปัญหาแน่นอน

บทสรุปจากผู้เขียนในส่วนแรก 
  • ไทยไม่มีหลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างผู้ประกอบการในระดับมัธยมศึกษาเลย และMindset หรือกรอบวิธีการวางหลักสูตร ที่เทียบเคียงได้ (คัดลอกมาจาก US) ก็ไม่ได้ร่วมสมัยและทำไม่ได้ตามมาตรฐานของประเทศที่ไปคัดลอกมา 
  • หลักสูตรมีเป้าหมาย เป็นนามธรรม ไม่กำหนดวิธีการชัดเจน รวมไปถึงตัวชี้วัดที่เป็นนามธรรมและวัดผลได้อย่างเลื่อนลอย เราจะพบกลุ่่มคำที่มีแต่แนวคิด แต่ไม่เห็นวี่แววของวิธีการได้เลย เช่น ความคิดสร้างสรรค์, ประสบการณ์, พอเพียง, เหมาะสม, เข้าใจกระบวนการ ควมสัมพันธ์ องค์ประกอบของสิงต่าง ๆ แต่ครูอาจารย์เองก็ไม่ได้มีพื้นฐานในเรื่องแบบนี้ และไม่ได้เข้าใจเท่าเทียมกับที่หลักสูตรกำกับไว้ ซึ่งผู้เขียนขอใช้คำว่า "หลักสูตรสร้างแบบแกงโฮ๊ะ" ซึ่งหยิบทุกอย่างมาผปสมกัน ให้ได้ภาพที่สยนงาม
  • หลักสูตรเขียนจากวิธีคิดแบบอดีต ไม่รองรับ ไม่มีอนาคต หรือตัวแปรอื่น ๆ  ซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรของประเทศอื่น ๆ เช่น การสร้างให้เยาวชนเป็นสมาชิกของโลกแบบเกาหลี หรือมีทักษะพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษหน้าแบบสิงคโปร์ ซึ่งเขียนโดยอาศัยจากวิชาเดิมที่มี มาสร้างมาตรฐานในหลักสูตร ไม่ได้เขียนหลักสูตรเพื่อสร้างมาตรฐาน
  • เขียนแบบแยกส่วนกันเขียน ไม่ได้ align ตามพัฒนาการของชุดสาระความรู้ ซึ่งเราจะพบความลักลั่นของชั้นเรียนที่อายุผู้เรียนร้อยกว่ามีขอบเขตที่กว้างและลึกกว่าชั้นเรียนที่ผู้เรียนมีอายุมากกว่า 

ถ้าจะสร้างนักประกอบการ ต้องเรื่มที่การกลับมาทบทวนกรอบวิธีคิด และ "ยกเลิก" บางอย่างในหลักสูตรเดิมให้ได้เสียก่อน และกำหนดเป่้าหมายของแต่ละช่วงอายุที่ชัดเจน เช่น ป.3 สอนให้เข้าใจการใช้ชีวิต ตามหลักสูตรเดิมได้ ส่านวของเทคโนโลยีและต้องเข้าใจว่าเยาวชนใน Generation นี้เกิดมากในยุค Digital ซึ่งเขาซึมซับและใช้งานมากกว่าคนร่างหลักสูตรเป็นต้น ใน ป.6 ม.3 ไม่ใช่กรอบการเข้าใจอาชีพปัจจุบัน แต่ควรเปลี่ยนแป็น ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในอาชีพที่หลากหลายมากกว่า ความเข้าใจของสังคม และครูแนะแนวที่อาจจะไม่เข้าใจอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมสมัยด้วยซ้ำไป และเป็นการลดทอนความมั่นใจหรือทางเลือกในการเลือกอาชีพ ในส่วนของเทคโลยีสารสนเทศ ไม่ได้เห็นเรื่องของ digital Literacy, Security Literacy ควบคู่กันไป เห็นแต่การพุ่งเป้าไปที่การสืบค้น ไม่เห็นกระบวนการในการยืนยันความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของสิ่งที่สืบค้นได้ แม้นกระมั่ง Digital Foot Print ที่มีความเข้าใจก็ไม่ได้บรรจุเอาไว้ ซึ่งทำให้เห็นว่าอย่าว่าแต่การสร้างนักประกอบการเลย สร้างให้มีตรรกะความเข้าใจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงยังน่าจะไม่ผ่าน และกรอบวิธีคิดในการสร้างเยาวชนนักประกอบการไม่ปรากฎในหลักสูตรที่เยาวชนต้องเรียนและเติบโตไปพร้อมการเปลี่ยนแปลงของโลก

Picture
กรณี Mindset ที่ว่า เรื่องของวิชาด้านการประกอบการเป็นชุดความรู้และทักษะของกลุ่มวิชาด้านบริหารธุรกิจ และการจัดการเท่านั้น 
    อ้างถึงแผนภาพ (ด้านซ้าย) ของ Kutzhanova (2009) ที่ทำวิจัยเรื่องของ ENtrepreneurships กับสาขาวิชาที่เปิดสอน 3 ด้านได้แก่ Accounting Department, Electrical Engineering and Civil Engineering ใน  State Polytechnic of Malang ในแผนภาพจะเห็นความซ้อนเหลื่อมกันของ Skills และ Competency ซึ่งแท้จริงแล้วสมรรถนะ และทักษะแห่งการประกอบการเป็นทักษะพื้นฐานโดยทั่วไปของทุกสาขาอาชีพ 
​
​

Picture
ตารางเปรียบเทียบผลการสำรวจที่ MonsoonSIM TH ลองทำโดยถามคำถามเดียวกับคำถามของ The Economist Survey เรื่องทักษะ โดยทำการเปรียบเทียบ Global Survey และ Local (Thai) Survey ซึ่งทำในปี 2017 แสดงให้เห็นว่า ทักษะแห่งการประกอบการไม่ได้อยู่ในอันดับความสำคัญของการสำรวจในกลุ่ม sampling ของอาจารย์ และนักศึกษาของไทยเลย ในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ยังไม่ได้ทำสำรวจอีกครั้งในคำถามเดิมว่าจะมีสัดส่วนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หลังจากผ่านมา 6 ปี (2022)
กำหนดเป้าหมาย วิธีการ และลงมือทำ

กรณีศึกษาจากกลุ่มโรงเรียน Penabur ประเทศอินโดนีเซีย
กรณีศึกษาจากหลักสูตรสร้างผู้ประกอบการของประเทศเกาหลีใต้

2 Comments
<<Previous
Picture
Picture
Picture
Picture

MonsoonSIM; The business simulation platform for learning and training
more to teach more to learn, easy to teach  easy to learn

MonsoonSIM Thailand by Zonix Services Co.,Ltd. is official reseller in Thailand